วันเวลาปัจจุบัน 21 ก.ค. 2025, 03:31  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง




กลับไปยังกระทู้  [ 1416 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1 ... 44, 45, 46, 47, 48, 49, 50 ... 95  ต่อไป  Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสต์ เมื่อ: 13 ต.ค. 2013, 00:24 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ส.ค. 2010, 12:46
โพสต์: 1012

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


กลับมาที่การทำงานของกาย ผ่านระบบประสาทที่ "ไม่" เป็นอัตโนมัติ (Voluntary action) อีกครั้ง :b46: :b47: :b46:

ในเบื้องต้นนี้ จะเป็นจิต ที่สั่งการให้กายกระทำ :b49: :b48: :b50:

แต่หลังจากสั่งการกระทำแล้ว สำหรับกิจที่ทำมาจนเคยชิน จิตก็ไม่จำเป็นที่จะต้องมาสนใจ มาควบคุมกายต่อ
:b47: :b48: :b42:

แต่ปล่อยให้กาย คือระบบประสาท (แคบเข้าก็คือสมอง ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของกาย ที่บันทึกการกระทำในกิจนั้นๆ ผ่านการเรียนรู้ของระบบ Neural Network จากการกระทำซ้ำ) คอยควบคุม คอยกระทำการงานของเขาได้เองโดยอัตโนมัติ ตามเจตจำนงค์ ที่จิตสั่ง (เจตนาเจตสิก หรือกรรม ในกรรมภพ ของวงจรปฏิจจสมุปบาท) เพื่อเป็น "เหตุ" ที่ "คลิ๊ก" ให้เกิดการกระทำไว้ในตอนแรกเท่านั้น :b42: :b42: :b42:


หมายถึง จิต ทำการสั่ง แล้วกายกระทำต่อตามความเคยชิน ตามความคุ้นเคยไปได้ของเขาเอง (โดยมีกายส่วนอื่น คือสมองและระบบประสาทอื่นๆ เป็นศูนย์ควบคุม เหมือนระบบ Autopilot ในเครื่องบิน) :b46: :b47: :b41:

เช่นเดียวกับที่เคยกล่าวเอาไว้แล้วนะครับว่า ถ้าแยกใจออกมาเป็นผู้ดูกายได้จริงๆแล้ว กายก็จะเหมือนกับเป็นหุ่นยนต์ชีวะ หรือ Bio - machine ที่มีระบบควบคุมการทำงานอยู่สองระบบ :b48: :b49: :b48:

คือระบบที่คอยควบคุมการทำงานขั้นพื้นฐาน เพื่อยังชีวิตให้อยู่ได้อย่างปลอดภัย โดยที่จิตไม่ต้องเข้าไปยุ่งด้วย ซึ่งก็คือระบบประสาทที่เป็นอัตโนมัติต่างๆทั้งหลาย :b47: :b49: :b48:

กับอีกระบบที่คอยรับคำสั่งจากจิตอีกที ซึ่งก็คือระบบประสาทที่ "ไม่" เป็นอัตโนมัติ :b46: :b47: :b46:

โดยระบบประสาทที่ "ไม่" เป็นอัตโนมัตินี้ ก็ยังมีระบบของชุดคำสั่งช่วยเหลือ สำหรับงานที่ฝึกฝนมาจนคุ้นชินแล้วนี้ คอยช่วยดำเนินการแทนจิตให้อีกที เพื่อลดภาระของจิต ไม่ต้องใช้ทรัพยากรของจิต (คือพลังของสติ สัมปชัญญะ และสมาธิ) มาคอยจดจ่อควบคุมอีกที ให้สิ้นเปลืองเวลาในการทำกิจอย่างอื่น ที่จิต "หลงคิด" หรือ "ใช้สติ + ปัญญาสัมปชัญญะคิด" และตัดสินว่าสำคัญกว่าไป :b42: :b48: :b41:

ซึ่งเจ้าระบบของชุดคำสั่งช่วยเหลือ ที่เป็นเสมือนระบบ Autopilot ที่บันทึกและควบคุมโดยสมอง สำหรับเอาไว้ทำงานที่ฝึกฝนมาจนคุ้นชินจนเกิดเป็นทักษะขึ้นมาแล้วนี้ เช่น ในการว่ายน้ำ ในการเล่นกีฬา หรือในการประกอบกิจวัตรประจำวันต่างๆนั้น :b55: :b49: :b48:

จะเห็นได้ว่า เป็นส่วนประกอบหนึ่งของระบบประสาท ซึ่งก็คือระบบทาง "กาย" (เช่นเดียวกับระบบควบคุมทางกายอื่นๆ)
:b46: :b47: :b46:

ไม่ใช่ระบบทาง "จิต" หรือทาง "ใจ" :b46: :b47: :b46:


โพสต์ เมื่อ: 13 ต.ค. 2013, 00:28 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ส.ค. 2010, 12:46
โพสต์: 1012

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


หมายความว่า เมื่อกายแตกดับลงไปแล้ว ระบบชุดคำสั่ง Autopilot ดังกล่าว ก็สูญหายไปพร้อมกับกายด้วย ไม่สามารถนำติดตัวข้ามภพข้ามชาติไปอีกได้ :b5: :b46: :b47:

(เช่นเดียวกับกับความสามารถหลายอย่าง และความจำได้หมายรู้ส่วนใหญ่ ที่ถูกบันทึกไว้ด้วยระบบ Neural Network ของสมอง) :b49: :b55: :b50:

คือถ้ากรรมส่งมาเกิดเป็นมนุษย์อีก กิจต่างๆเหล่านั้น ก็ต้องมาฝึกฝนกันใหม่ มาหัดเดิน หัดวิ่ง หัดว่ายน้ำ หัดตีปิงปอง หัดเล่นเทนนิส ฯลฯ กันใหม่ :b5: :b46: :b41:

(ยกเว้นกิจที่แฝงมากับยีนส์ มากับระบบประสาทอัตโนมัติ คือกิจตามสัญชาตญาณ อันเนื่องมาจากพีชนิยาม :b47: :b48: :b47:

หรือในกรณีพิเศษจริงๆ เช่น เด็กอายุไม่กี่ขวบ หัดดนตรีเพียงเล็กน้อย ก็สามารถเล่นดนตรีได้คล่องแคล่วเหมือนผู้ใหญ่ :b49: :b48: :b47:

ซึ่งกรณีเด็กความสามารถพิเศษ (Gifted & Talented Children) ที่ไม่ได้เกิดเป็นการทั่วไปตรงนี้ ในทางแพทย์ก็ยังหาคำอธิบายสาเหตุที่มาไม่ได้อย่างชัดเจน แต่ในทางพุทธ คงต้องมานั่งวิเคราะห์กันอีกทีว่า เป็นผลมาจากธรรมนิยามข้อย่อยใด) :b48: :b47: :b46:

ซึ่งระบบของการฝึกฝนจนเกิด Autopilot ทางกาย ที่ไม่สามารถนำติดตัวข้ามภพข้ามชาติไปได้ดังกล่าวนั้น จะต่างจากระบบของการฝึกจิตนะครับ :b1: :b46: :b39:

หมายถึงว่า ในการฝึกจิตนั้น เมื่อฝึกมาจนคุ้นชินแล้ว ความคุ้นชิน หรือความเสพคุ้นของอาการ การปรุงแต่งต่างๆ (เจตสิก) ในจิตเหล่านั้น จะถูกย้ำบันทึกลงในจิต และสามารถหิ้ว (carry on, carry forward) ข้ามภพข้ามชาติได้ :b4: :b46: :b39:

เช่น คนที่จิตใจสงบ เยือกเย็น ถ้าทำกรรมได้เกิดมาเป็นมนุษย์ใหม่ ก็จะเป็นคนที่มีจิตใจสงบ เยือกเย็น ติดตัวมาแต่เกิด :b49: :b48: :b47:

หรือผู้ที่ฝึกสมาธิมาจนได้ฌาน ถ้าทำกรรมได้เกิดมาเป็นมนุษย์ใหม่แล้วได้มาฝึกสมาธิอีก ก็จะเข้าสมาธิได้ไว และได้ลึก ตามระดับฌานที่เคยสะสมมา แถมยังสามารถพัฒนาไปในฌานที่ลึกกว่าได้อย่างรวดเร็ว ต่อยอดจากของเดิมที่เคยสะสมมาไว้ :b47: :b46: :b47:

(ในเชิงอภิธรรม การบันทึกความคุ้นชินทางจิตในปัญจทวารวิถีและมโนทวารวิถีตรงนี้ กระทำในช่วงของตทาลัมพนจิต คือจิตสองดวงสุดท้ายในวิถีจิต แล้วเก็บข้อมูลลงไว้ในภวังคจิต โดยเป็นการตอกย้ำอาการทางจิต หรือกลุ่มของเจตสิกที่เสพคุ้นผ่านอารมณ์นั้นๆ ให้แน่นแฟ้นคุ้นชินในจิตยิ่งขึ้น แต่ถ้าในฌานวิถี จะบันทึกในสภาวะขณะแห่งฌานจิตนั้นเลย) :b49: :b48: :b50:


โพสต์ เมื่อ: 13 ต.ค. 2013, 00:31 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ส.ค. 2010, 12:46
โพสต์: 1012

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ซึ่งการบันทึกลงในจิตนี้ ถ้าเป็นส่วนกุศล (ชวนะ กุศลจิต) ก็สะสมเป็นบารมี ถ้าเป็นส่วนอกุศล (ชวนะ อกุศลจิต) ก็สะสมเป็นกิเลสอนุสัยสังโยชน์ ฝังเป็นสันดาน ซึ่งมีรากศัพท์มาจากคำบาลีว่า สนฺตาน (สันตานะ), สนฺตาโร (สันตาโร), หรือ สันตะ สันตติ ที่แปลว่า การสืบต่อ (แต่สำหรับคำว่า สันตานะ นอกจากสืบต่อแล้ว ยังเพิ่มการสั่งสมด้วย ลงในจิต) :b47: :b48: :b47:

และอาการของจิต หรือกลุ่มของเจตสิกที่เสพคุ้น จนฝังเป็นสันตานะอยู่ในจิตนี้หล่ะครับ จะมีอิทธิพลต่อการกำหนดสภาพจิต หรือคุณภาพของจิต เมื่อเกิดผัสสะใหม่มากระทบ ว่าจะทำให้คุณภาพของจิตที่เกิดตามมา เป็นกุศล หรืออกุศล หรือไม่เป็นทั้งกุศลและอกุศล (อัพยากฤต) :b46: :b47: :b46:


(ในเชิงอภิธรรม การบันทึกของตทาลัมพนจิตในอดีตลงในภวังคจิต จะมีอิทธิพล ต่อการพิจารณาไต่สวนอารมณ์ (สันตีรณกิจ ของสันตีรณจิต ในปัญจทวารวิถี) และตัดสินอารมณ์ (โวฏฐัพพนกิจ ของโวฏฐัพพนจิต ทั้งในปัญจะและมโนทวารวิถี) ในผัสสะใหม่ที่มากระทบ ว่าจะให้จิตเสพอารมณ์ (ชวนกิจ ของชวนจิต) ในทางใด :b46: :b47: :b39:

ระหว่างกุศล (มหากุสลจิต ๘ รูปวจรกุศลจิต๕ อรูปาวจรกุศลจิต ๔ มรรคจิต ๔), อกุศล (โลภมูลจิต ๘ โทสมูลจิต ๒ โมหมูลจิต ๒), หรืออัพยากฤต (มหากิริยาจิต ๘ หสิตุปปาทจิต ๑ รูปาวจรกริยาจิต ๕ อรูปาวจรกริยาจิต ๔ ผลจิต ๔) ที่จะเกิดขึ้นต่อในชวนจิตของวิถีนั้น) :b48: :b49: :b48:

และถ้าจะว่ากันในภาพที่กว้างกว่าในระดับวิถีจิตหนึ่งๆ คือหมายถึงในช่วงชีวิตหนึ่งๆ จนถึงข้ามภพข้ามชาติกันแล้ว ความเสพคุ้นในระดับวิถีจิตเหล่านี้ ก็จะทำหน้าที่เป็นอาหาร (นามอาหาร) เสริมสร้างให้องค์ธรรมต่างๆ ถูกพัฒนาตามกันขึ้นมาอย่างต่อเนื่องเป็นลูกโซ่ ทั้งทางด้านกุศลและอกุศล ตามพุทธพจน์ที่ปรากฏในตัณหาสูตร และอวิชชาสูตร ที่เคยยกมาให้อ่านนะครับ :b1: :b46: :b39:

ตัณหาสูตร http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=24&A=2782&Z=2853&pagebreak=0
อวิชชาสูตร http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=24&A=2712&Z=2781&pagebreak=0


โพสต์ เมื่อ: 13 ต.ค. 2013, 00:35 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ส.ค. 2010, 12:46
โพสต์: 1012

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ซึ่งถ้าจะกล่าวถึงองค์ของกุศลธรรมต่างๆ ที่ถูกพัฒนาขึ้นตามความเสพคุ้นของจิตในทางโลกุตรกุศล จนเกิดวิชชาและวิมุตติขึ้นในอริยบุคคลในแต่ละระดับแล้วนี้ :b46: :b47: :b46: :b46:

วิชชาที่เกิดขึ้นในแต่ละระดับ จะเข้ามาตัดอาการของจิตที่ไม่ดี ไม่มีคุณภาพ อันได้แก่อกุศลเจตสิกบางตัว ให้หายไป ไม่กำเริบอีก และ/หรือเบาบางลงไป ในตัวที่เหลือ :b55: :b54: :b49:

เช่น วิชชาที่เกิดขึ้นในระดับโสดาบัน จะทำหน้าที่กำจัดทิฏฐิเจตสิกและวิจิกิจฉาเจตสิก (และทำให้อกุศลเจตสิกตัวอื่น เบาบางลงไป) :b50: :b49: :b51:

วิชชาที่เกิดขึ้นในระดับสกทาคามี ไม่ได้กำจัดเจตสิกใด แต่ทำให้อกุศลเจตสิกตัวอื่น เบาบางลงไป โดยเฉพาะโทสะเจตสิก (รวมบริวารคือ อิสสา, มัจฉริยะ, กุกกุจจะ) และโลภะเจตสิกประเภทกามราคะ :b48: :b47: :b46:

วิชชาที่เกิดขึ้นในระดับอนาคามี จะทำหน้าที่กำจัดโทสะเจตสิก (รวมบริวารคือ อิสสา, มัจฉริยะ, กุกกุจจะ) และโลภะเจตสิกประเภทกามราคะ ให้หมดไป (รวมถึงทำให้อกุศลเจตสิกที่เหลือ เบาบางลงอีก) :b50: :b49: :b48:

ซึ่งอาการที่เจตสิกหายไป และ/หรือเบาบางลงไปในบางตัวนี้ ก็สามารถหิ้ว หรือ carry forward ข้ามภพข้ามชาติได้เช่นกัน :b55: :b54: :b49:

คือสภาวะของโสดาบัน หรือสกทาคามี หรืออนาคามี ถ้าต้องตาย (จุติ) แล้วไปเกิดใหม่ (ปฏิสนธิ) อาการที่เจตสิกหายไป และ/หรือเบาบางลงไปในบางตัวนี้ ก็ยังคงอยู่ :b43: :b42: :b41:

จนกระทั่งเจตสิกกลุ่มอกุศลเจตสิกทั้งหมด ถูกวิชชาที่เกิดขึ้นเป็นครั้งสุดท้าย กำจัดหมดลงไปในขั้นอรหันต์ที่ยังมีธาตุขันธ์เหลืออยู่ (กิเลสนิพพาน) :b46: :b47: :b39:

จนกระทั่งถึงที่สุดก็คือ เจตสิกทั้งหมด ถูกกำจัด จนไม่เหลืออาการแห่งจิต ไม่เหลือการปรุงแต่งแห่งจิต รวมถึงไม่เหลือจิต และขันธ์อื่นๆทั้งหมดอยู่อีก เป็นสภาพของการพ้นขันธ์ พ้นการปรุงแต่งลงได้แล้วทั้งหมด ในขั้นอรหันต์ที่เป็นขันธนิพพาน หรือปรินิพพาน ที่หมายความว่า การดับรอบสิ่งที่เนื่องด้วยการปรุงแต่งลงได้แล้วทั้งหมด อย่างถาวร :b46: :b47: :b41:


โพสต์ เมื่อ: 13 ต.ค. 2013, 00:38 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ส.ค. 2010, 12:46
โพสต์: 1012

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ขอเพิ่มเติมเกร็ดอีกเล็กน้อย กับความเสพคุ้นทางจิตนะครับ :b1: :b46: :b39:

โดยความเสพคุ้นทางจิตที่กล่าวถึงตรงนี้ นอกจากสามารถ "หิ้ว" ข้ามภพข้ามชาติ โดยส่งผลต่อสภาพจิตในภพใหม่ได้แล้ว :b46: :b47: :b46:

ยังสามารถส่งผลต่อ "รูป" หรือ "กาย" ในภพใหม่ ในอัตตภาพใหม่ ได้ด้วยอีกต่อหนึ่ง :b47: :b46: :b43:


เช่น คนที่มักโกรธ จุดเดือดต่ำ โกรธง่าย เมื่อตายไปถ้ากลับมาเป็นมนุษย์อีก ก็จะมีผิวพรรณทราม :b5: :b46: :b47:

หรือคนที่มีจิตใจโหดร้าย รังแกสัตว์ เมื่อตายไปถ้ากลับมาเป็นมนุษย์อีก ก็จะมีร่างกายอ่อนแอ มีโรคมาก ฯลฯ :b23: :b47: :b48:

และในทางกลับกัน คนที่จิตใจดี จุดเดือดสูง โกรธยาก ไม่พยาบาท เมื่อตายไปถ้ากลับมาเป็นมนุษย์อีก ก็จะมีกายที่ดูน่าเลื่อมใส :b17: :b46: :b47:

หรือคนที่มีจิตใจเมตตา ไม่รังแกสัตว์ เมื่อตายไปถ้ากลับมาเป็นมนุษย์อีก ก็จะมีร่างกายแข็งแรง มีโรคน้อย ฯลฯ :b4: :b47: :b46:

ตามที่พระบรมครูทรงกล่าวไว้ในจูฬกัมมวิภังคสูตร นะครับ :b1: :b46: :b39:

http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=14&A=7623&Z=7798&pagebreak=0


โพสต์ เมื่อ: 13 ต.ค. 2013, 00:40 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ส.ค. 2010, 12:46
โพสต์: 1012

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


กลับไปที่เกร็ดเล็กเกร็ดน้อย ของการฝึกสติสัมปชัญญะผ่านการรู้กายกันอีกที :b47: :b46: :b47:

สรุปนะครับว่า จะมีการกระทำทางกายอยู่ด้วยกันใน ๒ รูปแบบคือ :b46: :b47: :b46:

๑) แบบที่ กายคุมกาย ของเขาเองตามธรรมชาติ ซึ่งในทางการแพทย์เรียกกระบวนการควบคุมนี้ว่า การทำงานนอกเหนืออำนาจจิตใจ (Involuntary Action) ผ่านระบบประสาทอัตโนมัติ (Autonomic Nervous System) :b46: :b47: :b46:

เช่น การควบคุมการเต้นของหัวใจ, อาการขนลุกเมื่อร่างกายสัมผัสอากาศหนาวเย็น, การจามหรือสำลักเมื่อเจอสิ่งแปลกปลอมเข้าไปในหลอดลม, การสะดุ้งหนีเมื่อโดนของร้อน, ฯลฯ :b49: :b48: :b50:

๒) แบบที่จิต ต้องออกคำสั่งแก่กายก่อน กายถึงจะทำงานได้ ซึ่งในทางการแพทย์เรียกกระบวนการควบคุมนี้ว่า การทำงานภายใต้อำนาจจิตใจ (Voluntary Action) ผ่านระบบประสาทกาย (Somatic Nervous System) :b46: :b47: :b46:

ซึ่งได้แก่อิริยาบถต่างๆของกาย ทั้งใหญ่และย่อย เช่น นั่ง นอน ยืน เดิน ก้าว ถอย แล เหลียว คู้เข้า เหยียดออก กิน ดื่ม เคี้ยว ลิ้ม ถ่ายอุจจาระปัสสาวะ หลับ ตื่น พูด นิ่ง ฯลฯ :b50: :b49: :b48:

หรือกลุ่มของการทำงานแบบซับซ้อน ที่เอาอิริยาบถต่างๆ มาร้อยเรียงจนเกิดเป็นลำดับวงจร (sequence) ของการทำงานนั้นๆอีกที เช่น การอาบน้ำ การแต่งตัว การแสดงท่าทาง การเต้น การเล่นกีฬาต่างๆ ฯลฯ :b50: :b49: :b51:

โดยแบบที่สองนี้ ยังมีระบบช่วยสนับสนุนการทำงาน คือระบบที่สั่งการให้กายทำงาน ตามความคุ้นชินที่ฝึกฝนไว้แล้ว (ซึ่งเรียรู้และบันทึกผ่านระบบ Neural Network ในสมอง) หรือตามสัญชาติญาณ (ซึ่งติดตัวมาในยีนส์) โดยอาศัยแค่การออกคำสั่งครั้งแรกจากจิต ผ่านสิ่งที่เรียกว่า เจตนา (เจตนาเจตสิก) เพื่อคลิ๊กกระบวนการเท่านั้น :b55: :b54: :b51:

ซึ่งจิต จะใช้สติ มาจดจ่อควบคุม หรือไม่จดจ่อควบคุมการกระทำตรงนี้ต่อจนจบการกระทำก็ได้ :b55: :b54: :b50:

แต่ส่วนมากสำหรับผู้ที่ไม่ได้ฝึกสติมาดีแล้ว จิตจะ "หลง" ไปในโลกแห่งความคิด หรือในความเหม่อลอย ไร้การปักใจลงในอารมณ์ โดยปล่อยให้ระบบประสาท ควบคุมการทำงานของกายไป ด้วยอาการขาดสติ ไม่รู้เนื้อรู้ตัวว่ากำลังทำอะไรอยู่ :b46: :b47: :b46:


โพสต์ เมื่อ: 13 ต.ค. 2013, 00:45 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ส.ค. 2010, 12:46
โพสต์: 1012

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


และในการกระทำ จนเกิดความคุ้นชินนี้ ก็ไม่ได้เกิดขึ้นเองเฉยๆ :b48: :b47: :b48:

หมายถึง ก่อนที่กายจะถูกฝึกฝนจนชำนาญ จนกระทั่งระบบประสาท สามารถเข้ามาคุมการทำงานของกายเองได้นั้น ก็จะต้องเริ่มต้นจากการที่ จิต ใช้สติ สัมปชัญญะ สมาธิ เข้ามาควบคุมการกระทำนั้นๆในช่วงฝึกฝน ในช่วงเบื้องต้นอย่างต่อเนื่อง :b50: :b51: :b53:

เช่น การฝึกเดินใหม่ๆ การฝึกวิ่งใหม่ๆ การฝึกว่ายน้ำใหม่ๆ การฝึกขับรถใหม่ๆ การทำงานในสิ่งใหม่ๆ ฯลฯ :b50: :b49: :b50:

เพื่อให้กาย สามารถกระทำกิจ ให้เป็นไปตามที่จิตต้องการได้ จนกว่าระบบช่วยสนับสนุนการทำงาน จะถูกเรียนรู้ บันทึก และมารับหน้าที่ต่อไป เมื่อฝึกฝนจนชำนาญดีแล้ว (ในกรณีที่ต้องทำกิจกรรมนั้นๆอยู่เรื่อยๆ) :b51: :b53: :b55:

และด้วยอาการของความ "ชำนาญดีแล้ว" นี่เองละครับ ที่ทำให้จิตของผู้ที่มีสติไม่แข็งแรง เกิดอาการเผลอสติ หลงเข้าไปอยู่ในโลกแห่งความคิด หรือในโลกแห่งความหลงเพลิน เคลิบเคลิ้ม เหม่อลอย ในขณะที่กระทำกิจที่คุ้นชินที่ว่า ด้วยอาการขาดการรู้เนื้อรู้ตัว :b23: :b47: :b48:

แม้ว่าในขณะที่เริ่มต้นกระทำนั้น จะตั้งใจไม่ให้ขาดสติเลยก็ตาม
:b46: :b47: :b46:

ยกตัวอย่างเช่น การควบคุมเครื่องจักร เครื่องปั๊ม เครื่องรีด เครื่องบดต่างๆ ฯลฯ ที่มักเกิดอุบัติเหตุกับผู้ควบคุม อันเนื่องมาจากการทำงานที่ชำนาญ จนกลายเป็นความคุ้นชินโดยอัตโนมัติ แต่อัตโนมัติเกินไปจนประกอบด้วยความประมาท ขาดสติ :b23: :b55: :b41:

หรือแม้กระทั่งเวลาฝึกสติในรูปแบบ เช่น สำหรับผู้ที่ฝึกสติด้วยการขยับมือ ๑๔ ขั้นตามแบบฉบับขององค์หลวงพ่อเทียนท่าน :b8: :b46: :b44:

เมื่อฝึกจนคุ้นเคยกับขั้นตอนทั้ง ๑๔ จนกายขยับไปได้เองแล้ว ถ้าเผลอเพลิน หรือเผลอไปในโลกแห่งความคิด .. อาการ "หยุด" ของมือในแต่ละขั้น แต่ละสเต็ป ก็จะเริ่มหายไป มีแต่อาการขยับเคลื่อน เลื่อนไหลของมือไปแบบต่อเนื่อง แต่ขาดสติ :b23: :b46: :b42:

จนกว่าจิตจะเกิดสติ รู้ทันในอาการ "หลงคิด" หรือ "หลงเพลิน เหม่อลอย" จิตจึงจะกลับมาอยู่กับการ "เคลื่อน และ หยุด" ของมือใหม่ :b49: :b48: :b49:

ซึ่งตรงนี้ คือจุดเชื่อมต่อ ที่องค์หลวงพ่อเทียน ท่านเริ่มสอนการปฏิบัติด้วยการฝึกรู้กาย จนเข้ามารู้ที่ใจ (คือเฝ้าดูอาการหลงคิด หรือเหม่อลอย) ตามแบบฉบับของท่าน :b46: :b42: :b39:

ซึ่งก็สอดคล้องตามคำสอนของพระบรมครู ทั้งในส่วนของการฝึกสติสัมปชัญญะว่าด้วยการรู้กาย รวมถึงการรู้ใจ (หรืออาการ - การปรุงแต่งแห่งใจ อันได้แก่สัญญา เวทนา และวิตก (ที่เป็นองค์เด่นของสังขาร) .. หรือเรียกรวมอาการ - การปรุงแต่งแห่งใจนี้ว่า เจตสิกธรรม)
:b54: :b48: :b49:

แล้วจะกลับมาลงรายละเอียดอีกสักเล็กน้อย ในวิธีฝึกสติด้วยการเคลื่อนไหวแบบหลวงพ่อเทียนนะครับ :b1: :b46: :b39:


โพสต์ เมื่อ: 13 ต.ค. 2013, 00:48 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ส.ค. 2010, 12:46
โพสต์: 1012

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


กลับมาที่การฝึกสติสัมปชัญญะ ผ่านการกระทำทางกาย แบบที่ (๑) กายคุมกายของเขาเองตามธรรมชาติ กับแบบที่ (๒) จิตต้องสั่งการ โดยมีสมองและระบบประสาท ช่วยคุมการทำงานให้ด้วยนั้น :b46: :b47: :b46:

ซึ่งในการฝึกดูกายตรงนี้ ใจ หรือจิต จะสามารถมีสติ "ระลึกรู้" ได้ดีหรือไม่ ก็ด้วยการหมั่นโยนิโสฯ ในลักษณะอาการแห่งกาย (ลงในวิเสสลักษณะ) จนจำอาการแห่งกายนั้นๆได้ ชัด แม่น แน่น หนา :b50: :b49: :b48:

และจะสามารถมีปัญญาสัมปชัญญะ รู้อาการแห่งกาย "ได้ชัด" + "ตรงตามความเป็นจริง" (คือตามวิเสสลักษณะในเบื้องต้น และสามัญลักษณะในเบื้องปลาย) ได้หรือเปล่า ก็ด้วยกำลังของสมาธิ คือความจดจ่อ และความต่อเนื่อง ในสิ่งเดียว :b46: :b47: :b42:

เพื่อให้อาการแห่งการ "รู้ชัด" นั้นๆ ปรากฏขึ้นได้ "ชัด" อย่างต่อเนื่อง โดยไม่ซัดส่าย ไม่มีเงามัวของนิวรณ์ เช่นความคิดฟุ้ง ความง่วงเหงา ความเคลิบเคลิ้ม ฯลฯ เข้ามาปิดกั้น หรือเข้ามาแทรกเป็นสัญญาณรบกวน (Noise) ให้อาการรู้ชัดนั้น เบลอ พร่ามัว จนไม่ประติดประต่อ และขาดตอนลงไป :b48: :b49: :b50:


(สมาธิปทฏฺฐานา จ ปญฺญา - สมาธิ เป็นเหตุใกล้ ให้เกิดปัญญา .. คืออาการรู้ ที่มีกำลังของสมาธิ แหวกสิ่งปกปิดออกไปแล้วรู้ให้มั่นในสิ่งเดียวอย่างต่อเนื่อง จนรู้ได้ชัด ตรง ตามความเป็นจริงของกระบวนธรรม) :b47: :b48: :b43:

และนอกจากการฝึกสติระลึกรู้ และสัมปชัญญะรู้ชัด ลงในลักษณะอาการจำเพาะของอิริยาบถแห่งกาย หรือวิเสสลักษณะแห่งรูปแล้ว :b49: :b54: :b48:

นักปฏิบัติ ยังสามารถเฝ้าสังเกต จนเห็นถึงการทำงาน ที่เป็นไปได้ด้วยตัวของกายเองตามเหตุปัจจัย โดยไม่มีสัตว์ บุคคล ตัวตน เราเขาที่ไหนมาสั่งมาคุม :b47: :b48: :b42:

ซึ่งก็คือ อนัตตสภาวะแห่งกาย ได้ง่ายๆอีกด้วย :b46: :b47: :b46:


โพสต์ เมื่อ: 13 ต.ค. 2013, 00:52 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ส.ค. 2010, 12:46
โพสต์: 1012

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


โดยวิธีการก็คือ การใช้สติ สัมปชัญญะ สมาธิ แยกกายออกจากใจ :b46: :b47: :b46:

แล้วใช้ใจ เข้ามาจดจ่อ เฝ้าดูกายทำงานด้วยตัวของเขาเองลงเป็นปัจจุบัน ตามอาการของกาย หรือตามอิริยาบถใหญ่และย่อยในชีวิตประจำวันนั่นเอง
:b46: :b47: :b46:

เช่น ในขณะนั่งหรือนอนนิ่งๆ ให้ลองใช้จิต เข้ามา "รู้สึก" ในอาการเต้นของหัวใจ ที่เต้นไปได้ด้วยตัวเขาเองโดยที่จิต ไม่สามารถแทรกแซงสั่งการโดยตรงได้ :b48: :b47: :b49:

หรือในขณะนั่งหรือนอนนิ่งๆ ให้ลองใช้จิต เข้ามา "รู้สึก" ในลมหายใจ หรือในอาการพองยุบของท้อง โดยไม่แทรงแซงอาการที่ดำเนินไปโดยธรรมชาติของกาย (ซึ่งที่จริงแล้ว จิต ก็สามารถแทรกแซงได้ แต่จะเกิดความอึดอัดบีบคั้นตามมา) :b49: :b48: :b47:

โดยกิริยาอาการที่เกิดขึ้นที่จิต จะมีแค่อาการ "รู้" แต่เพียงอย่างเดียว ไม่ควบคุม ไม่บังคับลมหายใจ ปล่อยให้กาย หายใจของเขาเอง จะสั้นจะยาว จะมากจะน้อย ก็เป็นไปตามความต้องการออกซิเจนของกายเขาเอง ตามธรรมชาติ :b46: :b47: :b42:

(เหมือนกับการปฏิบัติในขั้นตอนแรกของอานาปานสติ ที่ต้องเริ่มจากการหายใจยาวก่อน เพราะระบบการเผาผลาญ หรือ Metabolism ในร่างกายยังคงสูงอยู่ ยังต้องการออกซิเจนมากอยู่ เมื่อเริ่มนั่งใหม่ๆ) :b49: :b48: :b47:

หรือในขณะเดินหรือวิ่งในทางตรง ให้ใช้ใจ รับรู้ขาแขนที่เคลื่อนไหว ด้วยการควบคุมของระบบประสาท โดยไม่เข้าไปแทรงแซงการทำงาน :b43: :b42: :b48:

ซึ่งก็คือ การ "รู้" หรือ "รู้สึก" ในอาการเดิน อาการวิ่ง ลงมาที่ใจ "อย่างเบาๆ อย่างนิ่มๆ" (สำนวนหลวงพ่อเทียนท่าน) หรือ "อย่างซื่อๆ" (สำนวนหลวงพ่อคำเขียน ศิษย์หลวงพ่อเทียนท่านอีกที) :b8: :b46: :b47: :b47:

โดยมีอาการที่ใจอย่างเดียวคือ "รู้" หรือ "รู้สึก" อย่างนุ่มๆ ลื่นไหลไปตามธรรมชาติ ไม่ต้องไปเพ่งไปจ้องให้ตึงเกินไปจนปวดหัวปวดขมับ นั่นหล่ะครับ
:b1: :b46: :b39:

(และในอิริยาบถใหญ่และย่อยอื่นๆ ที่ทำจนคุ้นชินแล้ว ก็ใช้วิธีการฝึกสังเกต อย่างเดียวกัน) :b46: :b47: :b46:


โพสต์ เมื่อ: 13 ต.ค. 2013, 00:57 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ส.ค. 2010, 12:46
โพสต์: 1012

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


หรือในบางจังหวะ ผู้ปฏิบัติก็สามารถสังเกตกาย ที่ทำงานไปได้ด้วยตัวเขาเอง โดยที่ใจไม่ได้สั่ง :b46: :b47: :b46:

ได้แก่ การทำงานของกาย ภายใต้ระบบการทำงานโดยอัตโนมัติ ที่ตอบสนองกับสิ่งเร้าแบบฉับพลัน (Reflex Action) เช่น การสะบัดมือหนีเมื่อจับของร้อน การจามการสำลักเมื่อมีสิ่งแปลกปลอมเข้าไปในหลอดลม ฯลฯ :b49: :b48: :b50:

ซึ่งเกิดขึ้นโดยที่ใจ "ไม่รู้ตัว" และ "ไม่ตั้งใจ" สั่งกาย .. แต่กาย ทำงานตามระบบป้องกันตัวของเขาเอง :b49: :b50: :b51:

... หรือกลับกันในบางจังหวะ ซึ่งผู้ปฏิบัติสามารถเขามาดูกาย ที่ไม่ยอมทำงานตามคำสั่งของใจ ได้อีกด้วยนะครับ :b1: :b46: :b39:

คืออาการที่ ใจ "รู้ตัว" และ "ตั้งใจ" สั่งกาย .. แต่กาย ไม่ยอมทำงานตามคำสั่งเสียเอง :b6: :b5: :b41:


ยกตัวอย่างเช่น .. :b48: :b49: :b48:

เคยเป็นกันมั้ยครับ ในขณะที่นั่งสวดมนต์ หรือนอนหลับทับแขนนานๆ แล้วเกิดอาการแขนขาชาด้าน จนไม่มีความรู้สึก ขยับอะไรไม่ได้ :b6: :b5: :b41:

ตอนนี้หล่ะครับ ที่เอาไว้ดูอาการ "ดื้อ" ของกาย ที่ไม่ยอมทำตามคำสั่งของใจ :b46: :b47: :b48:

คือหลังจากนั่งคุกเข่าหรือพับเพียบสวดมนต์นานๆเข้าจนขาชา เมื่อสวดเสร็จแล้วจะลุกไปทำกิจอย่างอื่นต่อ :b49: :b48: :b49:

พอใจสั่งให้กายลุก แต่ขาเจ้ากรรมไม่ยอมทำตามความต้องการของใจ ไม่สามารถยันกายให้ลุกขึ้นได้ ต้องเอามือช่วยเกาะช่วยพยุง หรือบางทีถึงกับต้องยอมคลานไป หรือจนถึงกับต้องทรุดนั่งลงไปใหม่ :b48: :b47: :b48:

หรือเมื่อเด็กๆ ขณะตื่นนอนขึ้นมา แล้วรู้สึกแขนชาจนหมดความรู้สึก เพราะกายนอนทับแขน จนเลือดลมไม่ไปหล่อเลี้ยงกล้ามเนื้อเป็นเวลานาน :b47: :b42: :b43:

เมื่อใจพยายามสั่งแขนให้ยกขึ้น ก็ยกขึ้นไม่ได้ ต้องเอาอีกมือช่วยจับยกขึ้น (และตอนที่อีกมือจับ ก็เหมือนกับจับอะไรทื่อๆท่อนหนึ่ง ที่ไม่ใช่ "แขนเรา") :b51: :b50: :b50:

หรือใจพยายามสั่งนิ้วกระดิก แต่ก็กระดิกไม่ได้ .. ใจก็ได้แต่รับรู้ผ่านตา มองแขนที่ชา เป็นอัมพาตชั่วคราวนั้นแบบตาปริบๆ จนกว่าเลือดลมจะเดินได้สะดวก ใจถึงจะสามารถสั่งการใหม่ ให้แขนให้นิ้วขยับเคลื่อนไหวได้ :b55: :b48: :b41:

ซึ่งถ้านักปฏิบัติ หมั่นสังเกตอาการที่ ใจสั่งกายไม่ได้ แบบชั่วคราวตรงนี้ บ่อยครั้งเข้าไปเรื่อยๆ :b50: :b49: :b48:

ก็จะซาบซึ้งถึงใจกับอาการที่กาย ไม่ใช่ของๆเรา ไม่ใช่เราอย่างแท้จริง บังคับบัญชาให้ทำงานตามอยากไม่ได้ทุกครั้ง :b47: :b48: :b49:


โพสต์ เมื่อ: 13 ต.ค. 2013, 01:05 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ส.ค. 2010, 12:46
โพสต์: 1012

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


โดยผู้ปฏิบัติ จะเกิดความเข้าใจอย่างแจ่มแจ้งเลยนะครับว่า .. :b46: :b47: :b46:

เจตจำนงค์ หรือเจตนาจากใจ ที่จะสั่งการให้กายทำงานนั้น เป็นเพียงแค่องค์ประกอบเล็กๆองค์ประกอบหนึ่งเท่านั้น ที่ขับเคลื่อนให้กายทำงานได้ :b47: :b48: :b49:

และที่กายทำงานได้ ก็เนื่องมาจากเหตุปัจจัยล้วนๆ อันประกอบไปด้วย
:b50: :b49: :b48:

นาม อันได้แก่ จิต เป็นประธาน โดยมี เจตนา เป็นกิริยา (หรือเป็นกรรม ที่หมายถึงการกระทำ (ทางใจ)) :b46: :b47: :b42:

และรูป อันได้แก่ ระบบประสาท กระดูก กล้ามเนื้อ เส้นเอ็น เส้นเลือด ปริมาณออกซิเจนในเลือด อุณหภูมิและสิ่งแวดล้อมที่เหมาะสม ฯลฯ :b50: :b49: :b43:

ซึ่งรวมแล้วก็คือ ความพร้อมขององค์ประกอบแห่งกายหรือรูป อันหมายถึงการประสานงานร่วมกันอย่างประจวบเหมาะระหว่างธาตุดิน น้ำ ลม ไฟ หรือมหาภูตรูปทั้ง ๔ ที่เป็นส่วนกระทำต่อ (ทางกาย) :b51: :b50: :b49:

ไม่มีสัตว์ บุคคล ตัวตน หรือใครที่ไหน ที่จะสามารถมาบังคับบัญชาให้กายทำงานไปได้ ถ้าองค์ประกอบ หรือเหตุปัจจัยทั้งนาม (จิต เจตสิก) และรูป เหล่านี้ ไม่มาประชุมพร้อม :b51: :b50: :b44:


ซึ่งผู้ปฏิบัติ ก็จะเห็นการที่กาย ทำงาน หรือไม่ยอมทำงาน ไปได้ด้วยตัวเขาเองตามเหตุปัจจัย :b49: :b48: :b42:

โดยจะสามารถสังเกตเห็นได้ถึงสภาวธรรมต่างๆ ที่เกิดขึ้น ตั้งอยู่ และดับไปได้เอง เพราะถูกบีบคั้นให้เกิดความเปลี่ยนแปลงไปตามเหตุปัจจัย หามี "ตัวเรา" ผู้สั่งอย่างแท้จริงได้ไม่ ตามที่ได้อธิบายย้ำมานะครับ :b1: :b46: :b39:

(ซึ่งการปฏิบัติด้วยการรู้กายตรงนี้ ก็จะเป็นแนวทางเดียวกับการปฏิบัติด้วยการรู้ใจ ด้วยการเฝ้าสังเกตใจ ที่ทำงานได้ด้วยตัวของเขาเอง เช่น ร้องเพลงเอง คิดฟุ้งปรุงแต่งเอง หรือบางทีก็ไม่ยอมทำตามที่ตั้งใจ เช่น บังคับให้ไม่กังวล ไม่กลัว ไม่เศร้า ไม่ทุกข์ ก็ไม่ได้ (แต่สอนให้ฉลาดจนเห็นโลกตามจริงได้ เพื่อพ้นทุกข์) .. แล้วจะกลับมาลงรายละเอียดเพิ่ม เมื่อถึงช่วงของการฝึกสติสัมปชัญญะ ด้วยการรู้ใจนะครับ) :b49: :b48: :b41:


โพสต์ เมื่อ: 13 ต.ค. 2013, 01:32 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ส.ค. 2010, 12:46
โพสต์: 1012

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ซึ่งการเห็นตรงนี้ หมายถึงการเห็นว่าไม่มี "ตัวเรา" ที่แท้จริง แฝงอยู่ในขันธ์ทั้งหลาย :b46: :b47: :b41:

ขันธ์ทั้งหลายจะหยุดกระทำ หรือกระทำการเองได้ ก็เนื่องด้วยเหตุปัจจัย
:b48: :b47: :b48:

ซึ่งในปุถุชนก็คือ เมื่อมีเหตุอันได้แก่ผัสสะมากระตุ้น มีเจตนาที่แฝงไว้ด้วยอวิชชาสนับสนุน ขันธ์ต่างๆก็จะผุดเกิดขึ้นและทำงานของเขาไปได้เอง เพื่อสนองอวิชชาคืออาการเข้าใจผิด คิดว่ามี "ตัวเอง" เกิดปรากฏ แฝงลึกๆอยู่ในทุกการรับรู้ ทุกการประมวลผล และทุกการสั่งการกระทำต่อ :b49: :b55: :b54:

(ซึ่งทั้งหมดก็คือ เพื่อสนองตัวเอง .. โดยในแต่ละบุคคล อาการนี้จะมากจะน้อยก็ขึ้นอยู่กับกิเลสอนุสัยอาสวะสังโยชน์ที่ดองอยู่ในสันตานะ หรือสันดานนั่นเอง)
:b50: :b51: :b50:


และสำหรับอาการของรูปขันธ์ หรือของการกระทำทางกาย ที่แฝงไว้ด้วยอวิชชา ก็เช่น การอาบน้ำเช็ดตัวทานข้าว (เพื่อสนองตัวเอง ให้ตัวเองสบาย), การไปทำงานหรือทำกิจกรรมต่างๆในชีวิตประจำวัน (เพื่อหาเลี้ยงชีพสนองตัวเอง), การเสพสิ่งต่างๆ (เพื่อสนองความอยากตัวเอง), การตกใจกลัวแล้วร้องหรือกระโดดหนี (เพื่อป้องกันตัวเอง), การพบเจอเรื่องที่ไม่ชอบใจแล้วกังวล เป็นทุกข์ (เพราะมีตัวเองที่ถูกกระทบ มีตัวเองที่ไม่ชอบใจ มีตัวเองที่เป็นทุกข์), ฯลฯ :b48: :b47: :b48:

และการใช้สติ สัมปชัญญะ สมาธิ เข้ามาสังเกตอาการตามความเป็นจริงแห่งกาย คือการทำงานที่ขับเคลื่อนไปได้บนพื้นฐานของเหตุปัจจัยตรงนี้ ก็จะเป็นการบ่มเพาะให้เกิดวิชชา เข้ามาขจัดความไม่รู้คืออวิชชา ว่าหามีตัวตนเราแท้จริง ที่เป็นเจ้าของและสั่งการกายได้อยู่ไม่ :b46: :b47: :b41:

ซึ่งการเห็นอนัตตสภาวะของกายตรงนี้ จะต้องเห็นซ้ำๆอย่างต่อเนื่อง จนจิตยอม คล้อยตาม จนเห็นโลกตามจริง เห็นกายตามจริง ไม่เห็นด้วยความชอบใจ อยากให้มีให้เป็น หรือด้วยความไม่ชอบใจ ไม่อยากมีอยากเป็น :b48: :b47: :b42:

และเมื่อนั้นที่จิตเริ่มแจ่มแจ้งในอนัตตสภาวะแห่งกาย จิตก็จะเริ่มตอบสนองต่อกาย และกระทำต่อกาย ด้วยเหตุปัจจัย ไม่ได้ขับเคลื่อนด้วยความอยาก หรือไม่อยากอีกต่อไป
:b50: :b49: :b48:

เช่น การทานอาหาร ก็เพียงเพื่อให้ครบห้าหมู่ แค่วันละหนึ่งหรือสองมื้อ เพื่อยังกายให้ปฏิบัติธรรมอยู่ได้ เพื่ออนุเคราะห์แก่การประพฤติพรหมจรรย์ .. ไม่ได้ทานเพื่อความเพลิดเพลินสนุกสนาน เพื่อประดับตกแต่ง สรวลเสเฮฮา ฯลฯ ตามศีล ๘ ข้อที่ ๖ และตามบทสวดตังขณิกปัจจเวกขณปาฐะ อย่างเป็นปรกติ :b49: :b48: :b47:

การนุ่งห่มเสื้อผ้า ก็เพียงเพื่อบำบัดความร้อนหนาว บำบัดสัมผัสอันเกิดจากเหลือบ ยุง ลม แดด และสัตว์เลื้อยคลานทั้งหลาย เพื่อปกปิดอวัยวะอันให้เกิดความละอาย .. ไม่ได้นุ่งห่มเสื้อผ้าเพื่อประดับตกแต่ง รวมถึงการไม่ประดับร่างกายด้วยดอกไม้ของหอม เครื่องประดับ เครื่องทา เครื่องย้อม ฯลฯ ตามศีล ๘ ข้อที่ ๗ และตามบทสวดตังขณิกปัจจเวกขณปาฐะ อย่างเป็นปรกติ :b51: :b50: :b49:

การใช้สอยเครื่องใช้ เสนาสนะ ก็เพียงเพื่อบำบัดความร้อนหนาว บำบัดสัมผัสอันเกิดจากเหลือบ ยุง ลม แดด และสัตว์เลื้อยคลานทั้งหลาย เพื่อบรรเทาอันตรายอันจะพึงมีจากดินฟ้าอากาศ และเพื่อความเป็นผู้ยินดีอยู่ได้ ในที่หลีกเร้นสำหรับภาวนา ตามศีล ๘ ข้อที่ ๘ และตามบทสวดตังขณิกปัจจเวกขณปาฐะ อย่างเป็นปรกติ :b49: :b44: :b43:

การใช้สอยยาหรือบริการทางแพทย์ ก็เพียงเพื่อป้องกันหรือบำบัดเวทนาทางกาย ไม่ได้ใช้เพื่อตกแต่งความสวยงาม :b48: :b47: :b46:

การหลับนอน ก็ใช้เวลาหลับนอนเท่าที่จำเป็นต่อการพักผ่อนของกาย ซึ่งก็คือประมาณวันละ ๔ - ๖ ชั่วโมงตามแต่สาขาอาชีพที่ต้องใช้แรงงานมากน้อยขนาดไหน และเมื่อกายพักผ่อนเพียงพอแล้ว ก็ลุกจากเตียงเพื่อมาปฏิบัติธรรมในชีวิตประจำวันต่อไปได้อย่างที่ไม่ต้องนอนบิดขี้เกียจอยู่บนเตียงอีก :b50: :b49: :b48:

ฯลฯ

ซึ่งอาการต่างๆเหล่านี้ จะค่อยๆเริ่มเกิดขึ้นได้ในขั้นของโสดาบัน ที่รู้ว่ากายใจไม่ใช่เราแล้วแต่ก็ยังติดยึดด้วยความอยากในกายใจอยู่ และจะพัฒนาขึ้นไปอย่างมาก ตามพัฒนาการของสติสัมปชัญญะในขั้นสกทาคามี จนเป็นอย่างนี้อย่างถาวร ไม่กลับกลอกอีกต่อไป ในขั้นของอนาคามีและอรหันต์ :b46: :b39: :b46:

แล้วมาต่อกันในคราวหน้า กับการเจริญสติ "รู้สึกตัว" ด้วยการอยู่กับปัจจุบันขณะในการใช้ชีวิตประจำวัน ตามคำเทศน์ขององค์หลวงปู่นัทฮันห์ กับการฝึกสติด้วยการเคลื่อนไหว จนเข้ามารู้ที่ใจ คือการเฝ้าดูความคิด ตามแบบฉบับขององค์หลวงพ่อเทียน :b8: :b46: :b44:

ซึ่งทั้งสองท่าน ได้รับการยกย่องว่าเป็นลูกศิษย์ของพระบรมครู ที่เป็นครูบาอาจารย์แห่งการเจริญสติรูปสำคัญในยุคนี้ :b46: :b47: :b46:

เจริญในธรรมครับ :b8:


โพสต์ เมื่อ: 15 ต.ค. 2013, 21:14 
 
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 5
สมาชิก ระดับ 5
ลงทะเบียนเมื่อ: 19 ม.ค. 2011, 12:57
โพสต์: 337


 ข้อมูลส่วนตัว


เมื่อมีสัมมาสมาธิ คือการไม่ยึดติดอดีต หรือเร่งอนาคต แต่อยู่กับความจริงเฉพาะหน้าของแต่ละขณะ ก็จะพบว่า ทุกสรรพสิ่งล้วนเปลี่ยนแปลง(อนิจจังอย่างหยาบ) รู้ถึงการขาดตอนของความรู้สึก การวูบตกจากที่สูง การกระตุกของอวัยวะส่วนต่างๆ ของร่างกาย(อนิจจังอย่างกลาง) และการรู้ถึงกระแสการสั่นสะเทือนในเรือนกายหรือความรู้สึก(อนิจจังอย่างละเอียด) การเกิดปรากฏการณ์ของอนิจจัง จะส่งผลให้ร่างกายและจิตใจปลดปล่อยพลังงานออกมา (ทุกขัง)ในรูปของอารมณ์ที่อึดอัดหงุดหงิด หรือทางร่างกายคือ เหนื่อยล้า ง่วงซึม ความเจ็บปวด ผู้ปฏิบัติที่ขาดความเข้าใจในสภาวธรรมจะรู้สึกว่า ที่ผ่านมาปฏิบัติได้ดีสะดวก ทำไมกลับถอยหลัง จึงเกิดความลังเลสงสัย เลิกปฏิบัติหรือกลับไปทำสมถะอีก ซึ่งเป็นสิ่งที่น่าเสียดาย หากผู้ปฏิบัติรู้สภาวะด้วยใจที่เป็นกลาง หรือรู้แล้วละ ก็จะผ่านเข้าสู่ความสงบในระดับลึก(อนัตตา) สำหรับการเกิดสภาพอนิจจังอย่างหยาบก็จะคลายพลังงานออกเป็นทุกขังอย่างหยาบ อนัตตาอย่างหยาบ(ไตรลักษณ์อย่างหยาบ) เป็นรอบๆ ไป


โพสต์ เมื่อ: 19 ต.ค. 2013, 12:14 
 
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 5
สมาชิก ระดับ 5
ลงทะเบียนเมื่อ: 19 ม.ค. 2011, 12:57
โพสต์: 337


 ข้อมูลส่วนตัว


เมื่อวานได้มีโอกาสสนทนากับผู้ปฏิบัติธรรม ซึ่งกำลังเผชิญสภาวธรรมการวนเวียนอยู่กับความว่าง จึงขอนำมาเป็นกรณี ศึกษา น้อง ก ได้ปฏิบัติ จนพบความสั่นสะเทือนในร่างกาย(อนิจจังอย่างละเอียด) ซึ่งมี 2 ลักษณะ คือ บางครั้งเกิดเป็นแห่ง ๆ ตามร่างกาย บ้างเกิดทั่วร่างกายแต่ไม่นานนัก หากพิจารณาตามสภาวะ อาจกล่าวได้ว่า ผู้ปฏิบัติมีความสมดุลของพละ 5 ระดับหนึ่ง เกิดความเกิดดับ(ภังคญาณ) จริงแล้วไม่อยากให้ติดบัญญัติ แต่ที่ต้องทราบเพราะต้องมีความเข้าใจ เพื่อการเทียบเคียง เป็นแผนที่ ซึ่งมีไว้ให้รู้ไม่ให้ยึด หรือตั้งความหวัง
ตามหลักการ
1. มีจิตที่เป็นสภาพรู้ที่เป็นกลาง
2. นำจิตตามข้อ 1 ไปรู้กายใจตามความจริง(ความสัมพันธ์กายกับใจ)
3. พัฒนาพละ 5 ให้สมดุล
จาก 3 ข้อพูดง่ายแต่ทำยาก จะรู้ว่าปฏิบัติเป็นไปตามแนวทางที่พระพุทธองค์ได้แนะทางไว้หรือไม่ ให้ดูที่ผลของการปฏิบัติ ถ้าใจโปร่งเบา ทุกข์ลดลง แนวทางใหนก็ถูกทั้งหมด แสดงว่าทำเหตุได้ตรง


โพสต์ เมื่อ: 19 ต.ค. 2013, 19:53 
 
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 5
สมาชิก ระดับ 5
ลงทะเบียนเมื่อ: 19 ม.ค. 2011, 12:57
โพสต์: 337


 ข้อมูลส่วนตัว


มาต่อที่สภาวะแนวทางปฏิบัติ ของน้อง ก

เมื่อเกิดความสั่นสะเทือนภายในร่างกาย ของน้อง ก น้อง กจึงรู้ความสั่นสะเทือน ที่เกิดเป็นจุด ๆ จุดใหนเกิดก็ตามรู้ไปเรื่อย หรือหากเกิดมากกว่า 1 จุด ก็จะรู้รวมๆ เมื่อรู้ต่อไปเรื่อยๆก็จะเข้าสู่ความว่าง และเผลอในที่สุด เมื่อน้อง ก สงสัยว่าทำไมถึงเป็นเช่นนั้น อาจเป็นไปได้ที่ไม่ได้ทำในข้อ 2 จึงลองให้น้อง ก รู้ความสัมพันธ์ของกายและใจ ตามขั้นตอนที่ 2 (นำจิตตามข้อ 1 ไปรู้กายใจตามความจริง คือรู้ความสัมพันธ์ของกายกับใจ) ตรงนี้หากมีผู้สงสัยว่าทำไมต้องทำอย่างนั้นอย่างนี้ ไม่เป็นการสร้างเจตนาหรือที่จริงแล้วก็ถือเป็นการใช้เจตนา แต่ต้องพิจารณาเป็น 2 กรณี คือกรณีแรก ถ้าผู้ปฏิบัติอารมณ์วิปัสสนาไม่ติดเพ่งก็สามารถทำตามข้อ 2 ได้ไม่เป็นปัญหา แต่ถ้าผู้ปฏิบัติวิปัสสนาอารมณ์สมถะจะเกิดอุปสรรคได้ เพราะจะเกิดเจตนาของการเปลี่ยนจุดรู้ อาจตึงและอึดอัด หรือเกิดการหมุน

ขอย้อนกลับมาที่น้อง ก ที่กำหนดรู้ความสัมพันธ์ของกายและใจ การรู้ในกายคือ รู้ความสั่นสะเทือนในกาย 4-5 วินาที และมารู้ใจ ความหมายของใจ หรือนาม คือ ความรู้สึกต่างๆ เช่น สบาย อึดอัด ร้อน เย็น ซึ่งความจริงแล้วคือปรากฏการณ์ กรณืใดๆที่เป็นผลจากการสั่นสะเทือนของกาย สำหรับใจอยู่ที่ตำแหน่งที่รู้รวมๆของความสั่นสะเทือน(1) โดยไม่เลือกจุดใดจุดหนึ่ง หรือตำแหน่งตรงกลางหน้าอก หรือราวนมซ้าย (2) สำหรับน้อง ก เมื่อรู้ความสั่นสะเทือนของกายแล้ว ค่อยๆเคลื่อนมาที่รู้ที่ตำแหน่งราวนมซ้าย 4-5 วินาที ที่ราวนมซ้าย หากถามว่ารู้อะไร จริงแล้วคือการรู้ความรู้สึกหน่วง ทึบ หรือโล่ง หรือเฉยๆแล้วแต่สิ่งที่ไปรู้ว่ารู้สึกอย่างไรไม่ต้องไปหา แล้วกลับไปที่กายอีก ปรากฏว่าเกิดการหมุนวนขึ้นระหว่างการสั่นสะเทือนกับตำแหน่งราวนมซ้าย

การวิเคราะห์ กรณี ที่เกิดการหมุนของสภาวะ เกิดจากการที่น้อง ก ยังยึดอยู่ที่การสั่นสะเทือน เมื่อเคลื่อนมาที่หัวใจ ก็ยึดที่ใจ จึงเปรียบเสมือนการโยงเชือก ณ จุด 2 จุด เมื่อเกิดแรงเหวี่ยงจึงเกิดการหมุน ผลอันนี้ จึงสรุปได้ว่า น้อง ก มีตัวรู้ที่ยังไม่เป็นกลาง ต้องย้อนกลับไปทำ ข้อ 1 ใหม่


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 1416 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1 ... 44, 45, 46, 47, 48, 49, 50 ... 95  ต่อไป

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

่กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 1 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร