วันเวลาปัจจุบัน 18 ก.ค. 2025, 15:09  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง




กลับไปยังกระทู้  [ 911 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1 ... 52, 53, 54, 55, 56, 57, 58 ... 61  ต่อไป  Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 22 ธ.ค. 2015, 06:06 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 18 ก.ย. 2011, 21:51
โพสต์: 4941


 ข้อมูลส่วนตัว




กระบวนการทำงานของมรรค 8_100.1 Kb (2).jpg
กระบวนการทำงานของมรรค 8_100.1 Kb (2).jpg [ 69.17 KiB | เปิดดู 1712 ครั้ง ]
:b45:
วิปัสสนาภาวนา เป็นชื่อเรียกรวมของวิธีปฏิบัติธรรมตามคำสอนของพระพุทธเจ้า
เพราะ การเจริญปัจจุบันอารมณ์ การเจริญมรรค 8 การเจริญสติปัฏฐาน 4 หรือแม้แต่การเจริญโพธิปักขิยธรรมทั้ง 37 ประการล้วนรวมลงอยู่ในคำว่า "วิปัสสนาภาวนา" นี้ทั้งสิ้น

วิปัสสนาภาวนา แปลหรือหมายความว่า การเจริญการเฝ้าดูเฝ้าสังเกต พิจารณา
สิ่งวิเศษ คือธรรมหรือ อนัตตาธรรม ที่เกิดขึ้นและเอหิปัสสิโก คือเรียกจิตหรือสติปัญญาให้เข้าไปดูไปรู้มันอยูเสมอ เช่นผัสสะ เวทนาและอารมณ์ต่างๆที่เกิดขึ้นเองเป็นเองกับกายและใจของคนเราโดยเราไม่ได้แต่งสร้างกำหนดบังคับให้มันเกิดมา เขาเกิดขึ้นมาเองตามกำลังแห่งเหตุและปัจจัยตามเวลาและโอกาสของเขา นั่นแหละคือธรรมที่แท้จริงเป็นที่ตั้งของการเจริญวิปัสสนาภาวนา เมื่อปฏิบัติธรรมได้ถูกที่ถูกกับงานเช่นนี้แล้วความเห็นความจริงหรือ การเห็นธรรมตามความเป็นจริงก็จะเกิดขึ้นอย่างง่ายดายกับทุกๆคน

ความจริงของธรรมทั้งหลายก็คือมันเป็น อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา ผู้ปฏิบัติได้เห็นชัดเจนลึกซึ้งข้อใดข้อหนึ่งใน ความจริงทั้ง 3 นี้จนเกิดความเบื่อหน่ายคลายจางจากความเห็นผิดยึดผิดที่ตนหลงก็ย่อมจักเกิด วิราคะ คลายความกำหนัดยินดีจนปล่อยวางจิตจากความเห็นผิดยึดผิด จิตหลุดพ้นจากเครื่องร้อยรัดทั้งปวงเข้าถึงพระนิพพานอันเป็นบรมสุข

:b8:
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 23 ธ.ค. 2015, 06:38 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 18 ก.ย. 2011, 21:51
โพสต์: 4941


 ข้อมูลส่วนตัว


:b8:
เรามาต่อโอวาทปาติโมกข์กันอีกสักหน่อยนะครับ

หลัง 3 ข้อ ยังมีอีก 6 ข้อ ในสวดมนต์แปลว่าอย่างนั้น แต่ผมก็ยังสงสัยว่าทำไมท่านถึงว่ามีอีก 6 ข้อทั้งๆที่เรียงดูแล้วมีตั้ง 9 ข้อ 9เรื่อง

เป็นอย่างไรไว้ค่อยติดตามกันวันพรุ่งนี้หรือบ่ายนี้นะครับ เพราะเวลาของชาวนี้หมดเสียก่อน ขออภัยครับ
:b13:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 24 ธ.ค. 2015, 06:20 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 18 ก.ย. 2011, 21:51
โพสต์: 4941


 ข้อมูลส่วนตัว


:b38:
ผมไปหาอาจารย์กูเกิ้ลท่านช่วยอธิบายให้ คลายสงสัยได้ทันทีครับ ขอบคุณอ.กูเกิ้ลครับ
:b8:

โอวาทปาฏิโมกข์ สรุปได้เป็นสามส่วน คือ หลักการ 3 อุดมการณ์ 4 และวิธีการ 6

หลักการ 3 อันเป็นหัวใจสำคัญเพื่อเข้าถึงจุดมุ่งหมายของพระพุทธศาสนาโดยย่อ ได้แก่
การไม่ทำบาปทั้งปวง
การทำกุศลให้ถึงพร้อม
การทำจิตใจให้บริสุทธิ์
ทั้งสามข้อนี้อาจอนุมานเข้ากับ ศีล สมาธิ และปัญญา

อุดมการณ์ 4 ของพระพุทธศาสนา อันมีลักษณะที่แตกต่างจากศาสนาอื่น ได้แก่
ความอดทนอดกลั้น เมื่อประสบกับสิ่งที่ไม่ชอบใจ
การมุ่งให้ถึงพระนิพพานเป็นเป้าหมายหลักของผู้ออกบวช มิใช่สิ่งอื่นนอกจากพระนิพพาน
พระภิกษุและบรรพชิตไม่พึงทำผู้อื่นให้ลำบากด้วยการทำความทุกข์กายหรือทุกข์ทางใจไม่ ว่าจะในกรณีใดๆ
พระภิกษุตลอดจนบรรพชิตต้องขอแก่ทายกด้วยอาการที่ไม่เบียดเบียน ( คือการไม่เอ่ยปากเซ้าซี้ขอ และไม่ใช้ปัจจัยสี่อย่างฟุ่มเฟือย)

วิธีการ 6 ที่ธรรมทูตผู้เผยแผ่พระพุทธศาสนาถือเป็นกลยุทธ เพื่อเป็นไปในแนวทางเดียวกันและถูกต้องเป็นธรรม ได้แก่
การไม่กล่าวร้าย
การไม่ทำร้าย
ความสำรวมในปาติโมกข์ (รักษาความประพฤติให้น่าเลื่อมใส)
ความเป็นผู้รู้จักประมาณในอาหาร (เสพปัจจัยสี่อย่างรู้ประมาณพอเพียง)
ที่นั่งนอนอันสงัด (สันโดษไม่คลุกคลีด้วยหมู่คณะ)
ความเพียรในอธิจิต (พัฒนาจิตใจเสมอมิใช่ว่าเอาแต่สอน แต่ตนเองไม่กระทำตามที่สอน)
วันนี้จึงเป็น วันแห่งความรักของพระพุทธศาสนา โดยถือว่าเหตุการณ์สำคัญที่เหล่าพระสาวกทั้ง 1,250 รูป ได้กลับมาเข้าเฝ้าพระพุทธเจ้าด้วยความรักในพระพุทธองค์หลังจากได้ออกไปเผยแพร่พระศาสนาโดยมิได้นัดหมายดังกล่าว เป็นสิ่งที่แสดงถึงความกตัญญูกตเวทีอันบริสุทธิ์ จึงสมควรที่เหล่าพุทธบริษัทจะแสดงถึงความกตัญญูกตเวทีโดยการน้อมนำ หลักการ 3 อุดมการณ์ 4 วิธีการ 6 มาปฏิบัติใช้ต่อชีวิตตนเองเป็นประจำทุกวัน เพื่อน้อมถวายเป็นพุทธบูชา น้อมรำลึกถึงพระมหากรุณาและพระเมตตาคุณอันหาที่สุดมิได้แห่งองค์สมเด็จพระผู้มีพระภาคเจ้า

หากพิจารณาให้ถ่องแท้จะเห็นว่า หลักการ 3 อุดมการณ์ 4 และวิธีการ 6 นั้น นำสามารถมาใช้ได้กับคนทุกเพศทุกวัย ทุกสาขาอาชีพอย่างงดงามบริบูรณ์ .. สาธุ

onion


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 28 ธ.ค. 2015, 01:28 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 18 ก.ย. 2011, 21:51
โพสต์: 4941


 ข้อมูลส่วนตัว




ผังทางไปนิพพาน_0001_resize_resize.jpg
ผังทางไปนิพพาน_0001_resize_resize.jpg [ 39.93 KiB | เปิดดู 1674 ครั้ง ]
smiley
เราเดินหน้ากันต่อไปตามภาพประกอบนี้นะครับ
onion
:b38:
ต่อไปเป็นเรื่องของ บุญกิริยาวัตถุ 10 อย่าง

บุญ แปลว่า สิ่งที่ทำให้ใจสงบ เป็นสุข
บาป แปลว้าสิ่งที่ทำให้ใจเดือดร้อน เป็นทุกข์


วิธีได้บุญมีตั้ง 10 วิธี เริ่มตั้งแต่วิธีที่ทำยากลงทุนมากที่สุดไปจนถึง ทำง่ายที่สุด ลงทุนน้อยที่สุด ว่าโดยสรุปและแบ่งเป็นหมวดๆตามลำดับดังนี้

หมวดทาน
1.ทาน การเสียสละแจกแบ่งข้าวของเงินทอง ทรัพย์สิน ปัจจัย 4
2.ปัตติทาน การแผ่ส่วนบุญ
3.ปัตตานุโมทนา การอนุโมทนาบุญของตนเองและผู้อื่น

หมวดศีล
4.ศีล การรักษาศีล 5 ศีล 8 ศีล 10 ศีล 227 ข้อ หรือมากกว่า เช่นกรณีของภิกษุณี
5.อัปจายนะ ความอ่อนน้อมถ่อมตน
6.เวยยาวัจจะ ความน้อมรับใช้ผู้อื่น

หมวดสมาธิ
7.ภาวนา ได้แก่การทำสมาธิหรือสมถะภาวนาตามกรรมฐาน 40
8.ธรรมสวนะ การฟังธรรมตามกาล
9.ธรรมเทศนา การแสดงธรรม การแบ่งปันธรรมะ (อย่างเช่นการแสดงกระทู้และสนทนาธรรมในลานธรรมจักรนี้ ได้ 2 ข้อ 8 -9 ไปพร้อมๆกัน

หมวดปัญญา
10.ทิฏฐุชุกรรม การทำความเห็นให้ตรงให้ถูกต้อง ด้วย วิปัสสนาภาวนา

รายละเอียดค่อยมาสนทนาเพิ่มเติมกันนะครับ
:b38:
:b37:
onion
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 28 ธ.ค. 2015, 21:22 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 เม.ย. 2009, 02:43
โพสต์: 12232


 ข้อมูลส่วนตัว


การอนุโมทนากับบุญของผู้อื่น....จัดอยู่ในหมวดปัญญา...จะดีกว่ามั้ย

:b9: :b9:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 29 ธ.ค. 2015, 05:59 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 18 ก.ย. 2011, 21:51
โพสต์: 4941


 ข้อมูลส่วนตัว


กบนอกกะลา เขียน:
การอนุโมทนากับบุญของผู้อื่น....จัดอยู่ในหมวดปัญญา...จะดีกว่ามั้ย

:b9: :b9:

smiley
อนุโมทนากับความเห็นของคุณกบ
ดูๆก็น่าจะเป็นอย่างนั้นได้ว่าการอนุโมทนาบุญน่าจะเป็นเรื่องของปัญญาหรือคนมีปัญญานะครับ
แต่เมื่อพิจารณาตามรากฐานที่มาหรือกำเนิดของเรื่องมันเป็นผลพวงเนื่องมาจากทาน การอนุโมทนาบุญจึงจัดอยู่ในหมวดของทานนะครับ

:b39:
ในหมวดของปัญญา การทำความเห็นให้ตรงนั้นเป็นเรื่องของปัญญาโดยแท้เพราะต้องระดมมาใช้ทั้ง สุตตะ จินตะและภาวนามยปัญญา จึงจะดัดความเห็นที่คดโค้งบิดเบี้ยวออกนอกทาง(ที่พระพุทธเจ้าทรงสอน) ให้มาตรงทางได้ครับ
แน่นอนเฉพาะปัญญาอย่างเดียวอาจไม่ทำให้เกืดผลสำเร็จได้ ยังต้องอาศัย ทาน ศีล สมาธิ สติ วิริยะ ตบะ ขันติ สัจจะ อธิษฐาน และธรรมข้ออื่นๆในโพธิปักขิยธรรมมาเป็นบริวารช่วยสนับสนุนปัญญาให้ทำงานจนสำเร็จ


:b38:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 02 ม.ค. 2016, 06:42 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 18 ก.ย. 2011, 21:51
โพสต์: 4941


 ข้อมูลส่วนตัว




อริยสัจ 4_resize.jpg
อริยสัจ 4_resize.jpg [ 58.29 KiB | เปิดดู 1647 ครั้ง ]
:b8:
วันนี้ ปีใหม่ 2559 แล้ว เรามาเริ่มต้นปีใหม่กันด้วยสิ่งที่ประเสริฐเลิศล้ำในสามโลก ด้วยหัวใจของพระพุทธเจ้า หัวใจของพระพุทธศาสนา ที่มาและจุดกำเนิดของพระธรรมทั้ง 84,000 พระธรรมขันธ์ เป็นสาระสำคัญของสิ่งที่พระพุทธเจ้าทรงค้นพบแล้วนำมาสอนตลอดพระชนม์ชีพของพระองค์ สิ่งนั้นคือ

"อริยสัจ 4 " ประการ

อ่านและศึกษาภาพสรุปที่แนบไว้ข้างต้นกันก่อนนะครับ ผู้มีความสังเกตดี สติปัญญาเฉียบแหลมก็อาจเข้าใจได้ทะลุปรุโปร่งอย่างงายดาย แทนคำพูดอธิบายเป็นร้อยเป็นพัน เป็นหมื่นคำ
:b36:
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 07 ม.ค. 2016, 06:45 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 18 ก.ย. 2011, 21:51
โพสต์: 4941


 ข้อมูลส่วนตัว


:b38:
อริยสัจ 4 ประการ ทุกข์ สมุทัย นิโรธ มรรค เราคงท่องจำกันขึ้นใจ

แต่! ความหมายอันลึกซึ้งที่ซ่อนอยู่ภายในล่ะครับ เข้าใจกันดีหรือยัง

"ถ้าเข้าใจอริยสัจ 4 อย่างถูกต้องและลึกซึ้งแล้ว ทั้งภาคทฤษฎีและภาคปฏิบัติ ตลอดจนถึงผลที่จะได้รับล้วนรวมลงอยู่ในอริยสัจ 4 นี้ทั้งสิ้น ดุจการได้อ่านศึกษาพระไตรปิฎกจนครบทั้ง 84,000 พระธรรมขันธ์"
onion


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 15 ม.ค. 2016, 05:50 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 18 ก.ย. 2011, 21:51
โพสต์: 4941


 ข้อมูลส่วนตัว


:b44:
สัจจะข้อที่ 1 ทุกข์สัจจ์

ทุกข์=สภาวะที่บีบคั้นจนทนไม่ได้


เกิด แก่ เจ็บ ตาย เป็นทุกข์
ความโศกเศร้า ร่ำให้ พิไรรำพัน เป็นทุกข์
ประสบกับสิ่งที่ไม่เป็นที่รักที่พอใจก็เป็นทุกข์
พลัดพรากจากสิ่งที่เป็นที่รักที่พอใจก็เป็นทุกข์
มีความปารถนาสิ่งใดไม่ได้สิ่งนั้น นั่นก็เป็นทุกข์

ว่าโดยย่อ อุปทานขันธ์ทั้ง 5 คือตัวทุกข์

ความหมายคือความยึดถือในขันธ์ทั้ง 5 ว่าเป็นกูเป็นเราเป็นอัตตา ตัวตน
เป็นตัวทุกข์

ขันธ์ 5 รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ
เป็นรูปธรรม 1 คือรูป เปรียบเป็น กาย
เป็นนามธรรม 4 คือ เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ เปรียบเป็น จิต ใจ

ก้อนขันธ์ 5 หรือกายใจของเรานี้เป็นก้อนทุกข์ กองทุกข์ เป็นที่กำเนิดและเวียนว่ายตายเกิดของทุกข์

พระพุทธเจ้าตรัสว่า

"ทุกข์ควรกำหนดรู้"
onion


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 17 ม.ค. 2016, 22:01 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 เม.ย. 2009, 02:43
โพสต์: 12232


 ข้อมูลส่วนตัว


แล้วไปนิ่งรู้...นี้นะ...กำหนดรู้ทุกข์ตอนไหนละ..


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 18 ม.ค. 2016, 04:30 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 18 ก.ย. 2011, 21:51
โพสต์: 4941


 ข้อมูลส่วนตัว


กบนอกกะลา เขียน:
แล้วไปนิ่งรู้...นี้นะ...กำหนดรู้ทุกข์ตอนไหนละ..

:b12: :b12: :b12:
ก็ตอนที่ทุกขสัจจะมันปรากฏตัวขึ้นมายังไงครับคุณกบ

onion
เช่น นั่งไปนานๆแล้วก้นเจ็บ ขาปวด เมื่อยหลัง อยากลุก อยากเปลี่ยนท่า ปวดอึ ปวดฉี่ ดังนี้ก็ให้มีสติรู้ทัน ปัญญาสังเกตอยู่ด้วยความนิ่ง ไม่ไหวติง ไม่ยินดียินร้าย ไม่ช้าก็จะได้เห็นปฏิกิริยาลูกโซ่ที่เกิดจากทุกข์เหล่านั้นมันทำงานไปตามกำลังแห่งเหตุและปัจจัย ให้ระวังไว้เพียงแค่ ความยินดียินร้ายเอาออกให้ได้ด้วยวิธีต่างๆตามที่สติปัญญาเขาจะคิดค้นขึ้นมาทำ ใจหมายไว้ที่ นิ่งกับเฉยกับทุกสิ่งทุกอย่างที่เกิดขึ้นทาง กาย เวทนา จิต ธรรม จนกระบวนการของทุกข์แต่ละอันมันจบหรือดับไปต่อหน้าต่อตา วิปัสสนาภาวนามีงานที่ต้องทำอยู่เพียงแค่นี้จริงๆ
:b38:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 18 ม.ค. 2016, 10:06 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 เม.ย. 2009, 02:43
โพสต์: 12232


 ข้อมูลส่วนตัว


asoka เขียน:
กบนอกกะลา เขียน:
แล้วไปนิ่งรู้...นี้นะ...กำหนดรู้ทุกข์ตอนไหนละ..

:b12: :b12: :b12:
ก็ตอนที่ทุกขสัจจะมันปรากฏตัวขึ้นมายังไงครับคุณกบ

onion
เช่น นั่งไปนานๆแล้วก้นเจ็บ ขาปวด เมื่อยหลัง อยากลุก อยากเปลี่ยนท่า ปวดอึ ปวดฉี่ ดังนี้ก็ให้มีสติรู้ทัน ปัญญาสังเกตอยู่ด้วยความนิ่ง ไม่ไหวติง ไม่ยินดียินร้าย ไม่ช้าก็จะได้เห็นปฏิกิริยาลูกโซ่ที่เกิดจากทุกข์เหล่านั้นมันทำงานไปตามกำลังแห่งเหตุและปัจจัย ให้ระวังไว้เพียงแค่ ความยินดียินร้ายเอาออกให้ได้ด้วยวิธีต่างๆตามที่สติปัญญาเขาจะคิดค้นขึ้นมาทำ ใจหมายไว้ที่ นิ่งกับเฉยกับทุกสิ่งทุกอย่างที่เกิดขึ้นทาง กาย เวทนา จิต ธรรม จนกระบวนการของทุกข์แต่ละอันมันจบหรือดับไปต่อหน้าต่อตา วิปัสสนาภาวนามีงานที่ต้องทำอยู่เพียงแค่นี้จริงๆ
:b38:


ปวดเหมื่อย..ปวดอึ..ปวดเยี้ยว..สารพัดปวด...ก็รู้ว่าทุกข์...รู้แค่นี้..เป็นกำหนดรู้ทุกข์อริยะสัจแล้วรึคับ?

แน่ใจนะว่าเป็นทุกข์อริยะสัจแล้วนะ?

แล้วที่ไปนิ่งจนทุกข์ดับไปเอง..นี้...ทุกขสมุทัยไปเห็นตอนไหน?


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 19 ม.ค. 2016, 05:40 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 18 ก.ย. 2011, 21:51
โพสต์: 4941


 ข้อมูลส่วนตัว


กบนอกกะลา เขียน:
asoka เขียน:
กบนอกกะลา เขียน:
แล้วไปนิ่งรู้...นี้นะ...กำหนดรู้ทุกข์ตอนไหนละ..

:b12: :b12: :b12:
ก็ตอนที่ทุกขสัจจะมันปรากฏตัวขึ้นมายังไงครับคุณกบ

onion
เช่น นั่งไปนานๆแล้วก้นเจ็บ ขาปวด เมื่อยหลัง อยากลุก อยากเปลี่ยนท่า ปวดอึ ปวดฉี่ ดังนี้ก็ให้มีสติรู้ทัน ปัญญาสังเกตอยู่ด้วยความนิ่ง ไม่ไหวติง ไม่ยินดียินร้าย ไม่ช้าก็จะได้เห็นปฏิกิริยาลูกโซ่ที่เกิดจากทุกข์เหล่านั้นมันทำงานไปตามกำลังแห่งเหตุและปัจจัย ให้ระวังไว้เพียงแค่ ความยินดียินร้ายเอาออกให้ได้ด้วยวิธีต่างๆตามที่สติปัญญาเขาจะคิดค้นขึ้นมาทำ ใจหมายไว้ที่ นิ่งกับเฉยกับทุกสิ่งทุกอย่างที่เกิดขึ้นทาง กาย เวทนา จิต ธรรม จนกระบวนการของทุกข์แต่ละอันมันจบหรือดับไปต่อหน้าต่อตา วิปัสสนาภาวนามีงานที่ต้องทำอยู่เพียงแค่นี้จริงๆ
:b38:


ปวดเหมื่อย..ปวดอึ..ปวดเยี้ยว..สารพัดปวด...ก็รู้ว่าทุกข์...รู้แค่นี้..เป็นกำหนดรู้ทุกข์อริยะสัจแล้วรึคับ?

แน่ใจนะว่าเป็นทุกข์อริยะสัจแล้วนะ?

แล้วที่ไปนิ่งจนทุกข์ดับไปเอง..นี้...ทุกขสมุทัยไปเห็นตอนไหน?

:b12: :b12: :b12:
กบจะต้องเอาทุกข์ทรมาณแสนสาหัสถึงจะเป็นอริยสัจ์หรือครับ?

ทุกข์ = ทนอยู่ไม่ได้ ต้องเปลี่ยนแปลง มาก น้อย ใหญ่ เล็กแค่ไหน ถ้าทนอยู่ไม่ได้คือ ทุกขสัจจะครับ

งานที่จะต้องทำกับทุกข์ก็คือกำหนดรู้

ลึกลงไปจากนั้นก็ต้องสังเกต พิจารณา

ความสังเกต(สังกัปปะ)นั้นจะทำให้เห็นสมุทัยคือเหตุทุกข์

สมุทัย เขาซ่อนอยู่เบื้องหลังความยินดียินร้ายนั่นแหละครับ ลองกลับไปสังเกตทุกข์ทั้งใหญ่น้อยทั้งหลายให้ดีๆ จะพบสมุทัยอยู่เสมอ

ในความนิ่งรู้นั้น สังกัปปะหรือ สังเกต เขาจะเกิดขึ้นมาเองโดยอัตโนมัติหรือโดยธรรม ถ้าไม่เอาความรู้มาผิดๆหรือวิธีปฏิบัติผิดๆมากั้นขวางไว้ ความ สังเกตเขาจะพาให้ไปพบสมุทัยโดยธรรม จนวางยินดียินร้ายได้ครับ

smiley


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 19 ม.ค. 2016, 08:10 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 เม.ย. 2009, 02:43
โพสต์: 12232


 ข้อมูลส่วนตัว


เจ็บ..ก็ทุกข์
หิว...ก็ทุกข์...
ปวดเมื่อย...ปวดแข้งปวดขา...ก็ทุกข์...

รู้แค่นี้..หากจัดเป็นรู้ทุกข์ในอริยะสัจเสียแล้ว....สิ่งมีชีวิตทุกชนิด...คนทุกชาติทุกศาสนา...ก็ต้องถือว่าเป็นผู้รู้อริยะสัจ..แล้วละซิคับ....

แต่ความจริงเป็นเช่นนั้นหรือ? อโสกะ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 19 ม.ค. 2016, 23:19 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 18 ก.ย. 2011, 21:51
โพสต์: 4941


 ข้อมูลส่วนตัว


กบนอกกะลา เขียน:
เจ็บ..ก็ทุกข์
หิว...ก็ทุกข์...
ปวดเมื่อย...ปวดแข้งปวดขา...ก็ทุกข์...

รู้แค่นี้..หากจัดเป็นรู้ทุกข์ในอริยะสัจเสียแล้ว....สิ่งมีชีวิตทุกชนิด...คนทุกชาติทุกศาสนา...ก็ต้องถือว่าเป็นผู้รู้อริยะสัจ..แล้วละซิคับ....

แต่ความจริงเป็นเช่นนั้นหรือ? อโสกะ

:b12: :b13: :b17:
ใช่สิครับคุณกบ อะไรที่ทำให้ทุกข์ ทนอยู่ไม่ได้ มันเป็นสัจจะทั้งสิ้น ความว่า สัจจะนั้น คือ รู้ตรงที่ใจ ชาติไหนภาษาไหนก็รู้ซึ้งเท่ากันเป็นสากล เช่น

เจ็บ ปวด สบาย สุข ทุกข์ ดีใจ เสียใจ เกิด แก่ เจ็บ ตาย เกิดขึ้นได้กับทุกชีวิต
ทุกชาติ ทุกภาษาและชนิดสัตว์ ผิดกันที่สมมุติที่ใช้เรียกและท่าทาง ความรู้สึก เสียงร้องหรืออุทานที่แสดงออกมาเท่านั้นเอง

onion
เขารู้จักทุกข์ แต่วิเคราะห์หาเหตุทุกข์ไม่ถูกไม่ตรงอย่างที่พระพุทธเจ้าทรงค้นพบเท่านั้น แต่ทุกชาติทุกภาษา ศาสนา เพศ วัย มีสิทธิ์และเข้าถึงอริยสัจทั้ง 4 ได้ทั้งสิ้น
onion


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 911 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1 ... 52, 53, 54, 55, 56, 57, 58 ... 61  ต่อไป

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

่กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 1 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร