วันเวลาปัจจุบัน 27 เม.ย. 2024, 08:16  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง




กลับไปยังกระทู้  [ 4 โพสต์ ]    Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 09 ส.ค. 2016, 19:32 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ความหมายที่แท้ คำว่า “ปฏิบัติธรรม” ได้แก่การนำเอาธรรมไปใช้ในการดำเนินชีวิต หรือการดำเนินชีวิตตามธรรม

แต่ปัจจุบันมักเข้าใจคำนี้ไปในความหมายว่า เป็นการฝึกอบรมทางจิตปัญญาขั้นหนึ่งระดับหนึ่งโดยเฉพาะ ซึ่งมีลักษณะเป็นรูปแบบ และทำไปตามแบบแผนที่ได้กำหนดวางไว้

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 09 ส.ค. 2016, 19:38 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


บุญที่เกิดจากการศึกษาปฏิบัติธรรม

หลักการปฏิบัติธรรม

หลักการปฏิบัติธรรมในพระพุทธศาสนา คือ การนำหลักธรรมที่เป็นส่วนปฏิบัติ ซึ่งเรียกว่าอริยมรรคมีองค์ ๘ มาลงมือปฏิบัติเชิงบูรณาการเป็นแนวทางดำเนินชีวิตให้บรรลุถึงจุดหมายสูงสุดในพระพุทธศาสนา กระบวนการนำหลักอริยมรรค มาลงมือปฏิบัติเชิงบูรณาการ ตามลำดับขั้นตอนที่ชัดเจนที่สุด เรียกว่า ไตรสิกขา คือ ศีล สมาธิ ปัญญา ซึ่งจัดเป็นตัวแท้ของการปฏิบัติ เป็นกระบวนการศึกษาปฏิบัติธรรมทั้งหมดในพระพุทธศาสนา โดยสามารถนำหลักอริยมรรคมีองค์ ๘ นั้นมาย่นย่อลงมือบูรณาการปฏิบัติครอบคลุมได้ทั้งหมด

อย่างไรก็ตาม ในการเข้าสู่กระบวนการศึกษาปฏิบัติตามหลักไตรสิกขา ซึ่งเรียกว่า ปฏิบัติธรรม นั้น มีรูปแบบหรือลักษณะการปฏิบัติอยู่ ๒ รูปแบบด้วยกัน คือ

๑) ปฏิบัติธรรมแบบกว้างๆ (สามัญธรรมปฏิบัติ)

๒) ปฏิบัติธรรมแบบเข้มข้น (วิสามัญธรรมปฏิบัติ)


การปฏิบัติธรรมทั้งสองรูปแบบนี้มีคำจำกัดความ และความมุ่งหมายที่กว้าง และแคบต่างกัน ดังนี้

๑) ปฏิบัติธรรมแบบกว้างๆ (สามัญธรรมปฏิบัติ: General Dhamma Practice) หมาย ถึงการนำเอาหลักธรรมในระดับศีลธรรมหรือหลักจริยธรรมขั้นพื้นฐานที่พระ พุทธเจ้าสั่งสอนไว้มาเป็นหลักหรือแนวทางในการดำเนินชีวิตประจำวัน โดยสามารถยึดเป็นหลักธรรมประจำใจ เช่น

การที่คนเรามีสติสัมปชัญญะในการทำกิจการต่างๆ การมีหิริโอตตัปปะไม่กล้าทำบาปทุจริตทั้งในที่ลับและที่แจ้ง เพราะกลัวผลของบาปทุจริตที่จะได้รับในภายหลัง การมีขันติและโสรัจจะ คือ ความอดกลั้น สงบเสงี่ยมต่อสภาวะบีบคั้นกดดันต่างๆ ที่เผชิญอยู่ การมีความกตัญญูกตเวที คือ รู้คุณของผู้อื่นที่ทำแก่ตนแล้วตอบแทนคุณนั้นให้เหมาะสม หรือการรักษาศีล ๕ ศีล ๘ เป็นต้น การมีหลักธรรมประจำใจในการดำรงชีวิตประจำวันดังกล่าวมานี้ ชื่อว่าการปฏิบัติธรรมแบบกว้างๆ ในที่นี้

กล่าวอีกนัยหนึ่ง บุคคลใดก็ตามที่น้อมนำหลักธรรมที่พระพุทธเจ้าสอนไว้มาใช้ให้เกิดประโยชน์ในการดำรงชีวิตประจำวัน ไม่ว่าจะเป็นหลักธรรมที่มีอุปการะมาก คือสติสัมปชัญญะ หลักธรรมที่คุ้มครองโลก คือหิริโอตตัปปะ หลักพรหมวิหารธรรม ๔ คือ เมตตา กรุณา มุทิตา อุเบกขา หรือหลักศีลธรรมอื่นๆ ก็ตาม บุคคลผู้นั้น ชื่อว่าปฏิบัติธรรม

ทั้งนั้น การปฏิบัติธรรมตามลักษณะนี้ จึงกินความกว้างมาก สุดแต่ว่าใครจะสามารถนำเอาหลักธรรมมาใช้ในการดำเนินชีวิต หรือในการทำกิจหน้าที่นั้นๆ ให้ได้ผลแค่ไหน เพียงไร ซึ่งการปฏิบัติธรรมตามรูปแบบนี้ เราชาวพุทธทั้งหลายได้ใช้อยู่ตลอดเวลา โดยเมื่อปฏิบัติกิจ หรือกระทำต่อสิ่งใดๆ อย่างถูกต้อง ก็เรียกว่า เป็นการปฏิบัติธรรม ไม่ว่าจะอยู่ในสถานภาพใด มีหน้าที่การงานอย่างไร เมื่อปฏิบัติตนหรือปฏิบัติหน้าที่ถูกต้องเหมาะสมแก่สถานภาพหรือหน้าที่การงานนั้นๆ ก็ชื่อว่าปฏิบัติธรรม เช่น

ในการทำงาน เมื่อนำหลักธรรมที่อำนวยให้ประสบผลสำเร็จ คืออิทธิบาท ๔ อันได้แก่ ฉันทะ วิริยะ จิตตะ และวิมังสา มาใช้ในการทำงาน ก็เป็นการปฏิบัติธรรม

แม้แต่การออกไปที่ท้องถนนหรือการขับรถ ถ้าขับโดยเคารพวินัยจราจร รักษากฎจราจรอย่างเคร่งครัด เช่น เมาไม่ขับ ไม่ตัดหน้า ไม่ฝ่าไฟแดง หรือง่วงนอนหาวนอนก็ไม่ขับ ขับรถไปด้วยความเรียบร้อยดีโดยไม่ประมาท มีความสุภาพ หรือลงลึกเข้าไปแม้กระทั่งว่า ทำจิตใจให้สงบ สบาย ไม่เครียด มีความผ่องใส สบายใจ ในเวลาที่ขับรถอยู่กลางถนนนั้น ท่ามกลางรถรามากมาย เช่นนี้ ก็เป็นการปฏิบัติธรรม


นอกจากนี้ บุคคลผู้เป็นข้าราชการ/เจ้าหน้าที่ของรัฐ ซึ่งมีหน้าที่ต้องปฏิบัติราชการ ถ้าปฏิบัติหน้าที่ราชการอย่างถูกต้อง ซื่อสัตย์สุจริต โปร่งใส เที่ยงธรรม ขยันหมั่นเพียร มุ่งผลสัมฤทธิ์ของงานการบริการที่ดี ตั้งใจปฏิบัติหน้าที่ให้สำเร็จผล ก่อให้เกิดประโยชน์สุขแก่ประชาชน สังคม และประเทศชาติ ก็ชื่อว่า ปฏิบัติธรรม หรือกล่าวอีกนัยหนึ่ง ข้าราชการผู้ใดก็ตามปฏิบัติราชการโดยนำหลักพุทธธรรมมาปรับใช้ในชีวิตราชการ เช่น

นำหลักอิทธิบาท ๔ โดยมีฉันทะ ยินดีพอใจในการเป็นข้าราชการ รักอาชีพราชการ มีวิริยะ มุ่งมั่นขยันหมั่นเพียรในการปฏิบัติหน้าที่ราชการ โดยทุ่มเท สู้งาน ไม่หวั่นย่อท้อต่อปัญหาอุปสรรคของการปฏิบัติงาน มีจิตตะ เอาใจใส่สนใจรับผิดชอบต่อการปฏิบัติงานทุกขั้นตอน และมีวิมังสา คอยหมั่นไตร่ตรอง ตรวจสอบ ติดตามประเมินผลในการปฏิบัติงานเพื่อให้ได้ผลดีอยู่เสมอ เมื่อปฏิบัติเช่นนี้ จะโดยรู้ตัวว่านำหลักพุทธธรรม คือ อิทธิบาท ๔ มาใช้หรือไม่รู้ตัวก็ตาม ข้าราชการผู้นั้น ก็ชื่อว่าได้ปฏิบัติธรรม แต่เป็นการปฏิบัติธรรมแบบกว้างๆ

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 09 ส.ค. 2016, 19:45 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


๒) ปฏิบัติธรรมแบบเข้มข้น (วิสามัญธรรมปฏิบัติ: Intensive Dhamma Practice)) หมายถึงการเน้นนำหลักธรรมที่เป็นข้อปฏิบัติโดยตรง หรือหลักธรรมในระดับที่สูงกว่าขั้นศีลธรรมมาฝึกอบรมจิต และพัฒนาปัญญา ที่เรียกว่า ปฏิบัติธรรมด้วยวิธีภาวนา หรือบำเพ็ญกัมมัฏฐาน โดยการปลีกตัวออกไปจากสังคม หามุมสงบประคบประหงมจิต เช่น

ไปปฏิบัติบำเพ็ญอยู่ที่วัด หรือสำนักปฏิบัติธรรม หรือไปหาสถานที่ที่สงบอื่นๆ เพื่อลงมือปฏิบัติฝึกหัดทดลองควบคุมจิตใจ เมื่อประสบสิ่งที่ใจไม่ปรารถนา ซึ่งวิธีที่จะควบคุมจิตใจได้ดีที่สุด ก็คือความใส่ใจใฝ่ฝึกศึกษาหลักธรรมทางพระพุทธศาสนาแล้วนำมาปฏิบัติโดยการฝึกสมาธิ เจริญวิปัสสนาในวัด หรือสำนักปฏิบัติธรรมต่างๆ ที่มีพระภิกษุผู้มุ่งวิปัสสนาธุระเป็นพระวิปัสสนาจารย์สอนวิชากัมมัฏฐานทั้งสายสมถะและวิปัสสนาโดยตรง

ดังนั้น การปฏิบัติธรรมด้วยการปลีกตัวไปฝึกสมาธิ เจริญวิปัสสนา จึงจัดเป็นการปฏิบัติธรรมแบบเข้มข้น เน้นหรือลงลึกเฉพาะเรื่อง โดยมุ่งฝึกฝนพัฒนาจิตใจ อย่างมีระบบ กำหนดเป็นหลักสูตรเพื่อให้ได้รับปฏิเวธ คือผลจากการฝึกปฏิบัติได้อย่างแท้จริง

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 22 ส.ค. 2016, 15:11 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 29 ต.ค. 2009, 15:06
โพสต์: 7502

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


:b8: :b8: :b8:


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 4 โพสต์ ] 

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 147 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร