วันเวลาปัจจุบัน 26 เม.ย. 2024, 11:51  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง




กลับไปยังกระทู้  [ 2 โพสต์ ]    Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 09 พ.ย. 2016, 18:27 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


คำว่า มาร แปลว่า สภาพที่ทำให้ตาย ในพระพุทธศาสนา หมายถึง ผู้ฆ่าเหล่าสัตว์ให้ตายจากคุณธรรมความดี คือสิ่งหรือตัวการที่คอยฆ่า คอยล้างผลาญ คอยกำจัด หรือคอยขัดขวางบุคคลมิให้บรรลุคุณธรรมความดี หรือผลสำเร็จอันดีงาม ท่านจำแนกไว้ ๕ ประเภท เรียกว่า มาร ๕ หรือเบญจพิธมาร คือ

๑) ขันธมาร มารคือเบญจขันธ์ หมายความว่า ขันธ์ คือ รูป เวทนา สัญญา สังขาร และวิญญาณ ได้ชื่อว่า มาร เพราะเป็นสภาพอันปัจจัยปรุงแต่งที่แปรปรวนเสื่อมโทรมไปเพราะความชรา เจ็บ ป่วย เป็นต้น ล้วนตัดรอนบั่นทอนโอกาส มิให้คนเราทำกิจหน้าที่หรือบำเพ็ญความดีได้สมบูรณ์เต็มที่ตามแรงปรารถนา อาจถึงกับพรากจากโอกาสนั้นโดยสิ้นเชิง นอกจากนี้ ขันธ์ ๕ นี้ ยังสร้างความลำบาก ก่อให้เกิดโรคร้าย หรือมีความพิการทางร่างกาย จนเป็นเหตุให้คนเราผู้สมมติตนว่า เป็นเจ้าของมันเกิดความเบื่อหน่าย คิดลงมือฆ่าตัวตายเสียเองก็มีอีกด้วย

๒) กิเลสมาร มารคือกิเลส หมายถึงว่า กิเลส คือความเศร้าหมองที่เกิดกับจิต ได้ชื่อว่า มาร เพราะคอยรบกวนขัดขวางจิตอยู่ตลอดเวลา เพื่อมิให้จิตคิดดี พูดดีกระทำความดีที่สร้างสรรค์คุณประโยชน์แก่ตนหรือผู้อื่น และไม่ให้ก้าวหน้าในการที่จะเข้าถึงคุณธรรมความดีต่างๆ

๓) อภิสังขารมาร มารคืออภิสังขาร หมายถึงว่า อภิสังขาร คือ สภาพปรุงแต่งกรรม การกระทำของคนเรา ได้ชื่อว่ามาร ที่คอยขัดขวางมิให้หลุดพ้นไปจากความทุกข์อย่างไม่มีที่สิ้นสุด กล่าวให้ชัด เช่น อภิสังขาร คือกรรมฝ่ายอกุศล ได้ชื่อว่ามาร เพราะทำให้คนเรามีสภาพจิตอ่อนแอมุ่งคิดไปในทางอกุศลยิ่งขึ้นกว่าปกติ ชักนำให้ทำบาปบ่อยๆส่งผลให้ชีวิตตกต่ำถลำลงไปเกิดอยู่ในอบายภูมินานแสนนาน จึงยากที่จะหลุดพ้นจากความทุกข์ได้

๔) มัจจุมาร มารคือมัจจุ คือ มรณะ ความตาย หรือที่เรียกกันว่า พญามัจจุมาร ได้ชื่อว่ามาร เพราะเป็นตัวการตัดโอกาสของคนเราที่จะก้าวหน้าต่อไปในคุณความดีทั้งหลาย คือเป็นสิ่งที่เข้าตัดรอนการทำความดีของคนเราให้เสียชีวิตตกตายไปก่อนวัยอันควรหรือในเวลาที่ไม่เหมาะสม เช่น ในครั้งพุทธกาล อาฬารดาบสและอุททกดาบส สองคณาจารย์ที่มีชื่อเสียง พลาดโอกาสฟังธรรมจากพระพุทธเจ้า เพราะถูกมัจจุมารมาพรากชีวิตไปเสียก่อน เป็นต้น

๕) เทวปุตตมาร มารคือเทพบุตร ได้แก่ เทพยิ่งใหญ่แห่งสวรรค์ชั้นสูงสุดตนหนึ่ง มีชื่อเรียกหลายชื่อ เช่น กัณหมาร มารใจดำ อธิปติมาร มารผู้ยิ่งใหญ่ วสวัตติมาร มารที่ชอบครอบงำผู้อื่นให้อยู่ในอำนาจ หรือท้าววสวัตดี ได้ชื่อว่ามาร เพราะเป็นผู้คอยขัดขวางเหนี่ยวรั้งเหล่าสัตว์บุคคลผู้มุ่งสัมมาปฏิบัติไว้มิให้ล่วงพ้นจากแดนอำนาจครอบงำของตน โดยชักให้ห่วงพวงอยู่ในกามสุข ไม่ให้หาญกล้าเสียสละออกไปบำเพ็ญคุณความดีที่ยิ่งใหญ่ได้

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 09 พ.ย. 2016, 18:30 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


การผจญมารของพระมหาบุรุษสิทธัตถะก่อนจะตรัสรู้เป็นพระพุทธเจ้า นักปราชญ์ทางพระพุทธศาสนาอธิบายไว้ ๒ นัย คือ

๑) นัยที่เป็นบุคลาธิษฐาน คือเชิงรูปธรรม ได้แก่ การที่พระองค์เอาชนะเทวบุตรมารที่มาคอยขัดขวางไม่ให้พระองค์เอาชนะกิเลสมารหลุดพ้นไปจากทุกข์ในกามสุขคติภูมิทั้ง ๗ คือ โลกมนุษย์ ๑ และสวรรค์ ๖ ชั้นอีกต่อไป

๒) นัยที่เป็นธรรมาธิษฐาน คือเชิงนามธรรม ได้แก่ การที่พระองค์มีใจหนักแน่นเปรียบด้วยพระธรณีที่อ้างมาเป็นพยาน นึกถึงบารมี คือ คุณความดีที่บำเพ็ญมานานแสนนาน ไม่หวนคิดถึงกามสุขที่เคยได้สัมผัสมาต่างๆ ทรงมุ่งมั่นตัดกิเลสเครื่องเศร้าหมองแห่งจิต จนสามารถเอาชนะมารที่สำคัญคือกิเลสมารที่มารบกวนจิตใจของพระองค์ได้อย่างหมดจนบริสุทธิ์

เมื่อผจญจนเอาชนะกิเลสมารได้อย่างเบ็ดเสร็จเด็ดขาดแล้ว ก็เป็นอันว่า พระองค์ผจญชนะมารที่เหลืออีก ๔ ได้อย่างงสงบราบคาบ จึงเป็นเหตุให้ได้รับสมญานามว่า มารชิโน พระผู้ชนะมาร

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 2 โพสต์ ] 

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 115 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร