วันเวลาปัจจุบัน 18 ก.ค. 2025, 06:33  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง




กลับไปยังกระทู้  [ 18 โพสต์ ]  ไปที่หน้า 1, 2  ต่อไป  Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 08 พ.ค. 2014, 10:41 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ก.ค. 2006, 22:20
โพสต์: 5976

โฮมเพจ: http://walaiblog.blogspot.com/
แนวปฏิบัติ: กายคตาสติ
อายุ: 0
ที่อยู่: สมุทรปราการ

 ข้อมูลส่วนตัว


การที่วลัยพร เข้ามาตั้งกระทู้ในห้องสนทนานี้

มีวัตถุประสงค์ หาความรู้จากพระไตรปิฎก จากการสนทนาในทีนี้

การตั้งกระทู้ในห้องสนทนา มีประโยชน์คือ บางสิ่งเราไม่รู้ แต่อีกฝ่ายรู้ หรือ เรารู้ แต่เขาไม่รู้
เป็นเรื่องของ สัญญา ที่สะสมมา จากเหตุปัจจัยของ ความเกิดขึ้นแห่งภพ(การเกิด) ที่ยังมีอยู่
เพื่อนำสัญญานี้ ไปทำให้เกิดเป็นปัญญา ใช้ในการกระทำ เพื่อดับเหตุแห่งภพ ที่ยังมีอยู่

เหตุจาก ที่พบเจอมา การสนทนาที่มักมีการสร้างเหตุของการเกิด
เป็นเหตุให้ เลือกที่จะสนทนา ให้แคบมากขึ้น

คือ มุ่งประเด็น พระธรรมคำสอน ที่พระพุทธเจ้า ทรงตรัสไว้ ที่มีในพระไตรปิฎก เป็นหลัก
ส่วนคำอธิบายของอรรกถาจารย์ต่างๆ มีไว้เพื่อใช้ในการศึกษา การตีความหมายในภาษาบาลีอีกที


กรุณาอ่าน

ส่วนใครที่คิดนำสำนวนอาจารย์ของตน และสำนวน ที่ตนใช้อยู่ โดยการใช้สำนวนที่เขียนขึ้นมาใหม่
วลัยพรจะไม่ข้องเกี่ยวใดๆทั้งสิ้น เพราะเขียนไว้ชัดเจนแล้วว่า "ตามรอยพระพุทธเจ้า"

หากใครต้องการนำสำนวนของตนเองและอาจารย์ของตนเอง มาแสดงในข้อสนทนา
จะด้วยเหตุอันใด ก็ตาม กรุณาไปตั้งกระทู้ใหม่



บอกก่อน

หากผู้ใด นำพระธรรมคำสอน ที่พระพุทธเจ้าทรงตรัสไว้ ที่มีอยู่ในพระไตรปิฎก
เมื่อนำมาอธิบาย ให้ความหมายตามที่ตนคิดว่า น่าจะตรงกับคำเรียกที่พระพุทธเจ้า ทรงตรัสไว้

ช่วยแยกความคิดเห็นของตน ออกจากพระธรรมคำสอน
อย่านำไปปะปน ในพระธรรมคำสอน


นำมาจากที่ไหน กรุณาช่วยแนบลิงค์ ที่มาด้วย
เพราะบางคน ไม่มีการแนบลิงค์ ทำให้ไม่สามารถอ่านรายละเอียดทั้งหมด

การแนบลิงค์ เพื่อจะเข้าไปอ่าน พระธรรมคำสอนทั้งหมด
ไม่ใช่อ่านแค่ที่นำมาโพส เฉพาะส่วนที่ ต้องการสนทนา

เพราะบางคนนำมาบางส่วน ที่ตนต้องการนำมาอธิบาย ไม่ได้นำมาทั้งหมด

.....................................................
มิจฉาปณิหิตจิต จิตที่ตั้งไว้ผิด ย่อมตามพิชิตตัวเอง

สัตว์โลกย่อมเป็นไปตามกรรม ตามการกระทำของแต่ละคน (ตามความเป็นจริง)


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 08 พ.ค. 2014, 11:27 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ก.ค. 2006, 22:20
โพสต์: 5976

โฮมเพจ: http://walaiblog.blogspot.com/
แนวปฏิบัติ: กายคตาสติ
อายุ: 0
ที่อยู่: สมุทรปราการ

 ข้อมูลส่วนตัว


เนื้อแท้ที่ไม่อันตรธาน


ภิกษุ ทั้งหลาย. ! พวกภิกษุบริษัทในกรณีนี้,
สุตตันตะเหล่าใด ที่กวีแต่งขึ้นใหม่
เป็นคำร้อยกรองประเภทกาพย์กลอน
มีอักษรสละสลวย มีพยัญชนะอันวิจิตร
เป็นเรื่องนอกแนว เป็นคำกล่าวของสาวก,

เมื่อมีผู้นำสุตตันตะเหล่านั้นมากล่าวอยู่;
เธอจักไม่ฟังด้วยดี ไม่เงี่ยหูฟัง ไม่ตั้งจิตเพื่อจะรู้ทั่วถึง
และจักไม่สำคัญว่าเป็นสิ่งที่ตนควรศึกษาเล่าเรียน.

ส่วนสุตตันตะเหล่าใดที่เป็นคำของตถาคต
เป็นข้อความลึก มีความหมายซึ้ง
เป็นชั้นโลกุตตระว่าเฉพาะเรื่องสุญญตา,

เมื่อมีผู้นำสุตตันตะเหล่านั้นมากล่าวอยู่;
เธอย่อมฟังด้วยดี ย่อมเงี่ยหูฟัง ย่อมตั้งจิตเพื่อจะรู้ทั่วถึง
และย่อมสำคัญว่าเป็นสิ่งที่ตนควรศึกษาเล่าเรียน

จึงพากันเล่าเรียน ไต่ถาม ทวนถามแก่กันและ
กันอยู่ว่า “ข้อนี้เป็นอย่างไร ? มีความหมายกี่นัย ?” ดังนี้.

ด้วยการทำดังนี้
เธอย่อมเปิดธรรมที่ถูกปิดไว้ได้,
ธรรมที่ยังไม่ปรากฏ เธอก็จะทำให้ปรากฏได้,
ความสงสัยในธรรมหลายประการที่น่าสงสัย
เธอก็บรรเทาลงได้.

ภิกษุ ท. ! ภิกษุบริษัทเหล่านี้ เราเรียกว่า
บริษัทที่มีการลุล่วงไปได้
ด้วยการสอบถามแก่กันและกันเอาเอง,
หาใช่ด้วยการชี้แจงโดยกระจ่าง
ของบุคคลภายนอกเหล่าอื่นไม่;
จัดเป็นบริษัทที่เลิศ แล.

ทุก. อํ. ๒๐/๙๒/๒๙๒.


http://etipitaka.com/read?language=thai ... volume=20#

.....................................................
มิจฉาปณิหิตจิต จิตที่ตั้งไว้ผิด ย่อมตามพิชิตตัวเอง

สัตว์โลกย่อมเป็นไปตามกรรม ตามการกระทำของแต่ละคน (ตามความเป็นจริง)


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 08 พ.ค. 2014, 23:08 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 14 ก.ค. 2008, 21:56
โพสต์: 3925

ชื่อเล่น: เช่นนั้น
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


walaiporn เขียน:
ภิกษุ ทั้งหลาย. ! พวกภิกษุบริษัทในกรณีนี้,
สุตตันตะเหล่าใด ที่กวีแต่งขึ้นใหม่
เป็นคำร้อยกรองประเภทกาพย์กลอน
มีอักษรสละสลวย มีพยัญชนะอันวิจิตร
เป็นเรื่องนอกแนว เป็นคำกล่าวของสาวก,

เมื่อมีผู้นำสุตตันตะเหล่านั้นมากล่าวอยู่;
เธอจักไม่ฟังด้วยดี ไม่เงี่ยหูฟัง ไม่ตั้งจิตเพื่อจะรู้ทั่วถึง
และจักไม่สำคัญว่าเป็นสิ่งที่ตนควรศึกษาเล่าเรียน.


สิ่งที่พระพุทธองค์ทรงภาษิตไม่ให้ ศึกษาข้างต้น
คือ

"สาวกภาษิต ที่เป็นเรื่องนอกแนว"............ ตรงนี้คือหัวใจสำคัญ

ด้วยเหตุว่า
คำกล่าวของสาวก ที่ไม่ใช่เรื่องนอกแนว ในสมัยพุทธกาล พระพุทธองค์ไม่เคยทรงเรียกไปติเตียน ไม่มีการทูลถามข้อสงสัยต่อคำแสดงของสาวกนั้นเป็นต้น

เพราะฉะนั้น
การจะบอกว่า ถ้าเป็นคำกล่าวสาวก หรือ สาวกภาษิตา ไม่ควรศึกษา จึงไม่ใช่การยกพุทธภาษิตมาอ้างที่ถูกต้อง

เพราะที่ถูกต้องคือ พระองค์ห้าม สาวกภาษิตที่เป็นเรื่องนอกแนว ......

.....................................................
ธรรมะอันยิ่งใหญ่ ไม่อาจเอื้อนเอ่ย
บัญญัติ เป็นเพียงสิ่งต่ำต้อยแบกรับความยิ่งใหญ่


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 09 พ.ค. 2014, 00:36 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 14 ก.ค. 2008, 21:56
โพสต์: 3925

ชื่อเล่น: เช่นนั้น
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


การศึกษาจากพยัญชนะปฏิรูป ของพระสาวก ก็ไม่ได้ทำให้ เนื้อแท้อันตรธาน
โดยมีข้อแม้ว่า พยัญชนะปฏิรูปนั้นต้องอนุโลมอรรถและธรรม คือไม่นอกแนว
อีกทั้งยังได้ชื่อว่า ดำรงรักษา สัทธรรมอีกด้วย

Quote Tipitaka:
[๒๘๖] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุพวกที่ห้ามอรรถและธรรมโดยสูตรซึ่ง
ตนเรียนไว้ไม่ดี ด้วยพยัญชนะปฏิรูปนั้น ชื่อว่าปฏิบัติแล้วเพื่อมิใช่ประโยชน์ของ
ชนมาก เพื่อมิใช่สุขของชนมาก เพื่อความฉิบหาย เพื่อมิใช่ประโยชน์แก่ชน
เป็นอันมาก เพื่อทุกข์แก่เทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย อนึ่ง ภิกษุพวกนั้นยังจะ
ประสพบาปเป็นอันมาก และทั้งชื่อว่าทำสัทธรรมนี้ให้อันตรธานไปอีกด้วย

ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุพวกที่อนุโลมอรรถและธรรม โดยสูตรซึ่งตนเรียนไว้ดี
ด้วยพยัญชนะปฏิรูปนั้น ชื่อว่าปฏิบัติแล้วเพื่อประโยชน์ของชนมาก เพื่อความสุขของ
ชนมาก เพื่อประโยชน์ เพื่อเกื้อกูลแก่ชนเป็นอันมาก เพื่อความสุขแก่เทวดา
และมนุษย์ทั้งหลาย ดูกรภิกษุทั้งหลาย อนึ่ง ภิกษุพวกนั้นยังประสพบุญเป็นอัน
มาก ทั้งชื่อว่าดำรงสัทธรรมนี้ไว้อีกด้วย ฯ


http://84000.org/tipitaka/pitaka2/v.php?B=20&A=1617&Z=1840&pagebreak=0

.....................................................
ธรรมะอันยิ่งใหญ่ ไม่อาจเอื้อนเอ่ย
บัญญัติ เป็นเพียงสิ่งต่ำต้อยแบกรับความยิ่งใหญ่


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 09 พ.ค. 2014, 07:40 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ก.ค. 2006, 22:20
โพสต์: 5976

โฮมเพจ: http://walaiblog.blogspot.com/
แนวปฏิบัติ: กายคตาสติ
อายุ: 0
ที่อยู่: สมุทรปราการ

 ข้อมูลส่วนตัว


เช่นนั้น เขียน:
walaiporn เขียน:
ภิกษุ ทั้งหลาย. ! พวกภิกษุบริษัทในกรณีนี้,
สุตตันตะเหล่าใด ที่กวีแต่งขึ้นใหม่
เป็นคำร้อยกรองประเภทกาพย์กลอน
มีอักษรสละสลวย มีพยัญชนะอันวิจิตร
เป็นเรื่องนอกแนว เป็นคำกล่าวของสาวก,

เมื่อมีผู้นำสุตตันตะเหล่านั้นมากล่าวอยู่;
เธอจักไม่ฟังด้วยดี ไม่เงี่ยหูฟัง ไม่ตั้งจิตเพื่อจะรู้ทั่วถึง
และจักไม่สำคัญว่าเป็นสิ่งที่ตนควรศึกษาเล่าเรียน.


สิ่งที่พระพุทธองค์ทรงภาษิตไม่ให้ ศึกษาข้างต้น
คือ

"สาวกภาษิต ที่เป็นเรื่องนอกแนว"............ ตรงนี้คือหัวใจสำคัญ

ด้วยเหตุว่า
คำกล่าวของสาวก ที่ไม่ใช่เรื่องนอกแนว ในสมัยพุทธกาล พระพุทธองค์ไม่เคยทรงเรียกไปติเตียน ไม่มีการทูลถามข้อสงสัยต่อคำแสดงของสาวกนั้นเป็นต้น

เพราะฉะนั้น
การจะบอกว่า ถ้าเป็นคำกล่าวสาวก หรือ สาวกภาษิตา ไม่ควรศึกษา จึงไม่ใช่การยกพุทธภาษิตมาอ้างที่ถูกต้อง

เพราะที่ถูกต้องคือ พระองค์ห้าม สาวกภาษิตที่เป็นเรื่องนอกแนว ......





ที่วลัยพร เน้นคำว่า เป็นคำกล่าวสาวก

หมายถึง เรื่องนี้ทั้งหมด

สุตตันตะเหล่าใด ที่กวีแต่งขึ้นใหม่

เป็นคำร้อยกรองประเภทกาพย์กลอน

มีอักษรสละสลวย มีพยัญชนะอันวิจิตร
เป็นเรื่องนอกแนว


กล่าวคือ

ถ้าไม่ใช่เรื่องที่เกี่ยวกับการกระทำเพื่อให้ถึงที่สุดแห่งทุกข์ ล้วนเป็นเรื่องนอกแนว ไม่ควรศึกษา
นี่เป็นความหมายตามที่วลัยพรเข้าใจ


เหตุที่ทำให้ วลัยพรเข้าใจว่า เป็นเรื่องเกี่ยวกับการกระทำเพื่อให้ถึงที่สุดแห่งทุกข์
เพราะจากคำที่พระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงตรัสไว้

walaiporn เขียน:

ส่วนสุตตันตะเหล่าใดที่เป็นคำของตถาคต
เป็นข้อความลึก มีความหมายซึ้ง
เป็นชั้นโลกุตตระว่าเฉพาะเรื่องสุญญตา,

เมื่อมีผู้นำสุตตันตะเหล่านั้นมากล่าวอยู่;
เธอย่อมฟังด้วยดี ย่อมเงี่ยหูฟัง ย่อมตั้งจิตเพื่อจะรู้ทั่วถึง
และย่อมสำคัญว่าเป็นสิ่งที่ตนควรศึกษาเล่าเรียน




ท้วงติงได้ เพราะ ส่วนมาก วลัยพรไม่ได้ขยายใจความลงไว้ รอจนกว่าจะมีคนมาแย้ง

หากไม่มีใครแย้ง อาจหมายถึง เห็นเหมือนกัน จึงไม่จำเป็นต้องขยายใจความ

ยกเว้นกรณีเห็นต่างกัน หรือมีคำถามกลับมาว่า หมายถึงอะไร
จึงจะอธิบายรายละเอียดลงไปว่า หมายถึงอะไร


เหมือนเรื่อง สุญญตา ที่พระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงตรัสไว้

ที่วลัยพรยังไม่อธิบายรายละเอียด ลักษณะอาการที่เกิดขึ้น ที่เรียกว่า สุญญตา
เนื่องด้วยเหตุผลเดียวกันนี่แหละ

หรือถ้ามีคนนำเรื่อง สุญญตา มาถาม
การอธิบาย สุดท้ายก็ไม่พ้น ต้องอธิบาย สิ่งที่เรียกว่า ผัสสะ

ความบังเกิดขึ้นแห่งภพ ก็ไม่พ้น ผัสสะ


เพราะสิ่งที่เกิดขึ้นในชีวิต และ สิ่งที่เกิดขึ้น ขณะจิตเป็นสมาธิอยู่
สิ่งที่เกิดขึ้น ไม่ว่าจะใช้คำทับลงไปว่า เรียกว่าอะไร ตามความเข้าใจของตน เช่น ฌาน ญาณฯลฯ
แล้วคำเรียกนั้นๆ ทำให้เกิดเวทนา ก็ไม่พ้น ผัสสะ

ผัสสะ เวทนา ตัณหา อุปทาน ภพ

เหตุจากอวิชชาที่มีอยู่ ความไม่รู้ชัดในสิ่งที่เกิดขึ้น ซึ่งมีชื่อเรียกว่า ผัสสะ
ย่อมปล่อยให้ก้าวล่วง(ชาติ) ออกไปทาง วจีกรรม กายกรรม

ชรามรณะ(โลกธรรม ๘) โสกะ ปริเทวะ ทุกขโทมนัส อุปายาส ย่อมมีบังเกิดขึ้น ตามเหตุปัจจัย
จึงเป็นที่มาของ ชาติ ชรามรณะ(เขียนติดกัน)โสกะ ปริเทวะ ทุกขโทมนัส อุปายาส

.....................................................
มิจฉาปณิหิตจิต จิตที่ตั้งไว้ผิด ย่อมตามพิชิตตัวเอง

สัตว์โลกย่อมเป็นไปตามกรรม ตามการกระทำของแต่ละคน (ตามความเป็นจริง)


แก้ไขล่าสุดโดย walaiporn เมื่อ 09 พ.ค. 2014, 09:48, แก้ไขแล้ว 1 ครั้ง

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 09 พ.ค. 2014, 08:01 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ก.ค. 2006, 22:20
โพสต์: 5976

โฮมเพจ: http://walaiblog.blogspot.com/
แนวปฏิบัติ: กายคตาสติ
อายุ: 0
ที่อยู่: สมุทรปราการ

 ข้อมูลส่วนตัว


เช่นนั้น เขียน:
การศึกษาจากพยัญชนะปฏิรูป ของพระสาวก ก็ไม่ได้ทำให้ เนื้อแท้อันตรธาน
โดยมีข้อแม้ว่า พยัญชนะปฏิรูปนั้นต้องอนุโลมอรรถและธรรม คือไม่นอกแนว
อีกทั้งยังได้ชื่อว่า ดำรงรักษา สัทธรรมอีกด้วย

Quote Tipitaka:
[๒๘๖] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุพวกที่ห้ามอรรถและธรรมโดยสูตรซึ่ง
ตนเรียนไว้ไม่ดี ด้วยพยัญชนะปฏิรูปนั้น ชื่อว่าปฏิบัติแล้วเพื่อมิใช่ประโยชน์ของ
ชนมาก เพื่อมิใช่สุขของชนมาก เพื่อความฉิบหาย เพื่อมิใช่ประโยชน์แก่ชน
เป็นอันมาก เพื่อทุกข์แก่เทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย อนึ่ง ภิกษุพวกนั้นยังจะ
ประสพบาปเป็นอันมาก และทั้งชื่อว่าทำสัทธรรมนี้ให้อันตรธานไปอีกด้วย

ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุพวกที่อนุโลมอรรถและธรรม โดยสูตรซึ่งตนเรียนไว้ดี
ด้วยพยัญชนะปฏิรูปนั้น ชื่อว่าปฏิบัติแล้วเพื่อประโยชน์ของชนมาก เพื่อความสุขของ
ชนมาก เพื่อประโยชน์ เพื่อเกื้อกูลแก่ชนเป็นอันมาก เพื่อความสุขแก่เทวดา
และมนุษย์ทั้งหลาย ดูกรภิกษุทั้งหลาย อนึ่ง ภิกษุพวกนั้นยังประสพบุญเป็นอัน
มาก ทั้งชื่อว่าดำรงสัทธรรมนี้ไว้อีกด้วย ฯ


http://84000.org/tipitaka/pitaka2/v.php?B=20&A=1617&Z=1840&pagebreak=0







เกี่ยวกับพยัญชนะปฏิรูป หากสามารถนำมาใช้กระทำให้ถึงที่สุดแห่งทุกข์ได้
ชื่อว่า ดำรงพระสัทธรรม เพราะเหตุนี้


เช่น คำที่วลัยพร มักใช้ประจำ เกี่ยวกับ การหยุดสร้างเหตุนอกตัว ว่ากระทำเพื่ออะไร

คำที่วลัยพรกล่าวมานั้น "การหยุดสร้างเหตุนอกตัว" ก็เป็นพยัญชนะปฏิรูป
เพียงแต่ วลัยพรไม่นำไปทำให้เกิดเป็นเหตุของ การทำสัทธรรมปฏิรูป
คือ นำไปแทรกในเนื้อความ ที่พระผู้มีพระภาคเจ้า หรือ อัครสาวก แสดงไว้

แต่จะใช้วิธี แยกข้อคิดเห็น เป็นคำอธิบายออกมาต่างหากว่า
ที่กล่าวว่า การหยุดสร้างเหตุนอกตัว หมายถึงสิ่งใด ทำเพื่ออะไร ผลที่เกิดขึ้นตามมา คืออะไร


กล่าวในแง่ของภาคปฏิบัติ หรือ แง่ของการกระทำ
เมื่อนำคำใดมากล่าว ไม่ว่าจะรู้ด้วยตนเอง หรือ ได้ยิน ได้อ่านมาจากที่อื่น
ควรอธิบายว่า หมายถึงสิ่งใด ทำเพื่ออะไร ผลที่เกิดขึ้นตามมาคืออะไร

เหมือนกับการกล่าวทำนองว่า เพื่อให้เห็นอนิจจัง ทุกขัง อนัตตา ที่เกิดขึ้นตามความเป็นจริง

ก็ต้องมีคำอธิบายต่อไปอีกว่า เห็นเพื่ออะไร(กรณีมีคนถาม)
คือ หากคำตอบ ที่มีกลับมา มุ่งประเด็นไปสู่ การกระทำเพื่อดับเหตุแห่งทุกข์
(ไม่ใช่กล่าวแต่คำว่า เป็นปัจจัจตัง)


ถึงแม้จะเป็นพยัญชนะปฏิรูป หากเป็นเรื่องเกี่ยวกับ การกระทำเพื่อดับเหตุแห่งทุกข์
ซึ่งอาจใช้สำนวนชาวบ้าน ร้อยแก้ว กาพย์กลอน เป็นสำนวนที่ตนถนัดใช้
หากไม่นำไปสอดแทรกในพระธรรมคำสอน(ใส่ลงไปในพระธรรมคำสอน)

ก็ชื่อว่า เป็นการดำรงพระสัทธรรม

.....................................................
มิจฉาปณิหิตจิต จิตที่ตั้งไว้ผิด ย่อมตามพิชิตตัวเอง

สัตว์โลกย่อมเป็นไปตามกรรม ตามการกระทำของแต่ละคน (ตามความเป็นจริง)


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 09 พ.ค. 2014, 19:10 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ก.ค. 2006, 22:20
โพสต์: 5976

โฮมเพจ: http://walaiblog.blogspot.com/
แนวปฏิบัติ: กายคตาสติ
อายุ: 0
ที่อยู่: สมุทรปราการ

 ข้อมูลส่วนตัว


สิ่งที่ควรศึกษา

พระพุทธเจ้า ทรงตรัสกับพระสารีบุตร

[๒๘๑] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระวิหารเชตวัน
อารามของท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี ใกล้พระนครสาวัตถีสมัยนั้นแล ท่านพระ
สารีบุตรอยู่ที่ปราสาทของนางวิสาขา มิคารมารดาในบุพพาราม ใกล้พระนคร
สาวัตถี ณ ที่นั้นแล ท่านพระสารีบุตรได้เรียกภิกษุทั้งหลายมาว่า ดูกรผู้มีอายุ
ทั้งหลาย ภิกษุเหล่านั้นตอบรับท่านพระสารีบุตรแล้ว ท่านพระสารีบุตรได้กล่าวว่า
ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย เราจักแสดงบุคคลที่มีสังโยชน์ในภายใน และบุคคลที่มี
สังโยชน์ในภายนอก ท่านทั้งหลายจงฟัง จงใส่ใจให้ดี เราจักกล่าว ภิกษุเหล่านั้น
ตอบรับท่านพระสารีบุตรแล้ว ท่านพระสารีบุตรได้กล่าวว่า

ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย ก็บุคคลที่มีสังโยชน์ในภายในเป็นไฉน ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้
เป็นผู้มีศีล สำรวมแล้วในปาติโมกขสังวร ถึงพร้อมด้วยอาจาระและโคจร มีปรกติเห็นภัยใน
โทษเพียงเล็กน้อย สมาทานศึกษาอยู่ในสิกขาบททั้งหลาย

เมื่อแตกกายตายไปภิกษุนั้นย่อมเข้าถึงหมู่เทพหมู่ใดหมู่หนึ่ง ครั้นจุติจากอัตภาพนั้นแล้ว
เป็นอนาคามีกลับมาสู่ความเป็นผู้เช่นนี้ นี้เรียกว่าบุคคลผู้มีสังโยชน์ในภายใน
เป็นอนาคามี กลับมาสู่ความเป็นผู้เช่นนี้ ฯ


ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย ก็บุคคลผู้มีสังโยชน์ในภายนอกเป็นไฉน ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้
เป็นผู้มีศีล สำรวมแล้วในพระปาติโมกขสังวร ถึงพร้อมด้วย
อาจาระและโคจร มีปรกติเห็นภัยในโทษเพียงเล็กน้อย สมาทานศึกษาอยู่ใน
สิกขาบททั้งหลาย ภิกษุนั้นย่อมบรรลุเจโตวิมุติอันสงบอย่างใดอย่างหนึ่ง

เมื่อแตกกายตายไป ย่อมเข้าถึงหมู่เทพหมู่ใดหมู่หนึ่ง ครั้นจุติจากอัตภาพนั้นแล้ว เป็น
อนาคามีไม่กลับมาสู่ความเป็นผู้เช่นนี้ นี้เรียกว่า บุคคลผู้มีสังโยชน์ในภายนอก
เป็นอนาคามี ไม่กลับมาสู่ความเป็นผู้เช่นนี้ ฯ


ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย อีกประการหนึ่ง ภิกษุเป็นผู้มีศีล สำรวมแล้วใน
ปาติโมกขสังวร ถึงพร้อมด้วยอาจาระและโคจร มีปรกติเห็นภัยในโทษเพียง
เล็กน้อย สมาทานศึกษาอยู่ในสิกขาบททั้งหลาย

ภิกษุนั้นย่อมปฏิบัติเพื่อความหน่าย เพื่อคลาย เพื่อความดับกามทั้งหลาย
ย่อมปฏิบัติเพื่อความหน่าย เพื่อคลาย เพื่อความดับภพทั้งหลาย ย่อมปฏิบัติเพื่อสิ้นตัณหา
เพื่อสิ้นความโลภ

ภิกษุนั้นเมื่อแตกกายตายไป ย่อมเข้าถึงหมู่เทพหมู่ใดหมู่หนึ่ง ครั้นจุติจากอัตภาพ
นั้นแล้ว เป็นอนาคามี ไม่กลับมาสู่ความเป็นผู้เช่นนี้ ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย
นี้เรียกว่า บุคคลมีสังโยชน์ในภายนอก เป็นอนาคามี ไม่กลับมาสู่ความเป็นผู้
เช่นนี้ ฯ


ครั้งนั้นแล เทวดาที่มีจิตเสมอกันมากองค์เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่
ประทับ ถวายบังคมพระผู้มีพระภาคแล้ว ยืนอยู่ ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ครั้น
แล้วได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ท่านพระสารีบุตรนั่น
กำลังเทศนาถึงบุคคลที่มีสังโยชน์ในภายใน และบุคคลที่มีสังโยชน์ในภายนอก
แก่ภิกษุทั้งหลาย อยู่ที่ปราสาทของนางวิสาขามิคารมารดาในบุพพาราม ข้าแต่
พระองค์ผู้เจริญ บริษัทร่าเริง ขอประทานพระวโรกาส ขอพระผู้มีพระภาคจงทรง
พระกรุณา เสด็จไปหาท่านพระสารีบุตรจนถึงที่อยู่เถิด พระผู้มีพระภาคทรงรับคำ
อาราธนาด้วยดุษณีภาพ

ลำดับนั้นพระผู้มีพระภาคทรงหายจากพระเชตวันวิหารไปปรากฏเฉพาะหน้าท่านพระสารีบุตร
ที่ปราสาทของนางวิสาขามิคารมารดาในบุพพาราม เหมือนบุรุษมีกำลังเหยียดแขนที่คู้หรือคู้แขนที่เหยียดฉะนั้น พระผู้มีพระภาคประทับนั่งบนอาสนะที่ปูลาดไว้ แม้ท่านพระสารีบุตรก็ได้ถวายบังคมพระ
ผู้มีพระภาค แล้วนั่งลง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง

ครั้นแล้วพระผู้มีพระภาคได้ตรัสกะท่านพระสารีบุตรว่า
ดูกรสารีบุตร เทวดาที่มีจิตเสมอกันมากองค์เข้าไปหาเรา
จนถึงที่อยู่ ไหว้เราแล้วยืนอยู่ ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ครั้นแล้วบอกว่า ข้าแต่
พระองค์ผู้เจริญ ท่านพระสารีบุตรกำลังเทศนาถึงบุคคลที่มีสังโยชน์ในภายใน
และบุคคลที่มีสังโยชน์ในภายนอก แก่ภิกษุทั้งหลาย อยู่ที่ปราสาทของนาง
วิสาขามิคารมารดาในบุพพาราม

ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ บริษัทร่าเริง ขอประทานพระวโรกาส
ขอพระผู้มีพระภาคทรงพระกรุณาเสด็จไปหาท่านพระสารีบุตรจนถึงที่อยู่เถิด

ดูกรสารีบุตร ก็เทวดาเหล่านั้นยืนอยู่ในโอกาสแม้เท่าปลายเหล็กแหลมจดลง
๑๐ องค์บ้าง ๒๐ องค์บ้าง ๓๐ องค์บ้าง ๔๐ องค์บ้าง ๕๐ องค์บ้าง ๖๐ องค์บ้าง
แต่ก็ไม่เบียดกันและกัน

ดูกรสารีบุตร ก็เธอพึงมีความคิดอย่างนี้ว่า
จิตอย่างนั้น ซึ่งเป็นเหตุให้เทวดาเหล่านั้นยืนอยู่ได้ในโอกาสแม้เท่าปลายเหล็ก
แหลมจดลง ๑๐ องค์บ้าง ... ๖๐ องค์บ้าง
เป็นจิตอันเทวดาเหล่านั้นอบรมแล้วในภพนั้นแน่นอน
ดูกรสารีบุตร ก็ข้อนั้นเธอไม่ควรเห็นเช่นนี้

ดูกรสารีบุตร ก็จิตอย่างนั้น ซึ่งเป็นเหตุให้เทวดาเหล่านั้นยืนอยู่ได้ในโอกาสแม้เท่าปลายเหล็ก
แหลมจดลง ๑๐ องค์บ้าง ฯลฯ แต่ก็ไม่เบียดกันและกัน
เทวดาเหล่านั้นได้อบรมแล้วในศาสนานี้เอง

เพราะฉะนั้นแหละสารีบุตร เธอพึงศึกษาอย่างนี้ว่า
จักเป็นผู้มีอินทรีย์สงบ มีใจระงับอยู่ เธอควรศึกษาเช่นนี้แหละ สารีบุตร

กายกรรม วจีกรรม มโนกรรมของผู้มีอินทรีย์สงบ มีใจระงับ จักสงบระงับ
เพราะฉะนั้นแหละ สารีบุตร เธอพึงศึกษาว่า จักนำกายและจิตที่สงบระงับแล้วเท่านั้น
เข้าไปในพรหมจารีทั้งหลาย ดูกรสารีบุตร เธอควรศึกษาเช่นนี้แหละ

ดูกรสารีบุตร พวกอัญญเดียรถีย์ปริพาชกที่ไม่ได้ฟังธรรมบรรยายนี้ ได้พากันฉิบหายเสียแล้ว ฯ


http://84000.org/tipitaka/pitaka2/v.php ... agebreak=0



หมายเหตุ:

เหตุที่พระองค์ ทรงตรัสกับพระสารีบุตรเช่นนี้ว่า

"เพราะฉะนั้นแหละสารีบุตร เธอพึงศึกษาอย่างนี้ว่า
จักเป็นผู้มีอินทรีย์สงบ มีใจระงับอยู่

เธอควรศึกษาเช่นนี้แหละ สารีบุตร
กายกรรม วจีกรรม มโนกรรมของผู้มีอินทรีย์สงบ มีใจระงับ จักสงบระงับ

เพราะฉะนั้นแหละ สารีบุตร เธอพึงศึกษาว่า จักนำกายและจิตที่สงบระงับแล้วเท่านั้น
เข้าไปในพรหมจารีทั้งหลาย ดูกรสารีบุตร เธอควรศึกษาเช่นนี้แหละ"

เพราะสิ่งที่พระสารีบุตร ได้พูดไปแล้ว เกี่ยวกับพระอนาคามี
เป็นเรื่องของ ผู้ที่มีเหตุแห่งภพ(การเกิด) บังเกิดขึ้นอยู่

เมื่อเป็นดังนี้ พระผู้มีพระภาค จึงทรงตรัสต่อไปว่า

"ดูกรสารีบุตร พวกอัญญเดียรถีย์ปริพาชกที่ไม่ได้ฟังธรรมบรรยายนี้ ได้พากันฉิบหายเสียแล้ว ฯ"

หมายถึง ผู้ที่ไม่ได้ฟังธรรมบรรยาย ที่พระองค์ทรงตรัสกับพระสารีบุตร(คือ ฟังแค่คำที่สารีบุตรกล่าวไป)

ได้พากันฉิบหายเสียแล้ว หมายถึง หากพอใจติดอยู่แค่พระอนาคามี ไม่มุ่งกระทำเพื่อให้ถึงที่สุดแห่งทุกข์

เหตุแห่งภพ(การเกิด) ย่อมมีบังเกิดขึ้นอยู่ พระองค์จึงทรงตรัสว่า ได้พากันฉิบหายเสียแล้ว เพราะเหตุนี้

.....................................................
มิจฉาปณิหิตจิต จิตที่ตั้งไว้ผิด ย่อมตามพิชิตตัวเอง

สัตว์โลกย่อมเป็นไปตามกรรม ตามการกระทำของแต่ละคน (ตามความเป็นจริง)


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 09 พ.ค. 2014, 19:39 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ก.ค. 2006, 22:20
โพสต์: 5976

โฮมเพจ: http://walaiblog.blogspot.com/
แนวปฏิบัติ: กายคตาสติ
อายุ: 0
ที่อยู่: สมุทรปราการ

 ข้อมูลส่วนตัว


หากผู้ใดชอบศึกษาพระไตรปิฎก ลองโยงเนื้อความ คำที่พระองค์ทรงใช้ในการสอน
ธรรมที่พระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงตรัสไว้ ทั้งหมด

ไม่ว่าจะเป็นเรื่อง ขันธ์ ๕

อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา

สุญญตา

ปฏิจจสมุปบาท

อริยสัจ ๔

นิพพาน

ทุกพระธรรมคำสอน ขมวดลงที่ ผัสสะ เป็นเหตุปัจจัย


เหตุปัจจัยจาก ความไม่รู้ชัดในสิ่งที่เรียกว่า ผัสสะ
เพราะสิ่งนี้มี สิ่งนี้จึงมีบังเกิดขึ้นทันที

เหตุจาก อวิชชา ที่มีอยู่
เป็นเหตุปัจจัยให้ ไม่รู้ชัดใน สิ่งที่เรียกว่า ผัสสะ


ฉะนั้น ในบางตำรา จึงมีคำกล่าวประมาณว่า

ผู้ที่อวิชชา ถูกทำลายลง ครั้งที่หนึ่ง คือ โสดาบัน

อวิชชา ถูกทำลายลง ครั้งที่สอง คือ สกทาคามี

อวิชชา ถูกทำลายลง ครั้งที่สาม คือ อนาคามี

อวิชชา ถูกทำลายลง ครั้งที่สี่ คือ อรหันต์


เมื่อเป็นดังนี้ เพราะอวิชชา เป็นเหตุปัจจัย ทำให้ไม่รู้ชัดในสิ่งที่เรียกว่า ผัสสะ
เพราะความไม่รู้ชัดในผัสสะที่เกิดขึ้นนี้ บุคลลเป็นจำนวนมาก จึงติดกับดักของผัสสะต่างๆ ที่เกิดขึ้น ขณะจิตเป็นสมาธิอยู่

ความสำคัญมั่นหมาย ในผัสสะ ที่เกิดขึ้น
เป็นเหตุปัจจัยให้ ติดกับดักอุปกิเลส

เหตุปัจจัยจาก การให้ความสำคัญหมายมั่นต่อผัสสะที่เกิดขึ้น
ทำให้หลงคิดว่า ได้อะไร เป็นอะไร ตามคำเรียก ที่มีปรากฏอยู่ในพระไตรปิฎก

อุปกิเลส มีบังเกิดขึ้น เพราะเหตุนี้
เหตุจาก อวิชชา ที่มีอยู่ เป็นเหตุให้ ไม่รู้ชัดในผัสสะที่เกิดขึ้น
เป็นเหตุให้ เวทนา ตัณหา อุปทาน ภพ มีบังเกิดขึ้น เพราะเหตุนี้

หากกลับมาทบทวนคำสอน ที่พระพุทธเจ้า ทรงทิ้งเป็นแนวทางไว้ให้
ดังเช่นที่พระผู้มีพระภาค ทรงตรัสสอนพระสารีบุตรว่า

"เพราะฉะนั้นแหละสารีบุตร เธอพึงศึกษาอย่างนี้ว่า
จักเป็นผู้มีอินทรีย์สงบ มีใจระงับอยู่ เธอควรศึกษาเช่นนี้แหละ สารีบุตร

กายกรรม วจีกรรม มโนกรรมของผู้มีอินทรีย์สงบ มีใจระงับ จักสงบระงับ
เพราะฉะนั้นแหละ สารีบุตร เธอพึงศึกษาว่า จักนำกายและจิตที่สงบระงับแล้วเท่านั้น
เข้าไปในพรหมจารีทั้งหลาย ดูกรสารีบุตร เธอควรศึกษาเช่นนี้แหละ "

http://84000.org/tipitaka/pitaka2/v.php ... agebreak=0



วิธีการทบทวน คือ ให้ทบทวนสิ่งที่คิดว่ามี คิดว่าเป็น คิดว่าใช่ คิดว่ารู้
สิ่งต่างๆ ที่คิดมานั้น สามารถนำมากระทำเพื่อ กระทำให้ถึงที่สุดแห่งทุกข์ได้ไหม กล่าวคือ

จักเป็นผู้มีอินทรีย์สงบ มีใจระงับอยู่

กายกรรม วจีกรรม มโนกรรมของผู้มีอินทรีย์สงบ มีใจระงับ จักสงบระงับ

จักนำกายและจิตที่สงบระงับแล้วเท่านั้น เข้าไปในพรหมจารีทั้งหลาย

.....................................................
มิจฉาปณิหิตจิต จิตที่ตั้งไว้ผิด ย่อมตามพิชิตตัวเอง

สัตว์โลกย่อมเป็นไปตามกรรม ตามการกระทำของแต่ละคน (ตามความเป็นจริง)


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 20 พ.ค. 2014, 08:10 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ก.ค. 2006, 22:20
โพสต์: 5976

โฮมเพจ: http://walaiblog.blogspot.com/
แนวปฏิบัติ: กายคตาสติ
อายุ: 0
ที่อยู่: สมุทรปราการ

 ข้อมูลส่วนตัว


พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย ทสก-เอกาทสกนิบาต เล่ม ๕ - หน้าที่ 3

อา. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ก็นิพพิทาวิราคะมีอะไรเป็นผล มีอะไร เป็นอานิสงส์.

พ. ดูก่อนอานนท์ นิพพิทาวิราคะ มีวิมุตติญาณทัสสนะเป็นผล มีวิมุตติญาณทัสสนะเป็นอานิสงส์


ดูก่อนอานนท์ ศีลที่เป็นกุศล มีอวิปปฏิสาร(ความไม่ร้อนใจ)เป็นผล มีอวิปปฏิสารเป็นอานิสงส์

อวิปปฏิสารมีปราโมทย์(ความบันเทิงใจ)เป็นผล มีปราโมทย์เป็นอานิสงส์

ปราโมทย์มีปีติ(ความอิ่มใจ)เป็นผล มีปีติเป็นอานิสงส์

ปีติมีปัสสัทธิ(ความสงบกายสงบใจ)เป็นผล มีปัสสัทธิเป็นอานิสงส์

ปัสสัทธิมีสุขเป็นผล มีสุขเป็นอานิสงส์

สุขมีสมาธิเป็นผล มีสมาธิเป็นอานิสงส์

สมาธิมียถาภูตญาณทัสสนะ(ความรู้ ความเห็น ตามความเป็นจริง)เป็นผล

มียถาภูตญาณทัสสนะเป็นอานิสงส์

ยถาภูตญาณทัสสนะ มีนิพพิทาวิราคะ(ความเบื่อหน่าย)เป็นผล

มีนิพพิทาวิราคะเป็นอานิสงส์ นิพพิทาวิราคะ(ความคลายกำหนัด)

มีวิมุตติญาณทัสสนะเป็นผล(ความรู้ความเห็นในวิมุตติ)


ดูก่อนอานนท์ ศีลที่เป็นกุศล ย่อมถึงอรหัตโดยลำดับ

ด้วยประการดังนี้แล.



หมายเหตุ:

แนวทางการปฏิบัติ การดับภพชาติปัจจุบัน โดยการ ไม่สร้างเหตุออกไป ตามความรู้สึกนึกคิดที่เกิดขึ้น
ที่เกิดจาก ผัสสะ(สิ่งที่เกิดขึ้น) เป็นเหตุปัจจัย

ขณะที่หยุดสร้างเหตุนอกตัว ชั่วขณะนั้น สภาวะโพธิปักขิยธรรม ๓๗ ประการ
เกิดขึ้นเอง ตามความเป็นจริง ของเหตุปัจจัย ที่ได้กระทำลงไป ได้แก่ การหยุดสร้างเหตุนอกตัว

บทว่า อริยกนฺตานิ สีลานิ ได้แก่ สีลสัมปยุตด้วยมรรคและผล.

เมื่อหยุดสร้างเหตุเนืองๆ สภาวะเหล่านี้ จึงเกิดขึ้น ตามเหตุปัจจัย




ศิล และการเกิดสภาวะศิล



ศิล

กล่าวในแง่ของ ปริยัติ

ศีล (บาลี: สีล) คือข้อปฏิบัติตนขั้นพื้นฐานในทางพระพุทธศาสนา เพื่อควบคุมความประพฤติทางกายและวาจาให้ตั้งอยู่ในความดีงามมีความปกติสุข

เพื่อให้เป็นกติกาข้อห้ามที่ใช้แก้ปัญหาขั้นพื้นฐาน 5 ปัญหาหลัก ซึ่งทำให้เกิดความสงบสุข และ ไม่มีการเบียดเบียนซึ่งกันและกันในสังคม

ความหมายของศีลนั้นแปลได้หลายความหมาย โดยศัพท์แปลว่า ความปกติกายวาจา กล่าวคือความปกติตามระเบียบวินัย, ปกติมารยาทที่สะอาดปราศจากโทษ, ข้อปฏิบัติในการเว้นจากความชั่ว,
ข้อปฏิบัติในการฝึกหัดกายวาจาให้ดียิ่งขึ้น, ความสุจริตทางกายวาจาและอาชีพ และยังมักใช้เป็นคำเรียกอย่างง่ายสำหรับคำว่า "อธิศีลสิกขา" อันได้แก่ข้อปฏิบัติขั้นต้นเพื่อการฝึกตนในทางพระพุทธศาสนาด้วย.



ศิล

กล่าวในแง่ของสภาวะ(ลักษณะอาการที่เกิดขึ้น)



เหตุของการเกิด สภาวะศิล


ศิล เกิดจาก ตั้งใจทำให้เกิดขึ้น ๑ ไม่ได้ตั้งใจ ทำให้เกิดขึ้น ๑

๑. ตั้งใจทำให้เกิดขึ้น ได้แก่ การสมาทาน เช่น ข้าพเจ้าขอสมาทาน ....

๒. ไม่ได้ตั้งใจ ทำให้เกิดขึ้น แต่ เกิดขึ้นเอง ตามเหตุปัจจัย ได้แก่
เมื่อมีสิ่งมากระทบ หรือ ผัสสะเกิดขึ้นทาง ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ
เป็นเหตุให้ มีความรู้สึกยินดี/ยินร้าย เกิดขึ้น

โดยมี ตัณหาหรือกิเลส เป็นแรงผลักดัน ให้เกิดการกระทำ เช่น ทางความคิด เรียกว่า มโนกรรม
แต่ ไม่ได้สร้างเหตุออกไปทาง วจีกรรม กายกรรม ตามความรู้สึก นึกคิด ที่เกิดขึ้น ณ ขณะนั้นๆ

เหตุของการกระทำเช่นนี้ เป็นเหตุให้
สภาวะศิล เกิดขึ้นเอง ตามความเป็นจริง ตามเหตุปัจจัย


ในดี มีเสีย ในเสียมีดี

ตราบใด ที่ยังมีกิเลส ๒ สิ่งนี้ เกิดขึ้น เป็นคู่เสมอๆ ได้แก่ โลกธรรม ๘ คือ
ดีกับเสีย กล่าวคือ ในดี มีเสีย ในเสียมีดี


การตั้งใจสมาทาน

ข้อดี ของการตั้งใจสมาทานศิล

เป็นเหตุให้ เป็นผู้สังวร สำรวม ระวัง จะทำอะไรก็มีความตั้งใจทำ
เป็นผู้มีสัจจะ เป็นผู้มีสุคติภพ อย่างแน่นอน

ข้อเสีย ของการตั้งใจสมาทาน แต่ทำไม่ได้ ตามที่ได้สมาทานไว้ เป็นเหตุให้
เป็นคนเหลาะแหละ ผลัดวันประกันพรุ่ง ไม่มีสัจจะ


การไม่ได้ตั้งใจสมาทาน

ข้อดี การเกิดสภาวะศิล ที่เกิดขึ้น ตามความเป็นจริง (ตามเหตุปัจจัย)

๑. เป็นเหตุให้ มรรค มีองค์ ๘ เกิดขึ้น (ตามเหตุปัจจัย)

๒. เป็นเหตุให้ ภพชาติ ณ ปัจจุบันชาติ สั้นลง (ตามเหตุปัจจัย)

๓. เป็นเหตุให้เป็นผู้มีสติ สัมปชัญญะดี (ตามเหตุปัจจัย)

๔. เป็นเหตุให้ สมาธิเกิดขึ้นเอง ตามเหตุปัจจัย (ตามเหตุปัจจัย)

๕. เป็นเหตุให้ หิริ โอตตัปปะ มีกำลังมากขึ้น เป็นเหตุให้
เป็นผู้มีความละอาย และเกรงกลัวต่อบาป ทั้งต่อหน้า และลับหลัง

๖. เป็นเหตุให้ ชีวิต ความเป็นอยู่ ดีขึ้น (ตามเหตุปัจจัย)

๗. เป็นเหตุให้ เกิดปัญญา คือ การเห็นตามความเป็นจริง ได้แก่
สภาวะไตรลักษณ์ ที่เกิดขึ้น ตามความเป็นจริง (ตามเหตุปัจจัย)

๘. เป็นเหตุให้ เกิดสภาวะ จิตปล่อยวาง ตามความเป็นจริง (ตามเหตุปัจจัย)

๙. เป็นเหตุให้ เห็นตามความเป็นจริงของทุกสรรพสิ่ง ได้แก่
สิ่งใดเกิดขึ้น สิ่งนั้น ย่อมดับลงไป เป็นธรรมดา (ตามเหตุปัจจัย)

๑๐. เป็นเหตุให้ เป็นผู้มี สุคติภพ อย่างแน่นอน (ตามเหตุปัจจัย)

๑๑. เป็นเหตุของ การเวียนว่าย ในวัฏฏสงสาร สั้นลง (ตามเหตุปัจจัย)


ข้อเสีย ถ้าหากยังยอมรับตามความเป็นจริง ยังไม่ได้ ผลคือ
ความทุกข์ใจ ที่เกิดขึ้นเนืองๆ ในช่วงแรกๆ

แต่เมื่อใช้ขันติ หรือ ความอดทนอย่างต่อเนื่อง
ทุกๆสภาวะที่กล่าวมา จะเกิดขึ้นเอง ตามเหตุปัจจัย

.....................................................
มิจฉาปณิหิตจิต จิตที่ตั้งไว้ผิด ย่อมตามพิชิตตัวเอง

สัตว์โลกย่อมเป็นไปตามกรรม ตามการกระทำของแต่ละคน (ตามความเป็นจริง)


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 27 พ.ค. 2014, 08:22 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ก.ค. 2006, 22:20
โพสต์: 5976

โฮมเพจ: http://walaiblog.blogspot.com/
แนวปฏิบัติ: กายคตาสติ
อายุ: 0
ที่อยู่: สมุทรปราการ

 ข้อมูลส่วนตัว


ภพ

ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ! พระผูมี้พระภาคเจ้ากล่าวอยู่ว่า
‘ภพ–ภพ’ ดังนี้ ภพ ย่อมมีได้
ด้วยเหตุเพียงเท่าไรเล่า พระเจ้าข้า !

อานนท์ ! ถ้ากรรมมีกามธาตุเป็นวิบาก
จักไม่ได้มีแล้วไซร้
กามภพ จะพึงปรากฏได้แลหรือ ?

หามิได้ พระเจ้าข้า !

อานนท์ ! ด้วยเหตุนี้แหละ
กรรมจึงเป็นเนื้อนา
วิญญาณเป็นเมล็ดพืช
ตัณหาเป็นยางของพืช (สำหรับหล่อเลี้ยงเชื้องอก)

ความเจตนาก็ดี
ความปรารถนาก็ดี
ของสัตว์ทั้งหลาย

ที่มีอวิชชาเป็นเครื่องกั้น
มีตัณหาเป็นเครื่องผูก
ตั้งอยู่แล้วด้วยธาตุชั้นทราม (กามธาตุ)

การบังเกิดขึ้นในภพใหม่ต่อไป
ย่อมมีได้ ด้วยอาการอย่างนี้.

อานนท์ ! ถ้ากรรมมีรูปธาตุเป็นวิบาก
จักไม่ได้มีแล้วไซร้
รูปภพ จะพึงปรากฏได้แลหรือ ?

หามิได้ พระเจ้าข้า !

อานนท์ ! ด้วยเหตุนี้แหละ
กรรมจึงเป็นเนื้อนา
วิญญาณเป็นเมล็ดพืช
ตัณหาเป็นยางของพืช

ความเจตนาก็ดี
ความปรารถนาก็ดี
ของสัตว์ทั้งหลาย

ที่มีอวิชชาเป็นเครื่องกั้น
มีตัณหาเป็นเครื่องผูก
ตั้งอยู่แล้วด้วยธาตุชั้นกลาง (รูปธาตุ)
การบังเกิดขึ้นในภพใหม่ต่อไป
ย่อมมีได้ ด้วยอาการอย่างนี้.

อานนท์ ! ถ้ากรรมมีอรูปธาตุเป็นวิบาก
จักไม่ได้มีแล้วไซร้
อรูปภพ จะพึงปรากฏได้แลหรือ ?

หามิได้ พระเจ้าข้า !

อานนท์ ! ด้วยเหตุนี้แหละ
กรรมจึงเป็นเนื้อนา
วิญญาณเป็นเมล็ดพืช
ตัณหาเป็นยางของพืช

ความเจตนาก็ดี
ความปรารถนาก็ดีของสัตว์ทั้งหลาย

ที่มีอวิชชาเป็นเครื่องกั้น
มีตัณหาเป็นเครื่องผูก
ตั้งอยู่แล้วด้วยธาตุชั้นประณีต (อรูปธาตุ)

การบังเกิดขึ้นในภพใหมต่อ ไป
ย่อมมีได้ ด้วยอาการอย่างนี้.

อานนท์ ! ภพ ย่อมมีได้ ด้วยอาการอย่างนี้แล.
ติก. อํ. ๒๐/๒๘๘/๕๑๗.

.....................................................
มิจฉาปณิหิตจิต จิตที่ตั้งไว้ผิด ย่อมตามพิชิตตัวเอง

สัตว์โลกย่อมเป็นไปตามกรรม ตามการกระทำของแต่ละคน (ตามความเป็นจริง)


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 27 พ.ค. 2014, 08:25 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ก.ค. 2006, 22:20
โพสต์: 5976

โฮมเพจ: http://walaiblog.blogspot.com/
แนวปฏิบัติ: กายคตาสติ
อายุ: 0
ที่อยู่: สมุทรปราการ

 ข้อมูลส่วนตัว


เครื่องนำไปสู่ภพ


ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ !
พระองค์ตรัสอยู่ว่า
‘เครื่องนำไปสู่ภพ เครื่องนำไปสู่ภพ’ ดังนี้

ก็เครื่องนำไปสู่ภพ เป็นอย่างไรพระเจ้าข้า !
และความดับไม่เหลือของเครื่องนำไปสู่ภพนั้น
เป็นอย่างไรเล่า พระเจ้าข้า !

ราธะ ! ฉันทะ (ความพอใจ) ก็ดี
ราคะ (ความกำหนัด) ก็ดี
นันทิ (ความเพลิน) ก็ดี
ตัณหา (ความอยาก)ก็ดี
อุปายะ (กิเลสเป็นเหตุเข้าไปสู่ภพ)
และอุปาทาน(ความถือมั่นด้วยอำนาจกิเลส)

อันเป็นเครื่องตั้งทับ
เครื่องเข้าไปอาศัย
และเครื่องนอนเนื่องแห่งจิตก็ดีใดๆ
ในรูป ในเวทนา ในสัญญา ในสังขารทั้งหลาย และในวิญญาณ
กิเลสเหล่านี้ นี่เราเรียกว่า ‘เครื่องนำไปสู่ภพ’

ความดับไม่เหลือของเครื่องนำไปสู่ภพ
มีได้เพราะความดับไม่เหลือของกิเลส
มีฉันทะ ราคะ เป็นต้น เหล่านั้นเอง.
ขนฺธ. สํ. ๑๗/๒๓๓/๓๖๘.

.....................................................
มิจฉาปณิหิตจิต จิตที่ตั้งไว้ผิด ย่อมตามพิชิตตัวเอง

สัตว์โลกย่อมเป็นไปตามกรรม ตามการกระทำของแต่ละคน (ตามความเป็นจริง)


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 27 พ.ค. 2014, 10:22 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


อ้างคำพูด:
หากใครต้องการนำสำนวนของตนเองและอาจารย์ของตนเอง มาแสดงในข้อสนทนา
จะด้วยเหตุอันใด ก็ตาม กรุณาไปตั้งกระทู้ใหม่

บอกก่อน

หากผู้ใด นำพระธรรมคำสอน ที่พระพุทธเจ้าทรงตรัสไว้ ที่มีอยู่ในพระไตรปิฎก
เมื่อนำมาอธิบาย ให้ความหมายตามที่ตนคิดว่า น่าจะตรงกับคำเรียกที่พระพุทธเจ้า ทรงตรัสไว้

ช่วยแยกความคิดเห็นของตน ออกจากพระธรรมคำสอน
อย่านำไปปะปน ในพระธรรมคำสอน



นี่อยู่ในพระไตรปิฎกมั้ย เป็นใบไม้ในกำมือหรือใบไม้นอกกำมือเนื่่ยะนะ

อ้างคำพูด:
คือดิฉัน สวดมนต์ นั่งสมาธิ อยู่ที่บ้าน ไปปฏิบัติธรรมทีวัดบ้างบางโอกาส แล้วมีอาการเกิดขึ้นกับดิฉัน คือ เริ่มจมูกตึงหน่วง แล้วก็หน้าผากตึงหน่วง และสักระยะก็เกิดตึงหน่วงไปทั่วศรีษะ โดยเฉาพะกลางกระหม่อมตึงมาก แล้วรู้สึกบริเวณคอเหมือนมีก้อนอะไรสักอย่างเกิดขึ้นตรงลำคอ ทำให้รู้สึกไม่สบายคอเลย แล้วสักระยะผ่านไปก็มีอาการกระตุก เหมือนมีชีพจรเต้นตรงจุดกลางระหว่าง รูถวารกับอวัยวะเพศ และก้นกบ และก็มีอาการกระตุกบริเวณใต้สะดือ หรือบางครั้งก็รู้สึกว่าหัวใจเต้นแรงมาก จนตัวร่างกายโยกตามแรงเต้นของหัวใจ ซึ่งอาการเหล่านี้ดิฉันไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อน แต่มาเป็นก็เลยกังวล เกิดจากอะไร และจะมีอันตรายอะไรหรือเปล่าคะ เพราะพักหลังๆดิฉันฝันแปลกๆบ่อย ฝันเห็นเทพ เห็นเทวดา วิญญาน พญานาค อะไรประมาณนี้ ก็ไม่รู้ว่าสื่อถึงอะไร เชื่อถือได้หรือเปล่า ไม่ได้คิดอะไรมากนะคะ แต่มันฝันขึ้นมาเอง เคยหลับตาสวดมนต์ไปแล้วรู้สึกเหมือนตัวเองหลับไป แต่ใจรู้ตัวว่านั่งสวดมนต์อยู่ จู่ๆก็ได้ยินตัวเองสวดมนต์บทที่เราเองไม่เคยได้ยิน และไม่เคยสวดแต่ปากมันสวด หูก็ได้ยิน เกิดแอ๊ะใจ สงสัยขึ้นมา ก็เลยกลับมาสู่สภาพเดิม คือเรานั่งอยู่ ก็ลืมตาขึ้น แปลกใจว่าเรานั่งหลับไปหรือเปล่า งงค่ะ ช่วยแนะนำหน่อยคะ


บอกวิธีทำให้พ้นจากทุกข์นี้ด้วย :b1:

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 27 พ.ค. 2014, 10:25 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


walaiporn เขียน:
เครื่องนำไปสู่ภพ


ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ !
พระองค์ตรัสอยู่ว่า
‘เครื่องนำไปสู่ภพ เครื่องนำไปสู่ภพ’ ดังนี้

ก็เครื่องนำไปสู่ภพ เป็นอย่างไรพระเจ้าข้า !
และความดับไม่เหลือของเครื่องนำไปสู่ภพนั้น
เป็นอย่างไรเล่า พระเจ้าข้า !

ราธะ ! ฉันทะ (ความพอใจ) ก็ดี
ราคะ (ความกำหนัด) ก็ดี
นันทิ (ความเพลิน) ก็ดี
ตัณหา (ความอยาก)ก็ดี
อุปายะ (กิเลสเป็นเหตุเข้าไปสู่ภพ)
และอุปาทาน(ความถือมั่นด้วยอำนาจกิเลส)

อันเป็นเครื่องตั้งทับ
เครื่องเข้าไปอาศัย
และเครื่องนอนเนื่องแห่งจิตก็ดีใดๆ
ในรูป ในเวทนา ในสัญญา ในสังขารทั้งหลาย และในวิญญาณ
กิเลสเหล่านี้ นี่เราเรียกว่า ‘เครื่องนำไปสู่ภพ’

ความดับไม่เหลือของเครื่องนำไปสู่ภพ
มีได้เพราะความดับไม่เหลือของกิเลส
มีฉันทะ ราคะ เป็นต้น เหล่านั้นเอง.
ขนฺธ. สํ. ๑๗/๒๓๓/๓๖๘.



ตามทีลอกมานี่แหละ ภพ ตามที่วลัยพรคิดหมาย หมายถึงอะไร :b1:

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 03 มิ.ย. 2014, 09:54 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ก.ค. 2006, 22:20
โพสต์: 5976

โฮมเพจ: http://walaiblog.blogspot.com/
แนวปฏิบัติ: กายคตาสติ
อายุ: 0
ที่อยู่: สมุทรปราการ

 ข้อมูลส่วนตัว


สภาวะ

คำว่า สภาวะ หมายถึง สิ่งที่เกิดขึ้นในชีวิต ประจำวัน ในแต่ละขณะ

ไม่ว่าสิ่งนั้น ทำให้เกิดความรู้สึกนึกคิด หรือ ไม่มีความรู้สึกนึกคิด เกิดขึ้น ก็ตาม
ตั้งแต่ลืมตาตื่น จนกระทั่งหลับ ขณะที่กำลังหลับ

และที่มีเกิดขึ้น ขณะจิตเป็นสมาธิอยู่


สิ่งที่เรียกว่า สภาวะ เป็นลักษณะอาการที่เกิดขึ้น ที่มีสภาพธรรมตามความเป็นจริง
ของสิ่ง ที่เรียกว่า ผัสสะ

ตามคำสอน ที่พระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงทิ้งเป็นแนวทางไว้ เป็นร่องรอย
ซึ่งมีปรากฏอยู่ในพระไตรปิฎก จนถึงปัจจุบันนี้


การเริ่มต้นแกะรอย ตามคำสอนที่พระผู้มีพระภาคเจ้า
จึงเริ่มต้นจาก ผัสสะ

เนื่องจาก ผัสสะ เป็นจุดเริ่มต้น ของการสร้างเหตุแห่งภพชาติปัจจุบัน ให้เกิดขึ้น

และผลของการสร้างเหตุภพชาติปัจจุบัน ให้เกิดขึ้น เป็นเหตุปัจจัย ให้เกิดการเวียนว่าย ในสังสารวัฏ

หากจะแก้ ให้แก้ที่ต้นเหตุ คือ แก้ที่ปัจจุบัน(ธรรมปัจจุบัน ได้แก่ ผัสสะ)

ได้แก่ การดับเหตุปัจจัย ที่ทำให้เกิด การสร้างเหตุภพชาติปัจจุบัน ให้เกิดขึ้น
กล่าวคือ การไม่สร้างเหตุออกไป(วจีกรรม กายกรรม) ตามความรู้สึกนึกคิด
ที่เกิดขึ้น จาก ผัสสะ เป็นเหตุปัจจัย

มโนกรรม(ความรู้สึกนึกคิด) เป็นเรื่องของเหตุปัจจัยที่มีอยู่(สังโยชน์) ห้ามไม่ได้ แค่รู้ว่า มีอยู่
วจีกรรม กายกรรม สามารถห้ามได้ หากรู้ชัด ในผัสสะที่เกิดขึ้น



ฉะนั้น จึงควรเริ่มต้นศึกษาที่ ผัสสะ ว่า

เพราะอะไร เป็นเหตุปัจจัย เมื่อมีผัสสะเกิด

ทำไม สิ่งที่เกิดขึ้น จึงทำให้เกิดความรู้สึกนึกคิด และ ไม่ทำให้เกิดความรู้สึกนึกคิด
ทั้งที่บางครั้ง สิ่งที่เกิดขึ้น เป็นสิ่งเดียวกันแท้ๆ แค่มีเกิดขึ้นคนละขณะ

การเริ่มต้นศึกษา ควรเริ่มต้นจาก คำสอนที่พระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงทิ้งเป็นแนวทางไว้ให้

เกี่ยวกับว่าด้วย ผัสสะ และอุบาย ที่ใช้เป็นเครื่องสลัดออกแห่ง ผัสสะ ที่เกิดขึ้น

การกระทำ เพื่อดับเหตุแห่งทุกข์ และกระทำเพื่อให้ถึงที่สุดแห่งทุกข์
จึงเริ่มต้นที่ ผัสสะ



ผัสสายตนสูตรที่ ๓


[๘๗] พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย
ก็ภิกษุรูปใดรูปหนึ่ง ไม่ทราบชัดความเกิด ความดับ คุณ โทษ
และอุบายเครื่องสลัดออกแห่ง ผัสสายตนะ ๖ ตามความเป็นจริง
พรหมจรรย์อันเธอไม่อยู่จบแล้ว เธอเป็นผู้ไกล จากธรรมวินัยนี้

เมื่อพระผู้มีพระภาคตรัสอย่างนี้แล้ว ภิกษุรูปหนึ่งได้กราบทูล
พระผู้มีพระภาคว่า

ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์เป็นผู้ฉิบหายแล้วในธรรมวินัยนี้
เพราะข้าพระองค์ไม่ทราบชัดความเกิด ความดับ คุณ โทษ
และอุบายเครื่องสลัดออกแห่งผัสสายตนะ ๖ ตามความเป็นจริง ฯ

พ. ดูกรภิกษุ เธอจะสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน จักษุเที่ยงหรือ ไม่เที่ยง ฯ
ภิ. ไม่เที่ยง พระเจ้าข้า ฯ
พ. ก็สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้นเป็นทุกข์หรือเป็นสุขเล่า ฯ
ภิ. เป็นทุกข์ พระเจ้าข้า ฯ
พ. ก็สิ่งใดไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปรปรวนเป็นธรรมดา ควรหรือ
หนอที่จะตามเห็นสิ่งนั้นว่า นั่นของเรา นั่นเป็นเรา นั่นเป็นตัวตนของเรา ฯ
ภิ. ไม่ควรเห็นอย่างนั้น พระเจ้าข้า ฯ
พ. หู จมูก ลิ้น กาย ใจ เที่ยงหรือไม่เที่ยง ฯ
ภิ. ไม่เที่ยง พระเจ้าข้า ฯ
พ. ก็สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้นเป็นทุกข์หรือเป็นสุขเล่า ฯ
ภิ. เป็นทุกข์ พระเจ้าข้า ฯ
พ. ก็สิ่งใดไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปรปรวนเป็นธรรมดา ควรหรือ
หนอที่จะตามเห็นสิ่งนั้นว่า นั่นของเรา นั่นเป็นเรา นั่นเป็นตัวตนของเรา ฯ
ภิ. ไม่ควรเห็นอย่างนั้น พระเจ้าข้า ฯ
พ. ดูกรภิกษุ อริยสาวกผู้ได้สดับแล้ว เห็นอยู่อย่างนี้ ย่อมเบื่อหน่าย
แม้ในจักษุ แม้ในหู แม้ในจมูก แม้ในลิ้น แม้ในกาย แม้ในใจ เมื่อเบื่อหน่าย
ย่อมคลายกำหนัด เพราะคลายกำหนัดจึงหลุดพ้น เมื่อหลุดพ้นแล้ว ย่อมมีญาณ
หยั่งรู้ว่าหลุดพ้นแล้ว รู้ชัดว่า ชาติสิ้นแล้ว พรหมจรรย์อยู่จบแล้ว กิจที่ควรทำ
ทำเสร็จแล้ว กิจอื่นเพื่อความเป็นอย่างนี้มิได้มี ฯ


http://www.84000.org/tipitaka/pitaka_it ... agebreak=0

.....................................................
มิจฉาปณิหิตจิต จิตที่ตั้งไว้ผิด ย่อมตามพิชิตตัวเอง

สัตว์โลกย่อมเป็นไปตามกรรม ตามการกระทำของแต่ละคน (ตามความเป็นจริง)


แก้ไขล่าสุดโดย walaiporn เมื่อ 03 มิ.ย. 2014, 10:46, แก้ไขแล้ว 1 ครั้ง

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 03 มิ.ย. 2014, 10:08 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ก.ค. 2006, 22:20
โพสต์: 5976

โฮมเพจ: http://walaiblog.blogspot.com/
แนวปฏิบัติ: กายคตาสติ
อายุ: 0
ที่อยู่: สมุทรปราการ

 ข้อมูลส่วนตัว


ความรู้ชัดใน ผัสสะ


โกศลสูตรที่ ๑

ดูกรภิกษุทั้งหลาย สมณพราหมณ์พวกหนึ่งบัญญัติ
นิพพานอันยวดยิ่ง ในปัจจุบันมีอยู่

ดูกรภิกษุทั้งหลาย ความหลุดพ้นเพราะไม่ถือมั่น
เพราะรู้ความเกิด ความดับ คุณ โทษ และอุบายเครื่องสลัดออกแห่งผัสสายตนะ ๖ ประการ
เลิศกว่าการบัญญัตินิพพานอันยอดยิ่ง ในปัจจุบันแห่งสมณพราหมณ์

ดูกรภิกษุทั้งหลาย สมณพราหมณ์พวกหนึ่งย่อมกล่าวตู่เรา
ผู้มีวาทะอย่างนี้ ผู้กล่าวอย่างนี้ด้วยคำไม่จริง ด้วยคำเปล่า ด้วยคำเท็จ
ด้วยคำไม่เป็นจริงว่า

พระสมณโคดมไม่บัญญัติความกำหนดรู้กามทั้งหลาย
ไม่บัญญัติความกำหนดรู้รูปทั้งหลาย ไม่บัญญัติความกำหนดรู้เวทนาทั้งหลาย

ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราย่อมบัญญัติความกำหนดรู้กามทั้งหลายด้วย
ย่อมบัญญัติความกำหนดรู้รูปทั้งหลายด้วย ย่อมบัญญัติความกำหนดรู้เวทนาทั้งหลายด้วย

เราเป็นผู้หายหิวแล้ว ดับแล้ว เย็นแล้ว
ย่อมบัญญัติ อนุปาทาปรินิพพาน ในปัจจุบัน ฯ


http://www.84000.org/tipitaka/pitaka_it ... agebreak=0

.....................................................
มิจฉาปณิหิตจิต จิตที่ตั้งไว้ผิด ย่อมตามพิชิตตัวเอง

สัตว์โลกย่อมเป็นไปตามกรรม ตามการกระทำของแต่ละคน (ตามความเป็นจริง)


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 18 โพสต์ ]  ไปที่หน้า 1, 2  ต่อไป

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

่กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 1 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร