วันเวลาปัจจุบัน 28 เม.ย. 2024, 18:13  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


กฎการใช้บอร์ด


รวมกระทู้จากบอร์ดเก่า http://www.dhammajak.net/board/viewforum.php?f=2



กลับไปยังกระทู้  [ 279 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1 ... 6, 7, 8, 9, 10, 11, 12 ... 19  ต่อไป  Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 12 ม.ค. 2010, 05:50 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 5
สมาชิก ระดับ 5
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ก.พ. 2009, 05:07
โพสต์: 372


 ข้อมูลส่วนตัว


อ้างคำพูด:
คุณเฉลิมศักดิ์ ผู้จะปฏิบัติกรรมฐาน ท่านให้วางหนังสือทุกเล่มที่ตนถืออยู่ไว้หน้าประตูห้องกรรมฐาน

อย่านำเข้าไปอ่าน ให้ดูกายใจที่กำลังเป็นไปในขณะนั้นๆ เท่านั้น

แม้แต่ความรู้ที่ตนเคยเรียนจากห้องเรียนก็พึงเก็บไว้ ไม่พึงนำไปคิดตอนที่กำลังกำหนดรู้รูปคือร่างกาย นามคือ

ความคิด ตามที่มันเป็นไปอยู่ในขณะนั้นๆ นี่คือการเรียนรู้ชีวิตหรือกายใจนี้

แต่คุณฟุ้งตำราจนมองไม่เห็นชีวิต มองไม่เห็นโลกตามที่มันเป็น

คุณนึกย้อนไปครั้งที่เจ้าชายสิทธิตถัตถะทิ้งสมบัติเข้าป่าดิ มีตำราไปกี่เล่ม ใช้คัมภีร์ไหนบ้าง

คุณตอบหน่อยสิครับ



คุณกรัชกายครับ ธุระที่สำคัญใน พระพุทธศาสนา มี ๒ อย่างคือ คันถธุระ และ วิปัสสนาธุระ

ธุระ, กิจในพระศาสนา

หน้าที่การงานที่พึงกระทำ, กิจในพระศาสนา มี ๒ อย่าง คือ
๑. คันถธุระ หมายถึง ธุระฝ่ายคัมภีร์, กิจด้านการเล่าเรียนปริยัติ
(ท่านอุปมาเหมือนการศึกษาแผนที่ ก่อนเดินทาง เพื่อที่จะได้ไม่หลงทาง)
๒. วิปัสสนาธุระ หมายถึง ธุระฝ่ายเจริญวิปัสสนา, กิจด้านการบำเพ็ญ
ภาวนา หรือเจริญกรรมฐาน ซึ่งรวมทั้งสมถะด้วย เรียกรวมเข้าใน
วิปัสสนาโดยฐานเป็นส่วนคลุมยอด
ธุระ ๒ นี้ มาในอรรถกถา
# ธ.อ.๑/

----------------------------------

ผู้ที่จะเข้าปฏิบัติ กรรมฐาน ก็ต้องมีความรู้พื้นฐานก่อน ว่าจะปฏิบัติในแนวไหน

สมถยานิก หรือ วิปัสสนายานิก

สติปัฏฐาน ๔ แบบไหนที่จะตรงกับจริต

มีแนวทางการปฏิบัติอย่างไร ปัญญาที่เกิดเป็นอย่างไร

มีความบริสุทธิ์ ที่จะนำไปสู่ วิสุทธิ เกิด วิปัสสนาญาณ ได้หรือไม่


อ้างคำพูด:
คุณนึกย้อนไปครั้งที่เจ้าชายสิทธิตถัตถะทิ้งสมบัติเข้าป่าดิ มีตำราไปกี่เล่ม ใช้คัมภีร์ไหนบ้าง

คุณตอบหน่อยสิครับ


คุณกรัชกายครับ การสั่งสมบารมีของ ปุถุชนผู้หนาแน่นด้วยกิเลส อย่างพวกเรา อย่าได้ไปเปรียบเทียบกับ พระโพธิสัตว์ พระพุทธเจ้า เลยครับ

เพราะ บารมี แตกต่างกัน

พระโพธิสัตว์ในพระชาติสุดท้ายนั้น ที่จะเกิด ปัญญา โดยไม่อาศัยคำสอนจากครูบาอาจารย์ใด ๆ เรียกว่า จนตามยปัญญา

" จิ น ต า ม ย ปั ญ ญ า " !
ปัญญาของพระพุทธเจ้าที่ชาวพุทธควรเข้าใจให้ถูกต้อง
http://larndham.org/index.php?showtopic=25283&st=0

ความหมายของคำว่า " จินตามยปัญญา " ที่พุทธศาสนิกชนนิยมใช้กันในปัจจุบัน
มักจะมีความเข้าใจกันว่า

" จินตามยปัญญา เป็น ปัญญาจากการคิดตามแล้วรู้สึกว่าเข้าใจ หมดสงสัย "

แต่โดยความหมายที่แท้จริง ของ "จินตามยปัญญา"

" จินตามยปัญญา " หมายถึง ปัญญาของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า และ ปัญญาของพระ
ปัจเจกพุทธเจ้า อันเป็นปัญญาที่เกิดจากการตรัสรู้ดีโดย
ชอบได้โดยพระองค์เอง ไม่ต้องอาศัยการสดับฟังคำ
สั่งสอนจากผู้อื่น

โดย สภาวะปรมัตถ์ หมายถึง ปัญญา ที่ประกอบกับ อรหัตตมรรคจิต รูปฌานกริยาจิต
อรูปฌานกริยาจิต และ มหากริยาจิต
ของ พระสัมมาสัมพุทธเจ้า และ พระปัจเจกพุทธเจ้า
เท่านั้น

ส่วน ปัญญาจากการคิดตามแล้วรู้สึกว่าเข้าใจ หมดสงสัย เรียกว่า "สุตมยปัญญา"

ดังนั้น

ท่านทั้งหลายพึงทราบเถิด ! ว่า
ในปัญญา ๓ อย่าง คือ สุตมยปัญญา ๑ จินตามยปัญญา ๑ ภาวนามยปัญญา ๑

จินตามยปัญญา เป็นปัญญาของ พระสัมมาสัมพุทธเจ้า และ พระปัจเจกพุทธเจ้า เท่านั้น
บุคคลผู้มิใช่ พระสัมมาสัมพุทธเจ้า และ พระปัจเจกพุทธเจ้า
ไม่สามารถมี " จินตามยปัญญา " ได้
คงมีแต่
สุตมยปัญญา และ ภาวนามยปัญญา ที่บังเกิดขึ้นได้เท่านั้น

กล่าวคือ
1.จินตามยปัญญา ที่ใช้กันอยู่ ไม่ใช่ จินตามยปัญญาจริง ๆ แต่เป็น สุตมยปัญญา
2.จินตามยปัญญา ที่ใช้กันอยู่ เป็นจินตามยปัญญาที่ใช้กันโดยสมมติตามโวหารของ
ชาวโลกเท่านั้น ไม่ใช่ จินตามยปัญญา แท้ !
3. บุคคลผู้จักปฏิญาณตนว่า เป็นผู้มี "จินตามยปัญญา" บุคคลผู้นั้นต้องเป็น
พระสัมมาสัมพุทธเจ้า หรือ พระปัจเจกพุทธเจ้า เท่านั้น

----------------------------------------------------------------

http://larndham.org/index.php?showtopic ... ntry348200

คำว่า ปรโต อสุตฺวา ปฏิลภติ (แปลว่า บุคคลมิได้ฟังจากผู้อื่น
ย่อมได้...) ได้แก่ มิได้ฟังคำแนะนำของผู้อื่น คิดอยู่เองนั่นแหละ ย่อมได้...
คำว่า อยํ วุจฺจติ (แปลว่า นี้เรียกว่า) ได้แก่ ปัญญานี้ พระผู้มีพระ-
ภาคเจ้าตรัสเรียกว่า จินตามยปัญญา.
ก็จินตามยปัญญานั้น ย่อมไม่เกิดแก่บุคคลพวกใดพวกหนึ่ง
ย่อมเกิดขึ้นแก่พระมหาสัตว์ทั้งหลาย ผู้รู้ยิ่งเท่านั้น.
สัจจานุโลมิกญาณแม้ในที่นี้ ก็ย่อมเกิดแก่พระโพธิสัตว์ทั้ง
สอง (ทฺวินฺนํเยว โพธิสตฺตานํ) เท่านั้น.
ปัญญาที่เหลือ บัณฑิตพึงทราบว่า ย่อมเกิดขึ้นแก่บุคคลผู้มีปัญญา
มากแม้ทั้งหมดซึ่งมีบารมีเต็มแล้ว.

-----------------------------------------------------------

อ้างคำพูด:
คุณนึกย้อนไปครั้งที่เจ้าชายสิทธิตถัตถะทิ้งสมบัติเข้าป่าดิ มีตำราไปกี่เล่ม ใช้คัมภีร์ไหนบ้าง

คุณตอบหน่อยสิครับ


อ่านความเห็นของคุณกรัชกายแล้ว นึกถึงข้อคิดของ พระวิปัสสนาจารย์ท่านหนึ่ง คือ อาจารย์ไชยวัฒน์

นี้คุณกรัชกายกำลังสอนให้คนเป็นพระพุทธเจ้าหรือครับ ?

http://larndham.org/index.php?showtopic ... er=1&st=3&

บางสำนักบอกว่าไม่ต้องฟังหรอก ปฏิบัติไปก็ได้รู้เอง ใครล่ะครับไม่ต้องฟัง ปฏิบัติไปแล้วก็เกิดปัญญารู้เอง ใครครับ พระพุทธเจ้านา ใครก็ตามไปปฏิบัติสำนักนี่เกิดความคลางแคลงสงสัยในข้อธรรม เรื่องหลักฐานตำราพระไตรปิฏก บาลี อรรถกถา มาถามอาจารย์ อาจารย์จะตัดบทไม่ต้องไปสนใจหรอกคุณ ฟุ้งซ่านไปเปล่า ๆ คุณปฏิบัติไปคุณก็เกิดรู้ขึ้นมาเอง ว่าอะไรเป็นอะไร สอนให้คนเป็นพระพุทธเจ้า ต้องเรียนต้องฟังต้องทบทวน ไม่เข้าใจสงสัยก็ ไตร่ถามท่านผูรู้ ปัญญาวุธ ก็ขาดไม่ได้ ปัญญาวุธในที่นี้เป็น “ วิปัสสนาปัญญา “ ถ้าพร้อมเพรียงอาวุธทั้ง ๓ นี้แล้วนั่นแหละ เอาชนะกิเลสได้

ท่านอาจารย์ไชยวัฒน์ เป็นพระวิปัสสนาจารย์ท่านหนึ่ง ที่แตกฉานในพระไตรปิฏก อรรถกถา และแนวทางการปฏิบัติ วิปัสสนายานิก ท่านได้ บรรยายไว้น่าศึกษามากดังนี้

สติปัฏฐาน
http://larndham.org/index.php?showtopic=23508&st=0

.....................................................
สมถะ (ฌาน, สมาธิ) ที่เป็นบาทของวิปัสสนา
http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=2&t=21049

ผู้บรรลุธรรม จากสมถะ มีจำนวนน้อยกว่าผู้ไม่มี
http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=2&t=21062

การเจริญสติปัฏฐานหมวดพิจารณาอิริยาบถ ๔ จากพระไตรปิฏก อรรถกถา
http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=2&t=29201

ควรศึกษาอัตตโนมติ ของท่านพุทธทาสหรือไม่ ?
http://www.dhammajak.net/board/viewtopic.php?t=17187


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 12 ม.ค. 2010, 07:56 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


อ้างคำพูด:
อ่านความเห็นของคุณกรัชกายแล้ว นึกถึงข้อคิดของ พระวิปัสสนาจารย์ท่านหนึ่ง คือ
อาจารย์ไชยวัฒน์
นี้คุณกรัชกายกำลังสอนให้คนเป็นพระพุทธเจ้าหรือครับ ?


อาจารย์ที่คุณเฉลิมศักดิ์พูดถึงนี่อยู่วัดไหนขอรับ

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 13 ม.ค. 2010, 06:20 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 5
สมาชิก ระดับ 5
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ก.พ. 2009, 05:07
โพสต์: 372


 ข้อมูลส่วนตัว


อ้างคำพูด:
กรัชกาย เขียน
คุณนึกย้อนไปครั้งที่เจ้าชายสิทธิตถัตถะทิ้งสมบัติเข้าป่าดิ มีตำราไปกี่เล่ม ใช้คัมภีร์ไหนบ้าง

คุณตอบหน่อยสิครับ


อ่านความเห็นของคุณกรัชกายแล้ว นึกถึงข้อคิดของ พระวิปัสสนาจารย์ท่านหนึ่ง คือ อาจารย์ไชยวัฒน์

นี้คุณกรัชกายกำลังสอนให้คนเป็นพระพุทธเจ้าหรือครับ ?

http://larndham.org/index.php?showtopic ... er=1&st=3&

บางสำนักบอกว่าไม่ต้องฟังหรอก ปฏิบัติไปก็ได้รู้เอง ใครล่ะครับไม่ต้องฟัง ปฏิบัติไปแล้วก็เกิดปัญญารู้เอง ใครครับ พระพุทธเจ้านา ใครก็ตามไปปฏิบัติสำนักนี่เกิดความคลางแคลงสงสัยในข้อธรรม เรื่องหลักฐานตำราพระไตรปิฏก บาลี อรรถกถา มาถามอาจารย์ อาจารย์จะตัดบทไม่ต้องไปสนใจหรอกคุณ ฟุ้งซ่านไปเปล่า ๆ คุณปฏิบัติไปคุณก็เกิดรู้ขึ้นมาเอง ว่าอะไรเป็นอะไร สอนให้คนเป็นพระพุทธเจ้า ต้องเรียนต้องฟังต้องทบทวน ไม่เข้าใจสงสัยก็ ไตร่ถามท่านผูรู้ ปัญญาวุธ ก็ขาดไม่ได้ ปัญญาวุธในที่นี้เป็น “ วิปัสสนาปัญญา “ ถ้าพร้อมเพรียงอาวุธทั้ง ๓ นี้แล้วนั่นแหละ เอาชนะกิเลสได้

ท่านอาจารย์ไชยวัฒน์ เป็นพระวิปัสสนาจารย์ท่านหนึ่ง ที่แตกฉานในพระไตรปิฏก อรรถกถา และแนวทางการปฏิบัติ วิปัสสนายานิก ท่านได้ บรรยายไว้น่าศึกษามากดังนี้

สติปัฏฐาน
http://larndham.org/index.php?showtopic=23508&st=0


-------------------------------------------

อ้างคำพูด:
กรัชกาย เขียน
อาจารย์ที่คุณเฉลิมศักดิ์พูดถึงนี่อยู่วัดไหนขอรับ



ผมเคยอ่านแต่ ผลงานของท่านครับ เพื่อเป็นแนวทางในการเจริญสติปัฏฐาน เป็นการแสดงธรรมโดยลำดับ ตั้งแต่ พระไตรปิฏก อรรถกถา ฏีกา

ท่านรับ บรรยายธรรมให้แก่ผู้สนใจทั่วไป ครับ พอดีผมอยู่ ต่างจังหวัดครับ ไม่ค่อยรู้อะไรมาก คุณกรัชกายลงค้นหาดูครับ

หากสนใจก็ไปศึกษาแนวทางการปฏิบัติที่ถูกต้องจากท่านได้

ที่ผมค้นเจอจากข้อมูลเก่า ๆ

อาจารย์ไชยวัฒน์ กปิลกาญจน์

http://www.ryt9.com/s/prg/219833/

อ้างคำพูด:
ธรรมสถานจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย จัดรายการบรรยายธรรมวันอาทิตย์ ประจำเดือนมีนาคม 2541 ระหว่างเวลา 14.00-15.50 น. และ 16.10-18.00 น. ตามกำหนดการ คือ วันอาทิตย์ที่ 22 มีนาคม 2541 บรรยายเรื่อง "พบ : เขมะนันทะ" โดยอาจารย์โกวิท (เขมะนันทะ) และเรื่อง "จิตวิเคราะห์ตามหลักพุทธศาสนา" โดย ศาสตราจารย์ ดร.ระวี ภาวิไล ส่วนวันอาทิตย์ที่ 29 มีนาคม 2541 บรรยายเรื่อง "สาระจากพระสูตร" โดยอาจารย์ไชยวัฒน์ กปิลกาญจน์

.....................................................
สมถะ (ฌาน, สมาธิ) ที่เป็นบาทของวิปัสสนา
http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=2&t=21049

ผู้บรรลุธรรม จากสมถะ มีจำนวนน้อยกว่าผู้ไม่มี
http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=2&t=21062

การเจริญสติปัฏฐานหมวดพิจารณาอิริยาบถ ๔ จากพระไตรปิฏก อรรถกถา
http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=2&t=29201

ควรศึกษาอัตตโนมติ ของท่านพุทธทาสหรือไม่ ?
http://www.dhammajak.net/board/viewtopic.php?t=17187


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 13 ม.ค. 2010, 08:04 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


อ้างคำพูด:
ผมเคยอ่านแต่ ผลงานของท่านครับ เพื่อเป็นแนวทางในการเจริญสติปัฏฐาน เป็นการแสดงธรรมโดยลำดับ ตั้งแต่ พระไตรปิฏก อรรถกถา ฏีกา

ท่านรับ บรรยายธรรมให้แก่ผู้สนใจทั่วไป ครับ พอดีผมอยู่ ต่างจังหวัดครับ ไม่ค่อยรู้อะไรมาก คุณกรัชกายลงค้นหาดูครับ

หากสนใจก็ไปศึกษาแนวทางการปฏิบัติที่ถูกต้องจากท่านได้

ที่ผมค้นเจอจากข้อมูลเก่า ๆ


แล้วคุณเฉลิมศักดิ์รู้เข้าใจได้อย่างไรว่า คำพูดของผู้นั้นว่าถูก หรือ เขาพูดตรงใจคุณ :b1:

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 13 ม.ค. 2010, 08:16 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


คุณเฉลิมศักดิ์คิดออกหรือยัง ที่กรัชกายตั้งคำถามคุณว่า

กรัชกาย เขียน:
มีคำถามพื้นๆง่ายๆ ในชีวิตประจำวัน


อยากนั่ง(ธรรมดาๆ) เป็นตัณหาไหม

อยากนั่งกรรมฐานเป็นตัณหาไหม

อยากเดินจงกรมเป็นตัณหาไหม

อยากเดิน (เดินธรรมดาๆ) เป็นตัณหาไหม

อยากวิ่งเป็นตัณหาไหม

อยากวิ่งจงกรมเป็นตัณหาไหม

อยากกินข้าวเป็นตัณหาไหม

อยากปิดประตูเป็นตัณหาไหม

อยากนอนเป็นตัณหาไหม

อยากทำงานเป็นตัณหาไหม

ฯลฯ

แล้วตั้งท่าจะทำยังงั้นๆ แต่ละอย่างๆ เป็นสมถะหรือวิปัสสนา :b1: :b32:

อนึ่ง หากไม่อยากทำสิ่งดังกล่าวมานั่นล่ะ เป็นตัณหาไหม


ตอบสิครับ

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 13 ม.ค. 2010, 08:30 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 3
สมาชิก ระดับ 3
ลงทะเบียนเมื่อ: 31 ส.ค. 2009, 22:34
โพสต์: 173

ชื่อเล่น: เจ้ก
อายุ: 23

 ข้อมูลส่วนตัว


ขอถามต่อเลยน่ะครับ
ตัวผมก็พึ่งเริ่มหัดนั่งสมาธิเช่นกัน(นั่งทุกวัน วันล่ะประมาณ 30 นาที ได้เกือบสองอาทิตย์แล้วครับ)
ที่ผมจะถามคือเวลานั่งสมาธิอยู่แล้วผมจะเมื่อยหลังน่ะครับ
แล้วผมจะชอบขยับหลังยืดขึ้นลงทุกๆสิบนาทีน่ะครับ
แต่มันสามารถทำให้นั่งนานขึ้นได้น่ะครับ
(แต่มีวันหนึ่งครับคือกำหนดตัวเองว่าไม่ขยับแล้วก็ทำได้ แค่วันเดียวนะครับ)

ผมเลยยากถามว่าลักษณะแบบนี้มีผลกระทบกับสมาธิของเราหรือเปล่าครับ
หรือผมต้องทำอย่างไร มีใครเคยเจอปัญหานี้บ้างหรือเปล่าครับ
ขอคำแนนะนำครับ....

ขอบคุณล่วงหน้าน่ะครับ tongue

.....................................................
จะขอเป็นแก้วน้ำที่ว่างเปล่า..เพื่อเติมเต็มธรรมที่ขาดหาย


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 13 ม.ค. 2010, 08:42 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


อ้างคำพูด:
อ้างอิงคำพูด:
กรัชกาย เขียน
คุณนึกย้อนไปครั้งที่เจ้าชายสิทธิตถัตถะทิ้งสมบัติเข้าป่าดิ มีตำราไปกี่เล่ม ใช้คัมภีร์ไหนบ้าง

คุณตอบหน่อยสิครับ

อ่านความเห็นของคุณกรัชกายแล้ว นึกถึงข้อคิดของ พระวิปัสสนาจารย์ท่านหนึ่ง คือ อาจารย์ไชยวัฒน์

นี้คุณกรัชกายกำลังสอนให้คนเป็นพระพุทธเจ้าหรือครับ ?




คุณเฉลิมศักดิ์มองธรรมะแบบหล่นมาจากฟากฟ้า หรือ ธรรมะตามจินตนาการของคน

คุณเฉลิมศักดิ์ครับ ธรรมะซึ่งก็คือชีวิตหรือคนนี่แหละ มองให้แคบเข้ามาในตนแล้วจะเห็นธรรม


กรัชกายจึงชี้กลับไปจุดเริ่มต้นแห่งการตรัสรู้ธรรมชาติของพระพุทธเจ้า ว่าครั้งออกบวชว่าพระองค์นำหนังสือ

ไปกี่เล่ม เอาคัมภีร์ไหนติดตัวไปบ้าง

ไม่มีเลยไปแต่ตัว

แล้วท่านค้นคว้าจากไหนล่ะ ? ก็จากกาย-ใจ หรือ ชีวิตของพระองค์นี่แหละ

ค้นหาที่ตนเองนี่คุณเฉลิมศักดิ์

คุณจะต้องเอาตำราทั้งหมดมารวมเข้าในคนหรือชีวิตนี้ให้ได้ จึงจะประสบความสำเร็จ

แต่ถ้าเอาคนหรือชีวิตไปรวมกับตำราแต่ละเล่มๆ แต่ละตัวอักษรล่ะก็ คุณจะได้แต่ความเพ้อฝันไปตามตัวหนังสือ

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 13 ม.ค. 2010, 08:48 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว




54848500.gif
54848500.gif [ 19.52 KiB | เปิดดู 4695 ครั้ง ]
jekky เขียน:
ขอถามต่อเลยน่ะครับ
ตัวผมก็พึ่งเริ่มหัดนั่งสมาธิเช่นกัน(นั่งทุกวัน วันล่ะประมาณ 30 นาที ได้เกือบสองอาทิตย์แล้วครับ)
ที่ผมจะถามคือเวลานั่งสมาธิอยู่แล้วผมจะเมื่อยหลังน่ะครับ
แล้วผมจะชอบขยับหลังยืดขึ้นลงทุกๆสิบนาทีน่ะครับ
แต่มันสามารถทำให้นั่งนานขึ้นได้น่ะครับ
(แต่มีวันหนึ่งครับคือกำหนดตัวเองว่าไม่ขยับแล้วก็ทำได้ แค่วันเดียวนะครับ)

ผมเลยยากถามว่าลักษณะแบบนี้มีผลกระทบกับสมาธิของเราหรือเปล่าครับ
หรือผมต้องทำอย่างไร มีใครเคยเจอปัญหานี้บ้างหรือเปล่าครับ
ขอคำแนนะนำครับ....

ขอบคุณล่วงหน้าน่ะครับ


ดีเลยครับ คุณ jekky คุณตั้งกระทู้ใหม่นะครับ ว่าสนทนากับคุณเฉลิมศักดิ์และกรัชกาย เอาประเด็นที่คุณถาม

นี่ล่ะ

เอาแล้วครับคุณเฉลิมศักดิ์ ได้ของจริงโดยไม่ต้องเพ้อฝันเลื่อนลอย คุณต้องไปให้ได้นะขอรับ บุ๊คตัวคุณไว้ล่วง

หน้าเลย

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 13 ม.ค. 2010, 19:39 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว




927411043l1.gif
927411043l1.gif [ 3.09 KiB | เปิดดู 4670 ครั้ง ]
คุณเฉลิมศักดิ์ครับ คุณ jekky เห็นเราสองคนโต้แย้งเห็นต่างกันเรื่องวิปัสสนา+สมาธิหรือสมถะ

เค้ากำลังประสบปัญหาอยู่พอดี

กรัชกายจึงให้ตั้งกระทู้ใหม่ โดยมีคุณและกรัชกายให้คำปรึกษา

คุณไปให้ได้นะครับ ในพระไตรปิฎก อรรถกถา ฎีกา อนุฎีกา ว่าไว้อย่างไร คุณแสดงได้เต็มที่เลย

กรัชกายจะเป็นฝ่ายปุจฉา คุณเป็นฝ่ายวิสัชนา

ตามไปเลยครับ

viewtopic.php?f=2&t=28547

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


แก้ไขล่าสุดโดย กรัชกาย เมื่อ 13 ม.ค. 2010, 19:41, แก้ไขแล้ว 1 ครั้ง
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 18 ม.ค. 2010, 06:13 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 5
สมาชิก ระดับ 5
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ก.พ. 2009, 05:07
โพสต์: 372


 ข้อมูลส่วนตัว


อ้างคำพูด:
กรัชกาย
มีคำถามพื้นๆง่ายๆ ในชีวิตประจำวัน
อยากนั่ง(ธรรมดาๆ) เป็นตัณหาไหม
อยากนั่งกรรมฐานเป็นตัณหาไหม
อยากเดินจงกรมเป็นตัณหาไหม
อยากเดิน (เดินธรรมดาๆ) เป็นตัณหาไหม
อยากวิ่งเป็นตัณหาไหม
อยากวิ่งจงกรมเป็นตัณหาไหม
อยากกินข้าวเป็นตัณหาไหม
อยากปิดประตูเป็นตัณหาไหม
อยากนอนเป็นตัณหาไหม
อยากทำงานเป็นตัณหาไหม
ฯลฯ
แล้วตั้งท่าจะทำยังงั้นๆ แต่ละอย่างๆ เป็นสมถะหรือวิปัสสนา



คุณกรัชกายครับ ความอยาก ทั้งหลายในชีวิต ประจำวัน ล้วนเป็นตัณหา ครับ

อ้างคำพูด:
แล้วตั้งท่าจะทำยังงั้นๆ แต่ละอย่างๆ เป็นสมถะหรือวิปัสสนา


ขอตอบในแนว วิปัสสนายานิกะ ที่อาศัยขณิกสมาธิ พิจารณา รูป นาม อันเป็น ปัจจุบันอารมณ์

แต่เมื่อปฏิบัติวิปัสสนา พระวิปัสสนาจารย์ท่าน สอนไม่ให้ตั้งท่าจะทำยังงั้น ๆ แต่ละอย่าง

ซึ่งขัดแย้งกับ แนวทาง ยุบหนอ พองหนอ ที่คุณกรัชกายปฏิบัติ ที่ผมเห็นตั้งท่าไว้ก่อนเลย เช่น

เดินช้า ๆ ซ้ายย่างหนอ ขวาย่างหนอ 3 จังหวะ 30 นาที

เดินช้า ซ้ายย่างหนอ ขวาย่างหนอ 6 จังหวะ 30 นาที

นั่ง เพ่งท้อง ยุบหนอ พองหนอ 30 นาที

ฯลฯ เป็นต้น

แต่สำหรับแนวทางปฏิบัติของผม ท่านสอนไม่ให้ตั้งท่าไว้ก่อน จะทำอะไรก็ทำเพื่อแก้ทุกข์ กำนหดรู้ในทุกข์ แล้วค่อยเปลี่ยนอิริยาบถ

เช่น กำหนดดูรูปนั่ง ในท่าทางอาการที่นั่งอยู่ เมื่อเกิดทุกขเวทนาขึ้น ก็ขยับเปลี่ยนอิริยาบถเล็กน้อย แล้วดูรูปที่เปลี่ยนไป เมื่อเปลี่ยนอิริยาบถเสร็จ ก็กำหนดรู้ ในท่านั่ง ว่าเป็นอาการของรูป ไม่ไปยินดี(อภิชฌา)ในอิริยาบถใหม่ ที่ยังไม่เกิด ทุกขเวทนา

พระวิปัสสนาจารย์ท่านเน้นย้ำเสมอ ว่า ตัณหา จะเกิดตรงการเปลี่ยนอิริยาบถใหม่ มากที่สุด จึงให้โยนิโสมนสิการในการเปลี่ยนอิริยาบถให้มาก

และอิริยาบถต่าง ๆ ก็ให้เป็นธรรมชาติ ไม่ต้องไป สร้างขึ้นมาใหม่ เพราะตัณหา มันก็อาศัยอยู่ในอิริยาบถทั่วไปอยู่แล้ว เพียงเป็นผู้ดู (ผู้ดูละคร)

ต่างจากแนวทางยุบหนอ พองหนอ ที่สร้าง อิริยาบถใหม่ ขึ้นมาเพื่อเพ่งใหม่ทั้งหมด จึงเปรียบเป็นผู้แสดงละคร และ ตัณหาก็คงยังแฝงอยู่ ไม่สามารถเว้นกั้นได้ ยังมีความเป็น เราเดิน เรานั่ง เราสงบ เราสุข เราทุกข์ อยู่

ขอนำหลักการปฏิบัติวิปัสสนายานิก มาแนะนำอีกครั้งนะครับ เผื่อผมอธิบายผิดพลาดไป

แนะแนวทางปฏิบัติวิปัสสนา (อาจารย์แนบ มหานีรานนท์)
http://www.dhammajak.net/board/viewtopic.php?t=6180

ต้องรู้เหตุที่จะเปลี่ยนอิริยาบถ

ถ้าเกิดปวดเมื่อยขึ้นมา เช่นอย่างเวลานั่ง พอมันปวดมันเมื่อยรู้สึกขึ้นมา เราก็ต้องเปลี่ยน อย่าไปทน ทนก็ใช้ไม่ได้ แล้วจะเปลี่ยนโดยยังไม่ทันรู้เหตุผลที่จะสมควรเปลี่ยน ไม่มีเหตุผลที่จะมาเสนอปัญญา ทำไปโดยยังไม่ได้เหตุก็ไม่ได้คือ เวลาจะเปลี่ยนอิริยาบถ เราจะต้องรู้เสียก่อน ต้องรู้เหตุที่จะทำให้เปลี่ยนอิริยาบถเสียก่อน ไม่ใช่เปลี่ยนไปด้วยอำนาจกิเลส

ถ้าเราต้องการ ความอยากก็เกิดขึ้น เราจะละกิเลสไม่ได้ เพราะเราทำไปด้วยความต้องการกิเลสก็เข้าอาศัยได้ มันก็ละกิเลสไม่ได้ อิริยาบถนี่สำคัญ พอนั่งแล้วรู้สึกว่ามันปวดมันเมื่อย เราก็เปลี่ยนเสีย แต่ว่าให้รู้เสียก่อนว่า เปลี่ยนเพราะเหตุอะไร คือ เราไม่ได้เปลี่ยนเพราะกิเลส เราเปลี่ยนเพราะอำนาจความปวด ความเมื่อย พระอรหันต์ท่านยังต้องเปลี่ยน ท่านก็ยังต้องมีอิริยาบถที่ต้องเปลี่ยน ไม่เปลี่ยนไม่ได้มันก็ต้องตายละคนเรา ทีนี้เราก็เปลี่ยนอิริยาบถ แต่ให้รู้ว่า เปลี่ยนเพราะว่ามันเป็นทุกข์ ทุกข์มันเกิดขึ้นแล้วเราจะต้อง เปลี่ยนเพื่อแก้ทุกข์ ต้องให้ทำความรู้สึกอย่างนี้ เพื่อแก้ทุกข์หรือถูกทุกข์บังคับให้เปลี่ยน ถ้าเราเปลี่ยนแล้ว เราทำความรู้สึกว่าเปลี่ยนไปเพื่อจะสบาย อิริยาบทใหม่นี่มันจะสบาย เรานั่งเมื่อยเราก็ต้องอยากนอน ที่เราอยากนอนเพราะเรารู้สึกว่า รูปนอนมันสบาย สบายเป็นสุขวิปลาสเข้าแล้ว

ความสุขนี่ในพุทธศาสนาถือว่า วิปลาส คือผิดพลาดจากความเป็นจริง ฉะนั้น ทุกขวิปลาส จึงไม่มีในพระพุทธศาสนา มีแต่ สุขวิปลาส เพราะทุกข์นี้เป็นของจริง เป็นตัวอริยสัจ ทุกคนก็ทราบแล้วว่าทุกข์เป็นตัวอริยสัจ เป็นของจริงเป็นสัจธรรม เพราะฉะนั้น ผู้ใดเข้าไปเห็นทุกข์ ชื่อว่า ผู้นั้นเข้าไปเห็นของจริง การเข้าไปเห็นของจริง เป็น สัจจะ เขาไม่เรียกว่า วิปลาส ส่วนความสุขไม่มีจริง จึงไม่มี คำว่า สุขสัจ เพราะสุขไม่ใช่ของจริง ความจริงมันมีแต่ทุกข์เท่านั้นแหละในโลกนี้ แต่ว่า เราไม่ได้ดู ที่ไม่ได้ดูเพราะว่า กิเลสตัณหามันย้อมใจอยู่ มันก็มุ่งไปหาความสุข หาความสบายอยู่เรื่อย ตัณหานี่ไม่ชอบทุกข์ ชอบแต่ความสุข เห็นอะไรที่มันสบาย เห็นรูปแล้วสบายใจ ฟังเสียงแล้วสบายใจ นี่แหละตัณหามันชอบอย่างนี้


-------------------------------------------------------

อ้างคำพูด:
อยากนั่งกรรมฐานเป็นตัณหาไหม
อยากเดินจงกรมเป็นตัณหาไหม
แล้วตั้งท่าจะทำยังงั้นๆ แต่ละอย่างๆ เป็นสมถะหรือวิปัสสนา


จะเป็น วิปัสสนา ได้ ต้องมีโยนิโสมนสิการ ดังนี้

พระไตรปิฏก อรรถกถา และ การบรรยายของพระวิปัสสนาจารย์ ผู้ทรงพระไตรปิฏก

http://larndham.org/index.php?showtopic=23508&st=0

ในเวลาที่เดินอยู่ ประการที่ควรรู้ในอิริยาบถเดิน มี ๓ ประการคือ
๑. โก คจฺฉติ - ใครเดิน, นี้ก็เป็นประการหนึ่งที่ควรรู้
๒. กสฺส คมนํ -- การเดินเป็นของใคร, นี้ก็เป็นประการหนึ่งที่ควรรู้
๓. กึ การณา คจฺฉติ -- เพราะเหตุไรจึงเดิน, นี้ก็เป็นประการหนึ่งที่ควรรู้


ประการที่ ๒ การเดินเป็นของใคร เฉลยว่า การเดิน ท่าทางที่เดิน อาการที่เดิน เป็นของรูป คือเป็นของรูปกาย อันเป็นที่ประชุมแห่งรูปธรรมทั้งหลาย มีธาตุ ๔ ดิน น้ำ ลม ไฟ เป็นต้น โดยอาการของรูปกายนั้น เป็นของนับเนื่องในรูป ไม่ใช่ของสัตว์ ของบุคคล โดยเฉพาะไม่ใช่ของพระโยคี ไม่ใช่ของผู้ปฏิบัติ ไม่ใช่ของคนกรรมฐาน ฯลฯ ความรู้ในประการที่ ๒ นี้ เป็นความรู้ที่ห้ามความเห็นผิดว่า การเดินเป็นของอัตตา ของเรา ตลอดจนเป็นของบุคคลพิเศษที่เป็นพระโยคี เป็นผู้ปฏิบัติ เป็นคนกรรมฐาน ฯลฯ เป็นความเห็นผิด ที่ท่านเรียกว่า มานวินิพันธาทิฏฐิ แปลว่า ทิฏฐิที่เกี่ยวพันกับมานะ กล่าวคือ นอกจากจะเห็นผิดด้วยทิฏฐิว่าเป็นสัตว์เป็นบุคคลแล้ว ยังสำคัญสัตว์บุคคลนั้นว่า เป็นบุคคลพิเศษ คือเป็นพระโยคีเป็นต้น ซึ่งไม่ใช่คนปกติธรรมดา ด้วยมานะคือความถือตัวหรือความสำคัญตัว อีกด้วย ตามที่ได้กล่าวแล้วในภาค ๑.
จริงอยู่ อย่าว่าแต่พระโยคี ผู้ปฏิบัติ คนกรรมฐาน ซึ่งเป็นบุคคลพิเศษนั้นเลย แม้แต่อัตตา สัตว์ บุคคลตามปกติ ซึ่งไม่พิเศษอะไร ๆ ก็ยังไม่มีเลยเพราะฉะนั้น การเดินจะเป็นของใคร ๆ หามิได้ ที่แท้แล้วก็เป็นของรูปเท่านั้น ก็สำคัญว่าตนเป็นคนพิเศษ ไม่สาธารณะด้วยบุคคลปกติธรรมดาต่อไปอีก กล่าวคือ ในเวลาจะเดิน ย่อมสร้างอิริยาบถเดินที่พิเศษคือเดินช้า ๆ เป็นจังหวะ ค่อย ๆ ยกเท้า ค่อย ๆ เสือกเท้าไปข้างหน้า ค่อย ๆ วางเท้าลง เป็นต้น ด้วยสำคัญว่า ท่าเดินอย่างนี้เท่านั้น จึงจะนับว่าเป็นท่าเดินของพระโยคี หากว่า ในเวลานั้น ผู้อื่นผ่านมาพบเห็นเข้า ก็ย่อมทราบได้ทีเดียวว่า ผู้นี้เป็นผู้ปฏิบัติธรรม กำลังปฏิบัติอยู่ ก็อิริยาบถที่ทำขึ้นเป็นพิเศษนี้ เป็นอิริยาบถที่ผู้ปฏิบัติทำขึ้นด้วยเล็งเห็นความเป็นของดีมีสาระ เป็นอิริยาบถที่เคร่งครัด จะช่วยให้การปฏิบัติของตนประสบผลสำเร็จ เป็นต้น ก็แล การเล็งเห็นว่า สิ่งไรดี มีสาระอันการที่จะทำปัญญาให้เกิดขึ้นเห็นตามความเป็นจริงว่า สิ่งนั้นไม่ดี ไม่มีสาระ เกี่ยวกับว่าเป็นของไม่เที่ยงเป็นต้น เพื่อประโยชน์แก่การถอนกิเลสความยินดี ยึดมั่นในสิ่งนั้น ก็ไม่อยู่ในวิสัยที่จะทำได้ เพราะฉะนั้นพระโยคีพึงป้องกันเสียด้วยการสำเหนียกว่า การเดินนี้ เป็นของรูป คือเป็นอาการของรูปกาย อันเป็นที่ประชุมแห่งธาตุ ๔ มีธาตุดินเป็นต้น เท่านั้น หากว่าได้สำเหนียกอยู่เสมอ ๆ อย่างนี้ ก็จะไม่มีการถือเอาความเป็นของดีมีสาระในอิริยาบถทั้งหลาย อิริยาบถทั้งหลายก็จะเป็นไปตามปกติธรรมดา ไม่ใช่อิริยาบถพิเศษ ที่ทำขึ้นต่างหาก เมื่อเป็นเช่นนี้ ก็จะมีโอกาสทำปัญญาให้เกิดขึ้นเห็นความจริง คือความไม่เป็นสาระ เกี่ยวกับว่า เป็นของไม่เที่ยงเป็นต้น ในอิริยาบถทั้งหลายได้สืบต่อไป

.....................................................
สมถะ (ฌาน, สมาธิ) ที่เป็นบาทของวิปัสสนา
http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=2&t=21049

ผู้บรรลุธรรม จากสมถะ มีจำนวนน้อยกว่าผู้ไม่มี
http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=2&t=21062

การเจริญสติปัฏฐานหมวดพิจารณาอิริยาบถ ๔ จากพระไตรปิฏก อรรถกถา
http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=2&t=29201

ควรศึกษาอัตตโนมติ ของท่านพุทธทาสหรือไม่ ?
http://www.dhammajak.net/board/viewtopic.php?t=17187


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 18 ม.ค. 2010, 06:30 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 5
สมาชิก ระดับ 5
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ก.พ. 2009, 05:07
โพสต์: 372


 ข้อมูลส่วนตัว


อ้างคำพูด:
กรัชกายเขียน
คุณเฉลิมศักดิ์มองความคิดไม่ออก ยังมองว่า การภาวนาอย่างนั้น เป็นสมถะ (เหมือนเข้าใจการนั่งขาขวาทับขาซ้าย มือขวาทับมือซ้ายเป็นสมถะ มองการเดินสะเปะสะปะว่าเป็นวิปัสสนา)
แล้วคิดเห็นไปว่า การคิดว่า เห็นเป็นรูป รู้เป็นนาม เป็นวิปัสสนา
จึงคิดเห็นไปทำนองนั้น
สมาธิหรือสมถะยืดหยุ่นได้ มิใช่แข็งทื่อไปสุดทางตามที่คุณเข้าใจ นั่นเป็นประเด็นหนึ่ง
ขณะที่โยคี ภาวนา พองหนอ ยุบหนอ คิดหนอ ทุกข์หนอ สุขหนอ ไม่พอใจหนอ พอใจหนอ
เสียงหนอ เห็นหนอ ฯลฯ ทุกขณะทุกครั้ง ที่กระทบภาวะดังกล่าว คือ
รู้สึกยังไง เป็นอะไร จะสุขทุกข์แค่ไหน ก็กำหนดรู้ตามนั้น ตามที่มันเป็น
เท่านี้ทั้งสติสัมปชัญญะ (หรือปัญญา = วิปัสสนา) สมาธิ (สมถะ) วิริยะ เจตนา มนสิการ
สัญญา เป็นต้น เกิดทุกๆขณะที่โยคีกำหนดรู้ดูทัน
ปฏิบัติไปอย่างนั้นแหละแล้วๆเล่าๆ เมื่อได้เหตุปัจจัยพร้อมมูล องค์มรรคทั้งหมดก็รวมกันเกิดขึ้นขณะจิตเดียว

มรรคผลจะเกิดก็เกิดจากเหตุนี้

(ไม่ต้องนั่งคิดยกหรือแบกหามมันขึ้นดอก มันขึ้นของมันเองขอให้ปฏิบัติให้ถูกวิธีแค่นี้พอ)




คุณกรัชกายครับ แนวทาง หนอของคุณนั้น ผมว่าเป็นเพียงการเพ่งคำอิริยาบถ พร้อมคำภาวนา ให้เกิดสมาธิได้เท่านั้น ไม่สามารถเว้นกั้น อภิชฌา โทมนัส ตามแนว วิปัสสนา หรือ สติปัฏฐาน ได้

แม้ตอนนั้น คุณจะภาวนาว่า รู้หนอ ๆ ๆ ๆ ๆ แต่ก็หาได้มีความรู้ที่จะถ่ายถอน ตันหา มานะ ทิฏฐิ ได้ไม่

พระไตรปิฏก อรรถกถา และ การบรรยายของพระวิปัสสนาจารย์ ผู้ทรงพระไตรปิฏก

http://larndham.org/index.php?showtopic=23508&st=0

ในเวลาที่เดินอยู่ ประการที่ควรรู้ในอิริยาบถเดิน มี ๓ ประการคือ
๑. โก คจฺฉติ - ใครเดิน, นี้ก็เป็นประการหนึ่งที่ควรรู้
๒. กสฺส คมนํ -- การเดินเป็นของใคร, นี้ก็เป็นประการหนึ่งที่ควรรู้
๓. กึ การณา คจฺฉติ -- เพราะเหตุไรจึงเดิน, นี้ก็เป็นประการหนึ่งที่ควรรู้



ประการที่ ๒ กสฺส คมนํ -- การเดินเป็นของใคร มีอรรถาธิบายว่า การเดิน คือ อาการที่เดิน ท่าทางที่เดิน ไม่ใช่ของสัตว์ ไม่ใช่ของบุคคล ไม่ใช่ของหญิง ไม่ใช่ของชาย ตลอดจนไม่ใช่ของผู้ปฏิบัติ ไม่ใช่ของพระโยคี ไม่ใช่ของพระกรรมฐาน เพราะว่าอย่าว่าแต่สัตว์ บุคคล หญิง ชายเลย แม้แต่ผู้ปฏิบัติหรือพระโยคีหรือพระกรรมฐานตามที่ใช้เป็นชื่อของผู้ปฏิบัตินั้น ก็หามีอยู่จริงโดยปรมัตถ์ไม่ เป็นเพียงบัญญัติเพื่อประโยชน์แก่การเข้าใจความ หรือใช้สื่อความหมายในเวลาที่พูดเท่านั้น เมื่อเป็นเช่นนี้ การเดินนี้จะเป็นของใครที่ไหนได้ ก็เป็นของรูปนั่นแหละ เพราะเป็นอาการของรูป ประการที่ ๒ นี้ หากมองเพียงผิวเผินแล้ว จะไม่เห็นความแตกต่างกับประการแรก เพราะว่าความรู้ว่า รูปเดิน ไม่ใช่คนสัตว์เดิน กับความรู้ว่าการเดินเป็นของรูป น่าจะเป็นความรู้อันเดียวกัน แต่ทว่าความจริงยังมีข้อที่แตกต่างกันอยู่ กล่าวคือ ความรู้ในประการแรกนั้น เป็นเพียงปฏิเสธความมีอยู่แห่งสัตว์บุคคลผู้เดิน อันไม่มีอยู่จริง สิ่งที่มีอยู่จริง ที่สร้างความเข้าใจผิดว่ามีผู้เดินในเวลานั้น ก็คือรูปเดินเท่านั้น ความรู้อย่างนี้กล่าวได้ว่า เป็นความรู้ที่ถ่ายถอนทิฏฐิคือความเห็นผิดตรง ๆ ส่วนความรู้ในประการที่ ๒ เป็นการปฏิเสธแม้ความเป็นบุคคลพิเศษ คือ เป็นผู้ปฏิบัติ เป็นพระโยคี เป็นพระกรรมฐาน อันพิเศษกว่าคนธรรมดา ก็ความรู้สึกว่า ตนเป็นคนพิเศษกว่าคนอื่น คือเป็นผู้ปฏิบัติเป็นต้นนี้ เป็นความเห็นผิด ที่ท่านเรียกว่า มานวินิพันธาทิฏฐิ แปลว่า ทิฏฐิเกี่ยวกับมานะ กล่าวคือ นอกจากจะเห็นผิดด้วยทิฏฐิว่า เป็นสัตว์เป็นบุคคลดังกล่าวแล้ว ยังสำคัญว่าสัตว์บุคคลนั้นเป็นผู้ปฏิบัติ เป็นพระโยคี เป็นพระกรรมฐาน ด้วยมานะความถือตัว ความนับถือตัว เพิ่มขึ้นอีกอย่างหนึ่งด้วย และเมื่อสำคัญว่ามีผู้ปฏิบัติ มีผู้กรรมฐานอันเป็นบุคคลพิเศษอย่างนี้แล้ว ก็ย่อมยังความประพฤติเป็นไปของตน ให้เป็นของพิเศษ อันเป็นของเฉพาะตน ซึ่งเป็นคนพิเศษเท่านั้น ไม่ทั่วไปแก่ผู้คนตามปกติอื่น ๆ นั่นก็คือ แต่งท่าทางการเดินของตนให้แปลกไปจากท่าทางการเดินของผู้ไม่ปฏิบัติ กล่าวคือ ค่อยๆ ยก ค่อยๆ ย่าง ค่อยๆ ก้าว จะยกเท้าก้าวอย่างช้า ๆ เป็นจังหวะ อย่างนี้เป็นต้น ซึ่งเมื่อทำอิริยาบถให้ผิดปกติไปอย่างนี้ ก็ย่อมเล็งเห็นอิริยาบถที่ทำขึ้นมาเป็นพิเศษนี้ ว่าเป็นสาระ เป็นของดี เป็นของมีประโยชน์ อย่างนั้นอย่างนี้ เป็นธรรมดา เมื่อเป็นเช่นนี้ โอกาสที่จะทำปัญญาให้เกิดขึ้นมาเห็นความจริงในรูปอิริยาบถว่า รูปเดินเป็นต้น เป็นของไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นอนัตตา อันเป็นการเห็นว่า ไม่เป็นสาระนั่นเอง ย่อมมีได้ยาก เหตุเพราะเข้าไปตั้งความเป็นสาระไว้เสียก่อนแล้วนั่นเอง เพราะฉะนั้นต้องปฏิบัติโดยประการที่ป้องกันมานะด้วย คือต้องมีการสำเหนียกอยู่เสมอว่า การเดินเป็นของรูปเท่านั้น ไม่ใช่ของผู้ปฏิบัติ ไม่ใช่ของพระโยคี ไม่ใช่ของผู้กรรมฐาน นี้เป็นข้อที่แปลกไปจากประการแรก แห่งประการที่ ๒


--------------------------------------------

อ้างคำพูด:
เป็นผู้ปฏิบัติ เป็นพระโยคี เป็นพระกรรมฐาน อันพิเศษกว่าคนธรรมดา ก็ความรู้สึกว่า ตนเป็นคนพิเศษกว่าคนอื่น คือเป็นผู้ปฏิบัติเป็นต้นนี้ เป็นความเห็นผิด ที่ท่านเรียกว่า มานวินิพันธาทิฏฐิ แปลว่า ทิฏฐิเกี่ยวกับมานะ กล่าวคือ นอกจากจะเห็นผิดด้วยทิฏฐิว่า เป็นสัตว์เป็นบุคคลดังกล่าวแล้ว ยังสำคัญว่าสัตว์บุคคลนั้นเป็นผู้ปฏิบัติ เป็นพระโยคี เป็นพระกรรมฐาน ด้วยมานะความถือตัว


อ่านที่ขีดเส้นใต้ไว้แล้ว ผมนึกถึงแนวทางการปฏิบัติของคุณกรัชกาย ที่มีท่าทางการปฏิบัติที่พิเศษขึ้นมา เดินก็ต้องช้า ให้ได้จังหวะ 3, 4,5,6 จังหวะ

ถ้าเดินได้ 6 จังหวะ ก็ถือว่าสุดยอดของการปฏิบัติกรรมฐานแล้ว

เห็นแนวทางการใช้ อิริยาบถธรรมดา ไม่มีทางที่จะเป็นการวิปัสสนาได้ ต้องทำกรรมฐานแบบตนเองเท่านั้น จึงเป็นกรรมฐานที่แท้จริง

อ้างคำพูด:
มองการเดินสะเปะสะปะว่าเป็นวิปัสสนา

.....................................................
สมถะ (ฌาน, สมาธิ) ที่เป็นบาทของวิปัสสนา
http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=2&t=21049

ผู้บรรลุธรรม จากสมถะ มีจำนวนน้อยกว่าผู้ไม่มี
http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=2&t=21062

การเจริญสติปัฏฐานหมวดพิจารณาอิริยาบถ ๔ จากพระไตรปิฏก อรรถกถา
http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=2&t=29201

ควรศึกษาอัตตโนมติ ของท่านพุทธทาสหรือไม่ ?
http://www.dhammajak.net/board/viewtopic.php?t=17187


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 18 ม.ค. 2010, 09:19 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


อ้างคำพูด:
อ้างอิงคำพูด:
กรัชกาย
มีคำถามพื้นๆง่ายๆ ในชีวิตประจำวัน
อยากนั่ง(ธรรมดาๆ) เป็นตัณหาไหม
อยากนั่งกรรมฐานเป็นตัณหาไหม
อยากเดินจงกรมเป็นตัณหาไหม
อยากเดิน (เดินธรรมดาๆ) เป็นตัณหาไหม
อยากวิ่งเป็นตัณหาไหม
อยากวิ่งจงกรมเป็นตัณหาไหม
อยากกินข้าวเป็นตัณหาไหม
อยากปิดประตูเป็นตัณหาไหม
อยากนอนเป็นตัณหาไหม
อยากทำงานเป็นตัณหาไหม
ฯลฯ
แล้วตั้งท่าจะทำยังงั้นๆ แต่ละอย่างๆ เป็นสมถะหรือวิปัสสนา

คุณกรัชกายครับ ความอยาก ทั้งหลายในชีวิต ประจำวัน ล้วนเป็นตัณหา ครับ


อนิจจา คุณเฉลิมศักดิ์ :b22:

คุณมองมุมอื่นบ้างเถอะอ่านลิงค์นี้น่ะ

http://www.dhammajak.net/board/viewtopic.php?t=13590


อ้างคำพูด:
คุณกรัชกายครับ ความอยาก ทั้งหลายในชีวิต ประจำวัน ล้วนเป็นตัณหา


ถามอีกหน่อยงั้นน่ะ แล้วปวดหนัก (ปวดอึ) ปวดเบา (ปวดฉี่) อยากเข้าห้องน้ำถ่ายทุกข์ เป็นตัณหาไหม

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


แก้ไขล่าสุดโดย กรัชกาย เมื่อ 18 ม.ค. 2010, 09:21, แก้ไขแล้ว 1 ครั้ง

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 18 ม.ค. 2010, 20:05 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


อ้างคำพูด:
มีคำถามพื้นๆง่ายๆ ในชีวิตประจำวัน
อยากนั่ง(ธรรมดาๆ) เป็นตัณหาไหม
อยากนั่งกรรมฐานเป็นตัณหาไหม
อยากเดินจงกรมเป็นตัณหาไหม
อยากเดิน (เดินธรรมดาๆ) เป็นตัณหาไหม
อยากวิ่งเป็นตัณหาไหม
อยากวิ่งจงกรมเป็นตัณหาไหม
อยากกินข้าวเป็นตัณหาไหม
อยากปิดประตูเป็นตัณหาไหม
อยากนอนเป็นตัณหาไหม
อยากทำงานเป็นตัณหาไหม
ฯลฯ
แล้วตั้งท่าจะทำยังงั้นๆ แต่ละอย่างๆ เป็นสมถะหรือวิปัสสนา

คุณกรัชกายครับ ความอยาก ทั้งหลายในชีวิต ประจำวัน ล้วนเป็นตัณหา ครับ



เอาอีกสักคำถามเถอะนะขอรับท่านเฉลิม ฯ :b9: :b32:

เมื่อคุณว่า ความอยากทั้งหลายในชีวิตประจำวันล้วนแล้วแต่เป็นตัณหาทั้งนั้นนะ

มามองมุมกลับบ้าง ดูดีๆนะครับ ....จะไม่อยากล่ะทีนี้ คือ อยากหมดตัณหา

คือไม่อยากทำอะไรสักอย่าง เช่น ไม่อยากนอน ไม่อยากนั่ง ไม่อยากเดิน ไม่อยากกินข้าว

ไม่อยากทำงาน ไม่อยากปิดประตู ไม่อยากเปิดประตู ฯลฯ หมดตัณหาแล้วใช่ไหมครับ

เป็นพระอริยะได้สิแบบเนี่ยะ

ปล. ตอบคำถาม คห.บนด้วนนะครับน่ะ

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


แก้ไขล่าสุดโดย กรัชกาย เมื่อ 18 ม.ค. 2010, 22:51, แก้ไขแล้ว 2 ครั้ง.

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 19 ม.ค. 2010, 06:16 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 5
สมาชิก ระดับ 5
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ก.พ. 2009, 05:07
โพสต์: 372


 ข้อมูลส่วนตัว


อ้างคำพูด:
ถามอีกหน่อยงั้นน่ะ แล้วปวดหนัก (ปวดอึ) ปวดเบา (ปวดฉี่) อยากเข้าห้องน้ำถ่ายทุกข์ เป็นตัณหาไหม



ความปวดทั้งหลาย เป็น นามธรรม เป็น สภาพธรรมที่เกิดขึ้นได้กับบุคคลทั้งหลาย

ทั้ง สัตว์เดรัจฉาน ปุถุชนผู้หนาแน่นด้วยกิเลสอย่างพวกเรา แม้กระทั่งพระอริยบุคคล

แต่ผมเชื่อว่า พระอริยบุคคล การกระทำของท่านทั้งหลาย มีความสมบูรณ์ ด้วยสติ สัมปชัญญะ การกระทำของท่านทั้งหลาย จึงไม่ประกอบด้วย ตัณหา คือ ความอยาก เป็นเพียง กิริยา(จิต) ไม่ก่อให้เกิด กรรม และ วิบากอย่างใด

แต่การ ฝึกหัดปฏิบัติวิปัสสนา พระวิปัสสนาจารย์ ท่านจึงแนให้ใช้ สติมา สัมปชาโน อาตาปี

คือ เพียรกำหนดรู้ในทุกข์ทั้งหลาย ที่มีประจำในขันธ์ ๕ ในชีวิตประจำวันทั้งหลาย ไม่ว่าจะเป็น ความหิว, ความปวดเมื่อย, ความปวดปัสสาวะ, อุจจาระ ฯลฯ

คุณกรัชกาย เคยกล่าวปรามาส อาจารย์แนบ และแนวทางการปฏิบัติแบบวิปัสสนายานิกะ

จนหาว่าผม นับถือ อาจารย์แนบ เป็น ศาสดี

คุณกรัชกายครับ แท้ที่จริง ผมนับถือในพระรัตนไตร ครับ เพียงแต่ บรรดาท่านผู้รู้ทั้งหลาย ได้แนะนำแนวทางการปฏิบัติ รายละเอียดในการปฏิบัติ และ ความสำคัญของการปฏิบัติบูชา ต่อสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ดังนี้

อานิสงส์การปฏิบัติวิปัสสนา โดย อาจารย์แนบ
http://www.dhammajak.net/board/viewtopi ... cac77b0e03

"อานนท์เทวดาเหล่านั้นบูชาตถาคตด้วยดอกไม้ อันเป็นทิพย์มากมายเหลือเกิน เต็มไปหมดทั้งป่า แต่ถึงเช่นนั้นก็ยังไม่เชื่อว่า ตถาคตรับบูชาของพวกเทวดาเหล่านั้น ถ้าเราเอาของไปให้ใคร แล้วเขาไม่รับจะชื่อว่า ให้เขาไหม ? ก็ไม่ชื่อว่าให้ถูกไหม ? การที่เราบูชาก็เหมือนกัน ถ้าพระองค์ไม่รับก็ไม่ชื่อว่าบูชา ต่อเมื่อใด ผู้ใดผู้หนึ่งก็ตามมาเห็นภัยในวัฏฏะ แล้วก็ทำความเพียรเพื่อออกจากสังสารวัฏ นั่นแหละการกระทำของบุคคลเช่นนั้นชื่อว่า ตถาคตรับบูชา"

เห็นไหม ที่เรามาปฏิบัตินี้เป็นการบูชาพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ผู้ใดมาพิจารณาเพื่อตัวจะได้พ้นจากทุกข์ คือ สังสารทุกข์ นี่แหละชื่อว่า ตถาคตรับบูชา เราน่ะเป็นผู้ที่นับถือพระพุทธศาสนาด้วยกันทั้งนั้น ทำไมเราจะบูชาพระตถาคตสักเจ็ดวันสิบห้าวันไม่ได้หรือ การบูชาของเรานี่แหละเชื่อว่า ตถาคตรับบูชา พระองค์ต้องการปฏิบัติบูชา ทำไมไม่ถวายทาน

เพราะฉะนั้น ขอให้รู้เถิดว่า การที่เรามาเข้าปฏิบัตินี้สมแล้วกับที่เราเคารพเลื่อมใสพระสัมมาสัมพุทธเจ้า เราจึงมาบูชาเพื่อพระองค์ และทุกครั้งที่เรามีสติรู้ รูปก้าว ก็เท่ากับพระสัมมาสัมพุทธเจ้าสาธุทุกครั้ง สำรวมตาเห็นก็สักแต่ว่าเห็น รู้อยู่ที่เห็น แต่ว่าไม่ออกไปข้างนอก เวลาเห็น เรามีสติรู้อยู่ที่นามเห็น นามได้ยิน ก็เหมือนกัน จกฺขุนา สํวโร สาธุ พระพุทธเจ้าทรงกล่าวไว้ โสเตน สํวโร สาธุ พระองค์ทรงสาธุ เมื่อมีสติรู้ที่ได้ยิน กิเลสเข้าไม่ได้เพราะอารมณ์ปัจจุบันนี่ กิเลสเข้าไม่ได้ ทำลายอภิชฌาโทมนัส

คิดดูซิว่า กุศลเท่าไรในการที่เรามาทำอยู่นี้ เว้นแต่ว่าผู้ที่มีบาปหนา หรือมีกิเลสก็ไม่สามารถที่จะเอาชนะกิเลส มาตั้งอยู่ในธรรมอันนี้ได้ นอกจากนั้นยังได้กุศลทุกอิริยาบถ ไม่ว่าจะนั่ง จะนอน จะยืน จะเดินทุกก้าวไปก็ได้กุศล จะเห็น จะได้ยิน กินข้าวก็ได้กุศล กินข้าวเพื่อสร้างสังสารวัฏก็ได้ กินเพื่อพ้นจากสังสารวัฏก็ได้ กินแล้วก็พิจารณาว่า กินเพื่ออะไร กินเพื่อแก้ทุกข์ เบญจขันธ์นี้ต้องอาศัยอาหาร การมีเบญจขันธ์นี้ก็เป็นทุกข์เพราะต้องอาศัยอาหาร เพื่อยังอัตภาพให้อยู่ได้ แล้วก็พิจารณาต่อไปว่า อยู่เพื่ออะไร อยู่เพื่อ มรรค ผล นิพพาน ธรรมที่ควรที่จะรู้ยังไม่รู้ ธรรมที่ควรจะแจ้ง ยังไม่แจ้ง ทุกข์ที่ควรจะพ้นยังไม่พ้น เพื่อจะเอาอัตภาพนี้ไว้เพื่ออย่างนี้เท่านั้น

ทีนี้เราก็กินข้าวได้ถูกต้อง ไม่ได้กินเพื่ออร่อย ถ้าอร่อยก็โลภะ ถ้าไม่อร่อยก็โทสะ อย่างนี้เรื่อยไปก็สร้างสังสารวัฏ กิเลสเป็นตัวสังสารวัฏก็สร้างสังสารวัฏเรื่อยไป กินข้าวหนหนึ่งก็ไม่รู้ว่า สังสารวัฏยาวเท่าไร จนไม่รู้เบื้องต้นและที่สุด นี่แหละพิจารณาอย่างนี้ จะอาบน้ำก็อาบน้ำด้วยปัญญาเพื่อออกจากทุกข์ กินข้าวก็เพื่อออกจากทุกข์ การเห็น การได้ยิน การนั่ง นอน ยืน เดิน ก็เพื่อออกจากสังสารวัฏทั้งนั้น เดินก็ได้กุศล นั่งก็ได้กุศล นอนก็ได้กุศล ยืนก็ได้กุศล กินข้าวก็ได้กุศล อาบน้ำก็ได้กุศล ถ่ายอุจจาระก็ได้กุศล ถ่ายปัสสาวะก็ได้กุศล วันหนึ่งกุศลก็นับไม่ถ้วน ไม่รู้กี่ร้อยครั้งกี่พันครั้ง

เราจะไปสร้างกุศลอะไรที่ได้มากอย่างนี้ นานๆ ทำบุญครั้งหนึ่ง นานๆ เลี้ยงพระครั้งหนึ่ง นานๆ จะทอดกฐินสักที แล้วอย่านึกว่า ไปทอดกฐินเลี้ยงพระนั้น อกุศลจะเข้าไม่ได้ ไม่ได้โดยบริสุทธิ์เต็มที่แน่นอน เพราะระหว่างที่ทำนั้นไม่ได้ดังใจ ก็จะเอะอะไม่ชอบใจแล้ว บางคนไปทอดผ้าป่า ทอดกฐินทะเลาะกัน กลับมาเป็นความกันก็มี มันไม่ได้บริสุทธิ์อย่างนี้เลย เพราะฉะนั้น อย่ามีความประมาทผลัดเวลาว่า เอาไว้ก่อนเถอะ วันหลังถึงจะมา อย่างนี้ก็เป็นความประมาทแล้ว เราเกิดมาทีหลังกุศลอย่างนี้ อาจจะไม่รู้ว่าเขาสร้างกันอย่างไรก็ได้ แม้ขณะนี้ยังสับสนอลหม่านเต็มทีแล้ว วิปัสสนาสติปัฏฐานเวลานี้ก็มีนับไม่ถ้วนหลายอย่างเหลือเกิน


--------------------------------------------------------------------

แต่คุณกรัชกาย ครับ ด้วย สติ สัมปชัญญะ ของผมที่ยังน้อยอยู่มาก ๆ บางครั้งในห้องปฏิบัติ ก็ขาดการกำหนดรู้ในทุกข์ บางครั้งก็กินด้วยตัณหา พอใจวนรสชาดของอาหาร

บางครั้ง ก็ลุกขึ้นเดินโดยขาดเหตุผล เพราะไม่พอใจใน รูปนั่ง ที่มีความฟุ้งมาก ๆ

แต่ผมก็จะค่อย ๆ ฝึกหัดปฏิบัติไปครับ

แต่ต่างจากแนวทางการปฏิบัติแบบยุบหนอ พองหนอ ท่องหนอ ๆ ทุกอย่างแท้ เว้น ความอยากได้จริงหรือ ? แม้จะท่องไว้ในใจ ไม่อยากหนอ ๆ ๆ ๆ ๆ ๆ :b22:

.....................................................
สมถะ (ฌาน, สมาธิ) ที่เป็นบาทของวิปัสสนา
http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=2&t=21049

ผู้บรรลุธรรม จากสมถะ มีจำนวนน้อยกว่าผู้ไม่มี
http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=2&t=21062

การเจริญสติปัฏฐานหมวดพิจารณาอิริยาบถ ๔ จากพระไตรปิฏก อรรถกถา
http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=2&t=29201

ควรศึกษาอัตตโนมติ ของท่านพุทธทาสหรือไม่ ?
http://www.dhammajak.net/board/viewtopic.php?t=17187


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 19 ม.ค. 2010, 06:28 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 5
สมาชิก ระดับ 5
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ก.พ. 2009, 05:07
โพสต์: 372


 ข้อมูลส่วนตัว


อ้างคำพูด:
เอาอีกสักคำถามเถอะนะขอรับท่านเฉลิม ฯ

เมื่อคุณว่า ความอยากทั้งหลายในชีวิตประจำวันล้วนแล้วแต่เป็นตัณหาทั้งนั้นนะ

มามองมุมกลับบ้าง ดูดีๆนะครับ ....จะไม่อยากล่ะทีนี้ คือ อยากหมดตัณหา

คือไม่อยากทำอะไรสักอย่าง เช่น ไม่อยากนอน ไม่อยากนั่ง ไม่อยากเดิน ไม่อยากกินข้าว

ไม่อยากทำงาน ไม่อยากปิดประตู ไม่อยากเปิดประตู ฯลฯ หมดตัณหาแล้วใช่ไหมครับ

เป็นพระอริยะได้สิแบบเนี่ยะ

ปล. ตอบคำถาม คห.บนด้วนนะครับน่ะ


คุณกรัชกายครับ หากได้มีพื้นฐานทาง คันถธุระ (ปริยัติศาสนา) มาบ้าง คงไม่ตั้งคำถามแบบคุณหรอกครับ

สภาพธรรม ที่เกี่ยวข้อง จาก พระอภิธัมมัตถสังคหะ ดังนี้

ฉันทเจตสิก
http://abhidhamonline.org/aphi/p2/020.htm

๖. ฉันทเจตสิก คือ ความพอใจในอารมณ์ ความปลงใจที่จะทำ มีลักขณาทิจตุกะ ดังนี้

กตฺตุกมฺยตา ลกฺขโณ มีความปรารถนาเพื่อจะกระทำ เป็นลักษณะ

อารมฺมณปริเยสนรโส มีการแสวงหาอารมณ์ เป็นกิจ

อารมฺมเณน อตฺถิกตาปจฺจุปฏฺฐาโน มีความปรารถนาอารมณ์ เป็นผล

อารมฺมณปทฏฺฐาโน มีอารมณ์ เป็นเหตุใกล้

ฉันทเจตสิก จำแนกเป็น ๒ คือ ความพอใจในกาม กับความพอใจใคร่ที่จะทำ

๑) ความพอใจในกามฉันทะ คือความยินดีใน รูป รส กลิ่น เสียง สัมผัส นอกจากนั้นแล้วถ้าตกอยู่ในอกุสลจิต ก็จะเป็นนิวรณ์ ก็ทำแต่บาป เป็นสนิม ตกอยู่ในความกันดาร ไม่ใคร่คิดทำบุญทำกุสล ถ้าตกอยู่ในโลภมูลจิตก็จะโลภ ทำแต่สิ่งที่คิดว่าจะได้ โดยไม่คิดให้รอบคอบ ถ้าไม่ได้ดังที่ตั้งใจไว้ก็จะโกรธ ครั้นได้มาก็เกิดความหลงอยู่ แม้สิ่งอื่นที่พอใจในกาม ก็เป็นกามฉันทะ เช่นพอใจในอัญญมณี พอใจในการหาลาภ ยศ สรรเสริญ คำเยินยอ พอใจในการฟุ้งเฟ้อ ฯลฯ ก็เป็นกามฉันทะ

๒) ความพอใจใคร่ที่จะทำ คือความยินดีที่จะทำในสิ่งที่ตนชอบตนพอใจ ถ้าทำในสิ่งที่เป็นอกุสล ก็จะพอใจในการทำสิ่งที่ผิด ๆ ก็เกิดโทษอายุจะสั้น ถ้าทำในสิ่งที่เป็นกุสลก็จะได้ประโยชน์กับตนเองและผู้อื่น เช่น พอใจในการเจริญอิทธิบาทภาวนา พอใจในการทำประโยชน์แก่ส่วนรวม ตนเองปฏิบัติดี ปฏิบัติชอบก็ได้กุสล ถ้าฉันทะแรงกล้าเป็นอิทธิบาทภาวนาก็จะทำสิ่งที่พอใจได้สำเร็จได้ เช่น ตั้งใจและพอใจในการทำงานชิ้นหนึ่งให้สำเร็จ และได้ลงมือทำติดต่อกันงานนั้นก็สำเร็จได้ก่อนที่ตนจะต้องตายลง เพราะแรงของฉันทะแรงกล้า ช่วยต่ออายุให้ยืนยาวออกไป

อีกประการหนึ่ง แยกกามฉันทะ ออกเป็น ๕ ประการ คือ

ก. พอใจในการแสวงหาอารมณ์

ข. พอใจในอารมณ์ที่ได้รับแล้ว

ค. พอใจในการเสวยอารมณ์

ง. พอใจในการรักษาอารมณ์

จ. พอใจในการแจกจ่ายอารมณ์ให้ผู้ที่ตนรักตนหวังพึ่ง เช่น หาทรัพย์มาได้ก็จะพอใจแล้วใช้สอยทรัพย์นั้น ส่วนที่เหลือก็จะเก็บไว้ เพื่อแจกจ่ายให้บุคคลที่ตนรัก หรือตนหวังพึ่งพาอาศัย

ฉันทะทั้ง ๕ ประการ ดังกล่าวเป็นตัณหา เป็นต้นเหตุให้เกิดความรักความชังขึ้นได้ เป็นอกุสล เป็นทางให้เกิดอคติขึ้นได้ ถ้าไม่มีฉันทะทั้ง ๕ ประการดังกล่าวแล้ว ความรักความชังก็ไม่เกิด
------------------------------------------------

โลภเจตสิก
http://abhidhamonline.org/aphi/p2/026.htm

๕. โลภเจตสิก คือธรรมชาติที่ปรุงแต่งจิต ทำให้ติดใจในอารมณ์ ๖ หรือ ความรัก ความอยากได้ ความติดใจในอารมณ์ ๖ มีลักขณาทิจตุกะ ดังนี้

อารมฺมณคหณลกฺขโณ มีการถือมั่นซึ่งอารมณ์ เป็นลักษณะ

อภิสงฺครโส มีการติดในอารมณ์ เป็นกิจ

อปริจฺจาคปจฺจุปฏฺฐาโน มีการไม่บริจาค เป็นผล

สํโยชนิธมฺเมสุ อสฺสาททสฺสนปทฏฺฐาโน มีการดูด้วยความยินดีในสังโยชน์ เป็นเหตุใกล้

อรรถของโลภะ จำแนกออกได้ ๑๐ ประการ คือ

(๑) ตัณหา ความต้องการ

(๒) ราคะ ความกำหนัด

(๓) กามะ ความใคร่

(๔) นันทิ ความเพลิดเพลิน

(๕) อภิชฌา ความเพ่งเล็ง

(๖) ชเนตติ ความก่อให้เกิดกิเลส

(๗) โปโนพภวิก ความนำให้เกิดในภพใหม่

(๘) อิจฉา ความปรารถนา

(๙) อาสา ความหวัง

(๑๐) สังโยชน์ ความเกี่ยวข้อง ความผูกพันธ์ ผูกมัด รัดไว้ ล่ามไว้

ความกระหายอยากได้ซึ่งอารมณ์นั้น เรียกว่า ตัณหา

ความกำหนัดที่อยากได้ซึ่งกามคุณอารมณ์นั้น เรียกว่า กามตัณหา

ตัณหาที่เกิดพร้อมด้วย สัสสตทิฏฐิ เรียกว่า ภวตัณหา

ตัณหาที่เกิดพร้อมด้วย อุจเฉททิฏฐิ เรียกว่า วิภวตัณหา
----------------------------------------------
วิริยเจตสิก
http://abhidhamonline.org/aphi/p2/018.htm

๔. วิริยเจตสิก คือ ความเพียรเพื่อให้ได้อารมณ์ การที่จะเกิดความเพียร เนื่องมาจากพิจารณาเห็นสังเวชวัตถุ ๘ ประการ คือ

๑. ความเกิด พิจารณาเห็นความเกิดบ่อยๆ เป็นทุกข์ จึงเกิดความเพียร

๒. ความแก่ พิจารณาโทษและภัยของการแก่ จึงเร่งรีบศึกษาธรรมก่อนแก่

๓. ความเจ็บไข้ พิจารณาเห็นความเจ็บไข้เป็นภัย ตอนไม่เจ็บไข้จึงรีบปฏิบัติธรรม

๔. ความตาย พิจารณาเห็นคนตายแล้วศึกษาปฏิบัติธรรมไม่ได้ จึงรีบปฏิบัติ

-----------------------------------------------------

จากคู่มือการศึกษา พระอภิธัมมัตถสังคหะ ปริเฉทที่ ๒ เจตสิกปรมัตถ์ โดย อภิธรรมมูลนิธิ ได้อธิบายเพิ่มเติมว่า

อธิบาย ฉันทเจตสิกที่มีความปรารถนาเพื่อจะกระทำเป็นลักษณะนั้น หมายถึง มีความปรารถนารูปารมณ์ เพื่อจะเห็น, ปรารถนาสัททารมณ์ เพื่อจะได้ยิน, ปรารถนาคันธารมณ์ เพื่อจะได้กลิ่น เป็นต้น รวมความแล้วต้องการเห็น, ได้ยิน, ได้กลิ่น, รู้รส, ถูกต้องสัมผัส, คิด อารมณ์นี้เองเป็นลักษณะของฉันทะ
เมื่อมีความต้องการอารมณ์ต่างๆ เป็นลักษณะแล้ว ก็ต้องมีการแสวงหาอารมณ์ที่ต้องการต่างๆ นั้นมาสนองความต้องการ การแสวงหาอารมณ์ต่างๆ นี้ จึงเป็นกิจของฉันทะ
เมื่อพิจารณาอาการฉันทะแล้ว ก็จะรู้ได้ด้วยปัญญาว่า ฉันทะมีความปรารถนาอารมณ์เป็นผลปรากฏ และอารมณ์นั่นเองที่เป็นเหตุใกล้ให้ฉันทะเกิดขึ้นได้

ข้อสังเกต ฉันทะกับโลภะนั้นมีลักษณะที่ใกล้เคียงกันมาก คือมีความต้องการอารมณ์ด้วยกัน แต่ความต้องการอารมณ์ที่เป็นฉันทะนั้น ไม่เหมือนกับความต้องการอารมณ์ที่เป็นโลภะ กล่าวคือ ความต้องการอารมณ์ที่เป็นโลภะนั้นย่อมยึดและติดอยู่ในอารมณ์นั้น ส่วนความต้องการอารมณ์ที่เป็นฉันทะนั้น ไม่ยึดและติดอยู่ในอารมณ์นั้น อุปมาเหมือนบุคคลที่ต้องการรับประทานขนม กับบุคคลที่ต้องการรับประทานยา ความต้องการขนมนั้นเป็นความต้องการที่เป็นโลภะ เพราะเป็นความต้องการที่ยึดติดอยู่ในรสอารมณ์ ส่วนความต้องการยานั้น เป็นความต้องการชนิดที่เป็นฉันทะ เพราะยึดติดอยู่ในรสอารมณ์ เมื่อหายป่วยแล้วก็ไม่มีความต้องการรับประทานยาอีก

.....................................................
สมถะ (ฌาน, สมาธิ) ที่เป็นบาทของวิปัสสนา
http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=2&t=21049

ผู้บรรลุธรรม จากสมถะ มีจำนวนน้อยกว่าผู้ไม่มี
http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=2&t=21062

การเจริญสติปัฏฐานหมวดพิจารณาอิริยาบถ ๔ จากพระไตรปิฏก อรรถกถา
http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=2&t=29201

ควรศึกษาอัตตโนมติ ของท่านพุทธทาสหรือไม่ ?
http://www.dhammajak.net/board/viewtopic.php?t=17187


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 279 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1 ... 6, 7, 8, 9, 10, 11, 12 ... 19  ต่อไป

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 44 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร


cron