วันเวลาปัจจุบัน 11 ต.ค. 2024, 06:05  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


กฎการใช้บอร์ด


“อภิธรรม (สันสกฤต: abhidharma) หรืออภิธัมมะ (บาลี: abhidhamma) เป็นชื่อปิฎกศาสนาพุทธฉบับหนึ่งในปิฎกทั้งสามฉบับที่รวมเรียก "พระไตรปิฎก" อภิธรรมแปลว่าธรรมอันยิ่ง ปิฎกฉบับอภิธรรมนั้นเรียก "พระอภิธรรมปิฎก" ซึ่งว่าด้วยประมวลหลักธรรมและคำอธิบายที่เป็นหลักวิชาล้วนๆ ไม่มีความเกี่ยวข้องกับเหตุการณ์และบุคคลเลย”



กลับไปยังกระทู้  [ 59 โพสต์ ]  ไปที่หน้า 1, 2, 3, 4  ต่อไป  Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 30 มิ.ย. 2019, 12:12 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 ก.พ. 2011, 19:56
โพสต์: 1798


 ข้อมูลส่วนตัว


จากหนังสือปัฏฐานทีปนี

งานทำบุญวันเกิดครบรอบ ๙๖ ปี
พระอาจารย์สุนทร ฐิตกาโม
วัดปราสาททอง
จ.สุพรรณบุรี

แปลโดย พระมหาวิสูตร วิสุทธิเมธี ป.ธ.๙


แก้ไขล่าสุดโดย ปฤษฎี เมื่อ 14 ก.ค. 2019, 15:22, แก้ไขแล้ว 1 ครั้ง

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 30 มิ.ย. 2019, 13:05 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 ก.พ. 2011, 19:56
โพสต์: 1798


 ข้อมูลส่วนตัว


๑. เหตุปัจจัย


ธรรมอะไร ชื่อว่า เหตุปัจจัย ?
โลภะธรรม ชื่อว่า เหตุปัจจัย
โทสะธรรม ชื่อว่า เหตุปัจจัย
โมหะธรรม ชื่อว่า เหตุปัจจัย
อโลภะธรรม ชื่อว่า เหตุปัจจัย
อโทสะธรรม ชื่อว่า เหตุปัจจัย
อโมหะธรรม ชื่อว่า เหตุปัจจัย



แสดงปัจจยุบธรรมของเหตุปัจจัย

ธรรมทั้งหลายเหล่าไหน ชื่อว่า ธรรมที่เป็นปัจจยุบันของเหตุปัจจัย ?

ธรรมทั้งหลายที่เป็นจิต เจตสิก ที่เกิดร่วมกันกับโลภะ และธรรมทั้งหลายที่เป็นรูปกลาปที่เกิดร่วมกันกับโลภะ เป็นสภาพที่เกิดขึ้นโดยเหตุปัจจัย ชื่อว่าธรรมเป็นปัจจยุบันของเหตุปัจจัย

ธรรมทั้งหลายที่เป็นจิต เจตสิก ที่เกิดร่วมกันกับโทสะ และธรรมทั้งหลายที่เป็นรูปกลาปที่เกิดร่วมกันกับโทสะ เป็นสภาพที่เกิดขึ้นโดยเหตุปัจจัย ชื่อว่าธรรมเป็นปัจจยุบันของเหตุปัจจัย

ธรรมทั้งหลายที่เป็นจิต เจตสิก ที่เกิดร่วมกันกับโมหะ และธรรมทั้งหลายที่เป็นรูปกลาปที่เกิดร่วมกันกับโมหะ เป็นสภาพที่เกิดขึ้นโดยเหตุปัจจัย ชื่อว่าธรรมเป็นปัจจยุบันของเหตุปัจจัย

ธรรมทั้งหลายที่เป็นจิต เจตสิก ที่เกิดร่วมกันกับอโลภะ และธรรมทั้งหลายที่เป็นรูปกลาปที่เกิดร่วมกันกับอโลภะ เป็นสภาพที่เกิดขึ้นโดยเหตุปัจจัย ชื่อว่าธรรมเป็นปัจจยุบันของเหตุปัจจัย

ธรรมทั้งหลายที่เป็นจิต เจตสิก ที่เกิดร่วมกันกับอโทสะ และธรรมทั้งหลายที่เป็นรูปกลาปที่เกิดร่วมกันกับอโทสะ เป็นสภาพที่เกิดขึ้นโดยเหตุปัจจัย ชื่อว่าธรรมเป็นปัจจยุบันของเหตุปัจจัย

ธรรมทั้งหลายที่เป็นจิต เจตสิก ที่เกิดร่วมกันกับอโมหะ และธรรมทั้งหลายที่เป็นรูปกลาปที่เกิดร่วมกันกับอโมหะ เป็นสภาพที่เกิดขึ้นโดยเหตุปัจจัย ชื่อว่าธรรมเป็นปัจจยุบันของเหตุปัจจัย



แสดงการจำแนกหมวด ปฏิสนธิกาล ปวัตติกาล พร้อมทั้งสรุปสหชาตรูป

กัมมชรูป ในสเหตุกปฏิสนธิก็ดี สเหตุกจิตตชรูปในปวัติกาลก็ดี ชื่อว่าสหชาตรูปกลาป ในคำนั้น ธรรมดาปฏิสนธิขณะ ท่านกล่าวหมายถึงอุปาทักขณะของปฏิสนธิจิต, ธรรมดาปวัตติกาล ท่านกล่าวหมายถึงเริ่มตั้งแต่ฐีติขณะของปฏิสนธิจิตจนถึงจุติกาล



แสดงความหมายของศัพท์ว่า เหตุปัจจัย

ถามว่า ชื่อว่า เหตุ หมายถึงอะไร? ชื่อว่า ปัจจัย หมายถึงอะไร?
ตอบว่า ชื่อว่าเหตุ หมายถึงว่า เป็นรากแก้ว, ชื่อว่า ปัจจัย หมายถึงว่า ช่วยอุปการะ

ในถ้อยคำนั้น ความเป็นรากแก้วแห่งมูลธรรมทั้งหลาย มีโลภะเป็นต้นได้กล่าวไว้แล้วในมูลยมกปกรณ์ ชื่อว่าเนื้อความแห่งมูล, เนื้อความแห่งมูลนั้น ได้แสดงไว้เรียบร้อยแล้ว ด้วยอุปมาด้วยต้นไม้ในคัมภีร์มูลยมกทีปนี



แสดงการช่วยอุปการะของอกุศลเหตุปัจจัย ด้วยอุปมาชายหนุ่มผู้ชอบใจในหญิงสาว

ต่อไปนี้ข้าพเจ้าจะกล่าวแสดงนัยอีกนัยหนึ่ง

ชายหนุ่มคนหนึ่ง เป็นผู้มีจิตปฏิพัทธ์ในหญิงสาวคนหนึ่ง เขายังไม่ละจิตดวงนั้นเพียงใด กายกรรม วจีกรรม มโนกรรมที่เกิดร่วมกันกับโลภะ และจิตตชรูปที่เกิดขึ้นเพราะโลภะปรารภถึงหญิงสาวนางนั้น ย่อมเป็นไปแก่ชายหนุ่มผู้นั้น แม้สิ้นกาลนานเพียงนั้น และจิต เจตสิก รูป เหล่านั้นทั้งปวง ย่อมมีโลภะ คือความกำหนัดในหญิงนั้นเป็นมูล เพราะโลภะนั้น ชื่อว่าเป็นเหตุด้วย หมายถึงว่าเป็นมูล(รากแก้ว) แห่งจิต เจตสิก รูป เหล่านั้น ชื่อว่าเป็นปัจจัยด้วย หมายถึงว่าช่วยอุปการะ เพราะความเป็นทั้งเหตุ ทั้งปัจจัยทั้งอย่างนั้น เพราะฉะนั้นจึงชื่อว่าเหตุปัจจัย บัณฑิตพึงทราบตามนัยเดียวกันนี้ ในโลภะทั้งหลายที่เกิดขึ้นด้วยอำนาจแห่งความชอบใจ ปรารภถึงวัตถุทั้งหลายที่น่าชอบใจที่เหลือ, ในโทสะทั้งหลายที่เกิดขึ้นด้วยอำนาจแห่งความขัดเคืองทั้งหลายปรารภถึงวัตถุที่น่าขัดเคือง, และในโมหะทั้งหลายที่เกิดขึ้นด้วยอำนาจแห่งความลุ่มหลง ปรารถถึงวัตถุที่น่าลุ่มหลงทั้งหลาย.



แสดงการช่วยอุปการะแห่งอกุศลเหตุปัจจัย ด้วยอุปมาด้วยรากแห่งต้นไม้

บัณฑิตพึงทราบเนื้อความในเหตุปัจจัยดังต่อไปนี้ เหมือนอย่างว่า รากทั้งหลายแห่งต้นไม้ ดำรงอยู่แล้วด้วยดีในภายใต้พื้นดินด้วยลำต้นของตน รับแล้วซึ่งปุ๋ยแห่งดิน และรสแห่งน้ำ ย่อมหล่อเลี้ยงต้นไม้นั้นจนถึงยอด เพราะอาศัยการหล่อเลี้ยงนั้น ต้นไม้จึงเจริญเติบโตงอกงามขึ้นสิ้นกาลนาน, โลภะก็ฉันนั้นเหมือนกัน ดำรงอยู่ด้วยดีด้วยการปรารภถึงอารมณ์ด้วยอำนาจแห่งความชอบใจในวัตถุนั้นๆ รับแล้วซึ่งรสแห่งปิยรูป และสาตรูป(ปิยรูปสาตรูป=รูปที่น่าปรารถนา น่าใคร น่าพอใจ) ย่อมหล่อเลี้ยงสัมปยุตธรรมทั้งหลายไว้จนกระทั้งล่วงละเมิดออกทางกาย ทางวาจา ย่อมให้ถึงการก่าวล่วงทางกายหรือการก่าวล่วงทางวาจา โทสะก็ฉันนั้นเหมือนกัน รับแล้วซึ่งรสแห่งอปิยรูป อปสาตรูป(รูปที่ไม่น่าปรารถ ไม่น่าใคร่ ไม่น่าพอใจ) ด้วยอำนาจแห่งความขัดเคือง และโมหะก็ฉันนั้นเหมือนกัน ซ่านไปตามรสแห่งแนวความคิดที่ปราศจากประโยชน์ในอารมณ์ต่างๆ ด้วยอำนาจแห่งความลุ่มหลง บัณฑิตพึงกล่าวแสดงตามนัยอย่างนี้เป็นต้น ธรรม ๓ ประการ ย่อมหล่อเลี้ยงไว้อย่างนี้ เป็นเหมือนทำสัมปยุตธรรมทั้งหลายให้รื่นเริง ให้บันเทิงในวัตถุและอารมณ์ทั้งหลายที่น่าชอบใจ เป็นต้น ย่อมให้เป็นไปสิ้นกาลนาน และสัมปยุตธรรมทั้งหลายก็ย่อมเป็นไป ฉันนั้น ก็ครั้นเมื่อสัมปยุตธรรมทั้งหลายเป็นไปอยู่อย่างนั้น แม้รูปกลาปที่เกิดร่วมกัน ก็ย่อมเป็นไปอย่างนั้นเหมือนกัน ในถ้อยคำนั้น บัณฑิตพึงทราบเนื้อความแห่งบทว่า สัมปะยุตตะธัมมัง อภิหะระติ ดังต่อไปนี้ ย่อมนำไปซึ่งรสแห่งปิยรูป ซึ่งรสแห่งสาตรูป สู่สำนักของสัมปยุตธรรมทั้งหลาย.



แสดงการช่วยทำอุปการะของกุศลเหตุปัจจัย ด้วยอุปมาถึงชายหนุ่มผู้ละความปฏิพัทธ์ในหญิงสาว

ในข้างขึ้น ชายหนุ่มนั้นเห็นโทษในวัตถุกามและกิเลสกามในกาลใด ในกาลนั้น

ชายหนุ่มนั้นย่อมละจิตที่ชอบใจนั้น อโลภะปรารภถึงซึ่งหญิงสาวนั้นย่อมเกิดขึ้น กายกรรม วจีกรรม มโนกรรม ที่มีโลภะเป็นมูลที่ไม่บริสุทธิ์ ปรารภถึงซึ่งหญิงสาวนั้น ย่อมเป็นไปในกาลใดในกาลก่อน, ในกาลนี้ แม้ในกาลนั้น กายกรรม วจีกรรม มโนกรรม ที่มี อโลภะเป็นมูลที่บริสุทธิ์ย่อมเป็นไป, ภิกขุปาฏิโมกข์สังวรศีล ฌานบริกรรม หรือ อัปนาฌาน ย่อมเป็นไป เพราะ อโลภะนั้นชื่อว่าเหตุด้วย เพราะหมายถึงเป็นมูลแห่งกายกรรม วจีกรรม มโนกรรม ที่มีอโลภะเป็นมูลที่บริสุทธิ์เหล่านั้น, ชื่อว่าปัจจัยด้วย เพราะหมายถึงว่า ช่วยทำอุปการะแก่กายกรรม วจีกรรม มโนกรรม ที่มีอโลภะเป็นมูลที่บริสุทธิ์นั้น, เพราะความเป็นเหตุ และปัจจัยทั้งสองอย่างนั้น ฉะนั้นจึงชื่อว่า เหตุปัจจัย, ในอโลภะทั้งหลายที่ตรงข้ามกับโลภะ ในอโทสะทั้งหลายที่ตรงข้ามกันโทสะ และในอโมหะทั้งหลายที่ตรงข้ามกับโมหะ บัณฑิตพึงทราบตามนัยนี้.



แสดงความเหมือนกันแห่งรากไม้ กับ กุศลเหตุปัจจัย

ในถ้อยคำเหล่านั้น อโลภะเป็นเหมือนรากแห่งต้นไม้ ละแล้วซึ่งโลภะในวัตถุที่น่าโลภทั้งหลาย หล่อเลี้ยงรสแห่งความสุขเพราะความไกลจากโลภะเป็นเหมือนทำสัมปยุตธรรมให้รื่นเริงให้บันเทิงด้วยความสุขนั้น ทำให้สุขยิ่งขึ้นไปจนถึงสุขอันเกิดจากฌานสมาบัติ หรือจนถึงสุขอันเกิดจากมรรคและผล และอโทสะ ก็พึงกล่าวเหมือนอย่างนั้น ว่าหล่อเลี้ยงรสแห่งความสุข เพราะไกลจากโทสะในวัตถุที่น่าขัดเคืองทั้งหลาย และอโมหะ ก็หล่อเลี้ยงรสแห่งความสุขเพราะความไกลจากโมหะในวัตถุที่น่าลุ่มหลงทั้งหลาย ธรรมทั้ง ๓ ประการ เมื่อเจริญอยู่อย่างนี้ ย่อมเป็นเหมือนทำสัมปยุตธรรมทั้งหลายให้รื่นเริง ให้บันเทิงในกุศลธรรมทั้งหลาย ย่อมให้เป็นไปแม้สิ้นกาลนาน และสัมปยุตธรรมก็ย่อมเป็นไปเหมือนอย่างนั้น และเมื่อสัมปยุตธรรมทั้งหลายเป็นอยู่เหมือนอย่างนั้น แม้รูปกลาปที่เกิดร่วมกันก็ย่อมเป็นไปอย่างนั้นเหมือนกัน



แสดงเนื้อความแห่งถ้อยคำ แห่งบททั้งหลาย มีบทว่า โลภวิเวกสุขรสัง ดังนี้ เป็นต้น

ในถ้อยคำเหล่านั้น เนื้อความแห่งคำ แห่งบทว่า โลภวิเวกสุขรสัง บัณฑิตพึงทราบดังต่อไปนี้

ความสงัดความห่างไกล ชื่อว่าวิเวก ความวิเวกแห่งโลภะ(หรือจากโลภะ) ชื่อว่าโลภวิเวก ความสุขในโลภวิเวก ชื่อว่า โลภวิเวกสุข มีคำที่ท่านกล่วอธิบายไว้ว่า ความสุขที่เกิดขึ้นเพราะอาศัยความสงัด ความไกลแห่งโลภะ(จากโลภะ) เชื่อมความว่า รส คือความสงัด ความไกลแห่งโลภะนั้น ชื่อว่า โลภวิเวกสุขรส ในพระบาลีอภิธรรม นัยแห่งปัฏฐานท่านได้กล่าวไว้แล้วอย่างนี้



แสดงการช่วยอุปการะแห่งเหตุปัจจัย ตามสุตตันตนัย

พึงทราบ นัยตามพระสูตรดังต่อไปนี้

ธรรม ๒ ประการคือ โมหะ ท่านเรียกว่า อวิชชา ๑ และโลภะ ท่านเรียกว่า ตัณหา ๑ ย่อมเป็นมูลแห่งธรรมคือความทุกข์ในวัฏฏะ แม้ทั้งปวง, ส่วนโทสะ ย่อมเป็นมูลแห่งอกุศลกรรมซึ่งเป็นผลแห่งโลภะ

ธรรม ๒ ประการคือ อโมหะ ท่านเรียกว่า วิชชา ๑ และอโลภะ ๑ ท่านเรียกว่า นิกขมธาตุ(คือความสงัดจากโลภะ) ย่อมเป็นมูลแห่งธรรมเครื่องพ้นจากวัฏฏะ ส่วนอโทสะ ย่อมเป็นมูลแห่งกัลยาณธรรม(กุศลธรรม) ซึ่งเป็นผลแห่งอโลภะ

มูลธรรมทั้ง ๖ ประการ(เหตุ ๖) ย่อมช่วยอุปการะแก่นามธรรม และรูปธรรมทั้งที่เกิดร่วมกัน ทั้งที่ไม่เกิดร่วมกัน ด้วยประการดังนี้

นี้เป็นนัยที่กล่าวแล้วในพระบาลีสุตตันตะ



จบการแสดงเหตุปัจจัย


แก้ไขล่าสุดโดย ปฤษฎี เมื่อ 23 ธ.ค. 2020, 09:35, แก้ไขแล้ว 4 ครั้ง.

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 30 มิ.ย. 2019, 13:14 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 ก.พ. 2011, 19:56
โพสต์: 1798


 ข้อมูลส่วนตัว


๒. อารัมมณปัจจัย


ธรรมชื่อว่า อารัมมณปัจจัย ?
จิต เจตสิกธรรม แม้ทั้งปวง
รูปธรรม แม้ทั้งปวง
นิพพาน แม้ทั้งปวง
บัญญัติ แม้ทั้งปวง ชื่อว่า อารัมณปัจจัย

ความจริง ธรรมแม้อย่างหนึ่ง ชื่อว่าย่อมไม่เป็นอารมณ์ของจิต เจตสิกทั้งหลายนั้น หามีอยู่ไม่ แต่ว่าโดยย่อ อารมณ์มี ๖ อย่างคือ

๑. รูปารมณ์
๒. สัททารมณ์
๓. คันธารมณ์
๔. รสารมณ์
๕. โผฏฐัพพารมณ์
๖. ธัมมารมณ์



แสดงปัจจยุบันของอารัมณปัจจัย

ธรรมทั้งหลาย เหล่าไหนเป็นปัจจยุบันของอารัมณปัจจัย?
จิต เจตสิกธรรม แม้ทั้งปวงเป็นปัจจยุบันของอารัมณปัจจัย

ความจริง หามีจิตดวงไหนที่เป็นไปเว้นจากวิภูตารมณ์(อารมณ์ที่เด่นชัด) หรือ อวิภูตารมณ์(อารมณ์ที่ไม่เด่นชัด) ไม่



แสดงไขปัจจัย และปัจจยุบันที่จำแนกโดยกาลทั้ง ๓

ในถ้อยคำเหล่านั้น

รูปารมณ์ที่เป็นปัจจุบัน ย่อมเป็นอารัมมณปัจจัยแก่จักขุวิญญาณจิต ๒ ดวง
สัททารมณ์ที่เป็นปัจจุบันย่อมเป็นอารัมมณปัจจัยแก่โสตวิญญาณจิต ๒ ดวง
คันธารมณ์ที่เป็นปัจจุบันย่อมเป็นอารัมมณปัจจัยแก่ฆานวิญญาณจิต ๒ ดวง
รสารมณ์ที่เป็นปัจจุบันย่อมเป็นอารัมมณปัจจัยแก่ชิวหาวิญญาณจิต ๒ ดวง
โผฏฐัพพารมณ์ที่เป็นปัจจุบัน ๓ อย่างย่อมเป็นอารัมมณปัจจัยแก่กายวิญญาณจิต ๒ ดวง
ปัญจารมณ์ที่เป็นปัจจุบันเหล่านั้น ย่อมเป็นอารัมมณปัจจัยแก่มโนธาตุจิต ๓ ดวง
ปัญจารมณ์ที่เป็นอดีต อนาคต ปัจจุบันเหล่านั้นทั้งปวง หรือว่าธัมมารมณ์ที่เป็นไปในกาลทั้ง ๓ หรือที่เป็นกาลวิมุตติทั้งปวง ย่อมเป็นอารัมมณปัจจัยแก่ มโนวิญญาณจิต ๗๖ ดวง ตามสมควร



แสดงเนื้อความแห่งอารัมมณศัพท์ และปัจจัยศัพท์

ถามว่า ชื่อว่าอารมณ์ หมายถึงอะไร ? ชื่อว่า ปัจจัย หมายถึงอะไร ?
ตอบว่า ชื่อว่าอารมณ์ หมายถึงว่า ถูกจิต เจตสิกธรรมทั้งหลายหน่วงเหนี่ยวให้เกิดขึ้น ชื่อว่าปัจจัย หมายถึงว่า ช่วยอุปการะ



แสดงไขความหมายแห่งอารมณ์

ดังจะกล่าวต่อไป ก็ในพระบาลีนี้ว่า อาลัมพิตัพพัฏเฐนะ นี้ มีความหมายว่า กิริยา คือ การหน่วงเหนี่ยวอารมณ์ กิริยา คือการยึดมั่นอารมณ์แห่งจิต และเจตสิกธรรมทั้งหลาย ชื่อว่า อาลัมพณกิริยา



จบการแสดงอารัมมณปัจจัย


แก้ไขล่าสุดโดย ปฤษฎี เมื่อ 02 ก.ค. 2019, 21:10, แก้ไขแล้ว 2 ครั้ง.

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 02 ก.ค. 2019, 21:08 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 ก.พ. 2011, 19:56
โพสต์: 1798


 ข้อมูลส่วนตัว


๓. อธิปติปัจจัย



แสดงอธิปติปัจจัย ๒ อย่าง

อธิปติปัจจัยมี ๒ อย่าง คือ
๑. อารัมณาธิปติปัจจัย
๒. สหชาตาธิปติปัจจัย



แสดงสรุป อารัมณาธิปติปัจจัย โดยสามัญ

บรรดาปัจจัย ๒ อย่างนั้น อารัมณาธิปติปัจจัย เป็นไฉน ?

บรรดาอารมณ์ทั้งหลาย ที่ข้าพเจ้าได้กล่าวไว้แล้วในอารัมณปัจจัย อารมณ์ทั้งหลายเหล่าใด เป็นอารมณ์ที่น่าปรารถนาเหลือเกิน เป็นอารมณ์ที่น่าใครเหลือเกิน เป็นอารมณ์ที่น่าพอใจเหลือเกิน เป็นอารมณ์ที่หนัก อารมณ์ทั้งหลายเหล่านั้น ชื่อว่าอารัมณาธิปติ



แสดงอารมณ์ที่น่าปรารถนาเหลือเกิน

บรรดาถ้อยคำเหล่านั้น บัณฑิตพึงทราบเนื้อความแห่งพระบาลีว่า อติอิฏฐานิ ดังต่อไปนี้

อารมณ์ทั้งหลายที่น่าปรารถนาโดยสภาวะ หรือว่าไม่น่าปรารถนาโดยสภาวะ อารมณ์ทั้งหลายที่บุคคลนั้นๆ มีความปรารถนาเหลือเกิน ชื่อว่า อติอิฏฐารมณ์(อารมณ์ที่น่าปรารถนาเหลือเกิน) ในฐานะแห่งอารัมณาธิปติ



แสดงการเว้นซึ่งธรรมทั้งหลายแห่งอารัมณาธิปติ

ก็โดยธรรมดา เว้น โทสมูลจิตตุบาท ๒ โมหมูลจิตตุบาท ๒ ดวง และ ทุกขสหคตกายวิญญาณจิตตุบาท ๑ ดวง

กามาวจรจิตและเจตสิกธรรมทั้งหลาย รูปาวจรจิต เจตสิก อรูปาวจรจิต เจตสิก และโลกุตตรจิต เจตสิก ธรรมที่เหลือทั้งหลายทั้งปวงที่เป็นอารัมณาธิปติปัจจัย ธรรมเหล่านั้นย่อมเป็นรูปธรรมที่น่าปรารถนาเหลือเกินทั้งหมด



แสดงอธิปติปัจจัยโดยไม่แน่นอนแห่งกามอารมณ์ และอธิปติปัจจัยโดยแน่นอนแห่งมหัคคตอารมณ์ โลกุตตรอารมณ์ แต่ละอย่างๆ ตามที่ตนได้ สำหรับฌานลาภีบุคคล และอริยบุคคลทั้งหลาย

แม้บรรดาธรรมทั้งหลายที่เป็นอารัมมณาธิปติเหล่านั้น กามอารมณ์ทั้งหลาย เมื่อบุคคลปรารถนาถึงอย่างรุนแรงเท่านั้น จึงช่วยอุปการะด้วยอำนาจอารัมณาธิปติปัจจัย สำหรับบุคคลผู้ไม่ปรารถนาถึงอย่างรุนแรง หาช่วยอุปการะด้วยอำนาจแห่งอารัมณาธิปติปัจจัยไม่ หลังจากกล่าวกามอารมณ์แล้ว จะกล่าวมหัคคตอารมณ์และโลกุตตรอารมณ์ต่อไป สำหรับบุคคลผู้ได้ฌาน ชื่อว่าไม่ปรารถนาถึงมหัคคตาฌานที่ตนได้เฉพาะอย่างหนักหน่วง และพระอริยสาวกบุคคลทั้งหลาย ชื่อว่าไม่ปรารถนาถึงโลกุตตรธรรมทั้งหลายที่ตนได้อย่างหนักหน่วง หามีอยู่ไม่



แสดงปัจจยุบันทั้งหลายแห่งอารัมณาธิปติปัจจัย

ธรรมทั้งหลายเหล่าไหน ชื่อว่าธรรมที่เป็นปัจจยุบันแห่งอารัมณาธิปติปัจจัย?

โลภมูลจิต ๘ ดวง กามาวจรกุศลจิต ๘ ดวง กามาวจรญาณสัมปยุตกิริยาจิต ๔ ดวง และโลกุตตรจิต ๘ ดวง ชื่อว่าธรรมที่เป็นปัจจยุบันแห่งอารัมณาธิปติปัจจัยนั้น



แสดงการจำแนกอารัมณาธิปติปัจจัย และปัจจยุบันธรรม

ในถ้อยคำเหล่านั้น บัณฑิตพึงทราบดังต่อไปนี้

อารมณ์ ๖ อย่างที่เป็นโลกียะ ช่วยอุปการะด้วยอำนาจแห่งอารัมณาธิปติปัจจัยแก่โลภมูลจิตทั้งหลาย, โลกียกุศลจิต ๑๗ ดวง ช่วยอุปการะด้วยอำนาจอารัมมณาธิปติปัจจัยแก่ญาณวิปยุตกุศลจิต ๔ ดวง, โลกียกุศลจิต ๑๗ ดวงเหล่านั้น มรรคเบื้องต่ำ ผลเบื้องต่ำ และ นิพพาน ช่วยอุปการะด้วยอำนาจแห่งอารัมณาธิปติปัจจัยแก่ญาณสัมปยุตมหากุศลจิต ๔ ดวง, นิพพานย่อมช่วยอุปการะด้วยอำนาจแห่งอารัมณาธิปติปัจจัยแก่ โลกุตตรจิต ๘ ดวง



แสดงเนื้อความแห่งอารัมณศัพท์ อธิปติศัพท์ พร้อมทั้งอุปมา

ชื่อว่า อารมณ์ เพราะหมายถึงอะไร?
ชื่อว่า อธิปติ เพราะหมายถึงอะไร?
ชื่อว่า อารมณ์ เพราะหมายถึงว่า หน่วงเหนี่ยว
ชื่อว่า อธิปติ เพราะหมายถึงว่า เป็นใหญ่ดุจคณะรัฐบาล
ความหมายที่ท่านกล่าวว่า เป็นใหญ่ดุจคณะรัฐบาล มีว่าอย่างไร

เมื่อจิตและเจตสิกธรรมทั้งหลายเป็นไปอยู่ ความเป็นใหญ่ เพราะหมายถึงว่า ปรารภถึงตนเองอย่างรุนแรง ชื่อว่า ความเป็นคณะรัฐบาล ความเป็นอธิปติ ความเป็นผู้ดูแล

นักศึกษาทั้งหลายพึงเห็นเหมือนอย่างในทางโลก อารัมณาธิปติปัจจัยธรรมทั้งหลายเหมือนกับนายจ้างทั้งหลาย และพึงเห็นปัจจยุบันธรรมทั้งหลายเหมือนกับลูกจ้างทั้งหลาย



แสดงการสืบต่อแห่งปัจจยุบันในอารัมณาธิปติปัจจัยด้วยอุปมา เรื่องพระเจ้าสุตโสม

ในเรื่องพระเจ้าสุตโสม พระราชาพระนามว่าโปริสาท(พระราชากินคน) เพราะปรารภถึงเนื้อคนอย่างรุนแรง จึงสละราชสมบัตเที่ยวไปในป่า เพราะเหตุแห่งเนื้อคนในชาตินั้น ธรรมคือ กลิ่นและรสในเนื้อคนชื่ว่า อารัมณาธิปติปัจจัย, โลภมูลจิตที่มีความชอบใจในเนื้อคนของพระราชาพระนามว่าโปริสาท ชื่อว่าปัจจยุบันธรรม

พระราชาทรงพระนามว่าสุตโสม ทรงแสดงสัจจธรรมได้ลึกซึ้ง เพราะเหตุแห่งสัจจธรรมจึงต้องทิ้งราชสมบัติ หมู่ญาติ และชีวิตของพระองค์ตกอยู่ภายใต้เงื้อมมือของพระเจ้าโปริสาทอีก ในการหวนกลับมาครั้งนั้น สัจจธรรมชื่อว่า อารัมณาธิปติปัจจัย, กุศลจิต ชื่อว่า ปัจจยุบันธรรมแก่พระราชาพระนามว่าสุตโสม

ในอารัมณ์ทั้งหลายที่บุคคลปรารภถึงอย่างหนักหน่วงทั้งปวง บัณฑิตพึงทราบตามนัยนี้


แก้ไขล่าสุดโดย ปฤษฎี เมื่อ 16 ก.ค. 2019, 15:36, แก้ไขแล้ว 1 ครั้ง

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 14 ก.ค. 2019, 15:21 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 ก.พ. 2011, 19:56
โพสต์: 1798


 ข้อมูลส่วนตัว


แสดงสรุปสหชาตาธิปติปัจจัย



สหชาตาธิปติปัจจัย เป็นไฉน?

ธรรม ๔ อย่าง คือ

๑.ฉันทะ
๒.จิตตะ
๓.วิริยะ
๔.วิมังสา
ที่ถึงความเป็นอธิปติชื่อว่า อธิปติปัจจัย.



แสดงสรุปปัจจยุบบันแห่งสหชาตาธิปติปัจจัย

ธรรมทั้งหลายเหล่าไหน ชื่อว่า เป็นปัจจยุบบันแห่งสหชาตาธิปติปัจจัยนั้น?

จิต เจตสิกธรรมทั้งหลายที่ประกอบกับอธิปติปัจจัย และจิตตชรูปธรรมทั้งหลายที่เกิดขึ้นเพราะอธิปติปัจจัย ชื่อว่าปัจจยุบันธรรมแห่งสหชาตาธิปติปัจจัยนั้น.



แสดงความหมายแห่งสหชาตศัพท์ และอธิปติศัพท์

ชื่อว่า สหชาต เพราะหมายถึงอะไร
ชื่อ อธิปติ เพราะหมายถึงอะไร
ชื่อ สหชาต เพราะหมายถึงว่า เกิดร่วมกัน
ชื่อว่า อธิปติ เพราะหมายถึงว่า ครอบงำปัจจยุบธรรมทั้งหลายที่เกิดร่วมกัน

ในถ้อยคำเหล่านั้น คำว่า เกิดร่วมกัน หมายถึงว่า ปัจจัยธรรมใดเมื่อเกิดขึ้นเอง ย่อมยังธรรมทั้งหลายที่เกิดร่วมกันกับตน ให้เกิดร่วมกันกับตนเท่านั้น ชื่อว่าเกิดขึ้นร่วมกันเพราะหมายถึงว่า เกิดขึ้นร่วมกันของปัจจยุบันธรรมที่เกิดร่วมกันกับตนแห่งสหชาตาธิปติปัจจัยนั้น.



แสดงการช่วยอุปการะระหว่างสหชาตาธิปติปัจจัยกับปัจจยุบันธรรมด้วยอุปมา เรื่องพระเจ้าจักรพรรดิ์

ชื่อว่าครอบงำ เพราะหมายถึงว่าปกครอง เหมือนอย่างว่าพระเจ้าจักรพรรดิ์ครอบงำปกครองชาวทวีปทั้งสิ้นด้วยบุญญฤทธิิ์ของตน ย่อมยังชาวทวีปทั้งสิ้นให้เป็นไปในอำนาจของตน และชาวทวีปทั้งสิ้นย่อมเป็นไปในอำนาจของพระเจ้าจักรพรรดิ์นั้น ฉันใด ฉันนั้นก็เหมือนกัน ปัจจัยธรรม ๔ อย่างนี้ที่เข้าถึงฐานะแห่งอธิบดี ย่อมครอบงำ ปกครอง ปัจจยุบันธรรมทั้งหลายที่เกิดร่วมกันในอำนาจของตน และปัจจยุบันธรรมที่เกิดขึ้นร่วมกันเล่า ก็ย่อมเป็นไปในอำนาจของสหชาตาธิปติปัจจัยนั้น



แสดงการช่วยอุปการะระหว่างสหชาตาธิปติปัจจัยกับปัจจยุบันธรรมด้วยอุปมา เรื่องหิน และเสา เป็นต้น

อีกอุปมาหนึ่ง เหมือนอย่างว่า

ในหินและเสา ปถวีธาตุ ครอบงำ ปกครองเตโชธาตุ อาโปธาตุ และวาโยธาตุ ทั้ง ๓ ที่เกิดร่วมกันกับตน ย่อมให้ถึงคติแห่งตน และเตโชธาตุ อาโปธาตุ วาโยธาตุ ทั้ง ๓ ที่เกิดขึ้นร่วมกัน ย่อมคล้อยตามคติแห่งปถวีธาตุนั้น

ในสายน้ำ อาโปธาตุครอบงำ ปกครองปถวีธาตุ เตโชธาตุ และวาโยธาตุ ทั้ง ๓ ที่เกิดร่วมกันกับตน ย่อมให้ถึงคติแห่งตน และปถวีธาตุ เตโชธาตุ และวาโยธาตุ ทั้ง ๓ ที่เกิดร่วมกัน ย่อมคล้อยตามคติแห่งอาโปธาตุนั้น

ในกองไฟ เตโชธาตุครอบงำ ปกครองปถวีธาตุ อาโปธาตุ และวาโยธาตุ ทั้ง ๓ ที่เกิดร่วมกันกับตน ย่อมให้ถึงคติแห่งตน และปถวีธาตุ อาโปธาตุ วาโยธาตุ ทั้ง ๓ ที่เกิดร่วมกัน ย่อมคล้อยตามคติแห่งเตโชธาตุนั้น

ในสายลม วาโยธาตุ ครอบงำ ปกครองปถวีธาตุ อาโปธาตุ และเตโชธาตุ ทั้ง ๓ ที่เกิดร่วมกันกับตน ย่อมให้ถึงคติแห่งตน และปถวีธาตุ อาโปธาตุ และเตโชธาตุ ทั้ง ๓ ที่เกิดขึ้นร่วมกัน ย่อมคล้อยตามคติแห่งวาโยธาตุนั้น

ปัจจัยธรรม ๔ อย่างนี้ที่ถึงฐานะแห่งอธิปติ ก็ฉันนั้นเหมือนกัน ครอบงำ ปกครอง ปัจจยุบันธรรมที่เกิดร่วมกันด้วยกำลังแห่งตน ย่อมให้ดำเนินไปสู่คติแห่งตน, และปัจจยุบันธรรมที่เกิดร่วมกันก็ย่อมเป็นไปตามคติแห่งสหชาตาธิปติปัจจัยนั้น หมายความว่า ครอบงำ ปัจจยุบันธรรมทั้งหลายที่เกิดขึ้นร่วมกันกับตน บัณฑิตทั้งหลายพึงทราบด้วยถ้อยคำตามที่กล่าวมานี้.


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 15 ก.ค. 2019, 09:33 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 ก.พ. 2011, 19:56
โพสต์: 1798


 ข้อมูลส่วนตัว


แสดงสภาวะที่มีกำลังมากกว่ากัน ระหว่างโลภะ กับ ฉันทะ

ในสหชาตาธิปติปัจจัยนี้ หากจะมีพระโจทกาจารย์ทักท้วงว่า ถ้าชื่อว่า อธิปติ เพราะหมายถึงครอบงำปัจจยุบันธรรมทั้งหลายที่เกิดร่วมกัน แม้เมื่อเป็นเช่นนั้น ฉันทะ จงยกไว้ โลภะก็น่าจะชื่อว่า อธิปติด้วยมิใช่หรือ เพราะว่าโลภะนั้น เป็นสภาวะธรรมที่มีกลังมากกว่าฉันทะ เพราะครอบงำปัจจยุบันที่เกิดขึ้นร่วมกันเป็นไป, ควรกล่าวแก้ในข้อนี้ว่า ในพาลปุถุชนทั้งหลายเท่านั้น โลภะมีกำลังมากกว่าฉันทะ แต่ว่าในบัณฑิตทั้งหลาย ฉันทะเท่านั้นเป็นสภาพที่มีกำลังมากกว่าโลภะ เพราะครอบงำปัจจยุบันธรรมทั้งหลายที่เกิดขึ้นร่วมกันเป็นไป, ก็ถ้าว่าโลภะเท่านั้นจะมีกำลังมากกว่าฉันทะแล้วไซร้ เมื่อเป็นเช่นนั้น หมู่สัตว์เหล่านั้นจะพึงละทิ้งภวสมบัติและโภคะสมบัติที่ตกอยู่ในเงื้อมมือของโลภะ บำเพ็ญเนกขัมมธรรม หลุดพ้นไปจากทุกข์ในวัฏฏะได้อย่างไรเล่า ก็เพราะฉันทะเท่านั้นเป็นสภาพมีกำลังมากกว่าโลภะ ฉะนั้น สัตว์ทั้งหลายเหล่านี้จึงทิ้งภวสมบัติ โภคสมบัติ ที่ตกอยู่ในเงื้อมมือแห่งโลภะ บำเพ็ญเนกขัมมธรรม หลุดพ้นไปจากทุกข์ในวัฏฏะได้ เพราะฉะนั้น ฉันทะเท่านั้น เป็นสภาวะธรรมที่มีกำลังมากกว่าโลภะ, ฉันทะเท่านั้นชื่อว่า อธิปติ โลภะหาชื่อว่าอธิปติไม่ แม้ในการทักท้วงถึงโทสะ เป็นต้น บัณฑิตพึงทราบตามนัยที่กล่าวมากนี้.



แสดงอธิปติธรรม ๔ อย่าง ที่เป็นเครื่องอุปการะแก่การงานใหญ่ น้อยในโลกอันกว้างขวางนี้

บัณฑิตพึงทราบ เนื้อความในสหชาตาธิปติปัจจัย ดังต่อไปนี้ เมื่อการงานอันยิ่งใหญ่ของวีรบุคคลที่ทำได้ยากยิ่งปรากฎเฉพาะแล้วในโลก สหชาตาธิปติปัจจัย ๔ เหล่านี้ย่อมเป็นไปเพื่อความสำเร็จแห่งการงาน.



แสดงความแตกต่างแห่ง หีนฉันทบุคคล กับฉันทาธิกบุคคล

ย่อมเป็นไปอย่างไร ชนเป็นอันมากผู้มีฉันทะอันเลว เห็นแล้วซึ่งการงานของวีรบุคคลทั้งหลายที่ยิ่งใหญ่ ที่ทำได้ยากอย่างยิ่ง ย่อมหมดฉันทะ ย่อมไม่ปรารถนาเพื่ออันกระทำ ย่อมหมดความสนใจ ละเลิกไปโดยความคิดว่า นี่ไม่ใช่วิสัยของเรา แต่ว่า ฉันทาธิกบุคคล(บุคคลผู้มากไปด้วยฉันทะ) เห็นแล้วซึ่งการงานของวีรบุคคลทั้งหลายที่มีสภาพเช่นนั้น ย่อมเพิ่มพูนฉันทะย่อมปรารถนาเพื่ออันทำยิ่งขึ้น ย่อมอธิษฐานใจมั่นว่า การงานนี้เป็นวิสัยของเรา บุคคลผู้มากไปด้วยฉันทะ เพิ่มพูนด้วยฉันทะ การงานนั้นยังไม่สำเร็จเพียงใด ย่อมไม่อาจเพื่อจะทิ้งการงานนั้นไว้เสียระหว่างเพียงนั้น เมื่อเป็นเช่นนั้น การงานนั้น แม้เป็นการได้ที่ยิ่งใหญ่มากก็จักต้องสำเร็จในเวลาหนึ่งๆ



แสดงความแตกต่างแห่ง หีนวีริยบุคคล กับ วีริยาธิกบุคคล

ก็ชนเป็นอันมากผู้มีวีริยะย่อหย่อน เห็นแล้วซึ่งการงานทั้งหลาย อันเช่นนั้น ย่อมหมดความเพียร ย่อมถอยกลับด้วยความคิดว่า เมื่อเราทำอยู่ซึ่งการงานนี้ จักต้องได้รับความทุกข์ทางกาย หรือว่าทุกข์ทางใจเป็นอันมาก แต่ว่าวีริยาธิกบุคคล(บุคคลผู้มากไปด้วยความเพียร) เห็นแล้วซึ่งการงานของวีรบุคคลทั้งหลายที่มีสภาพเช่นนั้น ย่อมมีความเพียรยิ่งขึ้นไป ย่อมปรารถนาที่จะลุกขึ้นทำเดี๋ยวนี้นั่นเทียว บุคคลผู้มากไปด้วยความเพียรนั้น เมื่อกระทำอยู่ซึ่งการงานนั้น แม้ได้เสวยอยู่ซึ่งความทุกข์กาย หรือทุกข์ใจ เป็นอันมากสิ้นกาลนาน ย่อมไม่เบื่อหน่ายในการที่จะใช้ความเพียรในการงานนั้น ย่อมไม่อาจเพื่ออันเว้นจากการงานที่จะต้องใช้ความเพียรอันยิ่งใหญ่ ย่อมให้คืนและวันสิ้นไปด้วยความเพียรเช่นนั้น ย่อมประสบซึ่งความสุขทางใจ เมื่อเป็นเช่นนั้น การงานนั้น แม้เป็นการงานที่ยิ่งใหญ่มาก ก็จักต้องสำเร็จในเวลาหนึ่งแน่นอน.



แสดงความแตกต่างแห่งจิตของหีนจิตตบุคคล กับ จิตตาธิกบุคคล

ชนเป็นอันมาก ผู้มีจิตย่อหย่อน เห็นแล้วซึ่งการงานทั้งหลายที่มีสภาพเช่นนั้น ย่อมถอดจิต ย่อมไม่ทำให้เป็นอารมณ์อีก แม้ว่าบุคคลผู้มีจิตมีกำลัง เห็นแล้วซึ่งการงานทั้งหลายที่มีสภาพเช่นนั้น ย่อมมีใจฮึกเหิม ย่อมไม่อาจเพื่อบรรเทาแม้ซึ่งจิต ย่อมมีจิตตามผูกพันในการงานนั้นสิ้นกาลเนืองนิตย์ บุคคลผู้มีจิตฮึกเหิม ย่อมเป็นไปตามอำนาจของจิต เมื่อทำอยู่ซึ่งการงานนั้น ย่อมเสวยทุกข์ทางกาย และทุกข์ทางใจเป็นอันมาก แม้สิ้นกาลนาน บัณฑิตพึงกล่าวไปอย่างนี้ โดยนัยตามที่กล่าวไว้แล้วในฉันทาธิปติ.



แสดงงความแตกต่างแห่งปัญญามันทบุคคล กับปัญญาธิกบุคคล

ชนเป็นอันมาก ผู้มีปัญญาอ่อน เห็นแล้วซึ่งการงานทั้งหลายที่มีสภาพเช่นนั้น ย่อมหมดปัญญา ย่อมมองไม่เห็นแม้ซึ่งเบื้องต้นแห่งการงานทั้งหลาย ย่อมมองไม่เห็นแม้ซึ่งที่สุด ย่อมเป็นเหมือนเข้าไปในเงามืด ย่อมไม่น้อมปัญญาเข้าไปแม้อันทำงานทั้งหลายเหล่านั้น แต่ว่าปัญญาธิกบุคคล(บุคคลผู้มากด้วยปัญญา) บุคคลผู้มีปัญญามา เห็นแล้วซึ่งการงานทั้งหลายที่มีสภาพเช่นนั้น ย่อมเพิ่มพูนปัญญา ย่อมมองเห็นแม้ซึ่งเบื้องต้นแห่งการงานทั้งหลาย ย่อมมองเห็นแม้ซึ่งที่สุด ย่อมมองเห็นแม้ซึ่งอานิสงส์ ย่อมมองเห็นแม้ซึ่งอุบายต่างๆ เพื่อความสำเร็จแห่งการงานโดยง่าย บุคคลผู้มากไปด้วยปัญญานั้น เมื่อกระทำอยู่ซึ่งการงานนั้นแม้สิ้นกาลนาน บัณฑิตพึงกล่าวต่อไปอย่างนี้ โดยนัยตามที่กล่าวไว้แล้วในวีริยาธิปติ แต่ว่าในฐานะนี้ บัณฑิตพึงกล่าวว่า เพื่อพิจารณาการงานอันใหญ่ และเพื่อพิจารณาการงานที่มีสภาวะเช่นเดียวกันนั้น



อาศัยอธิปติปัจจัยธรรม ๔ อย่างทำให้เกิดบุคคลวิเศษ สิ่งวิเศษ และประโยชน์มากมาย

โดยนัยแห่งถ้อยคำตามที่กล่าวมาแล้ว เมื่อการงานของวีรบุคคลที่ยิ่งใหญ่ ที่บุคคลทำได้โดยยากยิ่ง ปรากฎขึ้นเฉพาะแล้วในโลก สหชาตาธิปติปัจจัยธรรม ๔ อย่างเหล่านี้ ย่อมเป็นไปพร้อมเพื่อความสำเร็จแห่งการงาน ก็เพราะอธิปติปัจจัยธรรม ๔ อย่างเหล่านี้ มีปรากฎอยู่ บุคคลผู้วิเศษทั้งหลาย ชื่อว่าย่อมปรากฎอยู่ในโลก, พระสัพพัญญูพุทธเจ้าทั้งหลาย ชื่อว่าย่อมปรากฎอยู่, พระสัพพัญญูโพธิสัตว์เจ้าทั้งหลาย ชื่อว่าย่อมปรากฎอยู่, พระปัจเจกพุทธเจ้าทั้งหลาย ชื่อว่าย่อมปรากฎอยู่, พระปัจเจกโพธิสัตว์เจ้าทั้งหลาย ชื่อว่าย่อมปรากฎอยู่, พระอัครสาวกเจ้าทั้งหลายชื่อว่าย่อมปรากฎอยู่, พระมหาสาวกเจ้าทั้งหลายชื่อว่าย่อมปรากฎอยู่, พระสาวกโพธิสัตว์เจ้าทั้งหลาย ชื่อว่าย่อมปรากฎอยู่,

ด้วยอำนาจแห่งบุคคลผู้วิเศษทั้งหลายเห็นปานนั้น ปัญญาที่วิเศษ ศิลปะที่วิเศษ บริโภควัตถุที่วิเศษทั้งหลาย ย่อมมีเพื่อประโยชน์ เพื่อความเกื้อกูล เพื่อความสุขแก่สัตว์โลกแล



จบการแสดงอธิปติปัจจัย


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 16 ก.ค. 2019, 15:50 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 ก.พ. 2011, 19:56
โพสต์: 1798


 ข้อมูลส่วนตัว


๔. อนันตรปัจจัย



แสดงสรุปอนันตรปัจจัย

อนันตรปัจจัย เป็นไฉน?

ประชุมจิต เจตสิกธรรมที่ดับไปแล้ว ทุกๆขณะ ที่ติดต่อกันไป ชื่อว่า อนันตรปัจจัย



แสดงปัจจยุบบันธรรมแห่งอนันตรปัจจัย

ธรรมชื่อว่า ปัจจยุบบันธรรมแห่งอนันตรปัจจัย?

ประชุมแห่งจิต เจตสิกธรรมที่เกิดขึ้นแล้ว ในขณะ อันมีในภายหลังซึ่งติดต่อกันไปเท่านั้น ชื่อว่า ปัจจยุบบันธรรมแห่งอนันตรปัจจัยนั้น.



แสดงการช่วยอุปการะด้วยอำนาจอนันตรปัจจัย

ในภพหนึ่ง บัณฑิตพึงกล่าวอธิบายดังนี้ว่า
ปฏิสนธิจิต ช่วยอุปการะด้วยอำนาจอนันตรปัจจัยแก่ ปฐมภวังคจิต
ปฐมภวังคจิต ช่วยอุปการะด้วยอำนาจแห่งอนันตรปัจจัยแก่ ทุติยภวังคจิต



แสดงโลภนิกันติกโลภชวนวิถีที่เกิดขึ้นครั้งแรกในภพใหม่ของสัตว์ทั้งหลาย

ก็ในกาลใด ภวนิกันติกตัณหาสหคตจิต(จิตที่ประกอบด้วยตัณหาที่มีความพอใจในการเกิด) ปรารภถึงอัตตภาพใหม่ของตน เป็นไปว่า กายนี้ เป็นเรา กายนี้เป็นตัวตนของเรา ดังนี้ เป็นต้น ย่อมเกิดขึ้นแก่สัตว์นั้นโดยนัยตามที่กล่าวไว้แล้วในธัมมยมกว่า สุทธาวาสานัง ทุติเย อะกุสะเล จิตเต วัตตะมาเน(เมื่ออกุศลจิตดวงที่ ๒ เป็นไปอยู่ แก่พรหมชั้นสุทธาวาสทั้งหลาย) ดังนี้เป็นต้น ในกาลนั้น ภวังคจิต ๒ ขณะ ย่อมไหวก่อน ภายหลงจากภวังคจิตนั้นดับไปแล้ว มโนทวาราวัชชนจิตย่อมเกิดขึ้น หลังจากนั้น ภวนิกันติกโลภชวนจิตทั้งหลาย ๗ ขณะ ย่อมเกิดขึ้นหลังจากนั้น ภวังควาระย่อมเกิดขึ้น

แสดงชวนวิถีที่ประกอบด้วยอุทธัจจะ เพราะปรารภถึงอารมณ์ที่เป็นอดีต ย่อมเป็นไปโดยมากแก่คัพภเสยยกสัตว์(ผู้ที่อยู่ในครรภ์มารดา)

ต่อไปนี้ข้าพเจ้าจะกล่าวแสดงนัยอื่นอีก สัตว์ที่ปฏิสนธิอยู่ในท้องของแม่นั้น ย่อมไม่รับรู้ซึ่งอารมณ์สักอย่างหนึ่งในปัจจุบันภาพ ในกาลนั้น ย่อมตามระลึกถึงอยู่ซึ่งอารมณ์ที่ตนเคยได้รับมาแล้วในภพก่อน แต่เพราะหทยวัตถุมีกำลังอ่อนแอมาก อารมณ์ที่เป็นอดีตที่ตนเคยได้รับมาแล้วนั้น ย่อมไม่แจ่มชัดเลย เพราะปรารภถึงอารมณ์ที่ไม่แจ่มชัดนั้น จิตที่ประกอบด้วยอุทธัจจะเท่านั้น ย่อมเป็นไปโดยมาก.


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 17 ก.ค. 2019, 00:36 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 ก.พ. 2011, 19:56
โพสต์: 1798


 ข้อมูลส่วนตัว


แสดงสัตว์ที่เกิดอยู่ในท้องมารดา มีอายุ ๑ - ๒ เดือน ที่ได้รับทุกขเวทนา โทมนัสสเวทนา และมีเฉพาะกายวิญญาณวิถีกับมโนวิญญาณวิถีเท่านั้นที่เกิดขึ้น

ในกาลใด สัตว์ผู้เกิดในครรภ์ ย่อมเติบโตขึ้นหน่อย มีอายุได้ ๒ เดือนกว่าๆ ในกาลนั้น อินทรีย์ทั้งหลายมีจักขุเป็นต้น ย่อมมีบริบูรณ์ แม้เมื่อเป็นเช่นนั้น เพราะความไม่มีปัจจัยทั้งหลาย มีแสงสว่างเป็นต้น ในท้องมารดา วิญญาณทั้ง ๔ มีจักขุวิญญาณเป็นต้น ย่อมไม่เกิดขึ้น กายวิญญาณและมโนวิญญาณเท่านั้นย่อมเกิดขึ้น สัตว์นั้นย่อมได้รับเฉพาะ ทุกขเวทนา และโทมนัสสเวทนาเป็นอันมาก ในเวลาทั้งหลาย มีเวลาที่มารดาเปลี่ยนอิริยาบถเป็นต้น ถึงเวลาคลอดออกมา ก็ได้รับเฉพาะทุกข์เท่านั้นเป็นอันมาก แม้คลอดออกมาแล้ว วัตถุรูปทั้งหลายยังอ่อนนุ่ม ยังไม่ถึงความกล้าแข็งเพียงไร สัตว์นั้นมีรูปอันอ่อนนุ่มเหลือเกิน ย่อมนอนหงายอยู่ตราบนั้น ย่อมไม่สามารถกำหนดอารมณ์ที่เป็นปัจจุบันอะไรๆ จิตของทารกนั้น ย่อมตามระลึกถึงเฉพาะภพก่อนโดยมาก



แสดงความต่างกันแห่งใบหน้าของทารกผู้มาจากนรกกับสรวงสวรรค์เพราะนึกถึงอารมณ์ในอดีตภพ

ถ้าว่าทารกนั้นย่อมเป็นผู้มาแล้วจากนรกภูมิไซร้ เมื่อเป็นเช่นนั้น ทารกนั้นย่อมมีใบหน้าบูดเบี้ยวเสียเป็นส่วนมาก ทุกๆ ขณะที่ปรารภถึงอารมณ์ทั้งหลายในนรก อันมีในภพก่อน ทารกนั้นย่อมปรากฎใบหน้าบูดเบี้ยว ถ้าว่าทรกนั้นย่อมมาจากสวรรค์ไซร์ เมื่อเป็นเช่นนั้น เพราะปรารภถึงอารมณ์ทั้งหลายอันเป็นทิพย์ในสรวงสวรรค์ ทารกนั้นย่อมมีใบหน้าผ่องใสเป็นส่วนมาก ทารกนั้นย่อมมีใบหน้ายิ้มแย้มแจ่มใสบ่อยๆ.



แสดงเวลาที่วัตถุรูปกล้าแข็ง เพราะรับอารมณ์ในปัจจุบันภพ ทำให้ทารกหลงลืมอารมณ์ในอดีตภพ

ก็ในกาลใด วัตถุรูปทั้งหลาย ย่อมแข็งแรง ถึงความกล้าแข็ง และจิตทั้งหลายของทารกนั้นย่อมเป็นไปบริสุทธิ์อย่างยิ่ง ในกาลนั้น ทารกนั้นเป็นผู้มีรูปไม่อ่อนนุ่ม เล่นสนุกสนานอยู่เพลิดเพลินบันเทิงอยู่ ย่อมจดจำซึ่งอารมณ์ทั้งหลายในปัจจุบันชาติ ย่อมจดจำถ้อยคำของมารดาจิตของทารกนั้นย่อมตามผูกพันถึงอารมณ์ในปัจจุบันชาติ นี้เป็นไปโดยมาก ย่อมหลงลืมซึ่งอดีตชาติ



แสดงการจำแนกเวลาระลึกถึงอดีตภพและการเรียกสัตว์ผู้ไม่หลงลืมอดีตภพนั้นว่า "ผู้ระลึกชาติได้"

หากจะมีคำทักท้วงว่า ก็ในฐานะนี้สัตว์แม้ทั้งปวงย่อมหลงลืมภพก่อนหรือ ก็ควรกล่าวเฉลยว่า ไม่ใช่สัตว์แม้ทั้งปวงหรอกย่อมหลงลืมในฐานะนี้ สัตว์บางตน เพราะถูกควาทุกข์เพราะการอยู่ในท้องของมารดาบับคั้นอย่างเหลือเกิน ย่อมหลงลืมตั้งแต่ในครรภ์ สัตว์บางตนย่อมหลงลืมในเวลาที่คลอดออกมา สัตว์บางตนย่อมหลงลืมในฐานะนี้ แม้ในเวลาภายหลังจากนี้ไป สัตว์บางตนย่อมไม่หลงลืมในเวลาที่ตนเป็นเด็ก แต่ย่อมหลงลืมในเวลาที่ตนเป็นผู้ใหญ่ สัตว์บางตนย่อมไม่หลงลืมเลยตราบชั่วชีวิต แถมยังมีการตามระลึกได้อีกตั้ง ๓ ชาติ สัตว์ผู้ตามระลึกได้ตั้ง ๒ ถึง ๓ ชาติเหล่านี้ ย่อมชื่อว่า สัตว์ผู้ระลึกชาติได้


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 19 ก.ค. 2019, 01:44 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 ก.พ. 2011, 19:56
โพสต์: 1798


 ข้อมูลส่วนตัว


แสดงลำดับที่เป็นไปไม่ขาดแห่งอนันตรปัจจัยที่ช่วยอุปการะติดต่อกันไปโดยความสืบต่อแห่งวิถีจิตที่เป็นไปทางทวาร ๖

ในถ้อยคำเหล่านั้น จำเดิมแต่การที่คลอดออกมาแล้ว วิถีจิตทั้งหลายที่เป็นไปทางทวาร ๖ ย่อมเป็นไป จำเดิมแต่การที่สามารถกำหนดอารมณ์ที่เป็นปัจจุบันได้ วิถีจิตทั้งหลายที่เป็นไปทางทวาร๖ ย่อมเป็นไปบริบูรณ์ จิตที่ดับติดต่อกันไปในลำดับก่อนๆ ย่อมช่วยอุปการะด้วยอำนาจแห่งอนันตรปัจจัยแก่จิตที่เกิดขึ้นในลำดับหลังๆ และชื่อว่าอนันตรปัจจัยนี้ ย่อมสืบเนื่องกันไปเป็นอันเดียวแก่สัตว์ผู้หนึ่งในสังสารวัฏฏ์ อันไม่มีเบื้องต้นและที่สุดโดยทำนองนี้ ในกาลใด สัตว์ได้แล้วซึ่งอรหัตมรรค ย่อมถึงซึ่งความดับสิ้นไปแห่งขันธ์ ๕ ในกาลนั้นเท่านั้น ความสืบเนื่องแห่งสังสารวัฏฏ์นั้นย่อมขาดลง



แสดงเนื้อความแห่งอนันตรศัพท์ และปัจจยศัพท์

ถามว่า ชื่อว่า อนันตร เพราะหมายถึงอะไร?
ชื่อว่า ปัจจัย เพราะหมายถึงอะไร?

ตอบว่า ชื่อว่า อนันตร เพราะหมายถึงว่า ให้ธรรมอื่นที่เป็นเช่นกับตนเกิดขึ้นในลำดับแห่งตน
ชื่อว่า ปัจจัย เพราะหมายถึงว่า ช่วยอุปการะ

ในถ้อยคำเหล่านั้น คำว่า ที่เป็นเช่นกับตน หมายถึงว่า เหมือนกับตน เพราะเป็นไปด้วยอารมณ์ และ คำว่า เป็นไปด้วยกับอารมณ์ หมายถึงว่า ธรรมใดเว้นเสียจากอารมณ์ย่อมไม่สามารถไปได้ ธรรมนั้น ชื่อว่าเป็นไปด้วยกับอารมณ์ บัณฑิตพึงทราบ ความเป็นไปกับด้วยอารมณ์ ตามนัยที่กล่าวมาแล้วนี้, คำว่า ให้ธรรมอื่นเกิดขึ้น หมายถึงว่า แม้เมื่อจิตดวงก่อนดับไปแล้ว ความรวดเร็วแห่งกิริยาที่คิดแห่งดวงจิตนั้น ยังไม่สงบไป จะสงบได้ก็เพราะได้ให้จิตดวงหลังเกิดขึ้นแล้วเท่านั้น ภาวะที่ให้ธรรมอื่นซึ่งมีในภายหลังเกิดขึ้น ชื่อว่า อนันตรปัจจัย.



แสดงการช่วยอุปการะกันระหว่างอนันตรปัจจัย กับ อนันตรปัจจยุบบัน ด้วยอุปมา เรื่องความสืบเนื่องกันระหว่างแม่ กับลูกสาว และความปราศจากหน้าที่แห่งอนันตรปัจจัย ในจุติจิตของพระอรหันต์

ในถ้อยคำเหล่านั้น บัณฑิตพึงเห็นความสืบเนื่องกันแห่งอนันตรปัจจัย เหมือนความสืบเนื่องกันแห่งมารดาผู้เกิดก่อนๆ ความสืบเนื่องกันแห่งอนันตรปัจจยุบันธรรม บัณฑิตพึงเห็นเหมือนความสืบเนื่องกันกับธิดาผู้เกิดภายหลังๆ เมื่อเป็นเช่นนั้น จะไม่พึงมีปัญหาเกิดขึ้นว่า แม้ปรินิพาานจิตซึ่งมีในภายหลังแห่งจิตทั้งปวง จะพึงสามารถให้ธรรมอื่น กล่าวคือ ปฏิสนธิจิตเกิดขึ้นได้อีกหรือเปล่า? ถึงตอบว่า ไม่พึงสามารถให้ธรรมอื่นเกิดขึ้นได้อีก ถามว่า เพราะเหตุไร? ตอบว่า เพราะเหตุว่า ในกาลนั้น ปรินิพพานจิตดวงนั้นสงบระงับอย่างเหลือเกิน เพราะความที่กำลังแห่งกรรม และ กิเลส สงบระงับโดยประการทั้งปวง



จบการแสดงอนันตรปัจจัย


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 20 ก.ค. 2019, 01:32 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 ก.พ. 2011, 19:56
โพสต์: 1798


 ข้อมูลส่วนตัว


๕. สมนันตรปัจจัย



แสดงความเหมือนกันแห่งปัจจัยธรรม กับปัจจยุบันธรรม แห่งอนันตรปัจจัย กับ สมนันตรปัจจัย

บัณฑิตพึงเห็นว่า การแสดงจำแนกปัจจัยธรรม และการแสดงการจำแนกปัจจยุบันธรรมเป็นเช่นเดียวกับอนันตรปัจจัย.



แสดงเนื้อความแห่งสมนันตรศัพท์

ถามว่า ชื่อว่า สมน้นตร เพราะหมายถึงอะไร
ตอบว่า ชื่อว่า สมนันตร เพราะหมายถึง ติดต่อกันไปด้วยดี.



แสดงความเข้าใจผิดของสัตว์ทั้งหลายในนามธรรมทั้งหลายว่า เที่ยงแท้แน่นอน ก็เพราะว่า นามธรรมทั้งหลายไม่มีช่องว่างระหว่างกันและกัน ไม่เหมือนรูปธรรมทั้งหลายที่มีช่องว่าคือปริเฉทรูปคั่นระหว่างรูปกลาปกับรูปกลาปเป็นต้น และเป็นสภาวะที่ไม่มีรูปร่างสัณฐาน

เหมือนอย่างว่า รูปกลาปทั้งหลายในศิลาและเสาเป็นต้น แม้เป็นสภาพเนื่องเป็นอันเดียวกัน ก็ย่อมมีปริเฉทรูปคั่นอยู่ในท่ามกลางนั่นเอง เพราะภาวะที่เป็นรูปธรรมเป็นธรรมชาติที่มีรูปร่างสัณฐาน ธรรมดาระหว่างแห่งช่อง ย่อมมีอยู่นั่นเองในท่ามกลางแห่งรูปกลาปทั้ง ๒ ฉันใด แต่ธรรมดาว่าระหว่างแห่งช่องในท่ามกลางแห่งกลุ่มจิตและเจตสิกทั้งสอง ทั้งที่เกิดก่อน ทั้งที่เกิดหลัง หามีอยู่เช่นนั้นไม่ ก็เพราะว่า จิตและเจตสิกทั้งที่เกิดก่อน ทั้งที่เกิดหลังเหล่านั้น เป็นนามธรรมที่เป็นธรรมชาติที่ว่างเว้นจากรูปร่างสัณฐาน จึงเป็นแต่ธรรมชาติที่ว่างเว้นจากช่องโดยประการทั้งปวง เพราะความไม่มีแห่งช่องอากาศที่ชื่อว่าปริเฉทรูปอะไรๆในท่ามกลาง ธรรมดาช่องระหว่างจิตและเจตสิกทั้ง ๒ ย่อมไม่ปรากฎแม้แก่ชาวโลก เพราะเหตุนั้น สัตว์ทั้งหลายเหล่านั้นจึงสำคัญผิดว่า ชื่อว่าจิต เป็นธรรมชาติที่เที่ยง ยั่งยืน ถาวร และมีความไม่แปรเปลี่ยนเป็นธรรมดา และย่อมมีความเข้าใจผิดในจิตว่า เป็นธรรมชาติที่แน่นอน ด้วยประการฉะนี้, ที่ชื่อว่า สมนันตระ ก็เพราะมีความหมายว่าติดต่อกันไปด้วยดี อย่างไม่มีช่องว่าง ตามที่ได้กล่าวมาแล้วนี้ ก็บทว่า เพราะมีความหมายว่าติดต่อกันไป ข้าพเจ้าก็ได้กล่าวไว้แล้วนั่นเทียวในถ้อยคำที่ว่า เพราะหมายถึงว่าให้ธรรมอย่างอื่นที่เป็นเช่นเดียวกันกับตน เกิดขึ้นในลำดับแห่งตน ดังนี้เป็นต้น


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 21 ก.ค. 2019, 01:33 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 ก.พ. 2011, 19:56
โพสต์: 1798


 ข้อมูลส่วนตัว


แสดงการช่วยอุปการะของอนันตรปัจจัย และสมนันตรปัจจัย แม้ในเวลาที่ห่างตั้ง ๗ วัน ระหว่างเข้าและออกแห่งนิโรธสมาบัติ แม้ในระยะเวลาที่ห่างตั้ง ๕๐๐ มหากัปป์ ก่อนการปฏิสนธิ และภายหลังจุติจิตแห่งอสัญญสัตตพรหม ก็สามารถช่วยทำอุปการะได้

แม้เมื่อเป็นเช่นนั้น ในเวลาที่เข้านิโรธสมาบัติ เนวสัญญานาสัญญายตนจิต ย่อมชื่อว่าจิตดวงก่อน อริยผลจิต ย่อมชื่อจิตดวงหลัง ในเวลาแห่งจิตดวงหน้าและดวงหลังทั้งสองนั้น แม้เป็นระยะเวลา ๑ วัน - ๑ คืน, ๒ วัน - ๒ คืน, ๓ วัน - ๓ คืน, ๔ วัน- ๔ คืน, ๕ วัน - ๕ คืน, ๖ วัน- ๖ คืน, ๗ วัน- ๗ คืน ย่อมหามีจิตไม่, แม้ในอสัญญสัตตภูมิ จุติจิตในกามภพในภพก่อน ชื่อว่า ปุริมจิต, ปฏิสนธิจิตในกามภพในภายหลัง ชื่อว่า ปัจฉิมจิต ในระหว่างจิตดวงหน้าและดวงหลัง ทั้ง ๒ บุคคลเป็นผู้ไม่มีจิตดำรงอยู่ในอสัญญสัตตภูมิ ตั้ง ๕๐๐ มหากัปป์ ในถ้อยคำนั้น หากมีคำถามว่า จิตดวงก่อนทั้ง ๒ นั้น ย่อมสามารถว่างเว้นจากอำนาจปัจจัยที่สามารถให้ธรรมอื่นที่เหมือนกับตนเกิดขึ้นในลำดับแห่งตนได้หรือไม่? พึงตอบว่า ย่อมไม่สามารถให้เกิดขึ้นได้ ถามว่า เพราะอะไร ตอบว่า ก็เพราะจิตดวงก่อนเพิ่งดับลง ส่วนจิตดวงหลังเมื่อเกิดขึ้นย่อมไม่สามารถเกิดขึ้นโดยความต่อเนื่องเป็นอันเดียวกันในขณะนั้น จะเกิดขึ้นได้ต้องใช้เวลานาน ก็เพราะถูกห้ามไว้ด้วยกำลังจิตภาวนามโนปณิธิ(คือการอธิษฐานใจมั่นด้วยกำลังแห่งความอบรมทางจิต)



แสดงการไม่สามารถเว้นจากอำนาจแห่งอนันตรปัจจัย สมนันตรปัจจัย ด้วยอุปมาเรื่องทหาร

ก็ด้วยถ้อยคำมีประมาณเท่านี้ ไม่สามารถพูดได้ว่า ชื่อว่าย่อมไม่มีอำนาจแห่งธรรมอื่นให้เกิดขึ้นในลำดับแห่งจิตดวงก่อนทั้งหลาย หรือสามารถพูดได้ว่า จิตทั้งหลายดวงก่อนๆเหล่านั้น ย่อมไม่ชื่อว่า อนันตรปัจจัยธรรม? มีอุปมาดังต่อไปนี้ ธรรมดาพระราชาย่อมชื่อว่ามีทหารทั้งหลายอยู่ ในกาลบางคราว พระราชาทรงทราบแล้วซึ่งกาล พึงตรัสว่า เจ้าทั้งหลายจงอย่ารบในกาลบัตนี้ บัดนี้ย่อมไม่ใช่เวลารบ แต่เจ้าทั้งหลายจงรบ ในกาลโน้นนั่นเทียว และทหารทั้งหลายเหล่านั้น เมื่อไม่รบอยู่ พึงเที่ยวไปในกาลนั้น เมื่อเป็นเช่นนั้น สามารถพูดได้หรือว่าทหารทั้งหลายเหล่านั้น ชื่อว่าไม่มีความสามารถในการรบ หรือไม่สามารถพูดได้ว่า ทหารเหล่านั้น ชื่อว่ามีความสามารถในการรบ



แสดงการทักท้วงของโจทกาจารย์ ที่กล่าวถึงเรื่องความเกิดขึ้น ตั้งอยู่ และดับไปของนามธรรม เป็นเรื่องที่พวกเขาไม่เคยได้ยิน และจะให้พวกเขาเชื่อได้อย่างไร

ในสมนันตรปัจจัยนี้ อาจารย์ทั้งหลายบางพวกกล่าวไว้อย่างไร กล่าวไว้อย่างนี้ว่า ก็ในสมนันตรปัจจัยนี้ จิต เจตสิกทั้งหลายที่เกิดขึ้นก่อน ทั้งที่เกิดหลังเหล่านั้น เป็นนามธรรมเป็นธรรมชาติที่ว่างเว้นจากรูปร่างสัณฐาน จึงเป็นธรรมชาติที่ว่างเว้นจากช่องโดยประการทั้งปวง เพราะความไม่มีแห่งช่องอากาศที่ชื่อว่าปริเฉทรูปอะไรๆ ในท่ามกลาง ก็เมื่อเป็นเช่นนั้นความเกิดขึ้นอันใด และความดับไปอันใดทุกขณะๆ ของจิตทั้งหลายที่ได้กล่าวไว้แล้ว ด้วยอุปมาเรื่องเสียงกลองและเสียงพิณในอารัมณปัจจัยข้างต้น ความเกิดขึ้นอันนั้น และความดับไปอันนั้น พวกเราทั้งหลายจะพึ่งเชื่อได้อย่างไร จะพึงเชื่อถือได้ ก็โดยความที่จิตต่างๆ ที่เป็นธรรมชาติต่างกันและกัน มีความเปลี่ยนแปลงระหว่างจิตดวงก่อนและดวงหลัง แม้ชั่วขณะปรากฎมีในโลก

เนื้อความนี้กล่าวไว้แล้วนั่นเทียวโดยพิสดารในจิตยมกทีปนี



จบการแสดงสมนันตรปัจจัย


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 28 ก.ค. 2019, 04:20 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 ก.พ. 2011, 19:56
โพสต์: 1798


 ข้อมูลส่วนตัว


๖. สหชาตปัจจัย



แสดงการจำแนกปัจจัยธรรม และปัจจยุบันธรรมในสหชาตปัจจัย

ข้าพเจ้าจะกล่าวแสดงการจำแนกปัจจัยธรรม และการจำแนกปัจจยุบันธรรมต่อไป จิต เจตสิกธรรมทั้งหลาย แม้ทั้งปวงที่เกิดขึ้นร่วมกัน ย่อมเป็นสหชาตธรรมด้วยกัน ย่อมเป็นสหชาตปัจจยุบันด้วย แก่กันและกัน ก็นามขันธ์ ๔ อย่างที่เกิดขึ้นในปฏิสนธิกาลและหทยวัตถุที่เกิดขึ้นร่วมกันกับปฏิสนธินามขันธ์ ๔ ย่อมเป็นสหชาตปัจจัยธรรมด้วย ย่อมเป็นสหชาตปัจจยุบันด้วย แก่กันและกัน, แม้มหาภูติรูป ๔ ย่อมเป็นสหชาตปัจจัยธรรมด้วย ย่อมเป็นสหชาตปัจจยุบันธรรมด้วยแก่กันและกัน กัมมชรูปทั้งหลาย ที่เป็นไปแล้วในอุปาทักขณะแห่งปัญจโวการปฏิสนธิจิต ๑๕ ทั้งปวงด้วย จิตชรูปทั้งหลายที่เกิดขึ้นแล้ว เพราะจิตที่ให้รูปนั้นๆ เกิดขึ้นในอุปาทักขณะแห่งจิตที่ให้รูปนั้นเกิดขึ้นในปวัตติกาลทั้งปวงด้วย ชื่อว่า ปัจจยุบันธรรมแห่งจิตที่เกิดร่วมกัน อุปาทายรูป ๒๔ ทั้งปวง ชื่อว่าปัจจยุบันธรรมแห่งมหาภูติรูปทั้งหลายที่เกิดขึ้นร่วมกัน



แสดงเนื้อความแห่งสหชาตศัพท์ และปัจจัยศัพท์

ถามว่า ชื่อว่า สหชาต เพราะหมายถึงอะไร?
ชื่อว่า ปัจจัย เพราะหมายถึงอะไร?

ตอบว่า ชื่อว่า สหชาต เพราะหมายถึงว่า เกิดขึ้นร่วมกัน
ชื่อว่า ปัจจัย เพราะหมายถึงว่า ช่วยทำอุปการะ

ในถ้อยคำเหล่านั้น บัณฑิตพึงทราบเนื้อความแห่งบทว่า เพราะหมายถึงว่าเกิดขึ้นร่วมกัน ดังต่อไปนี้

ธรรมใดเมื่อเกิดขึ้น ย่อมเกิด ย่อมอุบัติขึ้นเอง พร้อมกันกับธรรมทั้งหลายที่เป็นปัจจยุบันแห่งตนด้วย ย่อมให้ธรรมทั้งหลายที่เป็นปัจจยุบันแห่งตนเกิดขึ้นคือให้อุบัติขึ้นพร้อมกันกับตนด้วย เนื้อความที่เกิดขึ้นเอง และให้ปัจจยุบันธรรมทั้งหลายเกิดขึ้นพร้อมกันกันตนนั้น ชื่อว่าเป็นความหมายแห่งการเกิดร่วมกัน



แสดงอุปมาเรื่อง พระอาทิตย์ และแสงอาทิตย์ ประทีปและแสงประทีป ที่เหมือนการเกิดขึ้นร่วมกันแห่งปัจจัยธรรมกับปัจจยุบันธรรมในสหชาตปัจจัย

มีเรื่องอุปมาอุปมัยให้ทราบดังต่อไปนี้ ธรรมดาพระอาทิตย์ เมื่อโผล่ขึ้นมาย่อมให้ความร้อนแห่งพระอาทิตย์ และแสงสว่างแห่งพระอาทิตย์เกิดขึ้นพร้อมกันกับตนฉันใด และธรรมดาประทีปเมื่อโผล่โพลงขึ้น ย่อมให้ความร้อนแห่งประทีบและแสงสว่างแห่งประทีปโพลงขึ้นมาพร้อมกันกับตน ฉันใด ฉันนั้นก็เหมือนกัน สหชาตปัจจัยธรรมนี้ เมื่อเกิดขึ้น ย่อมให้ปัจจยุบันธรรมทั้งหลายแห่งตนเกิดขึ้นร่วมกันกับตน, ในข้ออุปมานั้น ธรรมดาว่า นามขันธ์แต่ละอย่างๆ พึงเห็นเหมือนกันกับพระอาทิตย์ นามขันธ์ที่เหลือที่ประกอบกับนามขันธ์นั้น พึงเห็นเหมือนกันกับความร้อนแห่งพระอาทิตย์, รูปขันธ์ธรรมทั้งหลายที่เกิดขึ้นร่วมกัน พึงเห็นเหมือนกันกับแสงสว่างแห่งพระอาทิตย์ เหมือนอย่างนั้น มหาภูตรูปแต่ละอย่างๆ พึงเห็นเหมือนกับพระอาทิตย์ มหาภูตธรรมที่เกิดขึ้นร่วมกันที่เหลือ พึงเห็นเหมือนความร้อนแห่งพระอาทิตย์ อุปาทายรูปธรรมทั้งหลายที่เกิดขึ้นร่วมกัน พึงเห็นเหมือนกันกับแสงสว่างแห่งพระอาทิตย์นัยข้ออุปมาอุปมัย แม้ในเรื่องแสงสว่าง บัณฑิตพึงแสดงตามนัยนี้



จบการแสดงสหชาตปัจจัย


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 31 ก.ค. 2019, 02:18 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 ก.พ. 2011, 19:56
โพสต์: 1798


 ข้อมูลส่วนตัว


๗. อัญญมัญญปัจจัย



แสดงการจำแนกปัจจัยธรรม ๒ อย่าง ที่ท่านกล่าวจำแนกไว้แล้วในสหชาตปัจจัย ปัจจัยธรรมใดใดที่ท่านกล่าวไว้แล้ว ปัจจัยธรรมที่ท่านกล่าวจำแนกในสหชาตปัจจัยนั้นๆ ชื่อว่าปัจจัยธรรมด้วย ชื่อว่าปัจจยุบันธรรมด้วย ในอัญญมัญญปัจจัยนี้ นามขันธ์ทั้งหลาย ซึ่งเป็นจิตและเจตสิกแม้ทั้งปวง ย่อมชื่อว่า ปัจจัยธรรมแก่กันและกันด้วย ย่อมชื่อว่าปัจจยุบันแก่กันและกันด้วย มหาภูต ๔ อย่าง ที่เกิดร่วมกัน ย่อมชื่อว่า ปัจจัยธรรมแก่กันและกันด้วย ย่อมชื่อว่าปัจจยุบันธรรมแก่กันและกันด้วย ปัญจโวการปฏิสนธินามขันธ์ทั้งหลายก็ดี หทยวัตถุที่เกิดร่วมกันกับปัญจโวการปฏิสนธินามขันธ์ก็ดี ย่อมชื่อว่า ปัจจัยธรรมแก่กันและกันด้วย ย่อมชื่อว่า ปัจจยุบันธรรมแก่กันและกันด้วย เนื้อความแห่ง อัญญมัญญศัพท์และปัจจัยศัพท์ บัณฑิตพึงทราบได้โดยง่ายแล้ว



แสดงการช่วยอุปการะกันและกันแห่งจิต เจตสิก รูป เปรียบเหมือนกับ ไม้ ๓ อัน ช่วยค้ำยันกันและกันไว้ไม่ให้ล้ม ฉะนั้น

มีอุปมาอุปมัยเปรียบเทียบดังต่อไปนี้

เปรียบเหมือนไม้ ๓ อันที่อาศัยกันและกันตั้งอยู่ ย่อมอาศัยกันและกันด้วย ย่อมถูกกกันและกันอาศัยด้วย บรรดาไม้ ๓ อันนั้น เมื่อไม้อันหนึ่งๆ ยังคงตั้งอยู่ ไม้ทั้ง ๓ อันทั้งหมด ก็ยังคงตั้งอยู่ได้ เมื่อไม้อันหนึ่งๆ ล้มลงอยู่ ไม้ทั้ง ๓ อันทั้งหมด ก็ย่อมล้มลงฉันใด

บัณฑิตพึงทราบ อัญญมัญญปัจจัยธรรม ด้วยอุปมาฉันนั้นเหมือนกัน



แสดงความช่วยอุปการะแก่กันและกันแห่งจิต และเจตสิกธรรมทั้งหลาย แห่งมหาภูตรูปกับอุปาทายรูปทั้งหลาย

ก็ในอัญญมัญญปัจจัย และอัญญมัญญปัจจยุบันธรรม ถ้าอาจารย์บางพวกพึงทักท้วงว่า เจตสิกธรรมทั้งปวง เมื่อไม่ได้ตั้งอยู่ ซึ่งปัจจัยเครื่องสนับสนุน คือจิต ย่อมไม่อาจเพื่ออันเกิดขึ้นด้วยตนเอง ตอบว่า ท่านกล่าวไว้ควรแล้ว ถามว่า เพราะเหตุไร? ตอบว่า เพราะหน้าที่รู้อารมณ์เป็นสภาพถึงก่อนกว่าหน้าที่แห่งเจตสิกทั้งหลาย มีผัสสะเป็นต้น สมดังพระดำรัสที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ว่า มโนปุพพังคะมา ธัมมา (ธรรมทั้งหลายมีใจเป็นสภาพถึงก่อน) เพราะเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวไว้สมควรแล้ว แต่ไม่ควรกล่าวว่า จิต เมื่อไม่ได้อยู่ซึ่งปัจจัยเป็นเครื่องสนับสนุน คือ เจตสิก ย่อมไม่อาจเพื่ออันเกิดขึ้นเอง ข้าพเจ้าจะกล่าวเฉลยต่อไป เพราะเหตุว่า ธรรมดาว่าเจตสิกธรรมทั้งหลาย ย่อมเป็นองค์ที่เป็นสหายแห่งจิต ฉะนั้น เพราะเว้นจากเจตสิกธรรมที่เป็นสหายทั้งหลายเหล่านั้น แม้จิตย่อมไม่สามารถเพื่ออันเกิดขึ้นด้วยตนเองเหมือนกัน บัณฑิตพึงทราบตามนัยนี้เหมือนกัน แม้ในมหาภูตรูป ๔ อย่าง แต่เพราะอุปาทายรูปทั้งหลายเป็นผลแห่งมหาภูตรูปทั้งหลาย บัณฑิตไม่ควรเห็นว่า เป็นองค์ที่เป็นสหาย ถามว่า ก็พระโจทกาจารย์ทักท้วงแล้ว มิใช่หรือว่า อาหารรูปและชีวิตรูป ย่อมเป็นองค์ที่เป็นสหาย เพราะเป็นปัจจัย พิเศษ คือ อาหารปัจจัย และ อินทริยปัจจัย ข้าพเจ้าจะกล่าวเฉยๆ ย่อมเป็นองค์ที่เป็นสหาย เฉพาะในฐิติขณะเท่านั้น หาเป็นองค์ที่เป็นสหายในขณะอุปาทักขณะไม่ แต่ว่าในอัญญมัญญปัจจัยท่านประสงค์ถึงองค์ที่เป็นสหายในอุปาทักขณะ



จบการแสดงอัญญมัญญปัจจัย


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 31 ก.ค. 2019, 03:16 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 ก.พ. 2011, 19:56
โพสต์: 1798


 ข้อมูลส่วนตัว


๘. นิสสสยปัจจัย



แสดงประเภทแห่งนิสสยปัจจัย

นิสสยปัจจัยมี ๓ ปัจจัย คือ
๑. สหชาตนิสสยปัจจัย
๒. วัตถุปุเรชาตนิสสยปัจจัย
๓. วัตถารัมมณปุเรชาตนิสสยปัจจัย



แสดงความเหมือนกันทั้งหมดแห่งปัจจัยธรรมและปัจจยุบันธรรม ระหว่างสหชาตปัจจัยกับสหชาตนิสสยปัจจัย

บรรดานิสสยปัจจัยทั้ง ๓ อย่างนั้น สหชาตนิสสยปัจจัย เป็นไฉน? สหชาตปัจจัยทั้งปวง ชื่อว่า สหชาตนิสสยปัจจัย, เพราะฉะนั้น บัณฑิตพึงทราบการแสดงจำแนกปัจจัยธรรมและการแสดงจำแนกปัจจยุบันธรรม โดยนัยตามที่กล่าวไว้แล้วในสหชาตปัจจัย.



แสดงปัจจัยธรรมและปัจจยุบันธรรมแห่งวัตถุปุเรชาตนิสสยปัจจัย

ก็วัตถุปุเรชาตปัจจัยเป็นไฉน

วัตถุรูป ๖ คือ
๑. จักขุวัตถุ
๒. โสตวัตถุ
๓. ฆานวัตถุ
๔. ชิวหารวัตถุ
๕. กายวัตถุ
๖. หทยวัตถุ

ชื่อว่า วัตถุปุเรชาตปัจจัย วัตถุรูปทั้ง ๖ อย่างเหล่านี้ชื่อว่า ช่วยอุปการะด้วยอำนาจแห่งวัตถุปุเรชาตปัจจัยแก่วิญญาณธาตุ ๗ อย่าง ในปวัตติกาล



แสดงความหมายแห่งถ้อยคำแห่งวัตถุปุเรชาตนิสสยศัพท์

เฉพาะวัตถุรูปเท่านั้นที่เกิดแล้วในกาลก่อน เป็นที่อาศัยแห่งวิญญาณทั้งหลาย ฉะนั้น จึงชื่อว่า วัตถุปุเรชาตนิสสย (วัตถุรูปที่เกิดแล้วในกาลก่อนเป็นที่อาศัยแห่งวิญญาณธาตุทั้งหลาย), บัณฑิตพึงทราบความหมายในบทว่าวัตถุปุเรชาตนั้น ดังต่อไปนี้ ชื่อว่าวัตถุ เพราะหมายถึง เป็นที่อาศัยแห่งจิตและเจตสิกธรรมทั้งหลาย, ชื่อว่า ปุเรชาตัง(เกิดก่อน) หมายถึงว่า เกิดแล้วในขณะที่มีมาก่อน แต่ขณะแห่งความเกิดขึ้นแห่งธรรมที่เป็นปัจจยุบันธรรมแห่งตนๆ



แสดงการที่วัตถุรูปช่วยอุปการะแก่จิตทั้งหลายที่เกิดต่อๆ กัน เริ่มตั้งแต่ปฏิสนธิจิต

ในถ้อยคำเหล่านั้น ปฏิสนธิจิต ในปฏิสนธิขณะนั้น ย่อมเกิดขึ้นอาศัยหทยวัตถุรูปที่เกิดขึ้นร่วมกันกับตนเท่านั้น เพราะความไม่มีแห่งวัตถุรูปที่เกิดมาก่อน (แต่กาลที่ยังไม่ปฏิสนธิ), แต่ปฐมภวังคจิต ย่อมเกิดขึ้นอาศัยวัตถุรูปที่เกิดขึ้นร่วมกันกับปฏิสนธิจิต, ทุติยภวังคจิตย่อมเกิดขึ้นอาศัยวัตถุรูปที่เกิดร่วมกันกับปฐมภวังคจิต, ตติยภวังคจิต ย่อมเกิดขึ้นอาศัยหทยวัตถุรูปที่เกิดร่วมกันกับทุติยภวังคจิต ก็นัยเดียวกันนี้ เริ่มต้นแต่คำถามที่กล่าวมาแล้วนี้จนถึงมรณาสันนกาล บัณฑิตพึงทราบ วัตถุปุเรชาตนิสสยปัจจัยแห่งมโนธาตุและมโนวิญญาณธาตุทั้ง ๒ อย่าง



แสดงความเกิดขึ้นแห่งวิญญาณจิตเป็นตั้ง อุปมาด้วยเสียงพิณ

มีข้ออุปมาดังต่อไปนี้ ธรรมดาว่าเสียงพิณทั้งหลาย ย่อมเกิดด้วยกำลังแห่งการดีด ด้วยไม้แห่งพิณทั้งหลาย ที่สายแห่งพิณทั้งหลาย หาเกิดด้วยวิธีการอย่างอื่นไม่ ฉันใด ธรรมดาว่า ปัญจวิญญาณทั้งหลายก็มีอุปมาฉันนั้นเหมือนกัน ย่อมเกิดด้วยกำลังแห่งการปรากฎทางคลองแห่งรูปารมณ์ สัททารมณ์ เป็นต้น ๕ อย่าง ในทวารทั้ง ๕ อย่าง กล่าวคือ วัตถุรูป ๕ อย่างเท่านั้น, หาเกิดขึ้นโดยประการอื่นไม่



แสดงการช่วยอุปการะแก่ปัญจวิญญาณธาตุแห่งวัตถุรูปทั้งหลาย

ก็การมาปรากฎทางคลอง ย่อมมีเฉพาะในเวลาที่ทวารและอารมณ์เหล่านั้นถึงฐีติขณะเท่านั้น, และเพราะปัจจัยคือการมาปรากฏทางทวาร ภวังค์ย่อมไหว ๒ ครั้ง, และเพราะปัจจัยคือการหวั่นไหวแห่งภวังค์ ปัญจทวารวัชชนจิตที่คำนึงถึงอารมณ์ทางทวารทั้ง ๕ ย่อมเกิดขึ้น, และเพราะปัจจัยคือ อาวัชชนจิต วิญญาณทั้ง ๕ มีจักขุวิญญาณเป็นต้น เหล่านั้น ย่อมเกิดขึ้น, เพราะฉะนั้น วัตถุ ๕ อย่าง มี จักขุวัตถุ เป็นต้น ที่เกิดขึ้นแล้วในอุปาทักขณะแห่งอตีตภวังคจิตที่เกิดมาก่อนที่จักขุวิญญาณเป็นต้นจะเกิดขึ้นเท่านั้น ย่อมช่วยอุปการด้วยอำนาจแห่งวัตถุปุเรชาตปัจจัยแก่ปัญจวิญญาณธาตุทั้งหลาย



แสดงความเป็นวัตถุปุเรชาตนิสสยปัจจัยในมรณาสันนกาล

ก็ในมรณาสันนกาล วัตถุรูป ๖ อย่าง ทั้งปวงย่อมเกิดขึ้น เฉพาะในอุปาทักขณะแห่งภวังคจิตดวงที่ ๑๗ ที่เกิดก่อนแต่จุติจิต เท่านั้น, ในเวลาภายหลังจากอุปาทักขณะแห่งภวังคจิตดวงที่ ๑๗ นั้น ย่อมไม่เกิดขึ้น, เพราะฉะนั้น ในมรณาสันนกาล ภวังคจิตทั้งหลายด้วย ฉทวาริกวิถีจิตทั้งหลายทั้งปวงด้วย จุติจิตด้วย ที่เกิดแล้วในกาลก่อนที่ตนยังไม่เกิดขึ้น, จิตที่เกิดพร้อมกันกันอุปาทักขณะแห่งจิตดวงที่ ๑๗ เป็นต้น เหล่านั้นเท่านั้น ย่อมเกิดขึ้น เพราะอาศัยวัตถุรูปทั้งหลายของตนๆ วัตถุปุเรชาตนิสสยปัจจัย บัณฑิตพึงทราบ โดยถ้อยคำตามที่กล่าวมาแล้ว.



การช่วยอุปการะโดยปัจจัยธรรมกับปัจจยุบันธรรมในวัตถารัมมณปุเรชาตนิสสยปัจจัย

ก็วัตถารัมมณปุเรชาตนิสสยปัจจัยเป็นไฉน?

ในกาลใด มโนวิญญาณจิตของเรา อาศัยแล้วซึ่งหทยวัตุที่น่าชอบใจ เพราะปรารภถึงวัตถุรูปในกายในภายในของตน ฉันใด ย่อมเป็นไป, หทยวัตถุรูปที่อาศัยมโนวิญญาณจิตของเรานี้นั้น ย่อมเป็นไปด้วยอำนาจแห่งความยึดถือแห่งตัณหา, มานะ และทิฏฐิ อย่างนี้ว่า หทยวัตถุรูปที่อาศัยมโนวิญญาณจิตของเรานี้ เป็นสมบัติของเรา หทยวัตถุรูปนี้นั้น เป็นเรา หทยวัตถุรูปนี้นั้นเป็นตัวตนของเรา ดังนี้เป็นต้น หรือว่า มโนทวาริกวิถีจิตทั้งหลายมีอาวัชชนจิตเป็นต้น ย่อมเป็นไป ด้วยการพิจารณาอย่างนี้ว่า หทยวัตถุรูปนี้นั้น ไม่เที่ยง, หทยวัตถุรูปนี้นั้นเป็นทุกข์ หทยวัตถุรูปนี้นั้นเป็นอนัตตา ดังนี้เป็นต้น, ในกาลนั้น วัตถุรูปนั้นๆ แต่ละอย่าง ย่อมเป็นวัตถุที่อาศัยแห่งมโนทวาริกวิถีจิตทั้งหลาย เหล่านั้นด้วย ย่อมเป็นอารมณ์แห่งมโนทวาริกวิถีจิตทั้งหลายเหล่านั้นด้วย เพราะฉะนั้น หทยวัตถุรูปนั้นๆ ย่อมช่วยอุปการะด้วยอำนาจแห่งวัตถารัมณปุเรชาตนิสสยปัจจัยแก่จิตตุบาทที่ปรารภถึงอารมณ์นั้นๆ วัตถารัมณปุเรชาตนิสสยปัจจัย บัณฑิตพึงทราบ โดยคำถามที่กล่าวมาแล้ว, นิสสยปัจจัยย่อมมี ๓ อย่าง ด้วยประการฉะนี้.



แสดงนิสสยปัจจัยตามสุตตันตนัย

แม้นิสสยปัจจัยตามสุตตันตนัย บัณฑิตพึงกล่าวในนิสสยปัจจัยนี้

มนุษย์ทั้งหลายเหล่านี้ หรือ สัตว์เดรัจฉานทั้งหลายเหล่านี้ หรือ ต้นไม้เป็นต้นทั้งหลายเหล่านี้ ตั้งอยู่เฉพาะแล้วบนแผ่นดินใหญ่, และแผ่นดินใหญ่ตั้งอยู่เฉพาะแล้วบนแม้น้ำใหญ่ในภายใต้, และแม้น้ำใหญ่ตั้งอยู่เฉพาะแล้วบนสายลมใหญ่ในภายใต้ และสายลมใหญ่ตั้งอยู่แล้วบนอชฎากาศในภายใต้, มนุษย์ทั้งหลายดำรงอยู่แล้วบนเรือนทั้งหลาย, ภิกษุทั้งหลายดำรงอยู่แล้วในวัดทั้งหลาย, เทวดาทั้งหลายดำรงอยู่แล้วในทิพยวิมานทั้งหลาย, บัณฑิตทั้งหลายครั้นรู้แล้ว ซึ่งความเป็นไปของโลกทั้งปวง โดยนัยตามที่กล่าวมาแล้วอย่างนี้เป็นต้น แล้วจึงพึงทราบถึงนิสสยปัจจัย.



จบการแสดงนิสสยปัจจัย


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 12 ส.ค. 2019, 14:07 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 ก.พ. 2011, 19:56
โพสต์: 1798


 ข้อมูลส่วนตัว


๙. อุปนิสสยปัจจัย



แสดงประเภทแห่งอุปนิสสยปัจจัย

อุปนิสสยปัจจัยมี ๓ อย่าง คือ

๑. อารัมณูปนิสสยปัจจัย
๒. อนัตรูปนิสสยปัจจัย
๓. ปกตูปนิสสยปัจจัย

บรรดาปัจจัยทั้ง ๓ อย่างนั้น อารัมณูปนิสสยปัจจัยก็เหมือนกับอารัมณาธิปติปัจจัย, อนันตรูปนิสสยปัจจัยก็เหมือนกับอนันตรปัจจัย



แสดงปัจจัยธรรมและปัจจยุบันธรรมแห่งปกตูปนิสสยปัจจัย

ปกตูปนิสสยปัจจัย เป็นไฉน?

จิต, เจตสิก, รูปธรรม, นิพพาน, บัญญัติ ที่เป็นกาลทั้ง ๓ คือ อดีต อนาคต ปัจจุบันที่เป็นไปในอัชฌัตตสันดาน, และพหิทธสันดานทั้ง ๒ นิพพาน, บัญญัติ แม้ทั้งปวง ย่อมช่วยอุปการะด้วยอำนาจแห่ง ปกตูปนิสสยปัจจัยแก่ธรรมทั้งหลายทั้งที่เป็นจิตและเจตสิก ตามสมควร.



แสดงการช่วยอุปการะด้วยอำนาจแห่งปกตูปนิสสยปัจจัยโดยอดีตธรรม

ในปกตูปนิสสยปัจจัยนั้น พระพุทธเจ้าของเราทั้งหลาย ผู้ปรินิพพานแล้วในอดีตด้วย พระธรรมด้วย พระอริยสงฆ์ด้วย พระสมมุติสงฆ์ผู้สืบทอดต่อๆ กันมาด้วย ย่อมช่วยอุปการะด้วยอำนาจแห่งปกตูปนิสสยปัจจัย เพื่อความเกิดขึ้นแห่งกุศลธรรมแก่เราทั้งหลาย ผู้เป็นปัจฉิมชน, เหมือนอย่างนั้น ในทางโลก มารดาบิดาทั้งหลาย ผู้ทำกาละล่วงไปแล้วที่ในอดีตด้วย อาจารย์ทั้งหลายด้วย สมณะพราหมณ์ ผู้เป็นบัณฑิตทั้งหลายด้วย อาจารย์เจ้าลัทธิทั้งหลายด้วย พระราชาในปางก่อนทั้งหลาย ผู้มีฤทธิ์มาก ผู้มีอานุภาพมากด้วย ย่อมช่วยอุปการะด้วยอำนาจแห่งปกตูปนิสสยปัจจัย ทั้งเพื่อความเกิดขึ้นแห่งกุศลธรรม ทั้งเพื่อความเกิดขึ้นแห่งอกุศลธรรม ทั้งเพื่อความเกิดขึ้นแห่งความสุข ทั้งเพื่อความเกิดขึ้นแห่งความทุกข์ แก่ชนทั้งหลายผู้มีในภายหลัง, จริงอย่างนั้น มารดา บิดา สมณะ พราหมณ์ ผู้เป็นบัณฑิตทั้งหลายเหล่านั้น เริ่มตั้งไว้แล้ว ซึ่งการบัญญัติสัทธรรมต่างๆ ทั้งหลาย หรือว่าซึ่งการบัญญัติคำสอนต่างๆทั้งหลาย ซึ่งช่วยอุปการะแก่ชาวโลกต่างๆทั้งหลาย เพื่อประโยชน์แก่ปัจฉิมชนตาชนทั้งหลาย, ปัจฉิมชนตาชนทั้งหลาย เมื่อปฏิบัติตามอยู่ตามความเป็นทายาท ในระเบียบของโลก ระเบียบของตระกูล ระเบียบของโคตรทั้งหลาย หรือ ในฐานะแห่งการงานพื้นฐานอาชีพ ศิลปศาสตร์ต่างๆ ทั้งหลาย หรือในการแสดงทิฏฐิต่างๆ ทั้งหลาย ตามที่บัณฑิตผู้มีในกาลก่อนทั้งหลายตั้งไว้แล้ว ในที่ทั้งหลายมี บ้าน นิคม นคร นา สวน บึง สระโบกขรณี และบ่อ เป็นต้น หรือในเรือน ตึก รถ เกวียน เรือ สำเภา สำปั่น เครื่องบิน ยานอวกาศ เป็นต้น หรือในทรัพย์สินทั้งหลาย มี เงิน ทอง พลอย และแก้วมุกดาเป็นต้น ย่อมเจริญขึ้นในทางโลก


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 59 โพสต์ ]  ไปที่หน้า 1, 2, 3, 4  ต่อไป

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 0 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร