วันเวลาปัจจุบัน 21 ก.ค. 2025, 20:59  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง




กลับไปยังกระทู้  [ 9 โพสต์ ]    Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 07 ก.ค. 2018, 09:38 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ต่อจาก

viewtopic.php?f=1&t=56123

เอาเท่าที่จำเป็น โดยตัดรายละเอียดปลีกย่อยออกบ้าง แต่ยังได้ใจความ

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 07 ก.ค. 2018, 09:40 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ข. จำแนกโดยทางรับรู้


กล่าวตามพุทธธรรม ผัสสะ เป็นแหล่งแห่งความรู้ ความรู้ทั้งหมดทุกอย่างทุกประเภทเกิดจากผัสสะ * หรือเกิดขึ้นที่ผัสสะ คืออาศัยการรับรู้ โดยผ่านอายตนะ (แดนรับรู้) ทั้ง ๖ หรือเรียกง่ายๆว่า ผ่านทวาร (ทางรับรู้) ทั้ง ๖ คือ จักขุ โสตะ ฆานะ ชิวหา กาย มโน หรือเรียกง่ายๆว่า ตา หู จมูก ลิ้น กาย และใจ

..............

อ้างอิงที่ *

* ระวังไม่พึงสับสนความหมายของผัสสะที่ใช้ในบาลีเดิม กับ ความหมายที่นำมาใช้บางแห่งในสมัยปัจจุบัน ที่ว่า ผัสสะ เป็นแหล่งเกิดของความรู้ทั้งหลาย พึงอ้างบาลีมากมาย เช่น สํ.สฬ.18/125/86 ฯลฯ อย่างไรก็ตาม ถ้าถือเคร่งครัด ผัสสะไม่เป็นปัจจัยของความรู้ที่เรียกว่าวิญญาณ เพราะวิญญาณเป็นองค์ประกอบร่วมในการเกิดผัสสะ ดังนั้น บาลีที่อ้างเหล่านี้จึงไม่กล่าวว่าผัสสะเป็นเหตุให้เกิดวิญญาณขันธ์ แต่กล่าวว่านามรูปเป็นเหตุให้เกิดวิญญาณขันธ์ กระนั้นก็ดี ถ้อยคำภาษาไทยว่าผัสสะเป็นแหล่งของความรู้ทั้งหมด ก็นับว่าถูกต้อง เพราะคำว่าแหล่ง คลุมความหมายทั้งในแง่เป็นต้นเหตุและเป็นที่รวม

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 07 ก.ค. 2018, 09:45 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ถ้าถือ อายตนะหรือทวาร เป็นหลัก โดยฐานเป็นต้นทางของการรับรู้ ก็สามารถจัดกลุ่มความรู้ ได้เป็น ๒ ประเภท คือ

๑. ความรู้ (ที่ได้) ทางปัญจทวาร หรือเบญจทวาร คือ ตา หู จมูก ลิ้น กาย ได้แก่ ความรู้ขั้นต้นหลายอย่าง คือ ความรู้รูป (สี) เสียง กลิ่น รส และโผฏฐัพพะ (สิ่งต้องกายทั้งหลาย ซึ่งสรุปลงได้ใน ปฐวี - สภาวะแข้นแข็ง เตโช - ความร้อนหรืออุณหภูมิ และวาโย - ความสั่นไหว เคลื่อนและเคร่งตึง)

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 07 ก.ค. 2018, 09:52 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


๒. ความรู้ (ที่ได้) ทางมโนทวาร คือ ใจ ได้แก่ ธรรมารมณ์ หรือเรียกสั้นๆ ว่า ธรรม กล่าวคือ สิ่งทั้งหลายที่ใจรู้ที่ใจคิด ธรรมารมณ์หรือธรรม นี้ ว่าตามแนวอภิธรรม (อภิ.วิ.35/100/86 ฯลฯ) ท่านแยกแยะให้เห็นชัดขึ้นอีกว่า มี ๕ อย่าง คือ

ก. เวทนาขันธ์ (หมายถึงเวทนาในฐานะเป็นสิ่งที่ถูกรู้ ข้อต่อๆไปก็พึงเข้าใจเช่นเดียวกัน)

ข. สัญญาขันธ์

ค. สังขารขันธ์

ง. อนิทัสสนอัปปฏิฆรูป (รูปที่เห็นไม่ได้ กระทบหรือถูกต้องไม่ได้) อันนับเนื่องในธรรมายตนะ หรือเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า สุขุมรูป มี ๑๖ อย่าง ฯลฯ

จ. อสังขตธาตุ คือ นิพพาน

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 07 ก.ค. 2018, 10:13 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


คัมภีร์อภิธรรมชั้นหลัง* (สงฺคห.17; สงฺคห.ฎีกา 124) ประสงค์จะให้เข้าใจง่ายและละเอียดยิ่งขึ้น ได้จัดแบ่งธรรมารมณ์ คือ สิ่งที่เป็นความรู้ทางใจนี้ อีกแบบหนึ่ง โดยจำแนกเป็น ๖ อย่าง คือ

๑) ปสาท หรือประสาททั้ง ๕ คือ ความใสหรือความไวที่เป็นตัวสื่อรับรู้ของ ตา หู จมูก ลิ้น กาย

๒) สุขุมรูป ๑๖ (ที่กล่าวแล้วในข้อ ๔) ของชุดก่อน

๓) จิต

๔) เจตสิก (ตรงกับเวทนาขันธ์ สัญญาขันธ์ สังขารขันธ์ในชุดก่อน)

๕) นิพพาน

๖) บัญญัติ คือ คำเรียกขาน ชื่อเรียก คำกำหนดที่วางไว้ เช่น ชื่อเรียกว่า พื้นดิน ภูเขา รถ คน ทิศเหนือ ทิศใต้ หลุม บ่อ เกาะ แหลม เป็นต้น ซึ่งตัวจริงของสิ่งที่บัญญัติเรียกนั้น เป็นของมีจริงก็มี ไม่มีอยู่จริง ก็มี แต่จะจริงหรือไม่ก็ตาม คำบัญญัตินั้น ก็เป็นกาลวินิมุต คือไม่ขึ้นต่อกาล และไม่พินาศ เช่น

ช่องว่างที่ลึกลงไปในแผ่นดิน เราเรียกว่า หลุม ช่องเช่นนั้นมีที่ไหน เมื่อใด ก็เรียกว่า หลุม คงที่เสมอไป แต่หลุมต่างหากจากช่องในแผ่นดินหามีไม่ และ หลุมเองทุกๆ หลุม ย่อมตื้นเขิน ย่อมพัง ย่อมเปลี่ยนแปลงไปกลายเป็นอื่นได้ หรือ เช่น

สิ่งที่เรียกว่า สัญญา ย่อมเกิดดับเสื่อมสลายไป แต่บัญญัติว่า สัญญา หาเสื่อมสลายไม่ เพราะสิ่งที่มีภาวะเช่นนั้นเกิดขึ้นที่ไหน เมื่อใด ก็เรียกว่า สัญญา เสมอไป (ถ้าได้ตกลงไว้อย่างนั้น) หรือเช่น

สิ่งที่เป็นร่างกาย ย่อมทรุดโทรมแตกสลายได้ แต่บัญญัติว่า กาย ย่อมคงที่ ของอย่างนั้น เกิดที่ไหนพบที่ไหน ก็เรียกอย่างนั้นตามบัญญัติ
ผู้ที่ไม่เข้าใจเรื่องบัญญัตินี้ อาจงงหรือสับสน เมื่อได้ฟังคำว่า เวทนา ไม่เที่ยง สัญญา ไม่เที่ยง เป็นต้น โดยจับไม่ถูกกว่าเนื้อตัวของเวทนา และสัญญาไม่เที่ยง หรือ บัญญัติของเวทนา และสัญญาไม่เที่ยง



พูดด้วยภาษาทางวิชาการอย่าง นี้ อาจเข้าใจยากสักหน่อย โดยเฉพาะความรู้ทางมโนทวารบางอย่าง
บางคน อาจแยกไม่ออกจากความรู้ทางปัญจทวาร ถ้าสามารถแยกได้ ก็จะเข้าใจชัดเจนยิ่งขึ้น
ขอยกตัวอย่าง เมื่อได้ยินคนพูด ความรู้ทางปัญจทวาร (ในที่นี้ ได้แก่ โสตทวาร คือ หู) เป็นเพียงความรู้เสียง คือ ได้ยินเสียงเท่านั้น หาใช่รู้คำพูดไม่
ส่วนการรู้คำพูด คือความหมายของถ้อยคำนั้นๆ ว่าเขาพูดอะไรๆ เป็นความรู้ที่เกิดในมโนทวาร หรือเมื่อมองดูหลังคา ความรู้ทางปัญจทวาร (ในที่นี้ ได้แก่ จักขุทวาร คือ ตา) เป็นเพียงความรู้รูป หรือรู้สีเท่านั้น หาใช่รู้หลังคาไม่ การรู้ภาวะที่คลุม ที่มุง ที่ปกป้อง และรู้ความเป็นหลังคา สำเร็จได้ที่มโนทวาร

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 07 ก.ค. 2018, 12:03 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


โดยนัยนี้ จะเห็นว่า ความรู้เข้าใจ หรือความรู้ธรรมารมณ์ คือสิ่งที่ใจรู้ หรือเรื่องในใจนั้น มีขอบเขตกว้างขวางมาก ครอบคลุมไปถึงความรู้ที่รับเข้ามาทางปัญจทวาร พร้อมทั้งความรู้ที่เป็นเรื่องจำเพาะของใจ ถ้าพูดด้วยภาษาง่ายลงสักหน่อย อาจแยกประเภท ความรู้ทางมโนทวาร ได้อีกแนวหนึ่ง ดังนี้

ก) อารมณ์เฉพาะของใจ เช่น ความรัก ความโกรธ ความขุ่นมัว ผ่องใส ดีใจ เสียใจ ซึม เศร้าเหงาหงอย ว้าเหว่ เบิกบาน กล้าหาญ หวั่นกลัว เป็นต้น

ข) อารมณ์อดีต ซึ่งได้รับรู้ไว้ด้วยอายตนะ ๕ อย่างแรก เรียกง่ายๆว่า อารมณ์อดีตของปัญจทวาร ไม่รู้ ได้แก่ บัญญัติ และความสัมพันธ์ต่างๆ เกี่ยวกับรูปธรรมทั้งหลาย เช่น หน้าที่ความสืบเนื่อง ความคลี่คลายขยายตัว ความเป็นองค์ประกอบกัน ของรูปธรรมต่างๆ เป็นต้น

ง) การปรุงแต่งอารมณ์อดีตที่รับเข้ามาทางปัญจทวาร พร้อมทั้งอารมณ์เฉพาะของใจ และความรู้เกี่ยวกับบัญญัติ และความสัมพันธ์ต่างๆขึ้นเป็นความตริตรึก คิดหาเหตุผลและจินตนาการต่างๆ ตลอดจนการวินิจฉัยสังการ

จ) ความหยั่งรู้ หรือปรีชาพิเศษต่างๆ ที่ผุดโพลงขึ้นในใจสว่างชัดทั่วตลอด เช่น มองเห็นอาการที่สัมพันธ์กันของบางสิ่งแล้ว เกิดความเข้าใจแจ่มแจ้ง มองเห็นกฎแห่งความสัมพันธ์ ได้แก่ ความรู้ที่เรียกว่า ญาณ เช่น อภิญญา เป็นต้น

ฉ) อสังขตธรรม คือนิพพาน

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 07 ก.ค. 2018, 12:04 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ถ้าจับ เอาตรงแค่ผัสสะ โดยถือว่าเป็นจุดที่ความรู้เริ่มต้นอย่างแท้จริง ก็แยกประเภทความรู้เป็น ๒ คือ ความรู้ (ที่ได้) ด้วยผัสสะทางปัญจทวาร และความรู้ (ที่ได้) ด้วยมโนสัมผัส (ผัสสะทางมโนทวาร) ซึ่งก็ได้ความเท่ากับที่จำแนกโดยทวารอย่างที่กล่าวแล้ว * (สํ.สฬ.18/133/91 ฯลฯ)

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 07 ก.ค. 2018, 12:14 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


อีกอย่างหนึ่ง ตามความนิยมในคัมภีร์ทั้งหลาย ท่านจัดความรู้ตามทางรับรู้ เป็น ๔ ประเภท คือ (ที่มามากมาย เช่น สํ.สฬ. 18/113/91 ฯลฯ )

๑. ทิฏฐะ สิ่งที่เห็น ได้แก่ รูปารมณ์ทั้งหลาย หรือความรู้ที่ได้ด้วยการเห็นการดู

๒. สุตะ สิ่งที่ได้ยิน ได้แก่ เสียง และความรู้ที่ได้ด้วยการสดับทั้งหลาย

๓. มุตะ สิ่งที่ซบทราบ ได้แก่ กลิ่น รส และโผฏฐัพพะ หรือสิ่งที่รับรู้ทางจมูก ลิ้น และกาย

๔. วิญญาณ สิ่งที่แจ้งใจ ได้แก่ ธรรมารมณ์ กล่าวคือ สิ่งทั้งหลายที่รู้ด้วยใจ

สามอย่างแรก คือ ทิฏฐะ สุตะ และมุตตะ เป็นความรู้ทางปัญจทวาร แต่ท่านแยกออกเป็น ๓ พวก เพราะการเห็น และการได้ยิน เป็นแหล่งความรู้สำคัญ มีขอบเขตกว้างขวางมาก จึงแยกเป็นแต่ละอย่าง
ส่วนความรู้ทางทวารอีกสาม ได้แก่ ทางจมูก ลิ้น และกาย มีลักษณะร่วมกันคือ เป็นความรู้ของทวาร ซึงรับอารมณ์ที่มาถึงตัว คือ กลิ่น รส และโผฏฐัพพะ ต้องมาถูกต้องที่อายตนะจึงรู้ได้ ต่างจากตา หู ซึ่งรับอารมณ์ที่ไม่มาแตะต้องถึงอายตนะ (รูปอาศัยแสง เสียงอาศัยคลื่น เป็นสื่อเชื่อมต่อ) *

ว่าโดยความหมายเคร่งครัด ความรู้ทางปัญจทวารมีขอบเขตจำกัดแคบมากดังกล่าวแล้วข้างต้น
แต่ตามที่ใช้ทั่วไป ท่านมุ่งเอาความหมายกว้างๆ หลวมๆ กล่าวคือ ทิฏฐะ หมายถึง สิ่งที่เห็น และความรู้ที่ได้ด้วยอาศัยตา หรือด้วยการดูการเห็นทั้งหมด แม้ที่ใจได้แปลความหมายออกไปแล้ว แต่ยังเป็นความหมายโดยตรงขั้นต้น ที่ไม่มีการปรุงแต่งเสริมต่อ สุตะ ก็หมายถึงสิ่งที่ได้ยิน และความรู้ที่ได้จากการฟังทั้งหมด รวมทั้งถ้อยคำพูดจา ซึ่งใจได้แปลความหมายขั้นต้นแล้ว แต่ยังไม่ได้เอาไปปรุงแต่งต่อเสริมอีก แม้มุตะ ก็พึงทราบทำนองเดียวกันนี้ หากจะใช้คำศัพท์ ความรู้ทางปัญจทวาร คือ ทิฏฐะ สุตะ และมุตะ นี้ กินความหมายกว้างออกมาได้เพียงแค่ปัญจทวาริกสัญญา คือ สัญญาที่เป็นไปทางปัญจทวาร นอกจากนั้นไปก็เป็น วิญญาตะ คือ ความรู้ที่อาศัยมโนทวาร

......

ที่อ้างอิง *

* จักขุ และโสตะ เป็นอัปปัตตวิสยัคคาหิกะ (รับอารมณ์ที่ไม่มาถึง) เรียกสั้นๆว่า อัปปัตตคาหิกะ ฆานะ ชิวหา และกาย เป็นสัมปัตตวิสยัคคาหิกะ (รับอารมณ์ที่มาถึง) เรียกสั้นๆว่า สัมปัตตคาหิกะ (สงฺคห.35 สงฺคห. ฎีกา. 203 ฯลฯ)


.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 07 ก.ค. 2018, 12:16 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


จบตอนความรู้ ซึ่งจำแนกโดยทางรับรู้เท่านี้

ต่อที่

viewtopic.php?f=1&t=56171


ไม่ต้องถึงกับจำไปทุกตัวอักษร แต่ดูให้เข้าใจ

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 9 โพสต์ ] 

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

่กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 1 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร