วันเวลาปัจจุบัน 26 เม.ย. 2024, 21:27  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง




กลับไปยังกระทู้  [ 11 โพสต์ ]    Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 28 พ.ค. 2015, 12:22 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8123


 ข้อมูลส่วนตัว




20180525_151024.png
20180525_151024.png [ 761.38 KiB | เปิดดู 4292 ครั้ง ]
เรื่อง คันถธุระ
ธุระ คือหน้าที่กิจที่ควรพึงกระทำ
คันถธุระ หมายถึง งานด้านคันถะ, งานด้านการเล่าเรียน, งานเกี่ยวกับคัมภีร์หรือตำรา
โดยรวมคืองานเกี่ยวกับการศึกษาเล่าเรียนพระพุทธพจน์อันเป็นคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า


โดยการเล่าเรียนพระพุทธพจน์บทใดบทหนึ่งหรือพระไตรปิฎกทั้งหมดตามความสามารถแห่ง
สติปัญญาของตน แล้วท่องบ่น ทรงจำ สอนกันบอกกันต่อ ๆ ไป เพื่อรักษาพระพุทธพจน์ไว้
รวมถึงการแนะนำสั่งสอน เผยแพร่พระพุทธพจน์แก่บุคคลทั่วไป

ตลอดทั้งการจัดทำและการรักษาตำราและคัมภีร์ทางพระพุทธศาสนาไว้ด้วย
คันถธุระ เป็นงานที่พระพุทธเจ้าทรงกำหนดให้ภิกษุปฏิบัติอย่างหนึ่งใน ๒ อย่าง
คือ คันถธุระ และ วิปัสสนาธุระ ทั้ง ๒ อย่างนี้ ก็ได้แก่ ปริยัติ และ ปฏิบัติ นั่นเอง

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 28 พ.ค. 2015, 13:13 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8123


 ข้อมูลส่วนตัว


ทั้งสองคำนี้มีความหมายเป็นอย่างเดียวกัน
จิตตภาวนาแปลว่าการอบรมจิตให้ได้สมาธิ และได้ปัญญาในธรรม
ส่วนกรรมฐานนั้นก็แปลว่าตั้งการงาน คือตั้งการปฏิบัติให้ได้สมาธิ ให้ได้ปัญญาเช่นเดียวกัน
จึงแบ่งกรรมฐานเป็น ๒ ได้แก่สมถกรรมฐาน ตั้งการงาน คือปฏิบัติทำจิตให้สงบด้วยวิธีปฏิบัติทางสมาธิ

คำว่า สมถะ แปลว่าสงบ คำว่าสมาธิแปลว่าตั้งมั่นในทางที่ชอบ มีความหมายเป็นอย่างเดียวกัน
สมาธิคือตั้งจิตในทางที่ชอบ ก็คือตั้งจิตไว้ในอารมณ์ของกรรมฐาน เพื่อสงบระงับนิวรณ์
จิตจึงสงบจากนิวรณ์ วิปัสสนากรรมฐาน กรรมฐานคือทำให้ได้ปัญญาเห็นแจ้งรู้จริง
ก็เป็นตัวปัญญาคือความรู้เข้าถึงธรรมนั้นเอง กรรมฐานจึงมี ๒ สมถกรรมฐาน วิปัสสนากรรมฐาน

จิตตภาวนาก็มี ๒ เช่นเดียวกัน ก็คืออบรมจิตให้สงบตั้งมั่น ก็เป็นสมถะเป็นสมาธินั้นเอง
อบรมจิตให้ได้ปัญญาเห็นแจ้งรู้จริงในธรรม ก็เป็นตัวปัญญานั้นเอง ปฏิบัติทำจิตตภาวนา
หรือปฏิบัติทำกรรมฐานจึงเป็นอย่างเดียวกัน และบางทีก็มักจะชอบเรียกกันว่าทำวิปัสสนา
บางทีก็ชอบเรียกกันว่าทำสมาธิ ก็ต้องปฏิบัติกันทั้งสองอย่างนั้นแหละ คือทั้งทำสมาธิและทำวิปัสสนา

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 28 พ.ค. 2015, 13:40 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8123


 ข้อมูลส่วนตัว


แนวทางของการบรรลุธรรมไว้ ๓ แนวทาง
ตามแนวที่ปรากฏในคัมภีร์ คือ
๑.บรรลุธรรมเพราะได้ฟัง
๒.บรรลุธรรมเพราะได้คิด
๓.บรรลุธรรมเพราะได้ปฏิบัติ

ได้บรรลุธรรมขั้นโสดาบันเพราะการฟัง เป็นที่น่าสังเกตว่า
เฉพาะการฟังอย่างเดียวสามารถส่งผลให้ผู้ฟังได้บรรลุธรรมถึงขั้นอรหัตผลนั้น
มีตัวอย่างให้เห็นมากมาย เอาที่เราคุ้นเคยมากที่สุดก็เห็นจะเป็นปัญจวัคคีย์ทั้ง ๕ ซึ่งทั้งหมดนี้
ได้บรรลุอรหัตต์เพราะฟังธรรมเทศนาชื่ออนัตตลักขณสูตรจากพระพุทธองค์

และก็ยังมี พระสารีบุตร พระโมคคัลานะ พระยสะ พระพาหิยะ และอีกมากมาย เอาเฉพาะที่คุ้นๆกัน
โดยเฉพาะ พระสารีบุตรได้ฟังธรรมจากพระอัชสชิ พระโมคคัลลานะฟังจากพระสารีบุตร
ทั้งสองไม่ได้ฟังธรรมโดยตรงจากพระพุทธเจ้าเลย ก็ยังสำเร็จได้

การบรรลุธรรมที่เกิดขึ้นจากการฟังนี้ หากจะพิจารณากรณีตัวอย่างโดยละเอียดจะเห็นว่า
จะบรรลุธรรมขั้นใดขึ้นอยู่กับพื้นเพอุปนิสัยเดิมของผู้นั้นเป็นสำคัญ บางท่านฟังแล้วบรรลุขั้นโสดาบัน
บางท่านได้สกทาคามี อนาคามี หรือบางท่านก็ก้าวกระโดดบรรลุขั้นพระอรหันต์เลยก็มี
การได้ฟังธรรม แล้วได้บรรลุธรรมในระดับต่าง ๆ จึงไม่ใช่เรื่องแปลก
เช่นพระพาหิยะ ได้ฟังธรรมปุ๊บได้สำเร็จเป็นพระอรหันตเลย

ในอรรถกถามังคลัตถทีปนีจึงกล่าวไว้ว่า “การฟังธรรมจากพระพุทธเจ้าแล้วได้บรรลุอรหันต์ ไม่ใช่เรื่องอัศจรรย์”
ที่น่าอัศจรรย์คือ แม้แต่เสียงเพลง เสียงขับร้อง ถ้าผู้ฟังรู้จักพิจารณา ไตร่ตรองโดยอุบายอันแยบคายแล้ว
ย่อมส่งผลให้ผู้ฟังได้บรรลุธรรมได้เช่นเดียวกัน ตัวอย่างในพระคัมภีร์มีให้เห็นมากมาย

เช่น อุตตรมาณพ เดินทางไปประกวดร้องเพลงชิงรางวัล ระหว่างทางก็พบพระพุทธเจ้า ๆ จึงเรียกไปสอบถาม
ทราบความแล้วก็ทรงถามว่า เพลงที่จะร้องเนื้อหาเป็นอย่างไร อุตตรมาณพจึงร้องเพลงให้พระพุทธเจ้าฟัง
แต่พอฟังจบ พระพุทธเจ้าก็บอกว่า เพลงขับแบบนี้ ไม่ถูก ร้องไปไม่มีทางชนะแน่นอน
พระพุทธเจ้าได้แต่งเพลงขับให้อุตตรมาณพใหม่ พร้อมกับให้ท่องจำให้แม่น
เสียงเพลง หรือเสียงเพลงขับ หากประกอบด้วยเนื้อหาที่สะท้อนสัจธรรมความจริงอย่างใดอย่างหนึ่งแล้ว
ย่อมทำให้ผู้ฟังได้เกิดปัญญาญาณถึงขั้นบรรลุธรรมได้เช่นเดียวกัน

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 29 พ.ค. 2015, 06:03 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8123


 ข้อมูลส่วนตัว


เนื้อหาเพลงที่เป็นโจกย์ให้ผู้ท้าชิงร้องแก้ท่านผูกเป็นปัฏฐยาวัตรฉันท์ แปลเป็นภาษาไทยได้ความหมายอย่างนี้

“เป็นใหญ่อย่างไร จึงได้ชื่อว่าเป็นพระราชา
เป็นพระราชาแบบไหน จึงได้ชื่อว่ามีธุลีบนพระเศียร
แบบไหน ? จึงได้ชื่อว่าปราศจากธุลี
แบบไหน ? จึงได้ชื่อว่าเป็นคนพาล”
เพลงตอบโจทย์ที่พระพุทธเจ้าแต่งให้อุตตรมาณพว่าดังนี้

“ผู้เป็นใหญ่ในทวารทั้ง ๖ ชื่อว่าเป็นพระราชา
พระราชาผู้กำหนัด ชื่อว่ามีธุลีบนพระเศียร
ผู้ไม่กำหนด ชื่อว่าปราศจากธุลี
ผู้กำหนัดอยู่เรียกว่าเป็นคนพาล”
บทเพลง ๔ บรรทัดแค่นี้ ส่งผลให้อุตตรมาณพบรรลุโสดาบันทันที

ว่ากันว่า หลังจากเรียนเพลงขับจากพระพุทธเจ้าจนคล่องปากแล้ว
อุตตรมาณพก็ออกเดินทางไปท้าประลอง และในที่สุดก็ประสบชัยชนะ

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 30 พ.ค. 2015, 05:30 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8123


 ข้อมูลส่วนตัว


คัมภีร์มังคลัตถทีปนี ได้เล่าเรื่องพระติสสะเถระ ผู้ปรารภวิปัสสนา ท่านเดินทางผ่านสระปทุม
เวลานั้นมีหญิงสาวคนหนึ่งเก็บดอกบัวอยู่ นางคงจะมีอารมณ์สุนทรีย์ ขณะที่เก็บดอกบัวก็ร้องเพลงไปด้วย
เนื้อเพลงผูกเป็นฉันทลักษณ์เช่นกัน แปลเป็นภาษาไทยได้ความหมายว่า
“ดอกปทุมชื่อโกกนท บานแล้วแต่เช้าตรู่
ถูกแสงพระอาทิตย์แผดเผาให้เหี่ยวแห้งไปฉันใด
สัตว์ทั้งหลายผู้ถึงความเป็นมนุษย์
ย่อมเหี่ยวแห้งไปด้วยกำลังแห่งชราฉันนั้น”
บทเพลงความยาวเพียงแค่ ๔ บรรทัดเท่านี้ ทำให้พระติสสะเถระถึงกับรรลุพระอรหันต์ทันที

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 01 มิ.ย. 2015, 05:57 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8123


 ข้อมูลส่วนตัว


ในคัมภีร์เดียวกันนี้ ได้เล่าถึงชายผู้หนึ่ง พร้อมด้วยบุตรชาย ๗ คนกลับจากป่า ระหว่างที่เดิน
ทางกลับบ้าน ได้ยินเสียงสตรีนางหนึ่งกำลังร้องเพลงขณะตำข้าว เสียงเพลงไพเราะจับใจ
โดยเฉพาะเนื้อเพลงฟังแล้วชวนให้พิจารณา

“สรีระนี้อาศัยหนังมีผิวเหี่ยวแห้ง ถูกชราย่ำยีแล้ว
สรีระนี้ถึงความเป็นอามิส คือเหยื่อแห่งมฤตยู ย่อมตกไปเพราะมรณะ
สรีระนี้เป็นที่อยู่ของหมู่หนอน เต็มไปด้วยซากศพต่าง ๆ
สรีระนี้เป็นภาชนะของไม่สะอาด
สรีระนี้เสมอด้วยท่อนไม้”

สิ้นสุดเสียงเพลง ชายชราพร้อมลูกชายทั้ง ๗ คน บรรลุปัจเจกโพธิญาณทันที
ที่สุดของเรื่องนี้ ท่านสรุปเป็นประเด็นทิ้งไว้อย่างนี้ว่า “แม้เทวาดาและมนุษย์เหล่าอื่น
บรรลุอริยภูมิด้วยอุบายเช่นนี้”

ทำให้เราได้ข้อสรุปเบื้องต้นอย่างหนึ่งว่า เสียงเพลง หรือเสียงเพลงขับ หากประกอบด้วย
เนื้อหาที่สะท้อนสัจธรรมความจริงอย่างใดอย่างหนึ่งแล้ว ย่อมทำให้ผู้ฟังได้เกิดปัญญาญาณ
ถึงขั้นบรรลุธรรมได้เช่นเดียวกัน

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 01 มิ.ย. 2015, 07:05 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 เม.ย. 2009, 02:43
โพสต์: 12232


 ข้อมูลส่วนตัว


ลุงหมาน เขียน:

ทำให้เราได้ข้อสรุปเบื้องต้นอย่างหนึ่งว่า เสียงเพลง หรือเสียงเพลงขับ หากประกอบด้วย
เนื้อหาที่สะท้อนสัจธรรมความจริงอย่างใดอย่างหนึ่งแล้ว ย่อมทำให้ผู้ฟังได้เกิดปัญญาญาณ
ถึงขั้นบรรลุธรรมได้เช่นเดียวกัน


ใช่ครับ

ครั้งแรก...ที่หลวงพ่อพาร้องเพลง...กระผมขัดใจมากๆ เลย ....
(กรรม ....ของคนที่แปลครึ่งๆกลางๆให้เด็กๆเข้าใจว่า..พุทธห้ามขับร้องเพลงเล่นละคร) :b13:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 02 มิ.ย. 2015, 08:35 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8123


 ข้อมูลส่วนตัว


กบนอกกะลา เขียน:
ลุงหมาน เขียน:

ทำให้เราได้ข้อสรุปเบื้องต้นอย่างหนึ่งว่า เสียงเพลง หรือเสียงเพลงขับ หากประกอบด้วย
เนื้อหาที่สะท้อนสัจธรรมความจริงอย่างใดอย่างหนึ่งแล้ว ย่อมทำให้ผู้ฟังได้เกิดปัญญาญาณ
ถึงขั้นบรรลุธรรมได้เช่นเดียวกัน


ใช่ครับ

ครั้งแรก...ที่หลวงพ่อพาร้องเพลง...กระผมขัดใจมากๆ เลย ....
(กรรม ....ของคนที่แปลครึ่งๆกลางๆให้เด็กๆเข้าใจว่า..พุทธห้ามขับร้องเพลงเล่นละคร) :b13:


ตรงนี้ไม่ได้ขับเพลง แต่เป็นการฟังเสียงเพลงที่มีเนื้อหาแก่การบรรลุธรรมครับ

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 02 มิ.ย. 2015, 08:37 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8123


 ข้อมูลส่วนตัว


ในปฐมสมันตปาสาทิกาแปล กล่าวไว้ว่า พระวินัยปิฎกของบุคคลเหล่าใด
ย่อมเป็นไปไม่พร่องทั้งโดยบาลี ทั้งโดยอรรถ ไม่เลอะเลือนพึงทราบว่าบุคลนั้นเป็นผู้มีสติ คติ
และธิติมีประมาณยิ่ง เป็นผู้ใคร่ต่อก่รศึกษา

บุคคลผู้ฉลาดในวินัยปริยัติ ย่อมเป็นเสมือนหนึ่งเป็นมารดาบิดาของบุตร
เพราะว่าการบรรพชาอุปสมบท ข้อปฏิบัติน้อยใหญ่ ความเป็นผู้ฉลาดในอาจาระ
และโคจรของบุตรเหล่านั้น ย่อมมาจากพระวินัยที่พระศาสดาทรงบัญญัติสิกขาบทไว้ทั้งสิ้น

อีกประการหนึ่ง เพราะอาศัยพระวินัยบัญญัติ ศีลที่ประพฤติประฏิบัติแล้ว
ย่อมคุ้มครองกุลบุตรเหล่านั้นให้หมดความสงสัย กล้าพูดในท่ามกลางสงฆ์ กล้าที่โต้แย้งกับฝ่ายตรงข้าม
โดยสหธรรม ย่อมเป็นผู้ปฏิบัติเพื่อความตั้งมั่นแห่งพระสัทธรรม เพราะฉะนั้น เพื่อให้พระวินัยตั้งมั่น
พระผู้มีพระภาคเจ้า ตรัสอานิสงส์ของบุคคลผู้ทรงพระวินัย ๕ ข้อ คือ

๑. กองศีลของบุคคลนั้น ย่อมคุ้มครองรักษาไว้ดีแล้ว
๒. ย่อมเป็นที่พึ่งพิงของเหล่ากุลบุตร
๓. ย่อมเป็นผู้กล้าพูดในท่ามกลางสงฆ์
๔. ย่อมข่มขี่พวกข้าศึกได้ด้วยดี
๕. ย่อมเป็นผู้ปฏิบัติ เพื่อความตั่งมั่นแห่งพระสัทธรรม

อีกประการหนึ่ง บุคคลผู้ทรงพระวินัย ชื่อว่าเป็นทายาทแห่งกุศลธรรม เพราะธรรมเหล่านั่นมีวินัยเป็นมูล
สมจริงดังที่พระองค์ตรัสไว้ว่า

วินัย ย่อมมีเพื่อประโยชน์เพื่อความสังวร (สำรวม)
สังวร ย่อมมีเพื่อประโยชน์แก่ อวิปปฏิสาร (ความไม่เดือดร้อน)
อวิปปฏิสาร ย่อมมีเพื่อประโยชน์แก่ ความปราโมทย์
ความปราโมทย์ ย่อมมีเพื่อประโยชน์แก่ ปิติ
ปิติ ย่อมมีเพื่อประโยชน์แก่ ปัสสัทธิ (ความสงบ)
ปัสสัทธิ ย่อมมีเพื่อประโยชน์แก่ ควาสุข
ควาสุข ย่อมมีเพื่อประโยชน์แก่ สมาธิ
สมาธิ ย่อมมีเพื่อประโยชน์แก่ ยถาภูตญาณทัสสนะ(รู้เห็นตามความเป็นจริง)
ยถาภูตญาณทัสสนะ ย่อมมีเพื่อประโยชน์แก่ นิพพิทา (ความเบื่อหน่าย)
นิพพิทา ย่อมมีเพื่อประโยชน์แก่ วิราคะ(ความสำรอกกิเลส)
วิราคะ ย่อมมีเพื่อประโยชน์แก่ วิมุตติ(ควาหลุดพ้น)
วิมุตตื ย่อมมีเพื่อประโยชน์แก่วิมุตติญาณทัสสนะ(รู้เห็นความหลุดพ้น)
วิมุตตืญาณทัสสนะ ย่อมมีประโยชน์แก่ อนุปาทาปรินิพพาน คือ ความดับสนิทหาเชื้อมิได้

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 05 ก.พ. 2016, 06:34 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 เม.ย. 2009, 02:43
โพสต์: 12232


 ข้อมูลส่วนตัว


ลุงหมาน เขียน:
เรื่อง คันถธุระ
ธุระ คือหน้าที่กิจที่ควรพึงกระทำ
คันถธุระ หมายถึง งานด้านคันถะ, งานด้านการเล่าเรียน, งานเกี่ยวกับคัมภีร์หรือตำรา
โดยรวมคืองานเกี่ยวกับการศึกษาเล่าเรียนพระพุทธพจน์อันเป็นคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า


โดยการเล่าเรียนพระพุทธพจน์บทใดบทหนึ่งหรือพระไตรปิฎกทั้งหมดตามความสามารถแห่ง
สติปัญญาของตน แล้วท่องบ่น ทรงจำ สอนกันบอกกันต่อ ๆ ไป เพื่อรักษาพระพุทธพจน์ไว้
รวมถึงการแนะนำสั่งสอน เผยแพร่พระพุทธพจน์แก่บุคคลทั่วไป

ตลอดทั้งการจัดทำและการรักษาตำราและคัมภีร์ทางพระพุทธศาสนาไว้ด้วย
คันถธุระ เป็นงานที่พระพุทธเจ้าทรงกำหนดให้ภิกษุปฏิบัติอย่างหนึ่งใน ๒ อย่าง
คือ คันถธุระ และ วิปัสสนาธุระ ทั้ง ๒ อย่างนี้ ก็ได้แก่ ปริยัติ และ ปฏิบัติ นั่นเอง


:b8: :b8: :b8:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 06 ก.ค. 2018, 07:08 
 
ออฟไลน์
อาสาสมัคร
อาสาสมัคร
ลงทะเบียนเมื่อ: 17 ก.ย. 2012, 15:32
โพสต์: 2876


 ข้อมูลส่วนตัว


:b8: :b8: :b8:


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 11 โพสต์ ] 

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 118 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร