วันเวลาปัจจุบัน 10 พ.ย. 2024, 11:18  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


กฎการใช้บอร์ด


“อภิธรรม (สันสกฤต: abhidharma) หรืออภิธัมมะ (บาลี: abhidhamma) เป็นชื่อปิฎกศาสนาพุทธฉบับหนึ่งในปิฎกทั้งสามฉบับที่รวมเรียก "พระไตรปิฎก" อภิธรรมแปลว่าธรรมอันยิ่ง ปิฎกฉบับอภิธรรมนั้นเรียก "พระอภิธรรมปิฎก" ซึ่งว่าด้วยประมวลหลักธรรมและคำอธิบายที่เป็นหลักวิชาล้วนๆ ไม่มีความเกี่ยวข้องกับเหตุการณ์และบุคคลเลย”



กลับไปยังกระทู้  [ 4 โพสต์ ]    Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 02 ก.พ. 2014, 08:46 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 01 ก.พ. 2011, 08:23
โพสต์: 1328


 ข้อมูลส่วนตัว


:b8: นโม ตสฺส ภควโต อรหโต สมฺมาสมฺพุทฺธสฺส
:b44: :b44: :b44:

รูปภาพ

ผู้ทรงพระไตรปิฎกจะสูญสิ้นเมื่อใด และด้วยเหตุใด ?

จาก : หนังสือติปิฏกธระ หรือ ปิฏกะอาชาไนย์บุคคล
(บุคคลผู้มีความกล้าหาญชาญชัยในห้วงมหาสมุทรแห่งพระไตรปิฎก)
คือ ผู้ทรงพระไตรปิฎก
ภุนเฉว่เส่ง.....ผู้เรียบเรียง
พระมหาไพโรจน์ ญาณกุสโล.....ผู้แปล

ภายหลังการทำจตุตถสังคายนาเสร็จสิ้นลง พระอรหันต์ผู้ทรงจำพระไตรปิฎกทั้งหลาย ก็เริ่มทยอยลดน้อยลงมาเรื่อยๆ จนถึงปัจจุบัน เพราะผู้คนส่วนมากมักอ่อนแอกำลังทั้งทางด้าน สติ วิริยะ และปัญญา อีกทั้งมองไม่เห็นความสำคัญและความจำเป็นของการท่องจำ เน้นอาศัยแต่หนังสือ อ้างว่ามีหนังสือแล้วบ้าง มีคำแปลแล้วบ้าง เป็นต้น

ไม่ให้ความสนใจในการจำ บางท่านถึงขั้นเข้าใจผิดว่า หมดยุคของการท่องจำแล้ว ไม่ต้องท่องจำกันแล้ว มีหนังสือไว้ให้ดูอย่างสมบูรณ์แล้ว จะไปท่องจำให้เหนื่อยเปล่าไปทำไม อย่างนี้เป็นต้น ทั้งหมดทั้งปวงเหล่านี้เป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำให้ ผู้ทรงจำพระไตรปิฎกนับวันจะน้อยลงเรื่อยๆ จนถึงขั้นหมดหายสาบสูญสิ้นไปในที่สุด

ในหลักธรรมคำสอนแห่งพระพุทธศาสนาได้กล่าวจำแนกยุคสมัยไว้ ๒ ชนิด คือ
๑. ยุคขาขึ้น (ยุคเจริญ)
๒. ยุคขาลง (ยุคเสื่อม)

สามารถเห็นได้อย่างชัดเจนว่า หากยุคไหนเป็นยุคขาขึ้นหรือยุคเจริญ ผู้คนส่วนใหญ่ในยุคนั้นต่างก็จะสมาทานศีลรักษาศีล ทุกคนจะเป็นผู้ีศีลบริสุทธิ์ อันเป็นสาเหตุของการมีอายุยืนยาวนานสุขภาพแข็งแรงมีกำลังกายและใจ มีสติสมาธิ ปัญญาที่สมบูรณ์ ยิ่งทำให้มีความสามารถในการที่จะจดจำพระไตรปิฎกได้อย่างง่ายดาย ไม่ต้องออกแรงหรือใช้ความเพียรมากนัก

แต่หากยุคใดสมัยใดเป็นยุคขาลงหรือยุคเสื่อม ผู้คนส่วนใหญ่ในยุคสมัยนั้นก็จะไม่มีแม้การสมาทานศีล ไม่มีแม้การรักษาศีล จะเป็นผู้ที่ไร้หลักศีลธรรมในการดำเนินชีวิต อันจะเป็นสาเหตุทำให้มีอายุสั้นลง โรคภัยไข้เจ็บมาเยือนมากยิ่งขึ้น ไม่มีกำลังกายและใจ ในแต่ละวันมักจะคิดสรรหาแต่เรื่องกามคุณกิเลส จิตใจไม่มีความมั่นคง ไม่มีสมาธิขาดสติปัญญา อันจะเป็นสาเหตุที่ทำให้ไม่มีจิตใจในการที่จะจดจำพระไตรปิฎกหมดความสามารถในการจดจำ จึงเป็นเหตุหนึ่งหรือที่มาของการทำให้ผู้ทรงจำพระไตรปิฎกสาบสูญไปได้

นักปราชญ์บางท่านกล่าวว่า ผู้ทรงจำพระไตรปิฎกได้เริ่มทยอยสูญสิ้นเรื่อยมาตั้งแต่ปีพุทธศักราช ๕๐๐ เป็นต้น แต่บางท่านกล่าวว่าผู้ทรงจำพระไตรปิฎกได้สูญสิ้นไปอย่างสิ้นเชิงตั้งแต่ปี พ.ศ. ๒๑๐๐ หรือประมาณ จ.ศ. ๙๔๐ (เมียนม่า) เป็นต้นมา ซึ่งเป็นช่วงยุคการปกครองที่ ๒ แห่งประเทศเมียนม่า

ถึงแม้ในยุคนั้นจะพอมีพระเถระผู้ทรงความรู้ มีความสามารถในพระไตรปิฎก อรรถกถาฎิกา เป็นอย่างดี เช่น ท่านหต่องพีลาสย่าด่อ, ท่านมการะโลปะอะจ่อเข่งจีปย่อสย่าด่อ, พากะระสย่าด่อ, หญ่องกันสย่าด่ออูพูธ, ดีสย่าด่อ และหมั่นแหล่ สย่าด่อ เป็นต้น แต่ท่านทั้งหลายเหล่านั้นไม่ใช่ผู้ทรงจำพระไตรปิฎกโดยตรง แม้บางท่านจะมีความสามารถในการจดจำที่ดี แต่ก็มีเพียงผู้จดจำได้อย่างมากที่สุดหนึ่งปิฎกหรือครึ่งปืฎกเท่านั้น และไม่มีหลักฐานปรากฏว่าในยุคนั้นมีพระเถระรูปใดสามารถทรงจำพระไตรปิฎกได้อย่างครบถ้วน


:b8: :b8: :b8:

.....................................................
พระพุทธศาสนามี ๒ นัย ดังนี้...นัยที่ ๑ คือคำสอนของพระพุทธองค์มี ๓ ประการ...เพื่อประโยชน์ในภพนี้ ในภพหน้า เพื่อเข้าถึงความสุขโดยส่วนเดียวคือพระนิพพาน...นัยที่ ๒ คือแก่นแท้ของพระพุทธศาสนาคืออริยสัจจ ๔ ซึ่งเป็นสภาวะธรรมที่ทำให้ผู้เห็นแจ้ง พ้นทุกข์ทั้งปวงได้ การศึกษาพระอภิธรรมว่าด้วยสภาวะธรรมทั้งสิ้น ผู้เห็นประโยชน์ย่อมได้รับประโยชน์ค่ะ
(เกิดมาไม่ได้เป็นผู้สร้าง ก็จงเป็นผู้ที่รักษา แต่จงอย่าเป็นผู้ที่ทำลาย)


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 13 ก.พ. 2014, 19:58 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 01 ก.พ. 2011, 08:23
โพสต์: 1328


 ข้อมูลส่วนตัว


:b8: นโม ตสฺส ภควโต อรหโต สมฺมาสมฺพุทฺธสฺส
:b44: :b44: :b44:

ติปิฏกธระ หรือ ปิฏกะอาชาไนย์บุคคล

ติปิฏกะ-พระไตรปิฎก หมายถึง ?


การที่องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเสียสละโอกาสการบรรลุพระนิพพาน ในยุคกาลสมัยแห่งองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงพระนามว่าทีปังกร มุ่งหน้าสั่งสมบารมีเป็นระยะเวลาอันแสนยาวนานถึง ๔ อสงไขย แสนกัป เพื่อคุณประโยชน์อันใหญ่หลวงแก่ชาวโลกโดยฝ่ายเดียว ไม่คำนึงถึงประโยชน์ตนเองแม้แต่น้อยนิด

แม้ภายหลังจากที่ได้ทรงบรรลุเป็นพระสัพพัญญูพระพุทธเจ้าแล้ว ก็ได้ทรงแสดงพระธรรมเทศนา บอกกล่าวแนวทางการดำเนินชีวิตที่ดีให้แก่ชาวโลกเป็นระยะเวลารวม ๔๕ ปี หากพวกเราชาวโลกปฏิบัติตามแนวทางที่พระองค์ทรงแนะสอนให้ไว้ได้อย่างจริงจังและจริงใจ โอกาสในการบรรลุผลก็จะมีอย่างแน่นอนในภพใดภพหนึ่ง

พระธรรมคำสั่งสอนขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าที่พร่ำสอนมาตลอด ๔๕ พระพรรษาอันเป็นประโยชน์สุขแก่ชาวโลก เรียกเป็นภาษาบาลีว่า ติปิฏก (อ่านว่า ติ-ปิ-ตะ-กะ) แปลเป็นภาษาไทยว่า พระไตรปิฎก อันได้แก่

๑. พระวินัยปิฎก หมายถึง พระปิฏกที่แสดงถึงระเบียบข้อวัตรปฏิบัติ สำหรับพระภิกษุสามเณร ภิกษุณี สิกขมานา และสามเณรี

๒. พระสุตตันตปิฎก หมายถึง พระปิฏกที่แสดงถึงแนวการบำเพ็ญบุญกุศลอันจะมีผลที่ดีต่อผู้ที่บำเพ็ญ ทั้งในชาตินี้และทุกภพทุกชาติ

๓. พระอภิธรรมปิฎก หมายถึง พระปิฎกที่แสดงถึงสภาวธรรมอันเป็นสภาพความจริงแท้ของรูปนาม(ขันธ์ห้า) ที่มีปรากฏอยู่จริง

:b51: :b51: :b51: :b51: :b51: :b51:

ติปิฏกธระ-บุคคลผู้ทรงจำและเชี่ยวชาญพระไตรปิฎก คือ บุคคลเช่นไร ?

บุคคลที่มีความรู้ความสามารถสูงในการท่องจำหรือทรงจำพระบาลี อันเป็นพระธรรม คำสอนขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า และมีความเชี่ยวชาญในเนื้อหาสาระในพระไตรปิฎกทั้งพยัญชนะและอัตถะ เรียกว่า ติปิฏกธระ คือ ผู้ทรงจำและเชี่ยวชาญพระไตรปิฎก

ภายหลังจากที่พระพุทธองค์ทรงบรรลุเป็นพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าแล้ว ช่วงก่อนที่จะมีการทำสังคายนาครั้งที่ ๔ หรือภายในช่วง ๔๕๐ ปีแห่งการอุบัติเกิดขึ้นมาในโลกแห่งพระพุทธศาสนา เป็นช่วงที่ยังไม่มีการจารึกพระธรรมคำสอนของพระพุทธองค์เป็นลายลักษณ์อักษร ยังเป็นช่วงที่เผยแผ่พระพุทธศาสนาด้วยการบอกกล่าวเล่าสืบๆ กันมา อันเป็นระบบการจำด้วยถ้อยคำวาจา ประเภทปากต่อปาก เสียงต่อเสียง

ภายหลังจากที่องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงเสด็จดับขันธปรินิพพานไปแล้ว ก็ยังมีผู้ทรงจำพระไตรปิฎกเป็นจำนวนอีกไม่น้อย อันจะเห็นได้จากคราวทำสังคายนาครั้งที่ ๒ สามารถสรรหาพระเถระผู้ทรงจำพระไตรปิฎกได้ถึงจำนวน ๗๐๐ รูป และคราวทำสังคายนาครั้งที่ ๓ จำนวน ๑,๐๐๐ รูป โดยไม่ยากลำบาก

ในปี พ.ศ.๔๕๐ อันเป็นช่วงทำการสังคายนาครั้งที่ ๔ ก็ยังมีพระเถระผู้ทรงจำพระไตรปิฎกอยู่พอสมควร แต่ก็ยังเป็นการสรรหาที่ค่อนข้างยากลำบากกว่าครั้งที่ผ่านๆ มา เพราะสามารถสรรหาพระเถระผู้ทรงจำพระไตรปิฎกได้เพียง ๕๐๐ รูป

อันมีสาเหตุที่สืบเนื่องมาจาก ช่วงก่อนระยะเวลาของการทำสังคายนาครั้งที่ ๔ นั้น ณ ประเทศสีหฬ ได้ตกอยู่ในช่วงที่ประสพกับทุพภิกขภัยอย่างหนักหน่วง เป็นระยะเวลาอันยาวนานร่วม ๑๒ ปี ซึ่งเป็นผลสืบเนื่องมาจากภัยแล้งทางธรรมชาติ และภัยจากพวกโจรขโมย เป็นต้น คุกคามเป็นสาเหตุทำให้พระภิกษุสามเณรได้รับความยากลำบากทางด้านอาหารการฉันเป็นอย่างยิ่ง ทั้งประกอบกับยังอยู่ในช่วงระยะเวลาที่ยังใช้ระบบการท่องจำพระไตรปิฎกกันอยู่ ผู้ทรงจำพระไตรปิฎกในขณะนั้นจำเป็นต้องช่วยกันทำหน้าที่ทบทวนพระไตรปิฎกอยู่เนืองๆ เป็นประจำตราบจนชีวาจะหาไม่ ด้วยการท่องและทบทวนสัปดาห์ละหนึ่งครั้งบ้าง สองสัปดาห์หนึ่งครั้งบ้าง มิฉะนั้นจะทำให้ความจำลืมเลือนสูญหายไปได้ทีละหนึ่งบท หนึ่งประโยค หรือสองประโยค จนหมดไปในที่สุด

กว่าทุพภิกขภัยนั้นจะผ่านพ้นไปและทุกอย่างกลับคืนสู่สภาพปกติ พระอรหันต์เถระทั้งหลายต้องประคับประคองชีวิตไปวันๆ ด้วยใบไม้สดบ้าง น้ำต้มใบไม้บ้าง ทำการท่องทบทวน พระไตรปิฎกเพื่อมิให้ลืมอย่างต่อเนื่องเป็นระยะเวลาอันยาวนาน ๑๒ ปีโดยประมาณ

หากวันใดไม่มีแม้กระทั่งใบไม้สดหรือน้ำใบไม้ ก็อาศัยน้ำเปล่าๆ ประทังชีวิตกันไปแต่ละวัน และในวันใดต้องประทังชีวิตด้วยน้ำเปล่า ซึ่งจะหิวเร็วหิวง่ายขึ้นก็จะนำเอาถุงทรายเปียกน้ำซึ่งมีความเย็นพอสมควรวางเกยทับบนหน้าท้องบ้าง นอนคว่ำท้องทับลงบนกองทรายที่เปียกน้ำบ้าง เพื่ออาศัยความเย็นช่วยบรรเทาความเร่าร้อนในท้อง อันเกิดจากความหิว

ภายหลังจากที่ทุพภิกขภัยล่วงเลยไป พระอรหันต์ทั้งหลายต่างก็มีความเห็นเป็นเอกฉันท์ว่า ในอนาคตกาลข้างหน้าผู้คนส่วนมากมักจะมีความอ่อนแอในหลายๆ ด้าน ทั้งทางกาย ทางสติ วิริยะ และปัญญา จึงได้ดำริการทำจตุตถสังคายนาอันเป็นการจารึกพระไตรปิฎกลงบนใบลานเป็นการจารึกพระไตรปิฎกด้วยลายลักษณ์อักษรเป็นครั้งแรกในโลก ในพระบรมราชูปถัมภ์ ของพระเจ้าวัฏฏาคามณี ณ ถ้ำอโสกคูหา


:b8: :b8: :b8:

.....................................................
พระพุทธศาสนามี ๒ นัย ดังนี้...นัยที่ ๑ คือคำสอนของพระพุทธองค์มี ๓ ประการ...เพื่อประโยชน์ในภพนี้ ในภพหน้า เพื่อเข้าถึงความสุขโดยส่วนเดียวคือพระนิพพาน...นัยที่ ๒ คือแก่นแท้ของพระพุทธศาสนาคืออริยสัจจ ๔ ซึ่งเป็นสภาวะธรรมที่ทำให้ผู้เห็นแจ้ง พ้นทุกข์ทั้งปวงได้ การศึกษาพระอภิธรรมว่าด้วยสภาวะธรรมทั้งสิ้น ผู้เห็นประโยชน์ย่อมได้รับประโยชน์ค่ะ
(เกิดมาไม่ได้เป็นผู้สร้าง ก็จงเป็นผู้ที่รักษา แต่จงอย่าเป็นผู้ที่ทำลาย)


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 25 ม.ค. 2024, 15:32 
 
ออฟไลน์
อาสาสมัคร
อาสาสมัคร
ลงทะเบียนเมื่อ: 17 ก.ย. 2012, 15:32
โพสต์: 2885


 ข้อมูลส่วนตัว


:b8: :b8: :b8:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 29 ม.ค. 2024, 13:20 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 05 มิ.ย. 2009, 10:51
โพสต์: 2775


 ข้อมูลส่วนตัว


Kiss
:b8: :b8: :b8:


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 4 โพสต์ ] 

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 2 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร