วันเวลาปัจจุบัน 15 ก.ค. 2025, 13:39  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง




กลับไปยังกระทู้  [ 132 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1, 2, 3, 4, 5, 6, 7, 8, 9  ต่อไป  Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 15 มิ.ย. 2016, 19:19 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 13 ก.พ. 2010, 17:53
โพสต์: 4999

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


เช่นนั้น เขียน:
โฮฮับ เขียน:

แค่เบื้องต้นคุณยังไม่รู้ไม่เข้าใจเลยว่า เรากำลังคุยกันในเรื่องอะไร
เนื้อหาที่เรากำลังคุยกันมันเป็นเรื่องของ...พระอภิธรรม
จะยกเนื้อพระไตรปิฎกมาอ้าง มันต้องเอาเนื้อหาที่เป็นพระอภิธรรมปิฎกมาแสดงครับ
ไม่ใช่เอาพระสูตร เนื้อหาในพระสูตรมีทั้งโวหารของปุถุชน(แปล) และมีทั้งโวหารของสาวก
คนที่ยังติดในสักกายทิฐิไม่รู้จักแยกแยะหรอกครับ.....อย่างดีแค่เอามาแก้เกี้ยว(ดื้อตาใส)

โฮฮับ ...
หากจะยกอภิธรรมปิฏกมาแก้สิ่งที่โฮฮับยังเข้าใจผิดอยู่
โฮฮับ ก็ไปศึกษา ตามนี้
http://84000.org/tipitaka/pitaka3/v.php?B=34&A=0&Z=103&pagebreak=0
Quote Tipitaka:
กุสลา ธมฺมา ธรรมเป็นกุศล
อกุสลา ธมฺมา ธรรมเป็นอกุศล
อพฺยากตา ธมฺมา ธรรมเป็นอัพยากฤต

สงฺกิลิฏฺฐสงฺกิเลสิกา ธมฺมา ธรรมเศร้าหมองและเป็นอารมณ์ของสังกิเลส
อสงฺกิลิฏฺฐสงฺกิเลสิกา ธมฺมา ธรรมไม่เศร้าหมองแต่เป็นอารมณ์ของสังกิเลส
อสงฺกิลิฏฺฐาสงฺกิเลสิกา ธมฺมา ธรรมไม่เศร้าหมองและไม่เป็นอารมณ์ของสังกิเลส

มคฺคารมฺมณา ธมฺมา ธรรมมีมรรคเป็นอารมณ์
มคฺคเหตุกา ธมฺมา ธรรมมีเหตุคือมรรค
มคฺคาธิปติโน ธมฺมา ธรรมมีมรรคเป็นอธิบดี

อตีตา ธมฺมา ธรรมเป็นอดีต
อนาคตา ธมฺมา ธรรมเป็นอนาคต
ปจฺจุปฺปนฺนา ธมฺมา ธรรมเป็นปัจจุบัน

อตีตารมฺมณา ธมฺมา ธรรมมีอารมณ์เป็นอดีต
อนาคตารมฺมณา ธมฺมา ธรรมมีอารมณ์เป็นอนาคต
ปจฺจุปฺปนฺนารมฺมณา ธมฺมา ธรรมมีอารมณ์เป็นปัจจุบัน

อชฺฌตฺตา ธมฺมา ธรรมเป็นภายใน
พหิทฺธา ธมฺมา ธรรมเป็นภายนอก
อชฺฌตฺตพหิทฺธา ธมฺมา ธรรมเป็นทั้งภายในและภายนอก

อชฺฌตฺตารมฺมณา ธมฺมา ธรรมมีอารมณ์เป็นภายใน
พหิทฺธารมฺมณา ธมฺมา ธรรมมีอารมณ์เป็นภายนอก
อชฺฌตฺตพหิทฺธารมฺมณา ธมฺมา ธรรมมีอารมณ์เป็นภายในและเป็นภายนอก



จะสนทนาอภิธรรม จิตก็ไม่ใช่อารมณ์ อารมณ์ก็ไม่ใช่จิตอยู่ดีนะโฮฮับ


ก็แล้วแต่คุณครับ!! บังคับกันไม่ได้อยู่แล้ว ปัจจัตตังครับ
เอาเป็นว่าผมจะยกพระสูตรมาให้คุณพิจารณาสักบท เพราะเห็นว่าคุณเช่นนั้นเอะอะอะไรก็จิต
ยึดมั่นถือมั่นว่าจิตเป็นใหญ๋........อ่านแล้วพิจารณาให้ดีครับ


ดูกรภิกษุทั้งหลาย ปุถุชนผู้มิได้สดับ จะพึงเข้าไปยึดถือเอาร่างกายอันเป็นที่ประชุมแห่งมหาภูต ๔ นี้ โดยความเป็นตน ยังชอบกว่า แต่จะเข้าไปยึดถือเอาจิตโดยความเป็นตนหาชอบไม่ ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะร่างกายอันเป็นที่ประชุมแห่งมหาภูตทั้ง ๔ นี้เมื่อดำรงอยู่ ปีหนึ่งบ้าง สองปีบ้าง สามปีบ้าง สี่ปีบ้าง ห้าปีบ้าง สิบปีบ้าง ยี่สิบปีบ้าง สามสิบปีบ้าง สี่สิบปีบ้าง ห้าสิบปีบ้าง ร้อยปีบ้าง ยิ่งกว่าร้อยปีบ้างย่อมปรากฏ แต่ว่าตถาคตเรียกร่างกายอันเป็นที่ประชุมแห่งมหาภูตทั้ง ๔ นี้ว่า จิตบ้าง มโนบ้าง วิญญาณบ้าง จิตเป็นต้นนั้นดวงหนึ่งเกิดขึ้น ดวงหนึ่งดับไป ตลอดวันตลอดคืน ฯ


http://www.84000.org/tipitaka/pitaka2/v ... agebreak=0


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 16 มิ.ย. 2016, 04:44 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 14 ก.ค. 2008, 21:56
โพสต์: 3925

ชื่อเล่น: เช่นนั้น
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


โฮฮับ เขียน:
เช่นนั้น เขียน:

......
จะสนทนาอภิธรรม จิตก็ไม่ใช่อารมณ์ อารมณ์ก็ไม่ใช่จิตอยู่ดีนะโฮฮับ


ก็แล้วแต่คุณครับ!! บังคับกันไม่ได้อยู่แล้ว ปัจจัตตังครับ
.... เพราะเห็นว่าคุณเช่นนั้นเอะอะอะไรก็จิต
ยึดมั่นถือมั่นว่าจิตเป็นใหญ๋......


ตัดเอาเฉพาะเนื้อๆ ออกมา

เรื่องของจิต ยกตัวอย่างออกมาตามนัยยะโดยพระสูตร หรือโดยพระอภิธรรม
เช่นนั้นไม่ได้แต่งเอง ไม่เกี่ยวกับปัจจัตตัง นะโฮฮับ
แม้แต่พระสูตรที่โฮฮับยกมา พระพุทธองค์ตรัสว่า "จิต" ไม่ได้ตรัสว่า "อารมณ์" จริงไหมโฮฮับ

Quote Tipitaka:
จิตตสูตรที่ ๒
[๑๘๐] เทวดาทูลถามว่า
โลกอันอะไรย่อมนำไป อันอะไรหนอย่อมเสือกไสไป โลก
ทั้งหมดเป็นไปตามอำนาจของธรรมอันหนึ่งคืออะไร ฯ
[๑๘๑] พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า
โลกอันจิตย่อมนำไป อันจิตย่อมเสือกไสไป โลกทั้งหมด
เป็นไปตามอำนาจของธรรมอันหนึ่งคือจิต ฯ

http://www.84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=15&A=1176&Z=1182&pagebreak=0
Quote Tipitaka:
ธรรมทั้งหลายมีใจเป็นหัวหน้า มีใจประเสริฐที่สุด สำเร็จ
แล้วแต่ใจ
ถ้าบุคคลมีใจอันโทษประทุษร้ายแล้ว กล่าวอยู่
ก็ตาม ทำอยู่ก็ตาม ทุกข์ย่อมไปตามบุคคลนั้น เพราะทุจริต
๓ อย่างนั้น เหมือนล้อหมุนไปตามรอยเท้าโคผู้ลากเกวียนไป
อยู่ ฉะนั้น ธรรมทั้งหลายมีใจเป็นหัวหน้า มีใจประเสริฐ
ที่สุด สำเร็จแล้วแต่ใจ ถ้าบุคคลมีใจผ่องใส กล่าวอยู่ก็ตาม
ทำอยู่ก็ตาม สุขย่อมไปตามบุคคลนั้นเพราะสุจริต ๓ อย่าง
เหมือนเงามีปรกติไปตาม ฉะนั้น ก็ชนเหล่าใดเข้าไปผูกเวร
ไว้ว่า คนโน้นด่าเรา คนโน้นได้ตีเรา คนโน้นได้ชนะเรา คน
โน้นได้ลักสิ่งของๆ เรา ดังนี้ เวรของชนเหล่านั้น
ย่อมไม่ระงับ ส่วนชนเหล่าใดไม่เข้าไปผูกเวรไว้ว่า คนโน้น
ด่าเรา คนโน้นได้ตีเรา คนโน้นได้ชนะเรา คนโน้นได้ลัก
สิ่งของๆ เรา ดังนี้ เวรของชนเหล่านั้นย่อมระงับ ในกาล
ไหนๆ เวรในโลกนี้ย่อมไม่ระงับเพราะเวรเลย แต่ย่อม
ระงับเพราะความไม่จองเวร ธรรมนี้เป็นของเก่า ก็ชนเหล่า
อื่นไม่รู้สึกว่า พวกเราย่อมยุบยับในท่ามกลางสงฆ์นี้ ส่วน
ชนเหล่าใดในท่ามกลางสงฆ์นั้น ย่อมรู้สึก ความหมายมั่นย่อม
ระงับจากชนเหล่านั้น มารย่อมรังควาญบุคคลผู้มีปรกติเห็น
อารมณ์ว่างาม ผู้ไม่สำรวมแล้วในอินทรีย์ทั้งหลาย ไม่รู้
ประมาณในโภชนะ เกียจคร้าน มีความเพียรเลว เหมือน
ลมระรานต้นไม้ที่ทุรพล ฉะนั้น มารย่อมรังควาญไม่ได้ซึ่ง
บุคคลผู้มีปรกติเห็นอารมณ์ว่าไม่งามอยู่ สำรวมดีแล้วใน
อินทรีย์ทั้งหลาย รู้ประมาณในโภชนะ มีศรัทธา ปรารภ
ความเพียร เหมือนลมระรานภูเขาหินไม่ได้ ฉะนั้น ผู้ใด
ยังไม่หมดกิเลสดุจน้ำฝาดปราศจากทมะและสัจจะจักนุ่งห่มผ้า
กาสายะผู้นั้นไม่ควรเพื่อจะนุ่งห่มผ้ากาสายะ ส่วนผู้ใดมีกิเลส
ดุจน้ำฝาดอันคายแล้ว ตั้งมั่นแล้วในศีลประกอบด้วยทมะ
และสัจจะ ผู้นั้นแลย่อมควรเพื่อจะนุ่งห่มผ้ากาสาวะ ชน
เหล่าใดมีความรู้ในธรรมอันหาสาระมิได้ว่าเป็นสาระ และมี
ปกติเห็นในธรรมอันเป็นสาระ ว่าไม่เป็นสาระ ชนเหล่านั้น
มีความดำริผิดเป็นโคจร ย่อมไม่บรรลุธรรมอันเป็นสาระ ชน
เหล่าใดรู้ธรรมอันเป็นสาระ โดยความเป็นสาระ และรู้ธรรม
อันหาสาระมิได้ โดยความเป็นธรรมอันหาสาระมิได้ ชน
เหล่านั้นมีความดำริชอบเป็นโคจร ย่อมบรรลุธรรมอันเป็น
สาระ ฝนย่อมรั่วรดเรือนที่บุคคลมุงไม่ดี ฉันใด ราคะย่อม
รั่วรดจิตที่บุคคลไม่อบรมแล้ว ฉันนั้น ฝนย่อมไม่รั่วรดเรือน
ที่บุคคลมุงดี ฉันใด ราคะย่อมไม่รั่วรดจิตที่บุคคลอบรมดีแล้ว
ฉันนั้น บุคคลผู้ทำบาปย่อมเศร้าโศกในโลกนี้ย่อมเศร้าโศกใน
โลกหน้า ย่อมเศร้าโศกในโลกทั้งสอง บุคคลผู้ทำบาปนั้น
ย่อมเศร้าโศก บุคคลผู้ทำบาปนั้นเห็นกรรมที่เศร้าหมองของตน
แล้ว ย่อมเดือดร้อน ผู้ทำบุญไว้แล้วย่อมบันเทิงในโลกนี้ ย่อม
บันเทิงในโลกหน้า ย่อมบันเทิงในโลกทั้งสอง ผู้ทำบุญไว้
แล้วนั้นย่อมบันเทิง ผู้ทำบุญไว้แล้วนั้นเห็นความบริสุทธิ์
แห่งกรรมของตนแล้ว ย่อมบันเทิงอย่างยิ่ง บุคคลผู้ทำบาป
ย่อมเดือดร้อนในโลกนี้ ย่อมเดือดร้อนในโลกหน้า ย่อม
เดือดร้อนในโลกทั้งสอง บุคคลผู้ทำบาปนั้นย่อมเดือดร้อนว่า
บาปเราทำแล้ว บุคคลผู้ทำบาปนั้นไปสู่ทุคติแล้ว ย่อมเดือด
ร้อนโดยยิ่ง ผู้ทำบุญไว้แล้วย่อมเพลิดเพลินในโลกนี้ ย่อม
เพลิดเพลินในโลกหน้า ย่อมเพลิดเพลินในโลกทั้งสอง ผู้
ทำบุญไว้แล้วย่อมเพลิดเพลินว่า บุญอันเราทำไว้แล้ว ผู้ทำ
บุญไว้แล้วนั้นไปสู่สุคติ ย่อมเพลิดเพลินโดยยิ่ง หากว่า
นรชนกล่าวคำอันมีประโยชน์แม้มาก แต่เป็นผู้ไม่ทำกรรม
อันการกบุคคลพึงกระทำ เป็นผู้ประมาทแล้วไซร้ นรชนนั้น
ย่อมไม่เป็นผู้มีส่วนแห่งคุณเครื่องความเป็นสมณะ ประดุจ
นายโคบาลนับโคของชนเหล่าอื่น ย่อมไม่มีส่วนแห่งปัญจ-
โครส ฉะนั้น หากว่านรชนกล่าวคำอันมีประโยชน์แม้น้อย
ย่อมประพฤติธรรมสมควรแก่ธรรม ละราคะ โทสะ และ
โมหะแล้ว รู้ทั่วโดยชอบ มีจิตหลุดพ้นด้วยดีแล้ว ไม่ถือมั่น
ในโลกนี้หรือในโลกหน้า นรชนนั้นย่อมเป็นผู้มีส่วนแห่ง
คุณเครื่องความเป็นสมณะ ฯ

http://www.84000.org/tipitaka/pitaka2/v.php?B=25&A=268&Z=329&pagebreak=0

Quote Tipitaka:
คาถาธรรมบท จิตตวรรคที่ ๓
[๑๓] นักปราชญ์ย่อมทำจิตที่ดิ้นรน กลับกลอกรักษาได้โดยยาก
ห้ามได้โดยยาก ให้ตรง ดังช่างศรดัดลูกศรให้ตรง ฉะนั้น
จิตนี้อันพระโยคาวจรยกขึ้นแล้วจากอาลัย คือเบญจกาม
คุณเพียงดังน้ำ ซัดไปในวิปัสสนากรรมฐานเพียงดังบก เพื่อ
จะละบ่วงมาร ย่อมดิ้นรน ดุจปลาอันชาวประมง ยกขึ้นแล้ว
จากที่อยู่คือน้ำโยนไปแล้วบนบก ดิ้นรนอยู่ ฉะนั้น การ
ฝึกฝนจิตที่ข่มได้ยาก อันเร็ว มีปรกติตกไปในอารมณ์

อันบุคคลพึงใคร่อย่างไร เป็นความดี
เพราะว่าจิตที่บุคคล
ฝึกดีแล้วนำสุขมาให้ นักปราชญ์พึงรักษาจิตที่เห็นได้แสนยาก
ละเอียดอ่อนมีปกติตกไปตามความใคร่ เพราะว่าจิตที่บุคคล
คุ้มครองแล้วนำสุขมาให้ ชนเหล่าใดจักสำรวมจิตอันไปใน
ที่ไกล ดวงเดียวเที่ยวไป หาสรีระมิได้ มีถ้ำเป็นที่อยู่อาศัย
ชนเหล่านั้นจะพ้นจากเครื่องผูกแห่งมาร
ปัญญาย่อมไม่บริบูรณ์
แก่บุคคลผู้มีจิตไม่ตั้งมั่น ไม่รู้แจ่มแจ้งซึ่งพระสัทธรรม
มีความเลื่อมใสอันเลื่อนลอย ภัยย่อมไม่มีแก่พระขีณาสพ ผู้มี
จิตอันราคะไม่รั่วรด ผู้มีใจอันโทสะไม่ตามกระทบแล้ว
ผู้มีบุญและบาปอันละได้แล้ว ผู้ตื่นอยู่ กุลบุตรทราบกายนี้ว่า
เปรียญด้วยหม้อแล้ว พึงกั้นจิตนี้ให้เปรียบเหมือนนคร
พึงรบมารด้วยอาวุธคือ ปัญญา อนึ่ง พึงรักษาตรุณวิปัสสนา
ที่ตนชนะแล้ว และไม่พึงห่วงใย กายนี้อันบุคคลทิ้งแล้ว
มีวิญญาณปราศแล้วไม่นานหนอจักนอนทับแผ่นดิน ประดุจ
ท่อนไม้ไม่มีประโยชน์โจรหัวโจกเห็นโจรหัวโจก ก็หรือคน
มีเวรเห็นคนผู้คู่เวรกันพึงทำความฉิบหาย และความทุกข์ใดให้
จิตที่บุคคลตั้งไว้ผิดพึงทำบุคคลนั้นให้เลวยิ่งกว่าความฉิบหาย
และความทุกข์นั้นมารดาบิดาไม่พึงทำเหตุนั้นได้ หรือแม้ญาติ
เหล่าอื่นก็ไม่พึงทำเหตุนั้นได้ จิตที่บุคคลตั้งไว้ชอบแล้ว
พึงทำเขาให้ประเสริฐกว่าเหตุนั้น ฯ


http://www.84000.org/tipitaka/pitaka2/v.php?B=25&A=366&Z=394&pagebreak=0

.....................................................
ธรรมะอันยิ่งใหญ่ ไม่อาจเอื้อนเอ่ย
บัญญัติ เป็นเพียงสิ่งต่ำต้อยแบกรับความยิ่งใหญ่


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 16 มิ.ย. 2016, 04:51 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 14 ก.ค. 2008, 21:56
โพสต์: 3925

ชื่อเล่น: เช่นนั้น
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


โฮฮับ เขียน:
เช่นนั้น เขียน:

โฮฮับ ไปไม่เป็น ก็บอกมาตรงๆ
บัณฑิตที่แปล บาลีเป็นภาษาไทย หากมีการเติมตามความเข้าใจ บัณฑิตจะกระทำในวงเล็บ
บัณฑิตผู้แปล แปลตามไวยากรณ์ หลักนิรุติศาสตร์
โฮฮับจะมั่วไม่ยอมรับว่ากล่าวผิด แสดงผิด ก็อย่าแถไปข้างๆ คูๆ เช่นนี้


ไปไม่เป็นอะไรที่ไหนกันครับ!! ผมชี้ประเด็นที่เป็นปัญหาของผู้แปลกับของคุณเช่นนั้นให้ดูแล้ว
แทนที่คุณจะเอะใจแล้วกลับไปพิจารณาเปรียบเทียบเนื้อหา พระสูตรบาลีกับพระสูตรแปลไทยว่า
มันผิดเพี้ยนแตกต่างกันอย่างไร ซึ่งผมได้ยกเอาหลักของการพิจารณาธรรมมาบอกเพื่อเพิ่มพูน
ปัญญาให้กับคุณเช่นนั้น สรุปมันเปล่าประโยชน์ สั้นๆครับ...เสียของ

ในบาลีท่านบัญญัติว่า....
เวทนา สุขา
เวทนา ทุกฺขา
เวทนา อทุกฺขมสุขา


โดยความหมายของบาลี ทั้งสามนี้ก็คือ.
เวทนาเป็นเหตุแห่งความสุข
เวทนาเป็นเหตุแห่งความทุกข์
เวทนาเป็นเหตุแห่งความเมินเฉย

ทั้งความสุข ความทุกข์และความเมินเฉย ไม่ใช่เวทนาแต่เป็นสิ่งที่มโนทวารปรุงแต่งขึ้นมา
ทั้งหมดล้วนเป็นผลที่มาจากเวทนา และผลที่ว่าเกิดหลังจาก เวทนาได้ดับไปแล้ว


โปรดสังเกตดูให้ดีว่า บาลีท่านบัญญัติด้วย เวทนานำหน้า และผลของเวทนา
ตามหลังและมีการเว้นวรรค.....นี้ก็แสดงให้เห็นว่า มันไม่ใช่คำเดียวหรือสิ่งเดียวกัน


มาดูที่พระสูตรแปลไทยซิครับ ผมว่าผู้แปลท่านมั่วผิดเพี้ยนครับ

ทำไม... เวทนา สุขา จึงกลายเป็น สุขเวทนา

ทำไม.....เวทนา ทุกฺขา จึงกลายเป็น ทุกขเวทนา

ทำไม.....เวทนา อทุกฺขมสุขา จึงกลายเป็น อทุกขมทุกขเวทนา

ดูก็รู้ว่าท่านแปลมั่วเห็นๆครับ แปลแบบนี้พุทธพจน์ผิดเพี้ยนหมด

แนะนำ พระธรรมไม่ใช่ตำราภาษานะครับ ถึงจะได้อ้างบัณฑิตอ้างไวยากรณ์
หรืออ้างนิรุตต์......ผู้ที่จะแปลบาลีที่ใช้อธิบายธรรม จะต้องรู้และเข้าใจหลักแห่งอภิธรรมเป็นอย่างดี
ไม่งั้นก็มั่วอย่างที่เห็นนี้แหล่ะครับ


เออแน่ะ ไปไม่เป็น ก็เฉไปว่า บัณฑิตผู้แปลบาลี เป็นภาษาไทย มั่ว
นายยอดมากเลยยย นะโฮฮับ

.....................................................
ธรรมะอันยิ่งใหญ่ ไม่อาจเอื้อนเอ่ย
บัญญัติ เป็นเพียงสิ่งต่ำต้อยแบกรับความยิ่งใหญ่


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 16 มิ.ย. 2016, 05:08 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 14 ก.ค. 2008, 21:56
โพสต์: 3925

ชื่อเล่น: เช่นนั้น
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


เอาล่ะนะโฮฮับ
ลอกบาลี มา ก็ยังลอกผิดๆ ถูกๆ นะโฮฮับ

บาลี แสดงแบบนี้
Quote Tipitaka:
....[๒๗๓] ติสฺโส โข อิมา อคฺคิเวสฺสน เวทนา
สุขา เวทนา
ทุกฺขา เวทนา
อทุกฺขมสุขา เวทนา ฯ.....

http://www.84000.org/tipitaka/pitaka_item/pali.php?B=13&A=269&Z=275
บัณฑิต แปลเช่นนี้
Quote Tipitaka:
[๒๗๓] อัคคิเวสสนะ เวทนาสามอย่างนี้ คือ
สุขเวทนา ๑
ทุกขเวทนา ๑
อทุกขมสุขเวทนา ๑. .....


แต่โฮฮับ ลอกมาแบบนี้
โฮฮับ เขียน:
ในบาลีท่านบัญญัติว่า....
เวทนา สุขา
เวทนา ทุกฺขา
เวทนา อทุกฺขมสุขา


จะลอกทั้งทีก็ดันลอกผิดๆ ถูกๆ มานะโฮฮับ

.....................................................
ธรรมะอันยิ่งใหญ่ ไม่อาจเอื้อนเอ่ย
บัญญัติ เป็นเพียงสิ่งต่ำต้อยแบกรับความยิ่งใหญ่


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 16 มิ.ย. 2016, 05:27 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 13 ก.พ. 2010, 17:53
โพสต์: 4999

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


เช่นนั้น เขียน:
โฮฮับ เขียน:
เช่นนั้น เขียน:

จะสนทนาอภิธรรม จิตก็ไม่ใช่อารมณ์ อารมณ์ก็ไม่ใช่จิตอยู่ดีนะโฮฮับ


ก็แล้วแต่คุณครับ!! บังคับกันไม่ได้อยู่แล้ว ปัจจัตตังครับ
.... เพราะเห็นว่าคุณเช่นนั้นเอะอะอะไรก็จิต
ยึดมั่นถือมั่นว่าจิตเป็นใหญ๋......


ตัดเอาเฉพาะเนื้อๆ ออกมา

เรื่องของจิต ยกตัวอย่างออกมาตามนัยยะโดยพระสูตร หรือโดยพระอภิธรรม
เช่นนั้นไม่ได้แต่งเอง ไม่เกี่ยวกับปัจจัตตัง นะโฮฮับ
แม้แต่พระสูตรที่โฮฮับยกมา พระพุทธองค์ตรัสว่า "จิต" ไม่ได้ตรัสว่า "อารมณ์" จริงไหมโฮฮับ


ผมว่าคุณไม่ได้อ่านความเห็นที่ผมอธิบาย หรืออาจเป็นเพราะคุณอ่านแล้วแต่ไม่รู้เรื่อง
เน้นให้ฟังอีกครั้งครับว่า พระธรรมที่พระพุทธองค์ทรงสอนนั้น ในเนื้อหาจะมีทั้งที่เป็น พุทธพจน์
และเป็นโวหาร
พุทธพจน์แบ่งเป็นสมมติและปรมัตถ์ ส่วนโวหารนั้นก็คือคำอธิบายความพุทธพจน์
เป็นเพราะคุณเช่นนั้นไม่รู้เรื่องในส่วนนี้ ก็เลยทำให้ความเห็นของคุณซ้ำซากย่ำอยู่กับที
อธิบายไปก็ไม่เกิดประโยชน์กับคุณเช่นนั้นสักที

คุณเช่นนั้นแสดงคำพูดโต้แย้งไม่ตรงกับประเด็นที่เป็นปัญหา อ้างว่ายกตัวอย่างตามนัยยะพระสูตร
แบบนี้ท่านเรียกพูดไม่ตรงกับความเป็นจริงครับ
เนื้อในพระสูตรที่คุณยกมาอ้างอิง มันไม่ได้เป็นแบบที่คุณพูดครับ ....คุณไม่ฟังเหตุผลที่คู่โต้แย้งอธิบาย คุณซากซากอยู่กับตัวอักษร
อธิบายจนปากจะฉีกว่า....ลักษณะของภาษาแตกต่างกัน
แต่ความหมายที่เป็นลัษณะของธรรมชาติหรือสภาพธรรมเป็นอย่างเดียวกัน

ถ้าไม่ฟังไม่พินิจพิจารณาก่อน ปัญหามันก็ไม่จบครับ

ปล. ย้ำอีกทีครับ อารมณ์มันเป็นภาษาพูดที่ใช้สื่อสารกันในสังคม มันเป็นรูปธรรม
แต่จิตเป็นนามธรรมที่เป็นสภาพธรรมตามความเป็นจริงที่เกิดภายในกายใจ
ครั้งใดที่กล่าวถึงอารมณ์สื่อสารกัน ก็ให้เข้าใจตรงกันว่า....ท่านหมายถึงจิตภายในกายใจของบุคคล


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 16 มิ.ย. 2016, 05:37 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 13 ก.พ. 2010, 17:53
โพสต์: 4999

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


เช่นนั้น เขียน:
Quote Tipitaka:
จิตตสูตรที่ ๒
[๑๘๐] เทวดาทูลถามว่า
โลกอันอะไรย่อมนำไป อันอะไรหนอย่อมเสือกไสไป โลก
ทั้งหมดเป็นไปตามอำนาจของธรรมอันหนึ่งคืออะไร ฯ
[๑๘๑] พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า
โลกอันจิตย่อมนำไป อันจิตย่อมเสือกไสไป โลกทั้งหมด
เป็นไปตามอำนาจของธรรมอันหนึ่งคือจิต ฯ

[url]http://www.84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?


ไปไม่ถูกแล้วครับคุณเช่นนั้น!! จะอ้างอิงอะไรกรุณาพิจารณาให้ดีก่อนว่าสมควรอ้างมั้ย
อ้างอะไรไม่อ้างดันอ้างคาถาธรรมบท เรากำลังโต้แย้งกันด้วยเหตุผล

เพียงแค่นี้ก็รู้แล้วว่าคุณเช่นนั้นเป็นคนมีเหตุผลหรือไม่.....มันมีเยี่ยงอย่างที่ไหนครับ
ผมพยายามหาเหตุผลมาโต้แย้ง แต่ดูคุณทำดันอ้างเนื้อหาที่เป็นเรื่องของเทวดา
แบบนี้เรียกเหตุผลหรือครับ มันไม่ช่วยแก้ปัญหาให้ตัวเองกับสร้างปัญหา ทำให้คนอื่นมองคุณว่า
เป็นคนไร้เหตุผล จนหนทางไปไม่ถูก ก็อ้างเทวดาหน้าตาเฉย
แถมมาอ้างกับคนที่มองเรื่องของเทวดานางฟ้า เป็นเรื่องตลกหรือเป็นลิเก


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 16 มิ.ย. 2016, 06:03 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 13 ก.พ. 2010, 17:53
โพสต์: 4999

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


เช่นนั้น เขียน:
Quote Tipitaka:
คาถาธรรมบท จิตตวรรคที่ ๓
[๑๓] นักปราชญ์ย่อมทำจิตที่ดิ้นรน กลับกลอกรักษาได้โดยยาก
ห้ามได้โดยยาก ให้ตรง ดังช่างศรดัดลูกศรให้ตรง ฉะนั้น
จิตนี้อันพระโยคาวจรยกขึ้นแล้วจากอาลัย คือเบญจกาม
คุณเพียงดังน้ำ ซัดไปในวิปัสสนากรรมฐานเพียงดังบก เพื่อ
จะละบ่วงมาร ย่อมดิ้นรน ดุจปลาอันชาวประมง ยกขึ้นแล้ว
จากที่อยู่คือน้ำโยนไปแล้วบนบก ดิ้นรนอยู่ ฉะนั้น การ
ฝึกฝนจิตที่ข่มได้ยาก อันเร็ว มีปรกติตกไปในอารมณ์

อันบุคคลพึงใคร่อย่างไร เป็นความดี
เพราะว่าจิตที่บุคคล
ฝึกดีแล้วนำสุขมาให้ นักปราชญ์พึงรักษาจิตที่เห็นได้แสนยาก
ละเอียดอ่อนมีปกติตกไปตามความใคร่ เพราะว่าจิตที่บุคคล
คุ้มครองแล้วนำสุขมาให้ ชนเหล่าใดจักสำรวมจิตอันไปใน
ที่ไกล ดวงเดียวเที่ยวไป หาสรีระมิได้ มีถ้ำเป็นที่อยู่อาศัย
ชนเหล่านั้นจะพ้นจากเครื่องผูกแห่งมาร
ปัญญาย่อมไม่บริบูรณ์
แก่บุคคลผู้มีจิตไม่ตั้งมั่น ไม่รู้แจ่มแจ้งซึ่งพระสัทธรรม
มีความเลื่อมใสอันเลื่อนลอย ภัยย่อมไม่มีแก่พระขีณาสพ ผู้มี
จิตอันราคะไม่รั่วรด ผู้มีใจอันโทสะไม่ตามกระทบแล้ว
ผู้มีบุญและบาปอันละได้แล้ว ผู้ตื่นอยู่ กุลบุตรทราบกายนี้ว่า
เปรียญด้วยหม้อแล้ว พึงกั้นจิตนี้ให้เปรียบเหมือนนคร
พึงรบมารด้วยอาวุธคือ ปัญญา อนึ่ง พึงรักษาตรุณวิปัสสนา
ที่ตนชนะแล้ว และไม่พึงห่วงใย กายนี้อันบุคคลทิ้งแล้ว
มีวิญญาณปราศแล้วไม่นานหนอจักนอนทับแผ่นดิน ประดุจ
ท่อนไม้ไม่มีประโยชน์โจรหัวโจกเห็นโจรหัวโจก ก็หรือคน
มีเวรเห็นคนผู้คู่เวรกันพึงทำความฉิบหาย และความทุกข์ใดให้
จิตที่บุคคลตั้งไว้ผิดพึงทำบุคคลนั้นให้เลวยิ่งกว่าความฉิบหาย
และความทุกข์นั้นมารดาบิดาไม่พึงทำเหตุนั้นได้ หรือแม้ญาติ
เหล่าอื่นก็ไม่พึงทำเหตุนั้นได้ จิตที่บุคคลตั้งไว้ชอบแล้ว
พึงทำเขาให้ประเสริฐกว่าเหตุนั้น ฯ


http://www.84000.org/tipitaka/pitaka2/v.php?B=25&A=366&Z=394&pagebreak=0


รวบยอดตอบครับ ไอ้ที่ยาวจนเลอะเทอะผมขอข้ามไปนะครับ

เอาคำที่คุณคอมเม้นไว้.... การ
ฝึกฝนจิตที่ข่มได้ยาก อันเร็ว มีปรกติตกไปในอารมณ์


ผมถามคุณหน่อยเถอะครับว่า ในคำที่ว่า "การฝึกฝนจิตที่ข่มได้ยาก" การฝึกฝนท่านฝึกที่ไหนครับ
ฝึกที่กายของเราหรือฝึกที่จิตครับ.......บุคคลจะฝึกฝนจิตด้วยจิตได้หรือครับ
ทั้งหมดทั้งมวลมันต้องฝึกที่กาย กายเป็นเช่นไรก็เกิดจิตตามมาเช่นนั้น
จิตมันเป็นอนิจจังและหาใช่ตัวตน จิตมันเกิดตามการกระทำของกายใจ

เช่นกันกับคำว่า"อารมณ์" อารมณืใดเกิดขึ้นก็มีเหตุมาจาก การกระทบที่กายใจ
ได้ยินเสียงที่ไม่ชอบ ก็เกิดเป็นโทสะ ได้เห็นภาพอุดจาดก็เกิดโทสะ ได้สัมผัสที่นุ่มนวนก็เกิดโลภะ
ทั้งหมดทั้งมวลด้วยภาษาพูด ท่านเรียกว่า อารมณ์พอใจหรือไม่พอใจ แต่ถ้าเป็นภาษาธรรม(พุทธพจน์)
ท่านเรียกอารมณ์เหล่านั้นว่า จิต
ทั้งโลภะ โทสะและโมหะ เป็นองค์ธรรมที่เรียกว่าจิต

การพิจารณาธรรมท่อนนี้มันมีสองส่วน อย่าเอามาปนกันซิครับ
เช่นประโยคหลังที่ว่า....
มีปรกติตกไปในอารมณ์
ในสภาพธรรมที่เรียกว่าจิต มันมีทั้งที่เป็นอารมณ์และเอกัตคตา
ความว่างเปล่า(เอกัตคตา) ก็คือจิต แต่ไม่ใช่อารมณ์ เพราะจิตเป็นลักษณะของความว่าง
แต่เมื่อจิตมีลักษณะของอาการต่างๆ เช่นโทสะ โมหะหรือโลภะ ท่านเรียกว่า อารมณ์


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 16 มิ.ย. 2016, 06:07 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 13 ก.พ. 2010, 17:53
โพสต์: 4999

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


เช่นนั้น เขียน:
โฮฮับ เขียน:
เช่นนั้น เขียน:

โฮฮับ ไปไม่เป็น ก็บอกมาตรงๆ
บัณฑิตที่แปล บาลีเป็นภาษาไทย หากมีการเติมตามความเข้าใจ บัณฑิตจะกระทำในวงเล็บ
บัณฑิตผู้แปล แปลตามไวยากรณ์ หลักนิรุติศาสตร์
โฮฮับจะมั่วไม่ยอมรับว่ากล่าวผิด แสดงผิด ก็อย่าแถไปข้างๆ คูๆ เช่นนี้


ไปไม่เป็นอะไรที่ไหนกันครับ!! ผมชี้ประเด็นที่เป็นปัญหาของผู้แปลกับของคุณเช่นนั้นให้ดูแล้ว
แทนที่คุณจะเอะใจแล้วกลับไปพิจารณาเปรียบเทียบเนื้อหา พระสูตรบาลีกับพระสูตรแปลไทยว่า
มันผิดเพี้ยนแตกต่างกันอย่างไร ซึ่งผมได้ยกเอาหลักของการพิจารณาธรรมมาบอกเพื่อเพิ่มพูน
ปัญญาให้กับคุณเช่นนั้น สรุปมันเปล่าประโยชน์ สั้นๆครับ...เสียของ

ในบาลีท่านบัญญัติว่า....
เวทนา สุขา
เวทนา ทุกฺขา
เวทนา อทุกฺขมสุขา


โดยความหมายของบาลี ทั้งสามนี้ก็คือ.
เวทนาเป็นเหตุแห่งความสุข
เวทนาเป็นเหตุแห่งความทุกข์
เวทนาเป็นเหตุแห่งความเมินเฉย

ทั้งความสุข ความทุกข์และความเมินเฉย ไม่ใช่เวทนาแต่เป็นสิ่งที่มโนทวารปรุงแต่งขึ้นมา
ทั้งหมดล้วนเป็นผลที่มาจากเวทนา และผลที่ว่าเกิดหลังจาก เวทนาได้ดับไปแล้ว


โปรดสังเกตดูให้ดีว่า บาลีท่านบัญญัติด้วย เวทนานำหน้า และผลของเวทนา
ตามหลังและมีการเว้นวรรค.....นี้ก็แสดงให้เห็นว่า มันไม่ใช่คำเดียวหรือสิ่งเดียวกัน


มาดูที่พระสูตรแปลไทยซิครับ ผมว่าผู้แปลท่านมั่วผิดเพี้ยนครับ

ทำไม... เวทนา สุขา จึงกลายเป็น สุขเวทนา

ทำไม.....เวทนา ทุกฺขา จึงกลายเป็น ทุกขเวทนา

ทำไม.....เวทนา อทุกฺขมสุขา จึงกลายเป็น อทุกขมทุกขเวทนา

ดูก็รู้ว่าท่านแปลมั่วเห็นๆครับ แปลแบบนี้พุทธพจน์ผิดเพี้ยนหมด

แนะนำ พระธรรมไม่ใช่ตำราภาษานะครับ ถึงจะได้อ้างบัณฑิตอ้างไวยากรณ์
หรืออ้างนิรุตต์......ผู้ที่จะแปลบาลีที่ใช้อธิบายธรรม จะต้องรู้และเข้าใจหลักแห่งอภิธรรมเป็นอย่างดี
ไม่งั้นก็มั่วอย่างที่เห็นนี้แหล่ะครับ


เออแน่ะ ไปไม่เป็น ก็เฉไปว่า บัณฑิตผู้แปลบาลี เป็นภาษาไทย มั่ว
นายยอดมากเลยยย นะโฮฮับ


ผมไปเฉไฉตรงไหนครับ ผมเอาเหตุผลมาประกอบความเห็น
ผมว่าคำพูดคุณต่างหากที่เฉไฉแก้เกี้ยว แทนที่จะเอาเหตุผลมาอธิบายความ
เล่นโพสพระสูตรทื่อๆ(ไม่มีคำอธิบายความแม้แต่น้อย) แถมตามหลังด้วยคำประชดประชัน


"คุณลองดูคำพูดของคุณซิครับ
เหมือนกับเจ้าพ่อมาเฟียกำลังข่มขู่ชาวบ้านยังไงยังงั้น!!"


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 16 มิ.ย. 2016, 06:26 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 13 ก.พ. 2010, 17:53
โพสต์: 4999

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว




cats-crop.jpg
cats-crop.jpg [ 63.54 KiB | เปิดดู 2183 ครั้ง ]
เช่นนั้น เขียน:
เอาล่ะนะโฮฮับ
ลอกบาลี มา ก็ยังลอกผิดๆ ถูกๆ นะโฮฮับ
บาลี แสดงแบบนี้
Quote Tipitaka:
....[๒๗๓] ติสฺโส โข อิมา อคฺคิเวสฺสน เวทนา
สุขา เวทนา
ทุกฺขา เวทนา
อทุกฺขมสุขา เวทนา ฯ.....

http://www.84000.org/tipitaka/pitaka_item/pali.php?B=13&A=269&Z=275
บัณฑิต แปลเช่นนี้
Quote Tipitaka:
[๒๗๓] อัคคิเวสสนะ เวทนาสามอย่างนี้ คือ
สุขเวทนา ๑
ทุกขเวทนา ๑
อทุกขมสุขเวทนา ๑. .....


แต่โฮฮับ ลอกมาแบบนี้
โฮฮับ เขียน:
ในบาลีท่านบัญญัติว่า....
เวทนา สุขา
เวทนา ทุกฺขา
เวทนา อทุกฺขมสุขา


จะลอกทั้งทีก็ดันลอกผิดๆ ถูกๆ มานะโฮฮับ


คุณเช่นนั้นไปไม่ถูกแล้วครับ :b32:
ค่อยพิจารณาครับอย่าเร่งรีบ จะเอาบาลีมาชี้ให้เห็นว่าผมมั่วหรือคุณเมากันแน่

กรุณาดูรูปที่ผมอ้างอิง แล้วดูซิว่าใครเมาใครมั่วครับ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 16 มิ.ย. 2016, 07:09 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 14 ก.ค. 2008, 21:56
โพสต์: 3925

ชื่อเล่น: เช่นนั้น
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว




คำอธิบาย: แบ่งให้ถูกต้อง
cats-crop.jpg
cats-crop.jpg [ 73.69 KiB | เปิดดู 2173 ครั้ง ]
โฮฮับ ..มั่วไปได้อีกล่ะ
นี่ๆ ดูให้ดีๆ

.....................................................
ธรรมะอันยิ่งใหญ่ ไม่อาจเอื้อนเอ่ย
บัญญัติ เป็นเพียงสิ่งต่ำต้อยแบกรับความยิ่งใหญ่
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 16 มิ.ย. 2016, 07:16 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 14 ก.ค. 2008, 21:56
โพสต์: 3925

ชื่อเล่น: เช่นนั้น
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


โฮฮับ เขียน:
ดูก็รู้ว่าท่านแปลมั่วเห็นๆครับ แปลแบบนี้พุทธพจน์ผิดเพี้ยนหมด

แนะนำ พระธรรมไม่ใช่ตำราภาษานะครับ ถึงจะได้อ้างบัณฑิตอ้างไวยากรณ์
หรืออ้างนิรุตต์......ผู้ที่จะแปลบาลีที่ใช้อธิบายธรรม จะต้องรู้และเข้าใจหลักแห่งอภิธรรมเป็นอย่างดี
ไม่งั้นก็มั่วอย่างที่เห็นนี้แหล่ะครับ

เช่นนั้น เขียน:
เออแน่ะ ไปไม่เป็น ก็เฉไปว่า บัณฑิตผู้แปลบาลี เป็นภาษาไทย มั่ว
นายยอดมากเลยยย นะโฮฮับ


ผมไปเฉไฉตรงไหนครับ ผมเอาเหตุผลมาประกอบความเห็น
ผมว่าคำพูดคุณต่างหากที่เฉไฉแก้เกี้ยว แทนที่จะเอาเหตุผลมาอธิบายความ
เล่นโพสพระสูตรทื่อๆ(ไม่มีคำอธิบายความแม้แต่น้อย) แถมตามหลังด้วยคำประชดประชัน


"คุณลองดูคำพูดของคุณซิครับ
เหมือนกับเจ้าพ่อมาเฟียกำลังข่มขู่ชาวบ้านยังไงยังงั้น!!"


...ท่านแปลมั่วๆ เห็นๆ ครับ
....แปลแบบนี้พุทธพจน์ผิดเพี้ยน
....ไม่งั้นก็มั่วอย่างที่เห็น

ใครเป็นคนพิมพ์แสดงความเห็นข้างบนนั้น .....
โฮฮับ ไม่รู้จักไวยากรณ์บาลี ลอกก็ลอกผิดๆถูกๆ วรรคตอนบาลีเป็นยังไงก็ไม่รู้จัก
เช่นนั้นไม่ได้แก้เกี้ยวหรอกนะ มันเห็นจะๆ ดูชัดๆ อยู่แล้วว่า โฮฮับลอกผิดๆถูกๆ แล้วเฉไฉว่าบัณฑิตแปลบาลีมั่ว

.....................................................
ธรรมะอันยิ่งใหญ่ ไม่อาจเอื้อนเอ่ย
บัญญัติ เป็นเพียงสิ่งต่ำต้อยแบกรับความยิ่งใหญ่


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 16 มิ.ย. 2016, 13:03 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 13 ก.พ. 2010, 17:53
โพสต์: 4999

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว




เช่นนั้น.jpg
เช่นนั้น.jpg [ 73.69 KiB | เปิดดู 2156 ครั้ง ]
เช่นนั้น เขียน:
โฮฮับ ..มั่วไปได้อีกล่ะ
นี่ๆ ดูให้ดีๆ


เละแล้วครับ!! ลากเส้นเอาเองตามใจชอบ ใครสอนให้ทำแบบนี้ครับ
ถามจริงคุณแปลตามหลักธรรมจริงๆ....หรือคุณไปลอกเอาจากพระสูตรแปลครับ
สงสัยถ้าจะอ่านสลับกันไปมา พระสูตรแปลว่าอย่างนี้ ก็เลยลากเส้นเอาเองเพื่อจะได้ให้ตรงกับพระสูตรแปล

จะแปลมันต้องแปลจากบาลีโดยตรง ไม่ใช่ไปอ่านคำแปลไทยมาก่อน
แถมเอาเนื้อหาแปลที่มันมีปัญหามาเป็นหลัก.....แบบนี้ก็เละไม่มีชิ้นดีนะซิ


ติสโส.....มันแปลว่า ๓อย่างหรือสามประการ มันมีความหมายในตัวของมันเองอยู่แล้ว
คุณเช่นนั้นเล่น ลากเอาไปผสมกับเวทนา่ทั้งๆที่มันอยู่ห่างกันเป็นโยชน์ มันเป็นคนละวรรค
คนละตอน คนละความหมาย......ทำแบบนี้เข้าสมาคมกับใครวงแตกที่นั้น
ถ้าให้เล่นหมากรุกชนะเขาทุกตา จะไม่ชนะได้ไงก็เล่น นึกจะเดินตาไหนก็เดินหากกติกาอะไรไม่ได้ :b32:

ปล. สังเกตุให้ดี ในข้อ๓ที่คุณวงกลมไว้....ถามหน่อยเถอะ คุณจะเอาตัวไปรยาลน้อย(ฯ) ไปไว้ไหน
ก็เห็นอยู่ทนโท่ว่า มันเป็นคำต่อท้ายจากเวทนาในข้อ๓ที่คุณวงกลมไว้
เล่นทิ้งเขาหน้าตาเฉย......ไม่เนียนเลยครับ


แก้ไขล่าสุดโดย โฮฮับ เมื่อ 16 มิ.ย. 2016, 13:15, แก้ไขแล้ว 1 ครั้ง
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 16 มิ.ย. 2016, 13:11 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 13 ก.พ. 2010, 17:53
โพสต์: 4999

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


เช่นนั้น เขียน:
โฮฮับ เขียน:
ดูก็รู้ว่าท่านแปลมั่วเห็นๆครับ แปลแบบนี้พุทธพจน์ผิดเพี้ยนหมด

แนะนำ พระธรรมไม่ใช่ตำราภาษานะครับ ถึงจะได้อ้างบัณฑิตอ้างไวยากรณ์
หรืออ้างนิรุตต์......ผู้ที่จะแปลบาลีที่ใช้อธิบายธรรม จะต้องรู้และเข้าใจหลักแห่งอภิธรรมเป็นอย่างดี
ไม่งั้นก็มั่วอย่างที่เห็นนี้แหล่ะครับ

เช่นนั้น เขียน:
เออแน่ะ ไปไม่เป็น ก็เฉไปว่า บัณฑิตผู้แปลบาลี เป็นภาษาไทย มั่ว
นายยอดมากเลยยย นะโฮฮับ


ผมไปเฉไฉตรงไหนครับ ผมเอาเหตุผลมาประกอบความเห็น
ผมว่าคำพูดคุณต่างหากที่เฉไฉแก้เกี้ยว แทนที่จะเอาเหตุผลมาอธิบายความ
เล่นโพสพระสูตรทื่อๆ(ไม่มีคำอธิบายความแม้แต่น้อย) แถมตามหลังด้วยคำประชดประชัน


"คุณลองดูคำพูดของคุณซิครับ
เหมือนกับเจ้าพ่อมาเฟียกำลังข่มขู่ชาวบ้านยังไงยังงั้น!!"


...ท่านแปลมั่วๆ เห็นๆ ครับ
....แปลแบบนี้พุทธพจน์ผิดเพี้ยน
....ไม่งั้นก็มั่วอย่างที่เห็น

ใครเป็นคนพิมพ์แสดงความเห็นข้างบนนั้น .....
โฮฮับ ไม่รู้จักไวยากรณ์บาลี ลอกก็ลอกผิดๆถูกๆ วรรคตอนบาลีเป็นยังไงก็ไม่รู้จัก
เช่นนั้นไม่ได้แก้เกี้ยวหรอกนะ มันเห็นจะๆ ดูชัดๆ อยู่แล้วว่า โฮฮับลอกผิดๆถูกๆ แล้วเฉไฉว่าบัณฑิตแปลบาลีมั่ว


ประเด็นมันอยู่ที่ใครสามารถหาเหตุผลมาอธิบายความได้ครับ
ไม่ใช่สักแต่โพสพระสูตรมันจะเกี่ยวหรือไม่เกี่ยวไม่รู้ .....รู้จักคำว่า ตีหน้าตายมั้ย
ไอ้ลักษณะมั่วโพสพระสูตรโดยคิดว่า ฉันไม่รู้คนอื่นคงไม่รู้...คุณคิดผิดครับ
รู้เปล่าว่ากำลังเดินชนตอเข้าอย่างจัง

เอาเป็นว่าเพื่อความสร้างสรร พูดอะไรที่มันเกี่ยวกับประเด็นธรรมดีกว่า
ลดวาจาเสียดสีประชดประชันลงบ้างก็ดีครับ
โกรธเพราะคิดว่ากำลังโดนหักหน้าอย่างไรก็ต้องทนครับ เพราะเราอยากอวดเก่งเอง
แบบนี่ไม่มีใครช่วยได้ครับ :b13:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 16 มิ.ย. 2016, 16:56 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 14 ก.ค. 2008, 21:56
โพสต์: 3925

ชื่อเล่น: เช่นนั้น
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


โฮฮับ เขียน:

ปล. สังเกตุให้ดี ในข้อ๓ที่คุณวงกลมไว้....ถามหน่อยเถอะ คุณจะเอาตัวไปรยาลน้อย(ฯ) ไปไว้ไหน
ก็เห็นอยู่ทนโท่ว่า มันเป็นคำต่อท้ายจากเวทนาในข้อ๓ที่คุณวงกลมไว้
เล่นทิ้งเขาหน้าตาเฉย......ไม่เนียนเลยครับ

โฮฮับ ...
เครื่องหมาย "ฯ" ไม่ใช่เครื่องหมาย เปยยาลน้อยในภาษาไทย
แต่เรียก เครื่องหมาย "ฯ" นี้ว่า ขั้นเดี่ยว
เป็นเครื่องหมายใช้สำหรับ แบ่งประโยค ตามการจารึกพระธรรมในใบลาน ที่ตกทอดกันมา...
จำไว้ให้ดีนะโฮฮับ

.....................................................
ธรรมะอันยิ่งใหญ่ ไม่อาจเอื้อนเอ่ย
บัญญัติ เป็นเพียงสิ่งต่ำต้อยแบกรับความยิ่งใหญ่


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 16 มิ.ย. 2016, 18:52 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 13 ก.พ. 2010, 17:53
โพสต์: 4999

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


เช่นนั้น เขียน:
โฮฮับ เขียน:

ปล. สังเกตุให้ดี ในข้อ๓ที่คุณวงกลมไว้....ถามหน่อยเถอะ คุณจะเอาตัวไปรยาลน้อย(ฯ) ไปไว้ไหน
ก็เห็นอยู่ทนโท่ว่า มันเป็นคำต่อท้ายจากเวทนาในข้อ๓ที่คุณวงกลมไว้
เล่นทิ้งเขาหน้าตาเฉย......ไม่เนียนเลยครับ

โฮฮับ ...
เครื่องหมาย "ฯ" ไม่ใช่เครื่องหมาย เปยยาลน้อยในภาษาไทย
แต่เรียก เครื่องหมาย "ฯ" นี้ว่า ขั้นเดี่ยว
เป็นเครื่องหมายใช้สำหรับ แบ่งประโยค ตามการจารึกพระธรรมในใบลาน ที่ตกทอดกันมา...
จำไว้ให้ดีนะโฮฮับ


ภาษาบาลีไม่มีตัวหนังสือ บาลีมีแต่ภาษาพูด ตัวหนังสือบาลีที่บัญญัติในบาลีสยามรัฐ
เป็นตัวหนังสือไทย

เหตุนี้ "ฯ" จึงไม่ใช่บาลี แต่มันเป็นสัญลักษณ์ในอักษรไทยที่เรียกว่าไปยาลน้อย
ที่ต้องเรียกไปยาลน้อยก็เพราะ ในอักษรไทยยังมีสัญลักษณ์ที่คล้ายกันนั้นก็คือ "ฯลฯ"
ซึ่งเรียกว่าไปยาลใหญ่ สรุปคือเพื่อไม่ให้เกิดความสับสน

แต่ในบาลีซึ่งไม่มีสัญลักษณ์"ฯ" ที่เห็นมีในบาลีนั้นก็เป็นเพราะบาลียืมอักษรไทยสะกด
เพื่อออกเสียง ในบาลีจะออกเสียงว่า.... "เปยฺยาล" (ไปยาล)
แต่ถ้าเราเห็นสัญลักษณ์"ฯ" ในบาลี จะบอกว่านั้นคือ "เปยฺยาล"หรือไปยาลไม่ได้
จะต้องบอกว่า....ไปยาลน้อย

ทั้งไทยและบาลี เมื่อเห็นสัญลักษณ์"ฯ"ในประโยคจะไม่มีการออกเสียง แต่เป็นที่เข้าใจกันว่า
มันคือสัญลักษณ์ ....ไปยาลน้อย

ซึ่งโดยหน้าที่ของ"ฯ"คือย่อข้อความหรือให้รู้ว่า ยังมีเนื้อหาในวรรคนั่นๆอีก
เพียงแต่ย่อลงฐานที่เข้าใจ


การที่คุณเช่นนั้นบอกว่า มันเป็นเครื่องหมายแบ่งประโยคหรือขั้นเดียว
เป็นการพูดแบบกำปั้นทุบดิน หาใช่คำอธิบายความไม่

แท้จริงแล้วมันไม่ใช่การขั้นหรือแบ่งประโยค แท้แล้วมันเป็นเครื่องหมาย
ย่อของประโยคนั้นๆ มันยังมีเนื้อหาที่ยังไม่ได้กล่าวอีก ด้วยเหตุนี้ประโยคดังกล่าวจึงจบไปโดยปริยาย


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 132 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1, 2, 3, 4, 5, 6, 7, 8, 9  ต่อไป

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

่กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 1 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร