วันเวลาปัจจุบัน 26 เม.ย. 2024, 08:04  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง




กลับไปยังกระทู้  [ 7 โพสต์ ]    Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 02 มิ.ย. 2014, 11:22 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


สมมุติบัญญัติ


ศัพท์ว่า มุติ ในสมมุติ (เขียน “มติ” เป็นสมมติ ก็ได้) แปลว่า ความรู้ เมื่อใส่ “สํ. => สม” (เอานิคคหิตเป็น ม) เข้าข้างหน้า เป็นสมมุติ หรือสมมติ แปลว่า รู้ร่วมกัน ยอมรับ หรือตกลงกัน คือรู้กัน ตกลงกันว่า อันนั้น อันนี้ คนนั้น คนนี้ เรียกชื่อว่าอย่างนั้น อย่างนี้ จนกระทั่งว่าสภาวะนี้ เรียกว่า จิต ธรรมนี้ เรียกว่าฌาน ตลอดจนในเชิงสังคม หรือในการอยู่ร่วมกัน เราจะทำเรื่องนี้กันอย่างนี้ๆ ให้ของ ให้คน ให้หมู่ชนนั้นๆได้ชื่อ ได้สถานะอย่างนี้ๆ เป็นต้น

เมื่อสมมติ คือรู้กัน หรือตกลงกันว่าอย่างไรแล้ว ก็บัญญัติจัดตั้งวางตราลงไปอย่างนั้น ๒ คำนี้ คือ สมมุติและบัญญัติ เลยบางทีกลายเป็นคำที่ใช้แทนกันได้ ใช้คู่เคียงกันไป หรือปนๆกันไป (แต่ที่จริง สมมติเน้นด้านความหมายเชิงสังคม)

การที่คนเราสื่อสารกันได้ และพูดกันรู้เรื่อง มีเครื่องกำหนดหมายในการคิด พูด และทำการต่างๆ ก็เพราะสมมตินี่แหละ

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 02 มิ.ย. 2014, 11:25 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


สมมุตินั้น มันไม่ใช่ของจริงอยู่แล้ว คือคนตกลงกันเรียกขาน หรือให้เป็นอย่างนั้นขึ้นมา จะสมมุติบนสิ่งที่มีจริงก็ได้ บนสิ่งที่ไม่มีจริงก็ได้ แต่เมื่อสมมุติแล้ว คนส่วนใหญ่ก็ไปติดอยู่ที่สมมุตินั้นเสีย หลงเอาสมมติเป็นตัวของจริงไป เลยอยู่กันแค่สมมติ แล้วก็คิดปรุงแต่งไปบนฐานแห่งสมมตินั้น เลยวิจิตรพิสดารไปกันใหญ่ ลืมมองของจริงที่เหมือนกับ ว่าอยู่ข้างหลังสมมตินั้น

พูดสำนวนอุปมาว่า เอาสมมติมาบังตาตัวเอง หรือหลงสมมติไป ทั้งที่ของจริงมันก็อยู่ของมันอย่างนั้น

พูดให้ง่ายๆสะดวกๆว่า สิ่งทั้งหลายที่มีอยู่ก็แค่รูปธรรม และ นามธรรม แล้วบนรูปธรรม และ นามธรรมนั้นๆ เช่นที่ประกอบกันเข้าเป็นสัดส่วนในลักษณาการที่มีความเป็นไปอย่างนี้ๆ เราก็สมมติเรียกว่า เป็น “สัตว์” เป็น “คน” เป็น “บุคคล” เป็น “ตัว” “ตน” หรือ “ตัวตน” (อัตตา อาตุมา อาตมา) เป็น “เรา” เป็น “เขา” เป็น “ท่าน” ฯลฯ

“สัตว์” “บุคคล” “ตัวตน” “เรา” “เขา” เป็นต้น ที่สมมติขึ้นมานี้ ไม่มีจริง เมื่อเอาชื่อหรือคำเรียกออกไป หรือมองผ่านทะลุคำเรียกชื่อนั้นไป ก็มีเพียงรูปธรรม และนามธรรม (ที่จัดแยกเป็นประเภทหรือเป็นพวกๆ เรียกว่าขันธ์ ๕ หรือจะแยกแยะละเอียดลงไปกว่านั้นก็ได้)

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 02 มิ.ย. 2014, 11:30 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


รูปธรรม - นามธรรม” แม้จะเป็นคำเรียกที่บัญญัติขึ้นมา แต่ก็เป็นคำที่สื่อถึงสิ่งทีมีอยู่จริง (ใช้คำอย่างบาลีว่า “สภาวะ” หรือ “สภาวธรรม” คือ สิ่งที่มีภาวะของมันเอง หรือสิ่งที่มีความเป็นจริงของมัน) ดังเช่น “เตโชธาตุ” “ชีวิตินรีย์” “จักขุวิญญาณ” “ผัสสะ” “สุข” “ทุกข์” “โทสะ” “เมตตา” “สมาธิ” “ปัญญา” ฯลฯ จนถึง “วิมุตติ” “สันติ” “นิพพาน” เป็นต้น

ส่วน “สัตว์” “บุคคล” “ตัวตน/อัตตา/อาตมา/อาตมัน” “เรา” “เขา” เป็นต้น ไม่สื่อถึงสภาวะคือสิ่งที่มีอยู่จริงนั้น แต่เป็นชื่อที่สมมติซ้อนขึ้นมาอีกชั้นหนึ่ง บนของจริงที่เป็นสภาวะของมัน ที่สัมพันธ์กันอยู่ เช่น เป็นเหตุปัจจัยแก่กันในลักษณะอาการต่างๆ พอระบบสัมพันธ์นั้นแปรหรือสลาย องค์ประกอบวิบัติกระจัดกระจาย “สัตว์ “บุคคล” “ตัวตน/อัตตา/อาตมา/อาตมัน” ฯลฯ นั้นๆก็หายไป มีแต่สภาวธรรมทั้งหลายที่เป็นไปตามวิถีทางของมัน

เหมือนอย่าง เมื่อองค์ประกอบย่อย หรือชิ้นส่วนหลากหลายที่เขาสร้าง หรือจัดรูปแต่งร่างขึ้น ถูกนำมาประกอบเข้าด้วยกันให้ปรากฏในรูปลักษณ์ที่จะใช้ทำการสนองความมุ่งหมายแห่งเจตจำนงในการขนส่งเดินทาง ก็เกิดเป็นสิ่งที่มีชื่อเรียกว่า “รถ”

ในตัวอย่างนี้ “รถ” เป็นสมมติ ที่เป็นเพียงการประกอบกันเข้าของชิ้นส่วนทั้งหลาย ไม่มีรถที่เป็นตัวของมันต่างหากจากชิ้นส่วนเหล่านั้น ที่เรียกว่าเป็นส่วนประกอบของมัน

ไม่มีตัว “รถ” ที่เป็นเจ้าของส่วนประกอบเหล่านั้นจริง พอชิ้นส่วนที่ประกอบกันนั้นสลายแยกกระจายออกไป สมมติที่เรียกว่า “รถ” ก็หายไปเอง

ที่ว่าไม่มีอัตตา ไม่เป็นอัตตา ก็มองได้จากอุปมาอย่างนี้

นอกจากสมมุติที่ไม่มีจริงซ้อนขึ้นมาบนสภาวะที่เป็นของจริงแล้ว มนุษย์ยังสมมุติชนิดไม่มีจริงซ้อนสมมุติที่ไม่มีจริงนั้นต่อขึ้นไปอีกๆ บางทีมากมายหลายชั้น เช่น จากสมมุติว่า “คน” ก็สมมุติว่า คนนั้นเป็น “นายมี” “นายหมด” “รถของนายมี” “รถยี่ห้อมิลเลียนของคนไทยที่เป็นเศรษฐีใหญ่ชื่อว่านายมี” ฯลฯ

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 02 มิ.ย. 2014, 11:33 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ทีนี้ หันไปดูทางด้านสภาวะ หรือสภาวธรรม ที่เป็นสิ่งมีอยู่จริง สภาวธรรมก็มีมากมาย และมีภาวะ มีคุณสมบัติ มีอาการในการสัมพันธ์กับสภาวะอย่างอื่น เป็นต้น ที่เป็นลักษณะเฉพาะตัวบ้าง เหมือนกันหรือรวมกันเป็นพวกๆ หรือเป็นประเภทๆ บ้าง ดังที่สื่อโดยบัญญัติเรียกให้มีชื่อต่างๆ เช่น เป็นรูปธรรม หรือเป็นนามธรรม อย่างที่พูดถึงมาแล้วบ้าง เป็นโลกิยธรรม หรือเป็นโลกุตรธรรมบ้าง เป็นสังขตธรรม หรืออสังขตธรรมบ้าง เป็นต้น

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 02 มิ.ย. 2014, 22:09 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


เมื่อพอเข้าใจความหมายคำว่า สภาวธรรม,สมมุติบัญญัติ บ้างแล้ว มีบาลีเสริมความเข้าใจหน่อยหนึ่ง


สิ่งทั้งหลายเกิดจากองค์ประกอบต่างๆ มาประชุมกันเข้า สัมพันธ์กันเป็นไปตามเหตุปัจจัย ว่างเปล่าจากตัวตนที่เป็นแกนอันยืนยงคงตัว ปราศจากตัวการที่สร้างสรรค์บันดาล เช่นดัง พระบาลีว่า

"อาศัยเครื่องไม้ เถาเชือก ดินฉาบ และหญ้ามุง มีช่องว่างแวดล้อม ย่อมเรียกกันว่าเป็นเรือน ฉันใด อาศัยกระดูก เส้นเอ็น เนื้อ หนัง มีช่องว่างแวดล้อม ย่อมเรียกกันว่าเป็นตัวคน (รูป) ฉันนั้น"

(ม.มู.12/346/358)

มารถามพระวชิราภิกษุณีว่า

“สัตว์นี้ (ตัวบุคคลนี้) ใครสร้าง ผู้สร้างสัตว์อยู่ที่ไหน สัตว์เกิดที่ไหน สัตว์ดับที่ไหน?”

พระวชิราภิกษุณีตอบว่า

“นี่แน่ะมาร ท่านเชื่อหรือว่าเป็นสัตว์ (เป็นตัวบุคคล) ท่านมีความเห็น (อย่างนั้น) หรือ ? นี้คือกองแห่งสังขารล้วนๆ จะ หาตัวสัตว์ในนี้ไม่ได้เลย เพราะประชุมส่วนประกอบเข้าด้วยกัน ย่อมมีศัพท์เรียกว่า รถ ฉันใด เมื่อขันธ์ (กองแห่งรูปธรรม และนามธรรม) ทั้งหลายมีอยู่ ก็มีสมมุติเรียกว่าสัตว์ ฉันนั้น แท้จริงทุกข์ (สภาพไม่คงตัว) เท่านั้น เกิดมี และทุกข์ก็ตั้งอยู่ และเสื่อมสลายไป นอกจากทุกข์ ไม่มีอะไรเกิด นอกจากทุกข์ ไม่มีอะไรดับ”

(สํ.ส.15/553/198)


พระเสลาภิกษุณีตอบว่า


“ร่างนี้ ไม่มีใครสร้าง ตัวนี้ไม่มีใครบันดาล อาศัยเหตุมันก็เกิด มี เพราะเหตุสลายมันก็ดับ เม็ดพืชอย่างใดอย่างหนึ่ง ที่เขาหว่านในนา อาศัยรสในแผ่นดิน และยางในเมล็ดพืชทั้งสองอย่างนี้ ก็ย่อมงอกงามขึ้นได้ ฉันใด ฉันนั้นเหมือนกัน ประดาขันธ์ ธาตุทั้งหลาย และอายตนะทั้ง 6 เหล่านี้ อาศัยเหตุ ย่อมเกิดมี เพราะเหตุสลาย ก็ย่อมดับไป”


(สํ.ส.15/551/197)

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 02 มิ.ย. 2014, 22:34 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


หากเข้าใจสภาวธรรมกับสมมุติบัญญัตินั่นแล้ว ก็จะเห็นผู้ปฏิบัติธรรมซึ่งติดยึดรูปธรรม นามธรรมว่าเป็นเราเป็นของเราซ้อนอยู่บนสภาวธรรมนัั่น แต่สภาวธรรมก็คือสภาวธรรม ซึ่งเป็นไปตามธรรมดาของมัน แต่มันขัดกับความยึดอยากของคน คนจึงเป็นทุกข์เพราะมัน



สงสัยเรื่องเสียงในใจเวลาบริกรรมภาวนาครับ

ผู้ที่เคยผ่านจุดนี้น่าจะรู้นะครับ ผมติดอยู่ตรงจุดนี้เรียกว่าสามวันดีสี่วันไข้ว่าอย่างนั้น บางที่คำบริกรรมในใจก็เป็นเสียงสวดมนต์ วันดีคืนดีก็บริกรรมคล้ายจังหวะเพลง ตื่นมาบางวันก็บริกรรมคล้ายเสียงพูดปกติ มันจะผิดทางมั้ยครับเนี่ย เพราะบริกรรมตั้งแต่ตื่นยันหลับเสียงบริกรรมในใจเปลี่ยนไปเปลี่ยนมาเป็น ช่วงๆ แต่ก็ยังติดอยู่ ชัดบ้างหายบ้างออกมาเบาๆในใจบ้าง นี่มันเข้ากับหลักการไม่เที่ยงของทุกสรรพสิ่งมั้ยครับ 3เดือนแล้วที่เป็นมาแบบนี้ ผู้ที่เคยสัมผัสผ่านจุดนี้มาก่อนช่วยชี้แนะด้วยครับ

……….

ใครเคยนั่งสมาธิแล้วเป็นแบบนี้บ้างไหมค่ะ รู้สึกเหมือนตัวเบาๆจะลอยได้ประมาณนั้น

เราฝึกนั่งสมาธิมาได้เกือบ 2 อาทิตย์แล้วค่ะ ก่อนนั่งสมาธิจะสวดมนต์ก่อน
แรกๆ ที่นั่งก็ยังสมาธิไม่นิ่ง เราเข้าไปกูเกิ้ลค้นเจอว่า ให้ท่องไม่นึก ไม่คิด ในใจซึ่งได้ผลกับเราค่ะ
แต่ตอนนี้เรากลับรู้สึกว่าเหมือนตัวลอยๆเบาๆ อย่างไรไม่ทราบเวลานั่งฯ
แถมบางทีเหมือนเราไม่ยอมออกจากสมาธิง่ายด้วยค่ะ ทำให้กลัวๆอย่างไรทราบ
รบกวนแนะนำด้วยค่ะ

………………

ทำกรรมฐาน เปิดโลกแล้วรู้สึกกลัว กลับมาบ้านแล้วจิตฟุ้งซ่านมาก

เราได้ไปนั่งกรรมฐาน เปิดโลก วิธีปฏิบัติคือหายใจเข้าออกให้ยาว พร้อมเอนตัวไปหน้าหลังขณะหายใจ พร้อมกับพุทโธไปด้วยนั่งๆไป คนข้างหลังก็ร้องออกมาเสียงดัง มีคนร้องไห้ มีคนพูดภาษาจีน ภาษาอะไรอีกมากมายค่ะ มีคนรำ ตัวเราเองรู้สึกโยกๆๆแรงขึ้น จนมันไม่ไหวแล้วเลยลงนอน แต่ตอนนั้นรู้สึกกลัวและตกใจ ไม่ได้รู้สึกสงบเย็นเลย แต่พอคลายจากการนั่งรู้สึกโล่งมากๆ ในใจรู้สึกก้ำกึ่งกับการทำสมาธิด้วยวิธีนี้ ทั้งสงสัยและศรัทธา

ท่านใดเคยทำกรรมฐานด้วยวิธีนี้และมีความรู้โปรดชี้แนะด้วยเถอะค่ะ ตอนนี้เราก็ยังสงสัย ค้นหาข้อมูลที่อธิบายก็มีเพียงน้อยนิด

และคำถามอีกข้อนึงนะคะ
ทำอย่างไรถึงจะได้เจออาจารย์ที่ท่านมาโปรดชี้แนะทางสว่าง ทางปฏิบัติแก่เราค่ะ ต้องภาวนาอย่างไร

ขอบพระคุณทุกท่านมากค่ะ

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 03 มิ.ย. 2014, 07:48 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


“นี่แน่ะมาร ท่านเชื่อหรือว่าเป็นสัตว์ ท่านมีความเห็น (อย่างนั้น) หรือ ? นี้คือกองแห่งสังขารล้วนๆ จะหาตัวสัตว์ในนี้ไม่ได้เลย เพราะประชุมส่วนประกอบเข้าด้วยกัน ย่อมมีศัพท์เรียกว่า รถ ฉันใด เมื่อขันธ์ทั้งหลายมีอยู่ ก็มีสมมุติเรียกว่า สัตว์ ฉันนั้น แท้จริงทุกข์เท่านั้น เกิดมี และทุกข์ก็ตั้งอยู่ และเสื่อมสลายไป นอกจากทุกข์ ไม่มีอะไรเกิด นอกจากทุกข์ ไม่มีอะไรดับ


พระภิกษุณีตอบมารว่า ทุกข์เท่านั้นเกิดขึ้น ตั้งอยู่ ดับไป นอกจากทุกข์ไม่มีอะไรเกิด...ไม่มีอะไรดับ ท่านพูดถึงสาระแห่งปฏิจจสมุปบาท ที่แสดงการเกิด-ดับแห่งทุกข์ ที่กล่าวสรุปตอนท้าย


ฯลฯ

โสกปริเทวทุกฺขโทมนสฺสุปายาสา สมฺภวนฺติ

ความโศก ความคร่ำครวญ ทุกข์ โทมนัส และความคับแค้นใจ จึงมีพร้อม

เอวเมตสฺส เกวลสฺส ทุกขกฺขนฺธสฺส สมุทโย โหติ
ความเกิดขึ้นแห่งกองทุกข์ทั้งปวงนี้ ย่อมมี ด้วยประการฉะนี้

ฯลฯ

โสกปริเทวทุกฺขโทมนสฺสุปายาสา นิรุชฌนฺติ

ความโศก ความคร่ำครวญ ทุกข์ โทมนัส และความคับแค้นใจ ย่อมดับ

เอวเมตสฺส เกวลสฺส ทุกขกฺขนฺธสฺส นิโรโธ โหติ
ความดับแห่งกองทุกข์ทั้งมวลนี้ ย่อมมี ด้วยประการฉะนี้

จะเรียกนามรูป หรือขันธ์ ๕ หรือชีวิต หรือกาย ใจ หรือกาย มโน (ก็เอา) ที่เป็นอย่างนั้น ก็เพราะเป็นไปตามกฎแห่งไตรลักษณ์

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 7 โพสต์ ] 

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 145 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร