วันเวลาปัจจุบัน 26 เม.ย. 2024, 11:56  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


กฎการใช้บอร์ด


รวมกระทู้จากบอร์ดเก่า http://www.dhammajak.net/board/viewforum.php?f=2



กลับไปยังกระทู้  [ 109 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1 ... 4, 5, 6, 7, 8  ต่อไป  Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 23 ต.ค. 2009, 22:35 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 18 ก.ค. 2009, 09:26
โพสต์: 1517

แนวปฏิบัติ: วิปัสสนาภาวนา
อายุ: 39
ที่อยู่: ลำพูน

 ข้อมูลส่วนตัว


สมาธิของท่านมิได้หมายถึง ฌาน หรอกหรือ? ถ้าท่านมิได้กล่าวก็ขออภัยขอถอนคำพูด

ปัญญาที่ต้องการ คือ อโมหะเจตสิก ทำสมาธิ ก็ได้ เอกกัคคตาเจตสิก หรือ อุเบกขาเจตสิก แล้วท่านว่า เอกกัคคตาเจตสิก หรือ อุเบกขาเจตสิก จะสร้าง อโมหะเจตสิก ได้หรือเปล่า?

ส่วนพระไตรปิฎกที่อ่านเป็น software ที่ download มาจาก
http://dhammatan.84000.org/
http://www.fungdham.com/tripitaka01.html
http://www.fungdham.com/tripitaka02.html
http://www.learntripitaka.com/Download.html
http://www.geocities.com/tipitakaonline/tipitakatxt.zip

*** บางทีมันรีบๆ ก็เลยตัดลงไม่ได้บอกเล่มหัวข้อ ก็ขออภัยไว้ ณ ที่นี้ด้วย

พกไว้ใน Thumb drive กับ Notebook อีกเครื่อง ไปใหนก็หอบไปด้วย เพราะต้องเดินทางบ่อยๆ ว่างที่ใหนก็อ่านที่นั่น ๗-๘ เดือนก็อ่านจบ ตอนทบทวน เดือนเดียวก็อ่านได้เกือบหมด

.....................................................
"ธรรมและวินัยอันใด เราแสดงแล้ว บัญญัติแล้วแก่พวกเธอ ธรรมและวินัยอันนั้น จักเป็นศาสดาของพวกเธอ โดยกาลล่วงไปแห่งเรา..."
"... ไม่เที่ยง เกิดดับ ..."


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 24 ต.ค. 2009, 01:32 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 2
สมาชิก ระดับ 2
ลงทะเบียนเมื่อ: 12 ก.ย. 2009, 21:17
โพสต์: 83

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


สมาธิของผมมิได้หมายถึง ฌาน แต่หมายถึง การทำสมาธิตามแนวสติปัฐฐาน ๔ โพธิปักขยธรรม

อ้างคำพูด:
เอกกัคคตาเจตสิก หรือ อุเบกขาเจตสิก จะสร้าง อโมหะเจตสิก ได้หรือเปล่า?


โพธิปักขยธรรมตามแนวทางคำสอนของหลวงปู่มั่น

พิจารณาคำสอนของพระพุทธเจ้า ทรงสอนในการเจริญสติปัฏฐานว่า...
อาตาปี สัมปชาโน สติมาวิเนยย โลเกอภิชฌา โทมนัสสัง
แปลว่า จงทำความเพียรเผากิเลสให้เร่าร้อนด้วยสัมปชัญญะ ด้วยสติ ยังความยินดียินร้ายในโลกให้พินาศ

กำหนดทำความเข้าใจว่า ตัวความเพียร คือ อาตาปีเป็นตัวสัมมัปธาน 4
ที่ชึ้เข้ามาที่ตัวเรา คือ กายและใจ
กำหนดรู้ตัวด้วยรู้ทั่วตัว และระลึกได้ไม่ลืมตัว
เมื่อทำความเพียรเจริญสติโดยมีใจเป็นผู้กระทำ กระทำตามคำสอนของงพระพุทธเจ้าที่ชี้ว่า….
จงทำความเพียรเป็นอาตาปีที่ตัวด้วยสัมปชาโน มีสัมปชัญญะเป็นวิป้สสนา รู้ทั่วตัวเราทั้งหมด
สติมา มีสติระลึกรู้ทั่วตัวเป็นสมถะ กำหนดไม่ลืมตัวให้ตัวตั้งอยู่โดยสงบเป็นปกติกาย
พระพุทธเจ้าจึงสอนอาตาปีชี้ลงที่ตัวเรา เมื่อทำความเพียรแผดเผากิเลสที่หัวใจเรา
เพราะกิเลสมันเป็นตัวอวิชชา สังขารปรุงแต่งปิดของจริงอยู่เปลือกนอกเป็นตัวหลอกให้เกิดความหลง
เกิดเป็นอุปทานให้หลงยึดมั่นถือมั่น เป็นต้นเหตุสมุทัยให้เกิดยินดียินร้าย
กิเลสนี้มันห่อหุ้มจิตมันไม่ได้เข้าไปในลึกถึงแก่นกลางที่เป็นกลางเป็นตัวปกติ ตัวมัชฌิมา
กิเลสเข้าไปไม่ได้ เพราะเป็นธรรมฐิติ ที่เรียกว่า ฐีติภูตัง

1.กำหนดรู้ตัวด้วยรู้ทั่วตัว
2.กำหนดสติระลึกได้ไม่ลืมตัวตลอดเวลา

เมื่อทำความเพียรจนสติเกิดต่อเนื่องตามลำดับ จนสติเกิดเป็นสติปัฏฐาน
เป็นการภาวนาปธาน เพียรเห็นแจ้งสภาวะกายและจิตแจ้งชัดจนเกิดเป็น อนุรักขนาปธาน
คุ้มครองรักษาความเพียรและสติสัมปชัญญะที่เกิดขึ้นในกายและจิตเรา
กายสงบเป็นปกติกาย ปกติศีล
ใจสงบเป็นปกติใจ ปกติสมาธิ
ตัวใจสงบลงไปรู้ไปเห็น ปกติกายปกติศีล และปกติใจเป็นปกติสมาธิ
การทำความเพียรที่เป็นการเห็นแจ้งสภาวะรู้แจ้งชัด
เป็นปัญญารู้ทั่วตัวและรู้รักษาตัวเป็นอนุรักขนาปธาน
รู้รักษาตัว ที่เป็นตัวศีล สมาธิ และปัญญาขั้นต้น
ที่เกิดมาจากสัมปชาโน สติมา รู้ทั่วตัวระลึกได้ไม่ลืมตัว
ตัวเป็นสัมปชาโนจึงเปลี่ยนจากวิปัสสนากัมมัฏฐานเป็นวิปัสสนาภาวนา
กระทำพิจารณาสติให้เป็นสติปัฏฐาน เพราะสติมาที่เคยเป็นสมถะกัมมัฏฐาน
เป็นตัวสติก่อฐานได้เกิดเป็นสติปัฏฐาน
เป็นสมถะภาวนาเป็นตัวสงบกาย สงบใจ เป็นตัวศีล สมาธิ เกิดร่วมสติปัฏฐาน
รวมความว่า ตัวสัมปชาโน ได้เป็นวิปัสสนาภาวนา ตัวสติมาได้มาเป็นสติปัฏฐาน
เป็นสมถะภาวนาเป็นตัวปกติกายปกติใจ เป็นตัวศีล สมาธิ ตัววิปัสสนาเป็นตัวปัญญาขั้นต้น
กายปกติจึงเป็นปกติศีลเป็นกายวิเวก ใจปกติเกิดสมาธิและเกิดปัญญาเป็นจิตวิเวก
น้อมตรึกนำสู่ความสงบตามภาวะสงบกายสงบใจ เกิดวิเวกส่งต่อให้ใจเกิดวิปัสสนา
พิจารณาหยั่งลงเห็นภาวะกายสงบ ใจสงบ
เป็นบาทก้าวลงสู่ความสำเร็จเหนือสุขเป็นจิตสงบวางนิวรณ์ 5
เป็นเอกัคคตาจิต น้อมพิจารณากายในกาย พอกายในดับ กายเดิมจะชัดแจ้ง
ตามเห็นเวทนาในเวทนา พอเวทนาในดับ
จิตจะวางภายในกายและเวทนาในเวทนา เป็นการตามเห็นจิตในจิต
จิตเป็นเอกัคคตาจิต จิตเป็นหนึ่งที่ฐีติจิต จิตตามเห็นธรรมในธรรม คือ อินทรีย์ 5พละ5
เมื่อตามเห็นธรรมในธรรมแล้ว
นิวรณ์5 ขันธ์5 อายตนะ12 โพชฌงค์7 และมรรคมีองค์8 เป็นโลกีย์มรรคดับสิ้น
เข้าถึงธรรมฐีติ เป็นโลกุตระมรรค เป็นอริยมรรค4 ผล4
จบทางเดินสติปัฐฐานซึ่งเป็นทางตรงทางสายเอกอริยมรรคตรงนี้

พระพุทธเจ้าทรงตรัสว่า เอกายโนภิกฺขเว อยํ มคฺโค สตฺตานํ วิสุทฺธิยา
ภิกษุทั้งหลาย ทางนี้เป็นทางเอกเป็นหนึ่งในทางทั้งหลาย

อ้างคำพูด:
อ้างอิง หนังสือ แดนคือ ธรรมที่ใจรู้


แก้ไขล่าสุดโดย วิสุทโธ เมื่อ 24 ต.ค. 2009, 01:35, แก้ไขแล้ว 1 ครั้ง

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 24 ต.ค. 2009, 11:40 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 18 ก.ค. 2009, 09:26
โพสต์: 1517

แนวปฏิบัติ: วิปัสสนาภาวนา
อายุ: 39
ที่อยู่: ลำพูน

 ข้อมูลส่วนตัว


ขออนุโมทนากับบทความที่ตัดมาลงด้วยครับ

ในบทความนี้ผมไม่เห็นจะมีอะไรที่เกี่ยวข้องกับ ถาวนามยปัญญา เลยนี่ครับ

ถาวนามยปัญญา เป็นปัญญาที่เกิดในสมาบัติ ในพระไตรปิฎกอธิบายว่า เป็นปัญญาที่รู้ละเอียดเรื่ององค์ธรรม(สภาวะต่างๆ)ในสมาธิ รวมไปถึงอภิญญา หรือการเห็นที่เกินความสามารถของมนุษย์

Quote Tipitaka:
ปัญญาของผู้เข้าสมาบัติแม้ทั้งหมด เรียกว่า ภาวนามยปัญญา

คำว่า สมาบัติ ได้แก่อนุปุพพวิหารสมาบัติ ๙ คือ ปฐมฌานสมาบัติ ทุติยฌานสมาบัติ ตติยฌานสมาบัติ จตุตถฌานสมาบัติ อากาสานัญจายตนสมาบัติ วิญญาณัญจายตนสมาบัติ อากิญจัญญายตนสมาบัติ เนวสัญญานาสัญญายตนสมาบัติ สัญญาเวทยิตนิโรธสมาบัติ


ท่านวิสุทโธเคยได้ศึกษาเรื่อง มรรคเบื้องต่ำ กับมรรคเบื้องสูง บ้างหรือเปล่าครับ?
แล้วท่านคิดว่า อุบาสกอุบาสิกาจะไปปฏิบัติธรรมแบบพระได้หรือเปล่าครับ?

.....................................................
"ธรรมและวินัยอันใด เราแสดงแล้ว บัญญัติแล้วแก่พวกเธอ ธรรมและวินัยอันนั้น จักเป็นศาสดาของพวกเธอ โดยกาลล่วงไปแห่งเรา..."
"... ไม่เที่ยง เกิดดับ ..."


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 24 ต.ค. 2009, 16:36 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 2
สมาชิก ระดับ 2
ลงทะเบียนเมื่อ: 12 ก.ย. 2009, 21:17
โพสต์: 83

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


อ้างคำพูด:
อ้างอิงพระไตรปิฎก:
ปัญญาของผู้เข้าสมาบัติแม้ทั้งหมด เรียกว่า ภาวนามยปัญญา

คำ ว่า สมาบัติ ได้แก่อนุปุพพวิหารสมาบัติ ๙ คือ ปฐมฌานสมาบัติ ทุติยฌานสมาบัติ ตติยฌานสมาบัติ จตุตถฌานสมาบัติ อากาสานัญจายตนสมาบัติ วิญญาณัญจายตนสมาบัติ อากิญจัญญายตนสมาบัติ เนวสัญญานาสัญญายตนสมาบัติ สัญญาเวทยิตนิโรธสมาบัติ


ในส่วนที่มาเรื่อง ภาวนามยปัญญา
ที่คุณอ้างอิงพระไตรปิฎก ถ้าไม่ได้มาจากพุทธพจน์หรือเป็นธรรมบท
เป็นพระอรรถกถาจารย์ยังเชื่อไม่ได้
เพราะพระอรรถกถาจารย์เองก็ไม่ได้เป็นพระอรหันต์รจนาตามความเข้าใจเท่านั้น

ถ้าคุณไม่มีทิฐิมานะมาก ขอแนะนำไปฟังกัณฑ์เทศนาที่หลวงตามหาบัวเทศน์
โดยเฉพาะกัณฑ์ที่เทศน์อบรมพระมีเกือบทุกกัณฑ์


อ้างคำพูด:
ท่านวิสุทโธเคยได้ศึกษาเรื่อง มรรคเบื้องต่ำ กับมรรคเบื้องสูง บ้างหรือเปล่าครับ?
แล้วท่านคิดว่า อุบาสกอุบาสิกาจะไปปฏิบัติธรรมแบบพระได้หรือเปล่าครับ?

ผมเคยศึกษาครับเรื่องมรรคเบื้องต่ำ ที่เป็นของพระโสดาบัน
หรือมรรคเบื้องสูง คือ สังโยชน์เบื้องสูงที่เป็นสังโยชน์ ๖ ถึง สังโยชน์๑๐

ส่วนเรื่องอุบาสกอุบาสิกาจะไปปฏิบัติธรรมแบบพระ
คุณคิดมากไปเอง เพราะการปฏิบัติขึ้นอยู่กับความแก่กล้าของอินทรีย์และบารมีที่สะสมมาของแต่ละคน
ไม่ต้องวิตกกังวลจะเป็นพระหรืออุบาสกอุบาสิกา
เพราะต่างกันที่ศีลและมีเวลาในการปฏิบัติภาวนามากกว่ากันเท่านั้น
ครั้งพุทธกาลมีฆราวาสที่สำเร็จพระอรหันต์หลายท่าน เช่น พระบิดาของพระพุทธเจ้า ฯลฯ
ความเป็นพระอรหันต์เป็นที่จิตไม่ใช่ที่เพศ
เมื่อถึงเวลาทุกอย่างธรรมะจัดสรรไปเอง

การละกิเลสต้องเริ่มที่การละกิเลสขั้นหยาบไปสุ่การละกิเลสขั้นละเอียดตามลำดับ
ถ้าไม่เริ่มต้นขั้นตอนการละกิเลสขั้นหยาบมรรคเบื้องต่ำให้สำเร็จ
แต่ไปกลัวว่าสุ่กิเลสขั้นละเอียดที่เป็นมรรคเบื้องสูงที่คุณเข้าใจว่าเหมาะสมสำหรับพระเท่านั้น
คุณไปคิดมากก่อนเกิดจริง วางแผนปริวิตกจนอารมณ์ฟุ้งซ่านวุ่นวาย

การปฏิบัติภาวนาเป็นไปตามลำดับขั้นตอนจากจิตที่หยาบสู่จิตที่ละเอียด
เมื่อจิตของคุณปฏิบัติจนเข้าสู่การเป็นพระโสดาบันแล้ว
จิตของคุณก็คือพระ แม้ว่าคุณจะไม่บวชเป็นพระก็ตามที
คุณจะรู้เอง ขั้นตอนต่อไปคุณจะต้องปฏิบัติอย่างไร

ในกรณีผู้ที่จิตของท่านเป็นพระอนาคามี ท่านย่อมรู้ว่าท่านสมควรจะปฏิบัติตนอย่างไร
ควรจะอยู่ครองเรือนหรือจะบวชพระเพื่อสะดวกในการประพฤติพรหมจรรย์
และเพื่อไม่ให้เป็นโทษเป็นบาปสำหรับผู้ที่เข้ามาเกี่ยวข้อง

ในทางโลกคุณยังเรียนไม่จบชั้นประถมป.4
แต่ไปกลัวว่า การเรียนแพทย์ไม่เหมาะกับฐานะและสติปัญญาของคุณ
ทั้งๆที่เป็นเรื่องของอนาคต ยังมาไม่ถึงไม่รู้ว่าอะไรจะเกิดขึ้นข้างหน้า
ความเหมาะสมนั้น สมควรจะพิจารณาในขณะที่คุณใกล้เรียนจบม.ุ6 ไม่ใช่ ป.4
และที่สำคัญ คุณต้องมีคุณสมบัติเป็นผู้ที่มีสติปัญญาประกอบด้วย

การที่บอกว่า อุบาสกอุบาสิกาจะไปปฏิบัติธรรมแบบพระ
คนบ้ากับคนโง่เท่านั้น ที่ไม่รู้ตัวเองว่าควรปฏิบัติตนแบบไหนถึงจะเหมาะสม
เช่นกันในกรณี พระจะไปปฏิบัติธรรมแบบอุบาสกอุบาสิกา
คงมีแต่คนบ้าคนโง่และคนชั่วเท่านั้นที่คิดได้เท่านี้


แก้ไขล่าสุดโดย วิสุทโธ เมื่อ 24 ต.ค. 2009, 18:48, แก้ไขแล้ว 1 ครั้ง

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 24 ต.ค. 2009, 20:36 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 18 ก.ค. 2009, 09:26
โพสต์: 1517

แนวปฏิบัติ: วิปัสสนาภาวนา
อายุ: 39
ที่อยู่: ลำพูน

 ข้อมูลส่วนตัว


อ้างคำพูด:
ในส่วนที่มาเรื่อง ภาวนามยปัญญา
ที่คุณอ้างอิงพระไตรปิฎก ถ้าไม่ได้มาจากพุทธพจน์หรือเป็นธรรมบท
เป็นพระอรรถกถาจารย์ยังเชื่อไม่ได้

มาจากพระอภิธรรมปิฎก เล่ม ๒ วิภังคปกรณ์

อ้างคำพูด:
ผมเคยศึกษาครับเรื่องมรรคเบื้องต่ำ ที่เป็นของพระโสดาบัน
หรือมรรคเบื้องสูง คือ สังโยชน์เบื้องสูงที่เป็นสังโยชน์ ๖ ถึง สังโยชน์๑๐

แล้วท่านว่า มหาสติปัฏฐาน ๔ เป็นมัคคปฏิปทาเบื้องต่ำหรือเบื้องสูงครับ?

อ้างคำพูด:
การละกิเลสต้องเริ่มที่การละกิเลสขั้นหยาบไปสุ่การละกิเลสขั้นละเอียดตามลำดับ

:b8:

.....................................................
"ธรรมและวินัยอันใด เราแสดงแล้ว บัญญัติแล้วแก่พวกเธอ ธรรมและวินัยอันนั้น จักเป็นศาสดาของพวกเธอ โดยกาลล่วงไปแห่งเรา..."
"... ไม่เที่ยง เกิดดับ ..."


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 24 ต.ค. 2009, 21:01 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 2
สมาชิก ระดับ 2
ลงทะเบียนเมื่อ: 12 ก.ย. 2009, 21:17
โพสต์: 83

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


อ้างคำพูด:
แล้วท่านว่า มหาสติปัฏฐาน ๔ เป็นมัคคปฏิปทาเบื้องต่ำหรือเบื้องสูงครับ?


มหาสติปัฏฐาน ๔ เป็นทางสายเอกสายเดียว เป็น มัชฌิมาปฏิปทา
เป็นการปฏิบัติที่ดำเนินอย่างถูกวิธี ตั้งแต่ต้นจนจรดปลาย

แต่ไม่แยกว่าเป็น มัคคปฏิปทาเบื้องต่ำหรือเบื้องสูง


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 24 ต.ค. 2009, 23:24 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 18 ก.ค. 2009, 09:26
โพสต์: 1517

แนวปฏิบัติ: วิปัสสนาภาวนา
อายุ: 39
ที่อยู่: ลำพูน

 ข้อมูลส่วนตัว


แล้วท่านจะตีความข้อนี้เป็นไฉนครับ

ผลของการเจริญสติปัฏฐาน

ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ผู้ใดผู้หนึ่ง พึงเจริญสติปัฏฐานทั้ง ๔ นี้ อย่างนี้ ตลอด ๗ ปี เขาพึงหวังผล ๒ ประการอย่างใดอย่างหนึ่ง คือ พระอรหัตผลในปัจจุบัน ๑ หรือเมื่อยังมีอุปาทิเหลืออยู่ เป็นพระอนาคามี ๑ ๗ ปี ยกไว้ ผู้ใดผู้หนึ่งพึงเจริญสติปัฏฐาน ๔ นี้ อย่างนี้ตลอด ๖ ปี ... ๕ ปี ... ๔ ปี ... ๓ ปี ... ๒ ปี ... ๑ ปี เขาพึงหวังผล ๒ ประการอย่างใดอย่างหนึ่ง คือ พระอรหัตผลใน ปัจจุบัน ๑ หรือเมื่อยังมีอุปาทิเหลืออยู่ เป็นพระอนาคามี ๑ ๑ ปียกไว้ ผู้ใด ผู้หนึ่ง พึงเจริญสติปัฏฐาน ๔ นี้ อย่างนี้ตลอด ๗ เดือน เขาพึงหวังผล ๒ ประการ อย่างใดอย่างหนึ่ง คือ พระอรหัตผลในปัจจุบัน ๑ หรือเมื่อยังมีอุปาทิเหลืออยู่ เป็นพระอนาคามี ๑ ๗ เดือนยกไว้ ผู้ใดผู้หนึ่งเจริญสติปัฏฐานทั้ง ๔ นี้ อย่างนี้ ตลอด ๖ เดือน ... ๕ เดือน ... ๔ เดือน ... ๓ เดือน ... ๒ เดือน ... ๑ เดือน ... กึ่ง เดือน เขาพึงหวังผล ๒ ประการอย่างใดอย่างหนึ่ง คือ พระอรหัตผลในปัจจุบัน ๑ หรือเมื่อยังมีอุปาทิเหลืออยู่ เป็นพระอนาคามี ๑ กึ่งเดือนยกไว้ ผู้ใดผู้หนึ่ง พึงเจริญสติปัฏฐาน ๔ นี้ อย่างนี้ตลอด ๗ วัน เขาพึงหวังผล ๒ ประการอย่างใด อย่างหนึ่ง คือ พระอรหัตผลในปัจจุบัน ๑ หรือเมื่อยังมีอุปาทิเหลืออยู่ เป็น พระอนาคามี ๑


มัชฌิมาปฏิปทา นี่น่าจะเป็นมรรค ๘ มากกว่ามั้งครับ

.....................................................
"ธรรมและวินัยอันใด เราแสดงแล้ว บัญญัติแล้วแก่พวกเธอ ธรรมและวินัยอันนั้น จักเป็นศาสดาของพวกเธอ โดยกาลล่วงไปแห่งเรา..."
"... ไม่เที่ยง เกิดดับ ..."


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 24 ต.ค. 2009, 23:50 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 2
สมาชิก ระดับ 2
ลงทะเบียนเมื่อ: 12 ก.ย. 2009, 21:17
โพสต์: 83

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


การเจริญสติปัฏฐาน ถ้าทำอย่างถูกวิธีและตลอดต่อเนื่อง

ผลของการเจริญสติปัฏฐาน ย่อมเป็นไปตามนั้น


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 25 ต.ค. 2009, 01:04 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 18 ก.ค. 2009, 09:26
โพสต์: 1517

แนวปฏิบัติ: วิปัสสนาภาวนา
อายุ: 39
ที่อยู่: ลำพูน

 ข้อมูลส่วนตัว


ผลของสติปัฏฐาน เป็นพระอรหัตผล หรือ พระอนาคามีผล แล้วจะเป็นทั้งมรรคเบื่องต่ำกับมรรคเบื้องสูงได้อย่างไรครับ?

.....................................................
"ธรรมและวินัยอันใด เราแสดงแล้ว บัญญัติแล้วแก่พวกเธอ ธรรมและวินัยอันนั้น จักเป็นศาสดาของพวกเธอ โดยกาลล่วงไปแห่งเรา..."
"... ไม่เที่ยง เกิดดับ ..."


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 25 ต.ค. 2009, 14:42 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 2
สมาชิก ระดับ 2
ลงทะเบียนเมื่อ: 12 ก.ย. 2009, 21:17
โพสต์: 83

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


อ้างคำพูด:
ผลของสติปัฏฐาน เป็นพระอรหัตผล หรือ พระอนาคามีผล แล้วจะเป็นทั้งมรรคเบื่องต่ำกับมรรคเบื้องสูงได้อย่างไรครับ?


การละกิเลสต้องเริ่มที่การละกิเลสขั้นหยาบไปสุ่การละกิเลสขั้นละเอียดตามลำดับ
ถ้าไม่เริ่มต้นขั้นตอนการละกิเลสขั้นหยาบมรรคเบื้องต่ำให้สำเร็จ
แล้วจะไปละกิเลสขั้นละเอียดที่เป็นมรรคเบื้องสูงได้อย่างไร
การเจริญมหาสติปัฏฐาน ๔ เป็นแนวทางการปฏิปทาในการพิจารณากาย เวทนา จิต ธรรม
ผลการเจริญมหาสติปัฏฐาน ๔ จึงขึ้นอยู่กับการเจริญตลอดต่อเนื่องและถูกวิธี
ที่สำคัญ ผู้ปฏิบัติจะทำได้ทุกอริยาบถ และต่อเนื่อง หรือเปล่า
นักปฏิบัติที่มักมุ่งเอาที่ผลแต่ไม่สร้างเหตุ
ไม่เป็นปัจจุบันธรรมจะเอาแต่อนาคตที่มาไม่ถึง


อ้างคำพูด:
มหาสติปัฏฐาน ๔ เป็นมัคคปฏิปทาเบื้องต่ำหรือเบื้องสูง


ถ้าถามผลของการเป็นพระอรหัตผล หรือ พระอนาคามีผล เป็นมรรคเบื้องสุง
ที่สำคัญ คำถามคุณไม่ชัดเจน มหาสติปัฏฐาน ๔ เป็นมัคคปฏิปทาเบื้องต่ำหรือเบื้องสูง
ซึ่งแตกต่างกับคำถามที่ว่า
ผลของสติปัฏฐานเป็นพระอรหัตผล หรือพระอนาคามีผล แล้วจะเป็นทั้งมรรคเบื่องต่ำกับมรรคเบื้องสูงได้อย่างไรครับ?
ที่เป็นคำถามผลของการปฏิบัติตามแนวมหาสติปัฏฐาน ๔ ที่เป็นพระอรหัตผล หรือ พระอนาคามีผล


แก้ไขล่าสุดโดย วิสุทโธ เมื่อ 25 ต.ค. 2009, 14:45, แก้ไขแล้ว 1 ครั้ง

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 25 ต.ค. 2009, 15:15 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 18 ก.ค. 2009, 09:26
โพสต์: 1517

แนวปฏิบัติ: วิปัสสนาภาวนา
อายุ: 39
ที่อยู่: ลำพูน

 ข้อมูลส่วนตัว


ถ้าอย่างนั้นถามใหม่ การปฏิบัติตามแนวสติปัฏฐาน ๔ สามารถละสัญโยชณ์เบื้องล่าง ๓ ประการ เพื่อบรรลุโดสดาปัตติผลได้หรือไม่?

.....................................................
"ธรรมและวินัยอันใด เราแสดงแล้ว บัญญัติแล้วแก่พวกเธอ ธรรมและวินัยอันนั้น จักเป็นศาสดาของพวกเธอ โดยกาลล่วงไปแห่งเรา..."
"... ไม่เที่ยง เกิดดับ ..."


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 25 ต.ค. 2009, 15:49 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 2
สมาชิก ระดับ 2
ลงทะเบียนเมื่อ: 12 ก.ย. 2009, 21:17
โพสต์: 83

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


อ้างคำพูด:
ถ้าอย่างนั้นถามใหม่ การปฏิบัติตามแนวสติปัฏฐาน ๔ สามารถละสัญโยชณ์เบื้องล่าง ๓ ประการ เพื่อบรรลุโดสดาปัตติผลได้หรือไม่?


ได้แน่นอน เป็นทางสายเอกทางเดียว มรรคาปฏิปทาของพระอริยะเจ้า


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 25 ต.ค. 2009, 16:30 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 18 ก.ค. 2009, 09:26
โพสต์: 1517

แนวปฏิบัติ: วิปัสสนาภาวนา
อายุ: 39
ที่อยู่: ลำพูน

 ข้อมูลส่วนตัว


อ้างคำพูด:
มรรคาปฏิปทาของพระอริยะเจ้า

ขึ้นชื่อว่าพระอริยะ หมายถึงผู้สำเร็จโสดาปัตติผลขึ้นไปนะครับ ถ้าสติปัฏฐานเป็นปฏิปทาของพระอริยะเจ้า ก็หมายถึงเป็นมรรคเบื้องสูง เพื่อบรรลุอรหันตผล

มรรคาปฏิปทาเพื่อสำเร็จเป็นโสดาปัตติผล นั้นสำหรับฆารวาสหรือสมมุติสงฆ์ผู้ประสงค์ที่จะบรรลุมรรคผลนิพพาน

พอจะหาหลักฐานที่แสดงว่าการปฏิบัติสติปัฏฐาน ๔ เพื่อบรรลุโสดาปัตติผลได้บ้างหรือเปล่าครับ?

.....................................................
"ธรรมและวินัยอันใด เราแสดงแล้ว บัญญัติแล้วแก่พวกเธอ ธรรมและวินัยอันนั้น จักเป็นศาสดาของพวกเธอ โดยกาลล่วงไปแห่งเรา..."
"... ไม่เที่ยง เกิดดับ ..."


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 26 ต.ค. 2009, 14:18 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 2
สมาชิก ระดับ 2
ลงทะเบียนเมื่อ: 12 ก.ย. 2009, 21:17
โพสต์: 83

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


อ้างคำพูด:
หลักฐานที่แสดงว่าการปฏิบัติสติปัฏฐาน ๔ เพื่อบรรลุโสดาปัตติผล


ไม่มีหลักฐาน เพราะไม่ได้ถ่ายคลิปวิดิโอไว้ และก็ไม่ได้ขอสัมภาษณ์ผู้สำเร็จบรรลุโสดาปัตติผล

ทำแบบศาลขอหลักฐาน น่าจะขอพยานด้วย


คุณถามวกไปวนมา พายเรือในอ่าง

การปฏิบัติสติปัฏฐาน ๔ ผู้ศึกษาธรรมใครๆก็รู้ว่า ทำให้ผู้ปฏิบัติบรรลุตั้งแต่โสดาปัตติผลจนถึงอรหัตผล

ถ้าการปฏิบัติสติปัฏฐาน ๔ ไม่สามารถทำให้ผู้ปฏิบัติบรรลุโสดาปัตติผล

คุณมีหลักฐานอะไรมายืนยันไหม


แก้ไขล่าสุดโดย วิสุทโธ เมื่อ 26 ต.ค. 2009, 14:22, แก้ไขแล้ว 1 ครั้ง

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 26 ต.ค. 2009, 18:52 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 18 ก.ค. 2009, 09:26
โพสต์: 1517

แนวปฏิบัติ: วิปัสสนาภาวนา
อายุ: 39
ที่อยู่: ลำพูน

 ข้อมูลส่วนตัว


ผมหมายถึงหลักฐานในพระสูตร ท่านก็คิดมากไปได้ :b13:

ในพระสูตร พระพุทธองค์แสดงสติปัฏฐานให้กับพระอริยะ หรือ อริยบุคคลตั้งแต่โสดาบันบุคคลขึ้นไป ในสมัยนั้น ภิกษุที่ล้อมรอบพระพุทธองค์ทรงคุณอย่างน้อยก็เป็พระโสดาบัน

ส่วน โสดาปฏิปทา มีปรากฎในพระสูตร เล่มที่ ๘ ว่าด้วยเรื่องปกิจจสมุปบาท และเรื่องอุปทานขันธ์ ๕ เลยจนไปถึงเล่ม ๑๐ ในม ๑๑ ตอนท้ายเล่ม แสดงโสดาปฏิปทาอย่างละเอียด ในพระสูตรเล่มที่ ๒๑ และ ๒๒ (มหานิเทศและจูฬนิเทศ) แสดงการปฏิบัติธรรมตั้งแต่ต้น ที่ว่ามาทั้งหมด ไม่มีตรงใหนกล่าวถึงสติปัฏฐานเลย มีแต่การพิจารณาขันธ์ ๕ อินทรีย์ ๖

รบกวนทบทวนดูอีกทีนะครับ สติปัฏฐาน เป็นการพิจารณาองค์ธรรมที่มีความละเอียดมาก ไม่ใช่เรื่องที่จะมาปฏิบัติเล่นๆ เป็นการปหานธรรมที่ละเอียดไม่ใช่อย่างหยาบ :b8:

.....................................................
"ธรรมและวินัยอันใด เราแสดงแล้ว บัญญัติแล้วแก่พวกเธอ ธรรมและวินัยอันนั้น จักเป็นศาสดาของพวกเธอ โดยกาลล่วงไปแห่งเรา..."
"... ไม่เที่ยง เกิดดับ ..."


แก้ไขล่าสุดโดย Supareak Mulpong เมื่อ 26 ต.ค. 2009, 19:14, แก้ไขแล้ว 1 ครั้ง

แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 109 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1 ... 4, 5, 6, 7, 8  ต่อไป

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 37 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร