วันเวลาปัจจุบัน 27 ก.ค. 2025, 22:49  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง




กลับไปยังกระทู้  [ 35 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1, 2, 3  Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 20 ก.ย. 2012, 10:24 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


เมื่อพอเข้าใจเป็นฐานแล้ว ก็สามารถพูดถึงศีล ในความหมายแบบหลวมๆเป็นขั้นๆแง่ๆได้ต่างๆ เช่น


ศีล เป็นระเบียบวินัยเพื่อสร้างสังคมที่เรียบร้อย ไม่เบียดเบียนกัน อยู่ร่วมกันด้วยความสงบสุข เป็นสภาพเกื้อกูลแก่การดำเนินชีวิตและปฏิบัติกิจของสมาชิกทั้งหลาย

ศีล เป็นความประพฤติที่ดีงามเกื้อกูลของบุคคล ในการสัมพันธ์กับผู้อื่นและต่อสิ่งแวดล้อม อันทำให้เกิดผลดีแก่ชีวิตของตัวเขาเอง และแก่คนอื่นทั้งหลาย ตลอดทั้งสังคม และสิ่งแวดล้อม

ศีล เป็นข้อปฏิบัติสำหรับกำจัดกิเลสขั้นหยาบ ที่แสดงออกทางกายวาจา ขัดเกลาตนให้ประณีตขึ้น

ศีล เป็นข้อปฏิบัติสำหรับฝึกอบรมกายวาจาและอาชีวะ ให้อยู่ในสภาพพร้อมที่จะเป็นพื้นฐานของการพัฒนาในระดับสมาธิ เพื่อเสริมสร้างคุณภาพจิต และช่วยให้จิตมีสมรรถภาพที่จะใช้อย่างได้ผล

ศีล เป็นสภาพปกติทางกายวาจา และอาชีวะ ของผู้ที่มีชีวิตดีงาม หรือคนที่ได้รับการฝึกอบรมดี มีการศึกษาแท้จริง บรรลุภูมิธรรมอันสูงแล้ว

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 20 ก.ย. 2012, 10:38 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ย้ำอีกทีว่า :b1:


ผู้ฝึกศึกษาพัฒนาในศีล จะต้องเข้าใจหลักการ สาระสำคัญ และสิ่งที่สำคัญยิ่ง คือ วัตถุประสงค์ของศีลเหล่านั้น ทั้งในส่วนรายละเอียดที่ต่างกัน และส่วนรวมสูงสุด ที่เป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน จึงจะมีความเข้าใจถูกต้อง ไม่งมงาย ปฏิบัติธรรมไม่ผิดพลาดและได้ผลจริง


สีลัพพตปรามาส ความถือมั่นศีลพรต คือความยึดถือผิดพลาดไปว่า จะบริสุทธิ์ จะหลุดพ้นได้เพียงด้วยศีลพรต ได้แก่ การถือศีล ระเบียบ แบบแผน บทบัญญัติ และข้อปฏิบัติต่างๆ โดยสักว่าทำตามๆกันไปอย่างงมงาย เห็นเป็นขลังหรือศักดิ์สิทธิ์ ติดอยู่แต่รูปแบบหรือพิธีรีตอง ก็ดี ถือด้วยตัณหาและทิฐิ คือปฏิบัติเพราะอยากได้ผลประโยชน์ตอบแทนอย่างใดอย่างหนึ่ง หรือเพราะเห็นว่าจะทำไห้ได้เป็นนั่นเป็นนี่ ก็ดี ไม่เป็นไปตามความหมาย และความมุ่งหมายที่แท้จริงของศีลและพรต ทำให้เขวออกนอกลู่นอกทาง หรือเลยเถิดไป เป็นอย่างศีลและพรตของนักบำเพ็ญตบะเป็นต้น



ศีลเพื่อสมาธิ สมาธิเพื่อปัญญา ปัญญาเพื่อวิมุตติ

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 20 ก.ย. 2012, 10:48 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว




j2019.gif
j2019.gif [ 31.58 KiB | เปิดดู 1390 ครั้ง ]
อ้างคำพูด:
ความหมายของศีล ถ้าจะกล่าวโดยเนื้อแท้แล้ว มันเป็นสติ
นั้นก็คือ การระลึกนึกถึงเรื่องที่เป็นกุศลเพื่อมาดับ สิ่งที่เป็นอกุศลนี่หมายถีงจิต
เนื้อแท้แล้วคือ ไม่ให้เกิดการกระทำอกุศลทางกายและวาจา


ความคิดความเห็นพื้นฐานแหล่งข้อมูลของเราสองคนเป็นคนละขั่ว คั่ว่ไปคั่วมากว่าถั่วจะสุกงาก็ไหม้

แหล่งข่าวว่า ศีลอยู่ที่เจตนานะ :b1:

ศีลเป็นสติ แล้วสติเป็นใครเอ่ย :b10: โยงไปเรื่อย งอกออกไปเรื่อย แล้วที่พูดเป็นพุทธพจน์กระมั่ง หรือเป็นลัทธิโฮ

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 20 ก.ย. 2012, 11:21 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


สาระของศีลอยู่ที่เจตนาได้แก่ การไม่ตั้งใจ ไม่คิดล่วงละเมิด คำว่า "ละเมิด" แง่หนึ่ง คือ ละเมิดระเบียบ ละเมิดกฎเกณฑ์ บทบัญญัติ ละเมิดวินัยที่วางกันไว้

อีกแง่หนึ่งคือ ละเมิดต่อผู้อื่น หมายถึงเจตนาที่จะเบียดเบียนผู้อื่นนั่นเอง ศีลจึงหมายถึงการไม่เจตนาละเมิดระเบียบวินัย หรือการไม่เจตนาล่วงเกินเบียดเบียนผู้อื่น ถ้ามองแต่อาการหรือการกระทำ ศีลก็คือ ความไม่ละเมิด และการไม่เบียดเบียน

มองอีกด้านหนึ่ง ศีลอยู่อยู่ที่ความสำรวม กล่าวคือการสำรวมระวัง คอยปิดกั้นหลีกเว้นไม่ให้ความชั่วเกิดขึ้นนั่นเอง เป็นศีล และถ้ามองลึกที่สุด สภาพจิตของผู้ไม่คิดจะละเมิด ไม่คิดจะเบียดเบียนใครนั่นเอง คือตัวศีล

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 20 ก.ย. 2012, 11:24 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ดูขอบเขตจำเพาะตัวของศีล :b1:

ในสมัยอรรถกถา ท่านนิยมแสดง สิกขา 3 ในแง่ที่เป็นระดับขั้นต่างๆ ของการละกิเลส คือ

1. ศีล เป็นวิติกกมปหาน (เป็นเครื่องละวีติกกมกิเลส คือ กิเลสอย่างหยาบ ที่เป็นเหตุให้ล่วงละเมิดออกมาถึงกายวาจา)

2. สมาธิ เป็นปริยุฏฐานปหาน (เป็นเครื่องละปริยุฏฐานกิเลส คือ กิเลสอย่างกลาง ที่เร้ารุมอยู่ในจิตใจ ซึ่งบางท่านระบุว่าได้แก่ นิวรณ์ 5)

3. ปัญญา เป็นอนุสยปหาน (เป็นเครื่องละอนุสยกิเลส คือ กิเลสอย่างละเอียด ที่แนบนอนคอยอยู่ในสันดาน รอแสดงตัวในเมื่อได้เหตุกระตุ้น ได้แก่ อนุสัย 7)


สิกขา 3 คือ ศีล สมาธิ และปัญญา ต่างก็เป็นฐานให้กันและกัน ลำพังตัวใดตัวหนึ่งไปไม่ถึงจุดหมาย


จึงว่า ศีลเพื่อสมาธิ สมาธิเพื้อปัญญา ปัญญาเพื่อวิมุตติ

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 35 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1, 2, 3

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

่กำลังดูบอร์ดนี้: Google [Bot] และ บุคคลทั่วไป 1 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร