วันเวลาปัจจุบัน 05 พ.ค. 2025, 15:57  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


กฎการใช้บอร์ด


รวมกระทู้จากบอร์ดเก่า http://www.dhammajak.net/board/viewforum.php?f=2



กระทู้นี้ถูกล็อก คุณไม่สามารถแก้ไขข้อความ หรือ ตอบกลับในกระทู้นี้  [ 77 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1, 2, 3, 4, 5, 6  ต่อไป  Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 13 ส.ค. 2010, 19:50 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 เม.ย. 2009, 02:43
โพสต์: 12232


 ข้อมูลส่วนตัว


:b12: :b12: :b12:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 13 ส.ค. 2010, 20:04 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 เม.ย. 2009, 02:43
โพสต์: 12232


 ข้อมูลส่วนตัว


chalermsak เขียน:
อ้างคำพูด:
คุณ กบ เขียน
คุณเฉลิมครับ...

หากมีพระองค์ใดสอนว่า..พบผู้รู้..ฆ่าผู้รู้..พบพระพุทธเจ้า..ฆ่าพระพุทธเจ้า..

อย่างนี้..คุณเฉลิม..จะคิดยังงัยกับพระองค์นี้ละครับ??


พิจารณาดูก่อนครับ หากพระท่านนั้น นำลัทธิอื่นมาสอน เช่น สอนในแนวนิกายเซน แล้วให้คิดเอาเอง

ผมไม่ขอศึกษาดีกว่าครับ ลัทธินอกศาสนาแบบนั้น



พระบวชบ้านเรานี้แหละครับ..คุณเฉลิม
แล้วท่าน..สอน..อย่างนี้..คุณเฉลิมว่าสอนผิดหรือถูก..ละครับ

ผิดวินัยไหม??...ผิดพุทธพจน์ไหม??..ผิดอรรถกถา..ผิดฎีกาไหม??
หรือว่าถูก..??

ผมไม่รู้..ไม่ได้อ่านหนังสือเท่าไร..ก็อาศัยฟังเอา..ถามเอา..นี้แหละ

ตอบแล้ว..ก็มีที่จะถามต่อครับ :b12: :b12:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 14 ส.ค. 2010, 05:15 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 5
สมาชิก ระดับ 5
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ก.พ. 2009, 05:07
โพสต์: 372


 ข้อมูลส่วนตัว


จากทิฏฐิท่านพุทธทาส ในหนังสือ อภิธรรมคืออะไร

ทีนี้จะพูดเรื่อยๆ ไปตามที่เห็นว่าสมควรจะพูด ทำไมเราจึงกล้าวิจารณ์ขนาดนี้ ?จะชอบไหม ว่าทำไมเราจึงกล้าวิจารณ์กันอย่างอิสระเช่นนี้? ในข้อนี้จะขอพูดไว้ทีเดียวหมดเลย สำหรับใช้ได้ทุกๆคราวทุกๆเรื่องว่า ทำไมเราจึงกล้าวิจารณ์กันขนาดนี้
ข้อหนึ่ง ก็เพราะว่าพระไตรปิฏกทีแรกจำกันมาด้วยปาก ฟังด้วยหู บอกกันด้วยปากเรื่อยมาเป็นเวลาตั้ง ๔๐๐- ๕๐๐ ปี จึงได้เขียนเป็นตัวหนังสือ มันอาจจะมีผิดเพี้ยนหลงลืมโดยไม่เจตนาในชั่ว ๔๐๐ - ๕๐๐ ปีนี้ ฉะนั้นเราจึงต้องกล้าวิจารณ์

อีกข้อหนึ่งแม้เป็นตัวหนังสือแล้ว มันก็ตั้ง ๒๐๐๐ ปีมาแล้ว ที่เขียนเป็นตัวหนังสือแล้วเมื่อ พศ. ๕๐๐ มาถึงเดี๋ยวนี้มัน ๒๐๐๐ ปีแล้ว ฉะนั้นมันอาจจะมีอะไรสูญหาย หรือเพิ่มเข้ามาชดเชยหรือว่าเพิ่มเติมเข้าไปโดยเจตนาบ้าง ไม่เจตนาบ้าง อย่างนี้มันอาจจะมี แม้แต่คัดลอกผิดมันก็มี ฉะนั้นเราจึงกล้าวิจารณ์
ทีนี้การกล้าวิจารณ์นี้ไม่ใช่เราอวดดี พระพุทธเจ้าท่านตรัสไว้โดยกาลามสูตร อย่าเชื่อแม้แต่เพราะเหตุว่าสมณะองค์นี้เป็นครูของข้าพเจ้า แม้แต่พระพุทธเจ้าเอง อย่าเชื่อเพราะมันมีในพระไตรปิฏก, อย่าเชื่อเพราะมันน่าเชื่อ,อย่าเชื่อเพราะมันมีเหตุผลทางตรรก ทาง Logic ทางปรัชญา เป็นต้น ให้เชื่อเมื่อมันปรากฏแก่ใจแล้วว่ามันเป็นเช่นนั้นจริง พระพุทธเจ้าทรงเปิดให้อย่างอิสระถึงที่สุดอย่างนี้ เพราะฉะนั้นเราจึงกล้าวิจารณ์ แม้แต่วิจารณ์พระพุทธเจ้าเอง นี่พูดอย่างนี้บาปหรือไม่บาปก็ไปคิดเอาเองเถอะ บางคนคิดว่าพูดจาบจ้วงพระพุทธเจ้า แต่ว่าพระพุทธเจ้าท่านสั่งว่าอย่างนั้น



อ้างคำพูด:
คุณ กบ เขียน
ขอบคุณเป็นอย่างสูง..ที่นำคำของท่านพุทธทาส..ตรง ๆ มาแสดง

สาธุ.. ..สาธุท่านพุทธทาส..ครับ

ทำให้นึกถึง..ตอนที่พระสารีบุตรกล่าวว่า..ไม่เชื่อพระพุทธเจ้า..พระพุทธเจ้ายังชมพระสารีบุตรเลยนะครับ


ขอนำเหตุการณ์ ที่พระพุทธองค์ เปิดโอกาสให้พระสารีบุตรสอบสวน แสดงศรัทธาปสาทะ ซึ่งปรากฏในพระไตรปิฏก อรรถกถา เถรวาทดังนี้



พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ดูกรสารีบุตร เธอกล่าวอาสภิวาจานี้ประเสริฐแท้
เธอบันลือสีหนาทซึ่งเธอถือเอาโดยเฉพาะว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์
เลื่อมใสในพระผู้มีพระภาคอย่างนี้ว่า ทั้งอดีต อนาคต และปัจจุบัน ไม่มีสมณะ
หรือพราหมณ์อื่นที่จะมีความรู้ยิ่งไปกว่าพระผู้มีพระภาคในทางพระสัมโพธิญาณ ฯ
[๗๔] ดูกรสารีบุตร เธอกำหนดใจด้วยใจ แล้วรู้ซึ่งพระผู้มีพระภาค
อรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าทั้งหมด ซึ่งได้มีแล้วในอดีต ว่าพระผู้มีพระภาคเหล่านั้น
ได้มีศีลอย่างนี้ มีธรรมอย่างนี้ มีพระปัญญาอย่างนี้ มีวิหารธรรมอย่างนี้ มีวิมุตติ
อย่างนี้ ได้ละหรือ ฯ
สา. ข้อนั้นเป็นไปไม่ได้เลย พระเจ้าข้า ฯ
ดูกรสารีบุตร ก็เธอกำหนดใจด้วยใจ แล้วรู้ซึ่งพระผู้มีพระภาคอรหันต-
*สัมมาสัมพุทธเจ้าทั้งหมด ซึ่งจักมีในอนาคตว่า พระผู้มีพระภาคเหล่านั้น จักมีศีล
อย่างนี้ มีธรรมอย่างนี้ มีพระปัญญาอย่างนี้ มีวิหารธรรมอย่างนี้ มีวิมุตติอย่างนี้
ได้ละหรือ ฯ
ข้อนั้นเป็นไปไม่ได้เลย พระเจ้าข้า ฯ
ดูกรสารีบุตร ก็เธอกำหนดใจด้วยใจ แล้วรู้เราผู้เป็นพระอรหันตสัมมา-
*สัมพุทธเจ้าอยู่ ณ บัดนี้ว่า พระผู้มีพระภาคมีศีลอย่างนี้ มีธรรมอย่างนี้ มีพระปัญญา
อย่างนี้ มีวิหารธรรมอย่างนี้ มีวิมุตติอย่างนี้ ได้ละหรือ ฯ
ข้อนั้นเป็นไปไม่ได้เลย พระเจ้าข้า ฯ
ดูกรสารีบุตร ก็เธอไม่มีเจโตปริยญาณในพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าที่มี
ในอดีต อนาคต และปัจจุบันเหล่านั้น เหตุไฉน เธอจึงหาญกล่าวอาสภิวาจาอัน
ประเสริฐนี้ บันลือสีหนาทซึ่งเธอถือเอาโดยเฉพาะว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ
ข้าพระองค์เลื่อมใสในพระผู้มีพระภาคอย่างนี้ว่า ทั้งอดีต อนาคต และปัจจุบัน ไม่มี
สมณะหรือพราหมณ์อื่น ที่จะมีความรู้ยิ่งไปกว่าพระผู้มีพระภาคในทางพระสัม-
*โพธิญาณ ฯ
ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ถึงว่าข้าพระองค์จะไม่มีเจโตปริยญาณในพระอรหันต-
*สัมมาสัมพุทธเจ้าที่มีในอดีต อนาคต และปัจจุบันก็จริง แต่ข้าพระองค์ก็ทราบ
อาการที่เป็นแนวของธรรมได้ เปรียบเหมือนเมืองชายแดนของพระราชา มีป้อม
แน่นหนา มีกำแพงและเชิงเทินมั่นคง มีประตูๆ เดียว คนยามเฝ้าประตูที่เมือง
นั้นเป็นบัณฑิต เฉียบแหลม มีปัญญา คอยห้ามคนที่ตนไม่รู้จัก ยอมให้แต่คนที่
รู้จักเข้าไป เขาเที่ยวตรวจดูทางแนวกำแพงรอบๆ เมืองนั้น ไม่เห็นที่ต่อหรือช่อง
กำแพง โดยที่สุดแม้พอแมวลอดออกมาได้ จึงคิดว่า สัตว์ที่มีร่างใหญ่จะเข้ามาสู่
เมืองนี้หรือจะออกไป สัตว์ทั้งหมดสิ้น จะต้องเข้าออกทางประตูนี้เท่านั้น ฉันใด
ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์ก็ทราบอาการที่เป็นแนวของธรรมได้ ฉันนั้น
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าที่ได้มีแล้วในอดีตทั้งสิ้น ล้วนทรงละนิวรณ์
๕ อันเป็นเครื่องเศร้าหมองใจ ทอนกำลังปัญญา ล้วนมีพระมนัสตั้งมั่นแล้วใน
สติปัฏฐาน ๔ เจริญสัมโพชฌงค์ ๗ ตามเป็นจริง จึงได้ตรัสรู้พระอนุตรสัมมาสัม-
*โพธิญาณ แม้พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าซึ่งจักมีในอนาคตทั้งสิ้น
ก็จักต้องทรงละนิวรณ์ ๕ อันเป็นเครื่องเศร้าหมองใจ ทอนกำลังปัญญา จักมี
พระมนัสตั้งมั่นแล้วในสติปัฏฐาน ๔ ทรงเจริญสัมโพชฌงค์ ๗ ตามเป็นจริง จึงจะได้
ตรัสรู้พระอนุตรสัมมาสัมโพธิญาณ ถึงแม้พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
ณ บัดนี้ ก็ทรงละนิวรณ์ ๕ อันเป็นเครื่องเศร้าหมองใจ ทอนกำลังปัญญา มี
พระมนัสตั้งมั่นแล้วในสติปัฏฐาน ๔ ทรงเจริญสัมโพชฌงค์ ๗ ตามเป็นจริง จึงได้
ตรัสรู้พระอนุตรสัมมาสัมโพธิญาณ ข้าพระองค์เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ
เพื่อฟังธรรม พระองค์ทรงแสดงธรรมอย่างยอดเยี่ยม ประณีตยิ่งนัก ทั้งฝ่ายดำ
ฝ่ายขาว พร้อมด้วยอุปมาแก่ข้าพระองค์ พระองค์ทรงแสดงธรรมอย่างยอดเยี่ยม
ประณีตยิ่งนัก ทั้งฝ่ายดำฝ่ายขาว พร้อมด้วยอุปมาด้วยประการใดๆ ข้าพระองค์ก็รู้
ยิ่งในธรรมนั้นด้วยประการนั้นๆ ได้ถึงความสำเร็จธรรมบางส่วนในธรรมทั้งหลาย
แล้ว จึงเลื่อมใสในพระองค์ว่า พระผู้มีพระภาคเป็นผู้ตรัสรู้ด้วยพระองค์เองโดยชอบ
พระธรรมอันพระผู้มีพระภาคตรัสดีแล้ว พระสงฆ์เป็นผู้ปฏิบัติชอบ


เนื้อความพระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๑ บรรทัดที่ ๒๑๓๙ - ๒๕๓๖. หน้าที่ ๘๙ - ๑๐๕.
http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/v ... agebreak=0
ศึกษาอรรถกถานี้ ได้ที่ :-
http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=11&i=73


อรรถกถาสัมปสาทนียสูตร
สาริปุตฺตสีหนาทวณฺณนา
สัมปสาทนียสูตร มีคำขึ้นต้นว่า เอวมฺเม สุตํ ดังนี้.
ในสัมปสาทนียสูตรนั้น มีการพรรณนาบทที่ยังไม่ชัด ดังต่อไปนี้.
บทว่า นาฬนฺทายํ ความว่า ใกล้พระนครซึ่งได้นามว่า นาฬันทา พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ทรงทำเมืองนาลันทานั้นให้เป็นที่โคจรคาม.
บทว่า ปาวาริกมฺพวเน ความว่า ที่สวนมะม่วงของเศรษฐีผู้มีผ้ามีขนอ่อนนุ่ม.
ได้ยินว่า สวนมะม่วงนั้นเป็นสวนของเศรษฐีนั้น. เขาได้ฟังพระธรรมเทศนาของพระผู้มีพระภาคเจ้าแล้ว มีความเลื่อมใสในพระผู้มีพระภาคเจ้า ได้สร้างวิหารซึ่งประดับด้วยกุฏิที่พักผ่อนและมณฑปเป็นต้นในอุทยานนั้น มอบถวายพระผู้มีพระภาคเจ้า วิหารนั้นได้ถึงการนับว่า ปาวาริกัมพวัน เหมือนชีวกัมพวันฉะนั้น.
อธิบายว่า พระผู้มีพระภาคเจ้านั้นประทับอยู่ที่ปาวาริกัมพวันนั้น. ท่านพระสารีบุตรได้กราบทูลคำนี้กะพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์มีความเลื่อมใสในพระผู้มีพระภาคเจ้าอย่างนี้.
ถามว่า เพราะเหตุไร พระเถระจึงทูลอย่างนี้.
ตอบว่า เพื่อประกาศความโสมนัสซึ่งบังเกิดแก่ตน.
ในเรื่องนี้ มีการกล่าวตามลำดับ ดังต่อไปนี้.
นัยว่า ในวันนั้น พระเถระชำระร่างกายแต่เช้าตรู่ นุ่งห่มเรียบร้อยแล้ว ถือบาตรจีวร นำความเลื่อมใสมาให้เกิดแก่หมู่เทวดาและมนุษย์ ด้วยอิริยาบถมีการก้าวไป ข้างหน้าเป็นต้นอันน่าเลื่อมใส หวังเพิ่มพูลประโยชน์สุขแก่ชาวเมืองนาลันทา จึงเข้าไปเพื่อบิณฑบาต ในเวลาหลังภัตก็กลับจากบิณฑบาตไปวิหารแล้ว แสดงวัตรแด่พระศาสดา
เมื่อพระศาสดาเสด็จเข้าพระคันธกุฎีแล้ว ถวายบังคมพระศาสดาแล้ว กลับไปยังที่พักกลางวันของตน เมื่อสัทธิวิหาริกและอันเตวาสิกในที่นั้น พากันแสดงวัตรแล้วหลีกไป พระเถระได้กวาดที่พักกลางวันนั้นแล้ว ปูลาดแผ่นหนัง เอาน้ำจากลักจั่นชุบมือและเท้าให้เย็นแล้ว นั่งคู้บัลลังก์ ๓ ชั้น ทำตามกำหนดเวลาแล้ว จึงเข้าผลสมาบัติ.
ท่านออกจากสมาบัติด้วยเวลาตามที่ได้กำหนดไว้แล้ว เริ่มที่จะระลึกถึงคุณของตน.
ทีนั้น เมื่อท่านกำลังระลึกถึงคุณอยู่ ศีลก็ได้มาปรากฏ ต่อแต่นั้น สมาธิ ปัญญา วิมุตติ วิมุตติญาณทัสสนะ ปฐมญาน ฯลฯ จตุตถฌาน อากาสานัญจายตนสมาบัติ ฯลฯ เนวสัญญานาสัญญายตนสมาบัติ ฯลฯ วิปัสสนาญาณ ฯลฯ ทิพพจักขุญาณ ฯลฯ โสดาปัตติมรรค โสดาปัตติผล ฯลฯ อรหัตตมรรค อรหัตตผล อัตถปฏิสัมภิทา ธรรมปฏิสัมภิทา นิรุตติปฏิสัมภิทา ปฏิภาณปฏิสัมภิทา สาวกบารมีญาณ ก็ปรากฏขึ้นตามลำดับ.
จำเดิมแต่นั้น เมื่อท่านกำลังระลึกถึงคุณของตน เริ่มต้นแต่อภินิหารที่ได้ทำไว้แทบบาทมูลของพระพุทธเจ้าทรงพระนามว่า อโนมทัสสี เหนืออสงไขยกำไรแสนกัลป์ จนกระทั่งถึงเวลาที่กำลังนั่งคู้บัลลังก์ คุณทั้งหลายก็ได้ปรากฏ. พระเถระระลึกถึงคุณของตนเป็นอันมากอย่างนี้ ก็ไม่อาจเห็นประมาณหรือกำหนดของคุณทั้งหลายได้เลย.
ท่านคิดว่า ประมาณหรือกำหนดแห่งคุณทั้งหลายของพระสาวกผู้ดำรงอยู่ในญาณบางส่วน ย่อมไม่มีแก่เราก่อน แต่เราบวชอุทิศพระศาสดาองค์ใด พระศาสดาพระองค์นั้นมีพระคุณเป็นเช่นไรหนอ ดังนี้แล้ว จึงเริ่มระลึกถึงพระคุณของพระทสพล.
ท่านได้อาศัยศีล สมาธิ ปัญญา วิมุตติ วิมุตติญาณทัสนะ สติปัฏฐาน ๔ ของพระผู้มีพระภาคเจ้า อาศัยสัมมัปปธาน ๔ อิทธิบาท ๔ มรรค ๔ ผล ๔ ปฏิสัมภิทา ๔ โยนิปริจเฉทกญาณ ๔ อริยวงศ์ ๔ ของพระทสพล แล้วเริ่มระลึกถึงพระคุณของพระทศพล.
อนึ่ง พระเถระอาศัยองค์ของปธาน ๕ สัมมาสมาธิมีองค์ ๕ อินทรีย์ ๕ พละ ๕ นิสสรณียธาตุ ๕ วิมุตตายตนะ ๕ ปัญญาเครื่องสั่งสมวิมุตติ ๕ สาราณียธรรม ๖ อนุสสติกัมมัฏฐาน ๖ คารวะ ๖ นิสสรณียธาตุ ๖ สัตตวิหารธรรม ๖ อนุตตริยะ ๖ ปัญญาอันเป็นส่วนแห่งการตรัสรู้ ๖ อภิญญา ๖ อสาธารณญาณ ๖
อปริหานิยธรรม ๗ อริยทรัพย์ ๗ โพชฌงค์ ๗ สัปปุริสธรรม ๗ นิชชรวัตถุ (เรื่องของเทวดา) ๗ ปัญญา ๗ ทักขิไณยบุคคล ๗ ขีณาสวพละ ๗ ปัญญาปฏิลาภเหตุ ๘ สมมัตตธรรม ๘ การก้าวล่วงโลกธรรม ๘ อารัพภวัตถุ ๘ อักขณเทสนา ๘ มหาปุริสวิตก ๘ อภิภายตนะ ๘ วิโมกข์ ๘ ธรรมอันเป็นมูลของโยนิโสมนสิการ ๙ องค์แห่งความเพียรอันบริสุทธิ์ ๙ สัตตาวาสเทสนา ๙ อาฆาตปฏิวินัย ๙ ปัญญา ๙ นานัตตธรรม ๙ อนุปุพพวิหาร ๙
นาถกรณธรรม ๑๐ กสิณายตนะ ๑๐ กุศลกรรมบถ ๑๐ ตถาคตพละ ๑๐ สัมมัตตธรรม ๑๐ อริยวาสธรรม ๑๐ อเสขธรรม ๑๐ อานิสงส์เมตตา ๑๑ ธรรมจักรมีอาการ ๑๒ ธุดงคคุณ ๑๓ พุทธญาณ ๑๔ ธรรมเครื่องอบรมวิมุตติ ๑๕ อานาปานสติ ๑๖ พุทธธรรม ๑๘ ปัจจเวกขณญาณ ๑๙ ญาณวัตถุ ๔๔ กุศลธรรมเกิน ๕๐ ญาณวัตถุ ๗๗ สมาบัติ ๒๔ แสนโกฏิ สัญจาริตมหาวชิรญาณแล้ว เริ่มระลึกถึงคุณของพระทศพล.
ก็พระสารีบุตรนั่งในที่พักกลางวันนั้นนั่นแล อาศัยธรรมอันเป็นเชื้อสายข้ออื่นอีก ๑๖ ข้อ ซึ่งจักมาต่อไปโดยพระบาลีว่า อปรํ ปน ภนฺเต เอตทานุตฺตริยํ จึงได้เริ่มระลึกถึงพระคุณของพระทศพล.
พระสารีบุตรนั้นระลึกถึงพระคุณของพระทสพลอย่างนี้ว่า พระศาสดาของเราทรงเป็นผู้ยอดเยี่ยมในกุศลบัญญัติ ยอดเยี่ยมในอายตนบัญญัติ ยอดเยี่ยมในการก้าวลงสู่พระครรภ์ ยอดเยี่ยมในวิธีแสดงดักใจผู้ฟัง ยอดเยี่ยมในทัสสนสมบัติ ยอดเยี่ยมในบุคคลบัญญัติ ยอดเยี่ยมในปธาน ยอดเยี่ยมในปฏิทา ยอดเยี่ยมในภัสสมาจาร ยอดเยี่ยมในปุริสสีลสมาจาร ทรงยอดเยี่ยมในอนุสาสนีวิธี ยอดเยี่ยมในปรปุคคลวิมุตติญาณ ยอดเยี่ยมในปุพเพนิวาสญาณ ยอดเยี่ยมในทิพพจักขุญาณ ยอดเยี่ยมในอิทธิวิธี ยอดเยี่ยมด้วยธรรมนี้ ดังนี้ ก็ไม่เห็นที่สุด ไม่เห็นประมาณแห่งพระคุณทั้งหลายของพระผู้มีพระภาคเจ้าได้.

-------------------------------------------

จากหนังสือ พุทธธรรม

4- ศรัทธาแม้จะสำคัญ แต่จะติดตันถ้าอยู่แค่ศรัทธา
พึงสังเกตว่า แม้แต่ความสงสัยเคลือบแคลงในพระพุทธเจ้า ก็ไม่ได้ถูก
ถือว่าเป็นบาปหรือความชั่วเลย ถือว่าเป็นเพียงสิ่งที่จะต้องแก้ไขให้รู้แน่ชัด
ลงไปจนหมดสงสัย ด้วยวิธีการแห่งปัญญา และยังส่งเสริมให้ใช้ความคิด
สอบสวนพิจารณาตรวจสอบอีกด้วย เมื่อมีผู้ใดประกาศตัวเองแสดงความ
เลื่อมใสศรัทธาในพระพุทธเจ้า ก่อนที่พระองค์จะประทานความเห็นชอบ จะ
ทรงสอบสวนก่อนว่า ศรัทธาปสาทะของเขามีเหตุผลเป็นมูลฐานหรือไม่ เช่น

สัมปสาทนียสูตร
http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/v ... agebreak=0

ความเลื่อมใสศรัทธาต่อบุคคลผู้ใดผู้หนึ่งนั้น ถ้าใช้ให้ถูกต้อง คือเป็น
อุปกรณ์สำหรับช่วยให้ก้าวหน้าต่อไป ก็ย่อมเป็นสิ่งที่มีประโยชน์ แต่ในเวลา
เดียวกัน ก็มีข้อเสีย เพราะมักจะกลายเป็นความติดในบุคคล และกลายเป็น
อุปสรรคบั่นทอนความก้าวหน้าต่อไป ข้อดีของศรัทธาปสาทะนั้น เช่น
อริยสาวกผู้ใด เลื่อมใสอย่างยิ่งแน่วแน่ถึงที่สุดในตถาคต อริยสาวก
นั้นจะไม่สงสัย หรือแคลงใจ ในตถาคต หรือ ศาสนา (คำสอน) ของ
ตถาคต แท้จริง สำหรับอริยสาวกผู้มีศรัทธา เป็นอันหวังสิ่งนี้ได้ คือ
เขาจักเป็นผู้ตั้งหน้าทำความเพียร เพื่อกำจัดอกุศลธรรมทั้งหลาย (และ)
บำเพ็ญกุศลธรรมทั้งหลายให้พร้อมบูรณ์ จักเป็นผู้มีเรี่ยวแรง บากบั่น
อย่างมั่นคง ไม่ทอดธุระในกุศลธรรมทั้งหลาย

------------------------------------------


อ้างคำพูด:
คุณ กบ เขียน
ขอบคุณเป็นอย่างสูง..ที่นำคำของท่านพุทธทาส..ตรง ๆ มาแสดง

สาธุ.. ..สาธุท่านพุทธทาส..ครับ

ทำให้นึกถึง..ตอนที่พระสารีบุตรกล่าวว่า..ไม่เชื่อพระพุทธเจ้า..พระพุทธเจ้ายังชมพระสารีบุตรเลยนะครับ


คุณกบครับ เรื่องนี้น่าจะมาจาก สัมปสาทนียสูตร นะครับ หรือมาจาก พระสูตรอื่นช่วยนำมาแสดงถึงที่มาด้วยนะครับ

คุณกบครับ แต่วิจารณ์พระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ ของท่านพุทธทาส ผมเป็นคนละอย่างที่ พระสารีบุตรกล่าวไว้นะครับ

ของท่านพุทธทาส ท่านตั้งต้นการขาดความศรัทธา ใช้อัตตโนมติตนเองเป็นใหญ่ เช่น
- การไปกล่าวตู่พระพุทธเจ้าว่าเอออวยกับศาสนาพราหมณ์ในเรื่อง นรก สวรรค์
-การกล่าวตู่ว่า พระพุทธองค์ทรงตรัส ๒ ภาษา คือ ภาษาธรรม ภาษาคนสำหรับผู้ที่ยังโง่อยู่ ส่วนภาษาธรรมก็ยกย่องทิฏฐิของตนเองเอง

.....................................................
สมถะ (ฌาน, สมาธิ) ที่เป็นบาทของวิปัสสนา
http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=2&t=21049

ผู้บรรลุธรรม จากสมถะ มีจำนวนน้อยกว่าผู้ไม่มี
http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=2&t=21062

การเจริญสติปัฏฐานหมวดพิจารณาอิริยาบถ ๔ จากพระไตรปิฏก อรรถกถา
http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=2&t=29201

ควรศึกษาอัตตโนมติ ของท่านพุทธทาสหรือไม่ ?
http://www.dhammajak.net/board/viewtopic.php?t=17187


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 14 ส.ค. 2010, 05:26 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 5
สมาชิก ระดับ 5
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ก.พ. 2009, 05:07
โพสต์: 372


 ข้อมูลส่วนตัว


การสอบถาม
[๕๓๘] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ในพวกภิกษุผู้พิจารณานั้น ภิกษุผู้พิจารณารูปหนึ่งควรสอบ
ถามตถาคตต่อไปว่า ธรรมที่พึงรู้แจ้งด้วยจักษุและโสตอันเศร้าหมองของตถาคต มีอยู่หรือไม่.
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ตถาคตเมื่อจะพยากรณ์ พึงพยากรณ์อย่างนี้ว่า ธรรมที่พึงรู้แจ้งด้วยจักษุและ
โสตอันเศร้าหมองของตถาคต มิได้มี.
ภ. ธรรมที่พึงรู้แจ้งด้วยจักษุและโสตอันเจือกัน ของพระตถาคต มีอยู่หรือไม่.
พ. ธรรมที่พึงรู้แจ้งด้วยจักษุและโสตอันเจือกันของตถาคต มิได้มี.
ภ. ธรรมที่พึงรู้แจ้งด้วยจักษุและโสตที่ผ่องแผ้วของตถาคต มีอยู่หรือไม่.
พ. ธรรมที่พึงรู้แจ้งด้วยจักษุและโสตที่ผ่องแผ้วของตถาคต มีอยู่ เราเป็นผู้มีธรรมที่
ผ่องแผ้วนั้นเป็นทาง มีธรรมที่ผ่องแผ้วนั้นเป็นโคจร เพราะเหตุนั้นเราจึงไม่ใช่เป็นผู้มีตัณหา.
ดูกรภิกษุทั้งหลาย สาวกควรจะเข้าหาศาสดาผู้มีวาทะอย่างนี้ เพื่อฟังธรรม ศาสดาย่อมแสดง
ธรรมอันยิ่งๆ อันประณีตๆ อันเปรียบด้วยส่วนดำ ส่วนขาว แก่สาวกนั้น ดูกรภิกษุทั้งหลาย
ศาสดาย่อมแสดงธรรมอันยิ่งๆ อันประณีตๆ อันเปรียบด้วยส่วนดำส่วนขาวแก่ภิกษุ ด้วย
ประการใดๆ ภิกษุนั้น รู้ยิ่งธรรมบางอย่างในธรรมนั้นด้วยประการนั้นๆ ย่อมถึงความตกลงใจใน
ธรรมทั้งหลาย ย่อมเลื่อมใสในศาสดาว่า พระผู้มีพระภาคเป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้า พระธรรม
อันพระผู้มีพระภาคตรัสดีแล้ว พระสงฆ์เป็นผู้ปฏิบัติดีแล้ว. ดูกรภิกษุทั้งหลาย หากชนพวกอื่น
พึงถามภิกษุนั้นอีกอย่างนี้ว่า ก็อาการกิริยาที่ส่อแสดงของท่านผู้มีอายุเป็นอย่างไร ที่เป็นเหตุให้
ท่านกล่าวอย่างนี้ว่า พระผู้มีพระภาคเป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้า พระธรรมอันพระผู้มีพระภาคตรัส
ดีแล้ว พระสงฆ์เป็นผู้ปฏิบัติดีแล้ว. ภิกษุนั้นเมื่อจะพยากรณ์โดยชอบ พึงพยากรณ์อย่างนี้ว่า
ดูกรท่านผู้มีอายุ เราเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเพื่อจะฟังธรรม พระผู้มีพระภาค ย่อมทรงแสดง
ธรรมอันยิ่งๆ อันประณีตๆ อันเปรียบด้วยส่วนดำส่วนขาวแก่เรานั้น ดูกรท่านผู้มีอายุ พระผู้มี
พระภาค ย่อมทรงแสดงธรรมอันยิ่งๆ อันประณีตๆ อันเปรียบด้วยส่วนดำส่วนขาวแก่เราด้วย
ประการใดๆ เรารู้ยิ่งธรรมบางอย่างในธรรมนั้นด้วยประการนั้นๆ ถึงแล้วซึ่งความตกลงใจในธรรม
ทั้งหลาย เลื่อมใสแล้วในพระศาสดาว่า พระผู้มีพระภาคเป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้า พระธรรม
อันพระผู้มีพระภาคตรัสดีแล้ว พระสงฆ์เป็นผู้ปฏิบัติดีแล้ว.
[๕๓๙] พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย ศรัทธาของบุคคลใดบุคคลหนึ่ง
ตั้งมั่นแล้วในพระตถาคตมีมูล มีที่อาศัย ด้วยอาการเหล่านี้ ด้วยบทเหล่านี้ ด้วยพยัญชนะ
เหล่านี้ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ศรัทธานี้ เรากล่าวว่า มีเหตุ มีทัสสนะ [โสดาปัตติมรรค] เป็น
มูลมั่นคง อันสมณะ พราหมณ์ เทวดา มาร พรหมหรือใครๆ ในโลกไม่พึงให้กวัดแกว่งได้.
ดูกรภิกษุทั้งหลาย การตรวจดูธรรมในตถาคต ย่อมมีอย่างนี้แล ก็แหละตถาคตอันภิกษุผู้พิจารณา
ตรวจดูดีแล้วโดยธรรมเป็นอย่างนี้ ก็แหละตถาคตอันภิกษุผู้พิจารณาตรวจดูดีแล้วโดยธรรมเป็น
อย่างนี้.
พระผู้มีพระภาคได้ตรัสพระพุทธพจน์นี้แล้ว ภิกษุเหล่านั้น ชื่นชมยินดี พระภาษิตของ
พระผู้มีพระภาค ฉะนี้แล.
จบ วีมังสกสูตรที่ ๗
-----------------------------------------------------
เนื้อความพระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๒ บรรทัดที่ ๙๙๐๔ - ๙๙๙๑. หน้าที่ ๔๐๗ - ๔๑๐.
http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/v ... agebreak=0
ศึกษาอรรถกถานี้ ได้ที่ :-
http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=12&i=535

-------------------------------------------
3- สร้างศรัทธาด้วยการใช้ปัญญาตรวจสอบ
สำหรับคนสามัญทั่วไป ศรัทธาเป็นธรรมขั้นต้นที่สำคัญยิ่ง เป็น
อุปกรณ์ชักนำให้เดินหน้าต่อไป เมื่อใช้ถูกต้องจึงเป็นการเริ่มต้นที่ดี ทำให้
การก้าวหน้าไปสู่จุดหมายได้ผลรวดเร็วขึ้น ด้วยเหตุนี้ จึงปรากฏว่า บาง
คราวผู้มีปัญญามากกว่า แต่ขาดความเชื่อมั่น กลับประสบความสำเร็จช้า
กว่าผู้มีปัญญาด้อยกว่าแต่มีศรัทธาแรงกล้า ในกรณีที่ศรัทธานั้นไปตรงกับ
สิ่งที่ถูกต้องแล้ว จึงเป็นการทุ่นแรงทุ่นเวลาไปในตัว ตรงกันข้าม ถ้าศรัทธา
เกิดในสิ่งที่ผิดก็เป็นการทำให้เขว ยิ่งหลงชักช้าหนักขึ้นไปอีก
อย่างไรก็ดี ศรัทธาในพุทธธรรม มีเหตุผลเป็นฐานรองรับ มีปัญญา
คอยควบคุม จึงยากที่จะผิด นอกจากพ้นวิสัยจริงๆ และก็สามารถแก้ไขให้
ถูกต้องได้ ไม่ดิ่งไปในทางที่ผิด เพราะคอยรับรู้เหตุผล ค้นคว้า ตรวจสอบ
และทดลองอยู่ตลอดเวลา
การขาดศรัทธา เป็นอุปสรรคอย่างหนึ่ง ซึ่งทำให้ชะงัก ไม่ก้าวหน้าต่อ
ไปในทิศทางที่ต้องการ ดังพุทธพจน์ว่า :-
ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุรูปใดรูปหนึ่ง ยังสลัดทิ้งตอในใจ ๕ อย่างไม่ได้
ยังถอนสิ่งผูกรัดใจ ๕ อย่างไม่ได้ ข้อที่ว่าภิกษุนั้นจักถึงความเจริญงอก
งามไพบูลย์ ในธรรมวินัยนี้ ย่อมเป็นสิ่งที่เป็นไปไม่ได้
ตอในใจที่ภิกษุนั้นยังสลัดทิ้งไม่ได้ คือ :-
๑. ภิกษุสงสัย เคลือบแคลง ไม่ปลงใจ ไม่เลื่อมใสแนบสนิทในพระ
ศาสดา...
๒. ภิกษุสงสัย เคลือบแคลง ไม่ปลงใจ ไม่เลื่อมใสแนบสนิทในธรรม...
๓. ภิกษุสงสัย เคลือบแคลง ไม่ปลงใจ ไม่เลื่อมใสแนบสนิทในสงฆ์...
๔. ภิกษุสงสัย เคลือบแคลง ไม่ปลงใจ ไม่เลื่อมใสแนบสนิทในสิกขา...
๕. ภิกษุโกรธเคือง น้อยใจ มีจิตใจกระทบกระทั่ง เกิดความกระด้าง
เหมือนเป็นตอเกิดขึ้นในเพื่อนพรหมจรรย์...
จิตของภิกษุผู้ยังสงสัย เคลือบแคลง ไม่ปลงใจ ไม่เลื่อมใสแนบสนิท
ในพระศาสดา...ในธรรม...ในสงฆ์...ในสิกขา...โกรธเคือง ฯลฯ ในเพื่อน
พรหมจรรย์ ย่อมไม่น้อมไปเพื่อความเพียร เพื่อความหมั่นฝึกฝนอบรม
เพื่อความพยายามอย่างต่อเนื่อง เพื่อการลงมือทำความพยายาม ภิกษุ
ผู้มีจิตที่ยังไม่น้อมไปเพื่อความเพียร...ชื่อว่ามีตอในใจซึ่งสลัดทิ้งไม่ได้...
โดยนัยนี้ การขาดศรัทธา มีความสงสัย แคลงใจ ไม่เชื่อมั่น จึงเป็น
อุปสรรคสำคัญในการพัฒนาปัญญาและการก้าวหน้าไปสู่จุดหมาย สิ่งที่ต้อง
ทำในกรณีนี้ก็คือ ต้องปลูกศรัทธา และกำจัดความสงสัยแคลงใจ แต่การ
ปลูกศรัทธาในที่นี้ มิได้หมายถึงการยอมรับและมอบความไว้วางใจให้โดยไม่
เคารพในคุณค่าแห่งการใช้ปัญญา แต่หมายถึงการคิดพิสูจน์ทดสอบด้วย
ปัญญาของตนให้เห็นเหตุผลชัดเจน จนมั่นใจ หมดความลังเลสงสัย
วิธีทดสอบนั้น นอกจากที่กล่าวในพุทธพจน์ตอนก่อนแล้ว ยังมีพุทธพจน์
แสดงตัวอย่างการคิดสอบสวนก่อนที่จะเกิดศรัทธาอีก เช่นในข้อความต่อไป
นี้ ซึ่งเป็นคำสอนให้คิดสอบสวนแม้แต่องค์พระพุทธเจ้าเอง ดังต่อไปนี้ :-


วีมังสกสูตรที่ ๗
http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/v ... agebreak=0

-------------------------------------------
คุณกบครับ พระสูตรนี้ พระพุทธองค์ ทรงเปิดโอกาสให้ภิกษุสอบสวนพระองค์ (อ่านเจอจากหนังสือ พุทธธรรม)

แต่ อัตตโนมติของท่านพุทธทาส ผมว่า อ่านแล้วมีแต่ลดทอนศรัทธา เกิดความเคลือบแคลงสงสัย ในพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ ครับ

ดูหลักการของท่านสิครับ ขึ้นต้นมาก็วิจารณ์ว่า พระไตรปิฏกเถรวาท ว่าถ่ายทอดมาผิด ๆ ถูกปลอมปนโดยผู้มีเจตนาไม่ดี เท่านั้น

.....................................................
สมถะ (ฌาน, สมาธิ) ที่เป็นบาทของวิปัสสนา
http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=2&t=21049

ผู้บรรลุธรรม จากสมถะ มีจำนวนน้อยกว่าผู้ไม่มี
http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=2&t=21062

การเจริญสติปัฏฐานหมวดพิจารณาอิริยาบถ ๔ จากพระไตรปิฏก อรรถกถา
http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=2&t=29201

ควรศึกษาอัตตโนมติ ของท่านพุทธทาสหรือไม่ ?
http://www.dhammajak.net/board/viewtopic.php?t=17187


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 14 ส.ค. 2010, 05:49 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 5
สมาชิก ระดับ 5
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ก.พ. 2009, 05:07
โพสต์: 372


 ข้อมูลส่วนตัว


อ้างคำพูด:
คุณ กบ เขียน

คุณเฉลิมครับ...

หากมีพระองค์ใดสอนว่า..พบผู้รู้..ฆ่าผู้รู้..พบพระพุทธเจ้า..ฆ่าพระพุทธเจ้า..

อย่างนี้..คุณเฉลิม..จะคิดยังงัยกับพระองค์นี้ละครับ??

พระบวชบ้านเรานี้แหละครับ..คุณเฉลิม
แล้วท่าน..สอน..อย่างนี้..คุณเฉลิมว่าสอนผิดหรือถูก..ละครับ

ผิดวินัยไหม??...ผิดพุทธพจน์ไหม??..ผิดอรรถกถา..ผิดฎีกาไหม??
หรือว่าถูก..??

ผมไม่รู้..ไม่ได้อ่านหนังสือเท่าไร..ก็อาศัยฟังเอา..ถามเอา..นี้แหละ


แนะนำคุณกบ ไปหาพระที่เป็นพระธรรมกถึก ที่ทรงพระไตรปิฏก อรรถกถา ศึกษาพื้นฐานให้ดีเสียก่อน

ไม่แน่นะครับ พระที่บวชในบ้านเรา สอนผิด ๆ ก็มี เพราะยึดถือ อัตตโมติ เป็นใหญ่ ยิ่งไปอ่านหนังสือ นิกายเซนมาก ๆ ที่มีลักษณะการสอนแบบให้คิดหาคำตอบเอง ยิ่งไปกันใหญ่

อ้างคำพูด:
หากมีพระองค์ใดสอนว่า..พบผู้รู้..ฆ่าผู้รู้..พบพระพุทธเจ้า..ฆ่าพระพุทธเจ้า..

อย่างนี้..คุณเฉลิม..จะคิดยังงัยกับพระองค์นี้ละครับ??


ขอดูแนวการสอนและคำอธิบายก่อนครับ หากออกมาจากอัตตโนมติล้วน ๆ เป็นส่วนใหญ่ เช่น ท่านพุทธทาส ผมขอยึดพระไตรปิฏก อรรถกถา เป็นหลัก ครับ


คุณ กบ ครับ พระพุทธเจ้า เต็มเปี่ยมไปด้วย พระมหากรุณาธิคุณ

พระองค์มี พุทธวิธีการสอน ดังนี้ครับ

http://pirun.ku.ac.th/~fhumpjk/title/patihariya3.doc


พระพุทธเจ้าทรงมีวิธีการสอนหรือแสดงธรรมอย่างไร?

ในฐานะที่ได้รับยกย่องจากบัณฑิตทั้งหลายว่า พระองค์ทรงเป็นสารถีผู้ฝึกคนได้อย่างยอดเยี่ยม ไม่มีสารถีอื่นจะยิ่งไปกว่าพระองค์ จึงทรงมีวิธีฝึกคนด้วยหลักการที่เรียกว่า
๑. นิคมหมุขเทศนา คือ ทรงแสดงธรรมกำหราบให้เกิดความสำนึกก่อนสำหรับคนที่ยังมีลักษณะกระด้าง ดื้อด้าน ทำนองการนำเอาไม้ซุงมาทำเครื่องเรือน จะต้องจัดการให้ไม้นั้นผ่านขั้นตอนมาโดยลำดับ จากนั้นจึงตามด้วยวิธีที่ละเอียด
๒. อนุคหมุขเทศนา เป็นการแสดงในลักษณะโอบอุ้มด้วยความกรุณาต่อบุคคลเหล่านั้น ในกรณีที่ผู้ฟังมีความพร้อม หรือมีปัญหาที่จะต้องปลุกปลอบให้เกิดขวัญกำลังใจ จนมีความพร้อมที่จะศึกษา พิจารณา ปฏิบัติ

การแสดงธรรมของพระพุทธเจ้าจึงออกมาในลักษณะ ๔ คือ
๑. สันทัสสนา ทรงแสดงเรื่องนั้นให้เห็นแจ้งประจักษ์ตามสถานะของธรรมนั้นๆ ไม่ว่าจะเป็นกุศล อกุศล หรือกลางๆก็ตาม จนผู้ฟังเกิดความรู้แจ้งเห็นจริงไปตามเรื่องที่ทรงแสดงมา
๒. สมาทปนา ทรงเชิญชวน ชักชวนให้เกิดศรัทธา ความเชื่อมั่นในธรรม ในพระองค์ และในตัวของผู้ฟัง จนเกิดฉันทะ อุตสาหะ ที่จะประพฤติ ปฏิบัติ เพื่อสัมผัสผลตามที่ทรงแสดงไว้
๓. สมุตเตชนา ทรงกระตุ้น เร่งเร้า ให้คนที่ขาดความเชื่อมั่น มีปัญหาตกค้างอยู่ภายในใจ หรือดูหมิ่นตนเองว่า เราไม่รู้ ไม่สามารถ แม้จะต้องหกล้มหกลุกไปบ้าง ก็ต้องปลุกให้เกิดความเชื่อมั่นขึ้นมา จนผู้ฟังมีความอาจหาญ พร้อมที่จะศึกษาปฏิบัติด้วยความกระตือรือร้นไม่ขาดสาย
๔. สัมปหังสนา ให้ความเพลิดเพลิน หรือธรรมปีติ แก่ผู้ฟังจนไม่รู้จักอิ่ม ไม่รู้จักเบื่อในการฟัง เมื่อฟังอยู่ก็เพลิดเพลินในธรรม ดังนั้นตอนท้ายของพระสูตรแต่ละสูตร มักจะจบลงด้วยคำว่า “เมื่อพระสูตรนี้อันพระผู้มีพระภาคตรัสจบลง ภิกษุทั้งหลายเพลิดเพลิน ชื่นชม ในภาษิตของพระผู้มีพระภาค”

การแสดงธรรมนั้นคือ การพูด การแสดง การกล่าว การสนทนา แม้แต่การแลกเปลี่ยนความคิดเห็นกันเรื่องธรรมะทางศาสนา เรียกว่า ธรรมสากัจฉา เกิดขึ้นจากกุศลเจตนาของบุคคลที่มุ่งจะให้ผู้อื่นรู้หลักธรรมคำสั่งสอนในทางพระพุทธศาสนา แสดงว่าจิตใจประกอบด้วยเมตตากรุณาต่อบุคคลผู้นั้น แต่ในขณะที่แสดงตนเองก็จะต้องรอบรู้ในเรื่องที่แสดง ซึ่งก็ได้ขจัดโมหะคือความหลงในเรื่องนั้นๆ ออกไปในขณะนั้นๆ

การให้ธรรมะเป็นทาน คือการแสดงธรรม จึงทรงยกย่องว่า ชนะการให้ทั้งปวง ตามนัยะแล้วทางพุทธดำรัสที่มี สพฺพทานํ ธมฺมทานํ ชินาติ การให้ธรรมะชนะการให้ทั้งปวง หรือเรียกอีกอย่างหนึ่งว่าธัมมเทสนามัย บุญสำเร็จด้วยการแสดงธรรม

เท่าที่กล่าวมาแล้วนั้นเพื่อจะเข้าใจได้ถูกต้องว่าพระพุทธเจ้าทรงโปรดรูปแบบอนุสาสนีปาฏิหาริย์มากที่สุดเพราะพระองค์ทรงพิจารณารู้จักจริต ภูมิปัญญา ภูมิหลังของผู้ฟัง และปฏิบัติได้ง่ายแต่เกิดผลที่ยั่งยืนมากกว่า


!
!
๖. กลวิธีและอุบายประกอบการสอน เป็นเทคนิคที่นำมาใช้ในการสอนเมื่อศึกษาในวิธีการใช้อุปมาแล้ว มีอยู่ 4 วิธี คือ
๑) การเล่าอุทาหรณ์และการเล่านิทานประกอบคำอธิบาย ซึ่งเป็นวิธีที่ช่วยให้เข้าใจความหมายได้ชัดเจน กระตุ้นความจำและยังทำให้เกิดความเพลิดเพลิน เช่น บุรพกรรมของพรานกุกุฏมิตรและของเปรต เป็นต้น
๒) การเปรียบเทียบด้วยข้ออุปมา ช่วยให้เรื่องที่ลึกซึ้งเข้าใจยาก ปรากฏความหมายเด่นชัด เข้าใจง่าย เช่น เปรียบคนมักง่วงเหมือนสุกร เป็นต้น
๓) การใช้อุปกรณ์ในการสอน ยกตัวอย่างสิ่งที่พบเห็นได้ง่ายมาเป็นอุปกรณ์ช่วยในการสอน หรือบางทีก็ยกเอาสิ่งที่เกิดขึ้นเฉพาะหน้า มาสอนให้เห็นภาพธรรมชัดเจน อันเป็นวิธีการดึงดูดผู้ฟังให้สนใจและเข้าใจธรรมได้ในขณะนั้น เช่น อุปมาหญ้าคาที่จับไม่ดีย่อมบาดมือเหมือนคุณเรื่องความเป็นสมณะที่บุคคลลูบคลำไม่ดีย่อมคร่าสู่นรกเช่นกัน
๔) การทำให้เป็นตัวอย่าง เป็นวิธีการสอนที่ดีที่สุดอีกอย่างหนึ่ง ยกตัวเองเปรียบเทียบและทำให้ดูเป็นตัวอย่าง เรียกว่าเป็นการสอนจริยธรรมโดยนำให้ปฏิบัติตามผู้สอน เช่น ตรัสสอนว่าบุคคลพร่ำสอนบุคคลเช่นไรพึงทำตัวเช่นนั้นเป็นต้น

วิธีสอนของพระพุทธเจ้า ต้องพิจารณาดูเกณฑ์ต่อไปนี้ประกอบด้วย
- คุณสมบัติของครู ต้องดูคุณลักษณะของพระพุทธเจ้าเป็นแบบอย่าง
- มีพระกรุณาธิคุณ พระวิสุทธิคุณ พระปัญญาคุณเป็นพื้นฐานของจิต : สอนแบบแบมือ
- ไม่ถือตัว ไม่หยิ่งยโส : ไม่มีวรรณะ
- มีความอดทน ใจเย็น : อกฺโกสวตฺถุ
- มีความยุติธรรม ไม่มีอคติเห็นแก่หน้าใคร : การให้ลงพรหม-ทัณฑ์แก่พระฉันนะ
- มีความสุขุมรอบคอบลุ่มลึก
- มีความประพฤติน่าเคารพบูชา
- รู้จักภูมิปัญญาของผู้ฟัง (นักเรียน) : บุคคล ๔ ประเภท(องฺ.สตฺตก.๒๓/๓๔)

.....................................................
สมถะ (ฌาน, สมาธิ) ที่เป็นบาทของวิปัสสนา
http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=2&t=21049

ผู้บรรลุธรรม จากสมถะ มีจำนวนน้อยกว่าผู้ไม่มี
http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=2&t=21062

การเจริญสติปัฏฐานหมวดพิจารณาอิริยาบถ ๔ จากพระไตรปิฏก อรรถกถา
http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=2&t=29201

ควรศึกษาอัตตโนมติ ของท่านพุทธทาสหรือไม่ ?
http://www.dhammajak.net/board/viewtopic.php?t=17187


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 14 ส.ค. 2010, 06:17 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 5
สมาชิก ระดับ 5
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ก.พ. 2009, 05:07
โพสต์: 372


 ข้อมูลส่วนตัว


viewtopic.php?f=2&t=33627&st=0&sk=t&sd=a&start=49

อ้างคำพูด:
คุณ mes เขียน

อย่างนี้ต้องบุญมี


ความฝัน ๐๒

โดย. ท่านอาจารย์บุญมี เมธางกูร

คัดลอกมาจากหนังสือ..ความฝัน

จัดพิมพ์ไว้เมื่อ วันที่ ๑๕ มกราคม ๒๕๒๑

โพสท์ในลานถาม-ตอบปัญหาธรรมะ เวบมูลนิธิอภิธรรมมูลนิธิ โดย เทพธรรม...นำมาฝาก [22 พ.ค. 2549]



อาจารย์พุทธทาสของคุณ mes คงไม่เคยสอนไว้ จึงเห็นเป็นเรื่องแปลกประหลาด

เรื่องการบรรยาย ธรรมะประกอบเรื่องความฝัน ที่เกี่ยวกับ เทพสังหรณ์


ท่านอาจารย์บุญมี อดีตประธาน อภิธรรมมูลนิธิ ท่านได้ บรรยายธรรมะ โดยนำเหตุการณ์ต่าง ๆ มาประกอบ เป็นตัวอย่างก่อน

http://www.dharma-gateway.com/ubasok/ub ... x-page.htm


ความฝันย่อมเกิดขึ้นได้ในบุคคล ๗ คือ

๑. ทุคติบุคคล ทุคติบุคคลมี ๔ คือ เปรต อสุรกาย สัตว์เดรัจฉาน ยกเว้นสัตว์นรกเสียภูมิหนึ่ง เหลือแต่เปรต อสุรกาย และสัตว์เดรัจฉาน ๓ พวกนี้ฝันได้

๒. สุคติอเหตุกบุคคล คือ มนุษย์และเทวดา ที่ปฏิสนธิมีกำลังของกุศลอ่อนเพราะมีอกุศลเข้ามาพัวพันในขณะปฏิสนธิ สุคติอเหตุกบุคคลก็คือ ผู้พิกลพิการมาแต่กำเนิด จะเป็นมนุษย์ก็ตาม จะเป็นเทวดาก็ตาม (ชั้นจาตุมหาราชิกา) แต่พิกลพิการตั้งแต่ปฏิสนธิ เช่น ร่างกายพิการบ้าง จิตใจไม่สมประกอบบ้าง หรือทั้งร่างกายและจิตใจไม่สมประกอบทั้งสองอย่าง

ทั้งนี้เพราะบุญนำเกิดก็จริง แต่บุญมีบาปเข้าไปพัวพัน บุญมีบาปเข้าไปพัวพันเลยทำให้ไม่สมประกอบ เช่น คนชอบฆ่าสัตว์อยู่เสมอๆ ชอบยิงนก ชอบตกปลาอยู่บ่อยๆ ดังนั้นเวลาปฏิสนธิ บุคคลนี้บุญนำเกิด แต่ยิงนกตกปลาก็เข้ามาร่วมปะปนด้วย ดังนั้นแข้งขาจึงเสีย ปากเสีย หน้าเสีย แขนไม่ดี อะไรก็ได้ที่บกพร่องไป

หรือบุคคลนี้ชอบทำบุญ แต่ชอบกินเหล้าหรือเสพยาเสพติดให้โทษด้วย เช่น ชอบเมามายขาดสติอยู่เสมอ เวลามาเกิดก็เกิดเป็นคนได้ เกิดเป็นเทวดาจาตุมหาราชิกา (ต่ำสุด) ก็ได้ แต่ทว่าจิตใจไม่ค่อยจะสมประกอบ เช่น ปัญญาทึบบ้าง ปัญญาอ่อนบ้าง ไม่ค่อยรู้ประสีประสาอะไรบ้าง เป็นเทวดาก็จริง แต่เป็นเทวดาปัญญาอ่อน เป็นเทวดาที่ใบ้ๆ บ้าๆ ไม่ค่อยจะเต็มเต็ง

๓. ทวิเหตุกบุคคล หมายความว่า บุคคลผู้มีเหตุ ๒ คือ บุคคลผู้มีอโลภะ อโทสะ คือ ในเวลาเกิด ไม่ประกอบด้วยความโลภและความโกรธเข้ามาพัวพัน เวลาทำกุศลส่วนมากก็มีความตั้งใจดี ยกตัวอย่างเช่น อำนาจของกุศลนำให้เกิดเป็นมนุษย์ เกิดเป็นเทวดา ถ้าเกิดเป็นมนุษย์หรือเกิดเป็นเทวดา ก็หมายถึงว่า ผู้นั้นไม่ได้ประกอบด้วยปัญญา (ปัญญาในทางธรรม) เมื่อเวลามาเกิด ปัญญาไม่ได้มาร่วมเกิดด้วย จิตเป็นกุศลอย่างเดียว

เช่นยกตัวอย่าง นาย ก. ชอบทำบุญ ให้ทาน รักษาศีลอยู่เสมอๆ แต่ว่าเมื่อมีใครไปถามนาย ก. ว่าทำบุญอยู่เสมอดีอย่างไร ก็จะได้รับคำตอบว่า ก็ทำๆ ไปอย่างนั้นแหละ มีเงินมีทองก็ทำๆ ไปเผื่อๆ เอาไว้บ้าง เผื่อชาติหน้ามีจะได้สบายๆ และมีคนถามว่าแล้วเชื่อหรือว่าชาติหน้ามีหรือเปล่า ก็จะตอบว่า ไม่ทราบ และไม่เอาใจใส่ ขี้เกียจคิด ขี้เกียจค้นชาติหน้ามีหรือไม่มีก็ไม่เป็นไร เราทำเผื่อๆ ไว้เผื่อมันมีบ้างจะได้รับผล ถ้าไม่มีก็แล้วไป

หรือคนทำที่คิดในใจวn>” จึงจะเกิดขึ้น ถ้าได้ยินก็ต้องอาศัยเสียงอันได้แก่ความสั่นสะเทือนของอากาศมากระทบหู คือเสียงมากระทบกับจิตที่ประสาทหู จึง “ได้ยิน” ถ้าเราจะนึกคิดก็จะต้องมีเรื่องราวเข้ามากระทบใจ จึงจะเกิดความ “คิดนึก” ขึ้นมาได้

ด้วยเหตุนี้เอง ความฝันก็เป็นอารมณ์อันหนึ่งเหมือนอารมณ์ทั้งหลาย หากแต่เกิดขึ้นมาทางมโนทวาร ไม่ได้เกิดขึ้นทางตา ทางหู ทางจมูก ทางลิ้น ทางกาย และจะต้องมีอารมณ์มากระทบอันได้แก่ ผัสสะที่เกิดขึ้นทางมโนทวาร

ท่านนักศึกษาได้เรียนมาตั้งแต่คราวก่อนแล้วว่า เมื่อความฝันเกิดขึ้นนั้น นั่นย่อมแสดงถึงว่ามีเหตุแล้ว เหตุก็คือเรื่องราวที่เก็บเอาไว้ในใจได้มากระทบ แต่ปัญหาก็เกิดขึ้นว่าเหตุไฉนเล่าความฝันจึงได้เกิดเป็นความจริงขึ้นมาได้ และบางทีความจริงนั้นเป็นความจริงที่หนักแน่นแน่นอนร้อยเปอร์เซ็นต์เสียด้วย ท่านทั้งหลายก็คงจะพบว่าตัวเองก็เคยฝันและบางทีก็เป็นความจริงขึ้นมาก็มีเหมือนกัน ความฝันที่เกิดขึ้นและเป็นจริงได้ ก็มาจากเหตุดังที่ผมได้แสดงไปแล้วนั่นเอง

๑. บุพพนิมิต ได้แก่ อำนาจการกระทำ คือ กรรมอันเป็นบาปหรือเป็นบุญที่ทำมาแล้วเก็บเอาไว้ในจิตใจแต่อดีตทั้งชาติก่อนและชาตินี้ เป็นตัวการที่มากระทบใจให้เกิดความฝันขึ้นได้

บุพพนิมิต คืออารมณ์ที่เกิดขึ้นทางมโนทวาร ซึ่งมาจากอำนาจของกรรมเป็นตัวการ อำนาจของกรรมที่เราได้กระทำไว้ในอดีตชาติก่อนหรือชาตินี้เป็นตัวการมากระทบใจให้เกิดความฝัน แล้วอำนาจของกรรมนี้จะทำให้เกิดความแม่นยำ และความแม่นยำของกรรมที่มากระทบที่เรียกว่าบุพพนิมิตนี้ เป็นความแม่นยำร้อยเปอร์เซ็นต์ หมายความว่าฝันครั้งใดก็จะถูกต้องทุกครั้ง อำนาจของกรรมมีอิทธิพลดังนี้ มากระทบใจให้เกิดความฝันให้ทราบล่วงหน้าได้ ทั้งดีหรือร้าย

๒. จิตอาวรณ์ ด้วยอำนาจของจิตที่หน่วงเอาอารมณ์ที่ตนได้เห็น ได้ยิน หรือได้พบมาแล้วเก็บเอาอารมณ์นั้นมาฝัน ความฝันชนิดนี้เกิดด้วยใจจดจ่อผูกพันอามรณ์นั้นเป็นพิเศษ คือคิดถึงเรื่องนั้นๆ บ่อยๆ จึงเรียกว่าเกิดจาก “จิตอาวรณ์” ฝันชนิดนี้เอาเป็นที่แน่นอนไม่ได้

๓. เทพสังหรณ์ ด้วยอำนาจของเทวดามาเหตุร้ายเหตุดี ชี้นิมิตฝันให้ปรากฏ ความฝันจากเหตุนี้เป็นจริงบ้าง ไม่จริงบ้าง เอาเป็นที่แน่นอนไม่ได้ทุกครั้งไป

ถ้าเทวดาสัมมาทิฏฐิที่มีความสามารถเป็นพิเศษแล้ว มีความรักใคร่ปรารถนาจะสงเคราะห์ให้เรา ก็จะบอกสิ่งที่จริงให้ เทวดาบางท่านมีความปรารถนาดีก็จริง แต่ความสามารถนั้นมีน้อยจึงแจ้งเรื่องให้ถูกต้องเสมอไปไม่ได้

แต่ถ้าเทวดาเป็นมิจฉาทิฏฐิ (เช่นเทวดาชั้นต่ำสุดปฏิสนธิด้วยอุเบกขาสันตีรณกุศลวิบาก) ทั้งไม่มีความสามารถด้วย เป็นเทวดาที่เกลียดชังปรารถนาจะให้เราได้รับทุกข์โทษภัย มาหลอกลวงให้ฝันก็ไม่เป็นความจริงอะไรเลย นอกจากนี้หลังจากเขาทำให้ฝันแล้ว บางทีจิตของเราเองเถลไถลเลอะเลือนไปไกล บังคับไม่สำเร็จก็ได้

๔. ธาตุกำเริบ บุคคลที่ธาตุกำเริบ เช่น ท้องไส้ไม่เป็นปรกติ หรือธาตุภายในร่างกายวิปริต ก็ทำให้ฝันไปต่างๆ นานาได้ เพราะในขณะนอนหลับนั้นย่อมหลับไม่สนิท ด้วยเหตุที่ธาตุกำเริบมากระทบกระเทือนประสาทส่วนต่างๆ ของร่างกาย ทำให้ฝัน แล้วจึงได้สร้างมโนภาพขึ้นมา ความฝันอย่างนี้ฝันยุ่งเหยิงเอาเป็นที่เที่ยงแท้จริงจังมิได้เลย

เหตุทั้ง ๔ ประการ คือ บุพพนิมิต จิตอาวรณ์ เทพสังหรณ์ ธาตุกำเริบ เป็นมูลเหตุแห่งสุบินหรือนิมิตก็จริง แต่เมื่อว่าถึงมูลเหตุอันแท้จริงที่เป็นเหตุไกลออกไปแล้ว ย่อมได้แก่วิปลาส คือ ความหลงใหล ไม่มีความรู้ความเข้าใจในปัญหาของชีวิต หลงต่ออารมณ์ที่มาปรากฏเฉพาะหน้า เช่น สร้างมโนภาพว่าเป็นเสียงด่าเสียงชม แล้วก็โกรธแค้นและชอบใจ แท้จริงเสียงก็ได้แก่ความสั่นสะเทือนของอากาศ ทางธรรมเรียกสัททารมณ์เท่านั้นเอง มันเกิดขึ้นมาแล้วก็หายไปในทันใด หาได้ตั้งอยู่ไม่ แต่เรายึดจับเอาไว้ไม่ยอมปล่อย เพราะเรามีสัญญาวิปลาสเป็นต้น จึงได้สะสมกองกิเลสเอาไว้มากมาย (เชิญอ่านเรื่องวิปัสสนากรรมฐาน)

พระอรหันต์ขีณาสวะผู้มีจิตบริสุทธ์สะอาดไม่มีกิเลสอยู่ภายในจิตใจเลยแม้แต่น้อย เป็นผู้ปราศจากวิปลาสใดๆ ทั้งสิ้น จึงมิได้มีความฝันแต่ประการใด

ที่ว่า จิตอาวรณ์ นั้นก็ได้แก่การยึดหน่วงเอาอารมณ์ที่ได้เห็น ได้ยิน ฯลฯ เอามาเป็นความฝัน ทั้งนี้ก็หมายความว่าบุคคลบางคนมีความครุ่นคิดกังวล หรือมีความรู้สึกในเรื่องอะไรต่างๆ จะเป็นความดีใจ จะเป็นความเสียใจทุกข์ร้อนอะไรก็ได้ที่มีกำลังมากเกิดขึ้นบ่อยๆ เพราะอำนาจของอารมณ์ที่เกิดขึ้นบ่อยๆ ซ้ำๆ ซากๆ นี่แหละอารมณ์เหล่านี้ก็มิได้สูญหายไปไหน หากแต่เก็บไว้ในจิตใจแล้ว กำลังอำนาจของมันมาก เพราะเหตุการณ์มากระทบกระเทือนใจแรง

ครั้งถึงเวลานอนหลับกำลังอำนาจของมันนี่แหละก็จะกระทบใจออกมาทำให้เกิดความฝันขึ้น ยกตัวอย่างเช่น บางคนมีคู่รัก คิดเรื่องคู่รักบ่อยๆ ระลึกถึงคู่รักไม่หยุดไม่หย่อน แล้วบางทีกลางคืนก็เอาไปฝันเป็นเรื่องไปราว เหมือนกับความจริงที่ปรากฏอยู่ต่อหน้า เพราะเรื่องราวของคู่รักที่เก็บฝังอยู่ในใจมากระทบกับจิตใจสร้างให้เป็นภาพปรากฏเกิดขึ้นต่างๆ นานา หรือบางคนคิดถึงเรื่องเงินเรื่องทองมาก บางทีก็ฝันเห็นเงินเห็นทอง บางทีบางคนสตางค์ไม่ค่อยจะพอใช้ ระลึกถึง คืออยากได้เงินมาใช้ให้พอเพียงแล้วก็มาเกิดความฝันว่าเห็นสตางค์มากมายก่ายกอง ดังนี้เป็นต้น

หรือบางคนมีเรื่องราวทุกข์ร้อนอย่างไรอย่างหนึ่ง เช่น ป่วยเจ็บมากจึงอยากให้หาย แล้วก็ฝันในเรื่องที่ป่วยเจ็บทุกข์ร้อนนั้น ว่าหายสบายดีแล้ว สำหรับจิตที่อาวรณ์นั้นก็หมายถึงว่าคนที่มีความรู้สึกนึกคิดในเรื่องใดเรื่องหนึ่งนานๆ มากๆ เพราะจิตใจครุ่นคิดแต่เรื่องนั้น อำนาจของเรื่องราวที่คิดเหล่านั้น จึงมากระทบใจ แล้วเป็นมโนภาพขึ้นให้เกิดความฝัน

สำหรับในข้อนี้ ผมก็คิดว่าท่านทั้งหลายก็คงจะได้ประสบพบมากับตนเองเป็นส่วนมาก

.....................................................
สมถะ (ฌาน, สมาธิ) ที่เป็นบาทของวิปัสสนา
http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=2&t=21049

ผู้บรรลุธรรม จากสมถะ มีจำนวนน้อยกว่าผู้ไม่มี
http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=2&t=21062

การเจริญสติปัฏฐานหมวดพิจารณาอิริยาบถ ๔ จากพระไตรปิฏก อรรถกถา
http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=2&t=29201

ควรศึกษาอัตตโนมติ ของท่านพุทธทาสหรือไม่ ?
http://www.dhammajak.net/board/viewtopic.php?t=17187


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 14 ส.ค. 2010, 06:53 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 5
สมาชิก ระดับ 5
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ก.พ. 2009, 05:07
โพสต์: 372


 ข้อมูลส่วนตัว


อ้างคำพูด:
คุณ mes เขียน
อย่าคิดว่าที่อ้างอิงเป็นพระไตรปิฎก

แต่เป็นการเขียนพระไตรปิฎกของพระศรีโชติญาณ(แสวง)แห่งสำนักอภิธรรมครับ

เขารีไซเคินพระไตรปิฎกขึ้นใช้เอง


อ้างคำพูด:
อรรกถาที่เป็นของพระสำนักมูลนิธิอภิธรรมที่เหลิมพยายามโฆษณาให้คนนำมาอ้างนั้น

มหาเถระสมาคมมีมติตามที่ท่านพุทธทาสแย้งว่าเป็นสัทธรรมปฏิรูปเป็นการบ่อนทำลายศาสนาพุทธ



คุณ mes ครับ ทำ recycle แบบไหนชี้แจงด้วยครับ และอรรถกถาที่ว่าเป็นอย่างไร

ผมเห็นแต่ ความพยายามของท่านพุทธทาส อาจารย์ใหญ่คุณ mes ที่คิดอยากจะแก้ไขพระไตรปิฏก ยกเลิกอรรถกถาและคัมภีร์ของเถรวาท

ให้เหลือแต่ อัตตโนมติของท่าน ที่ยกย่องว่าเป็น ภาษาธรรม


เทวดามีจริงหรือไม่ (โดยท่านพุทธทาส)
http://www.buddhadasa.com/dhamanukom/tevada83.html


“ทีนี้ อาตมา อยากจะชี้แจงต่อ ถึงข้อที่ว่า ทำไม คำว่า เทวดา หรือ คำว่า สวรรค์นี้ มามีอยู่ในพระพุทธภาษิต และอยู่ในพระไตรปิฎก โดยตรง. ทั้งนี้ ก็เพราะว่า ในประเทศอินเดีย สมัยนั้น มีความเชื่อเรื่องเทวดา เรื่อง นรก เรื่องสวรรค์ นี้อยู่โดยสมบูรณ์แล้ว มีรายละเอียดชัดเจน เหมือนที่กล่าวนี้ ทุกอย่างมาแล้ว ตั้งแต่ก่อนพระพุทธเจ้า บังเกิดขึ้น พอพระพุทธเจ้า มีขึ้นในโลก เรื่องเหล่านี้ มันมีอยู่แล้ว จะไปเสียเวลาหักล้าง ก็ไม่ไหว พิสูจน์ให้คนโง่ เห็นไม่ได้ เพราะฉะนั้น พระพุทธเจ้า ท่านจึงพลอยตรัส เอออวย ไปตามคำที่พูดๆ กันอยู่ แต่แล้ว ก็ทรงแสดง สิ่งที่ดีกว่า ให้เขาเลิกละ ความสนใจ หรือ ติดแน่น ในสิ่งนั้นเสีย ให้เลิกละ ความติดแน่น ในนรก ในสวรรค์ ในเทวโลก พรหมโลก เหล่านั้นเสีย
---------------------------------------------


พิเคราะห์พระไตรปิฏก โดยท่านพุทธทาส
http://www.buddhadasa.org/html/life-wor ... r6-04.html

อาจารย์ครับ แม้แต่ระยะหลังที่อาจารย์เสนอให้ฉีกพระไตรปิฎก อาจารย์ก็อาศัยหลักอันเดียวกันนี้มาตลอด หรือมีหลักอย่างอื่นด้วย เวลาวินิจฉัยว่าอันไหนควรจะฉีก อันไหนไม่ควรฉีก

อย่างนั้นใช้หลักอย่างที่ว่า ที่เห็นชัดว่ามันไม่เกี่ยวกับความทุกข์ที่มันไม่เกี่ยวกับความดับทุกข์ เช่นเรื่องสุริยคราส จันทรคราส ไม่เกี่ยวกับความดับทุกข์ แต่เป็นการสร้างความเชื่อในหมู่คนที่ไร้การศึกษาสมัยนั้นให้หันมาสนใจพระพุทธเจ้า ถ้าเพียงแต่ออกชื่อพระพุทธเจ้า ราหูก็ต้องปล่อยพระจันทร์ เข้าใจว่าในอินเดียหรือในลังกา สมัยที่เติมสูตรนี้เข้ามา คนมันเชื่ออย่างนั้นมาก เลยเอามาพูดไว้เสียเลย มาบรรจุไว้ในพระไตรปิฎกเสียเลย เรื่องยักษ์ก็เหมือนกัน คนกลัวยักษ์กันมาก ฉะนั้น ถ้ามีเรื่องที่ไม่ต้องกลัวยักษ์ มันก็มีประโยชน์แก่มหาชน ท่านเหล่านี้คงมองถึงประชาชนชั้นที่ต่ำสุด ชั้นที่ไร้การศึกษา เขาเชื่อเทวดากันอยู่อย่างนั้นโดยมากถือโอกาสเอาเทวดามาเป็นเครื่องชักจูงให้เขาหันมาถือพุทธศาสนา โดยใจความสำคัญว่า แม้แต่เทวดาก็ยอมรับนับถือพระพุทธเจ้า คนธรรมดาทำไมจะไม่ต้องยอมรับนับถือ ในพระสูตรเรื่องอริยสัจแท้ ๆ เรื่องมรรคมีองค์ ๘ แท้ ๆ ยังต้องเอาเทวดามาช่วยสนับสนุน ว่าสิ่งวิเศษเกิดขึ้นแล้วในโลก บอกกันทุกชั้น ๆ ของเทวดา ธรรมะที่ใคร ๆ ไม่อาจจะคัดค้านได้เกิดขึ้นแล้ว ประชาชนได้ยินถึงเรื่องเทวดาก็ยอมด้วย เพราะเขาฝากกันไว้กับเทวดาอยู่เป็นพื้นฐาน ใช้คำว่าฉีกรู้สึกมันหยาบคาย แต่ไม่รู้จะใช้คำว่าอะไร

อาจารย์หมายความว่าอย่างไรครับ คำว่าฉีกของอาจารย์

ปลดออก ระงับเสีย สำหรับเมื่อจะแสดงแก่คนชนิดไหน ถ้าจะมีสำหรับคนทั่วไป คนพื้นฐานที่ไร้การศึกษาก็ไม่ต้องฉีกออก และไม่มีอะไรที่จะต้องฉีกออก แต่ถ้าจะแสดงแก่นักวิทยาศาสตร์แท้จริง นักโบราณคดีแท้จริง ต้องปลด ๆ ออกเสีย ๖๐% เหลือ ๔๐% จึงจะสะอาด สะอาดบริสุทธิ์ผ่องแผ้ว เหลือแต่แกนกับแก่น เหลือแต่เพชรเหลือแต่ทองคำ (หัวเราะ)


---------------------------------------------
จากหนังสือ อภิธรรมคืออะไร โดยท่านพุทธทาส

" ทีนี้เรามาเปรียบเทียบกันอย่างนี้ ให้โกยอภิธรรมทิ้งให้หมด อภิธรรมที่รู้กันอยู่นั่นแหละ อภิธรรมปิฏก อภิธัมมัตถสังคหะ อภิธรรมอะไรก็ตามที่ระบุไปที่อภิธรรมเฟ้อนี้โกยทิ้งไปเสียให้หมด เราก็ไม่ขาดอะไร เพราะเรามีสุตตันตะเหลือไว้เป็นข้อปฏิบัติเพื่อพระนิพพานได้โดยเร็ว ไม่ลังเลไม่เฉื่อยชาเสียอีก อ้าว ทีนี้กลับกันตรงกันข้าม ลองโกยสุตตันตปิฏกทิ้งให้หมดเหลือแต่อภิธรรมปิฏกแล้ว เจ๊งเลย ขอใช้คำหยาบ ๆ อย่างนี้ มนุษย์จะเจ๊ง โลกนี้จะเจ๊ง ถ้าเอาสุตตันตปิฏกทั้งหมดไปทิ้ง แล้วเหลือแต่อภิธรรมปิฏก นี้มนุษย์จะเจ๊ง จะเดินไม่ถูกไปตามทางอัฏฐังคิกมรรคไปสู่นิพพานได้ แต่ถ้าเอาอภิธรรมปิฏกโกยทิ้งไปทั้งกระบิเลย เหลือแต่สุตตันตปิฏก เราก็ยังเดินไปสู่นิพพานได้ แล้วจะง่ายเข้า เพราะไม่มัวไปพะว้าพะวงกับอภิธรรมปิฏกนั่นเอง นี่พูดอย่างนี้ไม่กลัวโกรธแล้วเห็นไหม ไม่ใช่พูดเพราะเกลียดหรือเพราะโกรธหรือเพราะกระทบกระเทียบกระแนะกระแหน พูดเพื่อว่าพุทธบริษัทไทยในยุคปรมาณูนี้ ขอให้มีอภิธรรมชนิดปรมาณูที่มันเจาะแทงกิเลสได้จริง

.....................................................
สมถะ (ฌาน, สมาธิ) ที่เป็นบาทของวิปัสสนา
http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=2&t=21049

ผู้บรรลุธรรม จากสมถะ มีจำนวนน้อยกว่าผู้ไม่มี
http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=2&t=21062

การเจริญสติปัฏฐานหมวดพิจารณาอิริยาบถ ๔ จากพระไตรปิฏก อรรถกถา
http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=2&t=29201

ควรศึกษาอัตตโนมติ ของท่านพุทธทาสหรือไม่ ?
http://www.dhammajak.net/board/viewtopic.php?t=17187


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 14 ส.ค. 2010, 10:17 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 1
สมาชิก ระดับ 1
ลงทะเบียนเมื่อ: 14 ส.ค. 2010, 09:31
โพสต์: 16

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


การเกิดภพชาติ จากการปฎิบัติสมาธิ ของข้าพเจ้า

พอจะศึกษาได้ว่า คนเราย่อมต้องเวียนว่ายตายเกิดเป็นธรรมดา เมื่อเกิดมาแล้วก็ย่อมมีกิเลสและตัณหาติดตัวมาทุกคน มากน้อยต่างกัน ไม่มีใครที่จะสามารถตัดกิเลสให้ 100% ได้ และการที่จะหลุดจากภพชาติก็ต้องสร้างสมบารมีเอาไว้หลายชาติเช่นกัน ดังเช่นพระพุทธเจ้าท่านทรงสร้างบารมีเอาไว้ 10 ชาติ แต่ก่อนที่ท่านจะมาสร้างบารมี 10 ชาติสุดท้าย ก่อนหน้านั้นท่านก็ได้สร้างเอาไว้ถึง 500 ชาติ และไม่ได้เพียงพระองค์ผู้เดียวเท่านั้น ผู้ร่วมชาติที่ได้เกิดเป็นพ่อ,แม่,ภรรยา,ลูก,ญาติ,พี่น้อง ของพระองค์ก็ได้ร่วมสร้างบารมีมาเหมือนกันเมื่อบารมีครบแล้ว นับเวลาแล้วเป็นกัลป์ๆ หรือหลายพระพุทธเจ้า จึงไม่ใช่เรื่องง่ายเลยใช่ไหมที่จะหลุดจากวัฎะสงสาร แต่ก็ไม่ได้ยากจนเกินไปใช่ไหม ถ้าใจอยากพบ นิพพานหนทางก็คือการเข้าถึงสมาธิ ก็จะเข้าถึงตัวตนของเรา และอาจได้เข้าเฝ้าพระพุทธเจ้าด้วยนะ ผู้ใดเห็นธรรมผู้นั้นเห็นเรา

ใช่มิใช่มิ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 14 ส.ค. 2010, 10:52 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 1
สมาชิก ระดับ 1
ลงทะเบียนเมื่อ: 14 ส.ค. 2010, 09:31
โพสต์: 16

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


เรื่องนรก,สวรรค์ มีจริงอยู่ที่ใจ การไม่ยึดติดก็เป็นสิ่งที่ถูก หากเปรียบจักวาลนี้ มีโลกและสูงกว่าโลก
ก็จะแบ่งออกเป็น 3 ภพ คือ นรก,สวรรค์, มนุษย์ ทางที่จะหลุดพ้นคือทางสายกลาง นรก อยู่เบื้องต่ำคือจิตที่เป็นทุกข์ หรือการชดใช้กรรมที่เป็นทุกข์ สวรรค์ อยู่เบื้องสูง คือจิตที่เป็นสุข หรือการชดใช้กรรมที่เป็นสุข ภพมนุษย์จึงเป็นกลางที่สุด คือสามารถรับรู้ เปลี่ยนแปลง แก้ไข ในทุกข์ และสุข ไม่มีใครปรารถนาความทุกข์ ย่อมต้องการความสุข แต่ถ้าติดสุข ก็ย่อมมั่วเมา เป็นกิเลส จึงต้องเป็นกลางๆนั่นแหละดี ไม่มากไป หรือน้อยไป ย่อมไปถึงซึ่งนิพพาน คือผู้รู้ธรรม ปฎิบัติธรรม แจ้งในธรรม ได้อย่างแน่นอน ทุกๆอย่างล้วนเป็นวัฎจักร วนเวียนวกวนอยู่เรื่อยๆไป การหยุดดูการเปลี่ยนแปลงของสิ่งต่างๆ และมีสติรู้ทันย่อมอยู่เหนือและควบคุมวัฎจักรนี้ได้ **ผู้ใดเห็นธรรมผู้นั้นเห็นเรา** คำนี้ไม่มีวันตาย


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 14 ส.ค. 2010, 13:39 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 5
สมาชิก ระดับ 5
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ก.พ. 2009, 05:07
โพสต์: 372


 ข้อมูลส่วนตัว


อ้างคำพูด:
คุณตุ๊กตา เขียน

จึงไม่ใช่เรื่องง่ายเลยใช่ไหมที่จะหลุดจากวัฎะสงสาร แต่ก็ไม่ได้ยากจนเกินไปใช่ไหม ถ้าใจอยากพบ นิพพานหนทางก็คือการเข้าถึงสมาธิ ก็จะเข้าถึงตัวตนของเรา และอาจได้เข้าเฝ้าพระพุทธเจ้าด้วยนะ ผู้ใดเห็นธรรมผู้นั้นเห็นเรา


สวัสดีครับ จากความเห็นของคุณตุ๊กตา ผมนึกถึง แนวปฏิบัติธรรมกาย ซึ่งผมก็เคยศึกษามาก่อน

คุณตุ๊กตา ครับแนวปฏิบัติที่อ้างว่านั่งสมาธิแล้วเข้าเฝ้าพระพุทธเจ้าได้ เพราะสมัยนี้มีแนวทางการทำสมาธิแปลก ๆ โดยไม่อาศัยคันถะธุระให้ดีเสียก่อน แล้วภายหลังคิดจะมาแก้พระไตรปิฏก ให้ตรงกับแนวทางการปฏิบัติของตน

กรณีธรรมกาย โดยท่านเจ้าคุณพระพรหมคุณาภรณ์
http://b2b2.tripod.com/tmk/

การจับคำความที่ผิดมาอ้างเป็นหลักฐาน เพื่อให้นิพพานเป็นอัตตา.....66
เมื่อจำนนด้วยหลักฐาน ก็หาทางทำให้สับสน……68
เมื่อหลักฐานก็ไม่มี ตีความก็ไม่ได้ ก็หันไปอ้างผลจากการปฏิบัติ.....71
เพราะไม่เห็นแก่พระธรรมวินัย จึงต้องหาทางดิ้นรนเพื่อหนีให้พ้นสัจจะ.....73
ความซื่อตรงต่อหลักพระศาสนา และมีเมตตาต่อประชาชน คือหัวใจของการรักษาระบบไตรสิกขาไว้ให้แก่ประชาสังคม.....75


---------------------------------
วิจัยเรื่องธรรมกาย โดยพระครูศรีโชติญาณ (พระมหาแสวง)

ก่อนอื่น ที่จะพูดถึงเรื่องของ "ธรรมกาย" ก็อยากจะพูดถึงเรื่องบาลีว่า "ผู้ใด เห็นธรรม ได้ชื่อว่า ผู้นั้นเห็นเรา" เสียก่อน


อันที่จริงบาลีนี้ มิใช่เป็นบาลีที่พระพุทธเจ้าตรัสเป็นคาถาโดยตรงดอก แต่เป็นเพียงพระพุทธโฆษาจารย์ได้ยกเอามาพูดไว้ในท้องนิทานธรรมบท ภาค ๘ หน้า ๘๕ มีข้อความเต็มว่า โยโข วกกลิ ธมมํ ปสสติ โส มํ ปสสติ, โย มํ ปสสติ โส ธมมํ ปสสติ.


ซึ่งแปลเป็นความไทยก็ว่า ดูกรวักกลิ ผู้ใดแลเห็นธรรม ผู้นั้นชื่อว่าเห็นเรา ผู้ใดเห็นเราก็ชื่อว่าผู้นั้นเห็นธรรมฯ แล้วท่านก็มิได้อธิบายอะไรไว้ในเรื่องของความหมาย แต่ก็พอจะยกเอาข้อความที่ท่านได้อธิบายไว้ในอรรถกถามาตีความได้ว่า

"ภิกษุผู้มากไปด้วยความปราโมทย์แม้โดยปกติ ก็ย่อมปลูกความเลื่อมใสในพระพุทธศาสนา ภิกษุนั้น เลื่อมใสแล้วอย่างนั้น พึงบรรลุพระนิพพานในพุทธศาสนา อันได้ชื่อว่าสันตบท เป็นที่เข้าไปสงบสังขารเป็นสุข"

จากข้อความตามที่ได้ยกเอามาเป็นหลักยืนยันนี้ จะเห็นได้อย่างชัดเจนแล้วว่า คนที่ได้เห็นธรรมนั้นก็คือ คนที่ได้บรรลุพระนิพพานนั่นเอง เมื่อข้าพเจ้ายกเอาหลักมาแสดงกับเขาแล้ว ก็เลยถือโอกาสถามเขาไปเลยว่า "แล้วคุณเล่าได้เห็นพระพุทธเจ้าที่หลังคาโบสถ์...กับเขาหรือเปล่า"

เขาก็ทำเป็นกระอักกระอ่วนอย่างไรพิกลจะรับก็ไม่เชิงจะปฏิเสธก็ไม่ใช่ เมื่อเห็นเขาเงียบ ๆ อยู่เข้าพเจ้าก็เลยพูดกับเขาไปว่า "ใครจะได้เห็น หรือไม่เห็น ข้าพเจ้าไม่ทราบได้ แต่ตัวข้าพเจ้าเองบวชมาก็หลายพรรษาเต็มทีแล้วและแต่ละพรรษาก็อยากจะได้เห็นพระพุทธเจ้าจนตัวสั่น แต่ก็ไม่ได้เห็นกับเขาสักที บาปของข้าพเจ้ามันจะหนาอย่างที่เขาว่ากัน หรืออย่างไรก็ไม่ทราบได้"

จึงขอฝากความข้องใจไว้กับผู้อ่านเพียงแค่นี้ก่อน
สำหรับเรื่องของ "ธรรมกาย" นั้น เราจะแปลกันอย่างฟังง่าย ๆ ว่า กายธรรม กายทิพย์ กายพรหม ธรรมภูต พรหมภูต ชื่อต่าง ๆ เหล่านี้เป็นพระนามของพระพุทธเจ้าโดยเฉพาะ

ได้ตรัสแก่วาเสฎฐะและภารัทวาชะในทีฆนิกายปาฏิกวรรค อัคคัญญูสูตรที่ว่าด้วยเรื่องอานิสงส์ของการบวชว่า

"ถ้าเกิดมีใครเขาถามเธอว่าเธอเป็นอะไร?" ก็ควรจะตอบเขาว่า "จะเป็นใครก็ตามมีศรัทธาตั้งมั่น ไม่หวั่นไหวในพระตถาคตเจ้าแล้ว จะเป็นสมณะ พราหมณ์ เทวดา มาร หรือ พรหมก็ตามก็ควรเรียกได้แล้วว่า เป็นบุตรเป็นโอรสในพระผู้มีพระภาคเจ้าได้

เป็นผู้ที่เกิดแล้วจากพระโอษฐ์ เกิดจากธรรม อันพระธรรมเนรมิตให้เป็นทายาทแห่งธรรม เพราะเหตุไรเล่า เพราะคำว่า "ธรรมกาย" ก็ดี พรหมกายก็ดี ธรรมภูตก็ดี พรหมภูตก็ดี คำที่เป็นชื่อต่าง ๆ เหล่านี้ เป็นชื่อของพระพุทธเจ้าทั้งนั้น"

(จาก ที. ปา. ข้อ ๑๑๘ หน้า ๖๙ มีแก้อยู่ในอรรถกถาทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค ฉบับ ฉัฎฐะ หน้า ๔๙ ข้อ ๑๑๘ ฎีกาทีฆนิกาย ปาฎิกวรรค หน้า ๔๑ ข้อ ๑๑๘)

ตามที่ได้ยกเอามาแสดงนี้ ก็เพื่อชี้ให้เห็นว่าผู้ที่จะได้ธรรมกายเป็นต้น จะมีได้เฉพาะพระพุทธเจ้าองค์เดียวเท่านั้น นอกนั้นจะเป็นได้ก็เพียงบุตร โอรส ผู้เกิดจากพระโอษฐ์เกิดจากธรรมพระธรรมเนรมิตให้ และเป็นทายาทของธรรมเท่านั้น

แต่ผู้ที่พูดว่าได้ธรรมกายนั้น อาจพูดไปตามมโนภาพเท่าที่ตนเห็นในนิมิตของสมาธิมากกว่า อันการจะตีความอะไร ก็ควรจะใคร่ครวญให้ถ่องแท้ มิฉะนั้นจะพลาดไปโดยความเขลารู้เท่าไม่ถึงการณ์

เหมือนอย่างที่อาจารย์บางท่านพูดว่า "พระพุทธเจ้าทรงบัญญัติสิกขาบทห้ามภิกษุพรากของเขียว ที่มีชีวิตเกิดอยู่กับที่ต้องอาบัติปาจิตตีย์"

ความจริงแล้วมิใช่พระพุทธเจ้าทรงบัญญัติสิกขาบทนี้ เพราะเหตุที่ต้นไม้มีชีวิตแต่ทรงบัญญัติเพื่อรักษาศรัทธาของชาวบ้านต่างหาก เพราะต้นไม้มีอุตุเป็นสมุฎฐาน ไม่ได้เกิดมาจากกรรมเหมือนกับมนุษย์และสัตว์โดยทั่วดอก

แต่อาจารย์บางท่านไม่รู้เรื่อง ก็เลยไปอุปโลกน์ให้เป็นเรื่องของพระพุทธเจ้าไป อย่างนี้ไม่สมควรเลย เพราะพระพุทธเจ้าไม่เคยตรัสไว้ในที่ใดเลยว่า ต้นไม้มีชีวิต แต่ที่พูดเป็นเรื่องของลูกศิษย์ที่ตั้งตนเป็นอาจารย์ แล้วอุปโลกน์ให้พระองค์ท่าน

----------------------------------------

อ้างคำพูด:
นิพพานหนทางก็คือการเข้าถึงสมาธิ ก็จะเข้าถึงตัวตนของเรา และอาจได้เข้าเฝ้าพระพุทธเจ้าด้วยนะ ผู้ใดเห็นธรรมผู้นั้นเห็นเรา


คุณตุ๊กตาครับ นิพพานไม่ใช่การเข้าสมาธิ แต่สำหรับผู้เข้าถึงสมาธิขั้นรูปฌาน อรูปฌาน ก็นำฌานนั้น มาเป็นบาทของการเจริญสติปัฏฐาน หรือ วิปัสสนา จึงเป็นหนทางเพื่อนิพพานได้

หาไม่แล้ว ก็จะไปเกิดบนพรหมโลก เช่น ดาบสทั้งสอง ที่สอนการทำสมาธิให้กับพระโพธิสัตว์

.....................................................
สมถะ (ฌาน, สมาธิ) ที่เป็นบาทของวิปัสสนา
http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=2&t=21049

ผู้บรรลุธรรม จากสมถะ มีจำนวนน้อยกว่าผู้ไม่มี
http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=2&t=21062

การเจริญสติปัฏฐานหมวดพิจารณาอิริยาบถ ๔ จากพระไตรปิฏก อรรถกถา
http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=2&t=29201

ควรศึกษาอัตตโนมติ ของท่านพุทธทาสหรือไม่ ?
http://www.dhammajak.net/board/viewtopic.php?t=17187


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 14 ส.ค. 2010, 13:48 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 5
สมาชิก ระดับ 5
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ก.พ. 2009, 05:07
โพสต์: 372


 ข้อมูลส่วนตัว


อ้างคำพูด:
คุณตุ๊กตา เขียน

จึงไม่ใช่เรื่องง่ายเลยใช่ไหมที่จะหลุดจากวัฎะสงสาร แต่ก็ไม่ได้ยากจนเกินไปใช่ไหม ถ้าใจอยากพบ นิพพานหนทางก็คือการเข้าถึงสมาธิ ก็จะเข้าถึงตัวตนของเรา และอาจได้เข้าเฝ้าพระพุทธเจ้าด้วยนะ ผู้ใดเห็นธรรมผู้นั้นเห็นเรา


คุณสมบัติของผู้ที่จะบรรลุมรรคผลนิพพาน


เนื้อความพระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๕ บรรทัดที่ ๓๙๒ - ๔๐๓. หน้าที่ ๑๘ - ๑๙.
http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/v ... agebreak=0


ศึกษาอรรถกถานี้ ได้ที่ :-
http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=15&i=60


บทว่า นโร ได้แก่ สัตว์.
บทว่า สปญฺโญ ได้แก่ ผู้มีปัญญาโดยปฏิสนธิมาด้วยปัญญาอันเป็นไตรเหตุอันเกิดแต่กรรม.
บทว่า จิตฺตํ ปญฺญญฺจ ภาวยํ ได้แก่ ยังสมาธิและปัญญาให้เจริญอยู่.
จริงอยู่ ข้อนี้พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสสมาบัติ ๘ ไว้ด้วยหัวข้อแห่งจิต ตรัสวิปัสสนาไว้โดยชื่อว่าปัญญา.
บทว่า อาตาปี แปลว่า มีความเพียร.


----------------------------------------------------------

สีเล ปติฐาย นโร สปญฺโญ
จิตฺตํ ปญฺญญฺจ ภาวยํ
อาตาปี นิปโก ภิกฺขุ
โส อิมํ วิชฏเยชฏํ

ความว่า นรชาติชายหญิง ผู้มีปัญญาแต่กำเนิด
มีความเพียรเป็นเครื่องเผากิเลสมีปัญญาบริหารจิต
เห็นภัยในการเวียนว่ายตายเกิด ตั้งมั่นในศีล
อบรมสมาธิและวิปัสสนาปัญญาเท่านั้น นรชนชาติชายหญิงนี้เท่านั้น
จึงจะสามารถสางรกชัฏที่เป็นเสมือนข่ายคือ ตัณหาออกได้




ต้องการนิพพาน...ต้องรู้ถูก โดยพระครูศรีโชติญาณ (พระมหาแสวง)
http://www.abhidhamonline.org/Ajan/SW/ni.doc

.....................................................
สมถะ (ฌาน, สมาธิ) ที่เป็นบาทของวิปัสสนา
http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=2&t=21049

ผู้บรรลุธรรม จากสมถะ มีจำนวนน้อยกว่าผู้ไม่มี
http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=2&t=21062

การเจริญสติปัฏฐานหมวดพิจารณาอิริยาบถ ๔ จากพระไตรปิฏก อรรถกถา
http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=2&t=29201

ควรศึกษาอัตตโนมติ ของท่านพุทธทาสหรือไม่ ?
http://www.dhammajak.net/board/viewtopic.php?t=17187


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 14 ส.ค. 2010, 14:41 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


อ้างคำพูด:
ผู้เข้าถึงสมาธิขั้นรูปฌาน อรูปฌาน ก็นำฌานนั้นมาเป็นบาทของการเจริญสติปัฏฐาน


บาท ได้แก่อะไร หมายถึงอะไรครับ :b8: :b20: :b12:

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 14 ส.ค. 2010, 15:54 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 1
สมาชิก ระดับ 1
ลงทะเบียนเมื่อ: 14 ส.ค. 2010, 09:31
โพสต์: 16

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


วิปัสนากรรมฐาน จุดเริ่มต้นเกิดจากสมาธิใช่หรือไม่ การสร้างบุญกุศล มาจากการเจริญสมาธิใช่หรือไม่
ความมีปิติ ฌานหรือญานเริ่มต้นมาจากการนั่งนิ่งๆใช่หรือไม่ เหตุใดการทำสมาธิจึงไม่ดีเหล่า
tongue


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 14 ส.ค. 2010, 16:03 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 1
สมาชิก ระดับ 1
ลงทะเบียนเมื่อ: 14 ส.ค. 2010, 09:31
โพสต์: 16

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


จุดเริ่มต้นของการศึกษาธรรมมะไม่ต้องไปหาที่อภิธรรมที่ไหนอยู่ที่การปฎิบัติ ครูบาอาจารย์จะนำเราให้เข้าถึงในที่ละขั้นๆ ขอเพียงเราศัทธา มีความเพียรและไม่ดื้อกับครู เราก็จะเห็นความเป็นจริงเมื่อดับนิวร 5 ความเป็นจริงในตัวตนจะเกิดขึ้น แต่ละบุคคลรู้เฉพาะตน จุดมุ่งหมายเดียวกันคือนิพพานคืนความว่างและความสุข ความสุขที่หาไม่ได้ด้วยเงินทอง ก็ไม่สามารถซื้อได้ นี่คือความจริงในการปฎิบัติ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 14 ส.ค. 2010, 16:12 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 1
สมาชิก ระดับ 1
ลงทะเบียนเมื่อ: 14 ส.ค. 2010, 09:31
โพสต์: 16

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


นิพพาน มีจริงสำหรับผู้ปฎิบัติเท่านั้นที่จะรู้ได้ ด้วยความเพียรและความดีจนถึงที่สุดแล้ว โดยอาศัยซึ่งความศัทธา ข้าพเจ้าไม่เคยอ่านอภิธรรม ข้าพเจ้าศึกษาจากครูบาอาจารย์ญาติของข้าพเจ้าที่เขานิพพานไปแล้วมาสอน ทางสมาธิ และเข้าถึงความสุขที่เงินทองก็หาซื้อไม่ได้ มีความสุขที่ได้หายใจเข้าและออก ไม่เห็นจำเป็นต้องพึ่งอภิธรรมเลย ดีชั่วอยู่ที่ใจ การพิจารณาใจ และกาย เข้าถึงวิปัสนาให้เห็นถึงอริยสัท 4 คือความเป็นจริง หรือสมุติฐาน 4 ในทางวิทยาศาสตร์ ศาสตร์ต่างๆ ก็เรียนรู้มาจากประสบการณ์ในการปฎิบัติซ้ำๆ คิดใตร่ตรองจนเห็นความเป็นจริงและแก้ไขพัฒนามาเป็นวิทยาให้ชนรุ่นหลังได้ศึกษาใช่ ไหม


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กระทู้นี้ถูกล็อก คุณไม่สามารถแก้ไขข้อความ หรือ ตอบกลับในกระทู้นี้  [ 77 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1, 2, 3, 4, 5, 6  ต่อไป

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

่กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 1 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร