วันเวลาปัจจุบัน 27 เม.ย. 2024, 22:48  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


กฎการใช้บอร์ด


รวมกระทู้จากบอร์ดเก่า http://www.dhammajak.net/board/viewforum.php?f=2



กลับไปยังกระทู้  [ 50 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1, 2, 3, 4  ต่อไป  Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 25 มิ.ย. 2009, 20:30 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว



อีกรายหนึ่งคล้ายๆรายแรกตรงที่ ได้ยินเสียงบอกธรรมสอนธรรม กิเลสตัวนี้จะเนียน หลายๆคนประสบภาวะเช่นนี้แล้ว ถึงกับหลงติดไปเลย หลงยึดว่า ตนเป็นพระอรหันต์บ้าง หลงยึดว่า เป็นพระพุทธเจ้า
บ้าง เห็น-ได้ยิน ครูบาอาจารย์บ้าง ฯลฯ มาบอกธรรมสอนธรรมตน ก็ยึดมั่นถือมั่นภาวะเช่นนั้น
กรรมฐานไม่ก้าวหน้า
ในบางรายเกิดแรง ก็จมอยู่กับความรู้สึกนั้น จนไม่รับรู้อารมณ์ปัจจุบัน






เสียงประหลาดจากสมาธิ

ผมเป็นคนหนึ่งที่ชอบสวดมนต์นั่งสมาธิทุกวันเป็นประจำ สวดมนต์วันหนึ่งก็ประมาณ1ชั่วโมง เมื่อ 2 วันที่

ผ่านมา หลังจากสวดมนต์ไหว้พระเสร็จ จากนั้นก็นั่งสมาธิขณะที่จิตสงบ มีเสียงประหลาดเกิดขึ้น

ว่า "การปฎิบัติธรรมสมาธิภาวนานั้น เราต้องใช้หลักโยนิโสมนสิการ อันจะเป็นหนทางสู่มรรคผล

นิพพาน"
หลังจากออกสมาธิผมก็มาพิจารณาว่ามันคืออะำไรทำไมเราได้ยินเสียงประหลาดแล้วหลักโยนิโส

มนสิการมันคืออะไรมีความหมายอย่างไรผมไม่เคยรู้มาก่อนและไม่เคยได้ยิน ทำให้ผมต้องหาคำตอบให้ได้ว่า

โยนิโสมนสิการคืออะไรและแล้วผมก็ได้ทราบคำตอบว่าหลักโยนิโสมนสิการคือ การหยั่งรู้ในจิตใจโดยแยบคาย

พูดง่ายๆก็คือ การเห็นสิ่งต่างๆตามความเป็นจริงตามกฎไตรลักษณ์ แล้วใช้สติปัญญาพิจราณาสภาวธรรมที่เกิด

ขึ้น โดยหาเหตุปัจจัยต่างๆ มาแยกแยะวิเคราะห์ รู้รูปนาม ขันธ์ 5 การมีสติอยู่กับปัจจุบันตามแนวทาง

สติปัฐฐาน 4 การคิดแบบอริยสัจ 4

สรุปแล้วหนทางมรรคผลนิพพานมันรวมหมดอยู่ตรงนี้เอง ทำให้ผมมีกำลังใจในการปฏิบัติมาก

นี่นะหรือที่เขาว่าสอนกันทางสมาธิ แต่ผมไม่ทราบนะว่า เสียงประหลาดนั่นเป็นใคร แต่เป็นเสียงผู้ชาย

หนุ่มน้ำเสียงไพเราะมาก แต่จิตผมมีความรู้สึกว่า น่าจะเป็นพุทธองค์
ครับ

แล้วเพื่อนๆมีความเห็นว่า อย่างไรโปรดชี้แนะด้วยครับ

http://board.palungjit.com/f126/เสียงประหลาดจากสมาธิ-189397.html

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 01 ก.ค. 2009, 22:15 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 26 พ.ค. 2009, 20:54
โพสต์: 282


 ข้อมูลส่วนตัว


1. อาตาปี = มีความเพียร (ได้แก่ องค์มรรคข้อ 6 คือ สัมมาวายามะ ซึ่งหมายถึงเพียรระวัง
และละความชั่ว กับเพียรสร้างและรักษาความดี)
2. สัมปชาโน = มีสัมปชัญญะ (คือ ตัวปัญญา)
3. สติมา = มีสติ (หมายถึง ตัวสตินี้เอง)

ข้อที่น่าสังเกต คือ สัมปชาโน ซึ่งแปลว่า มีสัมปชัญญะ
สัมปชัญญะนี้ จะเห็นได้ว่า เป็นธรรมที่มักปรากฏควบคู่กับสติ
สัมปชัญญะ ก็คือ ปัญญา
ดังนั้น การฝึกฝนในเรื่องสตินี้ จึงเป็นส่วนหนึ่งในกระบวนการพัฒนาปัญญานั่นเอง
อ้างอิงจากคุณกรัชกาย


อนุโมทนาเป็นอย่างยิ่งกับคุณกรัชกายที่นำข้อธรรมอันน่าประทับใจทั้งหมดมาแสดงแก่ชาวลานธรรมจักรและชาวโลก
คำว่า "ปัจจุบันธรรม" น่าจะกว้างไปหน่อยไม่เจาะจง น่าจะใช้คำว่า "ปัจจุบันอารมณ์" จึงจะชี้ชัดที่ตัวปัจจุบันขณะจริงๆได้นะครับ

ผมเคยได้ยินมาว่า เห็นกายในกาย คือเห็นมหาภูตรูปทั้ง 4 คือสภาวะธาตุ ดิน น้ำ ลม ไฟ แต่ในการปฏิบัติจริงๆนั้น การเห็นสภาวะธาตุ ดิน น้ำ ลม ไฟ เป็นการสัมผัสรู้ทางใจ กลายเป็นเวทนา จิตตา ธัมมา เชื่อมโยงต่อกันไปเลยจนจบ ทุกการกระทบสัมผัส
คุณลักษณะของธาตุไฟ คือ ร้อน หนาว เย็น อุ่น
คุณลักษณะของธาตุดิน คือ หนัก เบา แข็ง อ่อน หบาบกระด้าง นุ่มนิ่ม
คุณลักษณะของธาตุลม คือ ไหว นิ่ง แล้วแปรปรวนไปเป็น เจ็บ ปวด เต้น ตอด เหน็บ ซ่าน โยก คลอน หมุน หยุด
คุณลักษณะของธาตุน้ำ คือ ซึมซับ เอิบอาบ แตกแยก เกาะกุมกันเข้า ธาตุน้ำ รู้ได้ยาก
เมื่อมีการสัมผัสกับสภาวะธาตุเหล่านี้ สิ่งที่จะเกิดตามมาคือ ความยินดี ยินร้าย หรืออภิชฌา และโทมนัสสัง นั่นเอง

ดังนั้น การเห็นกายในกาย ก็คือการเห็น ยินดี และยินร้าย 2 ตัวนั่นเอง
ที่สุดของการเห็นหรือรู้เวทนาในเวทนา ก็คือเห็นหรือรู้ ยินดี ยินร้าย นั่นเอง
ที่สุดของการเห็นหรือรู้เห็นจิตในจิต ก็ไปแล้วที่ ยินดี กับ ยินร้าย
ที่สุดของการเห็นหรือรู้เห็นธรรมในธรรม ก็คือเห็น ยินดี กับยินร้าย (อภิชฌา และโทมนัสสัง) นั่นเอง
สติปัฏฐานสี่ท่อนสุดท้ายจึงต้อง วิเนยยะ โลเก อภิชฌาและโทมนัสสัง ทุกฐานไป


นี่เป็นความรู้ที่ได้จากการสังเกตในการปฏิบัติจริงของผู้ปฏิบัติวิปัสสนาภาวนา หรือปฏิบัติสติปัฏฐาน 4 ตามธรรมชาติ

.....................................................
เมตตาธรรม ค้ำจุนโลก


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 01 ก.ค. 2009, 22:21 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


อ้างคำพูด:
คุณลักษณะของธาตุไฟ คือ ร้อน หนาว เย็น อุ่น
คุณลักษณะของธาตุดิน คือ หนัก เบา แข็ง อ่อน หบาบกระด้าง นุ่มนิ่ม
คุณลักษณะของธาตุลม คือ ไหว นิ่ง แล้วแปรปรวนไปเป็น เจ็บ ปวด เต้น ตอด เหน็บ ซ่าน โยก คลอน หมุน หยุด
คุณลักษณะของธาตุน้ำ คือ ซึมซับ เอิบอาบ แตกแยก เกาะกุมกันเข้า ธาตุน้ำ รู้ได้ยาก
เมื่อมีการสัมผัสกับสภาวะธาตุเหล่านี้ สิ่งที่จะเกิดตามมาคือ ความยินดี ยินร้าย หรืออภิชฌา และโทมนัสสัง นั่นเอง



อย่างนั้นน่าจะเป็นจินตาสะมากกว่า (พึงศึกษาโยนิโสมนสิการแบบที่ ๒)

หากเป็นภาวนาแล้วไม่แยกย่อยถึงขนาดนั้น หากแยกย่อยละเอียดอยางนั้นตามปัจจุบันขณะแต่ละขณะๆ
ไม่ทัน ตกลงสู่อดีตารมณ์แล้วล่ะขอรับ :b1:

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 01 ก.ค. 2009, 23:11 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 26 พ.ค. 2009, 20:54
โพสต์: 282


 ข้อมูลส่วนตัว


โยคี ก. นั่งเจริญสติ เจริญปัญญา เฝ้าดู เฝ้าสังเกต พิจารณา เข้าไปในกายและจิต ณ ปัจจุบันขณะ ปัจจุบันอารมณ์อยู่ ขณะนั้นเขารู้สึกเจ็บที่ขาซ้าย สติรู้ทัน ปัญญาดูและสังเกตพิจารณาอยู่ที่ขาซ้าย ความเจ็บที่ขาซ้ายแรงขึ้น ๆ สติรู้ทัน ปัญญาสังเกต ดูอยู่ อย่างต่อเนื่อง พริบตานั้นเอง จิตใจเกิดความไม่พอใจความเจ็บที่ขาซ้าย โยคี ก. มีสติรู้ทัน ความไม่พอใจจึงย้ายมาดู มาสังเกตที่จิตไม่พอใจ ขาเจ็บเป็นอดีต ความไม่พอใจเป็นปัจจุบันอารมณ์ ทันใดนั้น ความไม่พอใจดับไป กลายเป็นความขุ่นมัวในจิต สติรู้ทัน ปัญญาเฝ้าสังเกตดู ความขุ่นมัวดับไป ใจหงุดหงิดเกิดขึ้นแทนเป็นปัจจุบันแล้วดับไป กลายเป็นความอยากให้หายเจ็บที่ขาซ้าย ความอยากให้เจ็บหาายดับไป กลายเป็นความทุกข์ทรมาณใจเพราะเจ็บไม่ยอมหาย ความทุกข์ทรมาณใจดับไปกลายเป็นความทนไม่ได้ขึ้นมาแทน สติรู้ทัน ปัญญาตามดูตามสังเกต พิจารณา
พอถึงจุดทนไม่ได้ จิตเป็นกู(อุปาทาน)ก็ผุดขึ้นมาสั่งเป็นวจีกรรมกับตัวเองว่า "ขยับขาเถอะ ลุกเถอะ เลิกเถอะ เปลี่ยนท่าเถอะ
ปัญญาไม่ยอมทำตามที่ กู สั่ง อดทน เฝ้าดู เฝ้าสังเกต พอจารณาต่อไป ที่สุดความทนไม่ได้ (ทุกขัง)ดับวับลงไป กู หายไป กลายไปจิตใจสุข เย็นวาบเพราะความที่ไม่มีกูคอยสั่ง ผุดขึ้นมาแทน
กูหลบไปแล้ว จิตได้เข้าถึงสภาวะที่ไม่มีกู ชั่วคราว (อนัตตา ชั่วคราว) โยคี ก.ได้มีดวงตาเห็นธรรม คือรู้ซึ้งถึงสภาวะอนัตตาที่จิตจริงๆ มิได้นึก คิดเอาเอง เขาพบทางออกแล้ว หากเขาเพียรเจริญสติให้รู้ทันปัจจุบันอารมณ์ มีปัญญาตามมาเฝ้าดู เฝ้าสังเกต พิจารณาปัจจุบันอารมณ์ให้ทันทุกอันไปเป็นลำดับๆ จนถอน อุปาทาน ความเห็นผิดว่าเป็น กู เป็นเรา ไปได้ทุกการกระทบสัมผัสของอายตนะทั้ง 6 เข้าถึงสภาวะอนัตตา พอกพูนความเห็นหรือรู้อนัตตามากเข้า ๆ ทุกที ไม่ช้า ไม่นานจนเกินรอ โยคี ก. ก็ได้ไปถึงวันที่
"กู" อัตตา สักกายทิฐิ ตายขาด ไปจากจิตใจ สาธุ ๆ ๆ
:b8:

.....................................................
เมตตาธรรม ค้ำจุนโลก


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 01 ก.ค. 2009, 23:21 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว




18ccd478e2ec218218d2dc7b7fb6edf0_raw.gif
18ccd478e2ec218218d2dc7b7fb6edf0_raw.gif [ 17.69 KiB | เปิดดู 4058 ครั้ง ]
ดังกล่าวมาทั้งหมดข้างบนนั่นคือวิธีปฏิบัติที่คุณอโศกใช้อยู่ใช่อยู่หรอครับ

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 01 ก.ค. 2009, 23:28 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 26 พ.ค. 2009, 20:54
โพสต์: 282


 ข้อมูลส่วนตัว


:b19: ใช่อยู่ส่วนหนึ่งทีเดียวครับ แต่ยังมีส่วนอื่นๆอีก หลักการใหญ่คือ เอาความเห็นถูกต้อง ไปทดแทนความเห็นผิดให้ได้ทุกวัน เวลา นาที วินาที ที่ระลึกได้และมีโอกาส ครับ ทำหน้าที่ครับ การปฏิบัติธรรมคือการทำหน้าที่ของชาวพุทธให้ดีที่สุด ทุกวัน เวลา นาที วินาที ที่ระลึกได้และมีโอกาส ครับ :b8:

.....................................................
เมตตาธรรม ค้ำจุนโลก


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 01 ก.ค. 2009, 23:30 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว




lotus+07.jpg
lotus+07.jpg [ 15.38 KiB | เปิดดู 4041 ครั้ง ]
ความหมายเดิม คำว่า “ปฏิบัติธรรม” ได้แก่ การนำเอาธรรมไปใช้ในการดำเนินชีวิต

หรือ การดำเนินชีวิตตามธรรม

แต่ปัจจุบันเข้าใจเลือนกลายแคบกว่าของเดิม คือ เช้าใจ “ปฏิบัติธรรม” ในความหมายว่า

เป็นการฝึกอบรมทางจิตปัญญาขั้นหนึ่งระดับหนึ่งโดยเฉพาะ ซึ่งมีลักษณะเป็นรูปแบบ

และทำไปตามแบบแผนที่ได้กำหนดวางไว้

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


แก้ไขล่าสุดโดย กรัชกาย เมื่อ 17 ต.ค. 2009, 21:10, แก้ไขแล้ว 1 ครั้ง
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 08 ก.ค. 2009, 11:25 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 2
สมาชิก ระดับ 2
ลงทะเบียนเมื่อ: 06 ก.ค. 2009, 21:32
โพสต์: 82

ที่อยู่: นครศรีธรรมราช

 ข้อมูลส่วนตัว


:b41: ขออนุโมทนาสาธุค่ะ :b8:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 26 ก.ค. 2009, 09:49 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


แยกประเด็นสำคัญๆที่มักถกเถียงกันบ่อยๆ ออกให้พิจาณา

ทำความเข้าใจอีกครั้งหนึ่ง




ในเวลาปฏิบัติจริงนั้น ไม่ใช่ใช้สติเพียงอย่างเดียว แต่มีธรรมข้ออื่น ๆ ควบอยู่ด้วย

ธรรมที่ไม่บ่งถึงไว้ก็ คือ “สมาธิ” ซึ่งจะมีอยู่ด้วย อย่างน้อยในขั้นอ่อนๆ

(เรียกว่า วิปัสสนาสมาธิ)


ส่วนธรรมที่ระบุไว้ด้วย ได้แก่



1. อาตาปี = มีความเพียร (ได้แก่ องค์มรรคข้อ 6 คือ สัมมาวายามะ ซึ่งหมายถึง

เพียรระวัง และละความชั่ว กับเพียรสร้าง และ รักษาความดี)

2. สัมปชาโน = มีสัมปชัญญะ (คือ ตัวปัญญา)

3. สติมา = มีสติ (หมายถึง ตัวสตินี้เอง)



ข้อที่น่าสังเกต คือ สัมปชาโน ซึ่งแปลว่า มีสัมปชัญญะ

สัมปชัญญะนี้ จะเห็นได้ว่า เป็นธรรมที่มักปรากฏควบคู่กับสติ

สัมปชัญญะ ก็คือ ปัญญา

ดังนั้น การฝึกฝน ในเรื่องสตินี้ จึงเป็นส่วนหนึ่งในกระบวนการพัฒนาปัญญานั่นเอง

สัมปชัญญะ หรือ ปัญญา ก็คือ ความรู้ ความเข้าใจ ตระหนักชัดในสิ่งที่สติกำหนด ไว้นั้น หรือ การกระทำ

ในกรณีนั้น ว่ามีความมุ่งหมายสิ่งที่ทำนั้นเป็นอย่างไร ปฏิบัติต่อมันอย่างไร และไม่เกิดความหลง หรือ

ความเข้าใจผิดใดๆ ขึ้นมาในกรณีนั้นๆ

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


แก้ไขล่าสุดโดย กรัชกาย เมื่อ 17 ต.ค. 2009, 21:09, แก้ไขแล้ว 1 ครั้ง

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 26 ก.ค. 2009, 12:02 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว




1531979022.jpg
1531979022.jpg [ 65.82 KiB | เปิดดู 3854 ครั้ง ]
ข้อความที่ว่า “กำจัดอภิชฌา และ โทมนัสในโลกเสียได้” แสดงถึงท่าทีที่เป็นผล

จากการมีสติสัมปชัญญะ ว่า เป็นกลาง เป็นอิสระ ไม่ถูกกิเลสผูกพัน ทั้งในแง่ติดใจ

อยากได้ และขัดเคืองเสียใจ ในกรณีนั้นๆ



ข้อความต่อท้ายเหมือนๆ กันของทุกข้อที่ว่ามองเห็นความเกิด ความเสื่อมสิ้นไปนั้น

แสดงถึงการพิจารณาเข้าใจ ตามหลัก ไตรลักษณ์



จากนั้น จึงมีทัศนคติที่เป็นผลเกิดขึ้น คือ การมองและรู้สึกต่อสิ่งเหล่านั้น ตามภาวะ

ของมันเอง
เช่น ที่ว่า

“กายมีอยู่” เป็นต้น ก็หมายถึงรับรู้ความจริง ของสิ่งเหล่านั้นตามที่เป็นอย่างนั้น

ของมันเอง โดยไม่เอาความรู้สึกสมมุติ และ ยึดมั่นต่างๆ เข้าไปสวมใส่ให้มัน

ว่าเป็นคน เป็นตัวตน เป็นเขา เป็นเรา หรือ กายของเรา เป็นต้น


ท่าทีอย่างนี้ จึงเป็นท่าทีของความเป็นอิสระ ไม่อิงอาศัย คือ ไม่ขึ้นต่อสิ่งนั้นสิ่งนี้

ที่เป็นปัจจัยภายนอก และไม่ยึดมั่นสิ่งต่างๆ ในโลกด้วยตัณหาอุปาทาน

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


แก้ไขล่าสุดโดย กรัชกาย เมื่อ 17 ต.ค. 2009, 21:04, แก้ไขแล้ว 1 ครั้ง
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 27 ก.ค. 2009, 22:00 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว



ขั้นเตรียมการสำหรับปฏิบัติกรรมฐาน ความจริงก็ไม่มีอะไรมาก เพราะทุกคนมีอยู่แล้ว นั่นก็คือ

ร่างกายกับความรู้สึกนึกคิด

ดูหลัก ดังนี้




กระบวนการปฏิบัติ (ขั้นเตรียมการ)


๑ . องค์ประกอบ หรือ สิ่งที่ร่วมอยู่ในกระบวนการปฏิบัตินี้ มี ๒ ฝ่าย คือ

- ฝ่ายที่ทำ = ตัวการที่คอยกำหนด หรือ คอยสังเกตเพ่งพิจารณา

(ได้แก่ สติ กับ สัมปชัญญะ ที่เกาะจับ ร่างกาย เวทนา จิต และธรรม ที่เป็นไปแต่ละขณะๆ

ดู ข้อ ๓ ประกอบ )

กับ

-ฝ่ายที่ถูกทำ = สิ่งที่ถูกกำหนด หรือ ถูกสังเกตเพ่งพิจารณา

(ก็คือ ร่างกาย เวทนา จิต และธรรม ที่เป็นปัจจุบันแต่ละขณะๆ ดู ข้อ ๒ ประกอบ )


๒ . องค์ประกอบฝ่ายที่ถูกทำ หรือ ถูกกำหนดเพ่งพิจารณา ก็คือ สิ่งธรรมดาสามัญ

ที่มีอยู่กับตัวของทุกคนนั่นเอง เช่น ร่างกาย การเคลื่อนไหวของร่างกาย ความรู้สึก

นึกคิดต่างๆ ที่เป็นปัจจุบันขณะ ที่กำลังเกิดขึ้นเป็นไปอยู่ ในขณะนั้นๆ เท่านั้น


๓ . องค์ประกอบฝ่ายที่ทำ คือ คอยกำหนด คอยเพ่งพิจารณา เป็นตัวการหลัก

ของสติปัฏฐาน ได้แก่ สติ กับ สัมปชัญญะ



สติ เป็นตัวเกาะจับ สิ่งที่จะพิจารณาเอาไว้ --(เกาะจับ ร่างกาย เวทนา จิต ธรรม

ที่เป็นปัจจุบันแต่ละขณะๆ สิ่งใดกระทบรู้สึก พึงจับสิ่งนั้น)

สัมปชัญญะ เป็นตัวปัญญา ตระหนักรู้สิ่ง หรือ อาการที่ถูกพิจารณานั้น

หรือ การกระทำนั้น ตามความเป็นจริง (ตามที่มันเป็น) โดยไม่เอาความรู้สึก เป็นต้น ของตนเอง

เข้าเคลือบ

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


แก้ไขล่าสุดโดย กรัชกาย เมื่อ 17 ต.ค. 2009, 21:07, แก้ไขแล้ว 1 ครั้ง

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 04 ส.ค. 2009, 12:50 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 13 มิ.ย. 2009, 09:55
โพสต์: 4062

แนวปฏิบัติ: มรณานุสสติ
อายุ: 0
ที่อยู่: ตรงปลายจมูก

 ข้อมูลส่วนตัว


อโศกะ เขียน:
โยคี ก. นั่งเจริญสติ เจริญปัญญา เฝ้าดู เฝ้าสังเกต พิจารณา เข้าไปในกายและจิต ณ ปัจจุบันขณะ ปัจจุบันอารมณ์อยู่ ขณะนั้นเขารู้สึกเจ็บที่ขาซ้าย สติรู้ทัน ปัญญาดูและสังเกตพิจารณาอยู่ที่ขาซ้าย ความเจ็บที่ขาซ้ายแรงขึ้น ๆ สติรู้ทัน ปัญญาสังเกต ดูอยู่ อย่างต่อเนื่อง พริบตานั้นเอง จิตใจเกิดความไม่พอใจความเจ็บที่ขาซ้าย โยคี ก. มีสติรู้ทัน ความไม่พอใจจึงย้ายมาดู มาสังเกตที่จิตไม่พอใจ ขาเจ็บเป็นอดีต ความไม่พอใจเป็นปัจจุบันอารมณ์ ทันใดนั้น ความไม่พอใจดับไป กลายเป็นความขุ่นมัวในจิต สติรู้ทัน ปัญญาเฝ้าสังเกตดู ความขุ่นมัวดับไป ใจหงุดหงิดเกิดขึ้นแทนเป็นปัจจุบันแล้วดับไป กลายเป็นความอยากให้หายเจ็บที่ขาซ้าย ความอยากให้เจ็บหาายดับไป กลายเป็นความทุกข์ทรมาณใจเพราะเจ็บไม่ยอมหาย ความทุกข์ทรมาณใจดับไปกลายเป็นความทนไม่ได้ขึ้นมาแทน สติรู้ทัน ปัญญาตามดูตามสังเกต พิจารณา
พอถึงจุดทนไม่ได้ จิตเป็นกู(อุปาทาน)ก็ผุดขึ้นมาสั่งเป็นวจีกรรมกับตัวเองว่า "ขยับขาเถอะ ลุกเถอะ เลิกเถอะ เปลี่ยนท่าเถอะ
ปัญญาไม่ยอมทำตามที่ กู สั่ง อดทน เฝ้าดู เฝ้าสังเกต พอจารณาต่อไป ที่สุดความทนไม่ได้ (ทุกขัง)ดับวับลงไป กู หายไป กลายไปจิตใจสุข เย็นวาบเพราะความที่ไม่มีกูคอยสั่ง ผุดขึ้นมาแทน
กูหลบไปแล้ว จิตได้เข้าถึงสภาวะที่ไม่มีกู ชั่วคราว (อนัตตา ชั่วคราว) โยคี ก.ได้มีดวงตาเห็นธรรม คือรู้ซึ้งถึงสภาวะอนัตตาที่จิตจริงๆ มิได้นึก คิดเอาเอง เขาพบทางออกแล้ว หากเขาเพียรเจริญสติให้รู้ทันปัจจุบันอารมณ์ มีปัญญาตามมาเฝ้าดู เฝ้าสังเกต พิจารณาปัจจุบันอารมณ์ให้ทันทุกอันไปเป็นลำดับๆ จนถอน อุปาทาน ความเห็นผิดว่าเป็น กู เป็นเรา ไปได้ทุกการกระทบสัมผัสของอายตนะทั้ง 6 เข้าถึงสภาวะอนัตตา พอกพูนความเห็นหรือรู้อนัตตามากเข้า ๆ ทุกที ไม่ช้า ไม่นานจนเกินรอ โยคี ก. ก็ได้ไปถึงวันที่
"กู" อัตตา สักกายทิฐิ ตายขาด ไปจากจิตใจ สาธุ ๆ ๆ
:b8:


:b8: อนุโมทนาสาธุค่ะ

เีรียน ครูจารย์ค่ะ

ยากมั้ยคะนั่น แล้วนานมั้ยคะ
ไม่มีปัญญา แต่อยากมีปัญญากับเขาบ้างค่ะ
พอจะฝึกได้มั้ยคะ ยังมองไม่ออก ถ้าไม่ไปอยู่วัด อยู่ป่า หรือออกบวช
ทราบแล้วว่าทำไมพระป่าท่านต้องธุดงค์ไปในป่า
แล้วที่สำเร็จมรรคผลจะเป็นพระป่าเสียส่วนใหญ่ (หรือทั้งหมด)
หาปุถุชนที่จะปฏิบัติแล้วสำเร็จยากนะคะ
คือถ้าจะฝึกวิปัสสนากรรมฐานให้สำเร็จนี่ต้องอยู่ป่า
ไม่ใช่ป่าคอนกรีตแบบนี้
คงไปไม่ถึงแน่ค่ะ ชาตินี้
อยากพ้นทุกข์นะคะ :b20: :b2:

.....................................................
~ นิพพานัง ปัจจโยโหตุ ~


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 04 ส.ค. 2009, 15:50 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


อ้างคำพูด:
ยากมั้ยคะนั่น แล้วนานมั้ยคะ
ไม่มีปัญญา แต่อยากมีปัญญากับเขาบ้างค่ะ


คุณอโศกะ อยู่ไหน หายไปหลายวันแล้ว มาตั้งกระทู้สนทนากับแม่มดที เค้าสนใจวิธีปฏิบัติของคุณ

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 04 ส.ค. 2009, 16:01 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 13 มิ.ย. 2009, 09:55
โพสต์: 4062

แนวปฏิบัติ: มรณานุสสติ
อายุ: 0
ที่อยู่: ตรงปลายจมูก

 ข้อมูลส่วนตัว


รูปภาพ เรียนถามอาจารย์กรัชกายค่ะ

หมายถึงวิธีที่ได้มาซึ่ง ปัญญา

อาจจะไม่ใช่วิธีนี้ก็ได้ :b6:

.....................................................
~ นิพพานัง ปัจจโยโหตุ ~


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 04 ส.ค. 2009, 16:44 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


Bwitch เขียน:
เรียนถามอาจารย์กรัชกายค่ะ

หมายถึงวิธีที่ได้มาซึ่ง ปัญญา
อาจจะไม่ใช่วิธีนี้ก็ได้ :b6:



ขอฮำเพลงก่อนได้ไหม ทำไมถึงต้องเป็นเรา... :b32:

วางแผนโยนให้คุณอโศกะไปแล้ว เพราะวิธีของท่านช่างน่าสนใจ และก็มีคนสนใจ
แต่ก็ขว้างงูไม่พ้นคอ

ถ้างั้น ขอแนะนำให้แม่มดดูความหมาย "ปัญญา" ลิงค์นี้ก่อน

viewtopic.php?f=2&t=23002



เรียนถามอาจารย์กรัชกายค่ะ
หมายถึงวิธีที่ได้มาซึ่ง ปัญญา
อาจจะไม่ใช่วิธีนี้ก็ได้


ถามวิธีที่ให้ได้ปัญญา ถามง่ายแต่การตอบ+การปฏิบันัติหินครับ :b16:

แต่จะตอบรวมๆให้เห็นภาพก่อน
วิธีใดก็ได้ที่ปฏิบัติแล้วรู้เข้าใจชีวิต หรือ ร่างกายกับจิตใจของตนเองเนี่ยตามที่มันเป็น หรือ ตามเป็นจริง
ก็วิธีนั้นแหละ

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 50 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1, 2, 3, 4  ต่อไป

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 53 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร