วันเวลาปัจจุบัน 29 เม.ย. 2024, 15:36  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


กฎการใช้บอร์ด


รวมกระทู้จากบอร์ดเก่า http://www.dhammajak.net/board/viewforum.php?f=2



กลับไปยังกระทู้  [ 1 โพสต์ ]    Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 20 ก.ค. 2009, 20:19 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 29 พ.ค. 2007, 09:55
โพสต์: 1632


 ข้อมูลส่วนตัว


ตอนที่ ๑๐
ในตอนที่ ๙ ข้าพเจ้าได้กล่าวไว้ว่า "อุบายการทำใจให้สงบ" หรือ การฝึกจิตให้สงบ"นั้น มีความหมาย หรือ วิธีการ หรือหลักการ ที่หลากหลายรูปแบบ
และ "อุบายการทำใจให้สงบ" หรือ "การฝึกจิตให้สงบ" นั้น สามารถสร้าง "สมาธิ" หรือความตั้งมั่นในจิตใจได้ นี้เป็นไปตามหลักพุทธศาสนา
ดังนั้น ปฏิบัติสมาธิ หรือการ สร้างความมีสมาธิในตัวบุคคล กับการ ทำใจให้สงบ ในตัวบุคคลนั้น จะแตกต่างกัน เพราะ ความหมายของคำว่า "การทำใจให้สงบ"นั้น มีความหมายที่กว้างกว่า "สมาธิ"
หลายๆท่านที่มีความรู้ ย่อมมีข้อคัดค้านอยู่อย่างหนึ่งว่า ทำไมข้าพเจ้าจึงไม่กล่าวถึง "สัมปชัญญะ" ความรู้สึกตัว ที่ข้าพเจ้าไม่ยังไม่กล่าวถึงก็เพราะ อันสัมปชัญญะ หรือความรู้สึกตัว ในบุคคลปกติทั่วๆไปนั้น ย่อมมีความรู้สึกตัว หรือสัมปชัญญะ อยู่เองโดยธรรมชาติอยู่แล้ว อีกประการหนึ่ง "สติ กับ สัมปชัญญะ "นั้น ใกล้กัน เชื่อมโยง สัมพันธ์กัน เกี่ยวข้องกัน ต่อเนื่องจากกัน ต่างเป็นมรรคซึ่งกันและกัน อีกทั้งยังเป็นผลซึ่งกันและกันอีกด้วย กล่าวคือ "บุคคลย่อมมีความรู้สึกตัว อยู่เสมอในที่นี้หมายถึงขณะตื่นอยู่ และในความรู้สึกตัวของบุคคลนั้นๆ ก็ย่อมประกอบไปด้วยสมาธิ คือความมีจิตใจตั้งมั่น เมื่อได้สัมผัสทางอายตนะทั้งหลาย ย่อมเกิดสติคือ ความระลึกได้ ในทันควัน หรือเกิดความรู้สึกตัว คือ สัมปชัญญะ ในทันควัน ดังนั้น หากมีบุคคลมีสติ คือความระลึกได้ ก็ย่อมแสดงว่า บุคคลนั้นๆ มีสัมปชัญญะ คือความรู้สึกตัวอยู่แล้ว
อนึ่ง ทั้ง สติ คือ ความระลึกได้ และสัมปชัญญะ คือ ความรู้สึกตัวนั้น ล้วนเกิดมีอยู่ในบุคคลเป็นชั้น เป็นขั้น เป็นตอน เป็นระบบ เป็นระเบียบ ยกตัวอย่างเช่น ปกติเมื่อบุคคลยังตื่นและประกอบกิจกรรมใดใดก็ตามอยู่ ย่อมมีความรู้สึกตัว และระลึกได้ ต่อเมื่อ ได้สัมผัสทางอายตนะ นอกเหนือจากกิจกรรมที่ตัวเองกำลังประกอบกิจกรรมนั้นอยู่ หรือ ได้สัมผัสทางอายตนะ จากกิจกรรมที่กำลังกระทำอยู่ ก็จะเกิดความรู้สึกตัว คือ สัมปชัญญะ อีกในชั้นหนึ่ง และ เกิดสติ คือความระลึกได้ตามมา จะกล่าวว่า ทั้งสัมปชัญญะ และสติ ที่เกิดขึ้นอีกขั้นหนึ่งนั้น เกิดโดยพร้อมกันก็ว่าได้ อย่างนี้เป็นต้น
ดังนั้น หลักธรรม ในหมวด "สติปัฏฐาน ๔" และ "กรรมฐาน๔๐" จึงกล่าวถึงเพียงความระลึกได้ หรือสติ ฯ และกล่าวถึง อุบายการทำให้ให้สงบ หรือ วิธีการอบรมจิต หรือ อุบายสงบใจ (ข้อมูลจาก พจนานุกรม พุทธศาสน์ ฉบับ พระธรรมปิฏก)
ยังมีอีกประการหนึ่ง ที่ข้าพเจ้าได้กล่าวไปในตอนที่ ๘ เกี่ยวกับการเกิดสมาธิไว้ว่า "ก่อนที่ท่านทั้งหลาย จะทำสิ่งใดก็ตามแต่ หรือก่อนที่ท่านทั้งหลายจะเอาใจจดจ่อในสิ่งใดก็แล้วตาม ความตั้งมั่นในจิตใจ จะเกิดขึ้นก่อนเป็นอันดับแรก หรือจะกล่าวในอีกรูปแบบหนึ่งก็คือ "การที่ท่านมีความตั้งใจ หรือมีความต้องการ ที่จะประกอบกิจกรรมใดใดก็ตาม ความตั้งใจ ความต้องการของท่านนั้น คือ "สมาธิ" นั่นก็หมายความว่า สมาธิ จะเกิดขึ้นก่อนเพียงเล็กน้อย
ที่ว่าสมาธิ เกิดขึ้นก่อนเพียงเล็กน้อยนั้น หมายความว่า สมาธิ เกิดขึ้นก่อนที่ท่านจะมีความตั้งใจ หรือมีความต้องการ ที่จะประกอบกิจการใดใด คือ เมื่อใจมีความตั้งมั่น คือมีสมาธิ ความรู้สึกตัว ระลึกได้ หรือ สัมปชัญญะ และสติ ก็จะทำให้เกิดความต้องการ เกิดความตั้งใจ ฯลฯ อันนี้ท่านทั้งหลายควรได้สังเกต ทั้งตัวเอง หรือจะสังเกตจากบุคคลรอบข้างก็จะเกิดความรู้ความเข้าใจอย่างถ่องแท้
ข้าพเจ้าได้กล่าวไปแล้วว่า สมาธิ กับ อุบายทำให้ใจสงบ หรือวิธีอบรมจิต หรือการอบรมจิตให้สงบนั้น แม้มีข้อแตกต่างจากกัน แต่ การอบรมจิตให้สงบ ก็สามารถเป็นสิ่งสร้างสมาธิ ในตัวบุคคลได้ วิธีการหนึ่ง ซึ่งท่านทั้งหลายควรได้พิจารณาให้เกิดความเข้าใจ ในหลักวิชชา หรือหลักการก่อนว่า.
อุบายทำให้ใจสงบ ตามหลักกัมมัฏฐาน ๔๐ นั้น ได้แก่ " กสิณ ๑๐ อสุภะ ๑๐ อนุสสติ ๑๐ พรหมวิหาร ๔ อาหาเรปฏิกูลสัญญา ๑ จตุธาตุววัตถาน ๑ อรูป ๔ " (ข้อมุลจาก พจนานุกรม พุทธศาสน์ ฉบับพระธรรมปิฏก)
มิใช่เป็นการฝึกสมาธิ แต่เป็น อุบายเรืองปัญญา คือ จัดอยู่ในหมวด วิปัสสนา กัมมัฏฐาน
ข้าพเจ้าเคยสอนไว้เกี่ยวกับการปฏิบัติสมาธิ และได้เคยให้ความหมายของการปฏิบัติสมาธิ ไว้ว่า " การเอาใจเข้าไปผูกอยู่ หรือ การเอาใจฝักใฝ่ในสิ่งนั้น " ต่อมาได้พบว่า การปฏิบัติ เพื่อสร้างสมาธิ หรือการปฏิบัติเพื่อทำให้ใจตั้งมั่น เป็นคนละอย่าง กับ การเอาใจเข้าไปผูกอยู่ หรือ การเอาใจฝักใฝ่ในสิ่งนั้น " แต่ในทางตรงกันข้าม การเอาใจเข้าไปผูกอยู่ หรือ การเอาใจฝักใฝ่ในสิ่งนั้น สามารถสร้างสมาธิ หรือความตั้งมั่นในจิตใจได้ พร้อมกันนั้น ก็สามารสร้างสัมปชัญญะคือ ความรู้สึกตัว และ สติ คือความระลึกได้ ไปพร้อมๆกัน อีกด้วย

จ่าสิบตรี เทวฤทธิ์ ทูลพันธ์
๒๐ ก.ค. ๒๕๕๒


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 1 โพสต์ ] 

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 22 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร