วันเวลาปัจจุบัน 28 ก.ค. 2025, 03:23  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง




กลับไปยังกระทู้  [ 78 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1, 2, 3, 4, 5, 6  ต่อไป  Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 04 ต.ค. 2014, 14:52 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 27 เม.ย. 2010, 08:10
โพสต์: 2830

แนวปฏิบัติ: ขันธ์5ด้วยการสังเกตุ รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ และอินทรีย์22
สิ่งที่ชื่นชอบ: พระสุตตันตปิฎก
อายุ: 0
ที่อยู่: ระยอง อุบลราชธานี

 ข้อมูลส่วนตัว


toy1 เขียน:
เสียงที่มากระทบกับหูก็ยึดมั่นถือว่า "เรา" ได้ยิน
เสียง หู โสตวิญญาณ ที่ประกอบขึ้นมาสื่อให้ตัวเรารับรู้ มีอารมณ์คอยปรุงแต่งจิตให้ยินดีพอใจหรือไม่พอใจในเสียง เหมือนในชีวิตประจำวันที่เราใช้อยู่พอใครมาด่าว่าเรา ก็มีอารมณ์ไม่พอใจเกิดขึ้นมา มีอารมณ์หงุดหงุดบ้าง อารมณ์โมโหบ้าง.....แสดงออกทางหน้าตา....อารมณ์ที่ก่อตัวขึ้นมานี้บางครั้งก็ยังพอขันติอดทนต่ออารมณ์ได้ แต่พอเจอบ่อยๆ บางครั้งก็ตบะแตก เสียจริต ยอมไม่ได้ละไม่ได้ จึงต้องทำไปตามอารมณ์ที่สั่งให้มีกายกรรมวจีกรรมเช่นข่มเหงเขา ดูถูกเขา เหยีอดหยามเขา เฉือดเฉือนเขา ทำให้เขาเดือดร้อนทุกข์เพราะเราไม่ปกติวิปริตไปตามอารมณ์ จนเป็นผู้ขาดเหตุผลเหมือนคนไม่รู้จักกรรมดีกรรมชั่ว แต่ก็ยังหลงตัวเองว่าดีแล้วทำดีแล้ว แล้วเราจะเดินไปตามทางสายกลางที่ไม่เบียดเบียดตนเองไม่เบียดเบียนผู้อื่น ไม่ก่อทุกข์ให้กับตนเองไม่ก่อทุกข์ไห้กับผู้อื่นได้อย่างไร ควรจะจัดการบริหารอย่างไรในสิ่งที่เผชิญในชีวิตอันน้อยนิด

แล้วเราควรฝึกฝนตัวเราอย่างไร เพราะขณะเสียงกระทบหูสื่อเข้ามาทางโสตวฺิญญาณนั้นมันรวดเร็ว อารมณ์ก็มาเร็วเหมือนกัน เหมือนกระแสไฟฟ้ากระตุกให้กายนี้ขันธ์ห้านี้มีทิฐิความคิดเห็นเคลื่อนไหวไปตามอารมณ์ จนดูเหมือนเป็นธรรมชาตินิสัยสันดานสัญชาตญาณที่ตนเองเคยกระทำ จนไม่มีสติระลีกรู้เพื่อแก้ไขพิจารณาปรับปรุงตนเองเพื่อกระทำในสิ่งที่เป็นคุณ


ต้องเป็นผู้ฝึกฟังครับ เช่น

ฟังเสียงรถวิ่งผ่านหน้าจนเสียงหายไปกับตัวรถ( รถวิ่งห่างในระยะที่การได้ยินจะแผ่ไปถึง)
ฟังเสียงรถที่วิ่งห่างเข้ามาใกล้ๆ

ฟังพระสวดมนต์ที่วัด

สังเกิดคลื่นเสียงของแต่ละเสียง

ฟังเสียงระฆัง

ฟังเพลงที่มีจังหวะ
เหล่านี้คือการฝึกในการใช้โสต

ผมเองทุกวันนี้ยังไม่ทิ้งการฝึกแบบนี้ มีประโยชน์ครับผม

.....................................................
อย่าท้อถอยต่อการปฏิบัติ อย่าปล่อยให้ความขุ่นเคืองเข้าแทรก สร้างพลังด้วยคำสอนของพระพุทธเจ้า รำลึกและตอบแทนพระคุณมารดา และบิดา มองโลกด้วยใจเป็นกลาง ระลึกเสมอว่าเรายังด้อยปัญญาหากยังไม่ได้ปัญญา


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 04 ต.ค. 2014, 16:12 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8586


 ข้อมูลส่วนตัว


การเจริญวิปัสสนาทางหู

การฝึกรู้เสียงนั้นก็เป็นการเจริญวิปัสสนาได้อีกทางหนึ่งที่มีอยู่แล้วตลอดเวลา
ไม่ต้องไปทำขึ้นหรือให้มีขึ้น ก็อาศัยธรรมชาตินี้ที่มีอยู่แล้วเพื่อการหลุดพ้น โดยอาศัยทวารหู
เช่น เสียงมากระทบหู เสียงเป็นรูป หูเป็นรูป สิ่งที่อาศัยหูรู้เสียงเป็นนาม (วิญญาน)จึงได้รูปกับนาม

เสียงกับหูกระทบกัน เสียงก็มีขึ้นแล้ว หูก็มีขึ้นแล้ว เสียงก็ไม่รู้เรื่อง หูก็ไม่รู้เรื่อง
เพราะต่างคนต่างก็เป็นรูปด้วยกัน สิ่งที่รู้คือวิญญานแต่เรื่องราวต่างๆ นั้น
ต้องเป็นหน้าที่ของสังขารปรุงแต่ง(เจตสิก) ชอบใจ ไม่ชอบใจ เป็นหน้าที่ของกิเลส

ดังจะยกตัวอย่างเพื่อให้เข้าใจง่ายขึ้น คนเราหูมีไหม ตอบว่า มี เสียงมีไหม ตอบว่า มี
ถ้าเพียงสองสิ่งเท่านี้จะได้ยินไหม ตอบว่า ไม่ได้ยินเสียง เป็นเพียง รูปกับรูป กระทบกันเท่านั้น
ฉะนั้นการจะได้ยินเสียงได้นั้นต้องมีวิญญานเข้ามารู้เสียง

ถามใหม่? เราเคยเปิดวิทยุฟังเพลงแล้วเกิดหลับไปไหม ถามว่า? เราได้ยินเสียงไหม ?
ทุกคนจะตอบว่าไม่ได้ยิน แล้วทำไม?
ตอบว่า การที่ไม่ได้ยินนั้นเพราะวิญญานไม่ได้อาศัยเกิดที่หูเพื่อรู้เสียง จริงไหม?
ถามต่อ? ตอนนั้นวิญญานไปไหน?
ขอตอบว่าวิญญานอาศัยภวังคจิต ไม่ได้อาศัยทวารหูการได้ยินเสียงจึงไม่เกิดขึ้น
ทั้งๆหูก็มี เสียงก็มีจริงไหม? การที่จะได้ยินได้นั้นจะต้องอาศัย ๓ สิ่งมาประชุมพร้อมกัน
จึงจะได้ยินได้ จริงไหม?

ฉะนั้น เสียงก็ไม่ใช่เรา หูก็ไม่ใช่เรา วิญญานก็ไม่ใช่เรา จริงไหม? เพราะมันเป็นอนัตตา
ถ้ามี ๓ อย่างมาประชุมพร้อมกันจะห้ามไม่ให้ได้ยินก็ไม่ได้ จริงไหม?
(เพื่อละความเห็นผิดที่พูดว่า ก็เราได้ยินมากับหูเลย)

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 05 ต.ค. 2014, 07:43 
 
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 3
สมาชิก ระดับ 3
ลงทะเบียนเมื่อ: 29 ก.ย. 2014, 11:55
โพสต์: 123

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ในการเจริญวิปัสสนาในเรื่องของขันธ์ห้า เรื่องของส่วนที่เป็นนามธรรม เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณนั้น ควรวางตนอย่างไร วางจิตอย่างไร หรือว่าใช้แค่เพียงความคิดกับสัญญาจำที่เคยอ่านเคยฟัง


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 05 ต.ค. 2014, 08:19 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8586


 ข้อมูลส่วนตัว


toy1 เขียน:
ในการเจริญวิปัสสนาในเรื่องของขันธ์ห้า เรื่องของส่วนที่เป็นนามธรรม เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณนั้น ควรวางตนอย่างไร วางจิตอย่างไร หรือว่าใช้แค่เพียงความคิดกับสัญญาจำที่เคยอ่านเคยฟัง


วิปัสสนากรรมฐาน คือ กรรมฐานเป็นอุบายเรืองปัญญา กรรมฐานทำให้เกิดการรู้แจ้งเห็นจริง
หมายถึงการปฏิบัติธรรมที่ใช้สติเป็นหลัก เพื่ออบรมปัญญา

โดยการพิจารณาสภาวธรรมหรือนามรูป คือ ขันธ์ ธาตุ อายตนะอินทรีย์
ให้เห็นตามความเป็นจริง คือ เห็นด้วยปัญญาว่าสภาวธรรมเหล่านี้
ตกอยู่ในสามัญลักษณะหรือไตรลักษณ์ คือ อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา
เป็นสิ่งที่เกิดขึ้นจากการรวมตัวของธาตุ ๔ คือ ดิน น้ำ ไฟ ลม เท่านั้น
เป็นสิ่งที่ไม่ควรยึดมั่นถือมั่น

การเจริญวิปัสสนากรรมฐานนั้น ไม่ใช่ทำให้จิตนิ่งในอารมณ์ใดอารมณ์หนึ่ง
อารมณ์ของวิปัสสนานั้นมีเพียง รูปกับนาม เท่านั้น ไม่ใช่ไปบังคับจิต
แต่ใช้เพียงตามรู้ขณะปัจจุบัน เช่น เดินอยู่ก็รู้ว่าเดินอยู่ นอนอยู่ก็รู้ขณะนอนอยู่
โกรธก็รู้โกรธ ฟุ้งซ่านก็รู้ว่าฟุ้งซ่าน จิตเป็นกุศลก็รู้ว่าจิตเป็นกุศล คือ
รู้ในขณะที่เป็นปัจจุบัน ไม่คิดถึงอดีต ไม่นึกอนาคต

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 05 ต.ค. 2014, 09:06 
 
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 3
สมาชิก ระดับ 3
ลงทะเบียนเมื่อ: 29 ก.ย. 2014, 11:55
โพสต์: 123

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


การเจริญสติกับการเจริญวิปัสสนานั้นมีความเหมือน หรือแตกต่างกันอย่างไรครับ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 05 ต.ค. 2014, 14:16 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8586


 ข้อมูลส่วนตัว


toy1 เขียน:
การเจริญสติกับการเจริญวิปัสสนานั้นมีความเหมือน หรือแตกต่างกันอย่างไรครับ


ขั้นเริ่มต้นต้องตั้งสติกำหนดรู้ในรูปนาม เมื่อดำเนินต่อไปปัญญาจะเกิดขึ้นมาพิจารณา ขันธ์ 5
โดยความเป็นไตรลักษณ์ จะว่าเหมือนก็เหมือน จะว่าต่างก็ต่าง

จะอุปมาดังนี้ การเจริญสติ อุปมาเหมือนมือที่ยื่นไปกำต้นข้าว
การเจริญวิปัสสนา อุปมาเหมือนเคียวที่ตัดต้นข้าว สติกับปัญญามีความสัมพนธ์กัน

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 05 ต.ค. 2014, 15:28 
 
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 3
สมาชิก ระดับ 3
ลงทะเบียนเมื่อ: 29 ก.ย. 2014, 11:55
โพสต์: 123

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ขอถามลุงหมานต่อนะครับ ผลที่ได้จากการพิจารณาขันธ์ห้า ด้วยไตรลักษณนั้น ทำให้ภาวะของจิตเรา ตัวเราเองมีอะไรที่เปลี่ยนแปลงหรือไม่่ครับ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 05 ต.ค. 2014, 17:08 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 18 ก.ย. 2011, 21:51
โพสต์: 4941


 ข้อมูลส่วนตัว




IMG_13070040688874.jpeg
IMG_13070040688874.jpeg [ 62.93 KiB | เปิดดู 3640 ครั้ง ]
toy1 เขียน:
การเจริญสติกับการเจริญวิปัสสนานั้นมีความเหมือน หรือแตกต่างกันอย่างไรครับ

:b38:
สติ เป็นเหตุสมาธิและฌาณ

วิปัสสนา เป็นเหตุ ปัญญา เป็นเหตุ รู้ ตามความเป็นจริงและ นิพพาน

:b53:
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 05 ต.ค. 2014, 18:31 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8586


 ข้อมูลส่วนตัว


toy1 เขียน:
ขอถามลุงหมานต่อนะครับ ผลที่ได้จากการพิจารณาขันธ์ห้า ด้วยไตรลักษณนั้น ทำให้ภาวะของจิตเรา ตัวเราเองมีอะไรที่เปลี่ยนแปลงหรือไม่่ครับ

เมื่อพิจารณาขันธ์ 5 โดยความเป็นไตรลักษณ์ คือความ ไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นอนัตตาย่อมเกิดความเบื่อหน่าย ย่อมไม่ยึดถือในขันธ์ 5 เมื่อไม่ยึดถือสิ่งใดก็ไม่ทุกข์ในสิ่งนั้น เมื่อก้าวล่วงพ้นทุกข์เสียได้ ย่อมเข้าสู่สันติสุขตลอดกาล

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 05 ต.ค. 2014, 19:59 
 
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 3
สมาชิก ระดับ 3
ลงทะเบียนเมื่อ: 29 ก.ย. 2014, 11:55
โพสต์: 123

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ในขณะที่รูปนี้ยังมีชีวิตอยู่ ยังมีกรรมกับรูปนี้อยู่ มีผู้ที่ทำจิตก้าวล่วงพ้นขันธ์ห้าได้จริงหรือ เพราะยังต้องอาศัยรูปนี้อยู่ เมื่อต้องอาศัยรูปนี้กายนี้ก็ยังต้องอาศัยปัจจัยสี่เพื่อยังชีวิตที่มีสภาพอนิจจัง ทุกขัง อนัตตา ยังต้องรับเวทนากายอยู่ มีหิวมีกระหาย หรือเป็นผู้ที่สามารถเข้านิโรธได้ชั่วขณะ แต่ยังไม่ได้เป็นผู้หมดกรรม ยังต้องสะสางเวรกรรมของตนให้หมด


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 06 ต.ค. 2014, 05:44 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8586


 ข้อมูลส่วนตัว


toy1 เขียน:
ในขณะที่รูปนี้ยังมีชีวิตอยู่ ยังมีกรรมกับรูปนี้อยู่ มีผู้ที่ทำจิตก้าวล่วงพ้นขันธ์ห้าได้จริงหรือ เพราะยังต้องอาศัยรูปนี้อยู่ เมื่อต้องอาศัยรูปนี้กายนี้ก็ยังต้องอาศัยปัจจัยสี่เพื่อยังชีวิตที่มีสภาพอนิจจัง ทุกขัง อนัตตา ยังต้องรับเวทนากายอยู่ มีหิวมีกระหาย หรือเป็นผู้ที่สามารถเข้านิโรธได้ชั่วขณะ แต่ยังไม่ได้เป็นผู้หมดกรรม ยังต้องสะสางเวรกรรมของตนให้หมด


คำว่านิพพาน นั้นมี ๒ อย่าง คือ

๑. สอุปาทิเสสนิพพาน นิพพานยังมีอุปาทิเหลือ
ยังเกี่ยวข้องกับขันธ์ ๕ กล่าวคือดับกิเลสแต่ยังมีเบญจขันธ์ยังเหลือ
เช่น พระอรหันต์ที่ยังมีชีวิตอยู่(ดับขันธ์ ๕ แล้วที่จะเกิดขึ้นในภพข้างหน้า)

๒. อนุปาทิเสสนิพพาน นิพพานธาตุที่ไม่มีอุปาทิเหลือ หรือนิพพานที่ไม่เกี่ยวข้องกับขันธ์ ๕
กล่าวคือดับกิเลสไม่มีเบญจขันธ์เหลืออยู่อีก เช่นพระอรหันต์ตาย (ดับขันธ์)

ข้อ ๑ พระอรหันต์ที่ดับกิเลสแต่ยังไม่ได้ดับขันธ์ ๕ เมื่อท่านไม่ได้เข้านิโรธสมาบัติ
ท่านยังมีความรู้สึกเวทนาทางกาย มีร้อน มีหนาว เป็นต้น แต่ท่านจะไม่มีความรู้สึกเวทนาทางใจ

ข้อ ๒ พระอรหันต์ที่ดับขันธ์ (ตาย) เป็นผู้ที่ก้าวล่วงพ้นขันธ์ ๕
เข้าสู่ปรินิพพานที่เป็นบรมสุขอย่างยิ่ง เป็นผู้ที่ไม่กลับย้อนมาสู่ทุกข์อีกต่อไป

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 06 ต.ค. 2014, 07:58 
 
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 3
สมาชิก ระดับ 3
ลงทะเบียนเมื่อ: 29 ก.ย. 2014, 11:55
โพสต์: 123

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


มองอีกมุมหนึ่ง มิใช่เราหลงยึดไปกับขันธ์ห้า ขันธ์ห้านั้นก็ยึดเราใว้เหมือนกันด้วยวิบากกรรม สิ่งต่างๆที่ไหลออกมาจากขันธ์ห้าก็มีมายาทำให้จิตหลงใหล การรักษาจิตให้มีสติประกอบด้วยปัญญาไม่เลื่อนไหลไปกับสิ่งต่างๆ จิตของผู้นั้นต้องเป็นผู้มีกำลังสะสมบารมีสะสมการปฏิบัติธรรมไว้มาก จึงจะสามารถหลุดพ้นออกมาได้


แก้ไขล่าสุดโดย toy1 เมื่อ 06 ต.ค. 2014, 11:07, แก้ไขแล้ว 1 ครั้ง

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 06 ต.ค. 2014, 09:45 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 เม.ย. 2009, 02:43
โพสต์: 12232


 ข้อมูลส่วนตัว


ถ้ามันยึดเรา....ได้
เราจะเป็นอิสระ....จากมัน...จะเป็นไปได้อย่างไร


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 06 ต.ค. 2014, 10:45 
 
ออฟไลน์
อาสาสมัคร
อาสาสมัคร
ลงทะเบียนเมื่อ: 17 ก.ย. 2012, 15:32
โพสต์: 2949


 ข้อมูลส่วนตัว


ขออนุโมทนาค่ะ :b16: ได้ประโยชน์ดีแท้


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 06 ต.ค. 2014, 14:27 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 27 เม.ย. 2010, 08:10
โพสต์: 2830

แนวปฏิบัติ: ขันธ์5ด้วยการสังเกตุ รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ และอินทรีย์22
สิ่งที่ชื่นชอบ: พระสุตตันตปิฎก
อายุ: 0
ที่อยู่: ระยอง อุบลราชธานี

 ข้อมูลส่วนตัว


toy1 เขียน:
ในการเจริญวิปัสสนาในเรื่องของขันธ์ห้า เรื่องของส่วนที่เป็นนามธรรม เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณนั้น ควรวางตนอย่างไร วางจิตอย่างไร หรือว่าใช้แค่เพียงความคิดกับสัญญาจำที่เคยอ่านเคยฟัง


การวางตัวก็คือ เฝ้าสังเกตุธรรมที่ปรากฎขึ้น ด้วยการนั่งบ้างเดินบ้าง

การวางจิตนั้น จะวางจิตด้วยหลักการสอนก็ได้เช่น กำหนดรู้ลมหายใจเข้าออก
แต่ธรรมที่ผุดขึ้นมา ย่อมผุดขึ้นมาเพราะเหตุ เช่นกาย เวทนา สัญญา สังขาร (วิญญาณนั้นเป็นจิต)

แต่ก่อนจะสังเกตุต้องปรับอารมณ์ อารมณ์นี่แหละเป็นเจตสิกหรือสังขาร ถ้าผมไม่เข้าใจผิดนะครับ.

อารมณ์วิปัสสนาต้องเป็นอุเบกขา คือ ไม่อยู่ในสภาวะของวิบัติ เช่น ขี้เกียจ ง่วงเหงาหาวนอน เป็นอารมณ์ที่รับรู้ธรรมตามความเป็นจริง

วกกลับมาเรื่องวางจิตอีกครั้ง การวางจิตนั้น บางทีวางที่โสตเพื่อสังเกตุการเกิดดับ วางที่ลมหายใจเข้าออกเพื่อสังเกตุการเกิดดับ วางที่จักษุเพื่อสังเกตุการปรับสภาพแสงจากม่านตาที่ปรับสภาพบ้าง โพกัสบ้าง

สัญญาก็คือการวางจิตที่ความจำได้หมายรู้ เช่นความเป็นสภาพกระดูกผุดขึ้นมา ความเป็นสภาพศพผุดขึ้นมา บางทีความเป็นสภาพกระดูกตัวเองผุดขึ้นมา ทั่วทั้งตัว นี่คือการวางจิตที่สัญญา
หรือภาพพระพุทธรูปผุดขึ้นมา นี่คือสัญญา

เวทนาคือการวางจิตที่อาการทางธรรม ผมไม่ทราบว่า ถ้าอารมณ์อุเบกขาแล้ว มีเวทนาทางโกรธ รัก ชัง ง่วง แค้นผุดขึ้นมาอย่างไรให้พิจารณา แต่มองไปว่าเวทนาทางโกรธ รัก ชัง ง่วงนอน แค้น เป็นความหลงอยู่ ยังไม่ใช่อารมณ์อุเบกขา ไม่ทราบผมเข้าใจผิดอย่างไรหรือปล่าว เนื่องจากเอาประสบการณ์ตัวเองมาพูด ถ้าพลาดอย่างไรก็ขออภัย

เวทนาที่ผุดขึ้นจึงเป็นสภาวะธรรม เช่น ร้อน หนาว แสบ ตึง แปร๊บๆตามตัว อาการเจ็บปวดต่างๆ อาการชา การวางจิตที่เวทนาธรรมนั้น ค่อนข้างจะต้องเป็นผู้ที่มีความอดทนสูง เป็นธรรมที่เห็นชัด ปวดก็เห็นชัด ร้อนเย็นก็ชัด เวทนาที่ผมนิยมกำหนดคืออุณหภูมิ ไม่กระโดดไปที่อาการปวดเสียทีเดียว

การดูจิต หรือวางจิตที่จิต หรือตัวรู้ ค่อนข้างจะหลบอยู่ลึกๆ ทำได้ยาก ส่วนตัวเวลาผมปฎิบัติ จะนำประสบการณ์มาเขียนเสมอว่า จิตจะรู้ทีละอย่างไม่พร้อมกัน ถ้าจิตวางที่เวทนา จิตจะไม่รับรู้สัญญา ถ้าจิตวางที่สัญญาจิตจะไม่รับรู้เวทนา หรือตำแหน่งของจิตเอง ถ้าจิตวางที่ลมหายใจ จะไม่รับรู้ผ่ามือ วางที่ฝ่ามือ จะไม่รับรู้ไหล่ อะไรแบบนั้น

การวางจิตที่จิต คือการรู้ตำแหน่งว่าจิตอยู่ที่ไหน ผมเองทำได้ไม่นาน ไม่กี่วินาที จิตก็ย้ายไปวางที่เวทนาบ้าง กายบ้าง

ส่วนไตรลักษณ์นั้นคือธรรมอยู่แล้ว ไม่ว่าจะเป็นจิต เวทนา สัญญา สังขาร รูป เป็นสภาวะไตรลักษณ์อยู่แล้วโดยปรมัตถ์ คือไม่ต้องไปกำหนดหา เพราะธรรมคือไตรลักษณ์อยู่แล้วไม่ได้ผุดขึ้นมาเพราะการที่เราพยายามพิจารณา

เราจึงต้องเข้าใจเลยว่าทุกอย่างเป็นไตรลักษณ์อยู่แล้วครับผม

.....................................................
อย่าท้อถอยต่อการปฏิบัติ อย่าปล่อยให้ความขุ่นเคืองเข้าแทรก สร้างพลังด้วยคำสอนของพระพุทธเจ้า รำลึกและตอบแทนพระคุณมารดา และบิดา มองโลกด้วยใจเป็นกลาง ระลึกเสมอว่าเรายังด้อยปัญญาหากยังไม่ได้ปัญญา


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 78 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1, 2, 3, 4, 5, 6  ต่อไป

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

่กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 1 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร