วันเวลาปัจจุบัน 21 ก.ค. 2025, 00:08  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง




กลับไปยังกระทู้  [ 911 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1 ... 38, 39, 40, 41, 42, 43, 44 ... 61  ต่อไป  Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 11 ต.ค. 2015, 07:54 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 เม.ย. 2009, 02:43
โพสต์: 12232


 ข้อมูลส่วนตัว


ธรรมจักรกัปปวัตนะ...ไม่มี
แต่.ธรรมจักร..มีในพระไตรปิฎก..หรอ??...

พูดอย่างเดียว..ผมไม่เชื่อนะ....เอามาให้ดูหน่อยซิคับ...จึงจะเชื่อ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 11 ต.ค. 2015, 08:23 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 27 มิ.ย. 2012, 14:54
โพสต์: 2805


 ข้อมูลส่วนตัว


กบนอกกะลา เขียน:
ธรรมจักรกัปปวัตนะ...ไม่มี
แต่.ธรรมจักร..มีในพระไตรปิฎก..หรอ??...

พูดอย่างเดียว..ผมไม่เชื่อนะ....เอามาให้ดูหน่อยซิคับ...จึงจะเชื่อ

ลองหาดูเองซิกบ. จะได้เป็นปัตจัตตัง55. รับรองมีแน่นอน

.....................................................
อย่าลืมทำกิจในอริยสัจ
เราจะเดินให้สุดทาง http://www.thaidhamma.net


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 11 ต.ค. 2015, 10:31 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 เม.ย. 2009, 02:43
โพสต์: 12232


 ข้อมูลส่วนตัว


ที่ถาม..นะ..ผมรู้ว่าเอามาให้ดูไม่ได้..หรอก
:b32:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 11 ต.ค. 2015, 10:42 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 27 มิ.ย. 2012, 14:54
โพสต์: 2805


 ข้อมูลส่วนตัว


กบนอกกะลา เขียน:
ที่ถาม..นะ..ผมรู้ว่าเอามาให้ดูไม่ได้..หรอก
:b32:

ทำไมถึงคิดว่าเอามาให้ดูไม่ได้ล่ะ

.....................................................
อย่าลืมทำกิจในอริยสัจ
เราจะเดินให้สุดทาง http://www.thaidhamma.net


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 11 ต.ค. 2015, 13:16 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 11 ต.ค. 2010, 12:11
โพสต์: 5019


 ข้อมูลส่วนตัว


:b32: :b32: :b32:

เรามาดูชาวโลกธรรมดา ๆ ที่ ... :b20: :b17: :b4:

อ้างคำพูด:
"ความรู้สึกเข้มแข้งขึ้น

ความเข้มแข็งมีอยู่ 2 ด้านด้วยกัน นั่นคือ ด้านพลังงาน และด้านความตั้งมั่นอันเด็ดเดี่ยว

คุณทำให้มันเข้มแข็งขึ้นได้ ด้วยการหายใจเร็วขึ้นสักเล็กน้อย
หรือกระชับกล้ามเนื่อหัวไหล่คุณเข้ามาสักหน่อย
คล้ายกับว่ากำลังตั้งท่าเตรียมกำลังจะแบกอะไรหนัก ๆ

พยายามทำความคุ้นเคยกับการเคลื่อนไหวของกล้ามเนื้อเหล่านี้ที่เกี่ยวข้องกับความเข้มแข็ง
มันมักจะเป็นอะไรที่จับต้องได้ยากอยู่สักหน่อย
เหมือนกับว่าการแสดงสีหน้าเพื่อแสดงถึงอารมณ์ใดอารมณ์หนึ่งจะไปทำให้ความรู้สึกนั้นเข้มข้น
การใช้การเคลื่อนไหวกล้ามเนื่อที่เกี่ยวข้องกับความเข้มแข็งจะไปช่วยเพิ่มประสบการณ์
ความเข้มแข้งของคุณ

ขอให้พยายามฝึกนิสัยที่จะตั้งใจเรียกความรู้สึกเข้มแข็งขึ้นมา
ไม่ใช้เพื่อไปข่มขวัญใครหรืออะไรทำนองนั้น แต่เพื่อเติมไฟให้กับเจตนาของคุณ

ใช้แกนประสาทส่วนกลางทั้งหมดเพื่อเพิ่มพลังประสบการณ์ความรู้สึกเข้มแข้งของคุณ
ตัวอย่างเช่น ให้ลองนึกถึงความรู้สึกที่มุ่งมั่นเข้มแข็งแบบกล้ามเป็นมัด ๆ
อย่างที่ออกมาจากสัญชาตญาณดิบ ๆ เพื่อกระตุ้นก้านสมองให้ส่งสารนอร์เอพิเนฟริ
และโพพามีนให้พุ่งขึ้นไปเหมือนน้ำพุไปยังสมองส่วนที่เหลือส่วนอื่น ๆ
เพื่อที่จะไปกระตุ้นและส่งแรงขับ
จากนั้นกระตุ้นให้ระบบลิมบิกทำงาน โดยจดจ่อไปที่ความรู้สึกว่าความรู้สึกเข้มแข็งนั้นดีเพียงใด
เพื่อที่คุณจะได้ถูกดึงดูดเข้าหาความเข้มแข็งมากยิ่งขึ้นอีกในอนาคต
ปิดท้ายด้วยการเพิ่มพลังของภาษาในระดับคอร์ติคัลด้วยการพูดถึงประสบการณ์นั้น ๆ
กับตัวคุณเองว่า ฉันรู้สึกเข้มแข็ง การรู้สึกเข้มแข็งนี้เป็นความรู้สึกดีจริง ๆ

ลองสังเกตดูว่าคุณมีความเชื่ออะไรบ้างหรือเปล่าว่า การมีความเข้มแข็งนั้นเป็นสิ่งที่เลวร้ายหรือผิด
ถ้ามีก็กำจัดความเชื่อนั้นด้วยการคิดสวนกลับไปว่า
ความเข้มแข็งช่วยให้ฉันได้ทำสิ่งที่ดี ๆ ฉันมีสิทธิ์ที่จะเข้มแข็ง
พยายามให้เจตนาในทุกระดับของแกนประสาทส่วนกลางของคุณพุ่งไปในทิศทางเดียวกัน
เมื่อได้สัมผัสกับความรู้สึกเข้มแข็ง ไม่ว่าคุณจะเรียกมันขึ้นมาด้วยความตั้งใจ
หรือมันเกิดขึ้นในใจของคุณเองแล้ว ให้คุณตั้งใจรับมันเข้ามาด้วยสติ
เพื่อที่มันจะทิ้งร่องรอยที่ลึกขึ้นในความทรงจำแฝงเร้น
และเพื่อที่มันจะได้กลายเป็นส่วนหนึ่งของคุณ


:b8: คัดลอกบางส่วนมาจากหนังสือ Buddha's Brain
ซึ่งเขียนโดย ดร.ริค แฮนสัน และ นพ.ริชาร์ด แมนดิอัส
ดร.ณัชร สยามวาลา แปล

:b1: ...


แก้ไขล่าสุดโดย eragon_joe เมื่อ 11 ต.ค. 2015, 13:55, แก้ไขแล้ว 2 ครั้ง.

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 11 ต.ค. 2015, 13:18 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 18 ก.ย. 2011, 21:51
โพสต์: 4941


 ข้อมูลส่วนตัว


กบนอกกะลา เขียน:
asoka เขียน:
กบนอกกะลา เขียน:
มานะทิฏฐิ..นี้แก้ยาก..เน๊าะ..

เอาเถอะ...อยากคิดไม่มีเหตุผล...ก็คิดไป...เป็นสมบัติติดตัวเองหรอก...
สมบัติเหม็น..สมบัติเน่า..ก็ไม่เกี่ยวกับกับคนอื่น...

ถามหน่อย..แล้วทำไม..ธรรมจักรกัปปวัตนะ..จึงแปลเป็น..ขอบเขตของธรรม....ไม่ได้

แล้ว...Dhammajak....แปลว่าอะไร...มีความหมายเดียวกันกับอะไร..ระหว่าง ธัมมจัก..กับ..ธรรมจักร?

ตอบให้ได้นะ...

:b12: :b12:
ถ้ามานะทิฏฐิมันแก้ได้ง่ายๆ กบก็พ้นชาติกบมาเป็นมนุษย์เสียตั้งนานแล้ว แต่นี้ยังยินดีและหยิ่งทะนงในความเป็นกบอยู่ไม่รู้หาย
555555
กบก็ชื่นชมในสมบัติของกบ มนุษย์ก็ชื่นชมในสมบัติของมนุษย์ หนอนในมูตรคูตรก็ย่อมชื่นชมในมูตรคูตรตามระดับของใครของมัน เป็นเรื่อธรรมดา (ตถตา)
:b39:
จักร แปลว่า กงล้อ

จักกัปปวัตนะ แปลว่า ขอบเหล็กที่หุ้มรอบกงล้อ

เป็นคนละอันกัน

onion


จักร แปลว่า กงล้อ จักกัปปวัตนะ แปลว่า ขอบเหล็กที่หุ้มรอบกงล้อ

นี้แปลเอาเอง...หรือมีหลักการแปลอย่างไรรึ..

ที..จัก...ยังเขียนว่าจักกัปปวัตนะ...แล้วทำไมไม่เขียนว่า..จักรกัปปวัตนะ...ด้วยละ?

:b39:
จักกัปปวัตนะ บาลีในพม่าเขาแปลว่าขอบล้อ หรือขอบเหล็กหุ้มล้อ ที่มาออกเป็น ขอบเขตแห่งธรรมที่แปลความหมายให้ฟังนั่นแหละ

ส่วนจักร แปลว่ากงล้อนี่ก็รู้ๆกันอยู่ทั่วไปและใช้กันอยู่ในภาษาไทยอยู่แล้วไงครับ

ที่ว่าธรรมจักรกัปปวัตนสูตรแปลว่าขอบเขตแห่งธรรมไม่ได้ก็ความหมายของคำว่าจักรมันแปลว่ากงล้อนั้นบังคับอยู่ยังไงครับ

ถ้าคิดตามความหมายทางธรรมแล้ว กงล้อแห่งธรรม กับขอบเขตแห่งธรรม คุณกบว่าอันไหนมันจะเข้าท่าสมเหตุสมผลกว่ากันล่ะครับ
:b38:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 11 ต.ค. 2015, 13:29 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 18 ก.ย. 2011, 21:51
โพสต์: 4941


 ข้อมูลส่วนตัว


eragon_joe เขียน:
:b32: :b32: :b32:

เรามาดูชาวโลกธรรมดา ๆ ที่ ... :b20: :b17: :b4:

อ้างคำพูด:
"ความรู้สึกเข้มแข้งขึ้น

ความเข้มแข็งมีอยู่ 2 ด้านด้วยกัน นั่นคือ ด้านพลังงาน และด้านความตั้งมั่นอันเด็ดเดี่ยว

คุณทำให้มันเข้มแข็งขึ้นได้ ด้วยการหายใจเร็วขึ้นสักเล็กน้อย
หรือกระชับกล้ามเนื่อหัวไหล่คุณเข้ามาสักหน่อย
คล้ายกับว่ากำลังตั้งท่าเตรียมกำลังจะแบกอะไรหนัก ๆ

พยายามทำความคุ้นเคยกับการเคลื่อนไหวของกล้ามเนื้อเหล่านี้ที่เกี่ยวข้องกับความเข้มแข็ง
มันมักจะเป็นอะไรที่จับต้องได้ยากอยู่สักหน่อย
เหมือนกับว่าการแสดงสีหน้าเพื่อแสดงถึงอารมณ์ใดอารมณ์หนึ่งจะไปทำให้ความรู้สึกนั้นเข้มข้น
การใช้การเคลื่อนไหวกล้ามเนื่อที่เกี่ยวข้องกับความเข้มแข็งจะไปช่วยเพิ่มประสบการณ์
ความเข้มแข้งของคุณ

ขอให้พยายามฝึกนิสัยที่จะตั้งใจเรียกความรู้สึกเข้มแข็งขึ้นมา
ไม่ใช้เพื่อไปข่มขวัญใครหรืออะไรทำนองนั้น แต่เพื่อเติมไฟให้กับเจตนาของคุณ

ใช้แกนประสาทส่วนกลางทั้งหมดเพื่อเพิ่มพลังประสบการณ์ความรู้สึกเข้มแข้งของคุณ
ตัวอย่างเช่น ให้ลองนึกถึงความรู้สึกที่มุ่งมั่นเข้มแข็งแบบกล้ามเป็นมัด ๆ
อย่างที่ออกมาจากสัญชาตญาณดิบ ๆ เพื่อกระตุ้นก้านสมองให้ส่งสารนอร์เอพิเนฟริ
และโพพามีนให้พุ่งขึ้นไปเหมือนน้ำพุไปยังสมองส่วนที่เหลือส่วนอื่น ๆ
เพื่อที่จะไปกระตุ้นและส่งแรงขับ
จากนั้นกระตุ้นให้ระบบลิมบิกทำงาน โดยจดจ่อไปที่ความรู้สึกว่าความรู้สึกเข้มแข็งนั้นดีเพียงใด
เพื่อที่คุณจะได้ถูกดึงดูดเข้าหาความเข้มแข็งมากยิ่งขึ้นอีกในอนาคต
ปิดท้ายด้วยการเพิ่มพลังของภาษาในระดับคอร์ติคัลด้วยการพูดถึงประสบการณ์นั้น ๆ
กับตัวคุณเองว่า ฉันรู้สึกเข้มแข็ง การรู้สึกเข้มแข็งนี้เป็นความรู้สึกดีจริง ๆ

ลองสังเกตดูว่าคุณมีความเชื่ออะไรบ้างหรือเปล่าว่า การมีความเข้มแข็งนั้นเป็นสิ่งที่เลวร้ายหรือผิด
ถ้ามีก็กำจัดความเชื่อนั้นด้วยการคิดสวนกลับไปว่า
ความเข้มแข็งช่วยให้ฉันได้ทำสิ่งที่ดี ๆ ฉันมีสิทธิ์ที่จะเข้มแข็ง
พยายามให้เจตนาในทุกระดับของแกนประสาทส่วนกลางของคุณพุ่งไปในทิศทางเดียวกัน
เมื่อได้สัมผัสกับความรู้สึกเข้มแข็ง ไม่ว่าคุณจะเรียกมันขึ้นมาด้วยความตั้งใจ
หรือมันเกิดขึ้นในใจของคุณเองแล้ว ให้คุณตั้งใจรับมันเข้ามาด้วยสติ
เพื่อที่มันจะทิ้งร่องรอยที่ลึกขึ้นในความทรงจำแฝงเร้น
และเพื่อที่มันจะได้กลายเป็นส่วนหนึ่งของคุณ


:b8: คัดลอกบางส่วนมาจากหนังสือ Buddha's Brain
ซึ่งเขียนโดย ดร.ริค ฉอนสัน และ นพ.ริชาร์ด แมนดิอัส
ดร.ณัชร สยามวาลา แปล

:b1: ...

:b4:
ขอบคุณคุณเอก้อนที่หาอะไรดีๆมาเสริมคุณค่าของกระทู้นี้
อ่านแล้วมันตีความไปได้หลายอย่างผมเลยไม่แน่ใจว่าจะชี้ชัดไปทางไหน กรุณาสรุปเป็นภาษาชาวบ้านแบบเว้าซื่อๆให้ฟังหน่อยได้ไหมครับ

ขอบคุณมากครับ
smiley


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 11 ต.ค. 2015, 13:29 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 11 ต.ค. 2010, 12:11
โพสต์: 5019


 ข้อมูลส่วนตัว


eragon_joe เขียน:
:b32: :b32: :b32:

เรามาดูชาวโลกธรรมดา ๆ ที่ ... :b20: :b17: :b4:

อ้างคำพูด:
.....
พยายามให้เจตนาในทุกระดับของแกนประสาทส่วนกลางของคุณพุ่งไปในทิศทางเดียวกัน
เมื่อได้สัมผัสกับความรู้สึกเข้มแข็ง ไม่ว่าคุณจะเรียกมันขึ้นมาด้วยความตั้งใจ
หรือมันเกิดขึ้นในใจของคุณเองแล้ว
ให้คุณตั้งใจรับมันเข้ามาด้วยสติ
เพื่อที่มันจะทิ้งร่องรอยที่ลึกขึ้นในความทรงจำแฝงเร้น

และเพื่อที่มันจะได้กลายเป็นส่วนหนึ่งของคุณ


:b8: คัดลอกบางส่วนมาจากหนังสือ Buddha's Brain
ซึ่งเขียนโดย ดร.ริค แฮนสัน และ นพ.ริชาร์ด แมนดิอัส
ดร.ณัชร สยามวาลา แปล

:b1: ...


นี่เป็น...นัยยะที่สะท้อนถึงการสร้างอุปนิสัยให้กับจิต... :b1:

การ โยนิโสมนสิการ ... อย่างมีประสิทธิภาพ-ประสิทธิผล

:b1: ...หนังสือเล่มนี้เป็นหนังสือเล่มหนึ่ง
ที่น่าอ่านมากสำหรับชาวพุทธที่มีความรักการอ่านอยู่ในตัว
ยิ่งเป็นชาวพุทธที่ออกแนว หัวใหม่ หัววิทยาศาสตร์ กลุ่ม New age ไม่น่าพลาด

:b1: :b1: :b1:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 11 ต.ค. 2015, 14:28 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 11 ต.ค. 2010, 12:11
โพสต์: 5019


 ข้อมูลส่วนตัว


asoka เขียน:
:b4:
ขอบคุณคุณเอก้อนที่หาอะไรดีๆมาเสริมคุณค่าของกระทู้นี้
อ่านแล้วมันตีความไปได้หลายอย่างผมเลยไม่แน่ใจว่าจะชี้ชัดไปทางไหน กรุณาสรุปเป็นภาษาชาวบ้านแบบเว้าซื่อๆให้ฟังหน่อยได้ไหมครับ

ขอบคุณมากครับ
smiley


ก็ไม่มีอะไรมากหรอก เพียงแต่บางครั้งเวลาที่นั่งอ่านการสนทนา
เวลาที่เอกอนจะอธิบายคำว่า อุปนิสัยของจิต หรือ อัตโนมัติของจิต
มันเป็นเรื่องที่อธิบายลำบากน่ะ

เพราะ ... มันจะอธิบายยังไงล่ะ อย่างการที่จิตยกองค์ธรรมขึ้นวิปัสสนาโดยอัตโนมัติ
บางคนก็ไม่ได้สามารถทำให้เกิดได้แบบอัตโนมัติ เอาเครนมายกก็ยังจะไม่ยอมขึ้นให้แต่โดยดี
ต้องใช้ความคิดมาลากจูงจิตให้วิปัสสนา

อย่างบางคนสามารถเปลี่ยนอารมณ์ได้โดยอัตโนมัติ ก็เพราะจิตถูกทำให้เป็นอย่างนั้นโดยอัตโนมัติ
บางคนเปลี่ยนจากอารมณ์อกุศล เป็น กุศล ได้
เปลี่ยนจากอารมณ์ ทุกข์ เป็น สุข เป็น อุเบกขา ได้
จนบางครั้ง ความเชี่ยวชาญในการเปลี่ยนอารมณ์ก็ทำให้เข้าใจว่าตนปฏิบัติสำเร็จถึงขั้น...ไหนไหน
แต่...ปรากฎว่า...ก็ไม่สามารถรู้เท่าทันอาการแห่งจิตที่ปรากฎเหล่านั้นได้
...

ซึ่ง...วิปัสสนา ก็คือ วิปัสสนา
เมื่อไรก็ตาม ที่นักปฏิบัติสามารถ ทำให้เกิดอุปนิสัยวิปัสสนาให้กับจิตได้
จิต...เขาจะ...เดินองค์วิปัสสนาทุกอย่างได้เอง(ตามกำลัง)
แม้แต่ ... ตัวจิตเอง มันก็ไม่เว้นที่จะชำแหละ(วิปัสสนา)ตัวเอง

.... :b1: ....


แก้ไขล่าสุดโดย eragon_joe เมื่อ 11 ต.ค. 2015, 16:33, แก้ไขแล้ว 1 ครั้ง

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 11 ต.ค. 2015, 15:00 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 11 ต.ค. 2010, 12:11
โพสต์: 5019


 ข้อมูลส่วนตัว


eragon_joe เขียน:
:b32: :b32: :b32:

เรามาดูชาวโลกธรรมดา ๆ ที่ ... :b20: :b17: :b4:

อ้างคำพูด:
"ความรู้สึกเข้มแข้งขึ้น

ความเข้มแข็งมีอยู่ 2 ด้านด้วยกัน นั่นคือ ด้านพลังงาน และด้านความตั้งมั่นอันเด็ดเดี่ยว

คุณทำให้มันเข้มแข็งขึ้นได้ ด้วยการหายใจเร็วขึ้นสักเล็กน้อย
หรือกระชับกล้ามเนื่อหัวไหล่คุณเข้ามาสักหน่อย
คล้ายกับว่ากำลังตั้งท่าเตรียมกำลังจะแบกอะไรหนัก ๆ

พยายามทำความคุ้นเคยกับการเคลื่อนไหวของกล้ามเนื้อเหล่านี้ที่เกี่ยวข้องกับความเข้มแข็ง
มันมักจะเป็นอะไรที่จับต้องได้ยากอยู่สักหน่อย

เหมือนกับว่าการแสดงสีหน้าเพื่อแสดงถึงอารมณ์ใดอารมณ์หนึ่งจะไปทำให้ความรู้สึกนั้นเข้มข้น
การใช้การเคลื่อนไหวกล้ามเนื่อที่เกี่ยวข้องกับความเข้มแข็งจะไปช่วยเพิ่มประสบการณ์
ความเข้มแข้งของคุณ


ขอให้พยายามฝึกนิสัยที่จะตั้งใจเรียกความรู้สึกเข้มแข็งขึ้นมา
ไม่ใช้เพื่อไปข่มขวัญใครหรืออะไรทำนองนั้น แต่เพื่อเติมไฟให้กับเจตนาของคุณ

ใช้แกนประสาทส่วนกลางทั้งหมดเพื่อเพิ่มพลังประสบการณ์ความรู้สึกเข้มแข้งของคุณ
ตัวอย่างเช่น ให้ลองนึกถึงความรู้สึกที่มุ่งมั่นเข้มแข็งแบบกล้ามเป็นมัด ๆ
อย่างที่ออกมาจากสัญชาตญาณดิบ ๆ เพื่อกระตุ้นก้านสมองให้ส่งสารนอร์เอพิเนฟริ
และโพพามีนให้พุ่งขึ้นไปเหมือนน้ำพุไปยังสมองส่วนที่เหลือส่วนอื่น ๆ
เพื่อที่จะไปกระตุ้นและส่งแรงขับ

จากนั้นกระตุ้นให้ระบบลิมบิกทำงาน โดยจดจ่อไปที่ความรู้สึกว่าความรู้สึกเข้มแข็งนั้นดีเพียงใด
เพื่อที่คุณจะได้ถูกดึงดูดเข้าหาความเข้มแข็งมากยิ่งขึ้นอีกในอนาคต
ปิดท้ายด้วยการเพิ่มพลังของภาษาในระดับคอร์ติคัลด้วยการพูดถึงประสบการณ์นั้น ๆ
กับตัวคุณเองว่า ฉันรู้สึกเข้มแข็ง การรู้สึกเข้มแข็งนี้เป็นความรู้สึกดีจริง ๆ


:b8: คัดลอกบางส่วนมาจากหนังสือ Buddha's Brain
ซึ่งเขียนโดย ดร.ริค แฮนสัน และ นพ.ริชาร์ด แมนดิอัส
ดร.ณัชร สยามวาลา แปล

:b1: ...


นอกจากนั้น บทความนี้ยังสะท้อน ความสัมพันธ์ระหว่าง กาย-ใจ ในแบบฉบับของนักวิชาการ-นักวิจัย

แต่เราเป็นชาวพุทธที่ศึกษาปฏิบัติตามแบบวิถีเก่า สิ่งที่สะท้อนให้เห็นถึงความสัมพันธ์ของกาย-ใจ
อย่างเช่น ถ้าเรามีการฝึกสมาธิโดยการใช้ลมหายใจ
เราก็จะรู้ว่า ลมหายใจลักษณะใด มีผลต่อจิตอย่างไร
และจิตลักษณะไหน มีผลต่อลมหายใจอย่างไร

:b1: :b1: :b1:

หนังสือเล่มนี้จึงเป็นหนังสือเล่มหนึ่ง ที่... :b12: ...แสดงถึงภูมิปัญญาชาวพุทธยุค New Age
การถ่ายทอดลักษณะแห่งความสัมพันธ์ของ กาย-ใจ ด้วยภาษาที่เหมาะกับงานวิจัยที่มีในยุคนี้

มันคือความเจริญงอกงามทางภาษากับโลกยุคปัจจุบันบนสัจธรรมดั่งเดิม

:b1:


แก้ไขล่าสุดโดย eragon_joe เมื่อ 11 ต.ค. 2015, 15:31, แก้ไขแล้ว 1 ครั้ง

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 11 ต.ค. 2015, 15:22 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 11 ต.ค. 2010, 12:11
โพสต์: 5019


 ข้อมูลส่วนตัว


:b1: :b32: :b32: :b32:

เรื่อง "ภาษา" บางทีอาจจะไม่มีอะไรวัดความผิดถูกได้อย่างชัดเจน
เพราะ ... พุทธศาสนาได้เดินผ่านช่วงเวลามาหลายยุคหลายสมัย
เพียงแค่ 100 ปี หลังการสังคยานา อะไรหลาย ๆ อย่างก็มีการเปลี่ยนแปลงไป
ภาษาที่ถูกนำมาใช้อย่างเหมาะสมในแต่ละช่วงเวลา
ก็คงจะมีความต่างไปตาม "ทัศนะ" ที่เติบโต หรือ ถดถอย ... :b1:

ยุคนี้เป็นยุคหัวเลี้ยวหัวต่อระหว่างภาษาจิตวิญญาณ(ดั่งเดิม) กับ ภาษาเทคโนโลยี
ดี...ที่ยุคนี้ ต่างชาติมีความสนใจพุทธศาสนากันมากขึ้น
...
บางทีจึงได้มีงานเขียน งานวิจัยดี ๆ ในลักษณะนี้ออกมาเยอะ
...
งานเขียนดี ๆ อย่างนี้ ก็เป็นการทำให้ ศาสนาพุทธ มีการเจริญงอกงามไปสู่วัฒนธรรมต่าง ๆ มากขึ้น
อย่างไม่ต้องสงสัย...เพราะยุคนี้มีการยอมรับ ตอบรับในเรื่องต่าง ๆ ที่มีการวิจัยรองรับ

...

เอกอนเอง เป็นชาวพุทธ บางทียังรู้สึกอายชาวพุทธต่างชาติเลย
ที่เขาดูมีความจริงจัง มีความทุ่มเท มีความพร้อมทางจิตใจ ปัญญา วิทยาการ
และนำสิ่งที่มีมาใช้ทำให้เป็นประโยชน์ในวงกว้างได้...
บางทีถ้าเอกอนได้เจอ ดร.ริค แฮนสัน กะ นพ.ริชาร์ด แมนดิอัส
เอกอนอาจจะต้องได้อายม้วน เป็นได้คาราวะงาม ๆ :b8: ต่อท่านทั้งสอง

:b32: ...เอกอนผู้เป็นชาวพุทธไทย...ขอชื่นชมท่าน...

:b1: :b1: :b1:

อิอิ อารมณ์ ชิล ชิล

:b41: :b41: :b41:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 11 ต.ค. 2015, 17:09 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 11 ต.ค. 2010, 12:11
โพสต์: 5019


 ข้อมูลส่วนตัว


:b32: :b32: :b32:

ต่อด้วยอุเบกขาอีกหน่อย...อันนี้เป็นงานวิจัย... :b4:
จากหนังสือ "Buddha's Brain"

อ้างคำพูด:
พื้นที่ทำงานส่วนกลางของความรู้สึกตัว

อีกแง่มุมหนึ่งของอุเบกขา คือ พื้นที่ทำงานส่วนกลางของความรู้สึกตัวที่กว้างขวางเป็นพิเศษ
พื้นที่ที่ว่านี้ได้แก่ องค์ประกอบในส่วนของระบบประสาทของความรู้สึกทางใจ
ที่ให้ความรุ้สึกเหมือนกับว่ามีพื้นที่อันกว้างใหญ่โอบอุ้มสิ่งต่าง ๆ
ที่เข้ามาในกระแสความตระหนักรู้ของคุณนั่นเอง
สิ่งนี้อาจเกิดขึ้นจากการที่เซลล์ประสาทจำนวนพัน ๆ ล้านตัวส่งกระแสประสาทออกไป
เป็นจังหวะเดียวกันในคลื่นแกมมาที่มั่นคง และแผ่ขยายออกไปเป็นวงกว้าง
ครอบคลุมบริเวณต่าง ๆ จำนวนมากในสมอง โดยยิงออกไปเป็นจังหวะพร้อม ๆ กัน
ประมาณ 30 ถึง 80 ครั้งต่อวินาที


สิ่งที่น่าสนใจก็คือ รูปแบบที่ไม่ธรรมดาของคลื่นสมองนี้เกิดขึ้นในพระภิกษุชาวธิเบต
ที่มีชั่วโมงการเจริญภาวนามาเป็นเวลานาน และมีจิตที่เป็นอุเบกขาสูงด้วย


:b1: ...

ท่านอโศกะ ถึง หัวใจเต้นต๊อด ๆ แล้ว

คราวนี้ ท่านเข้าถึงระดับการรับรู้ความสั่นสะเทือนในรูปแบบของ คลื่น... ได้รึยัง

:b1: :b1: :b1:

บางคน การที่รับรู้หัวใจเต้น ต๊อด ๆ ก็ยังมองได้นะ ว่าอะไรเป็น รูป อะไรเป็น นาม

สำหรับบางคน ที่จิตละเอียดจนเข้าไปรับรู้ถึงความสั่นสะเทือนระดับ คลื่น... ได้

ซึ่งมันก็จะมี นาม กับ ...รูปอันละเอียด... ล่ะทีนี้

:b1:

พวกที่สัมผัสได้ถึงรูปอันละเอียดแล้ว ส่วนใหญ่เขาจะไม่ค่อยสนทนาธรรมจริงจังกับใครนัก
เพราะ ทัศนะ จะห่างกันมากแล้ว

:b1:

เพราะบางครั้งจะสนทนากันได้ยาก
เพราะ จาก นาม-รูป ที่เป็น 2 พวกที่เข้าถึง รูปอันละเอียด มันจะกลายมีแววจะเห็นเหลือเพียง 1

... :b1: ...


แก้ไขล่าสุดโดย eragon_joe เมื่อ 11 ต.ค. 2015, 17:52, แก้ไขแล้ว 1 ครั้ง

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 11 ต.ค. 2015, 17:26 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 11 ต.ค. 2010, 12:11
โพสต์: 5019


 ข้อมูลส่วนตัว


:b32: :b32: :b32:

มีอดีตให้ได้นำมาอ้างอิงด้วย เป็นบทความที่เคยลงไว้

eragon_joe เขียน:
วิปัสสนากับควอนตัม

วิปัสสนาเป็นวิธีมองโลกที่ช่วยให้เห็นอนิจจัง ทุกขัง อนัตตา
คือสอนให้ใช้จิตมองจิตของเรา การมองจะมีผลต่อการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมของเรา
เราสามารถปลี่ยนความคิดให้บริสุทธิ์ขึ้น นั่นคือทำจิตให้บริสุทธิ์ผ่องใสเป็นสจิตปริโยทปนะ
คือทำจิตของเราให้ผ่องใส
เราจะทำจิตผ่องใสได้ก็ต่อเมื่อผู้มองมีผลกระทบต่อกระแสจิตที่ถูกมอง... :b12:

ฟิสิกส์ควอนตัมศึกษาความจริงที่คนทั่วไปยากที่จะเข้าใจ.... :b4:
เพราะโครงสร้างอะตอมนั้นเล็กมากขนาดที่มองไม่เห็นด้วยตาเปล่า
พระพุทธศาสนาก็เช่นเดียวกัน คือ ศึกษาเรื่องจิตที่มองไม่เห็นด้วยตาเปล่า
ซึ่งยากที่จะเข้าใจถ้าไม่ฝึกปฏิบัติ


การค้นพบของฟิสิกส์ควอนตัม
ช่วยสนับสนุนหลักคำสอนของพระพุทธศาสนาในเรื่องของอนิจจัง ทุกขัง อนัตตา
เมื่อเรามองเห็นสิ่งต่างๆ ว่าไม่แน่นอนเช่นเดียวกับหลักการแห่งความไม่แน่นอน
เราจะไม่ยึดมั่นถือมั่น
... :b1: :b16: :b27:
แม้แต่คนที่เราคบหามานานก็ต้องเปลี่ยนไป
เพราะมีเหตุปัจจัยมากมายที่ทำให้เขา เปลี่ยนไป เมื่อเราไม่สามารถที่จะรู้เหตุปัจจัยเหล่านั้นทั้งหมด
เราก็ต้องทำใจยอมรับความไม่แน่นอน ตามหลักการแห่งความไม่แน่นอน นั่นคือตามหลักอนิจจัง
คือความไม่เที่ยงในพระพุทธศาสนา

เหตุนี้คำสอนของพระพุทธศาสนาในหลายเรื่องจึงมีลักษณะเป็นเงื่อนไข
เราไม่อาจฟันธงลงไปว่าต้องเป็นอย่างนั้นอย่างนี้ เวลาที่เรามองเห็นสรรพสิ่งเป็นอย่างนั้นเป็นอย่างนี้
มันเป็นอย่างนั้นในตัวของมันเองหรือเราคิดไปเอง
บางทีสรรพสิ่งที่เราเห็นนั้น มันไม่ได้เป็นอย่างที่เราคิดหรือเราเข้าใจ
มุมมองของเราต่างหากไปจัดให้มันเป็นอย่างนั้นอย่างนี้
... :b16:

ในฟิสิกส์ควอนตัม เมื่อมองในมุมหนึ่ง
เราจะเห็นว่าส่วนประกอบของอะตอมเป็นอนุภาค(Particle)
เมื่อมองในอีกมุมหนึ่ง เราจะเห็นเป็นคลื่น(wave)
ของสิ่งเดียวกันจึงมีสองลักษณะตามมุมมองของเรา


ในทำนองเดียวกัน สิ่งที่เราเห็นในปัจจุบันอาจจะมีทั้งคุณและโทษก็ได้
นั่นขึ้นอยู่ที่ว่าเรามองสิ่งนั้นในมุมไหน

โลกเป็นอย่างไรขึ้นอยู่กับมุมมองของเรา
ความจริงจึงเป็นเรื่องสัมพัทธ์ มันไม่ได้จริงในตัวมันเอง มันสัมพันธ์กับมุมมองของผู้มอง
ดังที่ทฤษฎีสัมพัทธ์ของไอน์สไตน์ถือว่ากาลเวลาขึ้นอยู่กับจุดของผู้สังเกตการณ์
เหมือนกับที่เราพูดถึงองค์ประกอบของอะตอมว่าเป็นอนุภาคหรือคลื่นก็แล้วแต่
มุมมองของเรา เพราะฉะนั้นโลกที่เรารับรู้จึงไม่ได้เป็น “ปรวิสัย”ทั้งหมด
บางอย่างเป็น ”อัตวิสัย” คือเป็นโลกแห่งประสบการณ์ที่เราสร้างขึ้น.... :b17: :b12:
ดังที่พระพุทธเจ้าตรัสกับโรหิตัสสะเทพบุตรว่า
“เราบัญญัติโลก เหตุให้เกิดโลก ความดับโลก ข้อปฏิบัติให้ถึงความดับโลก ในกายอันยาววาหนึ่ง มีสัญญา มีใจครอง”
ในพุทธพจน์นี้ โลกก็คือโลกแห่งประสบการณ์ของแต่ละคน
... :b1:

ในปรัชญาปรากฏการณ์วิทยา (Phenomenology) เราเรียกโลกแห่งประสบการณ์ว่า
“Lived World” คือโลกที่เราอยู่ หมายถึงโลกแห่งประสบการณ์ของเรา
ไม่มีโลกแบบปรวิสัย มีแต่โลกที่เกิดจากความสัมพันธ์ระหว่างเราผู้มองกับสิ่งที่ถูกมอง
เราให้ความหมายแก่โลกรอบตัวเราต่างกันไป ความหมายสำหรับโลกของเรา
ย่อมต่างจากความหมายที่คนอื่นให้แก่โลกของเขา
ดังเช่น ภูเขาสวยงามสำหรับนักท่องเที่ยวอย่างเรา
แต่ภูเขาเดียวกันนั้นเป็นความท้าทายสำหรับนักปีนเขา
หรือเป็นขุมทรัพย์สำหรับ พวกต้องการระเบิดหินไปสร้างถนน

เพราะฉะนั้น หน้าที่ของจิตก็คือการให้ความหมายแก่โลก (Meaning-giving activity)
และข้อสำคัญก็คือ เราจะให้ความหมายแก่โลกภายนอกตัวเราอย่างไร นั่นขึ้นอยู่กับตัวเราเอง
โลกภายนอกเป็นอย่างไรไม่สำคัญสำหรับเรา ที่สำคัญคือเราตีตราหรือกำหนดความหมายให้คุณค่าแก่มันอย่างไรต่างหาก ถ้าเราตกอยู่ใต้อำนาจกิเลสตัณหา เราก็ตีค่าสถานการณ์ไปทางหนึ่ง แต่ถ้าเรามีธรรมประจำใจ เราก็ให้ความหมายแก่โลกไปอีกทางหนึ่ง
... :b8: :b27:

ธรรมะประจำใจช่วยสร้างกรอบในการมองโลกและให้ความหมายแก่โลกในทางสร้างสรรค์
ถ้าเรามองโลกด้วยเมตตา (ความรัก) และกรุณา (ความสงสาร) เราก็สามารถที่จะมองคนในแง่ดี
และอยู่ร่วมกันอย่างสันติได้
ดังเช่นคนที่กำลังมีความรักย่อมมองโลกสดใสงดงาม
แต่คนที่มองโลกด้วยความโลภ ความโกรธและความหลง โลกของเขาก็จะมีแต่ความเร่าร้อน

... :b8: :b1:

ดั้งนั้น “สุข” หรือ “ทุกข์” จึงชึ้นอยู่กับวิธีที่เรามองโลกหรือให้ความหมายแก่โลกแห่งประสบการณ์ของเรา ดังบทกลอนที่ว่า

สุขและทุกข์อยู่ที่ใจมิใช่หรือ
ถ้าใจถือก็เป็นทุกข์ไม่สุขใส
ถ้าไม่ถือก็ไม่ทุกข์พบสุขใจ
เราอยากได้ความสุขหรือทุกข์นา


ไม่ว่าจะเป็นพระพุทธศาสนาเถรวาทของเราที่สอนเรื่องวิปัสสนา
หรือเป็นพระพุทธศาสนามหายานที่สอนสมาธิแบบเซน ต่างก็บอกวิธีมองโลกแบบเดียวกัน
คือมองโลกให้เห็นศูนยตาหรือความว่างในสรรพสิ่ง
ศูนยตาในมหายานก็คืออนัตตาในเถรวาทนั่นเอง
สรรพสิ่งเป็นอนัตตาคือไม่มีแก่นสาร ก็เพราะมันเป็นศูนยตาคือว่างจากแก่นแท้ ถาวร
เมื่อใดจิตใจของเราหยุดปรุงแต่ง เราก็จะเห็นความว่างในจักรวาล
ปริศนาธรรมหรือโกอานของพระพุทธศาสนานิกายเซนสอนให้เรามองโลกแบบศูนยตา
คือ ว่างจากการปรุงแต่งที่ใจเราสร้างขึ้น
พระพุทธศาสนาเถรวาทเรียกการมองโลกแบบนี้ว่า ยถาภูตญาณทัสสนะ
แปลว่ารู้เห็นตามความเป็นจริง
... :b41: :b12:

พระธรรมโกศาจารย์(ประยูร ธมฺมจิตฺโต)
อธิการบดีมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 11 ต.ค. 2015, 18:22 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 18 ก.ย. 2011, 21:51
โพสต์: 4941


 ข้อมูลส่วนตัว


:b8:
ดั้งนั้น “สุข” หรือ “ทุกข์” จึงชึ้นอยู่กับวิธีที่เรามองโลกหรือให้ความหมายแก่โลกแห่งประสบการณ์ของเรา ดังบทกลอนที่ว่า

สุขและทุกข์อยู่ที่ใจมิใช่หรือ
ถ้าใจถือก็เป็นทุกข์ไม่สุขใส
ถ้าไม่ถือก็ไม่ทุกข์พบสุขใจ
เราอยากได้ความสุขหรือทุกข์นา

ไม่ว่าจะเป็นพระพุทธศาสนาเถรวาทของเราที่สอนเรื่องวิปัสสนา
หรือเป็นพระพุทธศาสนามหายานที่สอนสมาธิแบบเซน ต่างก็บอกวิธีมองโลกแบบเดียวกัน
คือมองโลกให้เห็นสุญญตาหรือความว่างในสรรพสิ่ง
สุญญตาในมหายานก็คืออนัตตาในเถรวาทนั่นเอง
สรรพสิ่งเป็นอนัตตาคือไม่มีแก่นสาร ก็เพราะมันเป็นสุญญตาคือว่างจากแก่นแท้ ถาวร
เมื่อใดจิตใจของเราหยุดปรุงแต่ง เราก็จะเห็นความว่างในจักรวาล
ปริศนาธรรมหรือโกอานของพระพุทธศาสนานิกายเซนสอนให้เรามองโลกแบบสุญญตา
คือ ว่างจากการปรุงแต่งที่ใจเราสร้างขึ้น
พระพุทธศาสนาเถรวาทเรียกการมองโลกแบบนี้ว่า ยถาภูตญาณทัสสนะ
แปลว่ารู้เห็นตามความเป็นจริง.
.. :b41: :b12:
:b27: :b27:
:b45:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 11 ต.ค. 2015, 18:31 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 11 ต.ค. 2010, 12:11
โพสต์: 5019


 ข้อมูลส่วนตัว


:b32: :b32: :b32:

ดังนั้น ธัมจัก... หรือ ธรรมจัก...

อย่าไปถือเลยเน๊อะ....

:b13: :b13: :b13:


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 911 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1 ... 38, 39, 40, 41, 42, 43, 44 ... 61  ต่อไป

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

่กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 1 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร


cron