วันเวลาปัจจุบัน 12 พ.ค. 2024, 17:48  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


กฎการใช้บอร์ด


รวมกระทู้จากบอร์ดเก่า http://www.dhammajak.net/board/viewforum.php?f=2



กลับไปยังกระทู้  [ 63 โพสต์ ]  ไปที่หน้า 1, 2, 3, 4, 5  ต่อไป  Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 04 ส.ค. 2009, 18:56 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว




flying_witch.gif
flying_witch.gif [ 57.29 KiB | เปิดดู 5451 ครั้ง ]
สนทนาธรรมปฏิบัติกับแม่มด ซึ่งกำลังร้องคร่ำครวญอยู่ริมเหวว่าดังนี้ =>



รู้และเข้าใจชีวิต นี่พอจะได้อยู่

แต่การปฏิบัติสิคะ หินสุดๆ

ปัญหาคือว่า.....มักจะเผลอสติค่ะ
แล้วจิตมันก็ตกวูบลงไปในวังวนเดิมอีก (เป็นพักๆ ตามกฏไตรลักษณ์..นี่ก็เข้าใจนะคะ)
ทุกวันนี้ก็ตามรู้ ตามดูอยู่ ...เกิดแล้ว มาแล้ว เด๋วก็จะหายไป...เป็นต้น

ขอเทคนิคสำหรับฆราวาสเลยได้มั้ยคะ เช่น กำหนดตารางการปฏิบัติ หรืออะไรทำนองนี้ค่ะ
เอาแค่ดึงคนขึ้นจากปากเหวก่อน ยังไม่ต้องส่งขึ้นนิพพานนะคะอาจารย์

(จะถูกทุบแบบกระท้อนป่าวเนี่ย)

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 04 ส.ค. 2009, 19:13 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


อ้างคำพูด:
(จะถูกทุบแบบกระท้อนป่าวเนี่ย)



อย่ากลัวๆ ถูกทุบเลยขอรับ คนอยู่ด้วยกันก็ต้องทุบกันบ้าง แหะๆ พุกเล่ง :b32:


แม่มดคุณยิ่งดิ้นรนคุณยิ่งทุกข์ เพราะคุณไม่มีอุบายวิธีพ้นไปจากทุกข์ จึงเหมือนไก่ที่ถูกขังอยู่ใน
กระโจม นึกออกไหม เดินวนไปรอบๆ แล้วก็เอาหัวกระทุ้งๆ จนเลือดไหลก็ยังออกไปไม่ได้


คุณเห็นทุกข์เห็นโทษของสังขารของรูปนามนี้ แต่คุณไม่มีวิธี นี่คือปัญหา ดิ้นไปก็เหนื่อยเปล่า
กลับเป็นทุกข์เพราะการดิ้นอีก
คุณหยุดดิ้นก่อน แล้วมองดูกายกับใจนิ่งๆเงียบๆอย่าใจร้อน...ใจไหมขอรับ :b1:

กรัชกายว่า คุณคิดเรื่องพ้นทุกข์มากเกินไป จึงอยากแต่จะพ้นทุกข์ พ้นทุกข์
วิธีแก้ก็แต่งงานสะ จะได้ลืมเรื่องนั้น แล้วไปวุ่นเรื่องอื่นๆ เรื่องครอบครัวแทน :b32:
เพื่อลดทอนการดิ้นรนเพื่อให้พ้นทุกข์บ้างก็เป็นได้ ดีไหมขอรับ

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 04 ส.ค. 2009, 19:49 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


อ้างคำพูด:
รู้และเข้าใจชีวิต นี่พอจะได้อยู่

แต่การปฏิบัติสิคะ หินสุดๆ


พระพุทธเจ้าใช้เวลาถึง ๖ ปี เกือบเอาชีวิตไม่รอด จึงเข้าใจชีวิต คือ กายกับใจนี้อย่างถ่องแท้
แล้วเราเป็นใคร


อ้างคำพูด:
ปัญหาคือว่า.....มักจะเผลอสติค่ะ
แล้วจิตมันก็ตกวูบลงไปในวังวนเดิมอีก (เป็นพักๆ ตามกฏไตรลักษณ์..นี่ก็เข้าใจนะคะ)
ทุกวันนี้ก็ตามรู้ ตามดูอยู่ ...เกิดแล้ว มาแล้ว เด๋วก็จะหายไป...เป็นต้น



ก็เพราะมันชอบเผลอ มักเป็นอย่างนั้นสิครับ จึงต้องจับมาฝึก
หากเกิดมาสติสมบูรณ์เลย ก็ไม่ต้องฝึกต้องทำอะไรมัน เป็นอริยะกันตั้งแต่วันลืมตาดูโลกเลย
พระพุทธศาสนาไม่จำเป็นต้องมีก็ได้


ธรรมชาติของจิต ย่อมดิ้นรนกวัดแกว่ง ยุกยิกๆซุกซนยิ่งกว่าลิง คนฝึกต้องใจเย็นๆ ใจร้อนไม่ได้
ต้องค่อยๆ ฝึกมัน
อุปมาเหมือนฝึกลิงขึ้นเก็บมะพร้าว กว่าเจ้าของจะฝึกให้ลิงเชื่อฟังคำสั่ง ทำตามคำสั่งได้
ต้องใช้เวลาเท่าไหร่ ใช้ความอดทนเท่าไหร่ คิดดูๆๆ

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 04 ส.ค. 2009, 20:52 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


อ้างคำพูด:
ขอเทคนิคสำหรับฆราวาสเลยได้มั้ยคะ เช่นกำหนดตารางการปฏิบัติ หรืออะไรทำนองนี้ค่ะ
เอาแค่ดึงคนขึ้นจากปากเหวก่อน ยังไม่ต้องส่งขึ้นนิพพานนะคะอาจารย์



เรื่องนิพพาน หากเหตุปัจจัยพร้อมมูลให้เกิดมันก็เกิด ถึงใครจะห้ามก็ไม่ฟัง เอาช้างมาฉุดก็ไม่อยู่

แต่เมื่อเหตุปัจจัยไม่มีไม่พร้อมให้เกิด ต่อให้มนุษย์อยากได้อยากถึงจนอกแตก ก็ไม่ได้ไม่ถึง

ดังนั้นไม่ต้องกลัวเรื่องนี้ ขอรับ

อันดับแรกเราทำเหตุ คือ การปฏิบัติกรรมฐานให้ดีให้ถูกต้องลงตัวก่อน :b1:

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 04 ส.ค. 2009, 21:07 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


อ้างคำพูด:
ขอเทคนิคสำหรับฆราวาสเลยได้มั้ยคะ เช่นกำหนดตารางการปฏิบัติ



ได้ข่าวว่าแม่มดใช้คำบริกรรม พุทโธ ควบลมหายใจเข้า-ออก
ก่อนลงในรายเอียดกัน

มีตัวอย่างการปฏิบัติของคนๆหนึ่ง ให้คุณจับประเด็น แล้วถือเอาแต่สาระการปฏิบัติของเค้า ดังนี้




ก่อนหน้านี้ไม่เคยปฏิบัติธรรมจริงๆจังๆ เลย
จนกระทั่งไม่นานมานี้ วาสนาพาให้ได้พบกับพระสงฆ์ไทยรูปหนึ่ง
ผมได้ถามท่านว่า ทำอย่างไรจึงจะพ้นทุกข์
ท่านก็ไม่ตอบอะไร ยื่นหนังสือของท่านให้สามเล่ม เป็นหนังสือเกี่ยวกับการปฏิบัติตามแนวทาง
ในอานาปานสติสูตร

ผมอ่านเล่มแรกก่อน ใจความในเล่มแรก คือ ให้กำหนดรู้ลมหายใจให้ตลอด ในชีวิตประจำวัน
จะทำกิจกรรมอะไรก็ให้กำหนดรู้ลมหายใจไปด้วย
ยกเว้นเวลาขับรถ หรือเวลาอ่านหนังสือ แต่ก็ให้มีสติรู้อยู่ว่า เราทำอะไรอยู่
ท่านว่า ให้กำหนดรู้ลมหายใจเสมือนว่า ลมหายใจเป็นกัลยาณมิตร ให้เรายึดกัลยาณมิตรนี้ไว้
หลังจากนั้น ผมก็พยายามกำหนดรู้ลมหายใจในชีวิตประจำวัน


หลังจากนั้นมีวันหนึ่ง ผมเกิดนึกอยากนั่งสมาธิขึ้นมา
ผมก็เลยนั่งสมาธิกำหนดลมหายใจ

(ก่อนหน้านี้ ตอนเด็กๆ เวลาคุณครูที่โรงเรียน .สั่งให้นั่งสมาธิในห้องเรียน
ให้พยายามตามดูลมหายใจจะรู้สึกว่า มันเป็นเรื่องที่น่าเบื่อ น่าปวดหัวมาก
แต่คาดว่า คงเป็นเพราะจากที่ได้ฝึกในชีวิตประจำวัน ทำให้ตั้งแต่นั่งครั้งนี้ก็ไม่รู้สึกเช่นนั้นอีก)

ในการนั่งสมาธิครั้งนี้ ผมสามารถรับรู้ลมหายใจได้ตลอดสายเป็นเวลานาน
แต่ผมก็คิดว่า เวลาจิตเราสงบมากแล้ว แต่ยังไม่มีอะไรเกิดขึ้น
ถ้ายังไง เราลองเปลี่ยนวิธีกำหนดดูดีกว่า ผมเลยเปลี่ยนวิธีกำหนดในใจ
เป็นแบบ อัปปมัญญา ๔

แล้วกำหนดคำบริกรรมในใจ แผ่เมตตาให้สัตว์ทั้งหลายไม่มีประมาณในทิศเบื้องหน้า จากนั้นก็เบื้องหลัง ฯลฯ
จนรู้สึกว่ากายหายไป รู้สึกว่า ความรู้สึกของเราเหมือนจุ่มอยู่ในปิติ

ก็ขึ้นว่า "มีความสุขขนาดนี้ในโลกด้วยหรือ ความสุขนี้ดีกว่าความสุขในโลก
ที่เราเคยพบมาทั้งหมด โอ ความสุขนี้แค่นั่งก็ได้แล้ว คนทั้งโลก(ส่วนใหญ่)มัวแต่วุ่นวายทำอะไรกัน
อยู่
บางคนทำทุจริตต่างๆ เพื่อหาเงินมาสนองความสุขตน ทำไปทำไมนะ มันเทียบกับความสุขที่เกิดจาก
ความสงบนี้ไม่ได้เลย ความสุขนี้ไม่ต้องไขว่คว้ามาก อยู่กับตัวเองแท้ๆ คน (ส่วนใหญ่)ในโลก
กลับไม่รู้"

จากนั้น ผมก็สังเกตลมหายใจ ก็รู้สึกว่าลมหายใจตอนนี้มันละเอียดมาก
ถึงค่อยเข้าใจ คำว่า ลมหายใจหยาบ ลมหายใจละเอียดว่าเป็นยังไง
ก่อนหน้านี้เข้าใจว่าคือลมหายใจแรงๆเบาๆซะอีก

ความรู้สึกจากการเกิดสมาธิครั้งแรกนี้ มันเหมือนจุ่มค้างอยู่ปิติ คือ ปิติเกิดค้างอยู่
แต่ไม่เห็นนิมิตอะไรทั้งสิ้น
แต่รู้สึกจิตเวลานี้ไม่มีนิวรณ์เลย คือ มีความรู้พร้อมอยู่
จากนั้น ผมก็รู้สึกยินดีกับสิ่งที่เกิดขึ้นแล้วคิดไปเรื่อยว่า "นี่คือปฐมฌานหรือเปล่านี่ ปฐมฌานเกิดกับเราหรือ"
จนจิตเริ่มไม่เป็นสมาธิ เริ่มปั่นป่วน
หลังจากนั้นก็ได้ยินเสียงห้องข้างๆ ตะโกนเสียงดัง (คาดว่าน่าจะดูบอล) ผมก็เลยหลุดออกมาจากสภาวะนั้น

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 04 ส.ค. 2009, 23:04 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 13 มิ.ย. 2009, 09:55
โพสต์: 4062

แนวปฏิบัติ: มรณานุสสติ
อายุ: 0
ที่อยู่: ตรงปลายจมูก

 ข้อมูลส่วนตัว


อ้างคำพูด:
ก็แต่งงานสะ จะได้ลืมเรื่องนั้น แล้วไปวุ่นเรื่องอื่นๆ เรื่องครอบครัวแทน :b32:
เพื่อลดทอนการดิ้นรนเพื่อให้พ้นทุกข์บ้างก็เป็นได้ ดีไหมขอรับ

รูปภาพสงสัยยังวุ่นไม่พอ...

รูปภาพ ได้เวลา เข้าชั้นเรียน :b4:

.....................................................
~ นิพพานัง ปัจจโยโหตุ ~


แก้ไขล่าสุดโดย Bwitch เมื่อ 05 ส.ค. 2009, 11:21, แก้ไขแล้ว 2 ครั้ง.

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 05 ส.ค. 2009, 01:46 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 13 มิ.ย. 2009, 09:55
โพสต์: 4062

แนวปฏิบัติ: มรณานุสสติ
อายุ: 0
ที่อยู่: ตรงปลายจมูก

 ข้อมูลส่วนตัว


อย่าปริยัติเยอะนะคะ เด๋ว รูปภาพ

.....................................................
~ นิพพานัง ปัจจโยโหตุ ~


แก้ไขล่าสุดโดย Bwitch เมื่อ 21 ส.ค. 2009, 13:44, แก้ไขแล้ว 1 ครั้ง

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 05 ส.ค. 2009, 04:54 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


อ้างคำพูด:
อย่าปริยัติเยอะนะคะ เด๋ว



ไม่เยอะ ๆ ตามคำเรียกร้อง :b16:

แต่มีข้อแม้ว่า คุณต้องลงมือทำเองนะ
กรัชกายเป็นแต่เพียงผู้บอก ผู้แนะนำวิธีให้เท่านั้น
ส่วนการปฏิบัติ คุณทำเอง ใจนะขอรับ :b16:

และขอว่า ว่าไม่อ้างเจ้ากรรมนายเวร นรก สวรรค์ ผี เปรต วิญญาณ (ตามความเชื่อถือส่วนบุคคล) ฯลฯ ขณะกำลังภาวนาอยู่
หรือ เพ่งดูนรก ดูสวรรค์ ให้ดูแต่กายใจ (ความรู้สึก) ตนเองแต่ละขณะๆที่กำลังปฏิบัติอยู่เท่านั้น
แต่หลังจากเลิกปฏิบัติแล้ว ไม่เป็นไร

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 05 ส.ค. 2009, 09:24 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว




1213935845.gif
1213935845.gif [ 106.71 KiB | เปิดดู 5224 ครั้ง ]
อ้างคำพูด:
สุขก็ไม่จีรัง ทุกข์ก็ไม่จีรัง แม้แต่ลมหายใจก็ไม่ใช่ของตัว....ง่ะ!
อย่าแนะนำให้บวชชีนะคะจารย์...ถือศีล นอนวัด ไม่ไปหรอก บอกแล้วไงว่ากัวผี



ไม่หรอกๆ ไม่แนะนำให้บวชแน่

กรัชกายไม่แนะนำให้ใครหลบทุกข์หนีปัญหาขณะภาวนา ซึ่งไม่ใช่ทางพ้นทุกข์

ไม่ใช่ทางที่พระอริยะเจ้าใช้เดินแน่ :b8:


ตกลง ที่ให้แม่มดเก็บสาระตัวอย่างการปฏิบัติดังกล่าว อ่านแล้วเห็นวิธีทำเค้ายังไงบ้างครับ

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 05 ส.ค. 2009, 11:25 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 13 มิ.ย. 2009, 09:55
โพสต์: 4062

แนวปฏิบัติ: มรณานุสสติ
อายุ: 0
ที่อยู่: ตรงปลายจมูก

 ข้อมูลส่วนตัว




malai waikroo.jpg
malai waikroo.jpg [ 46.19 KiB | เปิดดู 5192 ครั้ง ]
กรัชกาย เขียน:
อ้างคำพูด:
สุขก็ไม่จีรัง ทุกข์ก็ไม่จีรัง แม้แต่ลมหายใจก็ไม่ใช่ของตัว....ง่ะ!
อย่าแนะนำให้บวชชีนะคะจารย์...ถือศีล นอนวัด ไม่ไปหรอก บอกแล้วไงว่ากัวผี



ไม่หรอกๆ ไม่แนะนำให้บวชแน่

กรัชกายไม่แนะนำให้ใครหลบทุกข์หนีปัญหาขณะภาวนา ซึ่งไม่ใช่ทางพ้นทุกข์

ไม่ใช่ทางที่พระอริยะเจ้าใช้เดินแน่ :b8:


ตกลง ที่ให้แม่มดเก็บสาระตัวอย่างการปฏิบัติดังกล่าว อ่านแล้วเห็นวิธีทำเค้ายังไงบ้างครับ


รูปภาพ

อนุโมทนาสาธุค่ะจารย์
ศิษย์มาเข้าชั้นเีรียน

อ่านแล้วค่ะ

มีคำถามค่ะ

เขานั่งครั้งแรก ก็ดูเหมือนจะก้าวหน้าซะแล้ว
เป็นเพราะบุญเก่า ใช่ป่าวคะ
ดิฉันคงไม่เปรียบเทียบกับใคร
ค่อยๆ ปฏิบัติแล้วกันนะคะ
:b4: โดยเคร่งครัดเจ้าค่ะ
:b42: ระหว่างภาวนาไม่นึกถึงใคร ไม่ว่าเจ้ากรรมนายเวร นรก สวรรค์ :b42:

.....................................................
~ นิพพานัง ปัจจโยโหตุ ~
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 05 ส.ค. 2009, 16:27 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว




Jane_peace_position.jpg
Jane_peace_position.jpg [ 134.64 KiB | เปิดดู 5148 ครั้ง ]
อ้างคำพูด:
ขอเทคนิคสำหรับฆราวาสเลยได้มั้ยคะ เช่น กำหนดตารางการปฏิบัติ


มีคำถามค่ะ
เขานั่งครั้งแรก ก็ดูเหมือนจะก้าวหน้าซะแล้ว
เป็นเพราะบุญเก่า ใช่ป่าวคะ
ดิฉันคงไม่เปรียบเทียบกับใคร
ค่อยๆ ปฏิบัติแล้วกันนะคะ
โดยเคร่งครัดเจ้าค่ะ
ระหว่างภาวนาไม่นึกถึงใคร ไม่ว่าเจ้ากรรมนายเวร นรก สวรรค์



ขอเทคนิคสำหรับฆราวาสเลยได้มั้ยคะ เช่น กำหนดตารางการปฏิบัติ



ไม่ได้ให้ดูเพื่อเปรียบเทียบไว้แข่งกับเขาหรือกับใคร
แต่ให้ดูวิธีว่าเขาเริ่มต้นปฏิบัติยังไง


เข้าเรื่องเลยดีกว่า

การปฏิบัติกรรมฐาน ไม่ได้เป็นอุปสรรคต่อการงานหรือการดำรงชีวิตประจำวันเลย
ทุกคนปฏิบัติได้ฝึกอบรมได้ทุกวันทุกเวลา เอาตั้งแต่ลืมตาตื่นนอนถึงเข้านอนทีเดียว

ตื่นเช้ามา รู้สึกตัวก็เอาสติเกาะจับกายรวมๆไว้เลย ขณะลุกจากที่นอน เก็บผ้าห่ม ฯลฯ
จนกระทั่งเดินไปเข้าห้องน้ำ ล้างหน้าแปรงฟัน อาบน้ำ แต่งเนื้อแต่งตัว ฯลฯ
ทานข้าวทานปลา เดินทางไปทำงาน อยู่ที่ทำงาน กำลังทำงาน ฯลฯ ได้หมด
เคลื่อนไหวร่างกายทำอะไรก็รู้ตัว ขณะนั้นๆ ทำอะไรอยู่ ก็เท่านี้ติดตามกาย

แต่ขณะใดรู้สึกขี้เกียจก็รู้ตัวว่า ขี้เกียจ
คิดจะหยิบจับนั่นนี่ก็รู้ทันความคิด หยิบจับ วาง สิ่งใด ก็รู้สึกตัว ...
(โอ้ย...กว้างขวาง บรรยายไม่หมด สรุปว่า เราทำอะไร ก็รู้สึกตัวว่าทำอย่างนั้นแล้วกัน)

เมื่อว่างจากภาระหน้าที่การงานแล้ว เราก็เอาลมหายใจเป็นกรรมฐาน หรือ เป็นอารมณ์
ภาวนาตามลมไป
คุณใช้คำภาวนาร่วมกับลมเข้าออก

ลมเข้าว่า พูท ลมหายใจออกว่า โธ พร้อม ๆ กับลมเข้า-ออกแต่ละขณะนั้นๆ
ลมเข้า พุท ลมออก โธ ว่าไป

แต่ว่า ขณะกำลัง พุท,กำลังโธ อยู่ เมื่อความคิดฟุ้งไป วางลมก่อน
ภาวนาว่า ฟู้งซ่าน ๆๆๆ ตรงความรู้สึก .(...)
ในวงเล็บ คุณจะใช้ หนอ หรือ คำอื่นๆ ก็ได้ ที่คุณเห็นว่าเหมาะสะดวกแก่ตัวคุณเอง
ประเด็นนี้เปิดกว้าง

รู้สึกอย่างไรก็กำหนดรู้ตามนั้น มีอาการอย่างไรกระทบรู้สึก ก็กำหนดตามที่เรารู้สึกนั่นเอง ไม่ต้องไป
ค้นหาอารมณ์นั้นๆ จากที่ไหน ไม่รู้สึกไม่ต้อง พุท-โธๆไปตามวิธี

อนึ่ง ไม่ว่าเราจะใช้ หนอ หรือ ใช้อะไร เมื่อภาวนาถึงระดับหนึ่งแล้ว มันหายหมด เนื้อตัวหายหมด
จะกล่าวไปใยถึงคำว่าหนอเป็นต้นเล่า ตัวอย่างมีเยอะแยะ

ศึกษาที่กระทู้นี้ก็ได้

viewtopic.php?f=2&t=24320&st=0&sk=t&sd=a&start=15


ส่วนเวลาเริ่มที่ ๑๐ นาทีก่อนคงพอ สำหรับผู้ไม่เคยนั่งไม่เคยปฏิบัติมาเลย

วันหยุด ส/อ จะปฏิบัติหลายๆรอบก็ได้ ยิ่งดี
จงกรม แล้วนั่ง นั่งแล้วก็เดินจงกรม

ฝึกอบรมทั้งวันก็ได้ มีธุระอะไรก็ไปทำ แต่ตามดูรู้ทันกายใจ (ความรู้สึก) ตลอด

วิธีจงกรมลิงค์นี้

viewtopic.php?f=2&t=20691

ฝึกเดินระยะที่ ๑ ให้ชัดเจนก่อน



ถึงเวลาพักผ่อนหลับนอนแล้ว รู้สึกตัวกำลังเดินไป ลงนั่ง เอนตัวลงนอน นอนก็เอาสติเกาะร่างกาย
ทั้งหมดที่นอนเหยียดยาวเบาๆ หลวมๆ ตั้งใจว่าจะหลับ แล้วก็ปล่อยให้มันหลับไปเลย

รุ่งขึ้นก็เหมือนเดิม ฯลฯ

แค่นี้แหละไปฝึกทำเอาเอง :b16:



ไม่เข้าใจอะไรตรงไหนถามเพิ่มเติมอีกจ้า :b38:

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 05 ส.ค. 2009, 19:16 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 13 มิ.ย. 2009, 09:55
โพสต์: 4062

แนวปฏิบัติ: มรณานุสสติ
อายุ: 0
ที่อยู่: ตรงปลายจมูก

 ข้อมูลส่วนตัว


อ้างคำพูด:
ไม่ได้ให้ดูเพื่อเปรียบเทียบไว้แข่งกับเขาหรือกับใคร
แต่ให้ดูวิธีว่าเขาเริ่มต้นปฏิบัติยังไง

แห่ะ แห่ะ...ก็ตามนั้นจารย์ :b21:

อ้างคำพูด:
อนึ่ง ไม่ว่าเราจะใช้ หนอ หรือ ใช้อะไร เมื่อภาวนาถึงระดับหนึ่งแล้ว มันหายหมด เนื้อตัวหายหมด
จะกล่าวไปใยถึงคำว่าหนอเป็นต้นเล่า ตัวอย่างมีเยอะแยะ

ไม่เอาหนอ...ไม่ชอบหนอ :b16:

นอกนั้นก็ปฏิบัติอยู่แล้วค่ะจารย์
ภาวนาพุทโธ-จับลมหายใจ แต่ไม่ได้ทั้งวัน จะพยายามค่ะ


ส่วนวันหยุดนั่งได้ประมาณ 2-3 ชั่วโมง

1 ชั่วโมงแรก == ฟุ้งซ่าน
2 ชั่วโมงต่อมา == บริกรรม พุทโธ พร้อมขยับพับเีพียบซ้ายมั่งขวามั่ง

หมดเวลาพอดี :b29:
เฮ้อ...

จะพยายามนะคะจารย์ :b4:
สักวันจะนั่งให้ลืมเมื่อยเลยค่ะ

มีคำถามค่ะ ไม่เดิน ได้มั้ยคะ หรือเป็นกฎข้อบังคับว่าต้องเดินจงกลมด้วย
ไม่สะดวก และ ไม่ต้องอัธยาศัยค่ะ
:b48: :b48: :b48: :b48: :b48: :b48: :b48: :b48:

สา......ธุค่ะ ไปฝึกเอง :b8:

.....................................................
~ นิพพานัง ปัจจโยโหตุ ~


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 05 ส.ค. 2009, 20:03 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


อ้างคำพูด:
มีคำถามค่ะ ไม่เดิน ได้มั้ยคะ หรือเป็นกฎข้อบังคับว่าต้องเดินจงกลมด้วย
ไม่สะดวก และ ไม่ต้องอัธยาศัยค่ะ


๓-๔ วัน นั่ง ๑๐ นาที ๗ วัน ทำได้ ๑๐-๑๕ นาที อย่างนี้ไม่ต้องเดินก็ได้
แต่ใช้วิธีรู้เคลื่อนไหวกายเดินไปนั่นมานี่เอาก็พอได้
เดินจงกรม เดินอย่างมีสติเอาสติเกาะจับร่างกายที่เคลื่อนไหวไปนั่น หมายถึงเอาร่างกายเป็นกรรมฐาน


ส่วนผู้ที่เขาฝึกอบรมกันจริงๆ วันหนึ่งหลายๆชั่วโมงอย่างนี้ ต้องเดินจงกรมด้วย มีเหตุผลของมันอยู่

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 05 ส.ค. 2009, 20:10 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


การปฏิบัติกรรมฐานยากที่ต้องฝืนกิเลส รู้สึกขี้เกียจกำหนด "ขี้เกียจหนอๆๆ" แต่ก็ยังปฏิบัติต่อไป
เดินจงกรมบ้าง นั่งกำหนดรู้ตามดูนามรูปบ้าง

ขยันมากเกินไปปฏิบัติแบบไม่หลับไม่นอน ก็รู้ว่าเกินไปแล้ว นอนหลับบ้าง แม้ไม่ง่วงก็ตาม ฯลฯ

โยคีพึงรู้จักข่มจิต ยกจิต ประคองจิต ในสมัยที่ควรข่ม ควรยก ควรประคอง

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 09 ส.ค. 2009, 22:22 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ตัวแกนหรือฐานที่แท้จริง (ตัวบีบ หรือ แรงดัน) ที่ทำให้เกิดความเร่งในการทำกิจนั้น ก็คือทุกข์

แต่ความสัมพันธ์ของคนกับความทุกข์ จะเป็นเงื่อนไขที่ทำให้ท่าทีต่อการทำกิจแตกต่างกันออกไป

เป็นความประมาท, ความไม่ประมาท, และความไม่ประมาทที่มีคุณภาพอันแผกกัน

การแยกแยะในในเรื่องนี้ จะช่วยให้มองเห็นลักษณะและคุณค่าของความไม่ประมาทที่ถูกต้อง

อย่างชัดเจนยิ่งขึ้น ตามแบบที่ท่านกล่าวไว้ ดังนี้ว่า


ทุกข์เป็นฐานให้เกิดแรงเร่งในการกระทำกิจ ๓ แบบ คือ

๑.ทำการเพราะถูกทุกข์บีบ ได้แก่ พวกที่หลงใหลเพลิดเพลินอยู่ในความสุขสบาย

ปล่อยปละละเลยกิจ เพลิดเพลินมัวเมา ไม่คิดถึงความเปลี่ยนแปลงที่อาจเกิดขึ้นตามเหตุปัจจัย

รอจนกระทั่งภัยมาถึงตัว เกิดความเดือดร้อนและจำเป็นขึ้นแล้ว จึงรีบทำการ รีบแก้ไข หรือ

ปรับปรุงเฉพาะหน้า ซึ่งทันการบ้าง ไม่ทันการบ้าง


๒.ทำการเพราะกลัวความทุกข์ ได้แก่ พวกที่หวาดระแวง หวั่นต่อภัยอันตราย

ความทุกข์ ความเดือดร้อนที่ยังไม่มาถึง จึงเร่งรีบแก้ไขปรับปรุงและทำการต่างๆ

ที่เห็นว่าควรทำ เพื่อป้องกันภัยหรือความทุกข์ คือ ความเสื่อมความพินาศเป็นต้น

และสร้างเสริมความเจริญก้าวหน้ามั่นคง ซึ่งการที่ทำก็มักสำเร็จได้ผลดี แต่เป็นไปด้วยจิตใจที่มีความ

เร่าร้อน กระวนกระวาย

พูดง่ายๆว่ากลัวความทุกข์ แล้วก็ทุกข์เพราะความกลัว และทำการเพราะถูกความกลัวบีบอีกต่อหนึ่ง


๓.ทำการด้วยความรู้ทุกข์ ได้แก่ พวกที่คิดจัดการกับทุกข์ที่อาจเกิดมีข้างหน้า

ด้วยปัญญา มิใช่หวาดผวาด้วยความหวั่นกลัว กล่าวคือ รู้เท่าทันสภาวะที่จะต้องเป็นไปตามไตรลักษณ์

เข้าใจถึงความเปลี่ยนแปลงและความทุกข์หรือปัญหาที่อาจเกิดมีในภายหน้า จึงใช้ปัญญาศึกษาพิจารณา

เหตุปัจจัยในกระบวนการแห่งความเปลี่ยนแปลง แล้วอาศัยความรู้ ในวิถีแห่งอนิจจตาและโอกาสที่อำนวย

โดยอนัตตตา

กำหนดเอาทางเลือกแห่งความเปลี่ยนแปลงที่พึงปรารถนาหรือที่ดีกว่า พร้อมทั้งใช้ความรู้ในประสบการณ์

ส่วนอดีตเป็นบทเรียน แล้วเร่งรัดปรับปรุงแก้ไข และทำการต่างๆ เพื่อตัดทางมิให้ทุกข์เข้ามาครอบงำตนห

รือบรรเทาเสีย ตลอดจนเบนให้เป็นไปในทางที่ดีงามเจริญก้าวหน้า เท่าที่เป็นไปได้ ทำให้สามารถป้องกัน

ทุกข์หรือทำตนให้ปลอดทุกข์ข้างหน้าเท่าที่อยู่ในวิสัยด้วย และทั้งปลอดโปร่งผ่องใสไม่มีทุกข์

ไม่หวาดหวั่นกระกระวน

กระวายในขณะกำลังทำการด้วย

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


แก้ไขล่าสุดโดย กรัชกาย เมื่อ 10 ส.ค. 2009, 09:22, แก้ไขแล้ว 1 ครั้ง

แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 63 โพสต์ ]  ไปที่หน้า 1, 2, 3, 4, 5  ต่อไป

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 10 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร