วันเวลาปัจจุบัน 22 ก.ค. 2025, 04:01  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง




กลับไปยังกระทู้  [ 59 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1, 2, 3, 4  Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสต์ เมื่อ: 09 ม.ค. 2013, 21:33 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 11 ต.ค. 2010, 12:11
โพสต์: 5019


 ข้อมูลส่วนตัว


วิริยะ เขียน:
eragon_joe เขียน:
วิริยะ เขียน:
eragon_joe เขียน:
:b1: กลายเป็นเอกอนงงคำถามเอง... :b12:

ซึ่งส่วนใหญ่มักเกิดกับผู้สูงอายุ .. อิอิ :b9: :b32:


อายุก็ไม่ได้มีเกินหน้าเกินตาใครเลย
ก็มีแค่เลข 2 ตัว ไม่ได้มีสามตัว สี่ตัว สิบตัวซะเมื่อไหร่


:b6: :b28: :b28: :b6:

:b13: :b4: :b4: :b13:

ฮิ้วววววววว ... :b32: :b32:


ห้วย ... เขียนตกตัวเดียว ยังแซววววว...

:b28: :b13: :b13: :b28:


โพสต์ เมื่อ: 11 ม.ค. 2013, 02:15 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 27 เม.ย. 2010, 08:10
โพสต์: 2830

แนวปฏิบัติ: ขันธ์5ด้วยการสังเกตุ รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ และอินทรีย์22
สิ่งที่ชื่นชอบ: พระสุตตันตปิฎก
อายุ: 0
ที่อยู่: ระยอง อุบลราชธานี

 ข้อมูลส่วนตัว


eragon_joe เขียน:
student เขียน:
เช่น ถ้าเรากำหนดรู้ที่ปลายนิ้วมือ ต้องมีสติและวิญญาณขันธ์ที่ปลายนิ้วมือ และสามารถกำหนดรู้ชัดเจนขึ้นเรื่อยๆ จนถึงความเป็นอนัตตา (เท่าที่ความเป็นอนัตตาจะปรากฏ)


ไม่ เวลาที่เอกอนกำหนดรู้ที่ปลายนิ้วมือ
ลักษณะอนิจจัง จะปรากฎคือ
- ความรู้ที่นิ้วมือ ย้ายจุดไปเป็น ตรงจุดอื่น
- ความรู้ที่นิ้วมือ จางไปจนความรู้สึกที่นิ้วมือหายไป

คือ การกำหนดรู้มันไม่ได้หายไปไหน แต่จากที่มันตั้งอยู่ที่นิ้วมือ
มันเปลี่ยนไปตั้งอยู่ที่อื่น
เห็นมันย้าย มันเปลี่ยน ก็เห็น ทุกข์ เห็น อนิจจัง

เป็นคำถามที่ดี

บางคนคิดว่าเห็น นิ้วหาย นั่นเป็นการเห็น อนัตตา
ก็ใช่ ก็จะเห็นเช่นนั้นได้
มันจะเข้าทำนอง "นิ้วไม่ใช่ของเรา"
แต่มันก็มีสิ่งที่ รู้ อยู่ใช่มั๊ย นั่นก็คือ จิตมันไปตั้งอยู่ในอีกสิ่งแล้ว

ตาม รู้ ไปเรื่อย ๆ คือ ตามการตั้งอยู่ของจิตไปเรื่อย ๆ
เราก็จะเห็นว่า จิต มันมีลักษณะการปรากฎ ตั้งอยู่ อย่างไร
ถ้าเห็น การตั้งอยู่ของจิต ก็จะเห็น ทุกข์ เห็น อนิจจัง ชัดขึ้นเรื่อย ๆ นะ ...
ส่วน อนัตตา คือ เมื่อเห็นทุกข์ เห็นอนิจจัง
เห็นความตั้งอยู่ของจิต ที่หมุนเวียนไปเรื่อย และเห็นการตั้งอยู่แต่จะการตั้งอยู่นั้น
เป็น มายา
มันก็จะ หน่าย ......... และ น้อมเข้าสู่การ ถอดถอน ......
ถอดถอนได้ จึงเห็น อนัตตา .....

:b1: :b16: :b16: :b1:


ส่วนตัว อนัตตาในความหมายผมคือ สภาพเหมือน ไม่ใช่เห็นนิ้วหาย คือความรู้สึกที่ปลายนิ้วนั้น ลักษณะจะปรากฎเหมือนกันทุกคน ไม่ใช่เกิดแต่ student คนเดียว คนอื่นไม่เกิด แต่บังเกิดแก่คนทุกคน จึงเรียกว่าความเป็นอนัตตา ธรรมบางอย่างมีอยู่ (ความเป็นอนัตตา)แต่ยังไม่บังเกิด เพราะยังไม่มีเหตุให้บังเกิด (พูดเรื่องนามนะครับ ไม่ใช่รูป) ดังนั้น รูปก็รูป นามก็นาม เวลามีสติกำหนดรู้ที่นิ้วมือ เราเห็นการตั้งอยู่ของนิ้วมือ ด้วยอาศัย เวทนาขันธ์ จึงเห็นการตั้งอยู่ของนิ้วมือ ความชัดเจนปรากฏเพราะมีวิญญาณขันธ์ที่นิ้วมือ

หากลืมตาตามปกติ การที่เราเห็นนิ้วมือตัวเอง (นั่นไงนิ้วมือ)เราสามารถเห็นได้เพียงทางเดียวคือวิญญาณขันธ์ ถ้าเห็นผ่านสายตา จึงเรียกว่าเกิดจักษุวิญญาณ อายตนะภายใน ภายนอกกระทบกัน เพราะมีเหตุคือแสง ผัสสะจึงเกิด แต่ถามว่าเห็นนิ้วมือตัวเองไหม ส่วนตัวก็คือ ถ้าไม่มีวิญญาณขันธ์ที่นิ้วมือ ก็ไม่เห็นตามความเป็นจริง

.....................................................
อย่าท้อถอยต่อการปฏิบัติ อย่าปล่อยให้ความขุ่นเคืองเข้าแทรก สร้างพลังด้วยคำสอนของพระพุทธเจ้า รำลึกและตอบแทนพระคุณมารดา และบิดา มองโลกด้วยใจเป็นกลาง ระลึกเสมอว่าเรายังด้อยปัญญาหากยังไม่ได้ปัญญา


โพสต์ เมื่อ: 11 ม.ค. 2013, 09:29 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 เม.ย. 2009, 02:43
โพสต์: 12232


 ข้อมูลส่วนตัว


eragon_joe เขียน:
student เขียน:
เช่น ถ้าเรากำหนดรู้ที่ปลายนิ้วมือ ต้องมีสติและวิญญาณขันธ์ที่ปลายนิ้วมือ และสามารถกำหนดรู้ชัดเจนขึ้นเรื่อยๆ จนถึงความเป็นอนัตตา (เท่าที่ความเป็นอนัตตาจะปรากฏ)


ไม่ เวลาที่เอกอนกำหนดรู้ที่ปลายนิ้วมือ
ลักษณะอนิจจัง จะปรากฎคือ
- ความรู้ที่นิ้วมือ ย้ายจุดไปเป็น ตรงจุดอื่น
- ความรู้ที่นิ้วมือ จางไปจนความรู้สึกที่นิ้วมือหายไป

คือ การกำหนดรู้มันไม่ได้หายไปไหน แต่จากที่มันตั้งอยู่ที่นิ้วมือ
มันเปลี่ยนไปตั้งอยู่ที่อื่น
เห็นมันย้าย มันเปลี่ยน ก็เห็น ทุกข์ เห็น อนิจจั..

:b1: :b16: :b16: :b1:


เห็นด้วย...


โพสต์ เมื่อ: 11 ม.ค. 2013, 09:43 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 เม.ย. 2009, 02:43
โพสต์: 12232


 ข้อมูลส่วนตัว


student เขียน:

หากลืมตาตามปกติ การที่เราเห็นนิ้วมือตัวเอง (นั่นไงนิ้วมือ)เราสามารถเห็นได้เพียงทางเดียวคือวิญญาณขันธ์ ถ้าเห็นผ่านสายตา จึงเรียกว่าเกิดจักษุวิญญาณ อายตนะภายใน ภายนอกกระทบกัน เพราะมีเหตุคือแสง ผัสสะจึงเกิด แต่ถามว่าเห็นนิ้วมือตัวเองไหม ส่วนตัวก็คือ ถ้าไม่มีวิญญาณขันธ์ที่นิ้วมือ ก็ไม่เห็นตามความเป็นจริง


หมายถึง...จักษุวิญญาณ..ที่รับเพียงแสงกระทบ...ยังไม่ใช่การรับรู้ตามจริงของมัน...ต้องมีความรู้สึกที่นิ้วมือด้วย...

อย่างนั้นใช่มั้ยครับ?!...

หากเข้าใจที่สื่อมาผิด...รบกวนขยายความอีกนิด...เผื่อจะคิดตามได้ทัน...อิอิ


โพสต์ เมื่อ: 11 ม.ค. 2013, 11:02 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 11 ต.ค. 2010, 12:11
โพสต์: 5019


 ข้อมูลส่วนตัว


student เขียน:
ดังนั้น รูปก็รูป นามก็นาม เวลามีสติกำหนดรู้ที่นิ้วมือ เราเห็นการตั้งอยู่ของนิ้วมือ ด้วยอาศัย เวทนาขันธ์ จึงเห็นการตั้งอยู่ของนิ้วมือ ความชัดเจนปรากฏเพราะมีวิญญาณขันธ์ที่นิ้วมือ

หากลืมตาตามปกติ การที่เราเห็นนิ้วมือตัวเอง (นั่นไงนิ้วมือ)เราสามารถเห็นได้เพียงทางเดียวคือวิญญาณขันธ์ ถ้าเห็นผ่านสายตา จึงเรียกว่าเกิดจักษุวิญญาณ อายตนะภายใน ภายนอกกระทบกัน เพราะมีเหตุคือแสง ผัสสะจึงเกิด แต่ถามว่าเห็นนิ้วมือตัวเองไหม ส่วนตัวก็คือ ถ้าไม่มีวิญญาณขันธ์ที่นิ้วมือ ก็ไม่เห็นตามความเป็นจริง


:b17: :b17: :b17:

ก็เห็น ๆ กันมาประมาณนั้นล่ะ

เพียงแต่การพูดให้เข้าใจตรงกันมันยากแค่นั้นเอง

เวลาสื่อกันยาก อย่าท้อนะ
คือ ระหว่างการปฏิบัติ มันมีแง่ที่การสื่อสารมันยากอยู่
แต่ถ้าเราพยายามจะเข้าใจ มันก็ไม่เกินความพยายามหรอก :b1: :b16:

อ้างคำพูด:
ส่วนตัว อนัตตาในความหมายผมคือ สภาพเหมือน ไม่ใช่เห็นนิ้วหาย คือความรู้สึกที่ปลายนิ้วนั้น ลักษณะจะปรากฎเหมือนกันทุกคน ไม่ใช่เกิดแต่ student คนเดียว คนอื่นไม่เกิด แต่บังเกิดแก่คนทุกคน จึงเรียกว่าความเป็นอนัตตา ธรรมบางอย่างมีอยู่ (ความเป็นอนัตตา)แต่ยังไม่บังเกิด เพราะยังไม่มีเหตุให้บังเกิด (พูดเรื่องนามนะครับ ไม่ใช่รูป)

ส่วนเรื่องการเห็น อนัตตา ลองอธิบายมาเรื่อย ๆ ก่อน

คือ เอกอนก็กำลังพยายามมองให้เห็นว่า คุณเห็นอะไร
จึงได้อธิบายออกมาอย่างนี้

:b12: :b16: :b16: :b12:


โพสต์ เมื่อ: 11 ม.ค. 2013, 12:33 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 27 เม.ย. 2010, 08:10
โพสต์: 2830

แนวปฏิบัติ: ขันธ์5ด้วยการสังเกตุ รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ และอินทรีย์22
สิ่งที่ชื่นชอบ: พระสุตตันตปิฎก
อายุ: 0
ที่อยู่: ระยอง อุบลราชธานี

 ข้อมูลส่วนตัว


กบนอกกะลา เขียน:
student เขียน:

หากลืมตาตามปกติ การที่เราเห็นนิ้วมือตัวเอง (นั่นไงนิ้วมือ)เราสามารถเห็นได้เพียงทางเดียวคือวิญญาณขันธ์ ถ้าเห็นผ่านสายตา จึงเรียกว่าเกิดจักษุวิญญาณ อายตนะภายใน ภายนอกกระทบกัน เพราะมีเหตุคือแสง ผัสสะจึงเกิด แต่ถามว่าเห็นนิ้วมือตัวเองไหม ส่วนตัวก็คือ ถ้าไม่มีวิญญาณขันธ์ที่นิ้วมือ ก็ไม่เห็นตามความเป็นจริง


หมายถึง...จักษุวิญญาณ..ที่รับเพียงแสงกระทบ...ยังไม่ใช่การรับรู้ตามจริงของมัน...ต้องมีความรู้สึกที่นิ้วมือด้วย...

อย่างนั้นใช่มั้ยครับ?!...

หากเข้าใจที่สื่อมาผิด...รบกวนขยายความอีกนิด...เผื่อจะคิดตามได้ทัน...อิอิ


ส่วนตัวตอบว่าใช่ครับ ความรู้สึกที่นิ้วมือ(หรือรูป)คือเวทนาขันธ์ครับ ถ้าเ้รามีสติแล้ววิญญาณขันธ์ที่ปลายนิ้วมือคือการรับรู้ตามความจริงของปัจจุบันของธรรมครับ รวมทั้งรับรู้เวทนาขันธ์ที่ชัดขึ้นครับ(ของปลายนิ้วมือ) สัญญาขันธ์คือนิ้วมือ เป็นการเห็นทุกขัง อนิจจัง อนัตตา ด้วยนามครับหรือวิญญาณขันธ์ (ไม่ใช่ด้วยรูป) แต่ถ้ากำหนดที่แสง(ผัสสะที่เกิดจากอายตนะภายใน กระทบอายตนะภายนอก) เช่น นิ้วมือเหี่ยว เสื่อมสภาพ ผมคิดว่าเป็นการกำหนด ทุกขัง อนิจจัง อนัตตา ด้วยสังขารขันธ์ครับ ข้อนี้ส่วนตัวต้องศึกษาต่อไป

.....................................................
อย่าท้อถอยต่อการปฏิบัติ อย่าปล่อยให้ความขุ่นเคืองเข้าแทรก สร้างพลังด้วยคำสอนของพระพุทธเจ้า รำลึกและตอบแทนพระคุณมารดา และบิดา มองโลกด้วยใจเป็นกลาง ระลึกเสมอว่าเรายังด้อยปัญญาหากยังไม่ได้ปัญญา


โพสต์ เมื่อ: 11 ม.ค. 2013, 14:27 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 4
สมาชิก ระดับ 4
ลงทะเบียนเมื่อ: 22 ธ.ค. 2009, 00:22
โพสต์: 223

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


หลักการปฏิบัติวิปัสสนาของภูมิ 6 เบื้องต้น

ขออภิปรายตามหลักพระธรรม คำสั่งสอนของพระพุทธศาสนาที่พระพุทธเจ้าได้บัญญัติไว้ในหลักการปฏิบัติวิปัสสนาของภูมิ 6 อย่าง มีดังนี้
1. อารมณ์
2. ขันธ์ 5
3. อายตนะ 12
4. ธาตุ 18
5. อินทรีย์ 22
6. อริยสัจ 4 และปฏิจจสมุปบาท 12
คำว่า อารมณ์ หมายถึงสิ่งที่มากระทบทวารทั้ง 6 ตัวอย่างเช่น รูปมากระทบทางตาเป็นรูปารมณ์ เสียงมากระทบทางหูเป็นสัททารมณ์ กลิ่นมา กระทบทางจมูกเป็นคันธารมณ์ รสมากระทบทางลิ้นเป็นรสอารมณ์ สัมผัสมากระทบทางกายเป็น โผฏฐัพพะ สิ่งที่ใจนึกคิดมากระทบกับมโนทวารเป็น ธรรมารมณ์
สรุปความแล้วคือ ในร่างกายของคนเรานี้ มีธาตุรับรู้อยู่ 6 อย่าง คือ 1.ตา 2.หู 3.จมูก 4.ลิ้น 5.กาย 6.ใจ มีธาตุมากระทบอยู่ 6 อย่าง คือ รูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ ธรรมารมณ์มารวมเป็น 6 คู่ สำหรับผู้มีความประสงค์จะเข้ามาปฏิบัติวิปัสสนาแล้ว ควรศึกษาให้รู้และเข้าใจอย่างละเอียดเรื่อง อารมณ์ วิปัสสนาภูมิ 6 ก่อนจึงจะสะดวกแก่การกำหนดอารมณ์ รายละเอียดของการวิปัสสนาภูมิ 6 ถ้าจะเอามาอภิปรายทั้งหมดนั้น คงจะไม่มีเวลาพอ และจะทำให้ผู้ปฏิบัติเกิดความสับสนยุ่งยาก อาตมาจะขอบรรยายเฉพาะขันธ์ทั้ง 5 และอายตนะ 12 พอเป็นแนวทางแก่การปฏิบัติเท่านั้น
บัดนี้ อาตมาจะได้ยกเอาพระไตรปิฎกทั้ง 3 พระคัมภีร์ อันเป็นพระปรมัตเป็นประธานมารองรับให้มีขันต์เกิดขึ้น พระไตรปิฎกทั้ง 3 พระคัมภีร์คือ
1. พระวินัยปิฎก มีพระธรรม 21,000 พระธรรมขันต์
2. พระสูตปิฎก มีพระธรรม 21,000 พระธรรมขันต์
3. พระอภิธรรมปิฎก มีพระธรรม 42,000 พระธรรมขันต์ ปิฎกทั้ง 3 นี้ ไม่ใช่ธรรมแท้ เป็นแต่สภาพซึ่งทรงไว้ซึ่งธรรม เหมือนตำรายาแต่ไม่ใช่ตัวยาแท้ เป็นแต่สภาพซึ่งทรงไว้ซึ่งยา ฉะนั้นธรรมที่แท้คือ จิ, เจ, รู, นิ
ก. “ จิ “ ได้แก่ จิต 89 หรือ 121 ดวง
ข. “ เจ “ ได้แก่ เจตสิก 52 ดวง
ค. “ รู “ ได้แก่ รูป มี 28
ง. “ นิ “ ได้แก่ นิพพาน 1
สรุปคือ ปรมัตถธรรม 4 ข้อนี้ ที่ได้กล่าวไว้ในพระอภิธรรมปิฎก รายละเอียดต้องได้ศึกษา โดยเฉพาะสำหรับวิปัสสนาจารย์ ลักษณะของพระ ปรมัตถธรรม
ปรมัตถ์ แปลว่า ธรรมะอันละเอียด คือ ธรรมอันเป็นประธานแก่ธรรมทั้งหลาย มี 4 อย่างคือ
1. จิต มีสภาพรู้ อารมณ์ เป็นลักษณะ
2. เจตสิก มีสภาวะประกอบกับจิตมี 4 อย่าง เกิดพร้อมจิต มีอารมณ์ อันเดียวกัน กับจิต มีที่อาศัยที่เดียวกับจิต
3. “ รูป “ แปลว่า มีสภาวะแตกดับด้วยการเย็น ร้อน เป็นลักษณะ
4. “ มีภาวะ “ แปลว่า ความสงบดี เป็นลักษณะ สงเคราะห์จิต 89 หรือ 121 เจตสิก 52, รูป มี 28 นิพพานมี 1 ลงในบท ทุกมาติกาแล้วดังนี้คือ
ก. สังฆะตะธรรม ได้แก่ จิต 89 , เจตสิก 52 , รูป 28
ข. อะสังฆะตะธรรม ได้แก่ นิพพาน 1
สังฆะตะธรรม ได้แก่ ธรรมที่ถูกปรุงแต่งขึ้นมาด้วยปัจจัยทั้ง 4 นี้คือ (กรรม,จิต,อุตุ,อาหาร )
อะสังฆะตะธรรม ได้แก่ ธรรมที่ไม่ได้ปรุงแต่งด้วยปัจจัยทั้ง 4 คือ พระนิพพานนี้เอง
จิต มี 81,เจตสิกมี 52, รูปมี 28, เป็นโลกียะธรรม คือธรรมที่มีและเกิดอยู่ในโลกนี้มีมาก่อนแล้ว ส่วนโลกุตรธรรม คือ จิตมี 8 รู้อารมณ์นอกโลกคือ พระนิพพาน

ขันต์ 5

ขันต์ 5 คือ 1. รูปขันธ์
2. เวทนาขันธ์
3. สัญญาขันธ์
4. สังขารขันธ์
5. วิญญาณขันธ์
ขันต์ 5 นี้ จะเป็นสภาพที่ทรงเอาไว้ซึ่งความว่างเปล่า และสูญตามอรรถวิเคราะห์ ทุกขมะติกาขัง สูญยังทา เลติติ ขันทา ธรรมชาติได้ปรุงแต่งธรรม ไว้ซึ่งความว่างเปล่า ธรรมชาติได้ชื่อว่าขันธ์ ปรมัตถธรรมเป็นขันธ์ 5 นี้จะเกิดขึ้นมาเองไม่ได้ตามลำพังจะต้องอาศัย ปรมัตถธรรมมารองรับให้
1. เอาปรมัตถธรรม 28 รูป มาเป็นรูปขันธ์
2. ในเจตสิก 52 ดวง แบ่งเอาเวทนา เจตสิก 1 ดวง มาเป็นเวทนาขันธ์ เอาสัญญาเจตสิก 1 ดวง มาเป็นสัญญาขันธ์ เจตสิกยังเหลืออีก 50 ดวง เป็นสังขารขันธ์ จิต 89 หรือ 121 นั้นเป็นวิญญานขันธ์ ส่วนนิพพานนั้นเป็น ขันธะวิมุติ พ้นจากขันต์ 5 จึงจัดเข้าเป็นขันธ์ไม่ได้ เข้าใจตามคำว่าขันธ์ 5 คือ
1.รูปขันธ์ 2.เวทนาขันธ์ 3.สัญญาขันธ์ 4.สังขารขันธ์ 5.วิญญาณขันธ์
เกิดขึ้นมาเองมิได้จะต้องอาศัยปรมัตถธรรมเป็นประธาน จึงจะเกิดขึ้นได้เหมือนกับพระพุทธรูปทอง ต้องอาศัยคนผู้เป็นช่างและทอง จึงจะทำเป็น พระได้ ปรมัตถธรรมคือ จิต, เจตสิก รูปทั้ง 3 อย่างนี้มาเป็นขันธ์ 5 ดังได้กล่าวมาแล้ว
ขันธ์ 5 เมื่อสรุปลงแล้วในตัวบุคคลคนหนึ่งก็จะมี 2 อย่าง คือ กายกับใจ โดยเอารูป 28 รูป มาเป็นร่างกาย เอาจิต 89 หรือ 121 ดวง, เจตสิก 52 ดวง มาเป็นใจ ฉะนั้นในร่างกายและจิตใจของคนเรานี้ จึงมีองค์ปรมัตถธรรมอยู่ในตัวของเรา ผู้รับได้แก่รูป ผู้รู้ได้แก่นามคือ(จิต) ผู้ใดอยากเห็นธรรม อยากรู้ ธรรม ให้ค้นหาเอาอยู่ในตัวของเรานี้เอง ไม่ต้องไปหาที่อื่น ถ้าจะหาอยู่นอกตัวเราแล้ว จะไม่มีวันพบธรรมได้เลย เข้าใจตามนี้แล้วก็จะเห็นธรรมเหมือน ขุดบ่อน้ำถูกแหล่งน้ำ ก็จะได้น้ำสมความปรารถนา

ขันธ์ 5

ขันธ์ หมายถึงการปรุงแต่งมาจากอารมณ์ คือการรู้ทุกข์ สุข ดี เลว มาจากการปรุงแต่งของสังขารทั้งหมด
ลักษณะของขันธ์ 5 คือ
1.รูปขันธ์ มีลักษณะแตกดับด้วยอาการเย็นร้อน
2.เวทนาขันธ์ มีลักษณะ เสวยอารมณ์ คือ (สุข,ทุกข์ และ อุเบกขา)
3.สัญญาขันธ์ มีลักษณะจำอารมณ์ได้ คือ สิ่งที่ผ่านมาทาง ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ
4.สังขารขันธ์ มีลักษณะปรุงแต่ง ให้รัก เกลียด ชัง ให้คิดต่าง ๆ
5.วิญญาณขันธ์ มีลักษณะรู้อารมณ์ (ที่ผ่านมาในทวารทั้ง6)
อุปมาขันธ์ 5 คือ
1.รุป(กาย) เหมือนโรงพยาบาล(เป็นเรือนของโรคโรคะ) โรงพยาบาล ก็คือบ้านคนที่มีโรคะ บ้านของคนที่มีโรค
2.เวทนา(เสวย) เหมือนตัวพยาธิโรคะต่าง ๆ ที่มีอยู่ในตัวของคนเรา
3.สัญญา(จำ) เหมือนสมมุติฐานที่เกิดของโรคโรคะ
4.สังขาร(ปรุงแต่ง) เหมือนอาการของโรค และรักษาโรคโรคะ
5.วิญญาณ(รู้) เหมือนตำแหน่งที่เป็นโรคต่าง ๆ ในร่างกาย
การเกิดของขันธ์ 5 คือ
1.ขันธ์ 5 เกิดทางตา คือ
ตากับสี(รูป)กระทบกันเป็นรูปขันธ์ รู้การกระทบเป็นวิญญาณขันธ์ รู้ว่าสบายหรือไม่สบายในการกระทบเป็นเวทนาขันธ์ จำสีที่มากระทบได้เป็น สัญญาขันธ์ ชอบหรือไม่ชอบในสิ่งที่มากระทบเป็นสังขารขันธ์
2.ขันธ์5 เกิดทางหู คือ
หูกับเสียงมากระทบกัน (หู=เสียง) เสียงเป็นรูปขันธ์ ได้ยินเสียงเป็นวิญญาณขันธ์ สบายหรือไม่สบาย ในเสียงนั้น ๆ เป็นเวทนาขันธ์ จำเสียงได้เป็น สัญญาขันธ์ ชอบหรือไม่ชอบเสียงนั้น ๆ เป็นสังขารขันธ์
3.ขันธ์5 เกิดทางจมูกคือ
จมูกกับกลิ่นมากระทบกัน (จมูก=กลิ่น) เป็นรูปขันธ์ รู้ในกลิ่นเป็นวิญญาณขันธ์ สบายหรือไม่สบาย ในกลิ่นนั้นเป็นเวทนาขันธ์ จำกลิ่นได้เป็นสัญญา ขันธ์ ชอบหรือไม่ชอบในกลิ่นนั้น ๆ เป็นสังขารขันธ์
4.ขันธ์5 เกิดทางลิ้น คือ
ลิ้นกับรส มากระทบลิ้น (ลิ้น=รส) เป็นรูปขันธ์ รู้จักรสเป็นวิญญาณขันธ์ สบายหรือไม่สบายในรสนั้น ๆ เป็นเวทนาขันธ์ จำรสนั้นได้เป็นสัญญาขันธ์ ชอบหรือไม่ชอบรสนั้นเป็นสังขารขันธ์
5.ขันธ์ 5 เกิดทางกายคือ
กายกับ เย็น,ร้อน,อ่อน,นิ่ม,แข็ง มากระทบกัน (กาย=โผฏฐัพพะ) เป็นรูปขันธ์ รู้การกระทบเป็นวิญญาณขันธ์ สบายหรือไม่สบายในการกระทบเป็น เวทนาขันธ์ จำการกระทบได้เป็นสัญญาขันธ์ ชอบหรือไม่ชอบในการกระทบเป็นสังขารขันธ์
6.ขันธ์ 5 เกิดทางใจคือ
มโนสิ่งที่ใจนึกคิดมากระทบกันเป็นธรรมารมณ์ (ใจ=ธรรมารมณ์) เป็นรูปขันธ์ รู้ในสิ่งที่ใจคิดเป็นวิญญาณขันธ์ สบายหรือไม่สบายในสิ่งที่ใจคิดเป็น เวทนาขันธ์ จำในสิ่งที่ใจคิดเป็นสัญญาขันธ์ ชอบหรือไม่ชอบในสิ่งนั้นเป็นสังขารขันธ์ ในสังขารของขันธ์ทั้ง 5 มีสังขารขันธ์ สำคัญกว่าเพื่อน เพราะมันเป็น ผู้ปรุงแต่งให้ขันธ์อื่นๆ เกิดขึ้น “ตัวอย่าง” ปรุงแต่งให้รูปแตกดับ ปรุงแต่งเวทนาให้เสวย ปรุงแต่งสัญญาให้จดจำ ปรุงแต่งให้วิญญาณรู้อารมณ์ ปรุงแต่งให้ รูปงาม,ขี้เหร่,ให้สูงต่ำดำขาว ให้ร่ำรวยและยากจน ให้ฉลาดและโง่ ให้เป็นมนุษย์เป็นเทพบุตรเทพธิดาเป็นต้น ทั้งหมดนี้สังขารเป็นผู้ปรุงแต่งทั้งนั้น


http://luongta.com/Inside1Html/tha/chapt5.htm

วิปัสสนาทางสายกลางภูมิ ๖
http://luongta.com/insidemeditationthai.htm

อนุโมทนาครับ


โพสต์ เมื่อ: 11 ม.ค. 2013, 14:54 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 4
สมาชิก ระดับ 4
ลงทะเบียนเมื่อ: 22 ธ.ค. 2009, 00:22
โพสต์: 223

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


อายตนะ 12

อายตนะ หมายถึง สิ่งที่เชื่อมต่อกันให้เกิดความรู้ ทำให้จิตและเจตสิก 2 ประกอบด้วย
อายตนะภายในมี 6 คือ ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ
อายตนะภายนอกมี 6 คือ รูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ และ ธรรมารมณ์
อายตนะ 12 อย่างนี้ ถ้าจัดเป็นรูปและนามมีดังนี้คือ
1. ตา หู จมูก ลิ้น กาย รูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ จัดเป็นรูปธรรม
2. ใจจัดเป็นนามธรรม
3. ธรรมารมณ์ คือ ประสาทรูป 5, สุขุมรูป 16, จิต 89, เจตสิก 52, นิพพาน 1 บัญญัติเหล่านี้เป็นไปได้ทางรูปและนามโดยแท้
ขันธ์ 5 และรูปนามเป็นปัจจุบันที่อายตนะ 12 มีดังนี้
1. ขันธ์ 5 หรือรูปนามเป็นปัจจุบัน ในขณะที่ตาได้เห็นรูปอยู่นี้
2. ขันธ์ 5 หรือรูปนามเป็นปัจจุบัน ในขณะที่หูได้ยินเสียงอยู่นี้
3. ขันธ์ 5 หรือรูปนามเป็นปัจจุบัน ในขณะที่จมูกได้กลิ่นอยู่นี้
4. ขันธ์ 5 หรือรูปนามเป็นปัจจุบัน ในขณะที่ลิ้นได้รสอยู่นี้
5. ขันธ์ 5 หรือรูปนามเป็นปัจจุบัน ในขณะที่เราสัมผัสอยู่นี้เป็นปัจจุบันทั้งหมด
6. ขันธ์ 5 หรือรูปนามเป็นปัจจุบันที่ใจกำลังนึกคิดอยู่ ก็เพราะมันเป็นผู้ปรุงแต่งให้ขันธ์ อื่น ๆ เกิดขึ้น ซึ่งอยู่ในกิริยาอาการ อันแตกดับ เวทนา สุข ทุกข์ ดีใจ เสียใจ อยากได้อยากดี ไม่อยากเลว อยากโกรธ อยากโลภ อยากหลง อยากนินทาคนอื่น อยากฉลาด ไม่อยากเป็นคนโง่ ล้วนแล้วแต่สังขาร เป็นผู้แต่งขึ้นมาทั้งนั้น
อายตนะเป็นรูปนามคือ
1. ตากับรูปมากระทบกันเป็นรูป เห็นเป็นนาม รู้ว่าได้เห็นเป็นสติ
2. หูกับเสียงมากระทบกันเป็นรูป ได้ยินเป็นนาม รู้ว่าได้ยินเป็นสติ
3. จมูกกับกลิ่นมากระทบกันเป็นรูป ได้กลิ่นเป็นนาม รู้ว่าได้กลิ่นเป็นสติ
4. ลิ้นกับรสมากระทบเป็นรูป ได้รสเป็นนาม รู้ว่าได้รสเป็นสติ
5. กายกับโผฏฐัพพะ มากระทบเป็นรูป รู้การมากระทบเป็นนาม เข้าใจละเอียดในการกระทบเป็นสติ
การเกิดดับของรูปนามคือ
1. ตากับรูปมากระทบกัน รูปธรรมเกิด รู้นามธรรมเกิด รูปจางหายไป รูปธรรมดับ ไม่ได้เห็น นามธรรมก็ดับตาม
2. หูกับเสียงมากระทบกัน รูปธรรมเกิด รู้ว่าได้ยิน นามธรรมก็เกิด เสียงหายไป รูปธรรมก็ดับ ไม่ได้ยิน นามธรรมก็ดับ
3. จมูกได้กลิ่นมากระทบ รูปธรรมก็เกิด รู้ว่าได้กลิ่น นามธรรมก็เกิด กลิ่นหายไป รูปธรรมก็ดับ ไม่ได้กลิ่น นามธรรมก็ดับ
4. ลิ้นได้รสมากระทบกัน รูปธรรมเกิด รู้ว่ารส นามธรรมก็เกิด รสจางหายไป นามธรรมก็ดับ ไม่รู้รส นามธรรมก็ดับ
5. กายกับโผฏฐัพพะมากระทบ รูปธรรมเกิด รู้การกระทบ นามธรรมก็เกิด การกระทบหายไป รูปธรรมก็ดับ
6. ใจกับธรรมารมณ์มากระทบ รูปธรรมเกิด รู้การกระทบ นามธรรมเกิด การกระทบหายไป รูปธรรมก็ดับ ใจก็สั่งให้นามธรรมดับไป
กาลทั้ง 3 คือ
1. อดีต - สิ่งที่ล่วงเลยไปแล้ว
2. อนาคต - สิ่งที่ยังมาไม่ถึง
3. ปัจจุบัน - สิ่งที่กำลังอยู่ต่อหน้า
การกำหนดอารมณ์ในกาลทั้ง 3 อย่างมีดังนี้คือ
1. ตากำลังเห็นรูปอยู่นี้เป็นปัจจุบันแท้จริง รูปกำลังเห็นดับไปแล้วนั่นละเป็นอดีตไปแล้ว รูปกับเห็นยังไม่เกิด นั้นคือ อนาคตยังมาไม่ถึง
2. หูกำลังได้ยินเสียงอยู่นี้เป็นปัจจุบัน เสียงกับได้ยินดับไปนั้นคืออดีตผ่านไปแล้ว เสียงที่ยังไม่ได้ยินยังไม่เกิดขึ้นนั้นคือ อนาคตยังไม่มาถึง
3. จมูกกำลังได้กลิ่นอยู่นั้นคือปัจจุบันแน่นอน จมูกกับการได้กลิ่นดับไปนั้นเป็นอดีตไปแล้ว จมูกกับการรู้กลิ่นยังไม่ได้กลิ่น ยังไม่เกิดคือ อนาคต ยังไม่มาถึง
4. ลิ้นกำลังได้รสอยู่นี้เป็นปัจจุบัน ลิ้นกับการรู้รสหายไปเป็นอดีตไปแล้ว ลิ้นกับการรู้รสยังไม่เกิดขึ้นคือ อนาคตยังไม่มาถึง
5. กายกำลังรู้การสัมผัสอยู่นี้เป็นปัจจุบัน กายกับการสัมผัสรู้ว่าดับไปนั้นเป็นอดีตไปแล้ว กายกับการรู้สัมผัสยังไม่เกิดขึ้นนี้ คืออนาคตยังมาไม่ถึง
6. ใจกำลังรู้อารมณ์อยู่นี้เป็นปัจจุบันแท้จริง อารมณ์กับความรู้สึกดับไปนั้น คือ อดีต อารมณ์กับความรู้สึกยังไม่ได้เกิดขึ้น คืออนาคตยังมาไม่ถึง
สำหรับผู้ปฏิบัติให้กำหนดรู้ในรูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ และ ธรรมารมณ์ อันเป็นปัจจุบันเท่านั้น

ธรรมบัญญัติกับปรมัตถ์
1. สีขาว สีเหลือง สีแดง = สีเป็นปรมัตถ์ ขาว, เหลือง, แดง เป็นบัญญัติ
2. เสียงหญิง เสียงชาย เสียงเพลง = เสียงเป็นปรมัตถ์ หญิง,ชาย,เพลง เป็นบัญญัติ
3. กลิ่นหอม กลิ่นเหม็น = กลิ่นเป็นปรมัตถ์ หอม เหม็น เป็นบัญญัติ
4. รสหวาน รสเปรี้ยว รสขม = รสเป็นปรมัตถ์ หวาน ขม เปรี้ยว เป็นบัญญัติ
5. เย็น ร้อน อ่อน นิ่ม แข็ง เป็นปรมัตถ์ ไฟ ดิน ลม เป็นบัญญัติ
ปรมัตถ์เป็น ของมีจริง บัญญัติเป็นสิ่งที่ตั้งขึ้นด้วยอาศัยเสียง และรูปร่าง สัณฐาน กิริยา อาการ วัตถุ เหล่านั้น นั่นเป็นหลักตัวอย่าง เช่น มะนาว เปรี้ยว อาศัยรสของมันเปรี้ยว คนจึงได้ตั้งชื่อว่ามะนาว หรือ ไฟร้อน คนจึงได้ตั้งชื่อว่าไฟ ก็เช่นเดียวกับสีดำ อาศัยมันดำ คนจึงตั้งชื่อว่า สีดำ
อาตมาจึงได้เอาปรมัตถ์มาแสดงเป็นคู่กัน เพื่อให้ผู้ปฏิบัติได้เข้าใจ และรับรู้ความเป็นจริงว่าในโลกนี้มีความจริงอยู่ 2 อย่าง คือ
1. จริงด้วยปรมัตถ์ = ได้แก่ รูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ
2. จริงด้วยสมมุติขึ้นมา = ได้แก่ ขาว,ดำ,หญิง,ชาย,ไฟ,หวาน,หอม,เหม็น เหล่านี้เป็นต้น
ฉะนั้นขันธ์ 5 และอายตนะ 12 เมื่อได้ศึกษาให้เข้าใจแล้วก็จะมีแต่ปรมัตถ์ธรรม 2 อย่าง เท่านั้น ดังในพระสังคินีว่า ทุกขมะติกา มีอยู่ 2 อย่าง คือ
1. รูปิโนธัมมา = ได้แก่รูปธรรม
2. อรูปิโนธัมมา = ได้แก่นามธรรม
นอกจากรูปนามนี้แล้วก็จะเป็นธรรมะสมมุติขึ้นมาเป็นของจริง ตามความสมมุติ ตัวอย่างคนเป็นต้น ส่วนกฎปฏิบัติ ให้ถือปรมัตถ์เป็นอารมณ์ เอาสติมากำหนดรู้ รูป = นามตามนั้น ๆ
รูปมีลักษณะเกิด ดับ เปลี่ยนแปลง ผันแปร และธรรมชาติของมันเหมือนกับท่อนไม้เหล่านั้น เป็นต้น
นาม มีลักษณะเกิด ดับ เปลี่ยนแปลง ผันแปร และธรรมชาติที่รู้น้อมไปสู่อารมณ์ เหมือนกับน้ำ ปกติแล้วจะไหลไปสู่ที่ต่ำ สรุปแล้วโลก คือสังขาร ร่างกายของคนเรา และสัตว์มีของจริงอยู่ 2 อย่าง คือ
สภาพแสดงให้รู้คือ = รูปธรรม
สภาพเข้าใจทำให้รู้คือ = นามธรรม
ทางสายกลางและผู้เดินทาง
รูปนามเป็นสายกลาง สติเป็นผู้เดินทางสายกลาง
รูปนามเป็นองค์วิปัสสนา สติเป็นผู้ทำวิปัสสนา
สติกับโมหะ
สติ มีความระลึกได้ ก่อนทำ ก่อนพูด ก่อนคิด จิตเป็นกุศล เป็นแม่ทัพของกุศลธรรม เมื่อสติดี ธรรมะก็เกิดมีอยู่กับตัว ศีล, สมาธิ, ปัญญา, วิมุตติ ก็เกิด ถ้าขาดสติ กุศลธรรมอื่น ๆ ก็เกิดขึ้นมาไม่ได้ อาตมาจึงขอให้ผู้ปฏิบัติธรรมเข้าใจตามนี้
โมหะ ความหลงเป็นอยู่ กายและใจทำบาป เป็นแม่ทัพของอกุศล เมื่อมีโมหะเกิดขึ้นแล้ว โลภะมันก็จะตามมา โทสะก็เกิดขึ้น มานะทิฐิก็ประจักษ์ ให้เห็น นี่คือบริวารของมัน โลภะ โมหะ โทสะ กิเลส
ถ้ามีโมหะเป็นอกุศล กุศลอื่นก็เกิดขึ้นมาไม่ได้ สติเป็นผู้กำจัด โลภะ, โมหะ , โทสะ ให้หมดไป เหมือนแสงสว่าง กำจัดความมืดให้หมดไปในอากาศ สติเป็นหางเสือของเรือ เรือก็คือร่างกายของคนเรา มีใจเป็นนายคิดแหวกว่าย วัฏสงสารนี่แหละ ใจคิดดีมีสติเป็นคู่ทวาร จะเสียการถ้าสติไม่อยู่กับใจ ตา หู ไวใช้สติตามมันให้ทัน ใจนั้นมีสติเป็นที่พึ่งอาศัย สติเป็นเพื่อนพาจิตก้าวไป ระวังไว้ทุกทวารให้ดี

อันตรายของวิปัสสนาเบื้องต้น

1. กัมรามาตะ ได้แก่การชื่นชมในกรรมใหม่ ตัวอย่าง คือยินดีต่อเจตนาการปฏิบัติใหม่ๆ ว่าควรทำอย่างนั้นดี อย่างนี้ดีเป็นต้น
2. ภัทมาลามาตะ ได้แก่การชื่นชมต่อสังคม ตัวอย่าง มีความยินดี อยากพบเพื่อนฝูง พี่น้อง อยากเทศนาธรรมให้ฟัง
3. สังคิการามาตะ ได้แก่การชื่นชมต่อสังคมอยากแสดงอย่างนั้นอย่างนี้ให้คนอื่นฟัง
4. นิฐฐารมณ์ ได้แก่ การชื่นชมต่อความรู้ใหม่ ๆ ที่เกิดขึ้น ตัวอย่างเช่นการเห็นแก่ได้
5. อคุตทวารมตะ ได้แก่ การไม่สำรวมในทวาร ทั้ง6
6. โภชเนมัตตัญญุตา ได้แก่ การไม่สำรวม ในการบริโภคอาหาร
ให้เฝ้าดูแต่รูปนามในปัจจุบันอย่างเดียว นักปฏิบัติพึงระลึกถึงอันตราย 6 อย่างถ้าครอบงำ หรือละเว้นกฎระเบียบ 6 ข้อ ข้อใดข้อหนึ่งไม่ได้ ก็ไม่สามารถรู้รูปนามได้ ฉะนั้นจึงให้กำหนดเอาแต่เฉพาะในปัจจุบัน อาตมาของให้ผู้ปฏิบัติเข้าใจตามนี้

อนุโมทนาครับ


โพสต์ เมื่อ: 11 ม.ค. 2013, 20:28 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 11 ต.ค. 2010, 12:11
โพสต์: 5019


 ข้อมูลส่วนตัว


โหหหหห ... ยาว แต่

smiley smiley smiley


โพสต์ เมื่อ: 12 ม.ค. 2013, 14:08 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 11 ต.ค. 2010, 12:11
โพสต์: 5019


 ข้อมูลส่วนตัว


อ้างคำพูด:
ดังนั้น การกำหนดทุกครั้ง โยคีก็จะทราบชัดอย่างแจ่มแจ้งด้วยตนเองว่า มีเพียงรูปนามเท่านั้นซึ่งเป็นอารมณ์ของความรู้ และนามเป็นผู้กำหนดอารมณ์นั้น .. :b13: :b4: ความรู้ที่แยกแยะนามรูปออกจากกันได้นี้ เรียกว่า นามรูปปริจเฉทญาณ ซึ่งเป็นปัญญาเบื้องต้นของการเจริญวิปัสสนากรรมฐาน นับว่าเป็นสิ่งสำคัญที่จะได้บรรลุญาณนี้อย่างถูกต้อง ความรู้ในนามรูปปริจเฉทญาณนี้จะเป็นผลสำเร็จก็ต่อเมื่อโยคีกำหนดสืบต่อกันไปจนสามารถรู้โดยแยกแยะเหตุและผลของนามรูปได้ ซึ่งความรู้ชนิดนี้เรียกว่า ปัจจยปริคคหญาณ

ขณะที่โยคีมุ่งกำหนดอยู่นั้นก็จะพบเห็นด้วยตนเองว่า สภาวะที่เกิดขึ้นดับไปชั่วขณะๆ คนสามัญธรรมดาจะทึกทักเอาว่า สภาวะที่ปรากฏทางรูปนามสืบต่อคงทนตลอดชีวิต กล่าวคือ จากความเป็นหนุ่มไปสู่ความเป็นผู้ใหญ่ ในความเป็นจริงแล้วหาได้เป็นเช่นนั้นไม่ และก็ไม่มีสภาวะที่ปรากฏชนิดใดๆ เลยที่อยู่ยงคงกระพันนิรันดร์กาล สภาวะที่ปรากฏทุกอย่างทั้งหมดล้วนเกิดขึ้นและดับไปอย่างรวดเร็ว จนกระทั่งว่าไม่ได้คงที่อยู่แม้ชั่วขณะการกระพริบตา

โยคีจะรู้ชัดถึงความจริงนี้ด้วยตนเองขณะที่มุ่งกำหนดต่อไป และก็จะมีความมั่นใจในความเป็นอนิจจังของสภาวะปรากฏเช่นนั้นทั้งหมด ความมั่นใจแน่แน่วเช่นนี้เรียกว่า อนิจจานุปัสสนาญาณ ญาณนี้ก็จะทำให้ทุกขานุปัสสนาญาณเป็นผลต่อเนื่องกัน ซึ่งเป็นญาณที่ทราบชัดว่า ความเป็นอนิจจังนี้ทั้งหมดก็คือสภาวะที่ทนอยู่อย่างเดิมไม่ได้ โยคีดูเหมือนว่าจะเผชิญกับความยุ่งยากลำบากมาทุกชนิดในชีวิตเช่นกัน ซึ่งมันเป็นที่รวมลงแห่งกองทุกข์ทั้งมวล นี้เรียกว่า ทุกขานุปัสสนาญาณ เช่นเดียวกัน

ต่อมาโยคีก็จะมีความแน่ใจว่า สภาวะที่ปรากฏทางนามรูปเหล่านี้ทั้งหมดเกิดขึ้นตามเหตุปัจจัย โดยเป็นไปตามความปรารถนาของผู้ใดผู้หนึ่งก็หาไม่ และจะบ่งบอกว่าใครเป็นผู้คอยควบคุมบงการก็หาได้ไม่เช่นเดียวกัน แท้ที่จริงสภาวะที่ปรากฏทั้งหมดนั้นล้วนเป็นอนัตตา ความรู้แจ่มแจ้งเช่นนี้เรียกว่า อนัตตานุปัสสนาญาณ ขณะที่โยคีมุ่งกำหนดวิปัสสนากรรมฐานต่อไป เมื่อได้รู้ชัดอย่างไม่หวั่นใจสงสัยว่า สภาวะที่ปรากฏเหล่านี้ทั้งปวงเป็น อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา ก็จะบรรลุนิพพาน ซึ่งเป็นสภาวะที่อดีตพระพุทธเจ้า พระอรหันต์ และพระอริยสาวกทั้งหลายได้ทรงรู้แจ้งแล้วโดยการเจริญสติปัฏฐาน


:b20: :b20: :b20:

:b12: :b12: :b12:

http://www.dhammajak.net/board/viewtopic.php?t=4269


แก้ไขล่าสุดโดย eragon_joe เมื่อ 12 ม.ค. 2013, 15:36, แก้ไขแล้ว 4 ครั้ง.

โพสต์ เมื่อ: 12 ม.ค. 2013, 14:14 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 11 ต.ค. 2010, 12:11
โพสต์: 5019


 ข้อมูลส่วนตัว


:b13: :b4: ...

:b4: ...สัตตานัง...

อิอิ...มั่ว ๆ อย่างเอกอนก็ลุ้นอยู่เหมือนกันว่า
เอกอนตาดี หรือ ตาถั่วกันแน่

:b1: ... :b1:

ต่อมาโยคีก็จะมีความแน่ใจว่า สภาวะที่ปรากฏทางนามรูปเหล่านี้ทั้งหมดเกิดขึ้นตามเหตุปัจจัย โดยเป็นไปตามความปรารถนาของผู้ใดผู้หนึ่งก็หาไม่ และจะบ่งบอกว่าใครเป็นผู้คอยควบคุมบงการก็หาได้ไม่เช่นเดียวกัน แท้ที่จริงสภาวะที่ปรากฏทั้งหมดนั้นล้วนเป็นอนัตตา ความรู้แจ่มแจ้งเช่นนี้เรียกว่า อนัตตานุปัสสนาญาณขณะที่โยคีมุ่งกำหนดวิปัสสนากรรมฐานต่อไป เมื่อได้รู้ชัดอย่างไม่หวั่นใจสงสัยว่า สภาวะที่ปรากฏเหล่านี้ทั้งปวงเป็น อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา ก็จะบรรลุนิพพาน

:b3: :b3: :b3:

ยอมรับ อ่านแล้วมีกำลังใจ ...
จากประสบการณ์จริง ๆ
ถ้าไม่เจอของจริง มันลำดับไม่ได้
"คือ เราคิดว่า จิตมันปล่อยจาก ฌาณหนึ่ง ไปสู่อีกฌาณหนึ่งได้ยังไง
คือ เมื่อจิตละเอียดขึ้น ต่อให้เราไม่ได้อยากปล่อยสิ่งหยาบ
มันก็ ปล่อย องค์ธรรมที่หยาบ ไปสู่องค์ธรรมที่ละเอียดขึ้น
ไม่ใช่เราต้องการปล่อยสิ่งนี้ แล้วไปจับอีกสิ่ง

จิต ดำเนินไปตาม ปัจจัย"


:b3: :b3: :b3:

:b3: ...อิอิ...ขอเวลาหลงตัวเองสักแว๊บ...เถอะ... :b3:

อุตสาห์เสี่ยงตายปล่อยเป็ดปล่อยไก่....55555

:b9: :b9: :b9:


โพสต์ เมื่อ: 12 ม.ค. 2013, 15:02 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 27 เม.ย. 2010, 08:10
โพสต์: 2830

แนวปฏิบัติ: ขันธ์5ด้วยการสังเกตุ รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ และอินทรีย์22
สิ่งที่ชื่นชอบ: พระสุตตันตปิฎก
อายุ: 0
ที่อยู่: ระยอง อุบลราชธานี

 ข้อมูลส่วนตัว


อ้างคำพูด:
ต่อมาโยคีก็จะมีความแน่ใจว่า สภาวะที่ปรากฏทางนามรูปเหล่านี้ทั้งหมดเกิดขึ้นตามเหตุปัจจัย โดยเป็นไปตามความปรารถนาของผู้ใดผู้หนึ่งก็หาไม่ และจะบ่งบอกว่าใครเป็นผู้คอยควบคุมบงการก็หาได้ไม่เช่นเดียวกัน แท้ที่จริงสภาวะที่ปรากฏทั้งหมดนั้นล้วนเป็นอนัตตา


ครับผม ความเป็นอนัตตาเป็นอย่างนี้

.....................................................
อย่าท้อถอยต่อการปฏิบัติ อย่าปล่อยให้ความขุ่นเคืองเข้าแทรก สร้างพลังด้วยคำสอนของพระพุทธเจ้า รำลึกและตอบแทนพระคุณมารดา และบิดา มองโลกด้วยใจเป็นกลาง ระลึกเสมอว่าเรายังด้อยปัญญาหากยังไม่ได้ปัญญา


โพสต์ เมื่อ: 12 ม.ค. 2013, 15:43 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 11 ต.ค. 2010, 12:11
โพสต์: 5019


 ข้อมูลส่วนตัว


student เขียน:
อ้างคำพูด:
ต่อมาโยคีก็จะมีความแน่ใจว่า สภาวะที่ปรากฏทางนามรูปเหล่านี้ทั้งหมดเกิดขึ้นตามเหตุปัจจัย โดยเป็นไปตามความปรารถนาของผู้ใดผู้หนึ่งก็หาไม่ และจะบ่งบอกว่าใครเป็นผู้คอยควบคุมบงการก็หาได้ไม่เช่นเดียวกัน แท้ที่จริงสภาวะที่ปรากฏทั้งหมดนั้นล้วนเป็นอนัตตา


ครับผม ความเป็นอนัตตาเป็นอย่างนี้

ทำให้มาก สักวันคุณอาจจะได้ขึ้นชื่อว่าเป็นวิปัสสนาจารย์ชื่อดัง ก็ได้

เพราะ เอกอนเห็นอยู่ เชื่ออยู่ว่า คุณปฏิบัติจริง
มีทักษะในการสังเกตที่ละเอียด
เพียงแต่ว่ายังขัด ๆ ในเรื่องการหาคำมาใช้ในการถ่ายทอด

เอาเป็นว่า สู้ สู้


rolleyes rolleyes rolleyes


โพสต์ เมื่อ: 13 ม.ค. 2013, 17:19 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 11 ต.ค. 2010, 12:11
โพสต์: 5019


 ข้อมูลส่วนตัว


eragon_joe เขียน:


เมื่อเห็น จิต เห็น สิ่งที่ปรุงแต่งจิต โอกาสที่จะเห็น สัตตานัง อยู่ตรงนี้



ทำไมถึงอยู่ตรงนี้

เพราะ บังเอิ๊ญ บังเอิญ พระอาจารย์ก็ได้กล่าวไว้


http://www.sati99.com/images/1134677852/02%20mamma.pdf

Quote Tipitaka:
บางพวกเข้าใจว่า จิตดวงที่จุติในภพนี้แล้ว ก็ไปปฏิสนธิเกิดในภพหน้าอีก
ทรรศนะอย่างนี้ก็ยังไม่ตรงตามหลักของพระพุทธศาสนาอยู่นั่นเอง พระพุทธศาสนาถือว่าจิต
เจตสิก และรูปในภพนี้ก็ดับหมดในภพนี้ จิต เจตสิกและรูปในภพหน้าก็เกิดขึ้นในภพหน้า ไม่ใช่อัน
เดียวกัน แต่จะปฏิเสธว่าไม่สืบเนื่องกันก็ไม่ใช่ คือ จิต เจตสิก และรูปที่จุติดับไปในภพนี้นั่นแหละ
เป็นปัจจัยให้ปฏิสนธิจิตพร้อมทั้งรูปเกิดในภพหน้า
อุปมาเหมือนกับเมล็ดข้าวที่ชาวนาปลูกลงในที่
นา มันเกิดเป็นต้นข้าว แล้วออกรวงเป็นเมล็ดข้าวขึ้นมา เมล็ดข้าวใหม่นั้น จะว่าเป็นเมล็ดข้าวอัน
เดียวกันกับเมล็ดข้าวที่ชาวนาปลูกลงไปนั้นก็ไม่ใช่ แต่จะปฏิเสธว่ามันไม่ได้สืบเนื่องมาจากเมล็ดข้าว
นั้นก็ไม่ใช่ ฉันใดก็ดี จิต เจตสิก และรูปในภพนี้ก็ดับหมดในภพนี้ จิต เจตสิก และรูปในภพหน้าก็
เกิดขึ้นใหม่ในภพหน้า จะว่ามันไม่สืบเนื่องกันก็ไม่ใช่ จะว่าเป็นอันเดียวกันก็ไม่ใช่ แต่มันเป็นเหตุ
ปัจจัยสืบเนื่องกันฉันนั้น


สิ่งที่หลงอยู่ในความมีตัวตนเวียนว่ายตายเกิด คือ สัตตานัง

การทำความเห็นในเรื่องปัจจัยให้แจ้งในส่วนนี้
จะเป็นการชำระอวิชชาในส่วนนี้ จะทำให้เราเห็นภาพว่า
สัตตานังมันเข้ามาสวมอยู่ในวงจรสภาวะแห่งรูปนาม/ขันธ์ห้าได้อย่างไร



:b12: :b12: :b12:


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 59 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1, 2, 3, 4

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

่กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 1 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร