วันเวลาปัจจุบัน 27 เม.ย. 2024, 08:25  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


กฎการใช้บอร์ด


รวมกระทู้จากบอร์ดเก่า http://www.dhammajak.net/board/viewforum.php?f=2



กลับไปยังกระทู้  [ 5 โพสต์ ]    Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 10 พ.ย. 2008, 17:12 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว




51.jpg
51.jpg [ 84.64 KiB | เปิดดู 2263 ครั้ง ]
พุทธธรรมหน้า 891


การเจริญสติปัฏฐาน คือ การอยู่อย่างไม่มีความทุกข์ที่จะต้องดับ


การดำเนินชีวิต หรือ การเป็นอยู่ของมนุษย์

มองด้านหนึ่ง อาจเห็นว่า เป็นการดิ้นรนต่อสู้เพื่อความอยู่รอด

และ

เพื่อความมั่นคงปลอดภัยของชีวิต

แต่มองอีกด้าน จะเห็นภาพซ้อนอยู่อีกชั้นหนึ่ง คือ ทุกคนกำลังเสวงหาความสุข

ทั้งนี้ มิใช่เฉพาะคนมั่งมีพรั่งพร้อมอยู่แล้ว ที่กำลังหาทางปรนเปรอตนเท่านั้น

แม้แต่ที่กำลังดิ้นรน

เพื่อความอยู่รอดอย่างสุดแรง

ก็กำลังพยายามทำให้ชีวิตของตนมีความสุขเช่นเดียวกัน

ไม่ว่าจะมองในแง่ช่วงกว้าง เช่น การประกอบอาชีพการงาน ดำเนินกิจการต่างๆก็ตาม

หรือ มองช่วงสั้นถี่เข้ามาจนถึงความเป็นอยู่

ความเคลื่อนไหวและการกระทำในแต่ละขณะก็ตาม

การใฝ่หาความสุขจะแฝงอยู่ด้วยเสมอ

แม้ว่าจะถูกขัด ถูกย้อนด้วยสำนึกทางจริยธรรม เป็นต้น บ้างในบางคราว

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


แก้ไขล่าสุดโดย กรัชกาย เมื่อ 15 ต.ค. 2009, 21:55, แก้ไขแล้ว 3 ครั้ง.
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 21 ก.ย. 2009, 11:18 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


(ต่อ)


ความจริง การหาความสุขในช่วงกว้างยาว

ก็ขยายออกไปจากการหาความสุขช่วงสั้น แต่ละขณะนี้เอง

ผู้ปรารถนาความสุขที่แท้จริง

เมื่อจะจัดการกับชีวิตของตน จะต้องสนใจและหาทางทำให้ชีวิต

ที่เป็นอยู่บัดนี้ แต่ละขณะมีความสุขได้

การพยายามหาความสุขจึงจะมีทางสำเร็จ

แต่ถ้าชีวิต ที่เป็นอยู่แต่ละขณะนี้

ยังทำให้มีความสุขไม่ได้แล้ว

การที่จะมีความสุขได้ในช่วงยาวไกล

ก็เป็นเพียงความหวังอันเลื่อนลอย และคงจะต้องเป็นความหวังอยู่เรื่อยไป

ตรงข้าม ถ้าสามารถทำให้ชีวิตเองล้วนๆ แต่ละขณะนี้ ที่กำลังเป็นอยู่เดี๋ยวนี้มีความสุขได้แล้ว

การพยายามหาความสุข ก็ประสบความสำเร็จแล้วทันที เมื่อได้ปัจจัยแวดล้อมอื่นอำนวย

ก็มีแต่จะสุขสมบูรณ์ยิ่งๆขึ้นไป

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 21 ก.ย. 2009, 11:20 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


กระบวนการหาความสุขของมนุษย์ ซึ่งมองเห็นได้แม้แต่ในช่วงสั้นแต่ละขณะๆ ก็คือ

เกิดความอยากขึ้น หรือทำความอยากให้เกิดขึ้น แล้วทำการต่างๆ

เพื่อสนองความอยากนั้น เมื่อได้สนอง ทำให้ความอยากสงบระงับลง

ก็ได้รับความสุข

ยิ่งเร้าความอยากให้แรงมาก ก็ต้องสนองระงับแรงขึ้น และได้รับความสุขมากขึ้น

ความสุข จึงได้แก่การสนองระงับความอยาก


ถามว่า ความอยาก คือ อะไร?

ไม่ต้องตอบโดยตรง ที่ชัดก็คือ

เมื่อเกิดความอยากขึ้นแล้ว จะมีอาการแสดงออกสำคัญ 2 อย่าง คือ

ความขาดแคลน ความพร่อง ไม่มีสิ่งที่อยาก

ไม่ว่าขาดแคลนจริง หรือ ความขาดแคลนที่สร้างขึ้นเอง

และ

อีกอย่างหนึ่ง คือ

ความกระสับกระส่ายกระวนกระวาย หรือ ถึงกับทุรนทุกราย เพราะถูกเหนี่ยวรั้ง

หรือ ถูกดึงให้ยืดตึงออกไป จากภาพที่เป็นอยู่ขณะนั้นๆ ทำให้สงบนิ่งอยู่ไม่ได้

ต้องดิ้นรน หาทางทำให้ความกระวนกระวายหมดไป

เวลาช่วงนั้น คือ การได้รับความสุข

แต่ถ้าความอยากไม่ถูกสนองระงับ ความขาดแคลน และ ความกระสับกระส่ายกระวนกระวายนั่นเอง

เป็นสิ่งบีบคั้นเป็นความทุกข์

ยิ่งอยากมาก ก็ยิ่งพร่องยิ่งกระวนกระวายมาก และ ความทุกข์ก็ยิ่งแรงมาก

ความจริง ก็เริ่มทุกข์ตั้งแต่เริ่มอยากนั่นเอง เพราะพอเริ่มอยาก ก็เริ่มกระวนกระวาย


โดยนัยนี้ จึงพูดได้อีกสำนวนหนึ่งว่า การหาความสุข ตามปกติของมนุษย์ก็ คือ

การเร้าความทุกข์ขึ้นแล้ว

หาทางระงับความทุกข์นั้นลงไปคราวหนึ่ง ๆ หรือ

ความสุขก็คือการดับทุกข์ได้นั้นเอง

ยิ่งถูกเร้าให้ทุกข์แรง เมื่อสนองระงับ ก็ยิ่งได้สุขมาก

ตามปกติ ระยะเวลาที่เริ่มอยาก เริ่มพร่อง กระวนกระวายมีทุกข์แล้ว

แต่ยังไม่ได้สนองระงับ จะยาวนาน หรือ ยาวนานมาก

ส่วนเวลาที่ได้รับการสนองระงับ มักจะสั้นนิดเดียว

ชีวิตมนุษย์ ที่ระคนด้วยสุข ทุกข์

จึงมากด้วยทุกข์และต้องเอาความหวังเป็นเครื่องหล่อเลี้ยง

แต่ที่ร้ายแรง ก็คือ มีความอยากมากมาย ซึ่งไม่ได้รับการสนองระงับ

และทั้งไม่มีความหวังจะได้รับการสนองระงับ

จึงมีแต่ความทุกข์ยาวนาน และ รุนแรงยิ่งขึ้น

เมื่อรอไม่ได้ หรือ ไม่มีหวัง

มนุษย์จำนวนมาก ก็จะดิ้นรนทุกรูปแบบ

ถ้าสนองระงับทุกข์ไม่ได้ ก็ระบายทุกข์นั้นออกไป

ทำให้เกิดปัญหาเพิ่มทุกข์แก่ตนเองและผู้อื่นให้มากขึ้น

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 21 ก.ย. 2009, 11:24 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


(ต่อ)



เรื่องไม่จบแค่นั้น

เมื่ออยาก และ ดำเนินการให้ได้ตามอยาก ก็ย่อมถูกขัดถูกแย้งหรือถูกแย่งบ้าง

ชีวิตที่อยู่ด้วยความอยากจึงต้องมีความขัดใจ โกรธ เกลียด แค้นเคือง

พร้อมทั้งความทุกข์ความเดือดร้อน

ปัญหาต่างๆ ที่เกิดจากความโกรธเกลียดนั้นควบคู่มาด้วย

ยิ่งอยากมาก อยากบ่อย ความขัดใจและความทุกข์ ก็ยิ่งมากยิ่งบ่อย- (หมายถึงอยากด้วย

ตัณหา ถ้าอยากแบบฉันทะ เมื่อถูกขัด อาจกลายเป็นสนุกไป...พึงแยกความอยากที่เป็นตัณหา

กับความอยากที่เป็นฉันทะให้ออก)


แต่ร้ายยิ่งกว่านั้นอีก เมื่อฝากความสุขไว้กับความอยาก และ กระบวนการสนองระงับ

ความอยากจนเคยชิน

ต่อไป เมื่อไม่มีสิ่งที่อยาก

ไม่พบสิ่งที่น่าอยาก หรือ สิ่งที่เคยอยากก็หายอยากเสียแล้ว

ว่างจากกิจกรรมสนองความอยาก หรือ ไม่รู้จะอยากอะไร

ก็จะมีแต่ความเบื่อหน่าย หงอยเหงา ซึม และเซ็งชีวิต

กลายเป็นภาวะที่ทนไม่ได้ ไร้ความหมาย

เป็นความทุกข์อีกแบบหนึ่ง

แต่เป็นความทุกข์ที่ไม่มีรสชาด

อาจยิ่งแย่กว่าความทุกข์แบบกระวนกระวาย เมื่อยังไม่ได้สนองระงับความอยากเสียอีก

เมื่อมนุษย์ ยึดเอาความอยากและสิ่งปรนเปรอความอยากเป็นสรณะ

ฝากความสุขไว้กับกระบวนการสนองความอยาก

ปรุงแต่งความอยาก และสิ่งสนองปรนเปรอให้หลากหลายพิสดารยิ่งขึ้น

ความทุกข์ของมนุษย์ก็จะประณีตลึกซึ้งยิ่งขึ้น จนถึงขั้นที่กล่าวมานี้ นี่คือ

วงจรชีวิตที่มีความทุกข์เป็นพื้นฐาน

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 21 ก.ย. 2009, 11:27 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


(พิจารณาความเป็นอยู่ ด้านตรงข้ามคำอธิบายข้างบน)


(ต่อ)


การดำเนินชีวิตอีกแบบหนึ่ง ซึ่งปราศจากปัญหาอย่างที่กล่าวมาแล้วโดยสิ้นเชิง ก็คือ

การเป็นอยู่ในเวลาที่เป็นอยู่ หรือ

การมีชีวิตอยู่จริง ในเวลานั้นๆ ขณะนั้นๆ คือ

มีจิตใจรับรู้ เต็มตื่นอยู่กับสภาพที่กำลังเป็นอยู่ ประสบอยู่ หรือ

สิ่งที่เกี่ยวข้องต้องทำเป็นปัจจุบันในขณะนั้นๆ

รู้เข้าใจสิ่งนั้นๆ สภาพนั้นๆ ตามสภาวะของมัน และพิจารณาจัดการสิ่งนั้นๆ เรื่องนั้นๆ

ด้วยความรู้เข้าใจตามสภาวะนั้น

เรียกสั้นๆว่า เป็นอยู่ด้วยสติสัมปชัญญะ หรือ

ด้วยสติปัญญา ตามหลักสติปัฏฐาน

จะเรียกว่า มีสติตามทันปัจจุบัน หรือ

มีชีวิตอยู่ในขณะปัจจุบันก็ได้

ผู้ที่เป็นอยู่ตามหลักการนี้ ชื่อว่า เป็นผู้มีชีวิตอยู่อย่างแท้จริง

(คนจำนวนมากไม่ได้มีชีวิตอยู่ เพราะชีวิตของเขาอยู่ในอดีตบ้าง อยู่ในอนาคตบ้าง)


เมื่อมีชีวิตอยู่เต็มที่ในขณะนั้นๆ ก็ไม่มีความขาดความพร่อง และไม่มีความเครียด

กระวนกระวาย ที่เกิดจากถูกความอยากเหนี่ยว หรือ ดึง ให้เป็นเหมือนยาง ที่ยืดออกไป

รับรู้ และ เสวยอารมณ์แต่ละขณะอย่างที่เต็มบริบูรณ์เสร็จสิ้นไปทีเดียว

จึงมีความสุขเต็มอิ่ม อยู่ในตัวทันทีทุกๆ ขณะ

ไม่ต้องอาศัยความสุขชนิดที่เกิดจากการสนองระงับความอยาก

ดับทุกข์ไปได้คราวหนึ่งๆ คือ

ไม่มีความทุกข์เกิดขึ้นที่จะต้องคอยตามดับ

จึงเรียกง่ายๆว่า ความเป็นอยู่อย่างไร้ทุกข์ ซึ่งหมายถึงการมีความสุข

บริบูรณ์อยู่ในตัวแล้วตลอดเวลา

นี้คือ การเปลี่ยนจากความเป็นอยู่อย่างมีความทุกข์เป็นพื้นฐาน

มาเป็นความเป็นอยู่อย่างมีความสุขเป็นพื้นฐาน หรือ

มีความไร้ทุกข์เป็นพื้นฐาน

ผู้ที่มีความไร้ทุกข์ หรือ ความสุขอย่างนี้เป็นพื้นฐานของชีวิตแล้ว

เมื่อต้องการเสวยความสุขอย่างใดๆ ที่อยู่ในวิสัยของตน

ก็เสวยความสุขนั้นๆ อย่างได้รับความสุขเต็มที่

ถ้ายังเป็นผู้หาความสุขจากความอยากอยู่บ้าง

แม้ในเวลาที่ไม่มีสิ่งสนองความอยากหรือไม่อาจสนองความอยาก

ก็ไม่ประสบปัญหา เพราะมีความสุข แบบไร้ทุกข์นี้ยืนพื้น เป็นหลักประกันอยู่

นอกจากนั้น ด้วยเหตุที่ไม่มีเงื่อนปม แห่งทุกข์เป็นปัญหาขัดถ่วงเหนี่ยวรั้งอยู่ภายใน

เขาจึงเป็นผู้พร้อมที่จะทำกิจ และ จัดการปัญหาต่างๆภายนอก

ไม่ว่าของบุคคลหรือของสังคมอย่างได้ผลดี เต็มบริบูรณ์แห่งความสามารถของเขา

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 5 โพสต์ ] 

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 46 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร