วันเวลาปัจจุบัน 29 ก.ค. 2025, 03:46  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง




กลับไปยังกระทู้  [ 7 โพสต์ ]    Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 19 ก.ค. 2017, 08:05 
 
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 5
สมาชิก ระดับ 5
ลงทะเบียนเมื่อ: 19 ก.พ. 2013, 19:24
โพสต์: 300

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว




images %283%29.jpg
images %283%29.jpg [ 83.46 KiB | เปิดดู 2409 ครั้ง ]
มาราติเร กะมะภิยุชฌิตะสัพพะรัตติง
โฆรัมปะนาฬะวะกะมักขะมะถัทธะยักขัง
ขันตีสุทันตะวิธินา ชิตะวา มุนินโท
ตันเตชะสา ภะวะตุ เต ชะยะมังคะลานิ

สมเด็จพระผู้มีพระภาค พระจอมมุนีทรงชนะอาฬวกยักษ์
ผู้โหดร้ายบ้าคลั่ง น่าสพึงกลัว ซึ่งต่อสู้กับพระองค์
ตลอดทั้งคืนรุนแรงยิ่งกว่าพญามาร จนละพยศร้ายได้สิ้น
ด้วยขันติธรรมวิธีอันพระองค์ได้ฝึกไว้ดีแล้ว
งและด้วยเดชของพระผู้มีพระภาคพระองค์นั้น
ขอชัยมงคลทั้งหลายจงมีแก่ข้าพเจ้า
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 19 ก.ค. 2017, 13:54 
 
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 5
สมาชิก ระดับ 5
ลงทะเบียนเมื่อ: 19 ก.พ. 2013, 19:24
โพสต์: 300

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว




_37_114.jpg
_37_114.jpg [ 96.18 KiB | เปิดดู 2409 ครั้ง ]
ข้าพเจ้าได้สดับมาแล้วอย่างนี้

สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ในที่อยู่ของอาฬวกยักษ์ ใกล้เมือง
อาฬวี ครั้งนั้นแล อาฬวกยักษ์เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ครั้นแล้ว
ได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคว่า จงออกไปเถิดสมณะ พระผู้มีพระภาคตรัสว่า
ดีละท่าน แล้วได้เสด็จออกไป อาฬวกยักษ์ได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคว่า จงเข้ามา
เถิดสมณะ พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ดีละท่าน แล้วได้เสด็จเข้าไป

แม้ครั้งที่ ๒
แม้ครั้งที่ ๓
แม้ครั้งที่ ๔ อาฬวกยักษ์ได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคว่า
จงออกไปเถิดสมณะ พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ดูกรท่าน เราจักไม่ออกไปละ
ท่านจงกระทำกิจที่ท่านจะพึงกระทำเถิด ฯ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 19 ก.ค. 2017, 13:55 
 
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 5
สมาชิก ระดับ 5
ลงทะเบียนเมื่อ: 19 ก.พ. 2013, 19:24
โพสต์: 300

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว




jango bsg-23.gif
jango bsg-23.gif [ 333.05 KiB | เปิดดู 2402 ครั้ง ]
hqdefault (1).jpg
hqdefault (1).jpg [ 22.6 KiB | เปิดดู 2353 ครั้ง ]
อา. ดูกรสมณะ ข้าพเจ้าจะถามปัญหากะท่าน ถ้าว่าท่านจักไม่พยากรณ์
แก่ข้าพเจ้าไซร้ ข้าพเจ้าจะควักดวงจิตของท่านออกโยนทิ้ง จักฉีกหัวใจของท่าน
หรือจักจับที่เท้าทั้งสองของท่านแล้วขว้างไปที่ฝั่งแม่น้ำคงคา ฯ

พ. เรายังไม่มองเห็นบุคคลผู้ที่จะพึงควักดวงจิตของเราออกโยนทิ้ง จะพึง
ฉีกหัวใจของเรา หรือจะพึงจับที่เท้าทั้งสองแล้วขว้างไปที่ฝั่งแม่น้ำคงคาได้ ในโลก

พร้อมทั้งเทวโลก มารโลก พรหมโลก ในหมู่สัตว์พร้อมทั้งสมณพราหมณ์
เทวดาและมนุษย์ ดูกรท่าน ก็และท่านหวังจะถามปัญหาก็จงถามเถิด ฯ
ลำดับนั้น อาฬวกยักษ์ได้ทูลถามพระผู้มีพระภาคด้วยคาถาว่า


แก้ไขล่าสุดโดย ธรรมมา เมื่อ 24 ก.ค. 2017, 08:15, แก้ไขแล้ว 1 ครั้ง
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 21 ก.ค. 2017, 18:13 
 
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 5
สมาชิก ระดับ 5
ลงทะเบียนเมื่อ: 19 ก.พ. 2013, 19:24
โพสต์: 300

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว




ไมยราพ copy (1).png
ไมยราพ copy (1).png [ 311.03 KiB | เปิดดู 2402 ครั้ง ]
อะไรเล่าเป็นทรัพย์เครื่องปลื้มใจอันประเสริฐที่สุดของบุรุษใน
โลกนี้ อะไรเล่าที่บุคคลประพฤติดีแล้วย่อมนำความสุขมาให้
อะไรเล่าเป็นรสยังประโยชน์ให้สำเร็จกว่ารสทั้งหลาย นัก
ปราชญ์ทั้งหลาย ได้กล่าวชีวิตของบุคคลผู้เป็นอยู่อย่างไรว่า
ประเสริฐที่สุด ฯ

พระผู้มีพระภาคตรัสตอบด้วยพระคาถาว่า
ศรัทธาเป็นทรัพย์ เครื่องปลื้มใจอันประเสริฐที่สุดของบุรุษใน
โลกนี้ ธรรมที่บุคคลประพฤติดีแล้วย่อมนำความสุขมาให้
สัจจะแลเป็นรสยังประโยชน์ให้สำเร็จกว่ารสทั้งหลาย นัก
ปราชญ์ทั้งหลายกล่าวชีวิตของบุคคลผู้เป็นอยู่ด้วยปัญญาว่าประ
เสริฐที่สุด ฯ

บุคคลย่อมข้ามโอฆะได้อย่างไร บุคคลย่อมข้ามอรรณพได้
อย่างไร บุคคลย่อมล่วงทุกข์ได้อย่างไร ย่อมบริสุทธิ์ได้
อย่างไร ฯ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 21 ก.ค. 2017, 20:18 
 
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 5
สมาชิก ระดับ 5
ลงทะเบียนเมื่อ: 19 ก.พ. 2013, 19:24
โพสต์: 300

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว




20170721_200640.jpg
20170721_200640.jpg [ 84.99 KiB | เปิดดู 2396 ครั้ง ]
บุคคลย่อมข้ามโอฆะได้ด้วยศรัทธา ย่อมข้ามอรรณพได้
ด้วยความไม่ประมาท ย่อมล่วงทุกข์ได้ด้วยความเพียร ย่อม
บริสุทธิ์ได้ด้วยปัญญา ฯ
บุคคลย่อมได้ปัญญาอย่างไร ย่อมหาทรัพย์ได้อย่างไร ย่อม
ได้ชื่อเสียงอย่างไร ย่อมผูกมิตรทั้งหลายไว้ได้อย่างไร บุคคล
ละจากโลกนี้ไปสู่โลกอื่นแล้ว ย่อมไม่เศร้าโศกอย่างไร ฯ
บุคคลเชื่อธรรมของพระอรหันต์ทั้งหลาย เพื่อบรรลุนิพพาน
เป็นผู้ไม่ประมาท มีปัญญาเป็นเครื่องสอดส่อง ฟังอยู่ด้วยดี
ย่อมได้ปัญญา บุคคลผู้มีธุระ กระทำสมควร มีความหมั่น
ย่อมหาทรัพย์ได้ บุคคลย่อมได้ชื่อเสียงด้วยสัจจะ ผู้ให้ย่อม
ผูกมิตรไว้ได้ ผู้ใดมีศรัทธาอยู่ครองเรือน มีธรรม ๔ ประการ
นี้ คือ สัจจะ ธรรมะ ธิติ จาคะ ผู้นั้นแลละจากโลกนี้
ไปแล้วย่อมไม่เศร้าโศก ถ้าว่าเหตุแห่งการได้ชื่อเสียงยิ่งไป
กว่าสัจจะก็ดี เหตุแห่งการได้ปัญญายิ่งไปกว่าทมะก็ดี เหตุ
แห่งการผูกมิตรยิ่งไปกว่าจาคะก็ดี เหตุแห่งการหาทรัพย์
ได้ยิ่งไปกว่าขันติก็ดี มีอยู่ในโลกนี้ไซร้ เชิญท่านถามสมณ-
พราหมณ์เป็นอันมากแม้เหล่าอื่นดูเถิด ฯ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 22 ก.ค. 2017, 17:24 
 
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 5
สมาชิก ระดับ 5
ลงทะเบียนเมื่อ: 19 ก.พ. 2013, 19:24
โพสต์: 300

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว




unnamed (8).gif
unnamed (8).gif [ 223.11 KiB | เปิดดู 2374 ครั้ง ]
บัดนี้ ข้าพระองค์จะพึงถามสมณพราหมณ์เป็นอันมากทำไม
เล่า วันนี้ ข้าพระองค์ทราบชัดประโยชน์อันเป็นไปในภพ
หน้า พระพุทธเจ้าเสด็จมาสู่เมืองอาฬวีเพื่อประทับอยู่ เพื่อ
ประโยชน์แก่ข้าพระองค์หนอ วันนี้ ข้าพระองค์ทราบชัด
พระทักขิไณยบุคคลผู้เลิศ ที่บุคคลถวายทานแล้วเป็นทาน
มีผลมาก ข้าพระองค์จักนอบน้อมพระสัมพุทธเจ้า และ
ความที่พระธรรมเป็นธรรมดี เที่ยวไปจากบ้านสู่บ้าน
จากเมืองสู่เมือง ฯ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 25 ก.ค. 2017, 08:29 
 
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 5
สมาชิก ระดับ 5
ลงทะเบียนเมื่อ: 19 ก.พ. 2013, 19:24
โพสต์: 300

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ผจญอาฬวกยักษ์
อาฬวกยักษ์ผู้กระด้าง ปราศจาก
ความอดทน ดุร้าย สู้รบกับพระพุทธเจ้าอย่าง
ทรหดยิ่งกว่ามารตลอดราตรี พระจอมมุนีทรง
เอาชนะได้ด้วยขันติวิธีที่ทรงฝึกฝนมาดี ด้วย
เดชแห่งชัยชนะนั้น ขอชัยมงคลจงมีแก่ท่าน

ในป่าลึกชายแดนเมืองอาฬวี มียักษ์อาศัยอยู่จำนวนมาก วันหนึ่งเจ้าเมืองอาฬวี มียักษ์อาศัยอยู่จำนวนมาก วันหนึ่งเจ้าเมืองอาฬวีไปล่าสัตว์พลัดหลงกับ ข้าราชบริพาน เข้าไปยังป่าลึกถูกพวกยักษ์จับได้ตั้งใจจะเอามาทำ สเต็กกินให้อร่อย เข้าเมืองกลัวตายจึงหาทางเอาตัวรอดโดยกล่าวว่า “ถ้าพวกยักษ์กินตนอิ่มเพียงมื้อเดียว ถ้าปล่อยตนไป ตนจะไปหาคนมาส่งให้กินทุกวัน ขอให้ปล่อยตนไปเถอะ”

“จะเชื่อได้อย่างไรว่าจะไม่เบี้ยว” ยักษ์ถาม
“ไม่เบี้ยวแน่นอนท่าน เพราะข้ามิใช่นายกเมืองสารขัณฑ์ ที่รับปากใครไปเรื่อยกระทั่งกับพระกับเจ้า แล้วก็ลืม ข้าเป็นถึงเจ้าเมือง อาฬวีย่อมรักษาสัจจะยิ่งชีวิต” เจ้าเมืองพูดขึงขัง

โชคยังดี พวกยักษ์เชื่อ จึงปล่อยไป ท้าวเธอก็ส่งนักโทษประหารมาให้กินวันละคน จนกระทั่งนักโทษหมดคุก เมื่อหาใครไม่ได้ก็สั่งให้ดักจับเอาใครก็ได้ที่เดินอยู่คนเดียว มีคดีคนหายอย่างลึกลับเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ จน จส.๑๐๐ ของยักษ์ประกาศหาไม่หยุด สร้างความหวาดวิตกแก่ประชาชนทั้งเมือง

พระพุทธองค์ทรงทราบด้วยพระญาณด้วย พระมหากรุณาธิคุณ อันยิ่งใหญ่ต่อชาวเมืองอาฬวี พระองค์จึงเสด็จไปหาอาฬวกยักษ์ หัวหน้าพวกยักษ์ในป่าอาฬวี บังเอิญอาฬวกยักษ์ไม่อยู่ พระองค์จึงเสด็จเข้าไปประทับ ณ ที่นั่งประจำตำแหน่งของแก

อาฬวกยักษ์กลับมา พบพระพุทะองค์ประทับที่บัลลังก์ของตนก็โกรธเขี้ยวกระดิกทีเดียวตวาดด้วยเสียงดังฟังชัดว่า “สมณะโล้นมานั่งที่นั่งข้าทำไม ลุกขึ้นเดี๊ยวนี้”

พระพุทธองค์ทรงลุกขึ้นอย่างว่าง่าย

ยักษ์แกได้ใจ จึงออกคำสั่งอีกว่า “นั่งลง” พระองค์ ก็นั่งลง

“ลุกขึ้น” สั่งอีก พระองค์ก็เสด็จลุกขึ้น

“นั่งลง” พระองค์นั่งลงตามคำสั่ง

ยักษ์เขี้ยวโง้งได้ใจ หัวร่อ ฮ่าๆ ที่เห็นพระพุทธเจ้าผู้ยิ่งใหญ่ของชาวโลกทำตามคำสั่งแกอย่างว่าง่าย

ถามว่า “ทำไมพระพุทธองค์จึงทรงทำตามยักษ์อย่างว่าง่าย”

ตอบว่า “เป็นเทคนิควิธีสอนของพระพุทธเจ้า” พระองค์ทรงรู้อยู่แล้วว่า ยักษ์แกเป็นผู้ดุร้าย อารมณ์ร้อน ถ้าขัดใจแก แกก็จะโมโหจนลืมตัว ไม่มีช่องที่จะสอบอะไรได้ ถึงกล่าวสอนตอนนั้นแกก็คงรับไม่ได้ พระองค์จึงทรงเอาชนะความแข็งด้วยความอ่อน ดังคำพังเพยจีน (หรือเปล่าไม่รู้) “หยุ่นสยบแข็ง” หรือดังบทกวี (เก่า)บทหนึ่งว่า

“ถึงคราวอ่อน อ่อนให้จริง ยิ่งเส้นไหม

เพื่อจะได้ เอาไว้โยง เสือโคร่งเฆี่ยน

ถึงคราวแข็ง ก็ให้แกร่ง ดังวิเชียร

เอาไว้เจียน ตัดกระจก เจียระไน”

ยักษ์ถึงแกจะป่าเถื่อน ใช่ว่าแกจะไม่รู้ว่า พระพุทธเจ้านั้น เป็นที่เคารพนับถือของคนเป็นจำนวนมาก การที่แกสามารถสั่งให้คนยิ่งใหญ่ขนาดนั้นทำตามคำสั่งอย่างไม่ขัดขืน จึงทำให้แกภาคภูมิใจที่ปราบพระศาสดาเอกในโลกได้จิตใจจึงผ่อนคลายความดุร้ายลง สงบเยือกเย็นพอจะพูดกันด้วยเหตุผลรู้เรื่อง พระพุทธองค์จึงค่อยๆ สอนให้แกรู้ผิดชอบชั่วดี ยักษ์แกก็เข้าใจและรับได้อย่างเต็มใจ ในที่สุดก็รับเอาไตรสรณคมน์เป็นสรณะตลอดชีวิต


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 7 โพสต์ ] 

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

่กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 1 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร