วันเวลาปัจจุบัน 18 ก.ค. 2025, 17:59  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง




กลับไปยังกระทู้  [ 8 โพสต์ ]    Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 27 มี.ค. 2014, 19:34 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
อาสาสมัคร
อาสาสมัคร
ลงทะเบียนเมื่อ: 06 มี.ค. 2009, 10:48
โพสต์: 5361


 ข้อมูลส่วนตัว


• พรหมวิหาร ๔ •

• มีความรัก รักในคนในสัตว์ เสมอด้วยตัวเรา
• สงสารเห็นใจคนและสัตว์ มีความสงสาร เสมอด้วยตัวเราเอง
• มีจิตใจอ่อนโยน ไม่อิจฉาริษยา เห็นใครได้ดีพลอยดีใจยินดีด้วย และปฏิบัติดีตามเขา ดูเหตุของความดีว่าทำไมเขาจึงดี เราทำตามนั้นบ้าง มันก็ดี ไม่ใช่แข่งขันกับเขา
• อุเบกขา การวางเฉย เห็นใครเพลี่ยงพล้ำ จิตพร้อมจะช่วยอยู่เสมอถ้ามีโอกาส

นี่คือลักษณะของพรหมวิหาร มี ๔ อย่างแบบนี้ได้บอกไว้แล้วคนที่จะให้ทานต้องมีพรหมวิหาร ๔ เมื่อพรหมวิหาร ๔ มีแล้วศีลก็มีได้ เมตตาความรักก็มี กรุณาความสงสารก็มี จิตใจอ่อนโยนก็มี อุเบกขา การเฉยก็มี เพราะอย่างสัตว์พอที่จะฆ่าได้เราก็ไม่ฆ่า ปล่อยไป จัดเป็นอภัยทาน เห็นของพอที่จะขโมยได้เราก็ไม่ขโมย อุเบกขาก็เฉย เห็นคนที่น่ารักพอที่จะยื้อแย่งความรักเขาได้เราก็ไม่ทำ คนพอที่จะโกหกได้เราก็ไม่โกหก เฉยหรือว่าดื่มสุราเมรัย มันล่ออยู่ข้างหน้า เราก็ไม่ดื่ม เฉย อย่างนี้ก็ได้ หรือมีความรักเสียอย่างหนึ่ง โกรธเขาไม่ได้ ทรมานเขาไม่ได้ มีความรักเสียอย่างหนึ่ง แย่งความรักเขาไม่ได้ โกหกมดเท็จก็ไม่ได้ คนรักกันจะโกหกอย่างไร นี้คือลักษณะของคนที่มีพรหมวิหาร ๔ ดีอย่างนี้
ฉะนั้น การรักษาศีลก็เป็นการรักษาไม่ยาก ถ้ามีพรหมวิหาร ๔ แล้ว ศีลไม่ยาก อยู่กับตัวแน่นอน หากขาดพรหมวิหาร ๔ ประการนี้แล้ว ก็เป็นว่า ท่านหาความดีอะไรไม่ได้ ทั้งนี้เพราะอะไรเพราะว่าความชั่วมันจะหลั่งไหลเข้ามาสู่ใจ เป็นปัจจัยให้เกิดความทุกข์ก็มีทั้งปัจจุบันและสัมปรายภพ

• พระราชพรหมยาน : หลวงพ่อฤาษี(ลิงดำ) วัดท่าซุง จ.อุทัยธานี •



• อิทธิบาท ๔ •

• ฉันทะ คือ ความพอใจในกิจที่จะพึงทำ
• วิริยะ คือ ความเพียรในการต่อต้านอุปสรรค
• จิตตะ คือ เอาจิตใจจดจ่ออยู่เสมอในกิจที่เราจะพึงทำไม่ละเลย ไม่เอาจิตให้ห่างเหิน ไม่เผลอ ให้จดจ่ออยู่แต่สิ่งที่เราจะทำให้ได้
• วิมังสา คือ ก่อนที่จะทำอะไรทั้งหมด ให้พิจารณาใช้ปัญญาใคร่ครวญดูให้ดีเสียก่อนว่าในสิ่งที่เราจะพึงทำนี้ว่าจะมีผลดี ผลเสียอย่างไร เลือกเอาในส่วนเฉพาะที่มีผลดี ไม่เลือกเอาในส่วนที่มีผลชั่ว
ถ้ามีอิทธิบาท ๔ ครบถ้วนแล้ว จรณะ ๑๕ ก็จะมีครบถ้วนด้วย และสามารถจะควบคุมบารมีทั้ง ๑๐ ประการให้คงตัวอาการทั้ง ๓ อย่างนี้จงทรงอารมณ์ให้ครบ อย่าให้ขาด ถ้าอารมณ์ ๓ อย่างนี้บกพร่อง ความสำเร็จที่ต้องการจะไม่เป็นผลเลย ต้องพยายามควบคุมอารมณ์ให้ทรงตัว

• พระราชพรหมยาน : หลวงพ่อฤาษี(ลิงดำ) วัดท่าซุง จ.อุทัยธานี •




เอาบุญมาฝากจะถวายสังฆทาน เจริญวิปัสสนา ให้ธรรมะเป็นทาน ให้อภัยทาน บอกบุญ สักการะพระธาตุ ให้อาหารสัตว์เป็นทาน ช่วยพ่อแม่ทำงานบ้าน ถวายข้าวพระพุทธ อนุโมทนาบุญกับผู้อื่น สร้างพระสร้างเจดีย์สร้างธรรมจักรสร้างรอยพระพุทธบาทสร้างระฆังและอัครสาวกซ้ายขวาสร้างพระสีวลีสร้างพระกัสสะปะสร้างพระอุปคุตสร้างพระองคุลีมารผสมทองคำเปลวพร้อมนำดอกไม้มาบูชาถวายพระรัตนตรัย
รักษาศีล เจริญภาวนา สวดมนต์ ให้อาหารสัตว์เป็นทานเป็นประจำ กรวดน้ำอุทิศบุญ อนุโมทนากับพ่อแม่ญาติพี่น้องที่รักษาศีล ฟังธรรม ให้ทาน อนุโมทนากับเพื่อนๆที่รักษาศีล ศึกษาการรักษาโรค ที่ผ่านมาคุณแม่ได้ถวายสังฆทานมาโดยตลอด ที่ผ่านมาได้ปิดทองพระ รักษาอาการป่วยของผู้อื่นกับผู้ร่วมงาน และที่ผ่านมาได้รักษาอาการป่วยของบิดามารดา ปล่อยชีวิตสัตว์มาโดยตลอด ถวายยาแก่ภิกษุ ขัดองค์พระ ที่ผ่านมาได้จุดเทียนถวายพระรัตนตรัย ให้ความรู้สมุนไพรเพื่อสุขภาพเป็นวิทยาทาน ที่ผ่านมาคุณแม่ได้ทำบุญหลายอย่างมาโดยตลอด ที่ผ่านมาได้ถวายสังฆทานและทำบุญสร้างอาคารผู้ป่วยและกฐินกับเพื่อนๆและให้อาหารเป็นทานแก่สรรพสัตว์กับเพื่อนๆและเพื่อนคนหนึ่งและบริวารของเพื่อนและครอบครัวของเพื่อนได้มีจิตเมตตาให้ทานและเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ช่วยเหลือผู้อื่นอยู่ตลอดและเพื่อนได้เคยสวดมนต์เย็นกับคุณแม่และที่ผ่านมาได้ทำบุญสักการะพระธาตุทำบุญปิดทองชำระหนี้สงฆ์และไหว้พระและทำบุญตามกล่องรับบริจาคตามวัดต่างๆกับเพื่อนและตั้งใจว่าจะสร้างบารมีให้ครบทั้ง 10 อย่างขอให้อนุโมทนาบุญด้วย

ขอเชิญถวายสังฆทาน เจริญวิปัสสนา ให้ธรรมะเป็นทาน ให้อภัยทาน บอกบุญ ให้อาหารสัตว์เป็นทาน สักการะพระธาตุ ฟังธรรม สวดมนต์ ช่วยพ่อแม่ทำงานบ้าน
รักษาศีล เจริญภาวนา สวดมนต์ สร้างพระสร้างเจดีย์สร้างธรรมจักรสร้างรอยพระพุทธบาท
สร้างระฆังและอัครสาวกซ้ายขวาสร้างพระสีวลีสร้างพระกัสสะปะสร้างพระอุปคุตสร้างพระองคุลีมารผสมทองคำเปลวพร้อมนำดอกไม้มาบูชาถวายพระรัตนตรัย กรวดน้ำอุทิศบุญ ถวายข้าวพระพุทธ อนุโมทนาบุญกับผู้อื่น สนทนาธรรม
ถวายข้าวพระพุทธ อนุโมทนาบุญกับผู้อื่น รักษาอาการป่วยของผู้อื่น รักษาอาการป่วยของบิดามารดา จุดเทียนถวายพระรัตนตรัย
ปิดทอง สักการะพระธาตุ กราบอดีตสังขารเจ้าอาวาสที่ไม่เน่าเปื่อย ที่วัดแจ้ง อ.เมือง จ.ปราจีนบุรี ปิดทองพระ ปล่อยชีวิตสัตว์ถวายยาแก่ภิกษุ ไหว้พระตามวัดต่างๆ ขัดองค์พระ ให้ความรู้สมุนไพรในการดูแลสุขภาพเป็นทาน
และสร้างบารมีให้ครบทั้ง 10 อย่างขอเชิญร่วมบุญกุศลร่วมกันนะ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 27 มี.ค. 2014, 23:24 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 เม.ย. 2009, 02:43
โพสต์: 12232


 ข้อมูลส่วนตัว


:b8: :b8: :b8:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 30 มี.ค. 2014, 06:41 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8583


 ข้อมูลส่วนตัว


อัปปมัญญา ๔ องค์ธรรม ได้แก่ เมตตา ๑ กรุณา ๑ มุฑิตา ๑ อุเบกขา ๑

หมายถึง ธรรมที่ไม่มีประมาณ คือ เป็นบทหนึ่งที่ใช้ในกัมมฐาน
สามารถเจริญได้ในบุคคลและสัตว์ทั้งปวงได้โดยไม่มีประมาณ
คือ สามารถเจริญได้ในบุคคลและสัตว์ทั้งปวงได้โดยไม่มีโทษใดๆ
และเมื่ออัปปมัญญา ๔ ( หรือพรหมวิหาร ๔ ) เป็นสภาพที่มีกำลัง
จนถึงอัปปนา คือ เป็นฌานจิต ก็สามารถแผ่ไปในสรรพสัตว์ทั้งปวง
ตลอดโลกทั้งปวง โดยไม่มีที่สุด ไม่มีประมาณ

พรหมวิหาร ๔ องค์ธรรมได้แก่ เมตตา ๑ กรุณา ๑ มุฑิตา ๑ อุเบกขา ๑
เป็นองธรรมเดียวกันอัปปมัญญา ๔ แต่ว่า
เมตตา ๑ กรุณา ๑ มุฑิตา ๑ อุเบกขา ๑ เป็นเครื่อง เป็นที่อยู่ของพรหม
เราจึงเรียกว่าพรหมวิหาร ๔

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 30 มี.ค. 2014, 12:21 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ตัดพรหมวิหารอีกคำอธิบายหนึ่งมาวางเทียบไว้ด้วย


ความได้ดุลพอดี ที่เป็นลักษณะสำคัญของทางสายกลาง



ลักษณะของทางสายกลางอีกอย่าง่หนึ่งก็คือดุลยภาพ ในทางสายกลางนี้ มีความพอดีอย่างที่พูดไปแล้ว ซึ่งเกิดจากความได้สัดส่วนขององค์ประกอบทั้งหลายที่มาทำงานร่วมกันอย่างประสานกลมกลืนลงตัว ในสมัยปัจจุบัน เรียกว่า องค์รวม


สิ่งทั้งหลาย ย่อมเกิดจากส่วนประกอบทั้งนั้น ถ้าส่วนประกอบไม่พอดีกันก็ยุ่ง เกิดปัญหา แต่ถ้าส่วนประกอบต่างๆ ประสานกันพอดีแล้ว ทุกอย่างก็ลงตัว กลมกลืนกันทั้งหมด และจะได้ผลดีด้วย


ดังตัวอย่างที่พูดมาแล้วในเรื่อง พรหมวิหาร ซึ่งมี ๔ ข้อ ที่จะต้องมีดุลยภาพ ถ้าเราไม่ปฏิบัติตามคำสอนของพระพุทธเจ้า ทำให้พรหมวิหาร ๔ นี้เสียดุลไป แม้ว่าพรหมวิหารแต่ละข้อจะเป็นกุศลธรรมก็ทำให้เกิดผลร้ายได้


เรื่องนี้เราไม่ค่อยคิดกัน พรหมวิหาร ๔ ต้องปฏิบัติให้ได้สัดได้ส่วนกันพอดีตามสถานการณ์


ถ้าใช้ผิดสถานการณ์ เช่น ในสถานการณ์ที่ควรใช้อุเบกขา กลับไปใช้ เมตตากรุณา สถานการณ์ที่ควรจะใช้เมตตากรุณา กลับไปใช้ อุเบกขา ก็ทำให้เกิดปัญหา ทั้งๆที่เมตตากรุณา และอุเบกขาเป็นกุศลธรรม แต่เมื่อใช้ไม่เป้น ก็เสียหายไปหมด ชีวิตก็เสีย สังคมก็เสีย


ในเมื่องไทยเรานี้ ตอนหลังๆมีแนวโน้มท่จะดึงธรรมออกมาแยกเป็นข้อๆ จนกระทั่งในหลักสูตรของกระทรวงศึกษาธิการ สำหรับเด็กนักเรียนในโรงเรียน ระยะหลังๆนี้ ก็ทำอย่างนั้น คือดึงธรรมมาเป็นข้อๆ โดยมาถกเถียงกันว่าเราจะสอนเด็กให้มีธรรมข้อไหนบ้าง เมตตาดีนะ ก็เอามาสอน กรุณาดีนะ ก็เอามาสอน แล้วขันติก็ดีนะ เอามาสอน เลือกเอามาเป็นข้อๆ

นี้เป็นการทำไปด้วยความไม่รู้ ไม่เข้าใจ ทำให้ชีวิตวุ่น และสังคมปั่นป่วน เพราะไม่เข้าใจว่าพระพุทธเจ้าทรงวางหลักธรรมเป็นชุดๆทำไม

มีต่อ

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 30 มี.ค. 2014, 12:24 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ต่อ

พรหมวิหาร ๔ นั้นต้องมาทั้งชุด ถ้าเสียชุด ก็เสียหลัก แล้วผลร้ายต่าง่ๆก็ตามมา การที่เป็นปัญหาอยู่ในสังคมไทยที่ผ่านมา ก็เพราะเราปฏิบัติธรรมไค่อยครบชุด เช่น ได้บอกแล้วว่า พรหมวิหาร ๔ พ่อแม่ต้องใช้ให้ครบ มิฉะนั้น ลูกก็เสีย การรักลูกระยะสั้น บางทีก็ทำให้ลูกเสียยะยะยาว ถ้าพ่อแม่มีแต่เมตตา กรุณา และมุทิตา แต่อุเบกขาไม่มี ลูกก็ไม่รู้จักโต ลูกทำอะไรไม่เป็น รับผิดชอบตัวเองไม่ได้


พ่อแม่มีความโน้มเอียงที่จะลำเอียงเข้าข้างลูก สมัยโบราณต้องใช้วิธีให้ลูกห่าง่พ่อแม่เสียบ้าง เท่ากับให้พ่อแม่ใช้อุเบกขา โดยไม่รู้ตัว เช่น เอาลูกไปฝากวัด หรือ

ถอยหลังไปอีก พ่อแม่ที่มั่งคั่ง่ร่ำรวยสมัยโบราณ ให้ลูกไปเรียนที่เมืองตักศิลา ไปอยู่กับอาจารย์ทิศาปาโมกข์ พอไปอยู่กับอาจารย์ ท่านไม่เข้างแล้ว ต้องดูแลตัวเอง เจออุบกขาเยอะ ท่านให้เรียน ให้หัดทำงาน ให้รับผิดชอบอะไรต่างๆ เด็กก็รู้จักรับผิดชอบตัวเอง


เด็กสมัยนี้ บางทีอยู่กับพ่อแม่ตลอด พ่อแม่ตามใจ มีอะไรก็ทำให้ทำแทนหมด เพราะกลัวลูกจะเหน็ดเหนื่อย ลูกเลยอ่อนแอ โตขึ้นมาทำอะไรไม่เป็น ต้องไปเรียนต่างประเทศ พอไปเรียนต่างประเทศ ถูกฝรั่งอุเบกขาเข้า ก็เริ่มหัดรับผิดชอบตัวเองได้ รุ้จักทำอะไรต่ออะไรเป็นขึ้น การมีอุเบกขาชนิดที่ส่งลูกไปเรียนต่างประเทศของพ่อแม่ ทำให้ไม่ต้องมีเมตตากรุณาตลอดเวลา


(มีต่อ)

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 30 มี.ค. 2014, 12:25 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ต่อ

ถ้าพ่อแม่ มีเมตตา กรุณา มุทิตา และอุเบกขา ได้สัดส่วนกันแล้ว ลูกก็จะโต รับผิดชอบตัวเองได้ มีความเจริญเติบโตอย่างถูกต้อง

พระพรหมจะสร้างโลกได้ถูกต้อง พระพรหมจะทำหน้าที่ได้สมบูรณ์ ต้องมีดุลยภาพของเมตตา กรุณา มุทิตา อุเบกขา แยกไว้เป็น ๔ ข้อ จัดได้เป็น ๒ ภาค คือ


ก) ภาค คน - คน ได้แก่ เมตตา กรุณา มุทิตา เป็นธรรมสำหรับรักษาความสัมพันธ์ระหว่างบุคคล หรือมนุษย์ต่อมมนุษย์ โดยคนปฏิบัติต่อกันเพื่อประโยชน์ของคน พูดสั้นๆว่า คน ต่อ คน เพื่อคน

ข) ภาค คน-ธรรม ได้แก่ อุเบกขา เป็นธรรมสำหรับรักษาความสัมพันธ์ระหว่าง กับ ธรรมที่เป็นกฎธรรมชาติ หรือตัวความจริงของธรรมชาติที่รองรับโลกมนุษย์ไว้อีกชั้นหนึ่ง โดยคนปฏิบัติกันเพื่อรักษาธรรม พูดสั้นๆว่า คน ต่อ คน เพื่อธรรม


ถ้าเราเอาแต่ความสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์ โดยไม่คำนึงความจริงของธรรมชาติ ชีวิต และสังคมมนุษย์นั้นเองก็จะเสียดุลยภาพ จะต้องรักษาไว้ทั้งความสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์ กับ มนุษย์


มนุษย์มิใช่จะอยู่ด้วยกันโดยลำพังบนโลกมนุษย์ แต่มนุษย์บนโลกทั้งโลกดำรงอยู่บนฐานของธรรม ธรรมรักษาโลกไว้อีกชั้นหนึ่ง ฉะนั้น จะต้องไปให้ถึงอุเบกขา อุเบกขาเป็นตัวรักษาธรรมไว้ รักษาตัวหลักการไว้


ถ้าพ่อแม่มีอุเบกขา ก็ช่วยให้ลูกเติบโต รู้จักรับผิดชอบตัวเอง รู้จักทำอะไรเป็น อย่างที่ได้พูดไปแล้ว พ่อแม่จึงต้องรักษาอุเบกขาต่อลูก (ใน ๓ กรณี)


ในสังคมก็เช่นเดียวกัน สังคมใดที่มนุษย์เอาแต่เมตตา กรุณา ก็จะช่วยกันจนกระทั่งลืมหลักการ มองข้ามกฎเกณฑ์ กติกา จึงเสียความชอบธรรมในสังคม


นอกจากนั้นยังเสียอีกด้านหนึ่งด้วย คือทำให้คนหวังพึ่งกันเกินไป คนไม่รู้จักรับผิดชอบตัวเอง ก็หวังพึ่งแต่คนอื่น ไม่กระตือรือร้นขวนขวาย กลายเป็นคนอ่อนแอเฉื่อยชา แล้วผลเสียก็เกิดแก่สังคม ทำให้สังคมไม่เจริญก้าวหน้า


สังคมที่คนมีอุเบกขามาก ก็ตัวใครตัวมัน ไม่เอาใจใส่กัน ความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลก็ขาดความอบอุ่น ทำให้ชีวิตเคร่งเครียด มีความทุกข์ เป็นโรคเส้นประสาทมาก แต่ทุกคนจะกระตือรือร้นขวนขวายดิ้นรนมาก มีความเข้มแข็ง เป็นนักแข่งขัน และอยู่กันด้วยหลักการ กฎเกณฑ์ กติกา ไม่เห็นแก่หน้ากัน ก็ได้อย่างเสียอย่างกันอยุู่อย่างนี้

โลกมนุษย์เรามักตกอยู่ในสภาพที่ว่า ถ้าไม่ตึงไป ก็หย่อนไป สุดโต่งไปข้างโน้นที ข้างนี้ที พระพุทธเจ้าจึงสอนให้เราพัฒนาตัวอยู่ตลอดเวลา เพื่อจะปรับให้พอดี


มีต่อ

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 30 มี.ค. 2014, 12:27 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ต่อ

ถึงตรงนี้ ก็เป็นอันว่าได้พูดถึงลักษณะสำคัญของความเป็นทางสายกลางมา ๒ ข้อแล้ว ใน ๓ ข้อ คือ


๑. ให้เห็นว่า ทางสายกลางต้องอาศัยปัญญา ถ้าเรารู้เข้าใจจุดมุ่งหมายของการกระทำ ความรู้นั้น ก็จะเป็นตัวปรับพฤติกรรมให้พอดี เช่น การกินอาหาร เป็นต้น


๒. จะต้องมีดุลยภาพ ระหว่างองค์ธรรมต่างๆ ที่เป็นองค์ร่วมในองค์รวมนั้น องค์ประกอบทั้งหลายจะต้องได้สัดส่วนสัมพันธ์กันพอดี


๓. ความสัมพันธ์ระหว่างองค์ธรรมต่างๆ ที่เป็นปัจจัยแก่กัน เช่น กุศลเป็นปัจจัยแก่อกุศลได้ อกุศลก็เป็นปัจจัยแก่กุศลได้ ซึ่งก็เป็นเรื่องสำคัญเหมือนกันในความเป็นทางสายกลาง

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 31 มี.ค. 2014, 15:11 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
อาสาสมัคร
อาสาสมัคร
ลงทะเบียนเมื่อ: 06 มี.ค. 2009, 10:48
โพสต์: 5361


 ข้อมูลส่วนตัว


ขออนุโมทนาบุญด้วยครับ


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 8 โพสต์ ] 

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

่กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 1 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร


cron