วันเวลาปัจจุบัน 17 พ.ค. 2025, 11:33  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


กฎการใช้บอร์ด


“อภิธรรม (สันสกฤต: abhidharma) หรืออภิธัมมะ (บาลี: abhidhamma) เป็นชื่อปิฎกศาสนาพุทธฉบับหนึ่งในปิฎกทั้งสามฉบับที่รวมเรียก "พระไตรปิฎก" อภิธรรมแปลว่าธรรมอันยิ่ง ปิฎกฉบับอภิธรรมนั้นเรียก "พระอภิธรรมปิฎก" ซึ่งว่าด้วยประมวลหลักธรรมและคำอธิบายที่เป็นหลักวิชาล้วนๆ ไม่มีความเกี่ยวข้องกับเหตุการณ์และบุคคลเลย”



กลับไปยังกระทู้  [ 6 โพสต์ ]    Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 25 ธ.ค. 2024, 09:49 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8564


 ข้อมูลส่วนตัว




illustration-guru-purnima-celebrated-by-hindus-buddhists-thank-their-teachers-ai-generated_852336-14345 (1).jpg
illustration-guru-purnima-celebrated-by-hindus-buddhists-thank-their-teachers-ai-generated_852336-14345 (1).jpg [ 132.77 KiB | เปิดดู 3863 ครั้ง ]
๑๔. วิปากปัจจัย

๑. วิปาก หมายความว่า ผลของกุศลกรรมและผลของอกุศลกรรม
๒. ประเภท นามเป็นปัจจัย นามรูปเป็นปัจยุบบัน
๓. ชาติ เป็นสหชาตชาติ คือ ปัจจัยและปัจจยุบบัน เกิดในจิตดวงเดียวกัน
๔. กาล เป็นปัจจุบัน
๕. สัตติ มีทั้ง ขนกสัตติ และอุปถัมภกสัตติ
๖. องค์ธรรมของปัจจัยได้แก่ วิบากจิต ๓๖ เจตสิก ๓๘ ใน ปฏิสนธิกาล
และปวัตติกาล ที่ช่วยอุปการะซึ่งกันและกัน และที่ช่วยอุปการแก่ จิตตชรูปและ
ปฎิสนธิกัมมชรูป
องค์ธรรมของปัจยุบบัน ได้แก่ วิบากจิต ๓๖ เจตสิก ๓๘ ขณะที่ไม่ได้เป็นปัจจัย
จิตตชรูป ๑๓ (วันวิญญัติติรูป ๒) ที่เกิดขึ้นจากวิบากนามขันธ์เหล่านี้ตามสมควร และ
องค์ธรรมของปัจจนิก ได้แก่ กุสลจิต ๒๑, อกุสลจิต ๑๒, กิริยาจิต ๒๐,
เจตสิก ๕๒, จิตตชรูปที่เกิดขึ้นจาก กุสล อกุสล กิริยา นามขันธ์เหล่านี้ตามสมควร,
พาหิรรูป, อาหารธรูป, อุตุชรูป, อสัญญสัตตกัมมชรูป, ปวัตติกัมมชรูป

๗. ความหมายโดยย่อ วิปากปัจจัยนี้มีวาระเดียว คือ อพยากตะเป็นปัจจัยแก่
อพยากตะ วิบากนามขันธ์ ๔ อันได้แก่วิบากจิต ๓๖ เจตสิก ๓๘ ที่เป็นปฏิสนธิกาล และ
ปวัตติกาล แล้วแต่ว่าจะยกนามขันธ์ใดเป็นปัจจัย วิบากนามขันธ์ ๔ อันได้แก่วิบากจิต
๓๖ เจตสิก ๓๘ เฉพาะนามขันธ์ที่เหลือ, วิบากจิตตชรูป ๑๓ (เว้นวิญญัตติรูป ๒). ปฏิ-
สนธิกัมมชรูป เป็นวิปากปัจจยุบบัน

จะยกนามขันธ์เดียว หรือ ๒ หรือ ๓ เป็นปัจจัยก็ตาม นามขันธ์ที่เหลือ ๓ หรือ
๒ หรือ ๑ (ตามลำดับ) ก็เป็นปัจจยุบบันเสมอไป ดังที่เคยได้กล่าวแล้วข้างต้น

ส่วนปฏิสนธิกัมมชรูป และจิตตชรูป ในปัจจัยนี้ เป็นปัจจยุบบันนธรรมอย่าง
เดียว เป็นปัจจัยธรรมไม่ได้

๘. ปัจจัยที่เกิดร่วมด้วยกันได้ รวม ๘ ปัจจัย คือ
๑. วิปากปัจจัย ๒. สหชาตปัจจัย
๓. อัญญมัญญปัจจัย ๔. นิสสยปัจจัย
๕. สัมปยุตตปัจจัย ๖.วิปปยุตตปัจจัย
๗. สหชาตัตถิปัจจัย ๘. สหชาตอวิคตปัจจัย

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 03 ม.ค. 2025, 06:25 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8564


 ข้อมูลส่วนตัว


ผลของกรรมแบ่งออกได้เป็น ๓ ประเภท คือ
๑. วิบากผล หมายถึงผลของกรรมที่สุกแล้ว ย่อมให้ผลตรงตามเหตุ
เพราะกิจของวิบาก มีการปฏิสนธิเป็นเครื่องหมาย ถ้าปฏิสนธิไม่
มีวิบากอื่น ๆ ก็มีไม่ได้เลย วิบากย่อมให้ผลทั้งปฏิสนธิกาลและปวัตติกาล
ให้ผลทั้งในชาตินี้และชาติต่อ ๆ ไป วิบากย่อมเสวยผลตรงตามกรรมที่ทำ
ไว้ ความสุขความทุกข์ที่ได้รับ จึงเป็นสิ่งที่เลือกเอาไม่ได้ เพราะว่าสำเร็จ
มาแล้วจากกรรมในอดีต วิบากท่านจึงเปรียบเหมือนกระจกเงา ที่สามารถ
สะท้อนให้รู้ถึงกรรมในอดีตว่าทำมาอย่างไร

๒. อานิสงส์ผล หมายถึงผลที่หลั่งไหลมาจากกรรมที่ทำแล้ว เป็น
ผลที่ได้รับในปวัตติกาลเท่านั้น เช่นผลของการทำดีในปัจจุบัน ทำให้มีคน
เคารพรักใคร่นับถือ เป็นเหตุให้ได้ลาภ ยศ สุข สรรเสริญ เหล่านี้ เป็น
อานิสงส์ผล ถ้าเป็นวิบากผลที่เกิดจากกรรมในปัจจุบันย่อมรู้ได้ยาก เพราะ
เป็นผลของชวนะดวงที่ ๑ ซึ่งให้ผลเพียงเล็กน้อยเท่านั้น

ส่วนผลที่เกิดจากการทำกรรมชั่วในปัจจุบัน ทำให้คนเกลียดชังไม่
เคารพ เป็นเหตุให้เสื่อมลาภ เสื่อมยศ ถูกนินทา ต้องเป็นทุกข์ ธรรมดา
ผลของกรรมชั่ว ท่านไม่เรียกว่าอานิสงส์ผลแต่เรียกว่า อาทินพ เพราะให้
ผลเป็นทุกข์เดือดร้อน อานิสงส์ผลใช้กับผลของกรรมดีใม่ได้ใช้กับผลของกรรม
ชั่ว เช่นการเข้าฌานสมาบัติ เป็นอานิสงส์ของผู้ทำฌานได้เป็นวสี

ผลสมาบัติ เป็นอานิสงส์ของพระอริยะที่ได้ฌานเป็นวสีด้วย
นิโรธสมาบัติ เป็นอานิสงส์ของพระอริยะที่เป็นพระอนาคามี และ
พระอรหันต์ที่ได้สมาบัติ ๘
อภิญญา เป็นอานิสงส์ของผู้ที่ได้รูปาวจรปัญจมฌานกุศล
และสมาบัติ ๘ ที่เพียรเจริญอภิญญา
ปฏิสัมภิทา เป็นอานิสงส์ของปัญญาโลกุตตรกุศล
อานิสงส์ผลเหล่านี้เกิดในปวัตติกาลเฉพาะปัจจุบันชาติเท่านั้น

๓. สามัญญูผล หมายถึงผลที่เกิดจากองค์มัค ๘ เป็นผลของสมณะ
ผู้สงบจากกิเลส สามัญญูผลเป็นผลที่ให้พ้นจากภพชาติ ให้ผลได้เฉพาะ
ในปวัตติกาลเท่านั้น สามัญญผลเป็นได้ทั้งวิบากผลและอานิสงส์ผล ที่เป็น
วิบากผลคือ ผลของโลกุตตรกุศลหรือของมัคคจิตเรียกว่า โลกุตตรวิบาก
หรือผลจิต ส่วนอานิสงส์ผลคือผลที่ได้เป็นพระอริยะบุคคล เช่นเป็นพระ
โสดาบันจนถึงพระอรหันต์

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 07 ม.ค. 2025, 10:48 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8564


 ข้อมูลส่วนตัว


คำว่า "วิปาก " แปลว่าสุก เหมือนกับความสุกของผลไม้เป็นต้น
ฉะนั้น วิบาก จึงหมายถึงผลของกรรมอันสุกงอมเต็มที่ จึงเสวยผลได้
วิปากปัจจัยนี้ หมายถึงผลของกรรมที่เกิดขึ้นแล้วก็เป็นปัจจัยให้แก่กัน
และกันในขณะจิตเดียวกัน วิปากปัจจัยเป็นปัจจัยประเกท นาม -> นามรูป
คือ ในวิบากจิตที่เกิดขึ้นขณะหนึ่งนั้น มีเจตสิกประกอบอยู่ด้วยพร้อมทั้ง
ปฏิสนธืกัมมชรูปและจิตตชรูป วิบากจิตและเจตสิกซึ่งเรียกว่า นามขันธ์ ๔
นั้นเป็นปัจจัยและปัจจุยุบบันซึ่งกันและกัน ส่วนปฏิสนธิกัมมชรูปและจิตตรูป
นั้น เป็นปัจจยุบบันธรรมอย่างเดียว เป็นปัจจัยธรรมไม่ได้ วิปากปัจจัย
เมื่อว่าโดยกาล เป็นปัจจุบันกาล โดยชาติเป็นประเกทสหชาตชาติ โดย
กิจมี ๒ กิจ คือ เป็นชนกกิจ และอุปถัมภกกิจ
วิบากจิตไม่ใช่เป็นจิตที่ต้องทำให้เกิดขึ้น เพราะเป็นจิตที่เป็นผลอัน
เกิดจากกุศลกรรมและอกอุศลกรรม กุศลกรรมหรืออกุศลกรรมเป็นธรรมที่ต้อง
ขวนขวายทำให้เกิดขึ้น ส่วนวิบากเป็นธรรมที่ไม่ต้องขวนขวายกระทำให้เกิดขึ้น
ถ้ามีกุศลกรรม อกุศลกรรมเป็นเหตุแล้ว วิบาก คือผลก็จะต้องมีแน่นอน
วิบากจิตจึงเป็นจิตที่สงบ ไม่ปรากฏอาการอย่างหนึ่งอย่างให้รู้ได้ เพราะ
เป็นจิตที่ไม่มีอุตสาหะ วิริยะ เป็นจิตที่มีกำลังอ่อน วิบากจิตจะปรากฏได้ชัด

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 07 ม.ค. 2025, 11:11 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8564


 ข้อมูลส่วนตัว


ก็ขณะที่นอนหลับ รู้ว่าเป็นภวังคจิต แต่ก็ไม่ใช่รู้ในเวลาเป็นภวังค์ เพราะ
กำลังหลับรู้ไม่ได้ แต่ส่วนเวลาอื่นถึงแม้วิบากจิตจะเกิดขึ้น เช่น ขณะเห็น
ได้ยิน ได้กลิ่น รู้รส ถูกต้อง เวลาเกิดขึ้นจริง ๆ ก็รู้ไม่ได้ ที่รู้ได้ก็ต้องล่วงมา
ถึงชวนะแล้วจึงรู้ได้ เพราะฉะนั้นความปรากฏของวิบากจึงเป็นธรรมที่รู้
ได้ยาก ไม่เหมือนจิตที่เป็นกุศล อกุศลที่เกิดขึ้นเมื่อไรก็รู้ได้ทันที เพราะ
เป็นจิตที่ต้องมีการขวนขวายทำให้เกิดขึ้น เช่นกำลังโกรธ กำลังโลภก็รู้ได้
หรือกำลังทำบุญก็รู้ได้ในขณะนั้น แต่ส่วนวิบากจิตนั้นเป็นธรรมที่สงบลึกซึ้ง
จึงรู้ได้ยาก
เมื่อวิบากจิตมีกำลังอ่อน เจตสิกที่เกิดร่วมกับวิบากก็มีกำลังอ่อนไป
ด้วย แม้รูปที่เกิดจากวิบากก็ไม่ปรากฏอาการให้เห็นได้ชัด เป็นแต่เกิดขึ้น
โดยอาการอันสงบอยู่เท่านั้น ซึ่งต่างกับจิตตรูปที่เกิดจากกุศล อกุศล และ
กิริยาจิต ย่อมมีอาการปรากฏให้เห็นได้อย่างชัดเจน
วิบากเป็นปัจจัยช่วยอุดหนุนแก่วิบาก ท่านอุปมาเหมือนกับความ
ชราที่เกิดขึ้นแก่บุคคลทั้งหลาย ความชรานี้เป็นสิ่งที่บุคคลไม่พึ่งปรารถนา
และไม่ต้องขวนขวายหรือกระทำให้เกิดขึ้น แต่ความชรานี้ย่อมบังเกิดขึ้น
แก่บุคคลทั้งหลายทั่วกันหมด ไม่มียกเว้นเลย ทั้งนี้เพราะความชราเป็น
ผลธรรมอันเกิดมาจากเหตุ คือ ชาติความเกิด ถ้าชาติความเกิดมีขึ้นแล้ว
ชราก็ต้องมีแน่นอน และในความชรานั้นก็มาเป็นเหตุเป็นผลแก่กันและกันได้
คือชราในตอนแรกก็เป็นเหตุอุดหนุนนให้เกิดชรามากขึ้นในตอนหลัง ชราที่เกิด
ตอนเด็กยังเห็นได้ยาก แต่ถ้าตอนแก่ก็เห็นได้ง่าย เช่นผมหงอก ฟันหัก
ในตอนแรกผมดำก็ค่อย ๆเปลี่ยนเป็นสีขาวทีละเล็กทีละน้อยจนในที่สุดที่สุดก็ขาว
โพลนทั้งศีรษะ เพราะชราตอนแรกอุปถัมภ์ชราในตอนหลัง
ข้ออุปมานี้ฉันใด วิปากปัจจัยก็ฉันนั้น คือธรรรมที่เป็นวิบากย่อม
อุปถัมภ์วิบาก เช่น ในวิบากนามขันธ์ ๔ ที่เกิดพร้อมกันนั้น เมื่อวิบาก
ขันธ์ ๑ เป็นปัจจัย วิบากนามขันธ์ ๓ ที่เหลือพร้อมด้วยจิตตชรูป ก็เป็น
ปัจจยุบบัน เมื่อวิบากนามขันธ์ ๓ เป็นปัจจัย วิบากนามขันธ์ ๑ ที่เหลือ

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 07 ม.ค. 2025, 11:38 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8564


 ข้อมูลส่วนตัว


พร้อมด้วยจิตตชรูปก็เป็นปัจปัจยุบบัน และเมื่อวิบากนามขันธ์ ๒ เป็นปัจจัย
วิบากนามขันธ์ ๒ที่เหลือ พร้อมด้วยจิตตชรูปก็เป็นปัจจยุบบัน ส่วนในปฏิ
สนธิกาลนั้น วิบากนามขันธ์ ๔ ผลัดกันเป็นปัจจัยและปัจยุบบันซึ่งกันและกัน
ปฏิสนธิกัมมชรูปก็เป็นปัจจยุบบันด้วย แต่ถ้าเกิดในจตุโวการภูมิก็เป็นปัจจัย
ได้แต่เฉพาะนามด้วยกันเท่านั้น

อีกอย่างหนึ่ง วิบากเปรียบเหมือนเงา กุศล อกุศลเปรียบเหมือน
คน ถ้าคนไม่มี เงาคือวิบากก็ไม่มี
วิบากเกิดขึ้นเพราะกรรม แต่วิบากจะเป็นอย่างไร ย่อมขึ้นอยู่กับ
อำนาจของตัณหา เพราะตัณหาปรารถนาต่างกัน แม้ทำกรรมอย่างเดียว
กัน แต่ก็ได้ผลไม่เหมือนกัน เช่นทำบุญใส่บาตรเหมือนกัน แต่บางคนต้อง
การร่ำรวย บางคนต้องการรูปสวย บางคนต้องการปัญญา เพราะฉะนั้น
บากหรือขันธ์ ๕ ที่ได้มาจึงต่างกัน วิบากจึงขึ้นอยู่กับตัณหาเป็นประการ
สำคัญ วิบากเกิดขึ้นจากกรรม เพราะฉะนั้นในปฏิสนธิกาลจึงมีกัมมชรูปด้วย
ส่วนในปวัตติกาลมีแต่จิตตรูป เว้นวิญญัติรูปเพราะวิบากเป็นจิตที่มีกำลัง
อ่อน จึงสร้างรูปให้ไหวออกมาทางกายวาจาให้คนอื่นรู้ไม่ได้ อีกอย่างหนึ่ง
วิญญัติปที่เกิดขึ้นจะต้องเกิดกับจิตที่เป็นชวนะเท่านั้น ด้วยเหตุนี้ขณะนอน
หลับเป็นภวังคจิตคือเป็นวิบากจิต จึงไม่มีวิญญัติรูป

วิบากที่ได้มาแล้วตั้งแต่ปฏิสนธิ ก็ยังจะต้องรักษาต่อไปอีกจนกว่าจะ
จุติ ท่านจึงเปรียบวิบากเหมือนเรือที่มีสิทธิ์จะบรรทุกอะไร ๆก็ได้ ถ้าเจ้า
ของเรือมีปัญญา ก็เลือกบรรทุกแต่สิ่งที่ดี มีค่า คือบรรทุกแต่กุศล ก็อาจ
จะพารือไปสู่ฝั่งคือพระนิพพานได้ แต่ถ้าเจ้าของเรือไม่มีปัญญา บรรทุก
แต่สิ่งไม่ดี ไม่มีค่าคืออกุศล เรือก็ย่อมจมลงในอ่าว ไม่อาจไปถึงฝั่งคือ
พระนิพพาน
ฉะนั้นการได้วิบากมาถ้าไม่รู้เท่าทันวิบากตามความเป็นจริง วิบาก
ก็เป็นปัจจัยให้เกิดกิเลส กิเลสเป็นปัจจัยให้ทำบุญบ้าง ทำบาปบ้าง สร้างกรรม
ใหม่ขึ้นมา จึงต้องไปรับผลกรรมอีก เพราะเหตุนี้การมีวิปากปัจจัยจึง
แสดงให้รู้ว่าสัตว์ทั้งหลายตายแล้วไม่ได้สูญ เพราะวิบากก็เป็นวัฏฏะอัน
หนึ่ง เรียกว่าวิปากวัฏฏ์ วิปากวัฏฏ์มีได้ก็เพราะมีกัมมวัฏฏ์ กัมมวัฏฏ์
ได้ก็เพราะมีกิเลสวัฏฏ์ ทำให้หมุนเวียนอยู่ในวัฏฏะไม่มีที่สิ้นสุด ตราบใด
ที่ยังไม่รู้เท่าทันอารมณ์ตามความเป็นจริง คือยังไม่รู้อริยสัจ ๔ ยังไม่ได้
สติปัฏฐาน สัตว์ทั้งหลายก็ต้องท่องเที่ยวอย่างนี้เรื่อยไป

องค์ธรรมวิปากปัจจัย
ปัจจัย วิบาก ๓๖ เจ.๓๘ ทั้งในปฏิสนธิกาลและปวัตติกาล
ปัจจยุบบัน วิบาก ๓๖ เจ.๓๘ จิตตช. ๑๕ (เว้นวิญญัติ.๒) ปฏิ.ก. ๒๐
ปัจจนิก กุ.๒๑ อกุ.๑๒ กิริยา ๒๐ เจ.๕๒ รูป ๕ หมวด และวิญญัติรูป ๒

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 21 เม.ย. 2025, 18:30 
 
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 30 ก.ย. 2013, 07:16
โพสต์: 2536

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


:b39: :b44: ขออนุโมทนา สาธุๆๆ ค่ะ
:b8: :b8: :b8:


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 6 โพสต์ ] 

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

่กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 1 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร