วันเวลาปัจจุบัน 21 ก.ค. 2025, 04:20  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง




กลับไปยังกระทู้  [ 176 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1, 2, 3, 4, 5, 6, 7 ... 12  ต่อไป  Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 27 มิ.ย. 2013, 22:33 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 01 มี.ค. 2010, 16:12
โพสต์: 2298

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


เช่นนั้น เขียน:
เน้นๆ อีกครา
ส่วนนี้
อันมีไตรลักษณ์เป็นอารมณ์นั้น
แปลเกิน ไม่ใช่พุทธวัจจนะ

แล้วทำให้เกิดความเข้าใจไขวเขวอย่างไร ถามหน่อยนะครับ
"ลักษณะสามกับไตรลักษณ์" นี่ต่างกันอย่างไรครับ


:b1:

.....................................................
"พุทโธ .. พุทโธ .. พุทโธ"
ภาวนาวันละนิด จิตแจ่มใส


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 27 มิ.ย. 2013, 22:45 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 14 ก.ค. 2008, 21:56
โพสต์: 3925

ชื่อเล่น: เช่นนั้น
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


วิริยะ เขียน:
เช่นนั้น เขียน:
เน้นๆ อีกครา
ส่วนนี้
อันมีไตรลักษณ์เป็นอารมณ์นั้น
แปลเกิน ไม่ใช่พุทธวัจจนะ

แล้วทำให้เกิดความเข้าใจไขวเขวอย่างไร ถามหน่อยนะครับ
"ลักษณะสามกับไตรลักษณ์" นี่ต่างกันอย่างไรครับ


:b1:

ไปอ่านกระทู้เก่าๆ ที่ โฮฮับทำลิงค์ให้
http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=1&t=45451&start=135

แล้วอ่านตั้งแต่ต้นจนจบ

.....................................................
ธรรมะอันยิ่งใหญ่ ไม่อาจเอื้อนเอ่ย
บัญญัติ เป็นเพียงสิ่งต่ำต้อยแบกรับความยิ่งใหญ่


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 27 มิ.ย. 2013, 22:49 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 01 มี.ค. 2010, 16:12
โพสต์: 2298

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


:b1:

.....................................................
"พุทโธ .. พุทโธ .. พุทโธ"
ภาวนาวันละนิด จิตแจ่มใส


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 27 มิ.ย. 2013, 23:08 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 14 ก.ค. 2008, 21:56
โพสต์: 3925

ชื่อเล่น: เช่นนั้น
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


หลังจากอ่านกระทู้นั้นแล้ว
ถึงจะมาที่คำถาม
วิริยะ เขียน:
เช่นนั้น เขียน:
เน้นๆ อีกครา
ส่วนนี้
อันมีไตรลักษณ์เป็นอารมณ์นั้น
แปลเกิน ไม่ใช่พุทธวัจจนะ


แล้วทำให้เกิดความเข้าใจไขวเขวอย่างไร ถามหน่อยนะครับ
"ลักษณะสามกับไตรลักษณ์" นี่ต่างกันอย่างไรครับ


พึงทำความเข้าใจว่า
ลักษณะ เป็นการอธิบายสภาวะ
ซึ่ง
อนัตตา ก็มีสภาวะธรรม ของอนัตตาเอง
และ
อนัตตา ก็เป็นส่วนของมรรคปัญญาในการทำวิปัสสนา เป็นส่วนแห่งวิชชา เพื่อทำลายโมหะ ทำลายสักกายทิฏฐิ ทำลายความยึดความถือ ทำลายมานะ
อนัตตา เป็นญาณในธรรม

อนัตตา เกิดดับได้
อนัตตามีความปรากฏ
อนัตตาจึงมีความแปรปรวน

ดังนั้นอนัตตา จึงมีสภาวะเดียว

ไม่ใช่ สังขตะธรรม ก็มีอนัตตาสภาวะหนึ่งที่อยู่ในไตรลักษณ์
พอ อสังขตะธรรม ก็พ้นไตรลักษณ์ อนัตตาก็เป็นอีกสภาวะหนึ่ง

เพราะความไม่รู้จัก สภาวะธรรม ของอนัตตา
จึงได้แต่กล่าว ไตรลักษณ์อย่างเลื่อนลอย
การเจริญวิปัสสนา
พระองค์แสดง แต่ อนิจจสัญญา ทุกขสัญญา อนัตตสัญญา
กล่าวโดยย่อ คือ อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา

จำไว้ ว่า ไม่มีพุทธพจน์ บทไหนที่แสดงว่า "ไตรลักษณ์ คือ อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา"
และสังขตะลักษณะทั้ง 3 คือ อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา ไม่มีแน่นอน

.....................................................
ธรรมะอันยิ่งใหญ่ ไม่อาจเอื้อนเอ่ย
บัญญัติ เป็นเพียงสิ่งต่ำต้อยแบกรับความยิ่งใหญ่


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 28 มิ.ย. 2013, 03:03 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 13 ก.พ. 2010, 17:53
โพสต์: 4999

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


เช่นนั้น เขียน:
วิริยะ เขียน:
เช่นนั้น เขียน:
เน้นๆ อีกครา
ส่วนนี้
อันมีไตรลักษณ์เป็นอารมณ์นั้น
แปลเกิน ไม่ใช่พุทธวัจจนะ

แล้วทำให้เกิดความเข้าใจไขวเขวอย่างไร ถามหน่อยนะครับ
"ลักษณะสามกับไตรลักษณ์" นี่ต่างกันอย่างไรครับ


:b1:

ไปอ่านกระทู้เก่าๆ ที่ โฮฮับทำลิงค์ให้
http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=1&t=45451&start=135

แล้วอ่านตั้งแต่ต้นจนจบ

จะอธิบายแทนคุณวิริยะ คำว่าไตรลักษณ์ในพระสุตรแปล มันไม่ได้ทำให้ไขว้เขว
แต่มันช่วยทำให้เราเข้าใจเข้าถึงสภาวะธรรมได้มากขึ้น

ที่เช่นนั้นบอกทำให้ไขว้เขว เพราะเช่นนั้นไปจำโวหารคนอื่นมา ที่ว่า"พุทธวจนะๆๆๆ"
เช่นนั้นเข้าใจผิดไปว่า ต้องยึดตัวอักษรห้ามขาดห้ามเกิน แบบนี้มันผิดหลักภาษา
ผิดหลักของการแปล

กับคำพูดของเช่นนั้นที่ว่า...ต้องยึดหลักพุทธวจนก่อน เช่นนั้นพูดทั้งๆที่ไม่เข้าใจ
ว่าการยึดหลักเป็นอย่างไร........
ความหมายของคำแปลที่ต้องยึดหลักพุทธวจนะ นั้นก็คือ คำแปลจะต้องมีที่มาที่ไป
คือมีคำศัพท์หรือประโยคที่มาของคำแปล
อย่างเรื่องนี้ก็เช่นกัน ต่อให้"ไตรลักษณ์"เป็นคำที่อรรถกถาแต่งขึ้นในภายหลังตามที่เช่นนั้นบอก
อรรถกถาจารย์ท่านก็แปลตามหลักของพุทธวจนะ
เพราะท่านกำหนดคำศัพท์ของท่านว่า ....ไตรลักษณ์หมายถึง อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา
ซึ่งคำสามคำนี้เป็นพุทธพจน์มีอยู่ในพระสูตรจริงๆ


ถ้าในพระสูตรหรือพุทธพจน์ไม่คำกล่าว อนิจจัง ทุกขัง อนัตตาไว้ แต่อรรถกถาจารย์
ไปเขียนเพิ่ม"ไตรลักษณ์"เข้าไป นั้นแหล่ะถึงจะเรียกว่า ไม่ใช่พุทธวจนะ
กล่าวไว้ในตอนต้นแล้วว่า พุทธวจนะก็คือพุทธวนะ อรรถกถาก็คืออรรถกถาฯลฯ
ดังนั้น"อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา" เป็นพุทธพจน์ "ไตรลักษณ์"เป็นอรรถกถา
แต่เหล่าอรรถกถาจารย์ ท่านกล่าวไว้หรือกำหนดไว้ว่า "ไตรลักษณ์"ที่บัญญัติขึ้น
ท่านหมายถึง...อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา

ถึงได้บอกว่า จะคุยกันในระดับ ความเห็นก็ต้องเป็นความเห็น อรรถกถาก็ต้องเป็นอรรถกถาเหมือนกัน
ภาษาตัวอักษรที่ในในแต่ล่ะระดับมันไม่เหมือนกัน

อย่างอรรถกถาเข้าสนทนากัน เขาก็ใช้ภาษาของเขา
การเอาคำพูดของงอรรถกถาไปเปรียบกับพุทธวจนะ มันต้องเป็นการเปรียบในเชิงที่มาที่ไป
ไม่ใช่เอาไปเปรียบในเชิงภาษาหรือตัวอักษร
การที่เช่นนั้นไปปรามาสคนอื่นว่า เอาไตรลักษณ์มาพูดมันไม่มีในพุทธจวนะ
การไม่มีนั้นจะต้องไม่มี อนิจจัง ทุกขัง อนัตตาบัญญัติเอาไว้ในพุทธวจนะ
ไม่ใช่มาบอกว่า ไม่มีไตรลักษณ์บัญญัติไว้ เพราะอรรถกถาทที่บอกให้เข้าใจแล้วว่า
คำพูดที่ว่า "ไตรลักษณ์ของท่านหมายถึง อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา


สรุปคำพูดที่เช่นนั้นชอบเอามาปรามาสคนอื่น
ล้วนแล้วแต่เป็นโวหารที่ขาดเหตุผล เอาไว้แค่ข่มขู่ชาวบ้าน :b13:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 28 มิ.ย. 2013, 03:11 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 13 ก.พ. 2010, 17:53
โพสต์: 4999

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


พูดถึงอาการไขว้เขว ผมจะยกตัวอย่างให้ดูว่าเป็นอย่างไร
เอาที่เห็นชัดๆ นัันก็คือ........

เช่นนั้นบอกว่า "ไตรลักษณ์"ไม่ใช่พุทธวนะไม่ควรกล่าวถึง
มันแปลกตรงที่ดันมาบอกว่า....
ไตรลักษณ์ คือลักษณะสามอย่างของ สังขตธรรมและอสังขตธรรม

ในเมื่อรังเกียจแล้วเอามาอ้างทำไมครับ
แบบนี้เรียก เกลียดตัวกินไข่ เกลียดปลาไหลซดน้ำแกง

เล่นซดน้ำแกงเสียงดังโฮก ชาวบ้านเขารู้หมด :b32:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 28 มิ.ย. 2013, 04:47 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 13 ก.พ. 2010, 17:53
โพสต์: 4999

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


เช่นนั้น เขียน:
พึงทำความเข้าใจว่า
ลักษณะ เป็นการอธิบายสภาวะ
ซึ่ง
อนัตตา ก็มีสภาวะธรรม ของอนัตตาเอง
และ
อนัตตา ก็เป็นส่วนของมรรคปัญญาในการทำวิปัสสนา เป็นส่วนแห่งวิชชา เพื่อทำลายโมหะ ทำลายสักกายทิฏฐิ ทำลายความยึดความถือ ทำลายมานะ
อนัตตา เป็นญาณในธรรม

อนัตตา ในสังขารธรรม ไม่ใช่เป็นการอธิบายสภาวะ แต่อนัตตานั้นแหละเป็นสภาวะ
อนัตตามีเหตุปัจจัยมาจาก สภาวะเช่นกันนั้นก็คือ การเกิดขึ้น ตั้งอยู่และดับไปของขันธ์ห้า

การเกิดขึ้น ตั้งอยู่ และดับไปของขันธ์ห้า ...ทำให้เกิดสภาวะธรรมตามมา
ธรรมที่ตามมานี้เป็นสภาวะธรรมเดี่ยวๆ แต่มีลักษณะ๓ประการ

นั้นคือเราจะมองสภาวะธรรมนี้ เป็นอนิจจังก็ได้ หรือจะมองเป็นทุกขังก็ได้และจะมองเป็น
อนัตตาก็ได้ ด้วยเหตุนี้ การกล่าวถึงสภาวะธรรมที่มีเหตุปัจจัยมาจากสังขารหรือขันธ์ห้า
จึงต้องกล่าว อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา ทั้งหมด

เช่นนั้น เขียน:
อนัตตา ก็เป็นส่วนของมรรคปัญญาในการทำวิปัสสนา เป็นส่วนแห่งวิชชา เพื่อทำลายโมหะ ทำลายสักกายทิฏฐิ ทำลายความยึดความถือ ทำลายมานะ
อนัตตา เป็นญาณในธรรม

อนัตตาในสังขตะ ไม่ใช่มรรคปัญญา อนัตตาในสังขตะเป็น สมุทัยเป็นเหตุแห่งทุกข์
ส่วนของมรรคปัญญาที่เป็นสังขตะก็คือ อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา

อนิจจัง ทุกขัง อนัตตาเป็นปัญญาในส่วนของสังขตะ
เช่นนั้น เขียน:
อนัตตา เกิดดับได้
อนัตตามีความปรากฏ
อนัตตาจึงมีความแปรปรวน

อนัตตาที่เป็นอสังขตะ ไม่เกิดดับ เมื่อตั้งอยู่ไม่แปรปวน เช่นนั้นตั้งสติพิจารณาให้ดีซะก่อน
เช่นนั้น เขียน:
ดังนั้นอนัตตา จึงมีสภาวะเดียว
ไม่ใช่ สังขตะธรรม ก็มีอนัตตาสภาวะหนึ่งที่อยู่ในไตรลักษณ์
พอ อสังขตะธรรม ก็พ้นไตรลักษณ์ อนัตตาก็เป็นอีกสภาวะหนึ่ง

เช่นนั้นเข้าใจซะใหม่ ไตรลักษณ์ไม่ได้หมายถึงมี ๓ สภาวะ
มันหมายถึง มีสภาวะเดียวแต่มีลักษณะสามประการ เข้าใจมั้ย พุทโธ่เอ้ย!


พูดธรรมยิ่งธรรมสูงๆอย่ายึดบัญญัติ ไม่อย่างนั้นจะพูดกันไม่รู้เรื่อง
พูดลงไปที่สภาวะธรรมและเหตุปัจจัย เข้าใจมั้ยเช่นนั้น

ลองไปดูสภาวะที่เป็นเหตุปัจจัยของสังขตธรรมและอสังขตธรรมมันเหมือนกันมั้ย
ถ้ามันเหมือนอย่างที่เช่นนั้นอ้าง เราจะปฏิบัติไปเพื่ออะไร คิดซิคิด!
เช่นนั้น เขียน:
เพราะความไม่รู้จัก สภาวะธรรม ของอนัตตา
จึงได้แต่กล่าว ไตรลักษณ์อย่างเลื่อนลอย
การเจริญวิปัสสนา
พระองค์แสดง แต่ อนิจจสัญญา ทุกขสัญญา อนัตตสัญญา
กล่าวโดยย่อ คือ อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา

เช่นนั้นอย่าว่าชาวบ้านเลย ตัวเช่นนั้นเองแม้แต่เหตุปัจจัยต่างๆเช่นนั้นยังไม่เข้าใจเลย
ดูถูกชาวบ้านไม่รู้จัก สภาวะธรรมของอนัตตา แล้วที่เช่นนั้นพูดมันเป็นสภาวะตรงไหน
เห็นมีแต่บัญญัติ ที่เกิดจากจิตไปยึดอย่างเหนี่ยวแน่น จนตัวเองเข้าใจผิดคิดว่า
บัญญัติที่ตัวกำลังกล่าวเป็นสภาวะธรรม

พูดเหมือนตัวเองรู้จักสภาวะธรรมอนัตตา แต่ดันบอกว่า อนัตตาเป็นญาณในธรรม
อนัตตาถ้าจะกล่าวว่าเป็นสภาวะธรรม มันก็เป็นเพียงสภาววะธรรม
แต่ถ้าจะกล่าวในเรื่องญาน ....มันต้องกล่าวถึงวิชชาความรู้ในเหตุปัจจัย ที่ทำให้เกิดอนัตตา
ไม่ใช่มาบอกว่าอนัตตาเป็นญานหรือปัญญา


เช่นนั้น เขียน:
จำไว้ ว่า ไม่มีพุทธพจน์ บทไหนที่แสดงว่า "ไตรลักษณ์ คือ อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา"

ความสำคัญมันไม่ได้อยู่ที่"ไตรลักษณ์" จะเป็นหรือไม่เป็นพุทธพจน์
ความเป็นพุทธพจน์ ต้องดูที่ อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา
ถ้าอนิจจัง ทุกขัง อนัตตา เป็นพุทธพจน์
ไตรลักษณ์ย่อมเป็นพุทธพจน์ด้วย เพราะผู้บัญญัติ"ไตรลักษณ์"ขึ้น
ท่านให้ความหมายหรืออธิบายความว่า ไตรลักษณ์ท่านบัญญัติจาก อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา
เช่นนั้น เขียน:
และสังขตะลักษณะทั้ง 3 คือ อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา ไม่มีแน่นอน

ความหมายแท้ๆของมันก็คือ สังขตะ(สังขาร) เป็นเหตุปัจจัยให้เกิด อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา
ถ้าเช่นนนั้นยังบอกไม่ใช้อีก ก็กลับไปดูกระทู้เดิม ที่เช่นนั้นคุยกับหลวงพี่พุทธฎีกา
หลวงพี่พุทธฎีกายกเอาพระสูตรที่เกี่ยวกับเรื่องนี้มาให้ดูตั้งหลายพระสูตร
แต่ผมว่าเปล่าประโยชน์ สำเหนียกยากแท้ :b13:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 28 มิ.ย. 2013, 06:30 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 01 มี.ค. 2010, 16:12
โพสต์: 2298

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


เช่นนั้น เขียน:
อนัตตา เกิดดับได้
อนัตตามีความปรากฏ
อนัตตาจึงมีความแปรปรวน

ข้างบนนี้เหมือน อนิจจา หรืออนิจจลักษณะ นะครับ ..
"อนิจจลักษณะ" ความไม่เที่ยง ทุกสิ่งย่อมมีการแปรเปลี่ยน เกิดขึ้นตั้งอยู่ดับไปเป็นธรรมดา

อนัตตา หรือ อนัตตลักษณะ
"อนัตตา" สิ่งที่ไม่ใช่ตัวตน ไม่มีตัวตน ไม่ใช่ใคร ไม่ใช่ของใคร ไม่อยู่ในอำนาจควบคุมของใคร
ไม่มีสาระ ไม่มีแก่นสาร ..


:b1:

.....................................................
"พุทโธ .. พุทโธ .. พุทโธ"
ภาวนาวันละนิด จิตแจ่มใส


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 28 มิ.ย. 2013, 06:53 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 20 มี.ค. 2010, 19:57
โพสต์: 1014

โฮมเพจ: http://www.vitwong.blogspot.com
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว www


อ้างคำพูด:
อนัตตา ก็มีสภาวะธรรม ของอนัตตาเอง
และ
อนัตตา ก็เป็นส่วนของมรรคปัญญาในการทำวิปัสสนา เป็นส่วนแห่งวิชชา เพื่อทำลายโมหะ ทำลายสักกายทิฏฐิ ทำลายความยึดความถือ ทำลายมานะ
อนัตตา เป็นญาณในธรรม

อนัตตา เกิดดับได้
อนัตตามีความปรากฏ
อนัตตาจึงมีความแปรปรวน


อย่าเอาอนัตตา มาเป็นตัวเป็นตน เลยครับ

สิ่งที่มีจริง มีแค่ จิต เจตสิก รูป นิพพาน เท่านั้น

.....................................................
ยังงมงาย...
เมื่อเห็นว่าพระไตรปิฏก มีส่วนถูก มีส่วนจริงแค่ 20 ถึง 30 เปอร์เซนต์ เท่านั้น

เลิกงมงาย..
เมื่อเห็นว่า พระไตรปิฏก มีส่วนถูก ส่วนจริง เกินกว่า 80 ถึง กว่า 90 เปอร์เซนต์

http://www.youtube.com/user/govit2554#g/u


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 28 มิ.ย. 2013, 12:41 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 14 ก.ค. 2008, 21:56
โพสต์: 3925

ชื่อเล่น: เช่นนั้น
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


govit2552 เขียน:
อ้างคำพูด:
อนัตตา ก็มีสภาวะธรรม ของอนัตตาเอง
และ
อนัตตา ก็เป็นส่วนของมรรคปัญญาในการทำวิปัสสนา เป็นส่วนแห่งวิชชา เพื่อทำลายโมหะ ทำลายสักกายทิฏฐิ ทำลายความยึดความถือ ทำลายมานะ
อนัตตา เป็นญาณในธรรม

อนัตตา เกิดดับได้
อนัตตามีความปรากฏ
อนัตตาจึงมีความแปรปรวน


อย่าเอาอนัตตา มาเป็นตัวเป็นตน เลยครับ

สิ่งที่มีจริง มีแค่ จิต เจตสิก รูป นิพพาน เท่านั้น

อ่านใหม่นะโกวิท
ว่าที่เขียนลงไปหมายความว่าอะไร

จิตมีจริงหรือ
เจตสิกมีจริงหรือ
รูปมีจริง หรือ

grin

.....................................................
ธรรมะอันยิ่งใหญ่ ไม่อาจเอื้อนเอ่ย
บัญญัติ เป็นเพียงสิ่งต่ำต้อยแบกรับความยิ่งใหญ่


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 28 มิ.ย. 2013, 12:43 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 14 ก.ค. 2008, 21:56
โพสต์: 3925

ชื่อเล่น: เช่นนั้น
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


วิริยะ เขียน:
เช่นนั้น เขียน:
อนัตตา เกิดดับได้
อนัตตามีความปรากฏ
อนัตตาจึงมีความแปรปรวน

ข้างบนนี้เหมือน อนิจจา หรืออนิจจลักษณะ นะครับ ..
"อนิจจลักษณะ" ความไม่เที่ยง ทุกสิ่งย่อมมีการแปรเปลี่ยน เกิดขึ้นตั้งอยู่ดับไปเป็นธรรมดา

อนัตตา หรือ อนัตตลักษณะ
"อนัตตา" สิ่งที่ไม่ใช่ตัวตน ไม่มีตัวตน ไม่ใช่ใคร ไม่ใช่ของใคร ไม่อยู่ในอำนาจควบคุมของใคร
ไม่มีสาระ ไม่มีแก่นสาร ..


:b1:

อนัตตา เป็นสภาวะธรรม ใช่หรือไม่ คุณวิริยะ

.....................................................
ธรรมะอันยิ่งใหญ่ ไม่อาจเอื้อนเอ่ย
บัญญัติ เป็นเพียงสิ่งต่ำต้อยแบกรับความยิ่งใหญ่


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 28 มิ.ย. 2013, 12:44 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 14 ก.ค. 2008, 21:56
โพสต์: 3925

ชื่อเล่น: เช่นนั้น
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


โฮฮับ เขียน:
เช่นนั้น เขียน:
พึงทำความเข้าใจว่า
ลักษณะ เป็นการอธิบายสภาวะ
ซึ่ง
อนัตตา ก็มีสภาวะธรรม ของอนัตตาเอง
และ
อนัตตา ก็เป็นส่วนของมรรคปัญญาในการทำวิปัสสนา เป็นส่วนแห่งวิชชา เพื่อทำลายโมหะ ทำลายสักกายทิฏฐิ ทำลายความยึดความถือ ทำลายมานะ
อนัตตา เป็นญาณในธรรม

อนัตตา ในสังขารธรรม ไม่ใช่เป็นการอธิบายสภาวะ แต่อนัตตานั้นแหละเป็นสภาวะ
อนัตตามีเหตุปัจจัยมาจาก สภาวะเช่นกันนั้นก็คือ การเกิดขึ้น ตั้งอยู่และดับไปของขันธ์ห้า

การเกิดขึ้น ตั้งอยู่ และดับไปของขันธ์ห้า ...ทำให้เกิดสภาวะธรรมตามมา
ธรรมที่ตามมานี้เป็นสภาวะธรรมเดี่ยวๆ แต่มีลักษณะ๓ประการ

นั้นคือเราจะมองสภาวะธรรมนี้ เป็นอนิจจังก็ได้ หรือจะมองเป็นทุกขังก็ได้และจะมองเป็น
อนัตตาก็ได้ ด้วยเหตุนี้ การกล่าวถึงสภาวะธรรมที่มีเหตุปัจจัยมาจากสังขารหรือขันธ์ห้า
จึงต้องกล่าว อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา ทั้งหมด

เช่นนั้น เขียน:
อนัตตา ก็เป็นส่วนของมรรคปัญญาในการทำวิปัสสนา เป็นส่วนแห่งวิชชา เพื่อทำลายโมหะ ทำลายสักกายทิฏฐิ ทำลายความยึดความถือ ทำลายมานะ
อนัตตา เป็นญาณในธรรม

อนัตตาในสังขตะ ไม่ใช่มรรคปัญญา อนัตตาในสังขตะเป็น สมุทัยเป็นเหตุแห่งทุกข์
ส่วนของมรรคปัญญาที่เป็นสังขตะก็คือ อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา

อนิจจัง ทุกขัง อนัตตาเป็นปัญญาในส่วนของสังขตะ
เช่นนั้น เขียน:
อนัตตา เกิดดับได้
อนัตตามีความปรากฏ
อนัตตาจึงมีความแปรปรวน

อนัตตาที่เป็นอสังขตะ ไม่เกิดดับ เมื่อตั้งอยู่ไม่แปรปวน เช่นนั้นตั้งสติพิจารณาให้ดีซะก่อน
เช่นนั้น เขียน:
ดังนั้นอนัตตา จึงมีสภาวะเดียว
ไม่ใช่ สังขตะธรรม ก็มีอนัตตาสภาวะหนึ่งที่อยู่ในไตรลักษณ์
พอ อสังขตะธรรม ก็พ้นไตรลักษณ์ อนัตตาก็เป็นอีกสภาวะหนึ่ง

เช่นนั้นเข้าใจซะใหม่ ไตรลักษณ์ไม่ได้หมายถึงมี ๓ สภาวะ
มันหมายถึง มีสภาวะเดียวแต่มีลักษณะสามประการ เข้าใจมั้ย พุทโธ่เอ้ย!


พูดธรรมยิ่งธรรมสูงๆอย่ายึดบัญญัติ ไม่อย่างนั้นจะพูดกันไม่รู้เรื่อง
พูดลงไปที่สภาวะธรรมและเหตุปัจจัย เข้าใจมั้ยเช่นนั้น

ลองไปดูสภาวะที่เป็นเหตุปัจจัยของสังขตธรรมและอสังขตธรรมมันเหมือนกันมั้ย
ถ้ามันเหมือนอย่างที่เช่นนั้นอ้าง เราจะปฏิบัติไปเพื่ออะไร คิดซิคิด!
เช่นนั้น เขียน:
เพราะความไม่รู้จัก สภาวะธรรม ของอนัตตา
จึงได้แต่กล่าว ไตรลักษณ์อย่างเลื่อนลอย
การเจริญวิปัสสนา
พระองค์แสดง แต่ อนิจจสัญญา ทุกขสัญญา อนัตตสัญญา
กล่าวโดยย่อ คือ อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา

เช่นนั้นอย่าว่าชาวบ้านเลย ตัวเช่นนั้นเองแม้แต่เหตุปัจจัยต่างๆเช่นนั้นยังไม่เข้าใจเลย
ดูถูกชาวบ้านไม่รู้จัก สภาวะธรรมของอนัตตา แล้วที่เช่นนั้นพูดมันเป็นสภาวะตรงไหน
เห็นมีแต่บัญญัติ ที่เกิดจากจิตไปยึดอย่างเหนี่ยวแน่น จนตัวเองเข้าใจผิดคิดว่า
บัญญัติที่ตัวกำลังกล่าวเป็นสภาวะธรรม

พูดเหมือนตัวเองรู้จักสภาวะธรรมอนัตตา แต่ดันบอกว่า อนัตตาเป็นญาณในธรรม
อนัตตาถ้าจะกล่าวว่าเป็นสภาวะธรรม มันก็เป็นเพียงสภาววะธรรม
แต่ถ้าจะกล่าวในเรื่องญาน ....มันต้องกล่าวถึงวิชชาความรู้ในเหตุปัจจัย ที่ทำให้เกิดอนัตตา
ไม่ใช่มาบอกว่าอนัตตาเป็นญานหรือปัญญา


เช่นนั้น เขียน:
จำไว้ ว่า ไม่มีพุทธพจน์ บทไหนที่แสดงว่า "ไตรลักษณ์ คือ อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา"

ความสำคัญมันไม่ได้อยู่ที่"ไตรลักษณ์" จะเป็นหรือไม่เป็นพุทธพจน์
ความเป็นพุทธพจน์ ต้องดูที่ อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา
ถ้าอนิจจัง ทุกขัง อนัตตา เป็นพุทธพจน์
ไตรลักษณ์ย่อมเป็นพุทธพจน์ด้วย เพราะผู้บัญญัติ"ไตรลักษณ์"ขึ้น
ท่านให้ความหมายหรืออธิบายความว่า ไตรลักษณ์ท่านบัญญัติจาก อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา
เช่นนั้น เขียน:
และสังขตะลักษณะทั้ง 3 คือ อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา ไม่มีแน่นอน

ความหมายแท้ๆของมันก็คือ สังขตะ(สังขาร) เป็นเหตุปัจจัยให้เกิด อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา
ถ้าเช่นนนั้นยังบอกไม่ใช้อีก ก็กลับไปดูกระทู้เดิม ที่เช่นนั้นคุยกับหลวงพี่พุทธฎีกา
หลวงพี่พุทธฎีกายกเอาพระสูตรที่เกี่ยวกับเรื่องนี้มาให้ดูตั้งหลายพระสูตร
แต่ผมว่าเปล่าประโยชน์ สำเหนียกยากแท้ :b13:


เปล่าประโยชน์ต่อการสนทนากับ ผู้ที่มีความเห็นไม่อยู่กะร่องกะรอย
Good Bye โฮฮับ

.....................................................
ธรรมะอันยิ่งใหญ่ ไม่อาจเอื้อนเอ่ย
บัญญัติ เป็นเพียงสิ่งต่ำต้อยแบกรับความยิ่งใหญ่


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 28 มิ.ย. 2013, 17:19 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 01 มี.ค. 2010, 16:12
โพสต์: 2298

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


เช่นนั้น เขียน:
อนัตตา เป็นสภาวะธรรม ใช่หรือไม่ คุณวิริยะ

ถ้ายกตำรามา คุณก็คงว่า ตัดต่อ เพิ่มเติม
ยกคำครูบาอาจารย์ ก็คงว่า คิดเอาเอง .. :b13:

คุณคงมีคำตอบอยู่แล้ว หากไม่ตระหนี่ธรรม
คนอื่นคงได้รู้ด้วย .. :b1:

ผมไม่เห็นด้วยกับคำพูดที่ว่า พระพุทธเจ้าไม่เคยสอนว่า
"ไตรลักษณ์ คือ อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา"

ธรรมที่พระองค์สอนโลก แค่น้ำในโอ่งในไห ที่ไม่ได้สอน
เหมือนน้ำในมหาสมุทร

จะทึกทักเอาว่า "ไม่มีในบาลี ก็ไม่ใช่ธรรมของพระพุทธเจ้า"
จึงไม่น่าจะถูกต้องนัก ..


:b1:

.....................................................
"พุทโธ .. พุทโธ .. พุทโธ"
ภาวนาวันละนิด จิตแจ่มใส


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 29 มิ.ย. 2013, 03:46 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 13 ก.พ. 2010, 17:53
โพสต์: 4999

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


วิริยะ เขียน:
ถ้ายกตำรามา คุณก็คงว่า ตัดต่อ เพิ่มเติม
ยกคำครูบาอาจารย์ ก็คงว่า คิดเอาเอง ..

คุณเช่นนั้นแกไปเอา โวหารมาเป็นหลักธรรมครับ
ความไม่รู้หรืออวิชา ทำให้ธรรมของพระพุทธเจ้าที่มีมากถึง๘๔๐๐๐พระธรรมขันธ์
มันก็เลยหดอยู่แค่ โวหารที่แกพูดครับ
วิริยะ เขียน:
คุณคงมีคำตอบอยู่แล้ว หากไม่ตระหนี่ธรรม
คนอื่นคงได้รู้ด้วย ..

คุณเช่นนั้นแกไม่ได้ตระหนี่ธรรมครับ แกรู้อยู่แค่โวหารทำให้หลงติดกับบัญญัติ
เลยไม่สามารถทำให้เข้าใจผลของเหตุครับ แกเข้าใจว่า บัญญัติที่แกจำมา
เป็นผลสมบูรณ์ในตัวบัญญัติแล้ว เลยทำให้คำพูดที่เกี่ยวกับธรรมของแก มันจำกัดอยู่แค่บัญญัติ
มีแต่เหตุ ไม่มีผล หรือเรียกว่า ไม่มีวิชชาครับ

คุณเช่นนั้นไม่ได้ตระหนี่ แต่แกไม่รู้ครับ

วิริยะ เขียน:
ผมไม่เห็นด้วยกับคำพูดที่ว่า พระพุทธเจ้าไม่เคยสอนว่า
"ไตรลักษณ์ คือ อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา"

พระพุทธเจ้าท่านสอนเรื่องสภาวะธรรม แต่เช่นนั้นเข้าใจว่าพระพุทธองค์สอนเรื่องบัญญัติ
เลยทำให้คุณเช่นนั้นเข้าใจผิดไปว่า คนอื่นกล่าวเกินพุทธวจนะ
วิริยะ เขียน:
ธรรมที่พระองค์สอนโลก แค่น้ำในโอ่งในไห ที่ไม่ได้สอน
เหมือนน้ำในมหาสมุทร
จะทึกทักเอาว่า "ไม่มีในบาลี ก็ไม่ใช่ธรรมของพระพุทธเจ้า"
จึงไม่น่าจะถูกต้องนัก ..

พุทธพจน์เปรียบเหมือนหลักธรรม ซึ่งในหลักธรรมนั้นทำให้เกิดผลเป็น๘๔๐๐๐พระธรรมขันธ์
คำพูดของเช่นนั้น สวนทางกับคำสอน พระพุทธองค์ให้นำพุทธพจน์ของพระองค์ไปทำให้เกิดผล
แต่คุณเช่นนั้นกลับมาทำในสิ่งตรงกันข้าม จะพยายามทำผลให้หายไป เหลือแค่โวหารสั้นๆว่า
"เอ็งทำเกินพุทธวจนะ"

คนอื่นเขาพูดผลของพุทธวจนะ(วิชชา)
แต่เช่นนั้นจะจมแช่อยู่กับบัญญัติโวหารเท่านั้น


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 29 มิ.ย. 2013, 11:24 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 11 ต.ค. 2010, 12:11
โพสต์: 5019


 ข้อมูลส่วนตัว


ช่วงนี้...มีกระทู้เกี่ยวกับสิ่งเหล่านี้มากมาย ...

smiley smiley smiley

พระพุทธองค์ไม่สุ่มสี่สุ่มห้าสอน...แม้แต่การใช้คำ...
การใช้คำ

"อนิจจสัญญา ทุกขสัญญา อนัตตสัญญา"
ก็เป็นคำที่ตรงต่อสภาวะ...

ถ้าคนที่ชินกับการท่องจำบัญญัติ หรือคนที่มักบริกรรม ย้ำเตือนบริกรรมบัญญัติ
เขาจะเห็น อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา ในแง่เหมือนเราเรียนหนังสือทางโลก
ซึ่งนั่นเป็นการปรุงแต่งสัญญาสังขาร...
ผลก็คือ...สุขที่ได้รับจากการปรุงแต่งสังขารที่เป็นบุญ/กุศล

ตรงนี้ เป็นการเข้าถึง สัญญาสังขาร ...
หรือเป็นการหมายรู้ ความหมายของคำ เทียบกับสภาวะธรรมอย่างหยาบ แบบร่าง
เหมือนกับว่า ถ้าเรายังไม่เคยเห็นครก แต่มีคนพูดถึงครก และอธิบายถึงครก และวาดรูปครกให้เราดู
ครกที่เราเข้าถึงอยู่นั้น เป็นการเข้าถึงแบบร่าง ...
การหมายรู้ (สัญญา) ในลักษณะนี้ ยังไม่ใช่ "อนิจจสัญญา ทุกขสัญญา อนัตตสัญญา" ตัวจริง
อารมณ์ที่เราสัมผัสกับ แบบร่าง
กับอารมณ์ที่ได้หยิบเอาครกจริง ๆ ขึ้นมาสัมผัสลูบคลำ...
ต้องเข้าใจว่า ... สองลักษณะนี้ เป็นคนละ อารมณ์สัญญาที่หมายรู้
เป็น การหมายรู้คนละอย่างกัน ...

การสัมผัสครกจริง ๆ และอารมณ์ที่ปรากฎจากการสัมผัสจริง ๆ นั่น
การหมายรู้ในอารมณ์ที่ปรากฎจริง ๆ นั้น เปรียบได้คือ "อนิจจสัญญา ทุกขสัญญา อนัตตสัญญา"

อนัตตา เป็นลักษณะหนึ่ง ที่ผู้ปฏิบัติ หมายรู้

ซึ่งมันก็จะต่างจาก การหมายรู้ บัญญัติ "อนัตตา"
การหมายรู้บัญญัติ ... มันเป็นการรู้ที่เหมือนเรา ตามอง และ เอามือเทียวลูบคลำกระดาษ
ลูบคลำจินตนาการ...

ส่วนการหมายรู้ "อนัตตสัญญา" เป็นการหมายรู้เพียงชั่วขณะ ... และเป็นไปในภาค "วิชชา"
....เมื่อเรากำหนดจิตอยู่กับ รูป/นาม...
สิ่งที่เราสัมผัสอยู่ก่อนหน้าคือ รูป/นาม ซึ่ง อนัตตา ไม่ใช่รูป/นาม
แต่เป็นการที่เราเข้าไปหมายรู้ในลักษณะที่ เมื่อ รูป/นาม ปรากฎเกิด-ดับ
...การเข้าไปหมายรู้...จึงเป็น "อนัตตสัญญา"

:b12:

อิอิ ...


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 176 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1, 2, 3, 4, 5, 6, 7 ... 12  ต่อไป

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

่กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 1 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร