วันเวลาปัจจุบัน 26 เม.ย. 2024, 23:51  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง




กลับไปยังกระทู้  [ 6 โพสต์ ]    Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 09 ต.ค. 2016, 11:21 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ปุถุชน คนที่หนาแน่นไปด้วยกิเลส ,คนที่ยังมีกิเลสมาก หมายถึงคนธรรมดาทั่วๆไป ซึ่งยังไม่เป็นอริยบุคคลหรือพระอริยะ, บุถุชน ก็เขียน

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 09 ต.ค. 2016, 11:23 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


เราฟังคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้าว่า สิ่งทั้งหลาย ไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นอนัตตา จะไปยึดมั่นถือมั่นไม่ได้ ถ้าเรายึดมั่นถือมั่นแล้ว มันเปลี่ยนแปลงไป เราก็เกิดความทุกข์บีบคั้นจิตใจ เพราะมันไม่เป็นไปตามที่เราต้องการ เราฟังแล้วก็เลื่อมใส เห็นว่าความเป็นจริงอย่างนั้นและชอบใจ นำมาปฏิบัติ

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 09 ต.ค. 2016, 11:27 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ชาวพุทธคือผู้ปล่อยวางได้ แต่ไม่ปล่อยปละละเลย


สำหรับปุถุชน ความไม่ยึดมั่นถือมั่นเป็นเครื่องฝึกตนเท่านั้น จึงต้องระวังมาก เพราะความไม่ยึดมั่นของปุถุชนที่เอามาปฏิบัตินั้น เรารับมาด้วยสัญญา ไม่ใช่ปัญญา


คือเราฟังคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้าว่า สิ่งทั้งหลาย ไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นอนัตตา จะไปยึดมั่นถือมั่นไม่ได้ ถ้าเรายึดมั่นถือมั่นแล้ว มันเปลี่ยนแปลงไป เราก็เกิดความทุกข์บีบคั้นจิตใจ เพราะมันไม่เป็นไปตามที่เราต้องการ เราฟังแล้วก็เลื่อมใส เห็นว่าความเป็นจริงอย่างนั้นและชอบใจ นำมาปฏิบัติ

ในกรณีอย่างนี้ เรียกว่าได้ปัญญามานิดหน่อย แต่ตัวหลักปฏิบัติที่รับมาเป็นเพียงสัญญาเท่านั้น และเราก็รับเอาหลักนั้นมาปฏิบัติตามสัญญาว่า เอ้อ ต่อไปนี้เราจะไม่ยึดมั่นถือมั่นอะไรนะ

กลับไปบ้านก็บอกว่า นี่ไม่ใช่ลูกของเรา นี่ไม่ใช่ภรรยาของเรา นี่ไม่ใช่เงินของเรา เราไม่ยึดมั่นถือมั่นอะไรทั้งนั้น ก็เลยไม่เอาเรื่องเอาราวอะไร นี่คือเกิดความประมาทแล้ว


การที่ไม่ยึดมั่นถือมั่นแล้ว ไม่เอาเรื่องเอาราวอะไรนี้ เป็นเพียง “ความยึดมั่นในความไม่ยึดมั่น” เพราะความไม่ยึดมั่นตัวนี้ ไม่ใช่ความไม่ยึดมั่นที่แท้ มันเป็นเพียงความไม่ยึดมั่นที่เกิดจากสัญญา แล้วเราก็เอาตัวความไม่ยึดมั่นนี้มาจับยึดเข้าไว้อีกทีหนึ่ง เลยเป็นความยึดมั่นในความไม่ยึดมั่น จึงว่า ต้องระวังให้ดี ถ้าเป็นปุถุชน จะทำแค่นี้


ความไม่ยึดมั่นที่แท้นั้น เกิดจากปัญญา เมื่อเราเห็นสิ่งทั้งหลายเป็น อนิจจัง ทุกขัง อนัตตาแล้ว เรารู้ทันสัจธรรมแล้ว ความเป็นไปของมันก็ไม่เข้ามาบีบคั้น จิตใจของเรา จิตใจของเราเป็นอิสระ ต่อจากนั้นเราจะปฏิบัติต่อสิ่งเหล่านี้ตามเหตุตามผลด้วยปัญญา


หลักการนี้สำคัญมาก ถ้าเรามีทรัพย์ ก็ปฏิบัติต่อทรัพย์ให้ถูกต้องตามเหตุผล ทรัพย์มีเพื่ออะไร ? ก็นำไปใช้ให้เกิดผลตามวัตถุประสงค์นั้น ไม่ใช่ไปมัวยึดมั่นถือมั่นให้เป็นเหตุบีบคั้นจิตใจให้มีความทุกข์ แต่ก็ไม่ใช่ปล่อยปละละเลยไม่เอาใจใส ไม่รับผิดชอบ ต้องใช้มันให้สมคุณค่า ให้ถูกต้องตามความหมายของมัน ทรัพย์ก็เกิดประโยชน์แท้จริง

ทำได้อย่างนี้ ก็เรียกได้ว่าเป็น ชาวพุทธแท้ คือ ผู้ปล่อยวางได้ แต่ไม่ปล่อยปละละเลย




น่าจะถือเอาพระเจ้าอโศกมหาราชเป็นแบบอย่างในการปฏิบัติตามคตินี้ พระองค์ก็คงทรงพระดำริว่า ทรัพย์นี้เราจะไปยึดมั่นถือมั่นไม่ได้ และมันก็ไม่ใช่ความหมาย ไม่ใช่สาระที่แท้จริงของชีวิต มันไม่สามารถให้ความสุขที่แท้และยั่งยืนแก่ชีวิต เราเคยลุ่มหลงแสวงทรัพย์มาเป็นเครื่องแสดงความยิ่งใหญ่ และบำรุงบำเรอความสุขสบายของตนเอง ต่อไปนี้เอาแล้ว เราจะไม่ลุ่มหลงมัวเมากับมัน

แต่พระองค์ก็ไม่ได้ทิ้งทรัพย์นั้น แต่เปลี่ยนมาปฏิบัติต่อทรัพย์ด้วยเหตุผล โดยพลิกความหมายของทรัพย์ไปในทางใหม่ว่า ทรัพย์นั้นไม่ใช่มีความหมายที่จะเป็นเครื่องบำเรอให้เราเป็นสุข เพราะเรามีความสุขได้เองแล้ว เราพัฒนาจิตใจด้วยการปฏิบัติตามคำสอนของพระพุทธเจ้า เรามีความสุขทีประณีตกว่าแล้ว

ทรัพย์สินสมบัติเหล่านี้ กับทั้งอำนาจ ไม่ใช่เป็นสิ่งจำเป็นสำหรับชีวิตของเรา แต่ถ้าเรารู้จักใช้ มันก็เป็นอุปกรณ์ในการสร้างสรรค์ประโยชน์สุข เป็นเครื่องมือของธรรมที่จะทำความดีให้แก่สังคม

นับแต่นั้นมา พระเจ้าอโศกมหาราชก็ได้ทรงให้ความหมายใหม่แก่ทรัพย์และอำนาจ โดยตรัสว่า ยศ คือความยิ่งใหญ่ของพระองค์นี้ จะไม่มีความหมาย ถ้าไม่ช่วยให้ประชาชนปฏิบัติธรรม และได้โปรดให้จารึกข้อความนี้ไว้ในศิลาจารึก และพระองค์ก็ได้ใช้ทรัพย์และอำนาจนั้น ในการสร้างสรรค์ประโยชน์สุขแก่ประชาชน ทำความดีเป็นการใหญ่ตามนโยบายธรรมวิชัย

ถ้าพระเจ้าอโศกไม่มีทรัพย์ ไม่มีอำนาจ พระเจ้าอโศกก็ทำความดีอย่างนั้นไม่สำเร็จ แต่ทรัพย์และอำนาจเมื่อใช้เป็น ใช้ถูก ก็กลายเป็นอุปกรณ์สร้างสรรค์ประโยชน์สุขและความดีงาม ทำให้เกิดประโยชน์มหาศาล รวมทั้งทำให้พระพุทธศาสนามาถึงเราในประเทศไทยด้วย

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 09 ต.ค. 2016, 17:02 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


รูปภาพ

เศรษฐกิจจะพอดี เมื่อมันทำหน้าที่เป็นปัจจัย เศรษฐกิจพาวิบัติ เมื่อมันถูกจัดเป็นจุดหมาย

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 09 ต.ค. 2016, 17:06 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


พระศาสนาก็ให้ความสำคัญแก่วัตถุ ให้ความสำคัญแก่ปัจจัย ๔ ให้ความสำคัญแก่เศรษฐกิจ ให้ความสำคัญแก่สังคม โดยมีความหมายโยงไปหาธรรม มิใช่มีความสำคัญในตัวของมันเอง โดยเฉพาะมันไม่ใช่จุดหมาย เดี๋ยวจะเข้าใจผิดอีกว่าเศรษฐกิจสำคัญ แล้วหยุดอยู่แค่นั้น


เรื่องเศรษฐกิจ เรื่องวัตถุ เรื่องปัจจัย ๔ เรื่องสังคม ก็มีความสำคัญ โดยที่ว่าเมื่อทำให้ถูกต้อง มันจะเป็นตัวเอื้อต่อธรรม ความสำคัญก็อยู่ที่ตอนโยงนี้แหละ ถ้าไม่โยงก็พลาดอีก


ถ้าแยกเดี่ยววินัยออกไป เหมือนอย่างคนที่บอกว่า วัตถุสำคัญแล้วไปหยุดอยู่แค่นั้น ก็ผิด เราพูดว่าวัตถุสำคัญต้องจัดสรรให้ดี เพราะมันเป็นฐานที่จะทำให้เราก้าวไปสู่ธรรมได้

พูดมาถึงตอนนี้ ก็คงจับได้ชัดแล้วว่า ความสำคัญของวัตถุหรือเศรษฐกิจนั้นอยู่ที่จะต้องเอาไปโยงสัมพันธ์กับธรรม

ความสัมพันธ์ระหว่างวัตถุปัจจัย ๔ หรือเศรษฐกิจกับธรรม ก็คือ มันเป็นเครื่องเกื้อหนุนแก่ธรรม หมายความว่า คุณค่าของมันอยู่ที่การที่มันจะช่วยให้ธรรมเจริญงอกงาม เป็นประโยชน์แก่ชีวิตและสังคมของมนุษย์ หรือช่วยให้คนพัฒนายิ่งขึ้นไปในธรรมนั้นเอง


ความสัมพันธ์ของวัตถุที่เอื้อต่อธรรมนั้น ก็คือความหมายของคำที่เราใช้กันเป็นประจำอยู่แล้ว ซึ่งเป็นคำง่ายๆก็คือว่า “ปัจจัย” นั่นเอง

หมายความว่า วัตถุ ปัจจัย เรื่องเศรษฐกิจ มีความหมายที่แท้จริงคือเป็นปัจจัย ที่จะเกื้อหนุนให้มนุษย์พัฒนายิ่งขึ้นไป ในความสร้างสรรค์ชีวิตและสังคมให้ดีงามมีสันติสุข นี้คือฐานะของทรัพย์สินเงินทอง และอำนาจ

ความว่า “ปัจจัย” นี้ เราใช้กันอยู่แล้ว แต่บางทีก็ใช้เพลินๆไปโดยไม่รู้ตระหนักถึงความหมาย จึงต้องยกขึ้นมาทำความเข้าใจกันให้ชัดเจน เมื่อเข้าใจชัดเจนแล้ว ก็จะเป็นชาวพุทธที่ปฏิบัติธรรมได้ถูกต้องตลอดสาย ตั้งแต่ธรรมต่อวัตถุ เป็นต้นไป

เมื่อเอาวัตถุเป็นปัจจัย ก็เจริญงอกงามในธรรมได้ แต่ถ้ากลับกัน ยึดเอาวัตถุเป็นจุดหมาย ชีวิตและสังคมก็จะต้องแปรปรวนวิปลาส เพราะกับเอายอดเป็นฐาน และเอาฐานเป็นยอด

น่าสังเกตว่า เวลานี้ สังคมไทย และทั้งโลก ดูเหมือนจะยึดเอาวัตถุเสพหรืออามิสเป็นจุดหมาย ไม่ได้มองมันอย่างถูกต้องในฐานะเป็นปัจจัย

เมื่อจัดสรรวัตถุ จัดสรรปัจจัย ๔ เศรษฐกิจ สิ่งแวดล้อม สังคมให้เรียบร้อย เข้าสู่วินัยแล้ว ก็เกื้อกูลต่อการก้าวไปในความดีงามและประโยชน์สุข ช่วยให้การพัฒนาชีวิตและสังคมดำเนินไปในวิถีแห่งสุขสันติและอิสรภาพ นี้คือธรรมมาแล้ว

เป็นอันว่า ธรรม กับ วินัย ก็คู่กัน ถ้าเราสามารถใช้หลักการนี้ถูกต้อง เราก็มีความเจริญงอกงามในพระศาสนา และพระศาสนาจะเกิดประโยชน์แก่เราอย่างแท้จริง

สรุปว่า ต้องจับหลักให้ครบ มองดูพุทธศาสนาอย่าให้เว้าๆแหว่งๆ เวลานี้ น่ากลัวมาก เรื่องมองดูพระพุทธศาสนาเว้าๆแหว่งๆ ได้ด้าน เสียแง่ ก็เลยไม่เกิดมัชฌิมา

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 12 ต.ค. 2016, 09:38 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 ก.พ. 2011, 19:56
โพสต์: 1798


 ข้อมูลส่วนตัว


กรัชกาย เขียน:
ชาวพุทธคือผู้ปล่อยวางได้ แต่ไม่ปล่อยปละละเลย


สำหรับปุถุชน ความไม่ยึดมั่นถือมั่นเป็นเครื่องฝึกตนเท่านั้น จึงต้องระวังมาก เพราะความไม่ยึดมั่นของปุถุชนที่เอามาปฏิบัตินั้น เรารับมาด้วยสัญญา ไม่ใช่ปัญญา


คือเราฟังคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้าว่า สิ่งทั้งหลาย ไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นอนัตตา จะไปยึดมั่นถือมั่นไม่ได้ ถ้าเรายึดมั่นถือมั่นแล้ว มันเปลี่ยนแปลงไป เราก็เกิดความทุกข์บีบคั้นจิตใจ เพราะมันไม่เป็นไปตามที่เราต้องการ เราฟังแล้วก็เลื่อมใส เห็นว่าความเป็นจริงอย่างนั้นและชอบใจ นำมาปฏิบัติ

ในกรณีอย่างนี้ เรียกว่าได้ปัญญามานิดหน่อย แต่ตัวหลักปฏิบัติที่รับมาเป็นเพียงสัญญาเท่านั้น และเราก็รับเอาหลักนั้นมาปฏิบัติตามสัญญาว่า เอ้อ ต่อไปนี้เราจะไม่ยึดมั่นถือมั่นอะไรนะ

กลับไปบ้านก็บอกว่า นี่ไม่ใช่ลูกของเรา นี่ไม่ใช่ภรรยาของเรา นี่ไม่ใช่เงินของเรา เราไม่ยึดมั่นถือมั่นอะไรทั้งนั้น ก็เลยไม่เอาเรื่องเอาราวอะไร นี่คือเกิดความประมาทแล้ว


การที่ไม่ยึดมั่นถือมั่นแล้ว ไม่เอาเรื่องเอาราวอะไรนี้ เป็นเพียง “ความยึดมั่นในความไม่ยึดมั่น” เพราะความไม่ยึดมั่นตัวนี้ ไม่ใช่ความไม่ยึดมั่นที่แท้ มันเป็นเพียงความไม่ยึดมั่นที่เกิดจากสัญญา แล้วเราก็เอาตัวความไม่ยึดมั่นนี้มาจับยึดเข้าไว้อีกทีหนึ่ง เลยเป็นความยึดมั่นในความไม่ยึดมั่น จึงว่า ต้องระวังให้ดี ถ้าเป็นปุถุชน จะทำแค่นี้


ความไม่ยึดมั่นที่แท้นั้น เกิดจากปัญญา เมื่อเราเห็นสิ่งทั้งหลายเป็น อนิจจัง ทุกขัง อนัตตาแล้ว เรารู้ทันสัจธรรมแล้ว ความเป็นไปของมันก็ไม่เข้ามาบีบคั้น จิตใจของเรา จิตใจของเราเป็นอิสระ ต่อจากนั้นเราจะปฏิบัติต่อสิ่งเหล่านี้ตามเหตุตามผลด้วยปัญญา


หลักการนี้สำคัญมาก ถ้าเรามีทรัพย์ ก็ปฏิบัติต่อทรัพย์ให้ถูกต้องตามเหตุผล ทรัพย์มีเพื่ออะไร ? ก็นำไปใช้ให้เกิดผลตามวัตถุประสงค์นั้น ไม่ใช่ไปมัวยึดมั่นถือมั่นให้เป็นเหตุบีบคั้นจิตใจให้มีความทุกข์ แต่ก็ไม่ใช่ปล่อยปละละเลยไม่เอาใจใส ไม่รับผิดชอบ ต้องใช้มันให้สมคุณค่า ให้ถูกต้องตามความหมายของมัน ทรัพย์ก็เกิดประโยชน์แท้จริง

ทำได้อย่างนี้ ก็เรียกได้ว่าเป็น ชาวพุทธแท้ คือ ผู้ปล่อยวางได้ แต่ไม่ปล่อยปละละเลย




น่าจะถือเอาพระเจ้าอโศกมหาราชเป็นแบบอย่างในการปฏิบัติตามคตินี้ พระองค์ก็คงทรงพระดำริว่า ทรัพย์นี้เราจะไปยึดมั่นถือมั่นไม่ได้ และมันก็ไม่ใช่ความหมาย ไม่ใช่สาระที่แท้จริงของชีวิต มันไม่สามารถให้ความสุขที่แท้และยั่งยืนแก่ชีวิต เราเคยลุ่มหลงแสวงทรัพย์มาเป็นเครื่องแสดงความยิ่งใหญ่ และบำรุงบำเรอความสุขสบายของตนเอง ต่อไปนี้เอาแล้ว เราจะไม่ลุ่มหลงมัวเมากับมัน

แต่พระองค์ก็ไม่ได้ทิ้งทรัพย์นั้น แต่เปลี่ยนมาปฏิบัติต่อทรัพย์ด้วยเหตุผล โดยพลิกความหมายของทรัพย์ไปในทางใหม่ว่า ทรัพย์นั้นไม่ใช่มีความหมายที่จะเป็นเครื่องบำเรอให้เราเป็นสุข เพราะเรามีความสุขได้เองแล้ว เราพัฒนาจิตใจด้วยการปฏิบัติตามคำสอนของพระพุทธเจ้า เรามีความสุขทีประณีตกว่าแล้ว

ทรัพย์สินสมบัติเหล่านี้ กับทั้งอำนาจ ไม่ใช่เป็นสิ่งจำเป็นสำหรับชีวิตของเรา แต่ถ้าเรารู้จักใช้ มันก็เป็นอุปกรณ์ในการสร้างสรรค์ประโยชน์สุข เป็นเครื่องมือของธรรมที่จะทำความดีให้แก่สังคม

นับแต่นั้นมา พระเจ้าอโศกมหาราชก็ได้ทรงให้ความหมายใหม่แก่ทรัพย์และอำนาจ โดยตรัสว่า ยศ คือความยิ่งใหญ่ของพระองค์นี้ จะไม่มีความหมาย ถ้าไม่ช่วยให้ประชาชนปฏิบัติธรรม และได้โปรดให้จารึกข้อความนี้ไว้ในศิลาจารึก และพระองค์ก็ได้ใช้ทรัพย์และอำนาจนั้น ในการสร้างสรรค์ประโยชน์สุขแก่ประชาชน ทำความดีเป็นการใหญ่ตามนโยบายธรรมวิชัย

ถ้าพระเจ้าอโศกไม่มีทรัพย์ ไม่มีอำนาจ พระเจ้าอโศกก็ทำความดีอย่างนั้นไม่สำเร็จ แต่ทรัพย์และอำนาจเมื่อใช้เป็น ใช้ถูก ก็กลายเป็นอุปกรณ์สร้างสรรค์ประโยชน์สุขและความดีงาม ทำให้เกิดประโยชน์มหาศาล รวมทั้งทำให้พระพุทธศาสนามาถึงเราในประเทศไทยด้วย


ถูกใจประโยคที่ว่า ต่อไปเราจะไม่ยึดมั่นถือมันอะไร
คือโลภะ ทั้งนั้น เต็มไปด้วยความต้องการและความถือมั่นในตัวตน

ต้องมีปัญญาถึงขั้นไหนถึงจะปล่อยวางได้ และปล่อยทันทีด้วย


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 6 โพสต์ ] 

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 119 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร