วันเวลาปัจจุบัน 19 ก.ค. 2025, 00:07  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


กฎการใช้บอร์ด


“อภิธรรม (สันสกฤต: abhidharma) หรืออภิธัมมะ (บาลี: abhidhamma) เป็นชื่อปิฎกศาสนาพุทธฉบับหนึ่งในปิฎกทั้งสามฉบับที่รวมเรียก "พระไตรปิฎก" อภิธรรมแปลว่าธรรมอันยิ่ง ปิฎกฉบับอภิธรรมนั้นเรียก "พระอภิธรรมปิฎก" ซึ่งว่าด้วยประมวลหลักธรรมและคำอธิบายที่เป็นหลักวิชาล้วนๆ ไม่มีความเกี่ยวข้องกับเหตุการณ์และบุคคลเลย”



กลับไปยังกระทู้  [ 6 โพสต์ ]    Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 03 ก.พ. 2025, 06:53 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8583


 ข้อมูลส่วนตัว




Screenshot_20250203-070757_Chrome~2.jpg
Screenshot_20250203-070757_Chrome~2.jpg [ 49.3 KiB | เปิดดู 1706 ครั้ง ]
ข้อว่าธรรมเหล่าใดอัญญาณใดพึงละพึงทราบการละธรรมเหล่านั้น
อธิบาย ก็ในบรรดาญาณทั้ง ๔ นี้ ธรรมทั้งหลายเหล่าใด พึงละด้วยญาณใด
พึงทราบการละธรรมเหล่านั้น ก็ญาณเหล่านี้เป็นเจ้าหน้าที่ละธรรมทั้งหลาย มี ๑๘ อย่างดังนี้

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 03 ก.พ. 2025, 07:39 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8583


 ข้อมูลส่วนตัว


อธิบายความหมายธรรมที่พึงละ

๑. สังโยชน์
ในบรรดาธรรมเหล่านั้น ธรรม ๑๐ อย่าง มีรูปราคะเป็นต้น เรียกว่า สังโยชน์ เพราะ
เป็นธรรมผูกขันธ์ทั้งหลายไว้กับขันธ์ทั้งหลาย ผูกกรรมไว้กับผล หรือผูกสัตว์ทั้งหลาย
ทุกข์ จริงอยู่ ธรรมมีรูปราคะเป็นต้นนั้นยังมีอยู่ตราบใด ขันธ์ ผล และทุกข์เหล่านี้ ก็ยังไม่
ขาดตราบนั้น ในบรรดาธรรม ๑๐ นั้น ธรรม ๕ เหล่านี้ คือ
๑. รูปราคะ
๒. อรูปราคะ
๓. มานะ
๔ อุทธัจจะ
๕. อวิชชา
ชื่อว่า อุทธัมภาคิยสังโยชน์ เพราะผูกขันธ์เป็นต้นไว้
การบังกิดเบื้องสูง. ธรรม ๕ เหล่านี้ คือ
๑. สักกายทิฏฐิ
๒. วิจิกิจฉา
๓. สีลัพปรามาส
๔. กามราคะ
๕. ปฏิฆะ
ชื่อว่า อโธภาคิยสังโยชน์ เพราะผูกขันธ์เป็นต้นไว้

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 03 ก.พ. 2025, 08:28 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8583


 ข้อมูลส่วนตัว


๒. กิเลส
ธรรม ๑๐ เหล่านี้ คือ :
๑. โลภะ
๒. โทสะ
๓.โมหะ
๔. มานะ
๕.ทิฏฐิ
๖.วิจิกิจฉา
๗. ถีนะ
๘. อุทธรณ์
๙. อิริยาบถ
๑๐.อโนตตัปปะ
เพราะตัวมันเองก็เศร้าหมอง
และเพราทำสัมปยุยุตธรรมทั้งหลายให้เศร้าหมองด้วย.

๓. มิจฉัตตะ
ธรรม ๘ เหล่านี้ คือ :
๑. มิจฉาทิฏฐิ
๒. มิจฉาสังกัปปะ
๓. มิจฉาวาจา
๔.มิจฉากัมมันตะ
๕. มิจฉาอาชีวะ
๖. มิจฉาวายามะ
๗. มิจฉาสติ
๘. มิจฉาสมาธิ
หรือเป็น ๑๐ รวมกับ ๙. มิจฉาวิมุตติ ๑๐.มีจฉาญาณะ เรียกว่า มิจฉัตตตะ เพราะเป็นไปผิด.

๔. โลกธรรม
ธรรม ๘ เหล่านี้ คือ :
๑.ลาภ
๒.เสื่อมลาภ
๓. ยศ
๔ เสื่อมยศ
๕.สุข
๖.ทุกข์
๗. นินทา
๘. สรรเสริญ
เรียกว่า โลกธรรม เพราะเป็นธรรมไม่ขาดสายเมื่อเป็นไปแห่งโลก
ยังมีอยู่ แต่ในที่นี้พึงทราบว่า คำนี้ท่านกระทำศัพท์ด้วยการถือเอาความยินดีมีอิฏฐารมณ์มี
ลาภเป็นต้นเป็นที่ตั้ง และการถือเอาความยินร้ายมีอนิฏฐารมณ์มีเสื่อมลาภเป็นต้นเป็นที่ตั้ง
ด้วยโวหารที่กล่าวพาดพิงถึงเหตุว่า โลกธรรม.

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 03 ก.พ. 2025, 10:38 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8583


 ข้อมูลส่วนตัว


๕.มัจฉริยะ
ความตระหนัก ๕ อย่าง คือ
๑.ตระหนี่ถี่เหนียว
๒. ตระหนี่ถี่เหนียว
๓.ตระหนี่ลาภ
๔. ตระหนี่ธรรม
๕. ตระหนี่ถี่เหนียว
เป็นไปโดยอาการทนไม่ได้ซึ่งความ(ที่ของๆตน)ทั่วไป
แก่ชนเหล่าอื่นในอาวาสเป็นต้นเหล่านี้ เรียกว่า มัจฉริยะ

๖. วิปัลลาส
วิปลาส ๓ คือ
๑. สัญญาวิปัลลาส(ความสำคัญคลาดเคลื่อน)
๒. จิตตวิปัลลาส(ความคิดคลาดเคลื่อน)
๓. ทิฏฐิวิปัลลาส(ความเห็นคลาดเคลื่อน)
ที่เป็นอย่างนี้ว่า "เที่ยง เป็นสุข เป็นตัวแทน งาม" ในวัตถุที่ไม่เที่ยง เป็นทุกข์
เป็นไม่ใช่ตัวตน และไม่งาม เรียกว่าวิปัลลาส

๗. คันถะ
สังกิเลสิกธรรม ๔ มีอภิชฌาเป็นต้น เรียกว่าคันถะ เพราะร้อยรัดนามกายและ
รูปกายไว้ จริงอย่างนั้น สังกิเลสิกธรรมเหล่านั้น พระผู้มีพระภาคตรัสไว้ว่า"อภิชฌาเป็น
กายคันถะ พยาบาทเป็นกายคันถะ สีลัพพตปรามาสเป็นกายคันถะ อิทังสัจจาภินิเวส
(ความยึดมั่นว่านี้เท่านั้นจริง)เป็นกายคันถะ"

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 03 ก.พ. 2025, 13:29 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8583


 ข้อมูลส่วนตัว


๘. อคติ
คำว่า อคติ นี้ เป็นชื่อแห่งการทำสิ่งที่ไม่ควรทำ และการไม่ทำสิ่งที่ควรทำ เพราะ
๑ ความรัก
๒ ความชัง
๓ ความหลง
๔ ความกลัว
จริงอยู่ การทำสิ่งที่ไม่ควรทำและการไม่ทำาสิ่งที่ควรทำนั้น เรียกว่า อคติ เพราะอริยะ
บุคคลไม่พึงดำเนินไป

๙ - ๑๑. อาสวะ โอฆะ โยคะ
คำว่า อาสวะ ก็เพราะเป็นไปตลอดแต่โคตรภูลงมาโดยเป็นอารมณ์ เพราะเป็นไป
ตลอดแต่ภวัคคพรหมลงมาโดยทางโอกาส อีกอย่างหนึ่ง คำว่าว่า อาสวะ นี้ เป็นชื่อแห่ง
กามราคะ ภวราคะ มิจฉาทิถูฐิ และอวิชชา เพราะไหลทางทวารทั้งหลายที่ไม่สมควร ดุจ
น้ำไหลออกจากหม้อทะลุ หรือเพราะประสบสังสารทุกข์ โดยอรรถ คือ ไหลเป็นนิตย์.

แม้คำว่า โอฆะ ก็เป็นชื่อแห่งธรรมทั้งหลาย มีกามราคะเป็นต้นเหล่านั้นแหละ
เพราะอรรถ คือ การคร่ามาอยู่ในสาครคือภพ และเพราะอรรถ คือ ข้ามพื้นได้ยาก

แม้คำว่า โยคะ ก็เป็นชื่อแห่งธรรมทั้งหลาย มีกามราคะเป็นต้นเหล่านั้นแหละ
เพราะไม่ให้พรากจากอารมณ์ และพรากจากทุกข์ไปได้

๑๒. นิวรณ์
กรรม ๕ มีกามฉันทะเป็นต้น เรียกว่า นิวรณ์ ด้วยอรรถ คือ กัน กีด และปิดจิตไว้

๑๓. ปรามาส
คำว่า ปรามาส นี้ เป็นยื่อแห่งมิจฉาทิฏฐิ เพราะเป็นไปโดยอาการก้าวล่วงซึ่งสภาวะ
แห่งธรรมนั้น ๆ จับเอาโดยเป็นอย่างอื่น คือ สภาวะที่ไม่จริง.

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 03 ก.พ. 2025, 13:45 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8583


 ข้อมูลส่วนตัว




iWzh06z7Sxhco9OC531N--1--zatf4.jpg
iWzh06z7Sxhco9OC531N--1--zatf4.jpg [ 325 KiB | เปิดดู 1646 ครั้ง ]
๑๔. อุปาทาน
คำว่า อุปาทาน ได้แก่ อุปาทาน ๔ มีกามุปาทานเป็นต้น ที่ได้กล่าวไว้ในปฏิจจสมุปบาท
นิทเทสโดยอาการทั้งปวง

๑๕. อนุสัย
ธรรม ๗ อย่าง มีกามราคะเป็นต้น พระผู้มีพระภาคตรัสไว้อย่างนี้ว่า
๑. อนุสัยคือกามราคะ
๒. อนุสัยคือปฏิฆะ
๓. อนุสัยคือมานะ
๔ อนุสัยคือทิฏฐิ
๕. อนุสัยคือ วิจิกิจฉา
๖.อนุสัยคือภวราคะ
๗. อนุสัยคืออวิชชา
เรียกว่า อนุสัย เพราะอรรถว่า เรี่ยวแรง อยู่ ธรรม ๗ เหล่านั้น เพราะเรี่ยวแรง
จึงนอนเนื่องอยู่ โดยภาวะที่กามราคะเป็นต้น เป็นเหตุเกิดขึ้นเนือง ๆ ทีเดียว
เพราะเหตุนั้น จึงชื่อว่า อนุสัย.

๑๖. มละ
ธรรม ๓ คือ : ๑. โลภะ ๒. โทสะ ๓. โมหะ เรียกว่า มละ เพราะตัวเองก็ไม่บริสุทธิ์
และเพราะทำความไม่บริสุทธิ์แก่ผู้อื่น ๆ ด้วย เหมือนน้ำมัน ยาหยอดตา และเปือกตม

๑๗. อกุศลกรรมบถ
ธรรม ๑๐ เหล่านี้ คือ :
๑. ปาณาติบาต
๒. อทินนาทาน
๓. กาเมสุมิจฉาจาร
๔ มุสาวาท
๕ ปิสุณวาจา
๖. ผรุสวาจา
๗. สัมผัปปลาปะ
๘. อภิชฌา
๙. พยาบาบาท
๑๐. มิจฉาทิฏฐิ
เรียกว่า อกุศลกรรมบถ เพราะเป็นอกุศลกรรมด้วย เพราะเป็นทางแห่งทุคติทั้งหลายด้วย.

๑๘. อกุศลจิตตุปบาท
ค่าว่า อกุศลจิตตุปบาพ ได้แก่ ธรรม ๑๒ เหล่านี้ คือ :
๑. โลภมูล ๘
๒. โทสมูล ๒
๓. โมหมูล ๒.

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น
แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 6 โพสต์ ] 

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

่กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 1 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร