วันเวลาปัจจุบัน 19 มี.ค. 2024, 18:19  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง




กลับไปยังกระทู้  [ 5 โพสต์ ]    Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 25 มี.ค. 2013, 20:51 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
ผู้จัดการ
ผู้จัดการ
ลงทะเบียนเมื่อ: 27 มี.ค. 2006, 17:34
โพสต์: 7781

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว www


ประมวลภาพ
“สมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ (ฟื้น ชุตินฺธโร)”

วัดสามพระยา วรวิหาร
แขวงวัดสามพระยา เขตพระนคร กรุงเทพฯ


:b8: ขอกราบขอบพระคุณ..ที่มาของรูปภาพ
fb. วัดสามพระยา วรวิหาร (WAT SAM PHRA YA)
และเว็บไซต์วัดสามพระยา watsamphraya.net


:b47: * * * * * * * * * * * * * * * * * :b47:

ย้อนบรรยากาศการศึกษาและการเผยแผ่ธรรมในอดีต
(อาจารย์เสฐียรพงษ์ วรรณปก) :b44: :b50:

http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=7&t=20970

รูปภาพ

รูปภาพ

รูปภาพ

.....................................................
ทำดีได้ดี ทำชั่วได้ชั่ว เป็นกฎตายตัว


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 26 มี.ค. 2013, 21:04 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
ผู้จัดการ
ผู้จัดการ
ลงทะเบียนเมื่อ: 27 มี.ค. 2006, 17:34
โพสต์: 7781

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว www


รูปภาพ

รูปภาพ

รูปภาพ

.....................................................
ทำดีได้ดี ทำชั่วได้ชั่ว เป็นกฎตายตัว


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 30 มี.ค. 2013, 09:22 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
ผู้จัดการ
ผู้จัดการ
ลงทะเบียนเมื่อ: 27 มี.ค. 2006, 17:34
โพสต์: 7781

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว www


รูปภาพ

พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ
ให้สถาปนาสมเด็จพระญาณสังวร (เจริญ สุวฑฺฒโน ป.ธ.๙) ขึ้นเป็น
สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก
นับเป็นสมเด็จพระสังฆราชพระองค์ที่ ๑๙ แห่งกรุงรัตนโกสินทร์
เมื่อวันศุกร์ แรม ๑ ค่ำ เดือน ๕ ปีมะเส็งเอกศก จุลศักราช ๑๓๕๑
ตรงกับวันที่ ๒๑ เมษายน พุทธศักราช ๒๕๓๒
ณ พระอุโบสถ วัดพระศรีรัตนศาสดาราม กรุงเทพมหานคร
ในการนี้ สมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ (ฟื้น ชุตินฺธโร ป.ธ.๙)
ได้เข้าร่วมในพระราชพิธีสถาปนาฯ ด้วย


รูปภาพ

พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงเข้ากราบนมัสการ
สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก
สมเด็จพระสังฆราชพระองค์ที่ ๑๙ แห่งกรุงรัตนโกสินทร์
และสมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ (ฟื้น ชุตินฺธโร ป.ธ.๙)


รูปภาพ

สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก
สมเด็จพระสังฆราชพระองค์ที่ ๑๙ แห่งกรุงรัตนโกสินทร์
ทรงเข้าถวายสักการะสมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ (ฟื้น ชุตินฺธโร ป.ธ.๙)
ณ วัดสามพระยา วรวิหาร เขตพระนคร กรุงเทพมหานคร
โดยมี “พระราชพรหมยาน (หลวงพ่อฤาษีลิงดำ)” วัดท่าซุง
และพระปลัดวิรัช โอภาโส วัดธรรมยาน มาร่วมกันถวายการต้อนรับ


:b42: --------------------------------------- :b42:

สมเด็จพระสังฆราชเป็นพระที่ควรบูชาอย่างยิ่ง
โดย หลวงพ่อฤาษีลิงดำ วัดท่าซุง อ.เมือง จ.อุทัยธานี


• สมเด็จพระสังฆราชเสด็จวัดสามพระยา

ทราบจากท่านผู้ว่าแม่ฮ่องสอนว่ามีคนมาบอกว่า สมเด็จพระสังฆราชเสด็จ เรื่องนี้เป็นปรกติเพราะสมเด็จพระสังฆราชองค์นี้ เป็นพระที่ควรแก่การบูชา ไม่มีเวร มีภัยกับใครๆ ตั้งแต่รับตำแหน่งมา ไม่เคยสร้างความเดือดร้อนให้แก่พระใต้บังคับบัญชา มีแต่เตือนให้สามัคคีกัน

เมื่อท่านเสด็จมา ก็ลุกขึ้นยืนแสดงความเคารพด้วยศรัทธาแท้ คิดว่า “สมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์” ท่านจะยืนรับเหมือนผู้เขียน เห็นท่านนั่งเป็นปรกติ สมเด็จพระสังฆราชท่านเข้ามาถึง ท่านนั่งกับพื้น สมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์นั่งบนเตียงตามปรกติ สมเด็จพระสังฆราชท่านกราบแล้วถวายของ (เครื่องสักการะและของใช้) สมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์พนมมือให้พร

• ท่านที่ควรบูชา

เป็นอันว่าเมื่อเห็นเข้าอย่างนั้น จิตก็มีอารมณ์คิดบูชาสมเด็จพระสังฆราชมากขึ้นอย่างยิ่ง ท่านอาจจะเคารพสมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ในฐานะอะไรเป็นเรื่องของท่าน แต่ที่่เพิ่มความเคารพบูชาสมเด็จพระสังฆราชมากขึ้น เพราะท่านไม่มีมานะ คำว่า มานะ แปลว่า การถือตัวถือตน หรือถือยศถือศักดิ์ โดยคิดว่าเวลานี้ฉันเป็นสังฆราช ใครจะโตกว่าฉันไม่ได้ ฉันต้องโตกว่าทุกคนที่เป็นพระสงฆ์ การตัดมานะตัวนี้ เป็นเรื่องที่่ผู้เขียนบูชาน้ำใจอย่างยิ่ง และบูชาทุกคนที่ตัดได้ ไม่ใช่เฉพาะสมเด็จพระสังฆราชเท่านั้น วันนั้นถือว่าเฮงที่สุด ท่านที่ตัดมานะ หมดการถือตัวถือตน ตามภาษาพระที่่เรียกว่า สังโยชน์ ท่านถือว่ามีความดีสูง ควรแก่การบูชาอย่างยิ่ง ใครบูชา คนนั้นเป็นคนมีอุดมมงคล คือมงคลสูงสุด (หรือเฮงที่สุด)

:b8: (ธัมมวิโมกข์ เมษายน ๒๕๓๓ โดย หลวงพ่อฤๅษีลิงดำ)

รูปภาพ

สมเด็จพระพุฒาจารย์ (เกี่ยว อุปเสโณ) วัดสระเกศ
เข้าถวายสักการะแด่สมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ (ฟื้น ชุตินฺธโร)
ณ วัดสามพระยา วรวิหาร เขตพระนคร กรุงเทพมหานคร


รูปภาพ

สมเด็จพระมหารัชชมังคลาจารย์ (ช่วง วรปุญฺโญ) วัดปากน้ำภาษีเจริญ
กำลังกราบถวายรายงานแด่สมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ (ฟื้น ชุตินฺธโร)
ในพิธีเปิดการฝึกซ้อมอบรมและสอบความรู้พระอุปัชฌาย์ รุ่นที่ ๓๑
เมื่อวันที่ ๒๖ มกราคม ๒๕๓๙ ณ ศาลาอบรมสงฆ์ วัดสามพระยา วรวิหาร


รูปภาพ

สมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ (ฟื้น ชุตินฺธโร)
บันทึกภาพร่วมกับคณะพระภิกษุ สามเณร วัดสามพระยา วรวิหาร
ในภาพ...แถวหลัง รูปที่ ๔ จากซ้าย คือ พระพรหมดิลก (เอื้อน หาสธมฺโม)
เจ้าอาวาสวัดสามพระยา วรวิหาร รูปปัจจุบัน และเจ้าคณะกรุงเทพมหานคร


รูปภาพ

จากซ้าย : สมเด็จพระมหารัชชมังคลาจารย์ (ช่วง วรปุญฺโญ),
พระราชอุทัยกวี (หลวงพ่อพุฒ สุทตฺโต)
วัดมณีสถิตกปิฏฐาราม (วัดทุ่งแก้ว) อ.เมือง จ.อุทัยธานี
และสมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ (ฟื้น ชุตินฺธโร)


รูปภาพ

:b39: แถวหน้าสุด :
สมเด็จพระอริยวงศาคตญาณ สมเด็จพระสังฆราช (ปลด กิตฺติโสภโณ)
สมเด็จพระสังฆราชพระองค์ที่ ๑๔ แห่งกรุงรัตนโกสินทร์
วัดเบญจมบพิตรดุสิตวนาราม ราชวรวิหาร กรุงเทพมหานคร
ทรงฉายพระรูปร่วมกับ “คณะสังฆมนตรี พุทธศักราช ๒๕๐๓” จำนวน ๑๐ รูป
(นับเป็นคณะสังฆมนตรีชุดสุดท้ายในประวัติศาสตร์คณะสงฆ์ไทย)


:b39: แถวที่ ๒ จากซ้าย :
สมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ (ฟื้น ชุตินฺธโร)
วัดสามพระยา วรวิหาร กรุงเทพมหานคร
เมื่อครั้งดำรงสมณศักดิ์ที่ พระธรรมคุณาภรณ์
ขณะเป็นสังฆมนตรีว่าการองค์การศึกษา ฝ่ายมหานิกาย


สมเด็จพระวันรัต (ทรัพย์ โฆสโก)
วัดสังเวชวิศยาราม วรวิหาร กรุงเทพมหานคร
เมื่อครั้งดำรงสมณศักดิ์ที่ พระธรรมรัตนากร
ขณะเป็นสังฆมนตรีว่าการองค์การปกครอง ฝ่ายมหานิกาย


สมเด็จพระอริยวงศาคตญาณ สมเด็จพระสังฆราช (จวน อุฏฺฐายี)
สมเด็จพระสังฆราชพระองค์ที่ ๑๖ แห่งกรุงรัตนโกสินทร์
วัดมกุฏกษัตริยาราม ราชวรวิหาร กรุงเทพมหานคร
เมื่อครั้งทรงดำรงสมณศักดิ์ที่ สมเด็จพระมหาวีรวงศ์
ขณะทรงเป็นสังฆนายก (ฝ่ายธรรมยุต)


สมเด็จพระอริยวงศาคตญาณ สมเด็จพระสังฆราช (ปุ่น ปุณฺณสิริ)
สมเด็จพระสังฆราชพระองค์ที่ ๑๗ แห่งกรุงรัตนโกสินทร์
วัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม ราชวรมหาวิหาร กรุงเทพมหานคร
เมื่อครั้งทรงดำรงสมณศักดิ์ที่ พระธรรมวโรดม
ขณะทรงเป็นสังฆมนตรีว่าการองค์การเผยแผ่ ฝ่ายมหานิกาย


สมเด็จพระสังฆราชเจ้า กรมหลวงชินวราลงกรณ (วาสน์ วาสโน)
สมเด็จพระสังฆราชพระองค์ที่ ๑๘ แห่งกรุงรัตนโกสินทร์
วัดราชบพิธสถิตมหาสีมาราม ราชวรวิหาร กรุงเทพมหานคร
เมื่อครั้งทรงดำรงสมณศักดิ์ที่ พระอุบาลีคุณูปมาจารย์
ขณะทรงเป็นสังฆมนตรีว่าการองค์การสาธารณูปการ ฝ่ายธรรมยุต


:b39: แถวหลังสุด จากซ้าย :
สมเด็จพระสังฆราชเจ้า กรมหลวงวชิรญาณสังวร (เจริญ สุวฑฺฒโน)
สมเด็จพระสังฆราชพระองค์ที่ ๑๙ แห่งกรุงรัตนโกสินทร์
วัดบวรนิเวศวิหาร (วัดบวรนิเวศ ราชวรวิหาร) กรุงเทพมหานคร
เมื่อครั้งทรงดำรงสมณศักดิ์ที่ พระธรรมวราภรณ์
ขณะทรงเป็นสังฆมนตรีช่วยว่าการองค์การปกครอง ฝ่ายธรรมยุต


พระธรรมทัศนาธร (ทองสุก สุทสฺโส)
วัดชนะสงคราม ราชวรมหาวิหาร กรุงเทพมหานคร
ขณะเป็นสังฆมนตรีช่วยว่าการองค์การสาธารณูปการ ฝ่ายมหานิกาย


สมเด็จพระมหาวีรวงศ์ (วิน ธมฺมสาโร)
วัดราชผาติการาม วรวิหาร กรุงเทพมหานคร
เมื่อครั้งดำรงสมณศักดิ์ที่ พระธรรมปาโมกข์
ขณะเป็นสังฆมนตรีช่วยว่าการองค์การศึกษา ฝ่ายธรรมยุต


สมเด็จพระพุทธปาพจนบดี (ทองเจือ จินฺตากโร)
วัดราชบพิธสถิตมหาสีมาราม ราชวรวิหาร กรุงเทพมหานคร
เมื่อครั้งดำรงสมณศักดิ์ที่ พระธรรมจินดาภรณ์
ขณะเป็นสังฆมนตรีช่วยว่าการองค์การเผยแผ่ ฝ่ายธรรมยุต


พระวิสุทธาธิบดี (ไสว ฐิตวีโร)
วัดไตรมิตรวิทยาราม วรวิหาร กรุงเทพมหานคร
เมื่อครั้งดำรงสมณศักดิ์ที่ พระธรรมมหาวีรานุวัตร
ขณะเป็นสังฆมนตรี ฝ่ายมหานิกาย


--------------------------------------------

:b45: หมายเหตุ : โดย สาวิกาน้อย แห่งลานธรรมจักร

(ก) วันที่ ๔ พฤษภาคม พุทธศักราช ๒๕๐๓
สมเด็จพระวันรัต (ปลด กิตฺติโสภโณ)
ได้รับการสถาปนาขึ้นเป็น “สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปรินายก”

วันที่ ๑๐ พฤษภาคม พุทธศักราช ๒๕๐๓
สมเด็จพระมหาวีรวงศ์ (จวน อุฏฺฐายี) เจ้าคณะใหญ่คณะธรรมยุต
ได้รับการแต่งตั้งให้เป็น “สังฆนายก”

วันที่ ๑๒ พฤษภาคม พุทธศักราช ๒๕๐๓
สมเด็จพระมหาวีรวงศ์ (จวน อุฏฺฐายี) สังฆนายก
ได้ลงนามแต่งตั้ง “คณะสังฆมนตรี” ชุดใหม่ จำนวน ๙ รูปดังกล่าว

(ข) องค์กรปกครองคณะสงฆ์ คือ สังฆสภา คณะสังฆมนตรี คณะวินัยธร
ตามพระราชบัญญัติคณะสงฆ์ พุทธศักราช ๒๔๘๔

- สังฆสภา มีสมาชิกไม่เกิน ๔๕ รูป ประกอบด้วย พระเถระชั้นธรรมขึ้นไป
พระคณาจารย์เอก พระเปรียญเอก
มีอำนาจบัญญัติสังฆาณัติ (กฎข้อบังคับของคณะสงฆ์)
และควบคุมการใช้สังฆาณัติของคณะสังฆมนตรี

- คณะสังฆมนตรี ประกอบด้วย สังฆนายก ๑ รูป และสังฆมนตรีไม่เกิน ๙ รูป
มีอำนาจบริหารคณะสงฆ์ โดยมีองค์การรองรับอีก ๔ องค์การคือ
องค์การปกครอง องค์การศึกษา องค์การเผยแผ่ และองค์การสาธารณูปการ

- คณะวินัยธร ประกอบด้วย ประธานคณะวินัยธร และคณะวินัยธรชั้นต่างๆ
ซึ่งแบ่งเป็น ๓ ชั้น คือ ชั้นต้น ชั้นอุทธรณ์ ชั้นฎีกา
มีอำนาจพิจารณาวินิจฉัยอธิกรณ์ที่เกิดขึ้นในคณะสงฆ์

องค์กรทั้ง ๓ ได้รวมกันเป็น “มหาเถรสมาคม - มส.” ในปัจจุบัน
ตามพระราชบัญญัติคณะสงฆ์ พุทธศักราช ๒๕๐๕

สังฆสภา เทียบได้กับ รัฐสภา ของฝ่ายอาณาจักร
คณะสังฆมนตรี เทียบได้กับ คณะรัฐมนตรี ของฝ่ายอาณาจักร
คณะวินัยธร เทียบได้กับ คณะตุลาการ ของฝ่ายอาณาจักร

(ค) คณะสังฆมนตรีชุดสุดท้ายในประวัติศาสตร์คณะสงฆ์ไทยชุดนี้
มีวาระอยู่ในตำแหน่งในระหว่างวันที่สมเด็จฯ จวน อุฏฺฐายี สังฆนายก
ได้ลงนามแต่งตั้ง “คณะสังฆมนตรี” ชุดนี้ จำนวน ๙ รูปแล้ว
(แต่งตั้งเมื่อวันที่ ๑๒ พฤษภาคม พุทธศักราช ๒๕๐๓)
และก่อนมีการยกเลิกพระราชบัญญัติคณะสงฆ์ พุทธศักราช ๒๔๘๔
เพื่อมาประกาศใช้พระราชบัญญัติคณะสงฆ์ฉบับใหม่แทน
คือ พระราชบัญญัติคณะสงฆ์ พุทธศักราช ๒๕๐๕
อันมีผลทำให้มีการยกเลิก สังฆสภา คณะสังฆมนตรี และคณะวินัยธร ทั้งหมด
(ฉบับใหม่มีผลบังคับใช้เมื่อวันที่ ๑ มกราคม พุทธศักราช ๒๕๐๖)

.....................................................
ทำดีได้ดี ทำชั่วได้ชั่ว เป็นกฎตายตัว


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 30 มี.ค. 2013, 09:22 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
ผู้จัดการ
ผู้จัดการ
ลงทะเบียนเมื่อ: 27 มี.ค. 2006, 17:34
โพสต์: 7781

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว www


สมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ (ฟื้น ชุตินฺธโร)
กับพระราชพรหมยาน (หลวงพ่อฤาษีลิงดำ) วัดท่าซุง


รูปภาพ

รูปภาพ

รูปภาพ

รูปภาพ

รูปภาพ

รูปภาพ

รูปภาพ

.....................................................
ทำดีได้ดี ทำชั่วได้ชั่ว เป็นกฎตายตัว


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 30 มี.ค. 2013, 10:01 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
ผู้จัดการ
ผู้จัดการ
ลงทะเบียนเมื่อ: 27 มี.ค. 2006, 17:34
โพสต์: 7781

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว www


รูปภาพ

ในการเสด็จพระราชดำเนินพระราชทานผ้าพระกฐิน
ณ วัดสามพระยา วรวิหาร เมื่อปีพุทธศักราช ๒๕๐๔


รูปภาพ

ในการพระราชพิธีเฉลิมพระชนมพรรษา ๕ ธันวาคม พุทธศักราช ๒๕๑๘
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงประเคนสุพรรณบัฏ
แด่พระธรรมปัญญาบดี (ฟิ้น ชุตินฺธโร ป.ธ.๙) วัดสามพระยา วรวิหาร
เพื่อพระราชทานสถาปนาสมณศักดิ์เป็นสมเด็จพระราชาคณะ
ในพระราชทินนามที่ “สมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์”
มีนามตามจารึกในสุพรรณบัฏว่า สมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์
ญาณอดุลสุนทรนายก ตรีปิฎกปฏิภาณพิเศษ สุตตันตประเภทโกศล
วิมลมหันตคณาทร มหาคณิสสร บวรสังฆาราม คามวาสี อรัณยวาสี


รูปภาพ

สมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฎราชกุมาร
ทรงถวายเครื่องสักการะแด่สมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ (ฟื้น ชุตินฺธโร)
ณ วัดสามพระยา วรวิหาร เขตพระนคร กรุงเทพมหานคร


:b47: :b40: :b47:

คติพจน์
สมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ (ฟื้น ชุตินฺธโร)

ตายเพื่ออยู่ ดีกว่าอยู่เพื่อตาย
ประหยัดสูง ประโยชน์สูง
มีเกินใช้ ได้เกินเสีย = รวย
เสียเกินได้ ใช้เกินมี = จน
ถึงเหนื่อยยากแล้วเหนื่อยหาย
แต่เครื่องหมายความดียังมีอยู่

http://www.watsamphraya.net/forum/topic-490.html

รูปภาพ

ในงานพระราชพิธีถวายเพลิงพระศพ
สมเด็จพระอริยวงศาคตญาณ สมเด็จพระสังฆราช (วาสน์ วาสโน)
สมเด็จพระสังฆราชพระองค์ที่ ๑๘ แห่งกรุงรัตนโกสินทร์
เมื่อวันเสาร์ที่ ๑๘ มีนาคม พุทธศักราช ๒๕๓๒
ณ พระเมรุหลวงหน้าพลับพลาอิศริยาภรณ์ สุสานหลวง
วัดเทพศิรินทราวาส ราชวรวิหาร กรุงเทพมหานคร


:b44: แถวหน้าสุด จากซ้าย :
สมเด็จพระวันรัต (จับ ฐิตธมฺโม)
วัดโสมนัส ราชวรวิหาร กรุงเทพมหานคร


สมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ (ฟื้น ชุตินฺธโร)
วัดสามพระยา วรวิหาร กรุงเทพมหานคร


สมเด็จพระมหาวีรวงศ์ (วิน ธมฺมสาโร)
วัดราชผาติการาม วรวิหาร กรุงเทพมหานคร

สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช (เจริญ สุวฑฺฒโน)
สมเด็จพระสังฆราชพระองค์ที่ ๑๙ แห่งกรุงรัตนโกสินทร์
วัดบวรนิเวศวิหาร กรุงเทพมหานคร
เมื่อครั้งทรงดำรงสมณศักดิ์ที่ สมเด็จพระญาณสังวร

สมเด็จพระพุทธปาพจนบดี (ทองเจือ จินฺตากโร)
วัดราชบพิธสถิตมหาสีมาราม ราชวรวิหาร กรุงเทพมหานคร

สมเด็จพระมหามุนีวงศ์ (สนั่น จนฺทปชฺโชโต)
วัดนรนาถสุนทริการาม กรุงเทพมหานคร


:b44: แถวที่ ๒ จากซ้าย :
สมเด็จพระพุทธชินวงศ์ (สุวรรณ สุวณฺณโชโต)
วัดเบญจมบพิตรดุสิตวนาราม ราชวรวิหาร กรุงเทพมหานคร

[องค์ใส่แว่นตา นั่งหันหน้าไปทางด้านหลัง]

สมเด็จพระพุฒาจารย์ (เกี่ยว อุปเสโณ)
วัดสระเกศ ราชวรมหาวิหาร กรุงเทพมหานคร

[องค์ที่เห็นเฉพาะศีรษะ นั่งด้านหลังสมเด็จพระญาณสังวรฯ]


:b44: แถวที่ ๓ จากซ้าย :
สมเด็จพระมหาธีราจารย์ (นิยม ฐานิสฺสโร)
วัดชนะสงคราม ราชวรมหาวิหาร กรุงเทพมหานคร

สมเด็จพระมหารัชชมังคลาจารย์ (ช่วง วรปุญฺโญ)
วัดปากน้ำ ภาษีเจริญ กรุงเทพมหานคร

สมเด็จพระญาณวโรดม (ประยูร สนฺตงฺกุโร)
วัดเทพศิรินทราวาส ราชวรวิหาร กรุงเทพมหานคร


:b45: หมายเหตุ : (๑) สมเด็จพระราชาคณะในยุคนั้น
ที่ไม่ได้มาร่วมในงานพระราชพิธีถวายเพลิงพระศพฯ
คือ สมเด็จพระพุฒาจารย์ (อาจ อาสโภ)
วัดมหาธาตุยุวราชรังสฤษฎิ์ ราชวรมหาวิหาร กรุงเทพมหานคร
ซึ่งน่าจะด้วยเหตุผลเพราะท่านชราภาพหรืออาพาธอยู่

(๒) ณ ปีพุทธศักราช ๒๕๕๘
สมเด็จพระมหารัชชมังคลาจารย์ (ช่วง วรปุญฺโญ)
เป็นพระมหาเถระเพียงองค์เดียวในภาพข้างต้นที่ยังมีชีวิตอยู่


:b47: :b40: :b47:

ประมวลภาพ...พระราชพิธีถวายเพลิงพระศพ
สมเด็จพระสังฆราช (วาสน์ วาสโน)

http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=22&t=49647

.....................................................
ทำดีได้ดี ทำชั่วได้ชั่ว เป็นกฎตายตัว


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 5 โพสต์ ] 

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

่กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 1 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร