วันเวลาปัจจุบัน 28 เม.ย. 2024, 03:57  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง




กลับไปยังกระทู้  [ 155 โพสต์ ]  ไปที่หน้า 1, 2, 3, 4, 5 ... 11  ต่อไป  Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 05 ม.ค. 2012, 10:37 
 
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 7
สมาชิก ระดับ 7
ลงทะเบียนเมื่อ: 03 ต.ค. 2011, 15:47
โพสต์: 539


 ข้อมูลส่วนตัว


อดีตไม่เอา อนาคตไม่เอา เอาปัจจุบันเป็นหลักใช้ชีวิตให้เป็นปกติในชีวิตประจำวันไม่กระทบไม่พิจารณา
- ตาเห็นสิ่งนั้น เช่น โต๊ะ พัดลม สุนัข คน เพดาน คอมพิวเตอร์ "ไม่เที่ยง เกิดดับ" ย้อนมาที่ตัวเรา "เราก็ไม่เที่ยง เกิดดับ"
- หูได้ยินเสียง พิจารณา "เสียงไม่เที่ยงเกิดดับ" ย้อนมาที่ตัวเรา "เราก็ไม่เที่ยง เกิดดับ"
- จมูกได้กลิ่น พิจารณา "กลิ่นไม่เที่ยงเกิดดับ" ย้อนมาที่ตัวเรา "เราก็ไม่เที่ยง เกิดดับ"
- ลิ้นได้รส พิจารณา "รสไม่เที่ยงเกิดดับ" ย้อนมาที่ตัวเรา "เราก็ไม่เที่ยง เกิดดับ"
- สัมผัส ร้อน เย็น แข็ง อ่อน ตึง ไหว เจ็บ ปวด เช่น "ร้อนไม่เที่ยงเกิดดับ" ย้อนมาที่ตัวเรา "เราก็ไม่เที่ยง เกิดดับ"
- ใจคิดลึก พิจารณา "ใจคิดลึกไม่เที่ยงเกิดดับ" ย้อนมาที่ตัวเรา "เราก็ไม่เที่ยง เกิดดับ"

วิปัสสนาเพื่อพิจาณาขันธ์ 5 และอินทรีย์ 6

ค่อยๆ ฝึกสะสมจากเล็กไปมากเพื่อให้เกิดปัญญาขึ้นทีละเล็กทีีละน้อย ปัญญาก็จะเพิ่มมากขึ้น
เป็นการวิปัสสนาเพื่อให้เกิดปัญญาดับเหตุแห่งทุกข์ ไม่ให้ความพอใจ ไม่พอใจ เข้ามาแทนที่
เติมความจริงให้มากอย่างน้อยวันละ 1 ชั่วโมง ชีวิตของเราก็จะดีขึ้นภายใน 7 วัน นี่เป็นสิ่งที่ท่านมองเห็น คือมองเห็นตามความเป็นจริงของธรรมชาติว่าสรรพสิ่ง ไม่เที่ยง มีเกิดขึ้น มีดับไป เกิดจากเหตุและปัจจัยมาประชุมกัน สุดท้ายก็แตกสลายหายไป ไม่มีตัวตนของสิ่งนั้น
ไม่ใช่ไปนั่งทำสมาธิไปติดสุขจากการทำสมาธิ เพราะสมาธิคือความสงบ เมื่อสงบเราก็สบายใจ เมื่อเลิกทำก็ทุกข์เหมือนเิดิม เมื่อทุกข์ก็กลับไปทำใหม่ ไม่ต่างอะไรกับกินเหล้า ดูหนัง ฟังเพลง เที่ยวรอบโลก กลับมาทุกข์เหมือนเดิม เพราะสมาธิที่ทำคือ มิจฉาสมาธิ คือไม่มีปัญญาประกอบนั้นเอง หากจะทำสมาธิต้องมีปัญญาประกอบ เพื่อให้บรรลุมรรคผลในขั้นต่อไปเร็วขึ้น แล้วปัญญามาจากไหนก็มาจากการวิปัสสนานั้นเองอั้นนี้พิสูจน์ได้

"ไม่เที่ยง เกิดดับ" ผู้ปฏิบัติย่อมรู้เอง


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 05 ม.ค. 2012, 17:10 
 
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 5
สมาชิก ระดับ 5
ลงทะเบียนเมื่อ: 28 ธ.ค. 2011, 16:32
โพสต์: 324


 ข้อมูลส่วนตัว


**สวัสดีครับพี่ ไม่เที่ยง เกิดดับ
**ผมกังวลนิดหน่อยว่าเดี๋ยวกระทู้นี้จะกลายเป็นประเด็นใหม่ของการเข้าใจผิดระหว่าง 2 แนวทางที่ถูกแบ่งขึ้นมาโดยนักปฏิบัติระดับฆราวาส ที่มีให้เห็นอยู่เกือบทุกๆกระทู้ครับ ก็เลยอยากกราบขอร้องทุกท่านที่มีความเห็นไม่ตรง ไม่เข้ากับแนวปฏิบัติของตนที่ได้รู้ได้ปฏิบัติมา ก็ขอให้เพียงแต่เข้ามาอ่านและปล่อยผ่านไปถ้าคิดว่าไม่ถูกไม่เป็นประโยชน์ หรือถ้ามีข้อสงสัยก็ขอให้โพ้สในลักษณะ ปุจฉา แล้วรอการ วิสัชนา จากคนที่ท่านต้องการถาม ถ้าคำตอบยังไม่ทำให้หายสงสัยข้องใจ ก็ ปุจฉา ต่อไปอีกเรื่อยๆ จนลงใจหรือท่านได้คำตอบที่กระจ่างใจ ไม่ว่าถูกไม่ว่าผิดอย่างไรเราก็อย่าวิจารณ์ หรือ ทำเชิงแดกดัน ทำอย่างนี้ทั้งตัวท่านและผู้อ่านคนอื่นๆก็จะได้ประโยชน์อย่างที่สุดครับ
**อารัมภบทซะยาวเลยนะผมเนี่ย ^^ ผมขออนุโมทนาฯกับธรรมที่พี่ ไม่เที่ยง เกิดดับ เมตตานำมาบอกกล่าวกันด้วยนะครับ :b8: ผมเองหลังจากสึกมาก็พิจารณาลักษณะนี้อยู่เนืองๆเช่นกันครับ ตามที่พระอาจารย์ท่านสอนไว้ว่า ว่างจากงานจากการเมื่อไหร่ ให้หมั่นพิจารณา ให้มีสติอยู่กับตัว อย่าเผลอ ถ้าเผลอตัวเผลอใจเมื่อได้สติก็ให้ตั้งสติดึงจิตเข้ามาพิจารณา กาย เวทนา จิต ธรรม หรือจะบริกรรมพุทโธให้จิตสงบไม่ไปวอกแวกวุ่นวายกับเรื่องภายนอกก็ได้ ซึ่งก็ได้ปฏิบัติตามและเกิดผลเป็นที่น่าพอใจขึ้นเรื่อยๆครับ
**ตอนนี้ก็เลยตั้งใจว่าจะเริ่มพิจารณา กาย ให้ชำนาญขึ้นให้ได้ ซึ่งแน่นอนว่าก็ต้องฝึกต้องขัดเกลา สมาธิ ให้ตั้งมั่น ให้มั่นคง แข็งแรง ขึ้นด้วยเช่นกัน เพราะปัญญาจะละเอียดมากน้อยก็ขึ้นอยู่กับว่า สมาธิ เราละเอียดมากน้อยเพียงใดเช่นกัน ก็หวังว่าวันหนึ่งจะเกิดความรู้ขึ้นในใจจนสามารถพอจะแนะนำผู้อื่นได้บ้าง
**จิตคือผู้รู้ ใจเป็นผู้รับ สิ่งที่จิตรู้ไม่ใช่ว่าใจจะยอมรับ จนเมื่อใจรับเท่านั้นจริงเรียกว่ารู้แจ้ง**


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 05 ม.ค. 2012, 17:58 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 8
สมาชิก ระดับ 8
ลงทะเบียนเมื่อ: 16 ก.พ. 2009, 20:42
โพสต์: 699


 ข้อมูลส่วนตัว


มิจฉาทิฎฐิ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 05 ม.ค. 2012, 21:45 
 
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 7
สมาชิก ระดับ 7
ลงทะเบียนเมื่อ: 03 ต.ค. 2011, 15:47
โพสต์: 539


 ข้อมูลส่วนตัว


เพราะติดความสงบจากการทำสมาธิ จึงต้องทำอีกทุกครั้งที่ทุกข์ ท่านสามารถดับทุกข์ได้หรือไม่ถ้าหากมีสิ่งมากระทบ เช่น เสียงด่า เสียงไพเราะ สิ่งยั่วยุทางตา ทางกาย ทางกลิ่น ทางรส ท่านยังเกิดความพอใจ ไม่พอใจ เมื่อมีสิ่งพวกนี้มากระทบ อย่าลืมนะว่าพระไตรปิฎกสอนเรื่องทุกข์ และการดับทุกข์เท่านี้น


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 05 ม.ค. 2012, 22:37 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 เม.ย. 2009, 02:43
โพสต์: 12232


 ข้อมูลส่วนตัว


การพิจารณา...ต้องพิจารณาขณะที่ใจมีความสงบ

ความสงบของใจ...สังเกตุได้ว่าไม่มีนิวรณ์

สิ่งที่ได้จากการพิจารณา..มันจะบอกเหตุผลเราได้หมดว่า..
ทำไม...มันจึงพอใจ...ทำไมมันถึง...ไม่พอใจ...จากผัสสะนั้น ๆ
ทำไมสิ่งเหล่านั้นมันจึงไร้สาระ

นอกไปจากนี้แล้ว...การพิจารณาก็เป็นเหตุผลของสังขารความคิดความจดความจำธรรมดา


แก้ไขล่าสุดโดย กบนอกกะลา เมื่อ 05 ม.ค. 2012, 22:56, แก้ไขแล้ว 2 ครั้ง.

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 05 ม.ค. 2012, 22:48 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 เม.ย. 2009, 02:43
โพสต์: 12232


 ข้อมูลส่วนตัว


การฟังเทศน์ก็เช่นเดียวกัน...

ขณะฟัง..ใจก็ตามคำเทศน์นั้น ติด ๆ ...

จนบางที...ก็เหมือนมีภาพจากคำเทศน์นั้น ๆ ปรากฎเป็นฉาก ๆ...

ความรู้สึกที่ได้จากภาพ....มันติดตรึงใจมากกว่าการจดจำธรรมดามาก

ภาพจะไม่ปรากฎเลย..หากจิตใจวอกแว๊ก

อันนี้จะเรียกว่าสมถะ..หรือ..วิปัสสนา..หรือไม่เรียกอะไรเลย..ก็ไม่สำคัญแล้ว


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 06 ม.ค. 2012, 01:20 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 27 เม.ย. 2010, 08:10
โพสต์: 2830

แนวปฏิบัติ: ขันธ์5ด้วยการสังเกตุ รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ และอินทรีย์22
สิ่งที่ชื่นชอบ: พระสุตตันตปิฎก
อายุ: 0
ที่อยู่: ระยอง อุบลราชธานี

 ข้อมูลส่วนตัว


ลูกพระป่า เขียน:
**สวัสดีครับพี่ ไม่เที่ยง เกิดดับ
**ผมกังวลนิดหน่อยว่าเดี๋ยวกระทู้นี้จะกลายเป็นประเด็นใหม่ของการเข้าใจผิดระหว่าง 2 แนวทางที่ถูกแบ่งขึ้นมาโดยนักปฏิบัติระดับฆราวาส ที่มีให้เห็นอยู่เกือบทุกๆกระทู้ครับ ก็เลยอยากกราบขอร้องทุกท่านที่มีความเห็นไม่ตรง ไม่เข้ากับแนวปฏิบัติของตนที่ได้รู้ได้ปฏิบัติมา ก็ขอให้เพียงแต่เข้ามาอ่านและปล่อยผ่านไปถ้าคิดว่าไม่ถูกไม่เป็นประโยชน์ หรือถ้ามีข้อสงสัยก็ขอให้โพ้สในลักษณะ ปุจฉา แล้วรอการ วิสัชนา จากคนที่ท่านต้องการถาม ถ้าคำตอบยังไม่ทำให้หายสงสัยข้องใจ ก็ ปุจฉา ต่อไปอีกเรื่อยๆ จนลงใจหรือท่านได้คำตอบที่กระจ่างใจ ไม่ว่าถูกไม่ว่าผิดอย่างไรเราก็อย่าวิจารณ์ หรือ ทำเชิงแดกดัน ทำอย่างนี้ทั้งตัวท่านและผู้อ่านคนอื่นๆก็จะได้ประโยชน์อย่างที่สุดครับ
**อารัมภบทซะยาวเลยนะผมเนี่ย ^^ ผมขออนุโมทนาฯกับธรรมที่พี่ ไม่เที่ยง เกิดดับ เมตตานำมาบอกกล่าวกันด้วยนะครับ :b8: ผมเองหลังจากสึกมาก็พิจารณาลักษณะนี้อยู่เนืองๆเช่นกันครับ ตามที่พระอาจารย์ท่านสอนไว้ว่า ว่างจากงานจากการเมื่อไหร่ ให้หมั่นพิจารณา ให้มีสติอยู่กับตัว อย่าเผลอ ถ้าเผลอตัวเผลอใจเมื่อได้สติก็ให้ตั้งสติดึงจิตเข้ามาพิจารณา กาย เวทนา จิต ธรรม หรือจะบริกรรมพุทโธให้จิตสงบไม่ไปวอกแวกวุ่นวายกับเรื่องภายนอกก็ได้ ซึ่งก็ได้ปฏิบัติตามและเกิดผลเป็นที่น่าพอใจขึ้นเรื่อยๆครับ
**ตอนนี้ก็เลยตั้งใจว่าจะเริ่มพิจารณา กาย ให้ชำนาญขึ้นให้ได้ ซึ่งแน่นอนว่าก็ต้องฝึกต้องขัดเกลา สมาธิ ให้ตั้งมั่น ให้มั่นคง แข็งแรง ขึ้นด้วยเช่นกัน เพราะปัญญาจะละเอียดมากน้อยก็ขึ้นอยู่กับว่า สมาธิ เราละเอียดมากน้อยเพียงใดเช่นกัน ก็หวังว่าวันหนึ่งจะเกิดความรู้ขึ้นในใจจนสามารถพอจะแนะนำผู้อื่นได้บ้าง
**จิตคือผู้รู้ ใจเป็นผู้รับ สิ่งที่จิตรู้ไม่ใช่ว่าใจจะยอมรับ จนเมื่อใจรับเท่านั้นจริงเรียกว่ารู้แจ้ง**


อนุโมทนาครับ คุณไม่เที่ยงเกิดดับ พูดถูกแล้ว ทุกอย่างย่อมน้อมลงสู่พระไตรลักษณ์ แต่พูดผิดเกี่ยวกับการทำสมาธิ สมาธิไม่ใช่ความสงบอย่างเดียวรวมไปถึงการตั้งใจมั่น การฝึกความเป็นระเบียบของร่างกาย ความสงบนั้นควรทำให้มาก เพราะความสงบเป็นธรรมชาติของมนุษย์ แนวปฏิบัตินั้นทุกคนย่อมมีแนวปฏิบัติที่แตกต่างกันไม่มากก็น้อย ปัญญาอันดับแรกของนักปฏิบัติที่ได้รับคือการแยกแยะความแตกต่างระหว่าง การมีสติ กับการเผลอไม่มีสติ พอแยกแยะตรงนี้ได้ก็จะพยายามทำตัวเองมีสติ นี่คือปัญญาขั้นแรกที่เป็นตัวรู้ และจะเป็นตัวจักรสำคัญของการปฏิบัติตั้งแต่ขั้นแรกจนกระทั่งวันสุดท้ายของลมหายใจของชีวิตนี้

.....................................................
อย่าท้อถอยต่อการปฏิบัติ อย่าปล่อยให้ความขุ่นเคืองเข้าแทรก สร้างพลังด้วยคำสอนของพระพุทธเจ้า รำลึกและตอบแทนพระคุณมารดา และบิดา มองโลกด้วยใจเป็นกลาง ระลึกเสมอว่าเรายังด้อยปัญญาหากยังไม่ได้ปัญญา


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 06 ม.ค. 2012, 01:38 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 27 เม.ย. 2010, 08:10
โพสต์: 2830

แนวปฏิบัติ: ขันธ์5ด้วยการสังเกตุ รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ และอินทรีย์22
สิ่งที่ชื่นชอบ: พระสุตตันตปิฎก
อายุ: 0
ที่อยู่: ระยอง อุบลราชธานี

 ข้อมูลส่วนตัว


กบนอกกะลา เขียน:
การพิจารณา...ต้องพิจารณาขณะที่ใจมีความสงบ

ความสงบของใจ...สังเกตุได้ว่าไม่มีนิวรณ์

สิ่งที่ได้จากการพิจารณา..มันจะบอกเหตุผลเราได้หมดว่า..
ทำไม...มันจึงพอใจ...ทำไมมันถึง...ไม่พอใจ...จากผัสสะนั้น ๆ
ทำไมสิ่งเหล่านั้นมันจึงไร้สาระ

นอกไปจากนี้แล้ว...การพิจารณาก็เป็นเหตุผลของสังขารความคิดความจดความจำธรรมดา


ครับผม ทุกอย่างต้องมีเหตุมีผลต่อกัน ความสงบคือประโยชน์เราต้องอาศัยประโยชน์กำหนดรู้สภาวะธรรมของขันธ์5

.....................................................
อย่าท้อถอยต่อการปฏิบัติ อย่าปล่อยให้ความขุ่นเคืองเข้าแทรก สร้างพลังด้วยคำสอนของพระพุทธเจ้า รำลึกและตอบแทนพระคุณมารดา และบิดา มองโลกด้วยใจเป็นกลาง ระลึกเสมอว่าเรายังด้อยปัญญาหากยังไม่ได้ปัญญา


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 06 ม.ค. 2012, 01:49 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 27 เม.ย. 2010, 08:10
โพสต์: 2830

แนวปฏิบัติ: ขันธ์5ด้วยการสังเกตุ รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ และอินทรีย์22
สิ่งที่ชื่นชอบ: พระสุตตันตปิฎก
อายุ: 0
ที่อยู่: ระยอง อุบลราชธานี

 ข้อมูลส่วนตัว


ไม่เที่ยง เกิดดับ เขียน:
เพราะติดความสงบจากการทำสมาธิ จึงต้องทำอีกทุกครั้งที่ทุกข์ ท่านสามารถดับทุกข์ได้หรือไม่ถ้าหากมีสิ่งมากระทบ เช่น เสียงด่า เสียงไพเราะ สิ่งยั่วยุทางตา ทางกาย ทางกลิ่น ทางรส ท่านยังเกิดความพอใจ ไม่พอใจ เมื่อมีสิ่งพวกนี้มากระทบ อย่าลืมนะว่าพระไตรปิฎกสอนเรื่องทุกข์ และการดับทุกข์เท่านี้น


นักปฏิบัติต้องยอมรับสภาวะธรรมที่เกิดขึ้น เช่นความสงบเกิดขึ้น แล้วอะไรต่อ ความทุกข์นั้นแม้ใจจะสงบลงแค่ไหนแต่รูปยังเป็นทุกข์อยู่คือ อาการหิว อาการปวด ความหนาวความร้อน เหล่านี้คือทุกข์ ความสงบไม่ได้ตัดทุกข์ทางรูป ความสงบไม่ได้ชะลอความแก่ เราแยกสภาวะธรรมออกมา ว่านี่ทุกข์ การวิเคราะห์การติดความสงบคือความเห็น ความเห็นเกิดเพราะอาศัย จิต นั่นเอง

.....................................................
อย่าท้อถอยต่อการปฏิบัติ อย่าปล่อยให้ความขุ่นเคืองเข้าแทรก สร้างพลังด้วยคำสอนของพระพุทธเจ้า รำลึกและตอบแทนพระคุณมารดา และบิดา มองโลกด้วยใจเป็นกลาง ระลึกเสมอว่าเรายังด้อยปัญญาหากยังไม่ได้ปัญญา


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 06 ม.ค. 2012, 04:33 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 13 ก.พ. 2010, 17:53
โพสต์: 4999

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ลูกพระป่า เขียน:
**ผมกังวลนิดหน่อยว่าเดี๋ยวกระทู้นี้จะกลายเป็นประเด็นใหม่ของการเข้าใจผิดระหว่าง 2 แนวทางที่ถูกแบ่งขึ้นมาโดยนักปฏิบัติระดับฆราวาส ที่มีให้เห็นอยู่เกือบทุกๆกระทู้ครับ ก็เลยอยากกราบขอร้องทุกท่านที่มีความเห็นไม่ตรง ไม่เข้ากับแนวปฏิบัติของตนที่ได้รู้ได้ปฏิบัติมา ก็ขอให้เพียงแต่เข้ามาอ่านและปล่อยผ่านไปถ้าคิดว่าไม่ถูกไม่เป็นประโยชน์ หรือถ้ามีข้อสงสัยก็ขอให้โพ้สในลักษณะ ปุจฉา แล้วรอการ วิสัชนา จากคนที่ท่านต้องการถาม ถ้าคำตอบยังไม่ทำให้หายสงสัยข้องใจ ก็ ปุจฉา ต่อไปอีกเรื่อยๆ จนลงใจหรือท่านได้คำตอบที่กระจ่างใจ ไม่ว่าถูกไม่ว่าผิดอย่างไรเราก็อย่าวิจารณ์ หรือ ทำเชิงแดกดัน ทำอย่างนี้ทั้งตัวท่านและผู้อ่านคนอื่นๆก็จะได้ประโยชน์อย่างที่สุดครับ

ความคิดสร้างสรรดีครับ ผมถือโอกาสร่วมด้วยช่วยกันในโครงการนี้
ด้วยการ ปุจฉา คุณลูกพระป่านะครับ

ลูกพระป่า เขียน:
**
ผมเองหลังจากสึกมาก็พิจารณาลักษณะนี้อยู่เนืองๆเช่นกันครับ ตามที่พระอาจารย์ท่านสอนไว้ว่า ว่างจากงานจากการเมื่อไหร่ ให้หมั่นพิจารณา ให้มีสติอยู่กับตัว อย่าเผลอ ถ้าเผลอตัวเผลอใจเมื่อได้สติก็ให้ตั้งสติดึงจิตเข้ามาพิจารณา กาย เวทนา จิต ธรรม หรือจะบริกรรมพุทโธให้จิตสงบไม่ไปวอกแวกวุ่นวายกับเรื่องภายนอกก็ได้ ซึ่งก็ได้ปฏิบัติตามและเกิดผลเป็นที่น่าพอใจขึ้นเรื่อยๆครับ
**ตอนนี้ก็เลยตั้งใจว่าจะเริ่มพิจารณา กาย ให้ชำนาญขึ้นให้ได้ ซึ่งแน่นอนว่าก็ต้องฝึกต้องขัดเกลา สมาธิ ให้ตั้งมั่น ให้มั่นคง แข็งแรง ขึ้นด้วยเช่นกัน เพราะปัญญาจะละเอียดมากน้อยก็ขึ้นอยู่กับว่า สมาธิ เราละเอียดมากน้อยเพียงใดเช่นกัน ก็หวังว่าวันหนึ่งจะเกิดความรู้ขึ้นในใจจนสามารถพอจะแนะนำผู้อื่นได้บ้าง
**จิตคือผู้รู้ ใจเป็นผู้รับ สิ่งที่จิตรู้ไม่ใช่ว่าใจจะยอมรับ จนเมื่อใจรับเท่านั้นจริงเรียกว่ารู้แจ้ง

ปุจฉาครับ
1.ที่ว่าว่างจากงานจากการ ก็ให้หมั่นพิจารณา ให้มีสติอยู่กับตัวอย่าเผลอ
ขอถามครับ แล้วเวลาที่คุณทำงาน คุณใช้อะไรทำให้หน้าที่การงานสำเร็จลุล่วงครับ :b13:
2.การพิจารณากายที่คุณว่า มันเป็นอย่างไรครับ :b13:
3.กับคำพูดของคุณที่ว่า"จิตคือผู้รู้ ใจเป็นผู้รับ สิ่งที่จิตรู้ไม่ใช่ว่าใจจะยอมรับ จนเมื่อใจรับเท่านั้นจริงเรียกว่ารู้แจ้ง"
อยากทราบครับ จิตกับใจแตกต่างกันอย่างไรครับ :b13:

*หวังว่าการปุจฉาของผมคงเข้าหลักเกณท์ที่คุณตั้งไว้นะครับ*


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 06 ม.ค. 2012, 06:37 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 20 มี.ค. 2010, 19:57
โพสต์: 1014

โฮมเพจ: http://www.vitwong.blogspot.com
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว www


ขณะที่เห็น เป็นแค่รูปกระทบทางตา

ไม่ได้เป็นโต๊ะ เป็นพัดลม หรือเป็นคอมพิวเตอร์

เป็นแค่รูป กระทบทางตา

.....................................................
ยังงมงาย...
เมื่อเห็นว่าพระไตรปิฏก มีส่วนถูก มีส่วนจริงแค่ 20 ถึง 30 เปอร์เซนต์ เท่านั้น

เลิกงมงาย..
เมื่อเห็นว่า พระไตรปิฏก มีส่วนถูก ส่วนจริง เกินกว่า 80 ถึง กว่า 90 เปอร์เซนต์

http://www.youtube.com/user/govit2554#g/u


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 06 ม.ค. 2012, 07:02 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 18 ก.ย. 2011, 21:51
โพสต์: 4941


 ข้อมูลส่วนตัว




saraprr%20copy.jpg
saraprr%20copy.jpg [ 37.99 KiB | เปิดดู 6643 ครั้ง ]
:b8: อนุโมทนาสาธุกับวิปัสสนาภาวนาแบบง่ายๆที่คุณไม่เทียงเกิดดับยกมาแสดง นี่น่าจะเป็นธรรมะจากประสบการณ์จริง จึงดูไม่เหมือนที่มีในตำรา แต่ก็ใช่ตามหลักปฏิบัติธรรมในตำรา

ผมเจอข้อที่น่าสงสัยนิดหนึ่งจากข้อความท่อนนี้ครับที่คาดแดงไว้นะครับ กรุณาอธิบายด้วย

วิปัสสนาเพื่อพิจาณาขันธ์ 5 และอินทรีย์ 6 ค่อยๆ ฝึกสะสมจากเล็กไปมากเพื่อให้เกิดปัญญาขึ้นทีละเล็กทีละน้อย ปัญญาก็จะเพิ่มมากขึ้น เป็นการวิปัสสนาเพื่อให้เกิดปัญญาดับเหตุแห่งทุกข์ ไม่ให้ความพอใจ ไม่พอใจ เข้ามาแทนที่
:b20:
:b4:
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 06 ม.ค. 2012, 08:58 
 
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 5
สมาชิก ระดับ 5
ลงทะเบียนเมื่อ: 28 ธ.ค. 2011, 16:32
โพสต์: 324


 ข้อมูลส่วนตัว


โฮฮับ เขียน:
ลูกพระป่า เขียน:
**ผมกังวลนิดหน่อยว่าเดี๋ยวกระทู้นี้จะกลายเป็นประเด็นใหม่ของการเข้าใจผิดระหว่าง 2 แนวทางที่ถูกแบ่งขึ้นมาโดยนักปฏิบัติระดับฆราวาส ที่มีให้เห็นอยู่เกือบทุกๆกระทู้ครับ ก็เลยอยากกราบขอร้องทุกท่านที่มีความเห็นไม่ตรง ไม่เข้ากับแนวปฏิบัติของตนที่ได้รู้ได้ปฏิบัติมา ก็ขอให้เพียงแต่เข้ามาอ่านและปล่อยผ่านไปถ้าคิดว่าไม่ถูกไม่เป็นประโยชน์ หรือถ้ามีข้อสงสัยก็ขอให้โพ้สในลักษณะ ปุจฉา แล้วรอการ วิสัชนา จากคนที่ท่านต้องการถาม ถ้าคำตอบยังไม่ทำให้หายสงสัยข้องใจ ก็ ปุจฉา ต่อไปอีกเรื่อยๆ จนลงใจหรือท่านได้คำตอบที่กระจ่างใจ ไม่ว่าถูกไม่ว่าผิดอย่างไรเราก็อย่าวิจารณ์ หรือ ทำเชิงแดกดัน ทำอย่างนี้ทั้งตัวท่านและผู้อ่านคนอื่นๆก็จะได้ประโยชน์อย่างที่สุดครับ

ความคิดสร้างสรรดีครับ ผมถือโอกาสร่วมด้วยช่วยกันในโครงการนี้
ด้วยการ ปุจฉา คุณลูกพระป่านะครับ

ลูกพระป่า เขียน:
**
ผมเองหลังจากสึกมาก็พิจารณาลักษณะนี้อยู่เนืองๆเช่นกันครับ ตามที่พระอาจารย์ท่านสอนไว้ว่า ว่างจากงานจากการเมื่อไหร่ ให้หมั่นพิจารณา ให้มีสติอยู่กับตัว อย่าเผลอ ถ้าเผลอตัวเผลอใจเมื่อได้สติก็ให้ตั้งสติดึงจิตเข้ามาพิจารณา กาย เวทนา จิต ธรรม หรือจะบริกรรมพุทโธให้จิตสงบไม่ไปวอกแวกวุ่นวายกับเรื่องภายนอกก็ได้ ซึ่งก็ได้ปฏิบัติตามและเกิดผลเป็นที่น่าพอใจขึ้นเรื่อยๆครับ
**ตอนนี้ก็เลยตั้งใจว่าจะเริ่มพิจารณา กาย ให้ชำนาญขึ้นให้ได้ ซึ่งแน่นอนว่าก็ต้องฝึกต้องขัดเกลา สมาธิ ให้ตั้งมั่น ให้มั่นคง แข็งแรง ขึ้นด้วยเช่นกัน เพราะปัญญาจะละเอียดมากน้อยก็ขึ้นอยู่กับว่า สมาธิ เราละเอียดมากน้อยเพียงใดเช่นกัน ก็หวังว่าวันหนึ่งจะเกิดความรู้ขึ้นในใจจนสามารถพอจะแนะนำผู้อื่นได้บ้าง
**จิตคือผู้รู้ ใจเป็นผู้รับ สิ่งที่จิตรู้ไม่ใช่ว่าใจจะยอมรับ จนเมื่อใจรับเท่านั้นจริงเรียกว่ารู้แจ้ง

ปุจฉาครับ
1.ที่ว่าว่างจากงานจากการ ก็ให้หมั่นพิจารณา ให้มีสติอยู่กับตัวอย่าเผลอ
ขอถามครับ แล้วเวลาที่คุณทำงาน คุณใช้อะไรทำให้หน้าที่การงานสำเร็จลุล่วงครับ :b13:
2.การพิจารณากายที่คุณว่า มันเป็นอย่างไรครับ :b13:
3.กับคำพูดของคุณที่ว่า"จิตคือผู้รู้ ใจเป็นผู้รับ สิ่งที่จิตรู้ไม่ใช่ว่าใจจะยอมรับ จนเมื่อใจรับเท่านั้นจริงเรียกว่ารู้แจ้ง"
อยากทราบครับ จิตกับใจแตกต่างกันอย่างไรครับ :b13:

*หวังว่าการปุจฉาของผมคงเข้าหลักเกณท์ที่คุณตั้งไว้นะครับ*

1.ที่ว่าว่างจากงานจากการ ก็ให้หมั่นพิจารณา ให้มีสติอยู่กับตัวอย่าเผลอ
ขอถามครับ แล้วเวลาที่คุณทำงาน คุณใช้อะไรทำให้หน้าที่การงานสำเร็จลุล่วงครับ

**ผมใช้สติและมีสมาธิกับงานที่ทำอยู่ครับ
2.การพิจารณากายที่คุณว่า มันเป็นอย่างไรครับ
**ณ ตอนนี้ผมเริ่มที่การพิจารณากายตามอาการ 32 อยู่ครับ ดูให้เห็นเป็นของไม่สวยไม่งาม ไม่น่าชอบใจพอใจ
3.กับคำพูดของคุณที่ว่า"[color=#0000FF]จิตคือผู้รู้ ใจเป็นผู้รับ สิ่งที่จิตรู้ไม่ใช่ว่าใจจะยอมรับ จนเมื่อใจรับเท่านั้นจริงเรียกว่ารู้แจ้ง"
อยากทราบครับ จิตกับใจแตกต่างกันอย่างไรครับ :b13:[/color]
**ผมขออธิบายความแตกของจิตกับใจในลักษณะของหน้าที่นะครับ คือ จิตทำหน้าที่เป็นผู้รู้ ทั้งภายในทั้งภายนอก ส่วนใจทำหน้าที่เป็นผู้รับ การรับรู้ของใจนี้ผมอธิบายออกมาตรงตัวลำบาก แต่ขอยกเป็นการอุปมาอุปมัยแบบนี้ครับ เหมือนกับอกหัก การเลิกรา การพลัดพราก จากคนที่เรารัก โดยที่เรารู้ดีว่าไม่ได้รักเราอีกแล้ว เรารู้ดีว่าเราควรตัดใจ ไม่ไปเสียใจให้กับเรื่องนี้ แต่เราก็ทำใจไม่ได้ เรายังเสียใจ ทุกข์ใจ ที่ถูกทิ้ง โดนหักอก ประมาณนี้นะครับคือ จิตเรารู้ว่าเมื่อเค้าไม่รักเราแล้วเราก็ควรปล่อยเค้าไป ไม่ต้องไปคิดเสียใจให้เป็นทุกข์ แต่ที่เรายังเสียใจและเป็นทุกข์ นั่นก็เพราะใจเรานี้มันไม่ยอมรับกับความจริงข้อนี้นั้นเอง นี้แหละครับคือความแตกต่างอย่างหยาบของจิตกับใจที่ผมพอจะอธิบายได้ ตามกำลังสติปัญญาหยาบๆของผมครับ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 06 ม.ค. 2012, 09:11 
 
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 7
สมาชิก ระดับ 7
ลงทะเบียนเมื่อ: 03 ต.ค. 2011, 15:47
โพสต์: 539


 ข้อมูลส่วนตัว


student เขียน:
ลูกพระป่า เขียน:
**สวัสดีครับพี่ ไม่เที่ยง เกิดดับ
**ผมกังวลนิดหน่อยว่าเดี๋ยวกระทู้นี้จะกลายเป็นประเด็นใหม่ของการเข้าใจผิดระหว่าง 2 แนวทางที่ถูกแบ่งขึ้นมาโดยนักปฏิบัติระดับฆราวาส ที่มีให้เห็นอยู่เกือบทุกๆกระทู้ครับ ก็เลยอยากกราบขอร้องทุกท่านที่มีความเห็นไม่ตรง ไม่เข้ากับแนวปฏิบัติของตนที่ได้รู้ได้ปฏิบัติมา ก็ขอให้เพียงแต่เข้ามาอ่านและปล่อยผ่านไปถ้าคิดว่าไม่ถูกไม่เป็นประโยชน์ หรือถ้ามีข้อสงสัยก็ขอให้โพ้สในลักษณะ ปุจฉา แล้วรอการ วิสัชนา จากคนที่ท่านต้องการถาม ถ้าคำตอบยังไม่ทำให้หายสงสัยข้องใจ ก็ ปุจฉา ต่อไปอีกเรื่อยๆ จนลงใจหรือท่านได้คำตอบที่กระจ่างใจ ไม่ว่าถูกไม่ว่าผิดอย่างไรเราก็อย่าวิจารณ์ หรือ ทำเชิงแดกดัน ทำอย่างนี้ทั้งตัวท่านและผู้อ่านคนอื่นๆก็จะได้ประโยชน์อย่างที่สุดครับ
**อารัมภบทซะยาวเลยนะผมเนี่ย ^^ ผมขออนุโมทนาฯกับธรรมที่พี่ ไม่เที่ยง เกิดดับ เมตตานำมาบอกกล่าวกันด้วยนะครับ :b8: ผมเองหลังจากสึกมาก็พิจารณาลักษณะนี้อยู่เนืองๆเช่นกันครับ ตามที่พระอาจารย์ท่านสอนไว้ว่า ว่างจากงานจากการเมื่อไหร่ ให้หมั่นพิจารณา ให้มีสติอยู่กับตัว อย่าเผลอ ถ้าเผลอตัวเผลอใจเมื่อได้สติก็ให้ตั้งสติดึงจิตเข้ามาพิจารณา กาย เวทนา จิต ธรรม หรือจะบริกรรมพุทโธให้จิตสงบไม่ไปวอกแวกวุ่นวายกับเรื่องภายนอกก็ได้ ซึ่งก็ได้ปฏิบัติตามและเกิดผลเป็นที่น่าพอใจขึ้นเรื่อยๆครับ
**ตอนนี้ก็เลยตั้งใจว่าจะเริ่มพิจารณา กาย ให้ชำนาญขึ้นให้ได้ ซึ่งแน่นอนว่าก็ต้องฝึกต้องขัดเกลา สมาธิ ให้ตั้งมั่น ให้มั่นคง แข็งแรง ขึ้นด้วยเช่นกัน เพราะปัญญาจะละเอียดมากน้อยก็ขึ้นอยู่กับว่า สมาธิ เราละเอียดมากน้อยเพียงใดเช่นกัน ก็หวังว่าวันหนึ่งจะเกิดความรู้ขึ้นในใจจนสามารถพอจะแนะนำผู้อื่นได้บ้าง
**จิตคือผู้รู้ ใจเป็นผู้รับ สิ่งที่จิตรู้ไม่ใช่ว่าใจจะยอมรับ จนเมื่อใจรับเท่านั้นจริงเรียกว่ารู้แจ้ง**


อนุโมทนาครับ คุณไม่เที่ยงเกิดดับ พูดถูกแล้ว ทุกอย่างย่อมน้อมลงสู่พระไตรลักษณ์ แต่พูดผิดเกี่ยวกับการทำสมาธิ สมาธิไม่ใช่ความสงบอย่างเดียวรวมไปถึงการตั้งใจมั่น การฝึกความเป็นระเบียบของร่างกาย ความสงบนั้นควรทำให้มาก เพราะความสงบเป็นธรรมชาติของมนุษย์ แนวปฏิบัตินั้นทุกคนย่อมมีแนวปฏิบัติที่แตกต่างกันไม่มากก็น้อย ปัญญาอันดับแรกของนักปฏิบัติที่ได้รับคือการแยกแยะความแตกต่างระหว่าง การมีสติ กับการเผลอไม่มีสติ พอแยกแยะตรงนี้ได้ก็จะพยายามทำตัวเองมีสติ นี่คือปัญญาขั้นแรกที่เป็นตัวรู้ และจะเป็นตัวจักรสำคัญของการปฏิบัติตั้งแต่ขั้นแรกจนกระทั่งวันสุดท้ายของลมหายใจของชีวิตนี้



ความสงบ ปราศจากทุกข์ ปราศจากกิเลศ หรือสุขถาวร เป็นสิ่งที่มนุษย์ทุกคนปรารถนา
แต่ความสงบจะเกิดไม่ได้ถ้าไม่เห็นความจริงของธรรมชาติ ตามกฎไตรลักษณ์ เมื่อมองเห็นอย่างนี้แล้ว ปัญญาก็จะค่อยๆ เกิดรู้ผิดชอบ ชั่วดี ศีลก็จะตามมาเราก็จะไม่ไปทำชั่ว ทำแต่ความดี สุดท้ายเกิดสมาธิ สติ ความสงบก็จะตามมา เป็นกระบวนการอย่างนี้ครับ
วิปัสสนา > ปัญญา > ศีล > สมาธิ > ความสงบ
ปัญญา ศีล สมาธิในที่นี้ก็คือ มรรคมีองค์ 8 ครับ ไม่ใช่ไตรสิกขา อันนี้เป็นผลจากการเห็นความจริงของโลกและชีวิตที่พระพุทธเจ้าเห็น เอามาใช้ดับเหตุแห่งปัญหา หรือทุกข์ทั้งปวงในชีวิตเราได้ ไม่ว่าจะมาในรูปแบบไหน ใช้ในการดำเนินชีวิต หน้าที่การงานได้ดี
เพิ่มเติม สติ มีในทุกคนไม่ต้องไปเจริญ สติทำหน้าที่ลากดึงปัญญาเอามาดับเหตุแห่งปัญหา หรือต้นเหตุแห่งทุกข์ เหมือนเราขับรถถ้าวิปัสสนาก็จะรู้และมีสติในการขับรถอยู่ตลอดเวลา ว่าการขับรถเร็วจะทำให้เราตายได้นะ เมื่อเราตายเราจะเดือดร้อนผู้อื่นนะ เราก็จะขับช้าๆ และระมัดระวังมากขึ้น นี่แหละเรียกว่าเรามีสติอยู่


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 06 ม.ค. 2012, 09:30 
 
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 7
สมาชิก ระดับ 7
ลงทะเบียนเมื่อ: 03 ต.ค. 2011, 15:47
โพสต์: 539


 ข้อมูลส่วนตัว


asoka เขียน:
:b8: อนุโมทนาสาธุกับวิปัสสนาภาวนาแบบง่ายๆที่คุณไม่เทียงเกิดดับยกมาแสดง นี่น่าจะเป็นธรรมะจากประสบการณ์จริง จึงดูไม่เหมือนที่มีในตำรา แต่ก็ใช่ตามหลักปฏิบัติธรรมในตำรา

ผมเจอข้อที่น่าสงสัยนิดหนึ่งจากข้อความท่อนนี้ครับที่คาดแดงไว้นะครับ กรุณาอธิบายด้วย

วิปัสสนาเพื่อพิจาณาขันธ์ 5 และอินทรีย์ 6 ค่อยๆ ฝึกสะสมจากเล็กไปมากเพื่อให้เกิดปัญญาขึ้นทีละเล็กทีละน้อย ปัญญาก็จะเพิ่มมากขึ้น เป็นการวิปัสสนาเพื่อให้เกิดปัญญาดับเหตุแห่งทุกข์ ไม่ให้ความพอใจ ไม่พอใจ เข้ามาแทนที่
:b20:
:b4:



อินทรีย์ 6 คือ ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ อันนี้คือต้นเหตุแห่งทุกข์สะสมที่เราสะสมทุกเวลาในแต่ละวัน
เกิดจากความไม่รู้ หรืออวิชชา ไปหลงพอใจ ไม่พอใจ กับสิ่งที่มากระทบทางอินทรีย์ 6 ธรรมชาติมีอินทรีย์ 6 เอาไว้ให้เรียนรู้ ไม่ใช่เอาไว้รองรับอารมณ์ ใช้หน้าที่ไม่ถูกต้อง หน้าที่หลักคือ เรียนรู้
เช่น มีคนด่าเราเสียงด่า เข้าหูเรา เกิดความไม่พอใจ เกิดการกระทำทางวาจา ทางกาย ไปทำร้ายเขาจนตาย สุดท้ายเราก็ติดคุก ความทุกข์ก็ตามมา นี่แหละสาเหตุแห่งทุกข์ของมนุษย์ ถ้าเราวิปัสสนาเห็นความจริงว่าเสียงด่า ไม่เที่ยง มีเกิดขึ้น สุดท้ายเสียงด่าก็หายไป เราก็จะดับความพอใจ ไม่พอใจได้ การไม่สนใจ หรือ วางเฉยไม่สามารถดับตรงนี้ได้ครับ ถ้าเราเห็นอย่างนี้ปัญหาชีวิตก็จะลดน้อยลงไป แก้ปัญหาชีวิตได้หมด
ความทุกข์ไม่มี ความสงบ ความสุขก็จะเกิดขึ้นอย่างแน่นอน นี่คือบุญสูงสุด มากกว่าการให้ หรือการรับ

ขันธ์ 5 คือ ต้นเหตุแห่งทุกข์ เกิด แก่ เจ็บ ตาย หรือทุกข์ธรรมชาติ (บังคับไม่ได้) ถ้าเรายึดว่านี้คือร่างกายเรา เรามีตัวตน นี่ของตน เราไม่แก่ ไม่เจ็บ ไม่ตาย ก็จะเกิดความทุกข์ได้

ผู้ปฏิบัิติย่อมรู้เอง
"ไม่เที่ยง เกิด ดับ"


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 155 โพสต์ ]  ไปที่หน้า 1, 2, 3, 4, 5 ... 11  ต่อไป

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: Google [Bot] และ บุคคลทั่วไป 186 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร


cron