วันเวลาปัจจุบัน 21 ก.ค. 2025, 01:03  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง




กลับไปยังกระทู้  [ 12 โพสต์ ]    Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 30 ก.ค. 2012, 07:20 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
อาสาสมัคร
อาสาสมัคร
ลงทะเบียนเมื่อ: 06 มี.ค. 2009, 10:48
โพสต์: 5361


 ข้อมูลส่วนตัว


๔. มหาภูมิจาลนปาตุภาวปัญหา ๔

พระเจ้ามิลินท์ ตรัสว่า "พระผู้เป็นเจ้านาคเสน พระพุทธพจน์นี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าแม้ตรัสแล้วว่า 'ภิกษุทั้งหลาย เหตุเพื่อความปรากฏของความไหวแห่งแผ่นดินใหญ่เหล่านี้แปดอย่าง ปัจจัยเพื่อความปรากฏของความไหวแห่งแผ่นดินใหญ่แปดอย่าง' ดังนี้. พระพุทธพจน์นี้ กล่าวเหตุปัจจัยหาส่วนเหลือมิได้ พระพุทธพจน์นี้ กล่าวเหตุปัจจัยไม่มีส่วนเหลือ, พระพุทธพจน์นี้ กล่าวเหตุปัจจัยโดยตรง ไม่มีปริยาย, เหตุเพื่อความปรากฏของความไหวแห่งแผ่นดินใหญ่เป็นที่เก้าอันอื่นไม่มี; พระผู้เป็นเจ้า นาคเสน ถ้าเหตุเพื่อความปรากฏของความไหวแห่งแผ่นดินใหญ่ที่เก้า อันอื่นยังมีไซร้, พระผู้มีพระภาคเจ้าพึงตรัสเหตุแม้นั้น, ก็เหตุเพื่อความปรากฏของความไหวแห่งแผ่นดินใหญ่ที่เก้า อันอื่นย่อมไม่มี เพราะเหตุใดแล, เพราะเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้ามิได้ตรัสเหตุนั้นแล้ว. ก็แต่ว่า เหตุเพื่อความปรากฏของความไหวของแผ่นดินใหญ่ที่เก้านี้ ยังปรากฏอยู่, พระเวสสันดรมหากษัตริย์ทรงบริจาคมหาทาน แผ่นดินใหญ่นี้ไหวแล้วเจ็ดครั้งด้วยเหตุไรเล่า พระผู้เป็นเจ้า นาคเสน. ถ้าเหตุเพื่อความปรากฏของความไหวแห่งแผ่นดินใหญ่แปดอย่างเท่านั้น ปัจจัยเพื่อความปรากฏของความไหวแห่งแผ่นดินใหญ่แปดอย่างเท่านั้นไซร้, ถ้าอย่างนั้น คำอันใดที่ว่า 'เมื่อพระเวสสันดรมหากษัตริย์ทรงบริจาคมหาทาน แผ่นดินใหญ่นี้ ไหวเจ็ดครั้ง' คำแม้นั้นผิด. ถ้าเมื่อพระเวสสันดรมหากษัตริย์ทรงบริจาคมหาทาน แผ่นดินใหญ่นี้ไหวเจ็ดครั้งแล้วไซร้, ถ้าอย่างนั้น คำที่ว่า 'เหตุเพื่อความปรากฏของความไหวแห่งแผ่นดินแปดอย่างเท่านั้น ปัจจัยเพื่อความปรากฏของความไหวแห่งแผ่นดินแปดอย่างเท่านั้น'แม้คำนั้นก็ผิด. ปัญหาแม้นี้สองเงื่อน เป็นปัญหาละเอียด ใคร ๆ แก้ยาก ทำบุคคลให้มืดมนธ์ดังบุคคลตาบอดด้วย ลึกด้วย, ปัญหานั้นมาถึงพระผู้เป็นเจ้าแล้ว, ปัญหานั้น ผู้อื่นที่มีปัญญาน้อย นอกจากบุคคลผู้มีความรู้เช่นพระผู้เป็นเจ้า ไม่อาจเพื่อจะวิสัชนาได้."
พระเถรเจ้าถวายพระพรว่า "ขอถวายพระพร พระพุทธพจน์นี้พระผู้มีพระภาคเจ้าแม้ได้ตรัสแล้วว่า 'ภิกษุทั้งหลาย เหตุปัจจัยทั้งหลายเพื่อความปรากฏของความไหวแห่งแผ่นดินใหญ่เหล่านี้ แปดอย่าง ๆ' ดังนี้. แม้เมื่อพระเวสสันดรมหากษัตริย์ทรงบริจาคมหาทานอยู่ แผ่นในใหญ่นี้ ไหวแล้วเจ็ดครั้ง. ก็แลการที่แผ่นดินใหญ่ไหวนั้นไม่เป็นไปดินกาลทุกเมื่อ มีความเกิดขึ้นในกาลบางคราว, พ้นแล้วจากเหตุทั้งหลายแปดอย่าง, เพราะเหตุนั้น ท่านจึงไม่นับแล้วโดยเหตุทั้งหลายแปด.
ขอถวายพระพร เมฆทั้งหลายสามอย่าง คือ: เมฆชื่อวัสสิกะหนึ่ง เมฆชื่อเหมันติกะหนึ่ง เมฆชื่อปาวุสสกะหนึ่ง เท่านั้น ท่านย่อมนับว่าเมฆ, ถ้าเมฆอื่นพ้นจากเมฆทั้งหลายที่สมมติแล้ว, เมฆนั้น ย่อมถงซึ่งความนับว่าอกาลเมฆเท่านั้น ฉันใด; สมัยเมื่อพระเวสสันดรมหากษัตริย์ทรงบริจาคมหาทานอยู่ แผ่นดินใหญ่นี้ไหวแล้วเจ็ดครั้ง ด้วยเหตุอันใดเหตุนั้น ไม่มีในกาลทุกเมื่อ มีความเกิดขึ้นในกาลบางคราว, พ้นจากเหตุทั้งหลายแปดอย่าง, เหตุนั้น ท่านจึงไม่นับโดยเหตุทั้งหลายแปดอย่าง ฉันนั้นนั่นเทียว.
ขอถวายพระพร อีกนัยหนึ่ง เหมือนแม่น้ำห้าร้อย ไหลมาแต่ภูเขาชื่อหิมวันต, แม่น้ำห้าร้อยเหล่านั้น แม่น้ำทั้งสิบเท่านั้น ท่านย่อมนับโดยอันนับว่าแม่น้ำ, แม่น้ำทั้งสิบนี้อย่างไร แม่น้ำทั้งสิบนี้ คือ แม่น้ำคงคาหนึ่ง แม่น้ำยมุนาหนึ่ง แม่น้ำอจิรวดีหนึ่ง แม่น้ำสรภูหนึ่ง แม่น้ำมหีหนึ่ง แม่น้ำสินธุหนึ่ง แม่น้ำสรัสสดีหนึ่ง แม่น้ำเวตรวดีหนึ่ง แม่น้ำวีตังสาหนึ่ง แม่น้ำจันทภาคาหนึ่ง แม่น้ำทั้งสิบเหล่านี้ ท่านนับว่าแม่น้ำแท้, แม่น้ำทั้งหลายเศษนอกนั้น ท่านไม่นับโดยอันนับในแม่น้ำ, ความนับนั้นมีอะไรเป็นเหตุ? แม่น้ำทั้งหลายเท่านั้น ไม่เป็นแดนเกิดแห่งน้ำ เพราะเหตุนั้น ท่านจึงนับโดยอันนับรวมลงในแม่น้ำใหญ่ แม้ฉันใด สมัยเมื่อพระเวสสันดรมหากษัตริย์ทรงบำเพ็ญมหาทานอยู่ แผ่นดินใหญ่นี้ไหวแล้วเจ็ดครั้ง ด้วยเหตุใด เหตุนั้น ท่านไม่นับโดยเหตุทั้งหลายแปดอย่าง ฉันนั้น.
ขอถวายพระพร อีกอย่างหนึ่ง เหมือนอมาตย์ทั้งหลายของมหากษัตริย์มีอยู่ ร้อยหนึ่งบ้าง สองร้อยบ้าง, อมาตย์ทั้งหลายเหล่านั้นชนทั้งหลายหกคน ท่านย่อมนับโดยอันนับว่าอมาตย์, ชนทั้งหลายหกคนนี้ อย่างไร ชนทั้งหลายหกคนนี้ คือ เสนาบดีหนึ่ง ปุโรหิตหนึ่ง อักขทัสสะ ผู้พิพากษาหนึ่ง ภัณฑาคาริกะชาวพระคลังหนึ่ง ฉัตตคาหกะผู้เชิญพระกลดหนึ่ง ขัคคคาหกะผู้เชิญพระแสงหนึ่ง ชนหกคนเหล่านี้เท่านั้นท่านนับโดยอันนับว่าอมาตย์แท้, ข้อซึ่งนับมีอะไรเป็นเหตุเล่า ? ข้อซึ่งนับนั้น เพราะความที่ชนทั้งหกนั้นเป็นผู้ประกอบด้วยคุณต่อพระมหากษัตริย์, ชนทั้งหลายเหลือนั้น ท่านมิได้นับแล้ว, ชนทั้งหลายเหล่านั้นย่อมถึงซึ่งความกล่าวรวมลงว่าอมาตย์ทั้งสิ้นนั่นเทียว ฉันใด, เมื่อพระเวสสันดรมหากษัตริย์ทรงบำเพ็ญมหาทานอยู่ แผ่นดินใหญ่นี้ ไหวแล้วเจ็ดครั้ง ด้วยเหตุใด เหตุนั้น ไม่มีมีในกาลทุกเมื่อ มีความเกิดขึ้นในกาลบางคราว, พ้นจากเหตุทั้งหลายแปดอย่าง, เหตุนั้น ท่านจึงไม่นับโดยเหตุแปดอย่าง ฉันนั้นนั่นแหละ.
ขอถวายพระพร กรรมเป็นที่ตั้งแห่งความเสวยสุขในทิฏฐธรรมเป็นเหตุยิ่งอันบุคคลกระทำแล้วในศาสนา แห่งพระพุทธเจ้าผู้ชนะมารทั้งปวงแล้ว ณ กาลนี้, อนึ่ง เกียรติศัพท์ความสรรเสริญคุณของบุคคลทั้งหลายเหล่าไร ฟุ้งทั่วไปในเทพดาและมนุษย์ทั้งหลาย, บรมบพิตรได้ทรงฟังบ้างหรือไม่ ขอถวายพระพร."
ร. "พระผู้เป็นเจ้า ข้าพเจ้าได้ยินอยู่ กรรมเป็นที่ตั้งแห่งความเสวยสุขในทิฏฐธรรม เป็นเหตุยิ่งอันบุคคลกระทำแล้วในชินศาสนา ณ กาลนี้, ทั้งเกียรติศัพท์ความสรรเสริญคุณของบุคคลทั้งหลายเหล่าไรฟุ้งทั่วไปในเทพดาและมนุษย์ทั้งหลาย, บุคคลทั้งหลายเหล่านั้นเจ็ดคนข้าพเจ้าเคยได้ยินมา."
ถ. "ใครบ้าง ใครบ้าง ขอถวายพระพร."
ร. "พระผู้เป็นเจ้า บุคคลทั้งเจ็ด คือ นายมาลาการชื่อสุมนะหนึ่ง พราหมณ์ชื่อเอกสาฎก หนึ่ง ลูกจ้างชื่อปุณณะ หนึ่ง เทวีชื่อ มัลลิกา หนึ่ง เทวีโคปาลมารดา หนึ่ง อุบาสิกาชื่อ สุปปิยา หนึ่ง นางทาสีชื่อ ปุณณา หนึ่ง ชนเหล่านี้เป็นผู้ที่มีกุศลเป็นที่ตั้งแห่งความเสวยสุขในทิฏฐธรรม, อนึ่ง เกียรติความสรรเสริญคุณของชนทั้งหลายเหล่านี้ ฟุ้งทั่วไปในเทพดาและมนุษย์ทั้งหลาย."
ถ. "ขอถวายพระพร ชนทั้งหลายแม้อื่นอีก บรมบพิตรได้ทรงฟังหรือไม่ว่า ในกาลล่วงแล้ว ชนทั้งหลายไปสู่พิภพชื่อตรีทศทั้งสรีรกายเป็นของแห่งมนุษย์นั่นเทียว."
ร. "ข้าพเจ้าได้ยินอยู่."
ถ. "ใครบ้าง ใครบ้าง ไปสู่พิภพชื่อตรีทศทั้งสรีรกายเป็นของแห่งมนุษย์ ขอถวายพระพร."
ร. "ชนทั้งหลายสี่ คือ คนธรรพราชนามว่าคุตติลาหนึ่ง พระมหากษัตริย์ทรงพระนามว่า สาธีนราช หนึ่ง พระมหากษัตริย์ทรงพระนามว่านิมิราชหนึ่ง พระมหากษัตริย์ทรงพระนามว่ามันธาตุราชหนึ่ง เหล่านี้ข้าพเจ้าได้ยินมาว่า 'ไปสู่พิภพชื่อตรีทศแล้ว ทั้งสรีรกายเป็นของแห่งมนุษย์นั้นนั่นเทียว,' พระผู้เป็นเจ้า กรรมอันบุคคลนั้นกระทำแล้ว ข้าพเจ้าได้ฟังมาแม้สิ้นกาลนมนานว่า 'เป็นกรรมดี ไม่ใช่กรรมชั่ว."
ถ. "ขอถวายพระพร ก็บรมบพิตรเคยได้ทรงฟังแล้วหรือว่า 'ในกาลยืดยาวที่ล่วงแล้ว หรือในกาลซึ่งเป็นไปอยู่ ณ บัดนี้ ครั้นเมื่อทานของบุคคลผู้มีชื่ออย่างนี้ อันบุคคลนั้นให้อยู่ แผ่นดินใหญ่ไหวแล้วคราวหนึ่งบ้าง สองคราวบ้าง สามคราวบ้าง."
ร. "ข้าพเจ้าไม่เคยได้ฟังเลย พระผู้เป็นเจ้า."
ถ. "ขอถวายพระพร นิกายเป็นที่มา และมรรคผล ปริยัตติ และการฟัง และกำลังแห่งความศึกษา และความปรารถนาจะฟัง และปริปุจฉา และความเข้าไปนั่งใกล้อาจารย์ของอาตมภาพมีอยู่, แม้อาตมภาพไม่เคยได้ฟังว่า 'ครั้นเมื่อทานของบุคีคลผู้มีชื่ออย่างนี้ อันบุคคลนั้นให้อยู่ แผ่นดินใหญ่ไหวแล้ว คราวหนึ่งบ้าง สองคราวบ้าง สามคราวบ้าง' ดังนี้, ยกเว้นทานอันประเสริฐของพระเวสสันดรบรมกษัตริย์เสีย.
ขอถวายพระพร โกฏิแห่งปีทั้งหลายเป็นไปล่วงแล้วซึ่งคลองแห่งการนับ ล่วงไปแล้วในระหว่างแห่งพระพุทธเจ้าสองพระองค์ คือ พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงพระนามว่ากัสสปหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงพระนามว่าสักยมุนีหนึ่ง. การได้ฟังของอาตมภาพในโกฏิแห่งปีทั้งหลายนั้นไม่มีว่า 'ครั้นเมื่อทานของบุคคลผู้มีชื่ออย่างนี้ อันบุคคลนั้นให้อยู่ แผ่นดินใหญ่ไหวแล้ว คราวหนึ่งบ้าง สองคราวบ้าง สามคราวบ้าง.' แผ่นดินใหญ่ซึ่งจะหวั่นไหว ด้วยความเพียรประมาณเท่านั้น ด้วยความบากบั่นประมาณเท่านั้น หามิได้.
ขอถวายพระพร แผ่นดินใหญ่เต็มแล้วด้วยภาระ คือ คุณแห่งความกระทำซึ่งความเป็นผู้สะอาดโดยอาการทั้งปวง ไม่อาจเพื่อจะทรงคุณนั้นไว้ได้ ย่อมเขยื้อนสะเทือนหวั่นไหว. อุปมาเหมือนเกวียนที่เต็มด้วยภาระหนักเกิน ดุมและกงทั้งหลายของเกวียนนั้นย่อมแยกเพลาของเกวียนนั้นย่อมแตก ฉันใด, แผ่นดินใหญ่เต็มแล้วด้วย ภาระ คือ คุณแห่งความกระทำซึ่งความเป็นผู้สะอาดโดยทั้งปวง เมื่อไม่อาจเพื่อจะทรงภาระ คือ คุณนั้นไว้ได้ ย่อมเขยื้อนสะเทือนหวั่นไหวมีอุปไมยฉันนั้นนั่นเทียวแล.
ขอถวายพระพร อีกนัยหนึ่ง อากาศดาดไปด้วยเรี่ยวแรงแห่งลมและน้ำ เต็มแล้วด้วยภาระ คือ น้ำหนาขึ้นแล้ว ย่อมบันลือลั่นกระทำเสียงครืนครัน เพราะความที่อากาศนั้นเป็นของอันลมกล้าถูกต้องแล้วฉันใด, แผ่นดินใหญ่เต็มไปแล้วด้วยภาระอันหนาขึ้น ไพบูลย์คือกำลังแห่งทานของพระมหากษัตริย์ทรงพระนามว่าเวสสันดร ไม่อาจเพื่อจะทรงภาระนั้นไว้ได้ ย่อมเขยื้อนสะเทือนหวั่นไหว ฉันนั้นนั่นเทียวแล. ก็จิตของพระมหากษัตริย์ทรงพระนามว่า เวสสันดร ย่อมไม่เป็นไปด้วยอำนาจแห่ง ราคะ โทสะ โมหะ มานะ ทิฏฐิ กิเลส และวิตกย่อมไม่เป็นไปด้วยอำนาจแห่ง อรติ, จิตนั้นย่อมเป็นไปโดยอำนาจแห่งทานโดยแท้แล; จิตนั้นเป็นไปโดยอำนาจแห่งทานว่ากะไร ? พระมหากษัตริย์ทรงพระนามว่าเวสสันดรนั้น ทรงตั้งพระหฤทัยไว้ให้เป็นเจ้าแห่งทานเนือง ๆ เป็นไปในกาลทุกเมื่อว่า 'ยาจกทั้งหลายที่ยังไม่มาแล้ว พึงมาในสำนักของเรา ส่วนยากจกทั้งหลายที่มาแล้ว พึงได้ตามความปรารถนา แล้วมีใจยินดีเต็มไปด้วยปีติ, ดังนี้ พระมหากษัตริย์ทรงพระนามว่าเวสสันดร ทรงตั้งพระหฤทัยไว้เนือง ๆ เป็นไปในกาลทุกเมื่อในที่ทั้งหลายสิบ คือ: ในความทรมานหนึ่ง ในความระงับหนึ่ง ในความทนหนึ่ง ในความระวังหนึ่ง ในความสำรวมหนึ่ง ในความสำรวมโดยไม่เหลือหนึ่ง ในความไม่โกรธหนึ่ง ในความไม่เบียดเบียนหนึ่ง ในสัจจะหนึ่ง ในโสเจยยะความเป็นผู้สะอาดหนึ่ง. ความแสวงหากามอันพระเวสสันดรมหากษัตริย์ละแล้ว, ความแสวงหาภพของพระองค์สงบรามแล้ว, พระองค์ถึงแล้วซึ่งความขวนขวายในการแสวงหาพรหมจรรย์ถ่ายเดียว. พระองค์ละความรักษาตน ถึงแล้วซึ่งความขวนขวายเพื่อความรักษาผู้อื่น; พระองค์ถึงซึ่งความขวนขวาย เพื่อความรักษาผู้อื่น ว่ากระไร? ความขวนขวายในพระหฤทัยของพระองค์ว่า 'สัตว์ทั้งหลายเหล่านี้ พึงเป็นผู้พร้อมเพรียงกัน เป็นผู้ไม่มีโรค เป็นผู้เป็นไปด้วยทรัพย์ เป็นผู้มีอายุยืนเถิด' ดังนี้ ย่อมเป็นไปมากถ่ายเดียว. พระเวสสันดรมหากษัตริย์ ก็เมื่อทรงบริจาคทานนั้น บริจาคเพราะปรารถนาภวสมบัติก็หาไม่, จะบริจาคเพราะเหตุปรารถนาจะให้เขาให้ตนบ้าง และปรารถนาจะให้ตอบแก่เขา และปรารถนาจะเกลี้ยกล่อมเขาก็หาไม่, จะบริจาคเพราะเหตุปรารถนาอายุ พรรณ สุข กำลัง ยศ และบุตรและธิดาละอย่าง ๆ ก็หาไม่, พระองค์ได้ให้แล้วซึ่งทานน่าเลือกสรรทั้งหลายไม่มีทานอื่นเสมอ และเป็นทานไพบูลย์ ไม่มีทานอื่นยิ่งกว่าเห็นปานฉะนี้ เพราะเหตุแห่งสัพพัญญุตญาณ คือ เพราะเหตุแห่งรัตนะ คือ สัพพัญญุตญาณ. ครั้นพระองค์บรรลุความเป็นพระสัพพัญญูแล้ว ได้ทรงภาสิตพระคาถานี้ มีเนื้อความว่า "เราเมื่อสละบุตรชื่อชาลี และธิดา ชื่อ กัณหาชินา และเทวีชื่อ มัทรี มีความประพฤติดีในภัสดา มิได้เสียดายแล้ว, เราคิดแต่เหตุแห่งปัญญาเครื่องตรัสรู้ถ่ายเดียว" ดังนี้. พระเวสสันดร มหากษัตริย์ทรงชนะบุคคลผู้โกรธ ด้วยความไม่โกรธ, ชนะบุคคลผู้ไม่ยังประโยชน์ให้สำเร็จ ด้วยการกระทำประโยชน์ให้สำเร็จ, ชนะบุคคลผู้ตระหนี่ ด้วยทานการบริจาค, ชนะบุคคลกล่าวคำเหลาะแหละ ด้วยคำจริง, ชนะอกุศลทั้งปวง ด้วยกุศล, เมื่อพระเวสสันดร นั้นบริจาคอยู่อย่างนั้นไปตามธรรมแล้ว มีธรรมเป็นประธานด้วยนิสสันทผลแห่งทาน และความเพียรมีกำลัง และวิหารธรรมเครื่องอยู่ไพบูลย์ของพระองค์, ลมใหญ่ทั้งหลายในภายใต้แผ่นดิน ย่อมเขยื้อนกระจาย ๆ พัดไปน้อย ๆ คราวหนึ่ง ๆ น้อมลงฟูขึ้น น้อมไปต่าง ๆ, ต้นไม้ทั้งหลายมีใบสลดแล้วล้มไป, วลาหกทั้งหลายเป็นกลุ่ม ๆ แล่นไปในอากาศ, ลมทั้งหลายเจือด้วยธุลีเป็นของหยาบ, อากาศอันลมทั้งหลายเบียดเสียดแล้ว, ลมทั้งหลายย่อมพัดเป่าไป ๆ, เสียงน่ากลัวใหญ่เปล่งออก, ครั้นเมื่อลมทั้งหลายเหล่านั้นกำเริบแล้ว น้ำกระเพื่อมน้อย ๆ, ครั้นเมื่อน้ำกระเพื่อมแล้ว ปลาและเต่าทั้งหลายย่อมกำเริบ, คลื่นทั้งหลายเป็นคู่ ๆ กันเกิดขึ้น, สัตว์ทั้งหลายที่สัญจรในน้ำย่อมสะดุ้ง, ละลอกแห่งน้ำเนื่องเป็นคู่กันไป, เสียงบันลือแห่งละลอกย่อมเป็นไป, ต่อมน้ำทั้งหลายอันหยาบตั้งขึ้น, ระเบียบแห่งฟองทั้งหลายย่อมแล่นไป, มหาสมุทรย่อมขึ้น, น้ำย่อมไหลไปสู่ทิศและทิศเฉียง, ธารแห่งน้ำทั้งหลายมีหน้าเฉพาะทวนกระแสไหลไป, อสูร ครุฑ นาค ยักษ์ทั้งหลายสะดุ้งหวาดด้วยคิดว่า 'สาครพลิกหรืออย่างไรหนอแล' มีจิตกลัวแล้วแสวงหาทางไป, ครั้นเมื่อธารแห่งน้ำกำเริบขุ่นมัวแล้ว แผ่นดินทั้งภูเขาทั้งสาครหวั่นไหว, ภูเขาสิเนรุมียอดและชะง่อนเป็นวิการแห่งศิลาเป็นของน้อมไปต่าง ๆ, ครั้นเมื่อแผ่นดินใหญ่หวั่นไหวอยู่ งูและพังพอนและแมวและสุนัขจิ้งจอก สุกร มฤค และนกทั้งหลายย่อมตกใจ, เหล่ายักษ์ที่มีศักดาน้อยร้องไห้, ยักษ์ทั้งหลายที่มีศักดาใหญ่ ย่อมหัวเราะ. มีอุปมาว่า เมื่อกะทะใหญ่ตั้งอยู่บนเตาแล้ว เต็มแล้วด้วยน้ำ มีข้าวสารอันบุคคลรวบรวมลงแล้ว ไฟโพลงอยู่ข้างใต้ คราวแรกกระทำกะทะให้ร้อนก่อน, กะทะร้อนแล้วกระทำน้ำให้ร้อน, น้ำร้อนแล้วกระทำข้าวสารให้ร้อน, ข้าวสารร้อนแล้วผุดขึ้นและจมลง, มีต่อมเกิดขึ้นแล้ว, ระเบียบแห่งฟองผุดขึ้น ฉันใด; พระมหากษัตริย์ทรงพระนามว่าเวสสันดร สิ่งใดที่บุคคลสละโดยยากในโลก ทรงสละสิ่งนั้น, ครั้นเมื่อพระองค์ทรงสละของพระองค์นั้น ลมใหญ่ทั้งหลายในภายใต้ ไม่อาจเพื่อจะทรงคุณ คือ ความสละนั้นไว้ได้ กำเริบแล้ว, ครั้นเมื่อลมใหญ่ทั้งหลายกำเริบแล้ว น้ำก็ไหว, ครั้นเมื่อน้ำไหวแล้ว แผ่นดินใหญ่ก็ไหว ฉันนั้น นั่นเทียวแล. ของสามอย่าง คือ ลมใหญ่ด้วย น้ำด้วย แผ่นดินด้วยเหล่านี้ เป็นของดุจมีใจเป็นอันเดียวกัน แม้ในกาลนั้น ด้วยประการ ฉะนี้, อานุภาพแห่งทานของบุคคลอื่นซึ่งจะเหมือนอานุภาพแห่งมหาทานของพระเวสสันดรมหากษัตริย์ โดยนิสสันทผลแห่งมหาทาน โดยความเพียรมีกำลังไพบูลย์เช่นนี้ ไม่มี.
อนึ่ง แก้วทั้งหลายมากอย่างซึ่งมีในแผ่นดิน, แก้วมากอย่างนี้อย่างไร แก้วมากอย่างนี้ คือ แก้วอินทนิล แล้วมหานิล แก้วโชติรส แก้วไพฑูรย์ แก้วดอกผักตบ แก้วสีดอกไม้ซึก แก้วมโนหร แก้วสุริยกานต แก้วจันทรกานต แก้ววิเชียร แก้วกโชปักกมกะ แก้วปุสราค แก้วทับทิม แก้วลาย, แก้วจักรวัตติ อันโลกย่อมกล่าวว่าเป็นยอด ก้าวล่วงเสียซึ่งแก้วทั้งปวงเหล่านี้, แก้วจักรวัตติ ยังที่ให้สว่างลงตลอดโยชน์หนึ่งโดยรอบ ฉันใด; ทานอันใดอันหนึ่ง แม้อสทิสทานเป็นอย่างยิ่ง มีอยู่ในแผ่นดิน, มหาทานของพระเวสสันดรมหากษัตริย์ บัณฑิตย่อมกล่าวว่าเป็นยอดทาน ก้าวล่วงทานทั้งปวงนั้นเสีย ฉันนั้นนั่นเทียวแล. ครั้นเมื่อมหาทานของพระเวสสันดรมหากษัตริย์ อันพระองค์บริจาคอยู่ แผ่นดินใหญ่ไหวแล้วเจดครั้ง."
ร. "พระผู้เป็นเจ้า พระตถาคตเมื่อยังเป็นพระโพธิสัตว์ เป็นผู้มีขันติความอดทนอย่างนี้ มีจิตอย่างนี้ มีความน้อมไปเพื่อคุณอันยิ่งอย่างนี้ มีความประสงค์อย่างนี้ ไม่มีใครเสมอทั้งโลกด้วยเหตุใด, เหตุนั้น ของพระพุทธเจ้าทั้งหลายน่าอัศจรรย์ เหตุนั้น ของพระพุทธเจ้าทั้งหลายน่าพิศวง ไม่เคยเป็นมาเป็นแล้ว. พระผู้เป็นเจ้า ความพยายามก้าวไปสู่คุณยิ่งของพระโพธิสัตว์ทั้งหลาย พระผู้เป็นเจ้าให้ข้าพเจ้าเห็นแล้ว, อนึ่ง พระบารมีของพระพุทธเจ้าผู้ชนะแล้ว พระผู้เป็นเจ้าให้สว่างลงโดยยิ่งแล้ว, ความที่พระตถาคต แม้เมื่อประพฤติจริยาเท่านั้น ยังเป็นผู้ประเสริฐสุดในโลกกับทั้งเทพดา พระผู้เป็นเจ้ามาแสดง โดยลำดับแล้ว; ดีละ พระผู้เป็นเจ้า ศาสนาของพระพุทธเจ้าผู้ชนะแล้ว พระผู้เป็นเจ้าชมแล้ว, พระบารมีของพระพุทธเจ้าผู้ชนะแล้ว พระผู้เป็นเจ้าให้รุ่งเรืองแล้ว, ขอดแห่งวาทะของเดียรถีย์ทั้งหลาย พระผู้เป็นเจ้าตัดเสียแล้ว, หม้อแห่งปรัปปวาทความติเตียนทั้งหลาย พระผู้เป็นเจ้าต่อยเสียแล้ว, ปัญหาลึก พระผู้เป็นเจ้ามากระทำให้ตื้นได้แล้ว, ชัฏรกพระผู้เป็นเจ้ามากระทำไม่ให้เป็นชัฏได้แล้ว, คำเครื่องขยายออกอันพระชินบุตรทั้งหลายได้แล้วโดยชอบ, พระผู้เป็นเจ้าผู้ประเสริฐกว่าคณาจารย์ที่ประเสริฐ ข้อวิสัชนาของพระผู้เป็นเจ้านั้น สมอย่างนั้น, ข้าพเจ้ายอมรับอย่างนั้น."

๕. สิวิราชจักขุทานปัญหาที่ ๕

ร. "พระผู้เป็นเจ้า ท่านทั้งหลายกล่าวแล้วอย่างนี้ว่า 'จักษุทั้งหลายอันพระเจ้าสิวิราชได้พระราชทานแล้วแก่ยาจก, ทิพยจักษุทั้งหลายเกิดขึ้นแล้วใหม่แก่พระเจ้าสิวิราชนั้น เมื่อเป็นบุคคลบอด.' คำแม้นั้นกับทั้งกากเป็นไปด้วยนิคคหะ เป็นไปกับด้วยโทษ. คำท่านกล่าวไว้แล้วในสูตรว่า 'ความเกิดขึ้นแห่งทิพยจักษุ ไม่มีในสิ่งที่มิใช่วัตถุมีเหตุอันถอนขึ้น มิได้มีเหตุ.' ถ้าจักษุทั้งหลายอันพระเจ้าสิวิราชได้พระราชทานแล้วแก่ยาจก, ถ้าอย่างนั้น คำที่ว่า 'ทิพยจักษุทั้งหลายเกิดขึ้นแล้วใหม่' นั้นผิด. ถ้าทิพยจักษุทั้งหลายเกิดขึ้นแล้วไซร้, ถ้าอย่างนั้น แม้คำที่ว่า 'จักษุทั้งหลายอันพระเจ้าสิวิราชพระราชทานแล้วแก่ยาจก' นั้นก็ผิด. ปัญหาแม้นี้ มีเงื่อนสอง มีขอดยิ่งแม้กว่าขอดโดยปกติ, มีความฟั่นเฝือยิ่งแม้กว่าฟั่นเฝือโดยปกติ, เป็นชัฏยิ่งแม้ว่าชัฏโดยปกติ, ปัญหานั้นมาถึงพระผู้เป็นเจ้าแล้ว, พระผู้เป็นเจ้าจงยังฉันทะให้เกิดยิ่งในปัญหานั้น เพื่อความขยาย เพื่อความข่มปรัปปวาททั้งหลายเสีย."
ถ. "ขอถวายพระพร จักษุทั้งหลายอันพระเจ้าสิวิราชพระราชทานแล้วแก่ยาจก, พระองค์อย่ายังความสงสัยให้เกิดขึ้นในข้อนั้นเลย; อนึ่ง จักษุทั้งหลายเป็นทิพย์เกิดขึ้นแล้วใหม่, พระองค์อย่ายังความสงสัยให้เกิดในข้อแม้นั้น."
ร. "เออก็ ความเกิดขึ้นแห่งทิพยจักษุ ในสิ่งที่มีเหตุอันถอนขึ้นแล้ว ในสิ่งที่ไม่มีเหตุ ไม่มีวัตถุหรือ พระผู้เป็นเจ้า."
ถ. "หามิได้ ขอถวายพระพร."
ร. "พระผู้เป็นเจ้า สิ่งไรเป็นเหตุในเรื่องนี้เล่า ทิพยจักษุจะเกิดขึ้นในสิ่งมีเหตุอันถอนขึ้นแล้ว ไม่มีเหตุ ไม่มีวัตถุ ด้วยเหตุไรเล่า ? พระผู้เป็นเจ้าจงให้ข้าพเจ้าทราบชัดในเรื่องนี้โดยเหตุก่อน."
ถ. "ขอถวายพระพร บุคคลผู้กล่าวคำจริงทั้งหลาย ย่อมกระทำสัจจกิริยาด้วยคำสัตย์ใด คำสัตย์นั้นมีอยู่ในโลกหรือไม่ ขอถวายพระพร."
ร. "มีซิ พระผู้เป็นเจ้า ธรรมดาคำสัตย์ย่อมมีในโลก, ผู้กล่าวคำสัตย์ทั้งหลาย ทำสัจจกิริยาด้วยคำสัตย์ให้ฝนตก ให้ไฟดับ กำจัดยาพิษ ย่อมกระทำกิจที่จะพึงกระทำต่าง ๆ แม้อย่างอื่นบ้าง."
ถ. "ขอถวายพระพร ถ้าอย่างนั้น คำที่ว่า 'ทิพยจักษุทั้งหลายเกิดขึ้นแล้วแด่พระเจ้าสิวิราชด้วยกำลังสัจจะ' นี้ ย่อมชอบ ย่อมสม, ทิพยจักษุย่อมเกิดขึ้นในสิ่งไม่มีวัตถุนั้น ด้วยกำลังแห่งสัจจะ, สัจจะนั่นเทียว เป็นวัตถุเพื่อความเกิดทิพยจักษุ ในสิ่งที่ไม่มีวัตถุนั้น.
ขอถวายพระพร ผู้สำเร็จสัจจเหล่าใดเหล่าหนึ่ง พร่ำขับคำสัตว์ว่า 'เมฆใหญ่จงให้ฝนตก' ดังนี้, เมฆใหญ่ให้ฝนตกพร้อมด้วยความพร่ำขับคำสัตย์ของผู้สำเร็จสัจจะเหล่านั้น; เออก็ มหาเมฆให้ฝนตกด้วยเหตุใด เหตุนั้น เป็นเหตุแห่งฝนสะสมอยู่แล้ว มีในอากาศหรือ ขอถวายพระพร."
ร. "หามิได้ สัจจะนั่นเทียวเป็นเหตุ ณ อากาศนั้น เพื่อความที่มหาเมฆจะกระทำฝนให้ตก พระผู้เป็นเจ้า."
ถ. "ขอถวายพระพร ข้อนั้นฉันใด, เหตุโดยปกติของความที่ทิพยจักษุจะเกิดขึ้นนั้นไม่มี, สัจจะนั่นเทียว เป็นวัตถุเพื่อความที่ทิพยจักษุเกิดขึ้นในสิ่งที่ไม่มีวัตถุ ก็ฉันนั้นนั่นเทียวแล.
ขอถวายพระพร อีกอย่างหนึ่ง ผู้สำเร็จสัจจะพวกใดพวกหนึ่งพร่ำขับคำสัตย์ด้วยตั้งใจว่า 'กองไฟใหญ่ที่โพลงชัชวาลอยู่แล้ว จงกลับคืนดับไป' ดังนี้, กองไฟใหญ่ที่โพลงชัชวาลแล้ว กลับคืนดับไปโดยขณะหนึ่ง พร้อมด้วยความพร่ำขับคำสัตย์ของผู้สำเร็จสัจจะเหล่านั้น, เออก็ กองไฟใหญ่ที่โพลงชัชวาลแล้วกลับคืนดับไปโดยขณะหนึ่งโดยเหตุใด เหตุนั้น เป็นเหตุสะสมอยู่ในกองไฟใหญ่ที่โพลงชัชวาลแล้วนั้น มีอยู่หรือ ขอถวายพระ."
ร. "หามิได้ สัจจะนั่นเทียว เป็นวัตถุในสิ่งที่ไม่มีวัตถุ เพื่อความที่กองไฟใหญ่โพลงชัชวาลแล้วนั้นจะกลับคืนดับไป."
ถ. "ขอถวายพระพร ข้อนั้นฉันใด, เหตุโดยปกติของความที่ทิพยจักษุจะเกิดขึ้นนั้นไม่มี, สัจจะนั่นเที่ยวเป็นวัตถุในที่ไม่มีวัตถุ เพื่อความที่ทิพยจักษุจะเกิดขึ้น ฉันนั้นนั่นเที่ยวแล.
ขอถวายพระพร อีกอย่างหนึ่ง ผู้สำเร็จสัจจะเหล่าใดเหล่าหนึ่ง พร่ำขับคำสัตย์ด้วยตั้งใจว่า 'พิษแรงกล้า จงกลายเป็นยาไป,' พิษแรงกล้ากลายเป็นยาไปโดยขณะหนึ่ง พร้อมด้วยความพร่ำขับคำสัตย์ของผู้สำเร็จสัจจะเหล่านั้น, เออก็ พิษอันแรงกล้ากลายเป็นยาไปโดยขณะหนึ่งด้วยเหตุอันใด เหตุนั้น เป็นเหตุสะสมในพิษอันแรงกล้านั้นมีอยู่หรือ ขอถวายพระพร."
ร. "หามิได้ พระผู้เป็นเจ้า สัจจะนั่นเทียว เป็นเหตุในสิ่งที่ไม่มีเหตุนั้น เพื่อความกำจัดคืนพิษแรงกล้าโดยขณะ."
ถ. "ขอถวายพระพร ข้อนี้ฉันใดล สัจจะนั่นเทียว เว้นเหตุโดยปกติ เป็นวัตถุในข้อนี้ เพื่อความที่ทิพยจักษุจะเกิดขึ้น ฉันนั้นโดยแท้.
ขอถวายพระพร วัตถุอื่นเพื่อความแทงตลอดอริยสัจจะทั้งหลาย แม้สี่ไม่มี, การกบุคคลทั้งหลาย กระทำสัจจะให้เป็นวัตถุ แทงตลอดตรัสรู้อริยสัจจะทั้งหลายสี่ประการ.
ขอถวายพระพร มีพระเจ้าจีนราชอยู่ในจีนวิสัย พระองค์ใครจะทรงกระทำพลีกรรมในทะเลใหญ่ ทรงกระทำสัจจะกิริยาแล้วเสด็จเข้าไปในภายในมหาสมุทรโยชน์หนึ่ง โดยรถเทียมแล้วด้วยราชสีห์สี่เดือนเสด็จครั้งหนึ่ง ๆ, ห้วงแห่งน้ำใหญ่ข้างหน้าแห่งศีรษะรถของพระเจ้าจีนราชนั้นเท้อกลับ, เมื่อพระองค์เสด็จออกแล้ว ห้วงแห่งมหาวารีท่วมเต็มที่ดังเก่า, เออก็ มหาสมุทรนั้น อันโลกแม้กับทั้งเทพดาและมนุษย์อาจให้เท้อกลับได้หรือ ขอถวายพระ."
ร. "น้ำในสระน้อย ๆ อันโลกแม้ทั้งเทพดาและมนุษย์ไม่อาจเพื่อจะให้เท้อกลับได้ ด้วยกำลังแห่งกายปกติเลย, จะป่วยกล่าวอะไรถึงความกระทำน้ำในมหาสมุทรให้เท้อกลับเล่า พระผู้เป็นเจ้า."
ถ. "ขอถวายพระพร เพราะเหตุแม้นี้ พระองค์พึงทรงทราบกำลังของสัจจะ, สถานใด ที่ใคร ๆ จะพึงถึงด้วยสัจจะไม่ได้ สถานนั้นย่อมไม่มี ขอถวายพระพร.
อนึ่ง พระเจ้าอโศกราชในเมืองปาฏลิบุตร อันชาวนิคมและชาวชนบท และอมาตย์น้อยและราชภัฏหมู่พลและมหาอมาตย์ทั้งหลาย แวดล้อมเป็นราชบริวาร ทอดพระเนตรเห็นแม่น้ำคงคาสมบูรณ์ด้วยน้ำใหม่เต็มเสมอขอบ เต็มเปี่ยมไหลไปอยู่ จึงตรัสกะอมาตย์ทั้งหลายอย่างนี้ว่า 'พนาย ผู้ใดใคร ๆ ซึ่งสามารถจะยังคงคาใหญ่นี้ให้ไหลกลับทวนกระแสได้ มีหรือไม่.'
อมาตย์ทั้งหลายกราบทูลว่า 'ขอเดชะปกเกล้าปกกระหม่อม ข้อซึ่งจะกระทำคงคาใหญ่นี้ให้ไหลกลับทวนกระแสนั้น ยากที่ใคร ๆ จะกระทำได้.
นางคณิกาชื่อว่าพินทุมดี ยืนอยู่ริมฝั่งแม่น้ำคงคานั้นนั่นเที่ยว ได้ฟังแล้วว่า 'ได้ยินว่า พระมหากษัตริย์ตรัสแล้วอย่างนี้ว่า 'ใคร ๆ อาจเพื่อจะยังแม่น้ำคงคาใหญ่นี้ให้ไหลกลับทวนกระแสได้หรือไม่.' นางพินทุมดีนั้นกล่าวอย่างนี้ว่า 'ข้าพเจ้านั่นเทียว เป็นนางคณิกา อาศัยซึ่งรูปเป็นอยู่ มีการเลี้ยงชีพด้วยกรรมอันเลว ในเมืองปาฏลิบุตรนี้, พระมหากษัตริย์จงทอดพระเนตรสัจจกิริยาของข้าพเจ้าก่อน.' พระมหากษัตริย์จงทอดพระเนตรสัจจกิริยาของข้าพเจ้าก่อน.' ลำดับนั้น นางพินทุมดีนั้นได้กระทำสัจจกิริยาแล้ว. เมื่อประชุมแห่งชนหมู่ใหญ่เห็นอยู่ คงคาใหญ่นั้นป่วนไหลกลับทวนกระแสโดยขณะพร้อมด้วยสัจจกิริยาของนางพินทุมดีนั้น.
ลำดับนั้น พระเจ้าอโศกราชได้ทรงฟังเสียงพิลึกกึกก้อง อันกำลังแห่งคลื่นในวังวนให้เกิดแล้วในคงคาใหญ่ จึงมีความพิศวง เกิดอัศจรรย์ขึ้นในพระหฤทัย ตรัสถามอมาตย์ทั้งหลายว่า 'พนาย คงคาใหญ่นี้ไหลทวนกระแสได้เพราะเหตุไร?'
อมาตย์ทั้งหลายกราบทูลว่า 'ขอเดชะปกเกล้าปกกระหม่อม นางคณิกาชื่อ พินทุมดี ได้ฟังพระราชโองการของพระองค์แล้ว ได้กระทำสัจจกิริยา, คงคาใหญ่ไหลขึ้นไปในเบื้องบน ด้วยสัจจกิริยาของนางพินทุมดีนั้น.'
ลำดับนั้น พระเจ้าอโศกราชสลดพระหฤทัย รีบเสด็จไปเอง แล้วจึงตรัสถามนางคณิกานั้นว่า 'นางสาวใช้ ได้ยินว่า แม่น้ำคงคานี้เจ้าให้ไหลทวนกระแสแล้วด้วยสัจจกิริยาของเจ้า จริงหรือ?
นางพินทุมดีทูลว่า 'พระพุทธเจ้าข้า คงคาใหญ่นี้ไหลทวนกระแสด้วยสัจจกิริยาของหม่อมฉัน'
พระเจ้าอโศกราชตรัสถามว่า 'อะไรเป็นกำลังของเจ้าในสัจจกิริยานั้น, หรือใครที่ไม่ใช่บ้าจะเชื่อถือคำของเจ้า, เจ้ากระทำแม่น้ำคงคาใหญ่นี้ให้ไหลทวนกระแสด้วยกำลังอะไร?'
นางพินทุมดีทูลว่า 'หม่อมฉันกระทำคงคาใหญ่นี้ให้ไหลทวนกระแสแล้วด้วยกำลังแห่งสัจจะ พระพุทธเจ้าข้า.'
พระเจ้าอโศกราชตรัสว่า 'กำลังแห่งสัจจะอะไร จะมีแก่เจ้าผู้เป็นโจร เป็นหญิงนักเลง ไม่มีสติ มีหิริอันขาดแล้ว เป็นหญิงลามกทำลายแดนเสียแล้ว ล่วงเกินปล้นชนตาบอด.'
นางพินทุมดีกราบทูลว่า 'ขอเดชะปกเกล้าปกกระหม่อม หม่อมฉันเป็นหญิงเช่นนั้นจริง, หม่อมฉันจะปรารถนา พึงเปลี่ยนโลกแม้กับทั้งเทพดา ด้วยสัจจกิริยาอันใด, สัจจกิริยานั้นของหม่อมฉันแม้เช่นนั้นมีอยู่.'
พระเจ้าอโศกราชตรัสถามว่า 'สัจจกิริยานั้นเป็นอย่างไรเล่า ? เชิญเจ้าเล่าให้เราฟัง.'
นางพินทุมดีทูลว่า 'ขอเดชะปกเกล้าปกกระหม่อม บุรุษใด เป็นกษัตริย์ หรือเป็นพราหมณ์ หรือเป็นเวศย์ หรือเป็นศูทร หรือเป็นบุรุษอื่นใคร ๆ ให้ทรัพย์แก่หม่อมฉัน หม่อมฉันบำรุงบุรุษทั้งหลายเหล่านั้นเสมอกันเป็นอย่างเดียว, ความแปลกว่า กษัตริย์ไม่มี ความดูหมิ่นว่าศูทรไม่มี, หม่อมฉันพ้นจากความเอ็นดูและปฏิฆะ บำเรอบุรุษผู้เป็นเจ้าของแห่งทรัพย์, หม่อมฉันทำคงคาใหญ่นี้ให้ไหลทวนกระแส แล้วด้วยสัจจกิริยาใด, สัจจกิริยานี้เป็นสัจจะของหม่อมฉัน' ดังนี้.
ขอถวายพระพร ชนทั้งหลายผู้ตั้งอยู่ในสัจจะแล้ว ซึ่งจะไม่ได้ประโยชน์หน่อยหนึ่ง หามิได้ ด้วยประการฉะนี้. พระเจ้าสิวิราชได้พระราชทานจักษุทั้งหลายแก่ยาจกด้วย ทิพยจักษุทั้งหลายเกิดขึ้นด้วย, ก็แหละ ความที่ทิพยจักษุเกิดขึ้นนั้น เกิดขึ้นเพราะสัจจกิริยา. ก็คำอันใดที่ท่านกล่าวไว้ในพระสูตรว่า 'ครั้นเมื่อมังสจักษุฉิบหายแล้ว ความที่ทิพยจักษุจะเกิดขึ้นในสถานไม่มีเหตุ ไม่มีวัตถุ' ดังนี้ คำนั้นท่านหมายเอาจักษุสำเร็จแล้วด้วยภาวนากล่าวแล้ว ขอถวายพระพร. บรมบพิตรจงทรงจำไว้ซึ่งความข้อนี้ ด้วยประการอย่างนี้" ดังนี้.
ร. "ดีละ พระผู้เป็นเจ้า ปัญหาพระผู้เป็นเจ้าแก้ดีแล้ว, นิคคหธรรมพระผู้เป็นเจ้าแสดงออกดีแล้ว, ปรับปวาททั้งหลาย พระผู้เป็นเจ้าย่ำยีแล้ว, ข้อวิสชนาปัญหาของพระผู้เป็นเจ้านี้ สมอย่างนั้น, ข้าพเจ้ารับรองอย่างนั้น."




เอาบุญมาฝากจะถวายสังฆทาน เจริญวิปัสสนา ให้ธรรมะเป็นทาน ให้อภัยทาน บอกบุญ สักการะพระธาตุ ให้อาหารสัตว์เป็นทาน ช่วยพ่อแม่ทำงานบ้าน ถวายข้าวพระพุทธ อนุโมทนาบุญกับผู้อื่น สร้างพระสร้างเจดีย์สร้างธรรมจักรสร้างรอยพระพุทธบาทสร้างระฆังและอัครสาวกซ้ายขวาสร้างพระสีวลีสร้างพระกัสสะปะสร้างพระอุปคุตสร้างพระองคุลีมารผสมทองคำเปลวพร้อมนำดอกไม้มาบูชาถวายพระรัตนตรัย
รักษาศีล เจริญภาวนา สวดมนต์ ให้อาหารสัตว์เป็นทานเป็นประจำ กรวดน้ำอุทิศบุญ อนุโมทนากับพ่อแม่ญาติพี่น้องที่รักษาศีล ฟังธรรม ให้ทาน อนุโมทนากับเพื่อนๆที่รักษาศีล ศึกษาการรักษาโรค ที่ผ่านมาคุณแม่ได้ถวายสังฆทานมาโดยตลอด ที่ผ่านมาได้ปิดทองพระ รักษาอาการป่วยของผู้อื่นกับผู้ร่วมงาน และที่ผ่านมาได้รักษาอาการป่วยของบิดามารดา ปล่อยชีวิตสัตว์มาโดยตลอด ถวายยาแก่ภิกษุ ขัดองค์พระ จุดเทียนถวายพระรัตนตรัย ให้ความรู้สมุนไพรเพื่อสุขภาพเป็นวิทยาทาน ที่ผ่านมาคุณแม่ได้ทำบุญหลายอย่างมาโดยตลอด ที่ผ่านมาได้ถวายสังฆทานและทำบุญสร้างอาคารผู้ป่วยและกฐินกับเพื่อนๆและให้อาหารเป็นทานแก่สรรพสัตว์กับเพื่อนๆและเพื่อนคนหนึ่งและบริวารของเพื่อนและครอบครัวของเพื่อนได้มีจิตเมตตาให้ทานและเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ช่วยเหลือผู้อื่นอยู่ตลอดและเพื่อนได้เคยสวดมนต์เย็นกับคุณแม่และที่ผ่านมาได้ทำบุญสักการะพระธาตุทำบุญปิดทองชำระหนี้สงฆ์และไหว้พระและทำบุญตามกล่องรับบริจาคตามวัดต่างๆกับเพื่อนและตั้งใจว่าจะสร้างบารมีให้ครบทั้ง 10 อย่างขอให้อนุโมทนาบุญด้วย


ขอเชิญถวายสังฆทาน เจริญวิปัสสนา ให้ธรรมะเป็นทาน ให้อภัยทาน บอกบุญ ให้อาหารสัตว์เป็นทาน สักการะพระธาตุ ฟังธรรม สวดมนต์ ช่วยพ่อแม่ทำงานบ้าน
รักษาศีล เจริญภาวนา สวดมนต์ สร้างพระสร้างเจดีย์สร้างธรรมจักรสร้างรอยพระพุทธบาท
สร้างระฆังและอัครสาวกซ้ายขวาสร้างพระสีวลีสร้างพระกัสสะปะสร้างพระอุปคุตสร้างพระองคุลีมารผสมทองคำเปลวพร้อมนำดอกไม้มาบูชาถวายพระรัตนตรัย กรวดน้ำอุทิศบุญ ถวายข้าวพระพุทธ อนุโมทนาบุญกับผู้อื่น สนทนาธรรม
ถวายข้าวพระพุทธ อนุโมทนาบุญกับผู้อื่น รักษาอาการป่วยของผู้อื่น รักษาอาการป่วยของบิดามารดา จุดเทียนถวายพระรัตนตรัย
ปิดทอง สักการะพระธาตุ กราบอดีตสังขารเจ้าอาวาสที่ไม่เน่าเปื่อย ที่วัดแจ้ง อ.เมือง จ.ปราจีนบุรี ปิดทองพระ ปล่อยชีวิตสัตว์ถวายยาแก่ภิกษุ ไหว้พระตามวัดต่างๆ ขัดองค์พระ ให้ความรู้สมุนไพรในการดูแลสุขภาพเป็นทาน
และสร้างบารมีให้ครบทั้ง 10 อย่างขอเชิญร่วมบุญกุศลร่วมกันนะ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 30 ก.ค. 2012, 13:57 
 
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 6
สมาชิก ระดับ 6
ลงทะเบียนเมื่อ: 08 พ.ค. 2012, 02:09
โพสต์: 456


 ข้อมูลส่วนตัว


.. :b8:
อนุโมทนาแล้วๆๆ ..


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 31 ก.ค. 2012, 08:30 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
อาสาสมัคร
อาสาสมัคร
ลงทะเบียนเมื่อ: 06 มี.ค. 2009, 10:48
โพสต์: 5361


 ข้อมูลส่วนตัว


๖ คัพภาวัคกันติปัญหา ๖

ร. "พระผู้เป็นเจ้านาคเสน พระพุทธพจน์นี้อันพระผู้มีพระภาคเจ้าแม้ตรัสแล้วว่า 'ภิกษุทั้งหลาย ความหยั่งลงสู่ครรภ์ย่อมมี ก็เพราะความที่ปัจจัยทั้งสามประชุมพร้อมกันแล : ในโลกนี้ มารดาบิดาเป็นผู้ประชุมกันแล้วด้วย มารดาเป็นหญิงมีระดูด้วย คนธรรพ์เป็นสัตว์เข้าไปตั้งอยู่เฉพาะหน้าด้วย; ภิกษุทั้งหลาย ความหยั่งลงสู่ครรภ์ย่อมมี เพราะความที่ปัจจัยทั้งสามเหล่านี้ประชุมพร้อมกันแล.' พุทธพจน์นี้ตรัสปัจจัยหาส่วนเหลือมิได้ ฯลฯ ตรัสปัจจัยไม่มีส่วนเหลือ ฯลฯ ตรัสปัจจัยไม่มีส่วนเหลือ ฯลฯ ตรัสปัจจัยไม่มีปริยาย พระพุทธพจน์นี้ตรัสปัจจัยไม่มีข้อลี้ลับ พระพุทธพจน์นี้อันพระผู้มีพระภาคเจ้า เสด็จนั่ง ณ ท่ามกลางแห่งบริษัทกับทั้งเทพดาและมนุษย์ทั้งหลาย ตรัสแล้ว. ก็แต่ว่า ความหยั่งลงสู่ครรภ์เพราะความที่ปัจจัยทั้งสองประชุมพร้อมกัน ยังปรากฏอยู่ว่า 'พระดาบสชื่อ ทุกุละลูบคลำนาภีแห่งนางตาปสีชื่อ ปาริกา ด้วยนิ้วแม่มือเบื้องขวา ในกาลแห่งนางตาปสีเป็นหญิงมีระดู, กุมารขื่อ สามะ เกิดแล้ว เพราะความที่พระดาบสนั้นลูบคลำนาภีนั้น. แม้พระฤษีชื่อ มาตังคะ ลูบคลำนาภีแห่งนางพราหมณีกันยาด้วยนิ้วแม่มือเบื้องขวา ในกาลที่นางเป็นหญิงมีระดู, มาณพ ชื่อ มัณฑัพยะ เกิดขึ้น เพราะความที่ฤษีชื่อ มาตังคะ นั้นลูบคลำนาภีนั้น.' พระผู้เป็นเจ้า ถ้าพระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสแล้วว่า 'ภิกษุทั้งหลายความหยั่งลงสู่ครรภ์ ย่อมมีก็เพราะความที่ปัจจัยทั้งสามประชุมพร้อมกันโดยแท้' ดังนี้, ถ้าอย่างนั้น คำที่ว่า 'สามกุมารด้วยมัณฑัพยมาณพด้วย แม้ทั้งสองอย่างนั้น เกิดแล้วเพราะความลูบคลำนาภี' ดังนี้นั้น ผิด. ถ้าพระตถาคตตรัสแล้วว่า 'สามกุมารด้วยมัณฑัพยมาณพด้วย เกิดแล้วเพราะความลูบคลำนาภี.' ถ้าอย่างนั้นแม้คำที่ว่า 'ภิกษุทั้งหลาย ความหยั่งลงสู่ครรภ์ย่อมมี ก็เพราะความที่ปัจจัยทั้งสามประชุมพร้อมกันโดยแท้' ดังนี้ นั้นผิด. ปัญหาแม้นี้สองเงื่อน ลึกด้วยดี ละเอียดด้วยดี เป็นวิสัยของบุคคลผู้มีปัญญาเครื่องรู้ทั้งหลาย, ปัญหานั้นมาถึงพระผู้เป็นเจ้าแล้ว, พระผู้เป็นเจ้าจงตัดทางแห่งความสงสัย จงชูประทีปอันโพลงทั่วแล้วคือญาณอันประเสริฐ."
ถ. "ขอถวายพระพร แม้พระพุทธพจน์นี้ อันพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงภาสิตแล้วว่า 'ภิกษุทั้งหลาย ความหยั่งลงสู่ครรภ์ย่อมมีก็เพราะความที่ปัจจัยทั้งสามประชุมพร้อมกันแล : ในโลกนี้ มารดาและบิดาเป็นผู้ประชุมกันแล้วด้วย มารดาเป็นหญิงมีระดูด้วย คนธรรพ์เป็นสัตว์เข้าไปตั้งอยู่เฉพาะหน้าด้วย, ความหยั่งลงสู่ครรภ์ย่อมมีเพราะความที่ปัจจัยทั้งสามประชุมกันอย่างนั้น.' อนึ่ง พระตถาคตเจ้าได้ตรัสแล้วว่า 'สามะกุมารด้วย มัณฑัพยมาณพด้วย เกิดแล้วเพราะความลูบคลำนาภี."
ร. "ถ้าอย่างนั้น ปัญหาจะเป็นของอันพระผู้เป็นเจ้าตัดสินด้วยดีแล้ว ด้วยเหตุใด ขอพระผู้เป็นเจ้าจงยังข้าพเจ้าให้หมายรู้ด้วยเหตุอันนั้น."
ถ. "ขอถวายพระพร ก็บรมบพิตรได้เคยทรงสดับหรือว่า 'กุมารชื่อ สังกิจจะ ด้วย ดาบสชื่อ อิสิสิงคะ ด้วย พระเถระชื่อ กุมารกัสสป ด้วย เหล่านั้น เกิดแล้วด้วยเหตุชื่อนี้."
ร. "พระผู้เป็นเจ้า ข้าพเจ้าได้ยินอยู่, ความเกิดของชนเหล่านั้นเลื่องลือไปว่า แม่เนื้อสองตัวมาสู่ที่ถ่ายปัสสาวะของดาบสสองรูปแล้ว จึงดื่มปัสสาวะกับทั้งสัมภวะในกาลแห่งแม่เนื้อนั้นมีระดู, สังกิจจกุมารด้วย อิสิสิงคดาบสด้วย เกิดแล้วด้วยสัมภวะเจือด้วยปัสสาวะนั้นก่อน เมื่อพระเถระชื่อ อุทายี เข้าไปสู่สำนักของนางภิกษุณี มีจิตกำหนัดแล้วเพ่งดูองค์กำเนิดของนางภิกษุณีอยู่ สัมภวะเคลื่อนแล้วในผ้ากาสาวะ; ครั้งนั้นแล พระอุทายีผู้มีอายุกล่าวคำนี้กะนางภิกษุณีนั้นว่า "น้องหญิงท่านจงไปนำน้ำมา เราจักซักผ้าอันตรวาสก."
นางภิกษุณีกล่าวว่า "อะไรพระผู้เป็นเจ้า ดิฉันจะซักเอง." ลำดับนั้น นางภิกษุณีนั้น ได้ถือเอาสัมภวะนั้นส่วนหนึ่งด้วยปาก, ให้สัมภวะส่วนหนึ่งเข้าไปในองค์กำเนิดของตน, พระเถระชื่อ กุมารกัสสปเกิดแล้วด้วยเหตุนั้น ชนกล่าวเหตุนั้นแล้วอย่างนี้ ด้วยประการฉะนี้."
ถ. "ขอถวายพระพร เออก็ บรมบพิตรทรงเชื่อคำนั้นหรือไม่ ?"
ร. "พระผู้เป็นเจ้า ข้าพเจ้าย่อมเชื่อว่า 'ชนเหล่านั้นเกิดแล้ว ด้วยเหตุนี้' ดังนี้ ด้วยเหตุใด, ข้าพเจ้าได้เหตุมีกำลังนั้นในข้อนั้น."
ถ. "อะไรเป็นเหตุในข้อนี้เล่า ขอถวายพระพร?"
ร. "พืชตกลงแล้ว ในเทือกอันบุคคลกระทำให้มีบริกรรมดีแล้ว ย่อมงอกงามเร็วพลันหรือไม่ พระผู้เป็นเจ้า?"
ถ. "ขอถวายพระพร พืชนั้นย่อมงอกงามเร็วพลัน."
ร. "นางภิกษุณีนั้นเป็นหญิงมีระดู ครั้นเมื่อกลละตั้งแล้ว เมื่อระดูขาดสายแล้ว เมื่อธาตุตั้งแล้ว ถือเอาสัมภวะนั้นเติมเข้าในกลละนั้นแล้ว, ครรภ์ของนางภิกษุณีนั้นตั้งแล้วด้วยเหตุนั้น ฉันนั้นนั่นเทียวแล; ข้าพเจ้าเชื่อเหตุเพื่อความเกิดของชนเหล่านั้น ในข้อนั้น อย่างนี้."
ถ. "ขอถวายพระพร ข้อซึ่งบรมบพิตรตรัสนั้น สมดังตรัสแล้วอย่างนั้น อาตมภาพรับรองอย่างนั้นว่า 'ครรภ์ย่อมเกิดพร้อมด้วยอันยังสัมภวะให้เข้าไปในปัสสาวะมรรค.' บรมบพิตรทรงรับรองความหยั่งลงสู่ครรภ์ของพระกุมารกัสสปหรือเล่า ขอถวายพระ."
ร. "พระผู้เป็นเจ้า ข้าพเจ้าเชื่ออย่างนั้น."
ถ. "ขอถวายพระพร ดีละ บรมบพิตรทรงกลับมาสู่วิสัยของอาตมภาพแล้ว, บรมบพิตรตรัสความหยั่งลงสู่ครรภ์ จักเป็นกำลังของอาตภาพแม้โดยส่วนอันหนึ่ง; ก็อีกอย่างหนึ่ง แม่เนื้อทั้งสองนั้นดื่มปัสสาวะแล้วจึงมีครรภ์แล้ว บรมบพิตรทรงเชื่อความหยั่งลงสู่ครรภ์ของแม่เนื้อเหล่านั้นหรือ ?"
ร. เชื่อสิ สิ่งใดสิ่งหนึ่งอันบุคคลบริโภคแล้ว ดื่มแล้ว เคี้ยวแล้ว ลิ้มแล้ว สิ่งทั้งปวงนั้นย่อมประชุมลงสู่กลละ ถึงที่แล้ว ย่อมถึงความเจริญ, เหมือนแม่น้ำเหล่าใดเหล่าหนึ่ง แม่น้ำทั้งปวงเหล่านั้นย่อมประชุมลงสู่มหาสมุทร, ถึงที่แล้ว ย่อมถึงความเจริญ ฉันใด, สิ่งใดสิ่งหนึ่งที่บุคคลบริโภคและดื่ม เคี้ยว ลิ้มแล้ว สิ่งทั้งปวงนั้นย่อมประชุมลงสู่กลละ, ถึงที่แล้ว ย่อมถึงความเจริญ ฉันนั้นนั่นแล. เพราะเหตุนั้นข้าพเจ้าเชื่อว่า 'ความหยั่งลงสู่ครรภ์ แม้ด้วยสัมภวะเข้าไปแล้วทางปาก."
ถ. "ขอถวายพระพร ดีละ บรมบพิตรยิ่งเข้าไปสู่วิสัยของอาตมภาพหนักเข้า, สันนิบาตของชนทั้งสองย่อมมี แม้ด้วยอันดื่มด้วยปาก, บรมบพิตรทรงเชื่อความหยั่งลงสู่ครรภ์ของ สังกิจจกุมาร และอิสิสิงคดาบส และพระเถระชื่อ กุมารกัสสป หรือ ?"
ร. "ข้าพเจ้าเชื่อ สันนิบาตย่อมประชุมลง."
ถ. "ขอถวายพระพร แม้สามกุมาร แม้มัณฑัพยมาณพ ก็เป็นผู้หยั่งลงในภายในสันนิบาตทั้งสามนั้น มีรสเป็นอันเดียวกัน โดยนัยมีในก่อนทีเดียว; อาตมภาพจักกล่าวเหตุในข้อนั้นถวาย. ทุกุลดาบสและนางปาริกาตาปสี แม้ทั้งสองนั้นเป็นผู้อยู่ในป่า น้อมไปเฉพาะในวิเวก แสวงหาประโยชน์อันสูงสุด, ทำโลกเท่าถึงพรหมโลกให้เร่าร้อนด้วยเดชแห่งตปธรรม. ในกาลนั้น ท้าวสักกะผู้เป็นจอมของเทพดาทั้งหลาย ย่อมมาสู่ที่บำรุงของทุกุลดาบสและนางปาริกาตาปสีเหล่านั้นทั้งเช้าทั้งเย็น. เป็นผู้มีเมตตามาก ได้เห็ฯความเสื่อมแห่งจักษุทั้งหลายของชนทั้งสองแม้เหล่านั้นในอนาคต, ครั้นเห็น จึงกล่าวกะชนทั้งสองนั้นว่า "ผู้เจริญทั้งหลาย ท่านทั้งหลายจงกระทำตามคำอันหนึ่งของข้าพเจ้า, ขอให้สำเร็จประโยชน์เถิด, ท่านทั้งหลายพึงยังบุตรคนหนึ่งให้เกิด, บุตรนั้นจักเป็นผู้บำรุงและเป็นที่ยึดหน่วงของท่านทั้งหลาย."
ชนทั้งหลายนั้นห้ามเสียว่า "อย่าเลยท้าวโกสีย์, ท่านอย่าได้ว่าอย่างนี้เลย" ดังนี้ ไม่รับคำของท้าวสักกะนั้น. ท้าวเธอเป็นผู้เอ็นดูผู้ใคร่ประโยชน์ กล่าวอย่างนั้นกะชนทั้งสองนั้นอีกสองครั้งสามครั้ง.แม้ในครั้งที่สาม ชนทั้งสองนั้นกล่าวว่า "อย่าเลยท้ายโกสีย์, ท่านอย่ายังเราทั้งหลายให้ประกอบในความฉิบหายไม่เป็นประโยชน์เลย, เมื่อไรกายนี้ จักไม่สลาย กายนี้มีความสลายเป็นธรรมดา จงสลายไปเถิด, แม้เมื่อธรณีจะแตก แม้เมื่อยอดเขาจะตก แม้เมื่ออากาศจะแยก แม้เมื่อพระจันทร์และพระอาทิตย์จะตกลงมา เราทั้ง
หลายจักไม่เจือด้วยโลกธรรมทั้งหลายเลยทีเดียว, ท่านอย่ามาพบปะกับเราอีกเลย, เมื่อท่านมาพบปะกันเข้า ความพบปะกันนั้นก็จะเป็นความคุ้นเคย; ชะรอยท่านจะเป็นผู้ประพฤติความฉิบหายไม่เป็นประโยชน์แก่เราทั้งหลาย."
ลำดับนั้น ท้าวสักกะเมื่อไม่ได้ความนับถือแต่ชนทั้งสองนั้น ถึงความเป็นผู้หนักใจ ประคองอัญชลีวิงวอนอีกว่า "ถ้าท่านทั้งหลายไม่อาจกระทำตามคำขอของข้าพเจ้าไซร้, เมื่อใด นางตาปสีมีระดู มีต่อมเลือด เมื่อนั้น ท่านพึงลูกคลำนาภีของนางตาปสีนั้น ด้วยนิ้วแม่มือเบื้องขวา, นางตาปสีนั้นจักได้ครรภ์ด้วยความลูบคลำนาภีนั้น, ความลูบคลำนาภีนั้นเป็นสันนิบาตของความหยั่งลงสู่ครรภ์."
ชนทั้งสองนั้นรับว่า "ดูกรท้าวโกสีย์ เราอาจเพื่อจะกระทำตามคำนั้นได้, ตปธรรมของเราทั้งหลายย่อมไม่แตกด้วยความลูบคลำนาภีเท่านั้น ช่างเถิด" ดังนี้.
ก็แหละ ในเวลานั้น เทพบุตรผู้มีกุศาลมูลอันแรงกล้าสิ้นอายุแล้ว มีอยู่ในพิภพของเทพดา, เทพบุตรนั้นถึงความสิ้นอายุแล้ว อาจเพื่อจะหยั่งลงตามความปรารถนา, และอาจเพื่อจะหยั่งลงแม้ในตระกูลของพระเจ้าจักรพรรดิ.
ครั้งนั้น ท้าวสักกะไปหาเทพบุตรนั้นวิงวอนว่า "แน่ะท่านผู้นิรทุกข์ ท่านมาเถิด, วันของท่านสว่างชัดแล้ว, ความสำเร็จประโยชน์มาถึงแล้ว เรามาสู่ที่บำรุงของท่าน เพื่อประโยชน์อะไรเล่า, การอยู่ในโอกาสน่ารื่นรมย์ จักมีแก่ท่าน, ปฏิสนธิในตระกูลสมควร จักมีแก่ท่าน ท่านจักเป็นผู้อันมารดาและบิดาทั้งหลายที่ดี พึงให้เจริญ, ท่านจงมา ท่านจงกระทำตามคำของเรา." ท้าวสักกะวิงวอนแล้ว ดังนี้ ประคองอัญชลีเหนือเศียร วิงวอนถึงสองครั้งสามครั้งแล้ว.
ลำดับนั้น เทพบุตรนั้นตอบว่า "แน่ะท่านผู้นิรทุกข์ ท่านสรรเสริญความไปสู่ตระกูลใดบ่อย ๆ ตระกูลนั้นคือตระกูลไหน."
ท้ายสักกะกล่าวว่า "ตระกูลนั้น คือ ทุกุลดาบสและนางปาริกาตาปสี."
เทพบุตรนั้น ฟังคำของท้าวสักกะนั้นแล้ว ยินดีรับว่า "แน่ะท่านผู้นิรทุกข์ ความพอใจใดของท่าน ความพอใจนั้นจงสำเร็จประโยชน์เถิด; เราพึงจำนงเกิดในตระกูลที่ท่านปรารถนาแล้ว, เราจะเกิดในตระกูลไหน คือเป็นอัณฑชะเกิดในฟองฝักหรือ หรือเป็นชลาพุชะเกิดในครรภ์มารดา หรือเป็นสังเสทชะเกิดในเถ้าไคล หรือเป็นโอปปาติกะเกิดผลุดขึ้นเล่า."
ท้าวสักกะกล่าวว่า "แน่ะท่านผู้นิรทุกข์ ท่านจงเกิดในกำเนิดเป็นชลาพุชะ."
ลำดับนั้น ท้าวสักกะกำหนดวันเกิดแล้ว จึงบอกแก่ ทุกลดาบสว่า "นางตาปสีจักมีระดู มีต่อมเลือด ในวันชื่อโน้น, ท่านผู้เจริญ ท่านพึงลูบคลำนาภีของนางตาปสีด้วยนิ้นแม่มือเบื้องขวา ในกาลนั้น." นางตาปสีเป็นหญิงมีระดู มีต่อมเลือดด้วย เทพบุตรผู้จะเข้าไปในที่นั้น ได้ไปปรากฏเฉพาะหน้าแล้วด้วย ดาบสลูบคลำนาภีของนางตาปสีด้วยนิ้วแม่มือเบื้องขวาด้วย ในวันนั้น ประชุมนั้นได้เป็นสันนิบาตสามอย่างด้วยประการฉะนี้. ความกำหนัดของนางตาปสีเกิดขึ้นแล้วด้วยความลูบคลำนาภี; ก็แลความกำหนัดของนางตาปสีนั้นอาศัยความลูบคลำนาภีเกิดขึ้นแล้ว, บรมบพิตรอย่าสำคัญว่าอัธยาจารอย่างเดียวเป็นสันนิบาต, แม้ความเข้าไปเพ่งก็ชื่อว่าสันนิบาต, สันนิบาตความประชุมพร้อมย่อมเกิดด้วยความจับต้อง เพื่อความเกิดราคะโดยความเป็นบุรพภาค, ความหยั่งลงสู่ครรภ์ย่อมมีเพราะสันนิบาต, เพราะฉะนั้น ความหยั่งลงสู่ครรภ์ย่อมมีแม้ในที่ไม่มีอัธยาจาร ด้วยการลูบคลำ เหมือนไฟที่โพลงอยู่ ถึงใคร ๆ จะไม่ลูบคลำ ก็กำจัดความหนาวของบุคคลผู้เข้าไปใกล้แล้วได้ฉันใด, ความหยั่งลงสู่ครรภ์ย่อมมีในที่แม้ไม่มีอัธยาจาร เพราะความลูบคลำ ฉันนั้นโดยแท้.
ขอถวายพระพร ความหยั่งลงสู่ครรภ์ของสัตว์ทั้งหลาย ย่อมมีด้วยอำนาจแห่งเหตุสี่ประการ คือ กรรมหนึ่ง กำเนิดหนึ่ง ตระกูลหนึ่ง ความอ้อนวอนหนึ่ง; เออก็สัตว์ทั้งหลายแม้ทั้งปวง ล้วนมีกรรมเป็นแดนเกิด มีกรรมเป็นสมุฏฐานด้วยกันทั้งสิ้น.
ความหยั่งลงสู่ครรภ์ของสัตว์ทั้งหลาย ย่อมมีด้วยอำนาจแห่งกรรมอย่างไร? สัตว์ทั้งหลายที่มีกุศลมูลแก่กล้า ย่อมเกิดได้ตามความปรารถนา, ปรารถนาจะเกิดในตระกูลกษัตริยมหาศาล หรือในตระกูลพราหมณมหาศาล คฤหบดีมหาศาลก็ดี หรือในเทพดาทั้งหลายปรารถนาจะเกิดในกำเนิดเป้นอัณฑชะ ชลาพุชะ สังเสทชะ โอปปาติกะละอย่าง ๆ ก็ดี ย่อมเกิดได้ตามความปรารถนา. เหมือนบุรุษมั่งคั่ง มีทรัพย์โภคะเงินและทองมาก มีวัตถเครื่องทำความอุดหนุนแก่ทรัพย์เครื่องปลื้มมาก มีทรัพย์และข้าวเปลือกมาก มีฝ่ายญาติมาก จะให้ทรัพย์สองเท่าแม้สามเท่า ช่วยทาสีและทาส หรือซื้อนาและสวน หรือบ้านนิคมชนบท ละอย่าง ๆ ก็ดี สิ่งใดสิ่งหนึ่งที่ตนปรารถนายิ่งแล้วด้วยใจ ได้ตามปรารถนา ฉันใด, สัตว์ทั้งหลายที่มีกุศลมูลแรงกล้าปรารถนาจะเกิดในตระกูลกษัตริยมหาศาล พราหมณมหาศาล คฤหบดีมหาศาลก็ดี หรือปรารถนาจะเกิดในเทพดาทั้งหลาย หรือปรารถนาจะเกิดในกำเนิดเป็นอัณฑชะ ชลาพุชะ สังเสทชะ โอปปาติกะ ละอย่าง ๆ ก็ดี ย่อมเกิดได้ตามความปรารถนา ฉันนั้น. ความหยั่งลงสู่ครรภ์ของสัตว์ทั้งหลายย่อมเป็นไปด้วยอำนาจแห่งกรรมอย่างนี้.
ความหยั่งลงสู่ครรภ์ของสัตว์ทั้งหลาย ย่อมเป็นไปด้วยอำนาจแห่งกำเนิดอย่างไร? ความหยั่งลงสู่ครรภ์ของไก่ทั้งหลาย ย่อมมีด้วยลม, ความหยั่งลงสู่ครรภ์ของนกยางทั้งหลาย ย่อมมีด้วยเสียงเมฆ, เทพดาทั้งหลายแม้ทั้งปวง ไม่ใช่สัตว์นอนในครรภ์นั่นเทียว, ความหยั่งลงสู่ครรภ์ของเทพดาทั้งหลายเหล่านั้น ย่อมเป็นไปโดยเพศต่าง ๆ ดังมนุษย์ทั้งหลายเที่ยวไปในแผ่นดินโดยเพศต่าง ๆ, มนุษย์ทั้งหลายพวกหนึ่งปิดข้างหน้า พวกหนึ่งปิดข้างหลัง พวกหนึ่งเปลือยกาย พวกหนึ่งศีรษะโล้น พวกหนึ่งนุ่งผ้าขาว พวกหนึ่งเกล้าผมมวย พวกหนึ่งศีรษะ โล้นนุ่งผ้าย้อมน้ำฝาด พวกหนึ่งนุ่งผ้าย้อมน้ำฝาดเกล้าผมมวย พวกหนึ่งมีชฎาทรงกาบไม้กรอง พวกหนึ่งนุ่งหนัง พวกหนึ่งนุ่งเชือก, มนุษย์ทั้งหลายแม้ทั้งปวง เที่ยวอยู่ในแผ่นดินโดยเพศต่าง ๆ ฉันใด; เทพดาเหล่านั้นเป็นสัตว์เหมือนกัน, ความหยั่งลงสู่ครรภ์ของเทพดาเหล่านั้น ย่อมเป็นไปโดยเพศต่าง ๆ ฉันนั้น. ความหยั่งลงสู่ครรภ์ของสัตว์ทั้งหลายย่อมเป็นไปโดยอำนาจแห่งกำเนิด ด้วยประการฉะนี้.
ความหยั่งลงสู่ครรภ์ของสัตว์ทั้งหลาย ย่อมเป็นไปด้วยอำนาจแห่งตระกูลอย่างไร? ชื่อตระกูลมีสี่ตระกูล คือ เป็น อัณฑชะ ชลาพุชะ สังเสทชะ โอปปาติกะ; ในตระกูลทั้งสี่นั้น ถ้าคนธรรพ์มาแต่ตระกูลใดตระกูลหนึ่ง เกิดในตระกูลเป็นอัณฑชะ คนธรรพ์นั้นเป็นสัตว์เกิดในฟองในตระกูลนั้น, ถ้าเกิดในตระกูลเป็นชลาพุชะ สังเสทชะ โอปปาติกะคนธรรพ์เป็น ชลาพุชะ สังเสทชะ โอปปาติกะ ละอย่าง ๆ ในตระกูลนั้น ๆ. สัตว์ทั้งหลายย่อมเกิดเป็นสัตว์เช่นนั้นอย่างเดียวกันในตระกูลนั้น ๆ. อนึ่ง เนื้อและนกทั้งหลายเหล่าใดเหล่าหนึ่ง เข้าไปถึงภูเขาสิเนรุในป่าหิมพานต์ เนื้อและนกทั้งปวงเหล่านั้น ย่อมละพรรณของตนเป็นสัตว์มีพรรณต่างๆ ดังพรรณแห่งทอง ฉันใด, คนธรรพ์ผู้ใดผู้หนึ่ง ซึ่งมาแล้วแต่ตระกูลใดตระกูลหนึ่ง เข้าไปถึงกำเนิดเป็นอัณฑชะ แล้วละเพศโดยสภาวะเสีย เป็นสัตว์เกิดในฟอง เข้าไปถึงกำเนิดเป็นชลาพุชะ สังเสทชะ โอปปาติกะ แล้วละเพศโดยสภาวะเสีย เป็นชลาพุชะ สังเสทชะ โอปปาติกะ ละอย่าง ๆ ฉันนั้น. ความหยั่งลงสู่ครรภ์ของสัตว์ทั้งหลาย ย่อมเป็นไปโดยอำนาจแห่งตระกูลด้วยประการ ฉะนี้.
ความหยั่งลงสู่ครรภ์ของสัตว์ทั้งหลาย ย่อมเป็นไปด้วยอำนาจแห่งความอ้อนวอนอย่างไร? ในโลกนี้ตระกูลไม่มีบุตร มีทรัพย์สมบัติมาก มีศรัทธาเลื่อมใสแล้ว มีศีลมีธรรมอันงาม อาศัยตปคุณ, ก็เทพบุตรมีกุศลมูลแรงกล้า มีความจุติเป็นธรรมดา, ครั้งนั้น ท้าวสักกะอ้อนวอนเทพบุตรนั้น เพื่อความเอ็นดูแก่ตระกูลนั้นว่า "ท่านจงปรารถนาพระครรภ์ของพระมเหสีแห่งตระกูลโน้น," เทพบุตรนั้นปรารถนาตระกูลนั้น เหตุความอ้อนวอนของท้าวสักกะนั้น. อุปมาเหมือนมนุษย์ทั้งหลายใคร่บุญ อ้อนวอนพระสมณะผู้ยังใจให้เจริญ แล้วนำเข้าไปสู่เรือน ด้วยคิดว่า "พระสมณะนี้เข้าไปสู่เรือนแล้ว จักเป็นผู้นำความสุขมาแก่ตระกูลทั้งปวง" ฉันใด, ท้าวสักกะอ้อนวอนเทพบุตรนั้นแล้ว นำเข้าไปสู่ตระกูลนั้น ฉันนั้นนั่นเทียวแล. ความหยั่งลงสู่ครรภ์ของสัตว์ทั้งหลาย ย่อมเป็นไปด้วยอำนาจแห่งความอ้อนวอน ด้วยประการฉะนี้.
ขอถวายพระพร สามกุมาร ท้าวสักกะผู้เป็นจอมแห่งเทพดาทั้งหลาย อ้อนวอนแล้ว หยั่งลงสู่ครรภ์ของนางตาปสีชื่อ ปาริกา แล้ว. สามกุมารได้ก่อสร้างบุญไว้แล้ว, มารดาและบิดาทั้งหลายเป็นคนมีศีลมีธรรมอันงาม, ผู้อ้อนวอนเป็นคนสามารถแล้ว, สามกุมารเกิดแล้วตามความปรารถนาแห่งใจของชนทั้งหลายสาม, เหมือนในโลกนี้ มีบุรุษผู้ฉลาดในอุบายเครื่องนำไป ปลูกพืชลงไว้ในไร่นาใกล้ที่ไถดีแล้ว, นั้นเว้นอันตราย อันตรายอะไรจะพึงมีแก่ความเจริญของพืช เมื่อพืชนั้นบ้างหรือ? ขอถวายพระพร."
ร. "หาไม่ พระผู้เป็นเจ้า พืชไม่มีอันตรายเข้าไปกระทบกีดกั้นพึงงอกงามเร็วพลัน พระผู้เป็นเจ้า."
ถ. "ขอถวายพระพร สามกุมารพ้นแล้วจากอันตรายเกิดขึ้นแล้วทั้งหลาย เกิดแล้วตามความปรารถนาแห่งจิตของชนทั้งสาม ฉันนั้นนั่นเทียวแล.
ขอถวายพระพร บรมบพิตรเคยได้ทรงฟังแล้วบ้างหรือ ชนบทใหญ่เจริญแพร่หลายแล้ว กับทั้งประชุมชน ขาดสูญแล้ว ด้วยความประทุษร้ายแห่งใจแห่งฤษีทั้งหลาย."
ร. "พระผู้เป็นเจ้า ข้าพเจ้าได้ฟังอยู่ ป่าชื่อทัณฑกะ ป่าชื่อเมชฌะ ป่าชื่อกาลิงคะ ป่าชื่อมาตังคะ ป่าทั้งปวงนั้นเป็นป่าแล้ว, ชนบททั้งหลายแม้ทั้งปวงเหล่านี้ ถึงความสิ้นไปด้วยความประทุษร้ายแห่งใจของฤษีทั้งหลาย"
ถ. ขอถวายพระพร ถ้าชนบททั้งหลายที่เจริญแล้วด้วยดี มาขาดสูญไปด้วยความประทุษร้ายแห่งใจฤษีทั้งหลายเหล่านั้น, อะไร ๆ พึงเกิดขึ้นโดยความเลื่อมใสแห่งจิตของฤษีทั้งหลายเหล่านั้นบ้างหรือไม่."
ร. "พึงเกิดขึ้นได้ซิ พระผู้เป็นเจ้า."
ถ. "ขอถวายพระพร ถ้าอย่างนั้น สามกุมาร เป็นอิสินิรมิตเป็นเทพนิมิต เป็นบุญนิรมิต เกิดแล้วโดยความเลื่อมใสแห่งจิตของชนผู้มีกำลังทั้งหลายสาม, เพราะเหตุนั้น บรมบพิตรจงทรงความข้อนี้ไว้ด้วยประการฉะนี้.
ขอถวายพระพร เทพบุตรทั้งหลายสามเหล่านี้ เข้าถึงแล้วซึ่งตระกูลที่ท้าวสักกะผู้เป็นจอมของเทพดาทั้งหลายได้อ้อนวอนแล้ว, เทพบุตรทั้งสาม คือ เทพบุตรองค์ไรบ้าง เทพบุตรทั้งสามคือ สามกุมารหนึ่ง มหาปนาทะ หนึ่ง กุสราชา หนึ่ง เทพบุตรแม้ทั้งสามเหล่านี้เป็นพระโพธิสัตว์."
ร. "พระผู้เป็นเจ้า ความหยั่งลงสู่ครรภ์ พระผู้เป็นเจ้านำมาแสดงด้วยดีแล้ว, เหตุพระผู้เป็นเจ้ากล่าวด้วยดีแล้ว, มืดทำให้มีแสงสว่างแล้วล ชัฏพระผู้เป็นเจ้าสางแล้ว, ปรับปวาทพระผู้เป็นเจ้าห้ามกันเสียได้แล้ว, เหตุนั้นสมดังพระผู้เป็นเจ้ากล่าวอย่างนั้น, ข้าพเจ้ายอมรับรองอย่างนั้น."

๗. สัทธัมมอันตรธานปัญหา ๗

พระเจ้ามิลินท์ตรัสถามว่า "พระผู้เป็นเจ้านาคเสน พระผู้มีพระภาคเจ้า ได้ทรงภาสิตพุทธพจน์แม้นี้ไว้แก่พระอานนทเถระว่า 'ดูก่อนอานนท์ สัทธรรมจักตั้งอยู่ได้ในกาลต่อไป เพียงห้าร้อยปีเท่านั้น' ดังนี้. ส่วนในสมัยเป็นที่ปรินิพพาน สุภัททปริพพาชกทูลถามปริศนา พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสแล้วว่า 'ดูก่อนสุภัททะ ถ้าภิกษุทั้งหลายเหล่านี้พึงปฏิบัติอยู่โดยชอบในกาลทั้งปวง, โลกพึงเป็นของไม่ว่างเปล่าจากพระอรหันต์ทั้งหลาย' ดังนี้อีก; พระพุทธพจน์นี้กล่าวกาลหาส่วนเหลือมิได้ ฯลฯ กล่าวกาลไม่มีส่วนเหลือ ฯลฯ กล่าวกาลไม่มีปริยาย. ถ้าพระตถาคตเจ้าได้ตรัสแล้วว่า 'ดูก่อนอานนท์ ในกาลต่อไป พระสัทธรรมจักตั้งอยู่ได้ เพียงห้าร้อยปีเท่านั้น' ดังนี้, ถ้าอย่างนั้น คำที่ว่า 'โลกพึงเป็นของไม่ว่างเปล่าจากพระอรหันต์ทั้งหลาย' ดังนี้ นั้นผิด. ถ้าพระตถาคตเจ้าได้ตรัสแล้วว่า 'โลกพึงเป็นของไม่ว่างเปล่าจากพระอรหันต์ทั้งหลาย' ดังนี้, ถ้าอย่างนั้น คำที่ว่า 'ดูก่อนอานนท์ ในกาลต่อไป พระสัทธรรมจักตั้งอยู่ได้เพียงห้าร้อยปีเท่านั้น' ดังนี้นั้นเป็นผิด. ปัญหาแม้นี้มีเงื่อนสอง
เป็นชัฏยิ่งแม้กว่าชัฏโดยปกติ, มีกำลังยิ่งแม้กว่าปัญหาที่มีกำลังโดยปกติ, มีขอดยิ่งแม้กว่าขอดโดยปกติ, ปัญหานั้นมาถึงพระผู้เป็นเจ้าแล้ว, พระผู้เป็นเจ้าจงเป็นผู้ดังมังกรไปแล้วในภายในแห่งสาคร แสดงความแผ่ไพศาลแห่งกำลังญาณของพระผู้เป็นเจ้าในปัญหานั้น."
พระนาคเสนเถระถวายพระพรว่า "ขอถวายพระพร พระผู้มีพระภาคเจ้า ได้ทรงภาสิตพระพุทธพจน์แม้นี้แก่พระอานนทเถระแล้วว่า 'ดูก่อนอานนท์ ในกาลต่อไป พระสัทธรรมจักตั้งอยู่ได้ เพียงห้าร้อยปีเท่านั้น'ดังนี้. ส่วนในสมัยเป็นที่ปรินิพพาน ได้ตรัสแล้วแก่สุภัททปริพพาชกว่า 'ดูก่อนสุภัททะ ถ้าภิกษุทั้งหลายเหล่านี้พึงปฏิบัติอยู่โดยชอบ ในกาลทั้งปวงไซร้. โลกพึงเป็นของไม่ว่างเปล่าจากพระอรหันต์ทั้งหลาย' ดังนี้. ก็แหละ พระพุทธพจน์ของพระผู้มีพระภาคเจ้านั้น เป็นพระพุทธพจน์มีเนื้อความต่างกันด้วย มีพยัญชนะต่างกันด้วยแท้. ส่วนทั้งสอง คือ ส่วนพระพุทธพจน์นี้กำหนดศาสนา พระวาจานี้แสดงความปฏิบัติเหล่านั้น เว้นไกลกันและกัน.
ขอถวายพระพร มีอุปมาเหมือนฟ้าเว้นไกลแต่แผ่นดิน นรกเว้นไกลแต่สวรรค์ กุศลเว้นไกลแต่อกุศล สุขเว้นห่างไกลแต่ทุกข์ ฉันใด ส่วนพระพุทธภาสิตทั้งหลายสองเหล่านั้น เว้นห่างไกลจากกันและกัน มีอุปไมยฉันนั้นนั่นเทียวแล. เออก็ ปุจฉาของบรมบพิตรอย่าเป็นของเปล่าเลย, อาตมภาพจักเปรียบเทียบโดยรสแสดงแก่บรมบพิตร, พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสพุทธพจน์ใดว่า 'ดูก่อนอานนท์ ในกาลต่อไป พระสัทธรรมจักตั้งอยู่ได้ เพียงห้าร้อยปีเท่านั้น' ดังนี้. เมื่อพระองค์ตรัสพุทธพจน์นั้น ทรงแสดงกาลที่สิ้นไป ทรงกำหนดกาลที่เหลือว่า 'ดูก่อนอานนท์ ถ้านางภิกษุณีทั้งหลายไม่พึงบรรพชาไซร้ พระสัทธรรมจักพึงตั้งอยู่ได้หนึ่งพันปี, ดูก่อนอานนท์ กาลต่อไปนี้ พระสัทธรรมจักตั้งอยู่ได้ เพียงห้าร้อยปีเท่านั้น.' เออก็ เมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสอย่างนี้ จะตรัสตามอันตรธานแห่งพระสัทธรรมหรือ หรือทรงคัดค้านอภิสมัยความตรัสรู้ เป็นไฉน ? ขอถวายพระพร."
ร. "หามิได้ พระผู้เป็นเจ้า."
ถ. "ขอถวายพระพร พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงระบุกาลที่ฉิบหายไปแล้ว ทรงแสดงกาลที่เหลืออยู่ ทรงกำหนดแล้ว. เหมือนบุรุษมีของหาย หยิบภัณฑะที่เหลืออยู่ทั้งสิ้น แสดงแก่ประชุมชนว่า
'ภัณฑะเท่านี้ของข้าพเจ้าหายไปแล้ว ภัณฑะนี้เหลืออยู่' ฉันใด, พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดงกาลที่ฉิบหายไปแล้ว ตรัสกาลที่เหลืออยู่แก่เทวดาและมนุษย์ทั้งหลายว่า 'ดูก่อนอานนท์ กาลต่อไปนี้ พระสัทธรรมจักตั้งอยู่ได้ เพียงห้าร้อยปีเท่านั้น' ดังนี้. ก็พระพุทธพจน์อันใด ที่พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสแล้วว่า 'ดูก่อนอานนท์ กาลต่อไปนี้ พระสัทธรรมจักตั้งอยู่ได้ เพียงห้าร้อยปีเท่านั้น' ดังนี้, พระพุทธพจน์นี้กำหนดศาสนกาล; ส่วนพระองค์ทรงระบุสมณะทั้งหลายตรัสพุทธพจน์ใด แก่สุภัททปริพพาชกว่า 'ดูก่อนสุภัททะ ถ้าภิกษุทั้งหลายเหล่านี้ พึงปฏิบัติอยู่โดยชอบ ในกาลทั้งปวง, โลกพึงเป็นของไม่ว่างเปล่าจากพระอรหันต์ทั้งหลาย'ดังนี้, พระวาจานั้นแสดงความปฏิบัติ. ส่วนบรมพิตรมาทรงกระทำความกำหนดนั้นด้วยพระวาจาเครื่องแสดงนั้นด้วย ให้เป็ฯของมีรสเป็นอันเดียวกัน. ก็ถ้าว่าเป็นความพอพระหฤทัยของบรมบพิตรอาตมภาพจักกล่าวกระทำให้มีรสเป็นอันเดียวกัน, บรมบพิตรจงเป็นผู้มีพระหฤทัยไม่วิปริต ทรงสดับกระทำไว้ในพระหฤทัยให้สำเร็จประโยชน์.
ขอถวายพระพร ถ้าในที่นี้ มีสระเต็มแล้วด้วยน้ำใหม่ใสสะอาด น้ำขึ้นเสมอกำหนดเพียงขอบ, เมื่อสระนั้นยังไม่ทันแห้ง เมฆใหญ่เนื่องประพันธ์กันให้ฝนตกเติมซ้ำ ๆ ลงบนน้ำในสระนั้น, น้ำในสระนั้นพึงถึงความสิ้นไปและแห้งไปหรือเป็นไฉน?"
ร. "หาไม่ พระผู้เป็นเจ้า."
ถ. "เพราะเหตุไร ขอถวายพระ?"
ร. "เพราะความที่เมฆเป็นของเนื่องประพันธ์กันเป็นเหตุ น้ำในสระนั้นจึงไม่ถึงความสิ้นไปแห้งไปซิ พระผู้เป็นเจ้า."
ถ. "ขอถวายพระพร สระ คือ พระสัทธรรมในศาสนาอันประเสริฐ ของพระพุทธเจ้าผู้ชนะมารทั้งปวง เต็มแล้วด้วยดีด้วยน้ำใหม่ปราศจากมลทิน คือ อาจาระและศีลคุณและวัตรปฏิบัติ น้ำปราศจากมลทินนั้นขึ้นไปท่วมที่สุดแห่งภพตั้งอยู่แล้ว ฉันนั้นนั่นเทียวแล. ถ้าพระพุทธโอรสทั้งหลาย ยังฝนแห่งเมฆ คือ อาจาระและศีลคุณและวัตรปฏิบัติ ให้เนื่องประพันธ์กัน ให้ตกเติมร่ำไปในสระ คือ พระสัทธรรมนั้นไซร้, สระ คือ พระสัทธรรมในศาสนาอันประเสริฐ ของพระชินพุทธเจ้านี้ พึงตั้งอยู่สิ้นกาลนานยืดยาวได้, อนึ่ง โลกพึงเป็นของไม่ว่างเปล่าจากพระอรหันต์ทั้งหลาย ฉันนั้น, พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงหมายเนื้อความนี้ ภาสิตแล้วว่า 'ดูก่อนสุภัททะ ถ้าภิกษุทั้งหลายเหล่านี้ พึงปฏิบัติอยู่โดยชอบในกาลทั้งปวง, โลกพึงเป็นของไม่ว่างเปล่าจากพระอรหันต์ทั้งหลาย ดังนี้.
ขอถวายพระพร อนึ่ง ในที่นี้มีกองแห่งไฟใหญ่ ๆ โพลงอยู่, ชนทั้งหลายพึงนำหญ้า และไม้ และโคมัยแห้งแล้วทั้งหลายเข้าไปเติมซ้ำ ๆ ลงในกองไฟใหญ่นั้น, กองไฟนั้นพึงดับไปหรือไฉน?"
ร. "หาไม่ พระผู้เป็นเจ้า กองไฟนั้นพึงโพลงยิ่ง ๆ ขึ้นไป พึงสว่างยิ่ง ๆ ขึ้นไป.
ขอถวายพระพร พระศาสนาอันประเสริฐของพระพุทธเจ้าผู้ชนะแล้ว ย่อมชัชวาลอยู่ในโลกธาตประมาณหมื่นหนึ่ง ทำโลกธาตุให้สว่างทั่วด้วยอาจาระ และศีลคุณ และวัตรปฏิบัติ. ก็ถ้าว่าพระพุทธโอรสทั้งหลาย มาตามพร้อมแล้วด้วยองค์ของบุคคลผู้ตั้งความเพียร ห้าประการ พึงเป็นผู้ไม่ประมาทแล้วพากเพียรเนือง ๆ, พึงเป็นผู้มีฉันทะเกิดแล้วศึกษาอยู่ในสิกขาสาม, พึงบำเพ็ญจารีตศีลและวารีตศีลให้บริบูรณ์ ไม่บกพร่องยิ่งกว่านั้นไซร้, พระชินศาสนาอันประเสริฐนี้พึงตั้งอยู่สิ้นกาลนานยืดยาวได้ยิ่ง ๆ ขึ้นไป, โลกพึงเป็นของไม่ว่างเปล่าจากพระอรหันต์ทั้งหลาย, พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงหมายเนื้อความนี้ภาสิตแล้วว่า 'ดูก่อนสุภัททะ ถ้าภิกษุทั้งหลายเหล่านี้ พึงปฏิบัติอยู่โดยชอบ, โลกพึงเป็นของไม่ว่างเปล่าจากพระอรหันต์ทั้งหลาย' ดังนี้. อนึ่ง ในโลกนี้ ชนทั้งหลาย พึงขัดแว่นปราศจากมลทินสนิทเสมอ และขัดดีแล้ว กระจ่างด้วยดีด้วยจุรณ์แห่งหรดาลอันละเอียดสุขุมเนือง ๆ, มลทินและเปือกตมละอองธุลีพึงเกิดขึ้นในแว่นนั้นได้หรือไม่ ขอถวายพระพร ?"
ร. "หาไม่ พระผู้เป็นเจ้า แว่นนั้นพึงปราศจากมลทิน ผ่องใสวิเศษหนักขึ้นโดยแท้."
ถ. "ขอถวายพระพร แว่นนั้นพึงปราศจากมลทินผ่องใสวิเศษหนักขึ้น ฉันใด, ศาสนาอันประเสริฐของพระพุทธเจ้า ไม่มีมลทินโดยปกติปราศจากมลทินละอองธุลี คือ กิเลสแล้ว; ถ้าพระพุทธบุตรทั้งหลายพึงขูดเกลาพระศาสนาอันประเสริฐของพระพุทธเจ้านั้น ด้วยอาจาระและศีลคุณ และวัตรปฏิบัติ และสัลเลขธรรม และธุดงคคุณ, ศาสนาอันประเสริฐของพระชินพุทธเจ้านี้ พึงตั้งอยู่ได้สิ้นกาลนานยืดยาว, อนึ่ง โลกพึงเป็นของไม่ว่างเปล่าจากพระอรหันต์ทั้งหลาย ฉันนั้นนั่นเทียว. พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงมุ่งหมายเนื้อความนี้ ทรงภาสิตแล้วว่า 'ดูก่อนสุภัททะ ถ้าภิกษุทั้งหลายเหล่านี้ พึงอยู่ คือ ปฏิบัติดีปฏิบัติชอบอยู่, โลกพึงเป็นของไม่ว่างเปล่าจากพระอรหันต์ทั้งหลาย' ดังนี้. พระศาสนาของพระบรมศาสดามีความปฏิบัติเป็นมูลราก มีความปฏิบัติเป็นแก่นสาร เมื่อความปฏิบัติยังไม่อันตรธานแล้ว พระพุทธศาสนาย่อมตั้งอยู่ได้."
ร. "พระผู้เป็นเจ้า พระผู้เป็นเจ้ากล่าว 'สัทธรรมอันตรธาน' ว่า ดังนี้ สัทธรรมอันตรธานนั้นอย่างไร ?"
ถ. "ขอถวายพระพร ความเสื่อมแห่งพระพุทธศาสนาเหล่านี้มีสามประการ, ความเสื่อมแห่งพระพุทธศาสนาสามประการนี้อย่างไร ? ความเสื่อมแห่งพระพุทธศาสนาสามประการนี้ คือ: อธิคมอันตรธานความเสื่อมมรรคและผลที่บุคคลจะพึงได้พึงถึงหนึ่ง ปฏิปัตติอันตรธานความเสื่อมปฏิบัติหนึ่ง ลิงคอันตรธาน ความเสื่อมเพศนุ่งผ้ากาสาวพัสตร์หนึ่ง. เมื่ออธิคม คือ มรรคและผลที่บุคคลจะพึงได้พึงถึงอันตรธานเสื่อมสูญแล้ว แม้เมื่อบุคคลปฏิบัติดีแล้ว ไม่มีธรรมาภิสมัยความถึงพร้อมเฉพาะ คือ ความตรัสรู้ธรรม, เมื่อความปฏิบัติอันตรธานเสื่อมสูญแล้ว สิกขาบทบัญญัติก็อันตรธาน ยังเหลืออยู่แต่เพศนุ่งเหลืองอย่างเดียวเท่านั้น, เมื่อเพศนุ่งเหลืออันตรธานแล้ว ก็ขาดประเพณี. อันตรธานสามประการดังพรรณานามานี้แล้ว ขอถวายพระพร."
ร. "พระผู้เป็นเจ้านาคเสน ปัญหาลึกพระผู้เป็นเจ้ามากระทำให้ตื้น ให้ข้าพเจ้ารู้แจ้งด้วยดีแล้ว, ขอดพระผู้เป็นเจ้าทำลายเสียแล้วปรัปปวาททั้งหบายพระผู้เป็นเจ้าหักรานให้ฉิบหายแล้ว กระทำให้เสื่อมรัศมีแล้ว, ปรัปปวาททั้งหลายมากระทำ พระผู้เป็นเจ้าผู้ประเสริฐกว่าคณาจารย์ผู้ประเสริฐ, พระผู้เป็นเจ้าหักราน
ปรัปปวาททั้งหลายเหล่านั้นให้หายเสื่อมสูญไปได้แล้ว."




เอาบุญมาฝากจะถวายสังฆทาน เจริญวิปัสสนา ให้ธรรมะเป็นทาน ให้อภัยทาน บอกบุญ สักการะพระธาตุ ให้อาหารสัตว์เป็นทาน ช่วยพ่อแม่ทำงานบ้าน ถวายข้าวพระพุทธ อนุโมทนาบุญกับผู้อื่น สร้างพระสร้างเจดีย์สร้างธรรมจักรสร้างรอยพระพุทธบาทสร้างระฆังและอัครสาวกซ้ายขวาสร้างพระสีวลีสร้างพระกัสสะปะสร้างพระอุปคุตสร้างพระองคุลีมารผสมทองคำเปลวพร้อมนำดอกไม้มาบูชาถวายพระรัตนตรัย
รักษาศีล เจริญภาวนา สวดมนต์ ให้อาหารสัตว์เป็นทานเป็นประจำ กรวดน้ำอุทิศบุญ อนุโมทนากับพ่อแม่ญาติพี่น้องที่รักษาศีล ฟังธรรม ให้ทาน อนุโมทนากับเพื่อนๆที่รักษาศีล ศึกษาการรักษาโรค ที่ผ่านมาคุณแม่ได้ถวายสังฆทานมาโดยตลอด ที่ผ่านมาได้ปิดทองพระ รักษาอาการป่วยของผู้อื่นกับผู้ร่วมงาน และที่ผ่านมาได้รักษาอาการป่วยของบิดามารดา ปล่อยชีวิตสัตว์มาโดยตลอด ถวายยาแก่ภิกษุ ขัดองค์พระ จุดเทียนถวายพระรัตนตรัย ให้ความรู้สมุนไพรเพื่อสุขภาพเป็นวิทยาทาน ที่ผ่านมาคุณแม่ได้ทำบุญหลายอย่างมาโดยตลอด ที่ผ่านมาได้ถวายสังฆทานและทำบุญสร้างอาคารผู้ป่วยและกฐินกับเพื่อนๆและให้อาหารเป็นทานแก่สรรพสัตว์กับเพื่อนๆและเพื่อนคนหนึ่งและบริวารของเพื่อนและครอบครัวของเพื่อนได้มีจิตเมตตาให้ทานและเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ช่วยเหลือผู้อื่นอยู่ตลอดและเพื่อนได้เคยสวดมนต์เย็นกับคุณแม่และที่ผ่านมาได้ทำบุญสักการะพระธาตุทำบุญปิดทองชำระหนี้สงฆ์และไหว้พระและทำบุญตามกล่องรับบริจาคตามวัดต่างๆกับเพื่อนและตั้งใจว่าจะสร้างบารมีให้ครบทั้ง 10 อย่างขอให้อนุโมทนาบุญด้วย


ขอเชิญถวายสังฆทาน เจริญวิปัสสนา ให้ธรรมะเป็นทาน ให้อภัยทาน บอกบุญ ให้อาหารสัตว์เป็นทาน สักการะพระธาตุ ฟังธรรม สวดมนต์ ช่วยพ่อแม่ทำงานบ้าน
รักษาศีล เจริญภาวนา สวดมนต์ สร้างพระสร้างเจดีย์สร้างธรรมจักรสร้างรอยพระพุทธบาท
สร้างระฆังและอัครสาวกซ้ายขวาสร้างพระสีวลีสร้างพระกัสสะปะสร้างพระอุปคุตสร้างพระองคุลีมารผสมทองคำเปลวพร้อมนำดอกไม้มาบูชาถวายพระรัตนตรัย กรวดน้ำอุทิศบุญ ถวายข้าวพระพุทธ อนุโมทนาบุญกับผู้อื่น สนทนาธรรม
ถวายข้าวพระพุทธ อนุโมทนาบุญกับผู้อื่น รักษาอาการป่วยของผู้อื่น รักษาอาการป่วยของบิดามารดา จุดเทียนถวายพระรัตนตรัย
ปิดทอง สักการะพระธาตุ กราบอดีตสังขารเจ้าอาวาสที่ไม่เน่าเปื่อย ที่วัดแจ้ง อ.เมือง จ.ปราจีนบุรี ปิดทองพระ ปล่อยชีวิตสัตว์ถวายยาแก่ภิกษุ ไหว้พระตามวัดต่างๆ ขัดองค์พระ ให้ความรู้สมุนไพรในการดูแลสุขภาพเป็นทาน
และสร้างบารมีให้ครบทั้ง 10 อย่างขอเชิญร่วมบุญกุศลร่วมกันนะ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 31 ก.ค. 2012, 10:36 
 
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 6
สมาชิก ระดับ 6
ลงทะเบียนเมื่อ: 08 พ.ค. 2012, 02:09
โพสต์: 456


 ข้อมูลส่วนตัว


.. :b8:
อนุโมทนาแล้วๆๆ ..


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 01 ส.ค. 2012, 09:50 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
อาสาสมัคร
อาสาสมัคร
ลงทะเบียนเมื่อ: 06 มี.ค. 2009, 10:48
โพสต์: 5361


 ข้อมูลส่วนตัว


๘. สัพพัญญุตปัตตปัญหา ๘

พระเจ้ามิลินท์ตรัสถามว่า "พระผู้เป็นเจ้านาคเสน พระตถาคตทรงละอกุศลธรรมทั้งปวงแล้ว จึงบรรลุความเป็ฯพระสัพพัญญูหรือว่าละอกุศลธรรมเป็นสาวะเศษมีส่วนเหลือ บรรลุความเป็นพระสัพพัญญู?"
พระนาคเสนเถระถวายพระพรว่า "ขอถวายพระพร พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงละอกุศลทั้งปวงแล้ว จึงบรรลุความเป็นพระสัพพัญญูอกุศลเป็นส่วนเหลือของพระผู้มีพระภาคเจ้ามิได้มี."
ร. "พระผู้เป็นเจ้า ทุกขเวทนาเคยเกิดขึ้นแล้วในพระกายของพระตถาคตหรือ?"
ถ. "ขอถวายพระพร เคยเกิดขึ้น พระบาทของพระผู้มีพระภาคเจ้าอันสะเก็ดศิลากระทบแล้วที่เมืองราชคฤห์ ประชวรลงพระโลหิตเกิดขึ้นแล้ว เมื่อพระกายหนาขึ้นหนักแล้ว หมอชีวกเชิญให้เสวยพระโอสถรุน เมื่อประชวรลมเกิดขึ้นแล้ว พระเถระผู้อุปฐากแสวงหาน้ำร้อนถวาย."
ร. "พระผู้เป็นเจ้า ถ้าพระตถาคตทรงละอกุศลทั้งปวงแล้ว จึงบรรลุความเป็นพระสัพพัญญู, ถ้าอย่างนั้น คำที่ว่า 'พระบาทของพระผู้มีพระภาคเจ้าอันสะเก็ดศิลากระทบแล้ว ประชวรลงพระโลหิตเกิดขึ้นแล้ว' นั้นผิด. ถ้าพระบาทของพระตถาตอันสะเก็ดศิลากระทบแล้วประชวรลงพระโลหิตเกิดขึ้นแล้ว ถ้าอย่างนั้น คำที่ว่า 'พระตถาคตทรงละอกุศลทั้งปวงแล้ว จึงบรรลุความเป็นพระสัพพัญญ' ดังนี้ แม้นั้นก็ผิด. ความเสวยเวทนาซึ่งจะเว้นแล้วจากกรรมมิได้มี, ความเสวยเวทนาทั้งปวงนั้น มีกรรมเป็นมูลที่ตั้ง, บุคคลย่อมเสวยเวทนาเพราะกรรมนั่นเทียว, ปัญหาแม้นี้มีเงื่อนสอง มาถึงพระผู้เป็นเจ้าแล้ว, พระผู้เป็นเจ้าพึงขยายปัญหานั้นให้แจ่มแจ้ง."
ถ. "ขอถวายพระพร เวทนา ความเสวยอารมณ์ทั้งปวงนั้น จะมีกรรมเป็นมูลเป็นที่ตั้งก็หาไม่. เวทนาความเสวยอารมณ์ทั้งหลายย่อมเกิดขึ้นด้วยเหตุแปดประการ สัตว์เป็นอันมากย่อมเสวยเวทนาทั้งหลายด้วยเหตุไรเล่า. เวทนาทั้งหลายเกิดขึ้นด้วยเหตุทั้งหลายแปดเป็นไฉน? ในกายนี้ เวทนาทั้งหลายบางเหล่ามีลมเป็นสมุฏฐานเกิดขึ้นบ้าง, เวทนาทั้งหลายบางเหล่ามีดีเป็นสมุฏฐานเกิดขึ้นบ้าง, เวทนาทั้งหลายบางเหล่ามีเสมหะเป็นสมุฏฐานเกิดขึ้นบ้าง, เวทนาทั้งหลายบางเหล่ามีสันนิบาตเป็นเหตุเกิดขึ้นบ้าง, เวทนาทั้งหลายบางเหล่าเกิดแต่ความเปลี่ยนฤดูเกิดขึ้นบ้าง, เวทนาทั้งหลายบางเหล่าเกิดแต่การบริหารอิริยาบถไม่เสมอเกิดขึ้นบ้าง, เวทนาทั้งหลายบางเหล่ามีความเพียรเป็นเหตุเกิดขึ้นบ้าง, เวทนาทั้งหลายบางเหล่าเป็นกรรมวิปากชาเกิดขึ้นบ้าง. สัตว์เป็นอันมากย่อมเสวยเวทนาทั้งหลาย ด้วยเหตุทั้งหลายแปดประการเหล่านี้แล. ในสัตว์ทั้งหลายเหล่านั้น สัตว์ทั้งหลายเหล่าใดนั้นอ้างกรรม สัตว์ทั้งหลายเหล่านี้นั้นย่อมค้านเหตุเสีย, คำนั้นของสัตว์ทั้งหลายเหล่านั้นผิด."
ร. "พระผู้เป็นเจ้านาคเสน เวทนาที่มีลมเป็นสมุฏฐานอันใดก็ดี ที่มีเสมหะเป็นสมุฏฐานอันใดก็ดี ที่มีสันนิบาตเป็นเหตุอันใดก็ดี ที่มีสันนิบาตเป็นเหตุอันใดก็ดี ที่เกิดแต่ความเปลี่ยนฤดูอันใดก็ดี ที่เกิดแต่การบริหารไม่เสมออันใดก็ดี ที่มีความเพียรเป็นเหตุเหตุอันใดก็ดี, เวทนาทั้งปวงเหล่านั้นล้วนมีกรรมเป็นสมุฏฐานทั้งสิ้น เวทนาทั้งปวงเหล่านั้นย่อมเกิดเพราะกรรมอย่างเดียว."
ถ. "ขอถวายพระพร ถ้าอาพาธทั้งหลายเหล่านั้นแม้ทั้งปวง พึงเป็นอาพาธมีกรรมเป็นสมุฏฐานอย่างเดียว, ลักษณะทั้งหลายของอาพาธเหล่านั้นไม่พึงมีโดยส่วน.
ขอถวายพระพร ลมเมื่อกำเริบ ย่อมกำเริบด้วยเหตุสิบอย่าง คือ ด้วยหนาวหนักหนึ่ง ด้วยร้อนหนักหนึ่ง ด้วยความอยากข้าวหนึ่ง ด้วยความระหายน้ำหนึ่ง ด้วยความบริโภคมากหนึ่ง ด้วยความยืนนานนักหนึ่ง ด้วยความเพียรเหลือเกินหนึ่ง ด้วยความวิ่งมากหนึ่ง ด้วยอุปักกมะความเพียรของตนบ้างของผู้อื่นบ้างหนึ่ง ด้วยกรรมวิบากหนึ่ง; ในอาพาธทั้งหลายเหล่านั้น อาพาธเก้าอย่างเหล่าใดนั้น อาพาธเหล่านั้นเกิดขึ้นแล้วในอดีตก็หาไม่ จะเกิดขึ้นในอนาคนก็หาไม่ ย่อมเกิดขึ้นในภพปัจจุบัน, เพราะเหตุนั้น อาพาธทั้งหลายเหล่านั้น บัณฑิตไม่พึงกล่าวว่า "เวทยาทั้งหลายทั้งปวงมีกรรมเป็นแดนเกิดพร้อม." น้ำดีเมื่อจะกำเริบย่อมกำเริบด้วยเหตุสามอย่าง คือ: ด้วยหนาวหนักหนึ่ง ด้วยร้อนหนักหนึ่งด้วยบริโภคไม่เสมอหนึ่ง. เสมหะเมื่อจะกำเริบ ย่อมกำเริบด้วยเหตุสามอย่าง คือ: ด้วยหนาหนักหนึ่ง ร้อนหนักหนึ่ง ด้วยข้าวและน้ำหนึ่ง. ลมอันใดก็ดี น้ำดีอันใดก็ดี เสมหะอันใดก็ดี สามอย่างนี้ กำเริบแล้วด้วยปัจจัยเครื่องกำเริบทั้งหลายเหล่านั้น ๆ เป็นของเจือกัน พาเวทนาของตน ๆ มา. เวทนาที่เกิดแต่ความเปลี่ยนฤดู ย่อมเกิดขึ้นด้วยความเปลี่ยนฤดู, เวทนาที่เกิดแต่ความบริหารไม่เสมอ ย่อมเกิดขึ้นด้วยความบริหารอิริยาบถไม่เสมอ, เวทนาที่มีความเพียรเป็นปัจจัย เป็นกิริยาก็มี เป็นกรรมวิบากก็มี, เวทนาที่เกิดแต่กรรมวิบากย่อมเกิดขึ้นเพราะกรรมที่ตนกระทำแล้วในกาลก่อน. เวทนาที่เกิดแต่กรรมวิบากน้อย เวทนานอกนั้นมากกว่าด้วยประการฉะนี้. ชนพาลทั้งหลายย่อมแล่นล่วงไปในเวทนานั้นว่า 'เวทนาทั้งปวงเกิดแต่กรรมวิบากอย่างเดียว,' กรรมนั้นอันใคร ๆ ไม่อาจเพื่อจะกระทำความกำหนดเว้นจากพุทธญาณ. ก็พระบาทของพระผู้มีพระภาคเจ้าอันสะเก็ดศิลากระทบแล้วด้วยเหตุใด ด้วยเหตุนั้น เวทนานั้นจะเป็นเวทนามีลมเป็นสมุฏฐานก็ไม่ใช่ มีดีเป็นสมุฏฐานก็ไม่ใช่ มีเสมหะเป็นสมุฏฐานก็ไม่ใช่ มีสันนิบาตคือ ประชุมธาตุสี่เป็นปัจจัยก็ไม่ใช่ จะเป็นเวทนาเกิดแต่ความเปลี่ยนฤดูก็ไม่ใช่ จะเป็นเวทนาเกิดแต่การบริหารอิริยาบถไม่เสมอก็ไม่ใช่ จะเป็นเวทนาเกิดแต่กรรมวิบากก็ไม่ใช่ เวทนานั้น เป็นเวทนามีอุปักกมะความเพียรของผู้อื่นเป็นปัจจัยนั่นเทียว. จริงอยู่ เทวทัต ผูกอาฆาตในพระตถาคตหลายแสนชาติแล้ว. เทวทัตนั้น หยิบศิลาหนักใหญ่ปล่อยแล้วด้วยคิดว่า 'เราจักยิงศิลานี้ให้ตกเหนือกระหม่อม' ด้วยอาฆาตนั้น. ครั้งนั้น ศิลาสองก้อนอื่นมารับศิลานั้นเสียแต่ยังไม่ทันถึงพระตถาคตเลย, กะเทาะศิลาแตกเพราะกระทบที่ศิลานั้นแล้ว จึงตกลงที่พระบาทของพระผู้มีพระภาคเจ้า จึงกระทำพระโลหิตให้ห้อขึ้นแล้ว. เวทนาของพระผู้มีพระภาคเจ้าเกิดแล้ว แต่กรรมวิบากบ้าง แต่กิริยาบ้าง, เวทนาอื่นยิ่งขึ้นไปกว่าเวทนานั้น ย่อมไม่มี. เหมือนพืชย่อมไม่เกิดพร้อมเพราะความที่นาเป็นของอันโทษประทุษร้ายแล้วบ้าง เพราะความที่พืชเป็นของซึ่งอันตรายประทุษร้ายแล้วบ้าง ฉันใด, เวทนานั้นของพระผู้มีพระภาคเจ้า จะเป็นเวทนาเกิดแล้ว แต่กรรมวิบากบ้าง แต่กิริยาบ้างฉันนั้น, เวทนาอื่นยิ่งไปกว่าเวทนานั้น ย่อมไม่มีแด่พระตถาคตเลย.
อีกนัยหนึ่ง โภชนะแปรไม่เสมอ เพราะความที่ลำไส้เป็นของอันโทษประทุษร้ายแล้วบ้าง เพราะความที่อาหารเป็นของอันโทษประทุษร้ายแล้วบ้าง ฉันใด, เวทนานั้นของพระผู้มีพระภาคเจ้า เป็นเวทนาเกิดแล้วแต่กรรมวิบากบ้าง แต่กิริยาบ้าง ฉันนั้น, เวทนาอื่นยิ่งขึ้นไปกว่าเวทนานั้น ย่อมไม่มีแด่พระผู้มีพระภาคเจ้าเลยทีเดียว.
ขอถวายพระพร "เออก็ เวทนาที่เกิดแต่กรรมวิบาก ย่อมไม่มีแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า, เวทนาที่เกิดแต่การบริหารไม่เสมอ ย่อมไม่มีแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า, เวทนาย่อมเกิดขึ้นแด่พระผู้มีพระภารเจ้าด้วยสมุฏฐานทั้งหลายนอกนั้น. ก็แหละ เวทนานั้นไม่อาจเพื่อจะปลงพระผู้มีพระภาคเจ้าจากพระชนมชีพได้. เวทนาทั้งหลายเป็นที่พึงใจและไม่เป็นที่พึงใจ งามและไม่งาม ย่อมตกลงในกายสำเร็จแล้วด้วยมหาภูตทั้งสี่นี้. ณ ที่นี้มีก้อนดินอันใคร ๆ โยนขึ้นไปในอากาศ ย่อมตกลงในแผ่นดินใหญ่. ก้อนดินนั้นย่อมตกลงในแผ่นดินใหญ่ เพราะกระทำกรรมอันใดอันหนึ่งไว้แล้วในกาลก่อนบ้างหรือ ขอถวายพระพร."
ร. "หาไม่ พระผู้เป็นเจ้า มหาปฐวีพึงเสวยวิบากเป็นกุศลและอกุศลด้วยเหตุใด เหตุนั้น ย่อมไม่มีแก่แผ่นดินใหญ่, พระผู้เป็นเจ้า ก้อนคนนั้นย่อมตกลงในแผ่นดินใหญ่ ด้วยเหตุเป็นปัจจุบันไม่ใช่กรรม."
ถ. "ขอถวายพระพร แผ่นดินใหญ่ อันใด พระตถาคตเจ้า บรมบพิตรพึงทรงเห็นว่าเหมือนแผ่นดินใหญ่ ฉะนั้น, ก้อนดินตกลงในแผ่นดินใหญ่ โดยไม่ได้กระทำกรรมไว้แล้วในกาลก่อน ฉันใด สะเก็ดนั้นตกลงแล้วที่พระบาทของพระตถาคตเจ้า โดยไม่ได้กระทำกรรมอันใดอันหนึ่งไวแล้วในกาลก่อน ฉันนั้นนั่นเทียวแล.
อนึ่ง ในโลกนี้ มนุษย์ทั้งหลายย่อมทำลายแผ่นดินใหญ่ด้วย ย่อมขุดแผ่นดินใหญ่ด้วย; มนุษย์ทั้งหลายเหล่านั้น ย่อมทำลายแผ่นดินใหญ่ด้วย ย่อมขุดแผ่นดินใหญ่ด้วย เพราะกรรมอันแผ่นดินกระทำไว้แล้วในกาลก่อนบ้างหรือเป็นไฉน?"
ร. "หาไม่ พระผู้เป็นเจ้า."
ถ."ขอถวายพระพร สะเก็ดใดนั้น ที่ตกลงแล้วที่พระบาทของพระผู้มีพระภาคเจ้า สะเก็ดนั้นจะได้ตกลงแล้วที่พระบาทของพระผู้มีพระภาคเจ้า เพราะกรรมที่ได้ทรงกระทำไว้แล้วในกาลก่อนหามิได้ฉันนั้นนั่นเทียวแล. อาพาธมีความอาเจียนโลหิตเป็นปัจจัยแม้ใด ที่เกิดขึ้นแล้วแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า อาพาธแม้นั้น จะได้เกิดขึ้นแล้ว เพราะกรรมที่ได้ทรงกระทำไว้แล้วในกาลก่อน หามิได้, อาพาธนั้นเกิดขึ้นแล้วโดยอาพาธมีสันนิบาตเป็นปัจจัยอย่างเดียว. อาพาธทั้งหลายเหล่าใดเหล่าหนึ่ง ที่มีในพระกายของพระผู้มีพระภาคเจ้า เกิดขึ้นแล้วอาพาธทั้งหลายเหล่านั้น จะเกิดขึ้นแล้วเพราะกรรมหามิได้, สมุฏฐานทั้งหลายหกเหล่านี้ อาพาธทั้งหลายเหล่านั้นเกิดขึ้นแต่สมุฏฐานอันใดอันหนึ่ง. พระผู้มีพระภาคเจ้าเป็นเทพดาล่วงเทพดา แม้ได้ทรงภาสิตพุทธพจน์นี้ ในเวยยากรณ์ชื่อโมลิยสิวกา ดังดวงตราประทับไว้ในสังยุตตนิกายอันประเสริฐว่า ดูก่อนสิวก ในกายนี้ เวทนาทั้งหลายบางเหล่า แม้มีดีเป็นสมุฏฐาน ย่อมเกิดขึ้นแล; ดูเกิดขึ้นด้วยประการใด เวทนานั้น ท่านพึงรู้แจ้งแม้เองด้วยประการนั้น, ดูก่อนสิวก ในกายนี้เวทนาทั้งหลายบางเหล่า แมี้ดีเป็นสมุฏฐาน ย่อมเกิดขึ้นอย่างใดความรู้แจ้งอย่างนั้นนั่นเป็นสัจจะสมมติแม้ของโลกแล. ดูก่อนสิวก ในเวทนาทั้งหลายเหล่านั้น สมณะและพราหมณ์ทั้งหลายเหล่าใดนั้น มีวาทะอย่างนี้ มีความเห็นอย่างนี้ว่า 'บุรุษบุคคลนี้ ย่อมเสวยเวทนาอันใดอันหนึ่ง เป็นสุขหรือเป็นทุกข์ หรือไม่ใช่ทุกข์ไม่ใช่สุขเป็นแต่กลาง ๆ เวทนาทั้งปวงนั้น มีกรรมที่กระทำไว้แล้วในกาลก่อนเป็นเหตุ' ดังนี้, สมณะและพราหมณ์ทั้งหลายเหล่านั้น ก็สิ่งใดที่ตนรู้แล้วเอง ย่อมแล่นล่วงสิ่งนั้นด้วย, เพราะเหตุนั้น เราผู้ตถาคตย่อมกล่าวว่า 'ความเห็นของสมณะและพราหมณ์ทั้งหลายเหล่านั้นผิด.'ดูก่อนสิวก ในกายนี้ เวทนาทั้งหลายบางเหล่า แม้มีเสมหะเป็นสมุฏฐานเกิดขึ้น ฯลฯ แม้มีลมเป็นสมุฏฐานเกิดขึ้น ฯลฯ แม้มีสันนิบาตเป็นปัจจัยเกิดขึ้น ฯลฯ แม้เป็นอุตุปริณามชาเกิดขึ้น ฯลฯ แม้เป็นวิสมปริหารชาเกิดขึ้น ฯลฯ แม้เป็นโอปักกมิกาเกิดขึ้น ฯลฯ เวทนาทั้งหลายบางเหล่า แม้เป็นกัมมวิปากชาเกิดขึ้นแล; ดูก่อนสิวกในกายนี้ เวทนาทั้งหลายบางเหล่า แม้เป็นกัมมวิปากชาเกิดขึ้นด้วยประการใด เวทนานั้น ท่านพึงรู้แจ้งแม้เองด้วยประการนั้น, ดูก่อนสิวกในกายนี้ เวทนาทั้งหลายบางเหล่า แม้เป็นกัมมวิปากชา ย่อมเกิดขึ้นอย่างใด ความรู้อย่างนั้นนั่นบัณฑิตสมมติแล้วว่า เป็นของจริงแม้ของโลกแล. ดูก่อนสิวก ในเวทนาทั้งหลายเหล่านั้น สมณะและพราหมณ์ทั้งหลายเหล่าใดนั้น มีวาทะอย่างนี้ มีความเห็นอย่างนี้ว่า 'บุรุษบุคคลย่อมเสวยเวทนาอันใดอันหนึ่ง เป็นสุขหรือ หรือเป็นทุกข์ หรือไม่ใช่ทุกข์ ไม่ใช่สุข เป็นแต่กลาง ๆ เวทนาทั้งปวงเหล่านั้น มีกรรมที่กระทำไว้แล้วในกาลก่อนเป็นเหตุ' ดังนี้, ก็สิ่งใดที่ตนรู้แล้วเอง สมณะและพราหมณ์ทั้งหลายเหล่านั้น ย่อมแล่นล่วงสิ่งนั้นเสียด้วย, ก็แหละ สิ่งใดที่เขาสมมติแล้วว่าเป็นของจริงในโลก สมณะและพราหมณ์ทั้งหลายเหล่านั้น ย่อมแล่นล่วงสิ่งนั้นเสียด้วย, เพราะเหตุนั้น เราผู้ตถาคตย่อมกล่าวว่า 'ความเห็นของสมณะและพราหมณ์ทั้งหลายเหล่านั้นผิด' ดังนี้.
ขอถวายพระพร เวทนาทั้งหลายทั้งปวง จะเป็นของเกิดแต่กรรมวิบากทั้งสิ้น หามิได้ ด้วยประการฉะนี้. บรมบพิตรจงทรงปัญหาข้อนี้ไว้อย่างนี้ว่า 'พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงละอกุศลทั้งปวงแล้ว จึงบรรลุความเป็นพระสัพพัญญู' ขอถวายพระร."
ร. ดีละ พระผู้เป็นเจ้า ข้อวิสัชนาปัญหานี้สมอย่างนั้น, ข้าพเจ้ายอมรับรองอย่างนั้น."




เอาบุญมาฝากจะถวายสังฆทาน เจริญวิปัสสนา ให้ธรรมะเป็นทาน ให้อภัยทาน บอกบุญ สักการะพระธาตุ ให้อาหารสัตว์เป็นทาน ช่วยพ่อแม่ทำงานบ้าน ถวายข้าวพระพุทธ อนุโมทนาบุญกับผู้อื่น สร้างพระสร้างเจดีย์สร้างธรรมจักรสร้างรอยพระพุทธบาทสร้างระฆังและอัครสาวกซ้ายขวาสร้างพระสีวลีสร้างพระกัสสะปะสร้างพระอุปคุตสร้างพระองคุลีมารผสมทองคำเปลวพร้อมนำดอกไม้มาบูชาถวายพระรัตนตรัย
รักษาศีล เจริญภาวนา สวดมนต์ ให้อาหารสัตว์เป็นทานเป็นประจำ กรวดน้ำอุทิศบุญ อนุโมทนากับพ่อแม่ญาติพี่น้องที่รักษาศีล ฟังธรรม ให้ทาน อนุโมทนากับเพื่อนๆที่รักษาศีล ศึกษาการรักษาโรค ที่ผ่านมาคุณแม่ได้ถวายสังฆทานมาโดยตลอด ที่ผ่านมาได้ปิดทองพระ รักษาอาการป่วยของผู้อื่นกับผู้ร่วมงาน และที่ผ่านมาได้รักษาอาการป่วยของบิดามารดา ปล่อยชีวิตสัตว์มาโดยตลอด ถวายยาแก่ภิกษุ ขัดองค์พระ จุดเทียนถวายพระรัตนตรัย ให้ความรู้สมุนไพรเพื่อสุขภาพเป็นวิทยาทาน ที่ผ่านมาคุณแม่ได้ทำบุญหลายอย่างมาโดยตลอด ที่ผ่านมาได้ถวายสังฆทานและทำบุญสร้างอาคารผู้ป่วยและกฐินกับเพื่อนๆและให้อาหารเป็นทานแก่สรรพสัตว์กับเพื่อนๆและเพื่อนคนหนึ่งและบริวารของเพื่อนและครอบครัวของเพื่อนได้มีจิตเมตตาให้ทานและเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ช่วยเหลือผู้อื่นอยู่ตลอดและเพื่อนได้เคยสวดมนต์เย็นกับคุณแม่และที่ผ่านมาได้ทำบุญสักการะพระธาตุทำบุญปิดทองชำระหนี้สงฆ์และไหว้พระและทำบุญตามกล่องรับบริจาคตามวัดต่างๆกับเพื่อนและตั้งใจว่าจะสร้างบารมีให้ครบทั้ง 10 อย่างขอให้อนุโมทนาบุญด้วย


ขอเชิญถวายสังฆทาน เจริญวิปัสสนา ให้ธรรมะเป็นทาน ให้อภัยทาน บอกบุญ ให้อาหารสัตว์เป็นทาน สักการะพระธาตุ ฟังธรรม สวดมนต์ ช่วยพ่อแม่ทำงานบ้าน
รักษาศีล เจริญภาวนา สวดมนต์ สร้างพระสร้างเจดีย์สร้างธรรมจักรสร้างรอยพระพุทธบาท
สร้างระฆังและอัครสาวกซ้ายขวาสร้างพระสีวลีสร้างพระกัสสะปะสร้างพระอุปคุตสร้างพระองคุลีมารผสมทองคำเปลวพร้อมนำดอกไม้มาบูชาถวายพระรัตนตรัย กรวดน้ำอุทิศบุญ ถวายข้าวพระพุทธ อนุโมทนาบุญกับผู้อื่น สนทนาธรรม
ถวายข้าวพระพุทธ อนุโมทนาบุญกับผู้อื่น รักษาอาการป่วยของผู้อื่น รักษาอาการป่วยของบิดามารดา จุดเทียนถวายพระรัตนตรัย
ปิดทอง สักการะพระธาตุ กราบอดีตสังขารเจ้าอาวาสที่ไม่เน่าเปื่อย ที่วัดแจ้ง อ.เมือง จ.ปราจีนบุรี ปิดทองพระ ปล่อยชีวิตสัตว์ถวายยาแก่ภิกษุ ไหว้พระตามวัดต่างๆ ขัดองค์พระ ให้ความรู้สมุนไพรในการดูแลสุขภาพเป็นทาน
และสร้างบารมีให้ครบทั้ง 10 อย่างขอเชิญร่วมบุญกุศลร่วมกันนะ



ร่วมบรรจุพระบรมสารีริกธาตุที่วัดพุทธอุทยานดอยอินทรีย์ เชียงราย
ติดได้สอบถามเพิ่มเติมได้ที่ 081-784-6835


เจ้าภาพทาสีอุโบสถ
________________________________________
โทร 081-0027915


ขอเชิญร่วมบูรณะและปิดทองพระบรมธาตุเจดีย์ ณ วัดป่าดาราภิรมย์ จังหวัดเชียงใหม่
ณ วัดป่าดาราภิรมย์ พระอารามหลวง
ตำบลริมใต้ อำเภอแม่ริม
จังหวัดเชียงใหม่
วันศุกร์ที่ ๓ สิงหาคม ๒๕๕๕



ร่วมทอดผ้าป่ามหากุศลสร้าง "พระมหาเจดีย์วัดศรีวิชัย" (หลวงปู่คำพันธ์ จันทูปโม)
โทร. 086-2259158



เชิญร่วมทำบุญ สร้างโบสถ์ วัดป่าโนนสะอาด อุดรธานี ยังขาดปัจจัยอีกเป็นจำนวนมาก
โทรศัพท์ 082-1159426



เชิญร่วมเป็นเจ้าภาพ ถวายวัดเกริ่นกฐิน สร้างพระพุทธรูปและสถานปฏิบัติธรรม
ทอดวันอาทิตย์ที่ 18 พฤศจิกายน 2555 เวลา 13.59น.
วัตถุประสงค์ นำปัจจัยสร้างพระพุทธกตัญญูปางถวายเนตร สูง 19 เมตร



ขอเชิญสร้างพระพุทธรูป ปางประทานพร หน้าตัก ๙ เมตร ณ วัดป่าวิสุทธิมรรค จ ขอนแก่น
๐๘๖ ๒๒๖ ๙๓๑๐


บูรณะศาลาวัดห้วยติ่งธารทอง อ.ศรีสัชนาลัย จ.สุโขทัย



มหากุศล ขอเชิญร่วมปิดทองแท้และเพชรประดับพระประธานอุโบสถ พระศรีอริยเมตไตรยพุทธเจ้า
โทร : ๐๘๔ ๘๑๗ ๕๒๔๘

<O </O




ร่วมถวายพระประธานพระพุทธรูปหินหยกขาว และสร้างศาลา ณ วัดถ้ำสัมพัน สกลนคร
ในวันอาทิตย์ที่ ๒ กันยายน พ.ศ. ๒๕๕๕ ตั้งแต่เวลา ๗ นาฬิกา เป็นต้นไป
สำหรับท่านที่มีความประสงค์ร่วมทำบุญผ่านทางธนาคาร
ธนาคารไทยพาณิชย์ สาขาบิ๊กซี อยุธยา
ชื่อบัญชี: ศราวุฒิ พิทักษ์วงศ์จินดา เลขที่บัญชี 401-670-7571



ขอเชิญร่วมเป็นเจ้าภาพสร้างมหาฐาตุเจดีย์วัดน้ำตกหินลาด เพื่อบรรจุพระสารีริกธาตุ
ณ วัดน้ำตกหินลาด 68/3 ม.3 ต.อ่างทอง อ.เกาะสมุย จ.สุราษฏร์ธานี 84140
(สำนักปฎืบัติธรรมประจำจังหวัดสุราษฎร์ธานี แห่งที่ 2)

สนใจร่วมเป็นเจ้าภาพ ติดต่อบริจาคได้ที่ กุฎิเจ้าอาวาส
พระครูสุธรรมทีปากร (หลวงพ่อธนิต) 077421066





ขอเชิญกราบนมัสการพระพุทธรูปองค์ใหญ่ที่สุดในประเทศไทย วัดม่วง จ.อ่างทอง


ขอเชิญร่วมบุญกฐินสร้างหอบูรพาจารย์วัดสร้างบก จ.สุรินทร์
วันเสาร์ที่ 17 พฤศจิกายน 2555
เวลา 19.00 น. ทำพิธีเจริญพระพุทธมนต์เพื่อสมโภชองค์กฐิน
วันอาทิตย์18 พฤศจิกายน 2555
เวลา 9.00 น. ทอดกฐินสามัคคี พระสงฆ์อนุโมทนา

ร่วมทำบุญ บ/ช นวรัตน์ วงศ์จินตกวี
ธ.กสิกรไทย สาขาดาวคนอง ออมทรัพย์
เลขที่ 080-2-01054-0
หรือ บ/ช กองทุนวัดบ้านสร้างบก
ธ.ออมสิน สาขา อ.รัตนบุรี
เลขที่ 052-630-946-524
ขอเชิญร่วมทำบุญ'สร้างโรงครัว'ที่วัดไทยในสังเวชนียสถาน ประเทศอินเดีย
081-8161223




ขอเชิญร่วมบุญเป็นเจ้าภาพ งานโครงสร้าง “พระเจดีย์เทวธรรม”
0868540049


ขอเชิญร่วมทำบุญเป็นเจ้าภาพเทพื้นคอนกรีตโรงครัว ๑๕๐ ตร.ม. ๆ ละ ๑๕๐ บาท
๐๘-๕๐๓๗-๐๓๗๐



ร่วมทำบุญ พระธรรมจักร,ล.ป.หมุน,ล.ป.ละมัย,ล.ป.คำบุ,ล.ป.ฟู,อ.หม่อม สร้างโบสถ์,กุฎิ,ห้องน้ำ ฯลฯ
0861595755



บุญเดินสายไฟและติดตั้งโคมไฟระย้าในวิหารพรหม วัดนาอุดม (ลป.ญาท่านสวน) อุบลฯ


บุญใหญ่-- เชิญเป็นเจ้าภาพ .ตอกไม้มงคล ๙ชนิด วางศิลาฤกษ์ศาลาพระพุทธเจ้า ๓ กาล..
โทร ๐๘๖-๘๐๓๒๐๐๑




ร่วมสร้างศาลาและที่ประดิษฐานรอยพระพุทธบาทจำลองหลังพระอาจาย์จาตุรงค์กลับจากธุดงค์
ธนาคารกสิกรไทย
สาขาโลตัส สุราษฎร์ธานี
ชื่อบัญชี น.ส. ณิชาภา ทับจันทร์
และ น.ส. พิณฤดี ชูชาติ
เลขที่ 556-2-23026-4




ขอเชิญร่วมทำบุญ เป็นเจ้าภาพทอดกฐินสามัคคี ประจำปี พ.ศ.2555 ในวันอาทิตย์ที่ 25 พฤศจิกายน พ.ศ.2555
http://www.sanggadjai.com/index.php?topic=3679.0


ขอเชิญร่วมทำบุญทอดผ้าป่าสามัคคี เพื่อสมทบทุนสร้างอุโบสถวัดพระพุทธบาทถ้ำป่าไผ่
โทร. ๐๘๙ ๘๕๐ ๓๕๐๒



2 ก.ย. 55 ผ้าป่าฯ สร้างอุปกรณ์สายไฟฟ้าถวายพระอาจารย์ไมย์ (วัดป่าภูหลวง จ.นครราชสีมา)
ท่านสามารถโอนเงินเข้าบัญชีธนาคาร นายภาวัช พิศาลสุพงศ ธนาคารไทยพาณิชย์ สาขาเดอะมอล์บางกะปิ บัญชีออมทรัพย์เลขที่ 160-244943-6



เชิญร่วมทอดผ้าป่าช่วยเหลือเด็กที่ถูกทารุณกรรม ล่วงละเมิดทางเพศ
กำหนดการ
วันอาทิตย์ที่ ๑๒ สิงหาคม พ.ศ.๒๕๕๕
ณ มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาเขตสิรินธรราชวิทยาลัย ในพระราชูปถัมภ์
ต.อ้อมใหญ่ อ.สามพราน จ.นครปฐม




หลวงพ่อเยื้อน ขันติพโล สร้างเจดีย์ครอบน้ำทรัพย์ (ซับ) ที่วัดเขาศาลาอตุลฐานะจาโร


ขอเชิญร่วมเป็นเจ้าภาพทอดผ้าป่าสามัคคี
เพื่อสมทบทุนสร้างรั้วและป้ายโรงเรียน
ณ โรงเรียนบ้านตาเส็ด ตำบลบักดอง อำเภอขุนหาญ จังหวัดศรีสะเกษ
วันที่ ๓๑ สิงหาคม - ๑ กันยายน พ.ศ. ๒๕๕๕
ครูเจ ปุณยนุช ๐๘๔-๖๖๑๙๐๓๓

หลังจากออกพรรษาปีนี้ ผมได้มีโอกาสเป็นเจ้าภาพกฐินร่วมกับชาวสิงคโปร์ เพื่อทอดที่วัดป่าแห่งหนึ่ง เขตอ.วังสามหมอ จ.อุดร (วัดนี้เป็นพระลูกศิษย์ของหลวงพ่อบุญมี วัดถ้ำเต่า อ.หนองวัวซอ)
กำหนดวันทอดกฐินคือวันที่ 18 พ.ย 2555 ในคืนวันที่ 17 พ.ย. พระผู้ใหญ่ท่านจะเมตตามาเทศนาแก่บรรดาเจ้าภาพและญาติโยมซึ่งจะมีชาวสิงคโปร์ไม่เข้าใจภาษาไทยเลย แต่อยากรับรู้ธรรมมะ
ผมจึงขอความเมตตามายังท่านผู้ที่เข้าใจภาษาอังกฤษดีและพร้อมจะสละเวลาเป็นล่ามแปลธรรมะแก่ชาวสิงคโปร์
ส่วนรายละเอียดต่างๆ รบกวนท่านที่พอจะมีเวลา และอยากร่วมทำบุญด้วยกับทางคณะ


ทอดกฐินสร้างพระธาตุบรรจุพระอุรังคธาตุ วัดป่าคูณคำวิปัสสนา
โทร 0818555307


ทอดกฐิน 3 วัด วัดโขงขาว,วัดธรรมยาน,วัดเขาวงถ้ำนารายณ์
089-7329660


ขอเชิญร่วมเป็นเจ้าภาพในการเปลี่ยนหลังคากุฎิ จากกระเบื้องเป็นเมทัลชีท ณ วัดซับพลู

ขอความช่วยเหลือพิมพ์พระไตรปิฎก ครั้งที่ 4
จัดทำถวายแก่ ....
สำนักสงฆ์โคกแหล่งควาย
พระสุทธิพงษ์ ธฺมมวัณโณ
บ้านจอมนาง หมู่ 2 ต.จุมพล
อ.โพนพิสัย จ.หนองคาย 43120
โทร. 088-330-6499


ร่วมบุญให้ความรู้ให้แก่พระภิกษุสงฆ์ และสามเณรวัดหนองก๋าย
081-7656469


ขอเชิญร่วมพิมพ์หนังสือ การปฏิบัติสมาธิภาวนา วิปัสสนาสังโยชน์ 10 สำหรับฆราวาส
081-5682612

ขอเชิญร่วมพิมพ์หนังสือสัมมาทิฏฐิ: ตามพระเถราธิบายของท่านพระสารีบุตรเถระ
081-5682612


ขอรับบริจาคหนังสือธรรมะฉบับการ์ตูน...เพื่อสอนธรรมะเด็กๆในหมู่บ้าน
สามารถส่งมาร่วมบุญได้ที่

ธัญญ์พิชชา แพรสีเขียว
72/739 หมู่ 6 หมู่บ้านไดมอนด์วิลล์ ถ.ฟ้าคราม ต.คูคต อ.ลำลุกกา จ.ปทุมธานี 12130



ขอเชิญร่วมเป็นเจ้าภาพและฟังธรรมเทศนา ในการจัดแสดงธรรมเทศนา
ในวันเสาร์ที่ 3 พย. 2555
ตั้งแต่เวลา 8.30-18.00 น.
ณ หอประชุมจักรพันธ์ฯ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ บางเขน
ท่านใดประสงค์จะเป็นเจ้าภาพออกโรงทานอาหาร น้ำดื่ม และอื่นๆ หรือสอบถามข้อมูลเพิ่มเติม ติดต่อได้ที่ คุณรุ 089-924-4591

หมายเลขบัญชีออมทรัพย์ 143-0-12236-6
ธนาคารกรุงไทย สาขาย่อย กฟผ.
ชื่อบัญชี น.ส.ชนาธิป วิระวงศ์พรหม

ขอเชิญร่วมทำบุญแห่เทียนเข้าพรรษา วันที่ 3 ส.ค.55 เวลา 06.00 น. วัดพิชัยญาติการาม คลองสาน

กลองเพลของวัดแตกใช้งานไม่ได้ หาผู้ร่วมบริจาค
โทร 0884543667



วันเสาร์ที่ 25 และวันอาทิตย์ที่ 26 สิงหาคม 2555

ภาคเช้า : 8.00 - 11.00 น.
ภาคบ่าย : 13.00 - 17.00 น.

สำหรับท่านที่ประสงค์จะมาร่วมสวดมนต์ทำวัตรเช้าหรือทำวัตรเย็น ตลอดจนร่วมปฏิบัติธรรมพร้อมฟังโอวาทธรรมจากองค์พระครูบา ก็ขออนุโมทนาล่วงหน้าเช่นกัน

ทำวัตรเช้า : 05.00 - 07.00 น.
ทำวัตรเย็น : 19.00 - 21.00 น.

สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมต่าง ๆ ได้ที่ คุณมณฑล โทร. 081-822-2500


พุทธสมาคมแห่งประเทศไทยฯ ขอเชิญพุทธศาสนิกชนเข้าร่วมปฏิบัติธรรม
โทร. ๐๒ – ๒๘๑ – ๙๕๖๓ – ๔ กด๑๒๐



บุญด่วน ขอเชิญร่วมทำบุญตั้งโรงทานอาหาร 3 ร้าน ในวันเข้าพรรษา วัดพิชัยญาติ คลองสาน
085-905-6066


ด่วน...ร่วมบริจาคบูรณะ พุทธมณฑล คอนกรีตตัวหนอนปูพื้นประมาณ 11,900 ตารางเมตร
ร่วมบริจาคสมทบทุนโครงการสร้างทางสร้างธรรม
บัญชี กระแสรายวัน ธ.กรุงเทพ สาขาอาคารมาลีนนท์
ชีื่อบัญชี "ครอบครัวข่าว 3 โครงการสร้างทางสร้างธรรม" หมายเลขบัญชี 014-3-00 47 37 หรือ บริจาคเงินออนไลน์ผ่านเว็บไซต์ www.thaiticketmajor.com



ขอความเมตตาอนุเคราะห์ช่วยเหลือร่วมทำบุญถวายค่าน้ำค่าไฟค่าภัตตาหารแก่วัดขาดแคลน
089-9555-870


ขอเชิญร่วมเป็นเจ้าภาพอุปสมบทพระภิกษุ จำพรรษาครบไตรมาส วัดพระธาตุศรีจอมทอง
089-8500105


ผ้าป่าสามัคคีเพื่อการส่งเสริมพัฒนาคุณภาพชีวิตคนตาบอด
โดยมีวาระการทอดผ้าป่าในวันที่ 9 สิงหาคม 2555
ณ วัดชากลูกหญ้า ต ห้วยโปร่ง อ เมือง จ ระยอง หรือท่านสามารถร่วมกุศลได้โดยการโอนเงินเข้าบัญชี ดังนี้

ชื่อบัญชี
สมาคมส่งเสริมและพัีฒนาคุณภาพชีวิตคนตาบอดไทย
ธนาคาร กรุงไทย ออมทรัพย์
สาขา ย่อยเซ็นจูรี่
เลขที่บัญชี 481-0-12902-2



ขอเชิญชวนผู้มีจิตศรัทธาทุกท่านร่วมสร้างศูนย์ปลูกถ่ายอวัยวะ โรงพยาบาลรามาธิบดี
0 2201 1111


ขอความอนุเคราะห์ค่าใช้จ่ายผ่าตัดเด็กกำพร้าที่กำลังขาดทั้งทรัพย์และกำลังใจ
ที่0816745110


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 01 ส.ค. 2012, 10:22 
 
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 6
สมาชิก ระดับ 6
ลงทะเบียนเมื่อ: 08 พ.ค. 2012, 02:09
โพสต์: 456


 ข้อมูลส่วนตัว


.. :b8:

อนุโมทนาแล้วๆๆ ..


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 02 ส.ค. 2012, 05:04 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
อาสาสมัคร
อาสาสมัคร
ลงทะเบียนเมื่อ: 06 มี.ค. 2009, 10:48
โพสต์: 5361


 ข้อมูลส่วนตัว


๙. ตถาคตอุตตริกรณียาภาวปัญหา ๙

พระเจ้ามิลินท์ตรัสว่า "พระผู้เป็นเจ้านาคเสน พระผู้เป็นเจ้ากล่าวอยู่ว่า 'กิจที่จำต้องกระทำอันใดอันหนึ่ง กิจทั้งปวงเหล่านั้น ของพระตถาคตเจ้า สำเร็จแล้วที่ควงแห่งไม้โพธินั่นเทียว, กิจที่จำต้องกระทำยิ่งขึ้นไป หรือความต้องก่อสร้างเพิ่มเติมกิจที่พระองค์ทรงกระทำแล้วไม่มีแด่พระตถาคต' ดังนี้. ก็ความหลีกออกเร้นอยู่แต่ผู้เดียวตลอดสามเดือนนี้ ยังปรากฏอยู่. พระผู้เป็นเจ้านาคเสน ถ้าว่ากิจที่จำต้องกระทำอันใดอันหนึ่ง กิจทั้งปวงนั้นของพระตถาคตสำเร็จแล้วที่ควงแห่งไม้โพธินั่นเทียว, กิจที่จำต้องกระทำยิ่งขึ้นไป หรือความต้องก่อสร้างเพิ่มเติมกิจที่พระองค์ทรงกระทำแล้ว ไม่มีแด่พระตถาคตไซร้; ถ้าอย่างนั้นคำที่ว่า 'พระตถาคตเสด็จหลีกออกเร้นอยู่แต่พระองค์เดียวตลอดสามเดือน' นั้นผิด. ถ้าว่าพระตถาคตเสด็จหลีกออกเร้นอยู่แต่พระองค์เดียวตลอดสามเดือนไซร้, ถ้าอย่างนั้น คำที่ว่า 'กิจที่จำต้องกระทำอันใดอันหนึ่ง กิจทั้งปวงเหล่านั้นของพระตถาคตเจ้าสำเร็จแล้วที่ควงแห่งไม้โพธินั่นเทียว, แม้นั้น ก็เป็นผิด. ความหลีกออกเร้นอยู่แต่ผู้เดียว ย่อมไม่มีแก่บุคคลผู้ที่กระทำกิจเสร็จแล้ว, ความเป็นผู้หลีกออกเร้นอยู่แต่ผู้เดียว ย่อมมีแก่บุคคลยังมีกิจจำต้องกระทำถ่ายเดียว. เหมือนธรรมดาบุคคลที่มีพยาธิความเจ็บไข้นั่นเทียว มีกิจจำต้องกระทำด้วยเภสัชคือต้องรักษาด้วยยา, บุคคลไม่มีพยาธิ จะมีประโยชน์อะไรด้วยยา คือ ไม่ต้องเยียวยาด้วยเภสัช, บุคคลผู้หิวนั่นเทียว มีกิจจำจะต้องกระทำด้วยโภชนะ คือ จะต้องบริโภคอาหาร บุคคลผู้ไม่หิว จะต้องการอะไรด้วยโภชนะ ข้อนี้ฉันใด; ความหลีกออกเร้นอยู่แต่ผู้เดียว ไม่มีแก่ บุคคลที่ได้กระทำกิจเสร็จแล้ว, ความหลีกออกเร้นอยู่แต่ผู้เดียว ย่อมมีแก่บุคคลที่ยังมีกิจจำต้องกระทำถ่ายเดียว ฉันนั้นนั่นเทียวแล. ปัญหาแม้นี้สองเงื่อน มาถึงพระผู้เป็นเจ้าแล้ว, ปัญหานั้น พระผู้เป็นเจ้าพึงขยายคลายออกให้ข้าพเจ้าสิ้นสงสัยเถิด."
ถ. "ขอถวายพระพร บรรดากิจที่จำต้องกระทำอันใดอันหนึ่งกิจทั้งปวงนั้น ของพระตถาคตเจ้าสำเร็จแล้วที่ควงแห่งไม้โพธินั่นเทียว, กิจที่จำจะต้องกระทำยิ่งขึ้นไป หรือความก่อสร้างเพิ่มเติมกิจที่พระองค์ได้ทรงกระทำแล้ว ย่อมไม่มีแด่พระตถาคต อนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าหลีกออกเร้นอยู่แต่พระองค์เดียวแล้วตลอดสามเดือน. ความหลีกออกเร้นอยู่แต่ผู้เดียวแล เป็นกิจมีคุณมาก, พระตถาคตเจ้าทั้งหลายแม้ทั้งปวง เสด็จหลีกออกเร้นอยู่แต่พระองค์เดียวแล้ว จึงบรรลุความเป็นพระสัพพัญญู, พระตถาคตเจ้าทั้งหลายนั่นมาระลึกถึงความหลีกออกเร้นอยู่แต่ผู้เดียวนั้นว่า มีคุณได้กระทำแล้วดี ย่อมเสพความหลีกออกเร้นอยู่แต่ผู้เดียวนั้น. อุปมาเหมือนบุรุษได้พรแต่สำนักของพระมหากษัตริย์แล้ว รวยทรัพย์และโภคะขึ้นแล้ว มาระลึกถึงพระมหากษัตริย์นั่นว่า เป็นผู้มีคุณได้ทรงกระทำไว้แก่ตนด้วยดีแล้ว หมั่นไปสู่ที่เป็นที่บำรุงของพระมหากษัตริย์เนือง ๆ ฉันใด, พระตถาคตเจ้าทั้งหลายแม้ทั้งปวง เสด็จหลีกออกเร้นอยู่แต่พระองค์เดียวแล้ว จึงบรรลุความเป็นพระสัพพัญญู, พระองค์มาทรงระลึกถึงความหลีกออกเร้นอยู่แต่ผู้เดียวนั้นว่า มีคุณได้กระทำดีแล้ว ย่อมเสพความหลีกออกเร้นอยู่แต่ผู้เดียวนั้น ฉันนั้นนั่นเทียวแล.
อีกอย่างหนึ่ง บุรุษที่กระสับกระส่าย เสวยทุกขเวทนาเป็นไข้หนักเข้าไปเสพหมอแล้ว จึงถึงความสวัสดี หายโรคหายไข้แล้ว มาระลึกถึงหมอนั้นว่า เป็นผู้มีคุณ ได้กระทำดีแล้วแก่ตน หมั่นเข้าไปเสพหมอนั้นเนือง ๆ ฉันใด, พระตถาคตเจ้าทั้งหลายแม้ทั้งปวง เสด็จหลีกออกเร้นอยู่แต่พระองค์เดียวแล้ว จึงถึงความเป็นพระสัพพัญญู, พระองค์มาระลึกถึงความหลีกออกเร้นอยู่แต่ผู้เดียวนั้นว่า มีคุณ ได้กระทำดีแล้วแก่พระองค์ จึงทรงเสพความหลีกออกเร้นอยู่แต่ผู้เดียวนั้น ฉันนั้นนั่นเทียวแล.
ขอถวายพระพร คุณแห่งความหลีกออกเร้นอยู่แต่ผู้เดียวทั้งหลายเหล่านี้ ยี่สิบแปดประการ พระตถาคตเจ้าทั้งหลายมาทรงเล็งเห็นคุณทั้งหลายเหล่าไร่เล่า จึงทรงเสพความหลีกออกเร้นอยู่แต่ผู้เดียว, คุณยี่สิบแปดประการ เป็นไฉน? ในโลกนี้ ความหลีกออกเร้นอยู่แต่ผู้เดียว ย่อมรักษาบุคคลผู้หลีกออกเร้นอยู่แต่ผู้เดียวไว้หนึ่ง, ย่อมทำอายุของบุคคลผู้หลีกออกเร้นอยู่แต่ผู้เดียวนั้นให้เจริญขึ้นหนึ่ง, ย่อมให้กำลังหนึ่ง, ย่อมปิดโทษเสียหนึ่ง, ย่อมนำความเสื่อมยศออกเสียหนึ่ง, ย่อมนำยศเข้าไปให้หนึ่ง, ย่อมบรรเทาอรติความไม่ยินดีเสียหนึ่ง, เข้าไปตั้งความยินดีไว้หนึ่ง, ย่อมนำความกลัวออกเสียหนึ่ง, ย่อมกระทำความเป็นคนกล้าหาญไม่ครั่นคร้ามหนึ่ง, ย่อมนำความเป็นคนเกียจคร้านออกเสียหนึ่ง, ย่อมยังความเพียรให้เกิดยิ่งขึ้นหนึ่ง, ย่อมนำราคะให้ปราศจากสันดานหนึ่ง, ย่อมนำโทสะให้ปราศจากสันดานหนึ่ง, ย่อมนำโมหะให้ปราศจากสันดานหนึ่ง, ย่อมกำจัดมานะออกเสียจากสันดานหนึ่ง, ย่อมละวิตกเสียหนึ่ง, ย่อมกระทำจิตให้มีอารมณ์เป็นอันเดียวหนึ่ง, ย่อมกระทำใจให้สนิทหนึ่ง, ย่อมยังความร่าเริงให้เกิดหนึ่ง, ย่อมกระทำความเป็นครูหนึ่ง, ย่อมยังลาภให้เกิดขึ้นหนึ่ง, ย่อมกระทำผู้หลีกออกเร้นอยู่แต่ผู้เดียวนั้นให้เป็นผู้ควรกราบไหว้หนึ่ง, ย่อมให้ถึงปีติความอิ่มกายอิ่มใจหนึ่ง, ย่อมกระทำความปราโมทย์หนึ่ง, ย่อมให้เห็นความเป็นเองของสังขารทั้งหลายหนึ่ง, ย่อมเลิกถอนปฏิสนธิในภพเสียหนึ่ง, ย่อมให้ผลเป็นของสมณะทั้งปวงหนึ่ง, คุณของปฏิสัลลานะ ความหลีกออกเร้นอยู่แต่ผู้เดียวทั้งหลายเหล่านี้แล พระตถาคตเจ้าทั้งหลายทรงพิจารณาเนือง ๆ ด้วยดี เห็นคุณทั้งหลายเหล่าไรเล่า จึงทรงเสพปฏิสัลลานะความหลีกออกเร้นอยู่แต่ผู้เดียว. เออก็พระตถาคตเจ้าทั้งหลาย พระองค์สุดสิ้นความดำริแล้ว พระองค์ใคร่เพื่อจะเสวยความยินดีในสมาบัติเป็นสุขอันละเอียด ย่อมทรงเสพความหลีกออกเร้นอยู่แต่ผู้เดียวแล.
ขอถวายพระพร พระตถาคตเจ้าทั้งหลายทรงเสพความหลีกออกเร้นอยู่แต่ผู้เดียว โดยเหตุสี่ประการ, พระตถาคตเจ้าทั้งหลายทรงเสพความหลีกออกเร้นอยู่แต่ผู้เดียว โดยเหตุสี่ประการ เป็นไฉน? พระตถาคตเจ้าทั้งหลายทรงเสพความหลีกออกเร้นอยู่แต่ผู้เดียว โดยความที่พระองค์เป็นผู้มีวิหารธรรม เครื่องอยู่เป็นสุขสำราญบ้าง, โดยความที่พระองค์เป็นผู้มีคุณปราศจากโทษมากบ้าง, โดยความที่ปฏิสัลลานะนั้น เป็นวิถีของพระอริยเจ้าไม่มีส่วนเหลือบ้าง, โดยความที่ปฏิสัลลานะนั้น เป็นคุณที่พระพุทธเจ้าทั้งหลายทั้งปวงชมแล้ว ยกย่องแล้ว พรรณนาแล้ว และสรรเสริญแล้วบ้าง, พระตถาคตเจ้าทั้งหลายทรงเสพปฏิสัลลานะ ความหลีกออกเร้นอยู่แต่ผู้เดียว โดยเหตุสี่ประการเหล่านี้แล. พระตถาคตเจ้าทั้งหลายทรงเสพปฏิสัลลานะ ด้วยเหตุดังพรรณนามา ฉะนี้, จะทรงเสพโดยความที่พระองค์ยังเป็นผู้มีกิจจำต้องกระทำ หามิได้, หรือจะทรงเสพเพื่อความก่อสร้างเพิ่มเติมกิจที่พระองค์ได้ทรงกระทำแล้ว ก็หาไม่, พระตถาคตเจ้าทั้งหลายทรงเสพความหลีกออกเร้นอยู่แต่ผู้เดียว โดยความที่พระองค์เป็นผู้ทรงพิจารณาเห็นคุณพิเศษโดยส่วนเดียวแล."
ร. "ดีละ พระผู้เป็นเจ้านาคเสน ข้อวิสัชนาของพระผู้เป็นเจ้าสมอย่างนั้น, ข้าพเจ้ายอมรับรองอย่างนั้น."

๑๐. อิทธิปาทพลทัสสนปัญหา ๑๐

ร. "พระผู้เป็นเจ้านาคเสน พระพุทธพจน์นี้ อันพระผู้มีพระภาคเจ้าแม้ภาสิตแล้วว่า 'ดูก่อนอานนท์ อิทธิบาทสี่ประการ อันพระตถาคตได้ให้เจริญแล้ว กระทำให้มากแล้ว กระทำให้เป็นประหนึ่งยานเครื่องไปแล้ว กระทำให้เป็นวัตถุที่ตั้งแล้ว ตั้งขึ้นเนือง ๆ แล้วสั่งสมแล้วปรารภพร้อมด้วยดีแล้วแล; ดูก่อนอานนท์ พระตถาคตเมื่อหวัง พึงดำรงพระชนม์อยู่ได้ตลอดกัปป์หนึ่งบ้าง เลยกัปป์หนึ่งบ้าง' ดังนี้. พระผู้เป็นเจ้านาคเสน ถ้าพระผู้มีพระภาคตรัสแล้วว่า 'ดูก่อนอานนท์ อิทธิบาททั้งหลายสี่ อันพระตถาคตได้เจริญแล้ว กระทำให้มากแล้ว กระทำให้เป็นประหนึ่งยานเครื่องไปแล้ว กระทำให้เป็นวัตถุที่ตั้งแล้ว ตั้งขึ้นเนือง ๆ แล้ว สั่งสมแล้ว ปรารภพร้อมด้วยดีแล้วแล; ดูก่อนอานนท์ พระตถาคตเมื่อหวัง พึงดำรงพระชนม์อยู่ได้ตลอดกัปป์หนึ่งบ้าง เลยกัปป์หนึ่งขึ้นไปบ้าง' ดังนี้ ถ้าอย่างนั้นความกำหนดไตรมาสสามเดือนเป็นผิด ถ้าพระตถาคตได้ตรัสแล้วว่า 'พระตถาคตจักปรินิพพาน โดยกาลที่เดือนทั้งหลายสามแต่วันนี้ล่วงไปแล้ว' ดังนี้. ถ้าอย่างนั้น คำที่ว่า 'ดูก่อนอานนท์ อิทธิบาทสี่ประการอันพระตถาคตได้เจริญแล้ว กระทำให้มากแล้ว กระทำให้เป็นประหนึ่งยานเครื่องไปแล้ว กระทำให้เป็นวัตถุที่ตั้งแล้ว ตั้งขึ้นเนือง ๆ แล้ว สั่งสมแล้ว ปรารภพร้อมด้วยดีแล้วแล; ดูก่อนอานนท์ พระตถาคตเมื่อหวังพึงดำรงพระชนม์อยู่ได้ตลอดกัปป์หนึ่งบ้าง เลยกัปป์หนึ่งขึ้นไปบ้าง' ดังนี้ แม้นั้นก็เป็นผิดไป. ความบันลือในที่มิใช่เหตุ ย่อมไม่มีแก่พระตถาคตเจ้าทั้งหลาย, พระผู้มีพระภาคเจ้าผู้ตรัสรู้แล้วทั้งหลาย มีพระพุทธพจน์ไม่เปล่า มีพระพุทธพจน์เที่ยงแท้ มีพระพุทธพจน์ไม่เป็นไปโดยส่วนสอง. ปัญหาแม้นี้สองเงื่อน เป็นของลึกละเอียดนัก พึงยังบุคคลให้เห็นโดยยากเกิดขึ้นแล้ว, ปัญหานั้นมาถึงพระผู้เป็นเจ้าแล้ว, พระผู้เป็นเจ้าจงทำลายร่างข่าย คือ ทิฏฐินั้น, ยังข้าพเจ้าให้ตั้งอยู่ในส่วนอันเดียว, จงทำลายปรัปปวาทเสีย."
ถ. "ขอถวายพระพร พระพุทธพจน์นี้ อันพระผู้มีพระภาคแม้ภาสิตแล้วว่า 'ดูก่อนอานนท์ อิทธิบาทสี่ประการ อันพระตถาคตได้ให้เจริญแล้ว กระทำให้มากแล้ว กระทำให้เป็นประหนึ่งยานเครื่องไปแล้วกระทำให้เป็นวัตถุที่ตั้งแล้ว ตั้งขึ้นเนือง ๆ แล้ว สั่งสมแล้ว ปรารภพร้อมด้วยดีแล้วแล; ดูก่อนอานนท์ พระตถาคตเมื่อหวัง พึงตั้งอยู่ได้ตลอดกัปป์หนึ่งบ้าง เลยกัปป์หนึ่งขึ้นไปบ้าง' ดังนี้. และความกำหนดไตรมาสพระองค์ก็ตรัสแล้ว. ก็แหละกัปป์นั้น คือ อายุกัปป์ กาลเป็นที่กำหนดอายุ พระผู้มีพระภาคย่อมตรัสว่ากัปป์. พระผู้มีพระภาคจะทรงสรรเสริญกำลังของพระองค์ตรัสอย่างนี้ หามิได้, ก็แต่ว่า พระองค์ทรงสรรเสริญกำลับแห่งฤทธิ์ ตรัสอย่างนี้ว่า 'ดูก่อนอานนท์ อิทธิบาทสี่ประการ อันพระตถาคตได้ให้เจริญแล้ว กระทำให้มากแล้ว กระทำให้เป็นประหนึ่งยานเครื่องไปแล้ว กระทำให้เป็นวัตถุที่ตั้งแล้ว ตั้งขึ้นเนือง ๆ แล้ว สั่งสมแล้ว ปรารภพร้อมด้วยดีแล้วแล; ดูก่อนอานนท์พระตถาคตเมื่อหวัง พึงตั้งอยู่ได้ตลอดกัปป์หนึ่งบ้าง เลยกัปป์หนึ่งขึ้นไปบ้าง' ดังนี้.
ถ้าจะพึงมีม้าอาชาไนยของพระมหากษัตริย์ มีฝีเท้าเร็ว เชาว์ไวดังลม. พระมหากษัตริย์จะทรงอวดกำลังเชาว์ของม้าอาชาไนยนั้น พึงตรัสในท่านกลางแห่งชน กับทั้งชาวนิคมและชาวชนบท และราชภัฏหมู่พล และพราหมณคฤหบดี และอมาตย์ อย่างนี้ว่า 'แน่ะพ่อเฮ้ย ม้าประเสริฐนี้ของเรา เมื่อจำนง จะพึงเที่ยวไปตลอดแผ่นดินมีน้ำในสาครเป็นที่สุดแล้ว จึงกลับมาในที่นี้โดยขณะหนึ่งได้,' พระมหากษัตริย์นั้นจะพึงแสดงความไปว่องไวนั้นในบริษัทนั้น ก็หาไม่, ก็แต่ว่า ความว่องไวของม้านั้นมีอยู่, ด้วยม้าอาชาไนยนั้นอาจเพื่อจะเที่ยวไปตลอดแผ่นดินมีน้ำในสาครเป็นที่สุดด้วย ฉันใด; พระผู้มีพระภาคเจ้าจะทรงสรรเสริญกำลังแห่งฤทธิ์ของพระองค์ จึงตรัสแล้วอย่างนี้ ฉันนั้น, แม้พระพุทธพจน์นั้น พระองค์เสด็จนั่ง ณ ท่ามกลางแห่งบุคคลมีวิชชาสามทั้งหลายด้วย แห่งบุคคลมีอภิญญาหกทั้งหลายด้วย แห่งพระอรหันต์ทั้งหลายด้วย แห่งพระขีณาสพผู้ปราศจากมลทินทั้งหลายแล้วด้วย แห่งเทพดาและมนุษย์ทั้งหลายด้วย ตรัสแล้วว่า 'ดูก่อนอานนท์ อิทธิบาทสี่ประการ อันพระตถาคตได้ให้เจริญแล้ว กระทำให้มากแล้ว กระทำให้เป็นประหนึ่งยานเครื่องไปแล้ว กระทำให้เป็นวัตถุที่ตั้งแล้ว ตั้งขึ้นเนือง ๆ แล้ว สั่งสมแล้ว ปรารภพร้อมด้วยดีแล้วแล; ดูก่อนอานนท์ พระตถาคตเมื่อหวัง พึงตั้งอยู่ได้ตลอดกัปป์หนึ่งบ้าง เลยกัปป์หนึ่งขึ้นไปบ้าง' ดังนี้; ก็แหละ กำลังแห่งฤทธิ์ของพระผู้มีพระภาคเจ้านั้นมีอยู่ด้วย, พระผู้มีพระภาคเจ้าก็เป็นผู้อาจเพื่อจะดำรงพระชนมายุได้ตลอดกัปป์หนึ่งบ้าง หรือตลอดกาลเลยกัปป์หนึ่งขึ้นไปบ้าง, ด้วยพระองค์จะทรงแสดงกำลังแห่งฤทธิ์นั้นในบริษัทนั้น ก็หาไม่. พระผู้มีพระภาคเจ้าไม่มีความต้องการด้วยภพทั้งปวง, อนึ่ง พระตถาคตเจ้าทรงติเตียนภพทั้งปวงแล้ว. แม้พระพุทธพจน์นี้ อันพระผู้มีพระภาคได้ทรงภาสิตแล้วว่า 'ดูก่อนภิกษุทั้งหลายธรรมดาคูถแม้มีประมาณน้อย ก็มีกลิ่นชั่วเหม็นร้าย แม้ฉันใด, ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราตถาคตไม่พรรณนาสรรเสริญภพแม้มีประมาณน้อย, โดยส่วนสุดแม้เพียงหยิบมือเดียว เราตถาคตก็ไม่สรรเสริญ ฉันนั้นโดยแท้.' พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงเห็นภพและคติและกำเนิดทั้งปวง เสมอด้วยคูถแล้ว จะพึงอาศัยกำลังแห่งฤทธิ์กระทำความยินดีด้วยอำนาจความพอใจในภพทั้งหลายบ้างเทียวหรือ ขอถวายพระพร."
ร. "ข้าแต่พระผู้เป็นเจ้าผู้เจริญ พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ทรงเห็นภพและคติและกำเนิดทั้งปวง เสมอด้วยคูถแล้ว ซึ่งจะทรงอาศัยกำลังแห่งฤทธิ์กระทำฉันทราคในภพหาไม่เลย."
ถ. "ขอถวายพระ ถ้าอย่างนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้า เมื่อจะทรงสรรเสริญกำลังแห่งฤทธิ์ ทรงบันลือสีหนาทของพระพุทธเจ้าเห็นปานนั้นยิ่งแล้ว."
ร. "พระผู้เป็นเจ้านาคเสน ดีละ ข้อวิสัชนาปัญหานี้ สมอย่างนั้น, ข้าพเจ้ายอมรับรองอย่างนั้น."



วรรคที่สอง
๑. ขุททานุขุททกปัญหา ๑๑

พระเจ้ามิลินท์ตรัสว่า "พระผู้เป็นเจ้านาคเสน พระพุทธพจน์นี้ พระผู้มีพระภาคแม้ตรัสแล้วว่า 'ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราตถาคตแสดงธรรมเพื่อความตรัสรู้ยิ่ง มิได้แสดงธรรมเพื่อความไม่ตรัสรู้ยิ่ง ดังนี้. ส่วนว่าในวินัยบัญญัติ พระองค์ตรัสแล้วอย่างนี้อีกว่า 'ดูก่อนอานนท์ พระสงฆ์เมื่อจำนง จงเลิกถอนสิกขาบททั้งหลายน้อยและน้อยโดยลำดับ โดยกาลที่เราตถาคตล่วงไปแล้ว' ดังนี้. พระผู้เป็นเจ้านาคเสน สิกขาบททั้งหลายน้อยและน้อยโดยลำดับ โดยกาลที่พระองค์ล่วงไปแล้ว. พระผู้เป็นเจ้านาคเสน ถ้าว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสแล้วว่า 'ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราตถาคตแสดงธรรมเพื่อความตรัสรู้ยิ่ง มิได้แสดงธรรมเพื่อความไม่ตรัสรู้ยิ่ง' ดังนี้, ถ้าอย่างนั้น คำที่ว่า 'ดูก่อนอานนท์โดยกาลที่เราผู้ตถาคตล่วงไปแล้ว พระสงฆ์เมื่อจำนงจะเลิกถอนสิกขาบททั้งหลายน้อยและน้อยโดยลำดับเสีย ก็เลิกถอนเถิด' ดังนี้ นั้นผิด. ถ้าพระตถาคตตรัสแล้วในวินัยบัญญัติอย่างนี้ว่า 'ดูก่อนอานนท์ โดยกาลที่เราผู้ตถาคตล่วงไปแล้ว พระสงฆ์เมื่อจำนง จะเลิกถอนสิกขาบททั้งหลายน้อยและน้อยโดยลำดับเสีย ก็จงเลิกถอนเถิด' ดังนี้, ถ้าอย่างนั้นคำที่ว่า 'ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราตถาคตแสดงธรรมเพื่อความตรัสรู้ยิ่ง มิได้แสดงธรรมเพื่อความไม่ตรัสรู้ยิ่งแล้ว' ดังนี้ แม้นั้นเป็นผิด. ปัญหาแม้นี้สองเงื่อน ละเอียดสุขุม ละเอียดด้วยดีแล้ว ลึก ๆ ด้วยดีแล้ว อันบัณฑิตพึงให้เห็นโดยยาก มาถึงพระผู้เป็นเจ้าแล้ว, พระผู้เป็นเจ้าจงแสดงความแผ่ไพศาลแห่งกำลังญาณของพระผู้เป็นเจ้า ในปัญหานั้นเถิด."
ถ. "ขอถวายพระพร พระพุทธพจน์นี้ อันพระผู้มีพระภาคแม้ภาสิตแล้วว่า 'ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราตถาคตแสดงธรรมเพื่อความตรัสรู้ยิ่ง มิได้แสดงธรรมเพื่อความไม่ตรัสรู้ยิ่ง' ดังนี้. แม้ในวินัยบัญญัติ พระองค์ตรัสแล้วอย่างนี้ว่า 'ดูก่อนอานนท์ โดยกาลที่เราผู้ตถาคตล่วงไปแล้ว พระสงฆ์เมื่อจำนง จะเลิกถอนสิกขาบททั้งหลายน้อยและน้อยโดยลำดับเสีย ก็จงเลิกถอนเถิด' ดังนี้. ก็แต่พระตถาคตเจ้าทรงลองใจภิกษุทั้งหลายว่า 'สาวกทั้งหลายของเราผู้ตถาคต เราผู้ตถาคตให้สละละวางสิกขาบท โดยกาลที่เราผู้ตถาคตล่วงไปแล้ว จักละวางสิกขาบททั้งหลาย น้อยและน้อยโดยลำดับหรือว่าจักถือเอาสิกขาบททั้งหลาย น้อยและน้อยโดยลำดับ' จึงตรัสพุทธพจน์นั้น. อุปมาเหมือนพระเจ้าจักรพรรดิ มีพระราชโองการตรัสกะพระราชโอรสทั้งหลายอย่างนี้ว่า 'พ่อทั้งหลาย มหาชนบทนี้แลมีสาครเป็นที่สุดรอบในทิศทั้งปวง' พ่อทั้งหลาย เจ้าทั้งหลายยากที่จะกระทำเพื่อจะทรงไว้ด้วยกำลังมีประมาณเท่านั้น, เจ้าทั้งหลายมาเถิด โดยกาลที่เราล่วงไปแล้ว เจ้าทั้งหลายละตำบลทั้งหลายที่ตั้งอยู่ในที่สุดแห่งแดน ๆ เสียเถิด, ดังนี้; พระราชกุมารทั้งหลายเหล่านั้น โดยกาลที่พระชนกล่วงไปแล้ว จะพึงละวางตำบลทั้งหลายที่ตั้งอยู่ในที่สุดแห่งแดน ๆ เหล่านั้นทั้งปวง ในชนบทที่ถึงพระหัตถ์แล้วบ้างหรือแล ขอถวายพระพร."
ร. "หาไม่ พระผู้เป็นเจ้า ธรรมดาพระมหากษัตริย์ทั้งหลายมีความปรารถนายิ่งนัก, พระราชกุมารทั้งหลายพึงรวบรวมชนบทสองเท่าสามเท่ายิ่งขึ้นไปกว่าชนบทที่ถึงพระหัตถ์แล้วนั้น ด้วยความโลภในราชสมบัติ, พระราชกุมารทั้งหลายเหล่านั้นจะพึงละวางชนบทที่ถึงพระหัตถ์แล้วอะไรเล่า."
ถ. "ขอถวายพระพร พระตถาคตเจ้าเมื่อลองใจภิกษุทั้งหลาย ตรัสแล้วอย่างนี้ว่า 'ดูก่อนอานนท์ โดยกาลที่เราผู้ตถาคตล่วงไปแล้ว พระสงฆ์เมื่อจำนงจะเลิกถอนสิกขาบททั้งหลายน้อยและน้อยโดยลำดับเสีย ก็เลิกถอนเถิด' ดังนี้. พระพุทธโอรสทั้งหลาย พึงคุ้มครองรักษาสิกขาบทสองร้อยห้าสิบที่ยิ่งแม้อื่นด้วยความโลภในธรรม เพื่อความพ้นจากทุกข์, พระพุทธโอรสทั้งหลาย พึงละวางสิกขาบทที่พระตถาคตทรงบัญญัติไว้แล้วโดยปกติอะไรเล่า ฉันนั้นนั่นเทียวแล."
ร. "พระผู้เป็นเจ้านาคเสน พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสพระพุทธพจน์ใดว่า 'สิกขาบททั้งหลายน้อยและน้อยโดยลำดับ' ดังนี้, ชนนี้หลงแล้ว เกิดความสงสัยแล่นไปสู่ความสงสัยโดยยิ่ง ในพระพุทธพจน์นี้ว่า 'สิกขาบทเหล่านั้น สิกขาบทเหล่าไหน ชื่อว่าสิกขาบทน้อย สิขาบทเหล่าไหน ชื่อว่าสิกขาบทน้อยโดยลำดับ."
ถ. "ขอถวายพระพร สิกขาบททุกกฏ ชื่อว่าสิกขาบทน้อย สิกขาบททุพภาสิต ชื่อว่าสิกขาบทน้อยตามลำดับ, สองสิกขาบทเหล่านี้ ชื่อว่าสิกขาบททั้งหลายน้อยและน้อยโดยลำดับ. แม้พระเถระผู้ใหญ่ทั้งหลายมีแล้วในก่อน ให้เกิดความสงสัยในปัญหาข้อนี้, ปัญหานั้นอันพระผู้มีพระภาคมิได้ทรงกระทำในที่อันเดียวกัน แม้โดยพระเถระทั้งหลายเหล่านั้น ปัญหานี้พระผู้มีพระภาคแสดงแล้ว เพราะปริยายเพื่อความตั้งมั่นแห่งพระธรรม."
ร. "พระผู้เป็นเจ้า ข้อลี้ลับของพระพุทธเจ้าผู้ชนะแล้ว พระผู้เป็นเจ้าเก็บไว้นานแล้ว พระผู้เป็นเจ้ามาเปิดแล้ว กระทำให้ปรากฏแล้วในโลก ในกาลนี้ ในวันนี้."

๒. ฐปนียาพยากรณปัญหา ๑๒

พระราชาตรัสถามว่า "พระผู้เป็นเจ้า พระพุทธพจน์นี้ อันพระผู้มีพระภาคแม้ได้ทรงภาสิตแล้วว่า 'ดูก่อนอานนท์ กำมือของอาจารย์ในธรรมทั้งหลาย ไม่มีแด่พระตถาคต'ดังนี้. ก็แต่พระผู้มีพระภาคเจ้าอันพระเถระผู้บุตรแห่งนางพราหมณีชื่อ มาลุงกยะ มาทูลถามปัญหาอีกไม่ทรงพยากรณ์แล้ว. ปัญหานี้มีส่วนสอง จักเป็นปัญหาอาศัยส่วนหนึ่งแล้ว โดยความไม่รู้บ้าง โดยความกระทำความซ่อนบ้าง. ถ้าว่าพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสแล้วว่า 'ดูก่อนอานนท์ กำมือของอาจารย์ในธรรมทั้งหลาย ไม่มีแด่พระตถาคต' ดังนี้. ถ้าอย่างนั้น พระองค์เมื่อไม่รู้ จึงไม่พยากรณ์แก่พระเถระผู้บุตรแห่งนางพราหมณีชื่อ มาลุงกยะ. ถ้าว่าพระองค์รู้อยู่ ไม่พยากรณ์, ถ้าอย่างนั้น กำมือของอาจารย์ในธรรมทั้งหลาย ย่อมมีแด่พระตถาคต. ปัญหาแม้นี้สองเงื่อน มาถึงพระผู้เป็นเจ้าแล้ว, ปัญหานั้นพระผู้เป็นเจ้าพึงขยายให้แจ่มแจ้งเถิด."
พระเถรเจ้าทูลว่า "ขอถวายพระพร พระผู้มีพระภาคเจ้า แม้ได้ทรงภาสิตพระพุทธพจน์นี้ว่า 'ดูก่อนอานนท์ กำมือของอาจารย์ในธรรมทั้งหลาย ย่อมไม่มีแด่พระตถาคต' ดังนี้. ส่วนพระเถระมาลุงกยบุตรมาทูลถามปริศนาแล้ว พระองค์ไม่ทรงพยากรณ์แล้ว, ก็แหละความไม่ทรงพยากรณ์นั้น พระองค์จะได้ทรงกระทำด้วยความไม่รู้ ก็หาไม่ จะได้ทรงกระทำโดยความกระทำความซ่อน ก็หาไม่. ความพยากรณ์ปัญหาทั้งหลายเหล่านี้ มีสี่ประการ, ความพยากรณ์ปัญหาสี่ประการเป็นไฉน ? ปัญหาที่จำต้องพยากรณ์โดยส่วนเดียวหนึ่ง, ปัญหาที่ต้องแจกพยากรณ์หนึ่ง, ปัญหาที่ต้องย้อนถามแล้วจึงพยากรณ์หนึ่ง, ปัญหาที่จำต้องยกไว้หนึ่ง, ปัญหาที่ต้องย้อนถามแล้วจึงพยากรณ์หนึ่ง, ปัญหาที่จำต้องยกไว้หนึ่ง, ก็ปัญหาที่จำต้องพยากรณ์โดยส่วนเดียวเป็นไฉน? ปัญหาที่จำต้องพยากรณ์โดยส่วนเดียวว่า "รูปํ อนิจจํ" รูปไม่เที่ยง "เวทนา อนิจจา" เวทนาไม่เที่ยง "สญญา อนิจจา" ความจำหมายไม่เที่ยง "สังขารา อนิจจา" สังขารทั้งหลายไม่เที่ยง "วิญญาณํ อนิจจํ" วิญญาณไม่เที่ยง; นี้ปัญหาที่จำต้องพยากรณ์โดยส่วนเดียว.
ปัญหาที่ต้องแจกพยากรณ์เป็นไฉน? ปัญหาว่า "รูปเป็นของไม่เที่ยงหรือเล่า," "เวทนา, สัญญา, สังขาร, วิญญาณ, เป็นของไม่เที่ยงหรือเล่า ดังนี้" ละอย่าง ๆ เป็นปัญหาต้องแจกพยากรณ์ละอย่าง ๆ; นี้ เป็นปัญหาต้องแจกพยากรณ์.
ปัญหาต้องย้อนถามแล้วจึงพยากรณ์เป็นไฉน? ปัญหาว่า "บุคคลย่อมรู้แจ้งสิ่งทั้งปวงด้วยจักษุหรือหนอแล" ดังนี้, เป็นปัญหาต้องย้อนถามแล้วจึงพยากรณ์.
ปัญหาที่ควรงดไว้เป็นไฉน? ปัญหาว่า "โลกเที่ยงหรือ" ดังนี้ เป็นปัญหาควรงดไว้, ปัญหาว่า "โลกไม่เที่ยงหรือ," "โลกมีที่สุด," "โลกไม่มีที่สุด," "โลกมีที่สุดด้วยไม่มีที่สุดด้วย," "โลกมีที่สุดก็ไม่ใช่ไม่มีที่สุดก็ไม่ใช่," "ชีวิตก็อันนั้น สรีระก็อันนั้น," "ชีวิตต่างหาก สรีระต่างหาก,' "สัตว์มีในเบื้องหน้าแต่ความตาย," "สัตว์ไม่มีในเบื้องหน้าแต่ความตาย," "สัตว์มีด้วย ไม่มีด้วย ในเบื้องหน้าแต่ความตาย," "สัตว์มีก็ไม่ใช่ ไม่มีก็ไม่ใช่ในเบื้องหน้าแต่ความตาย," เป็นปัญหาควรงดคือไม่ควรแก้ละอย่าง ๆ;นี้เป็นปัญหาควรงดไว้. พระผู้มีพระภาคไม่ทรงพยากรณ์ปัญหาควรงดนั้น แก่พระเถระมาลุงกยุบตร. และปัญหานั้นควรงดเพราะเหตุอะไร? เหตุหรือการณ์เพื่อจะแสดงปัญหานั้นไม่มี, เพราะเหตุนั้น ปัญหานี้จึงควรงดไว้, ควรเปล่งวาจาไม่มีการณ์ไม่มีเหตุย่อมไม่มีแต่พระผู้มีพระภาคเจ้าผู้ตรัสรู้แล้วทั้งหลาย ขอถวายพระพร."
ร. "ดีละ พระผู้เป็นเจ้านาคเสน ข้อวิสัชนาปัญหานี้ สมอย่างนั้น, ข้าพเจ้ายอมรับรองอย่างนั้น."

๓. มัจจุภายนปัญหา ๑๓

พระราชาตรัสถามว่า "พระผู้เป็นเจ้า พระพุทธพจน์นี้ อันพระผู้มีพระภาคเจ้าแม้ทรงภาสิตแล้วว่า 'สัตว์ทั้งหลายทั้งปวง ย่อมสะดุ้งต่ออาชญา สัตว์ทั้งหลายทั้งปวง ย่อมกลัวต่อความตาย' ดังนี้. และพระองค์ตรัสแล้วว่า 'พระอรหันต์ก้าวล่วงภัยทั้งปวงแล้ว' ดังนี้อีก. พระอรหันต์ย่อมสะดุ้งแต่อาชญาและภัยหรือ สัตว์ทั้งหลายในนรกที่เสวยทุกข์อยู่ในนรกมีไฟโพลงแล้ว ร้อนพร้อมแล้ว เมื่อจะเคลื่อนจากนรกใหญ่มีเปลวแห่งไฟโพลงแล้วนั้น ย่อมกลัวแต่มัจจุด้วยหรือ? ถ้าว่าพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสแล้วว่า 'สัตว์ทั้งหลายทั้งปวง ย่อมสะดุ้งต่ออาชญา สัตว์ทั้งหลายทั้งปวง ย่อมกลัวต่อความตาย' ดังนี้, ถ้าอย่างนั้น คำที่ว่า 'สัตว์ทั้งหลายทั้งปวงย่อมสะดุ้งต่ออาชญา สัตว์ทั้งหลายทั้วปวงย่อมกลัวต่อความตาย' ดังนี้ แม้นั้นก็ผิด. ปัญหาแม้นี้มีเงื่อนสอง มาถึงพระผู้เป็นเจ้าแล้ว, ปัญหานั้นพระผู้เป็นเจ้าจงขยายออกให้แจ้งชัดเถิด."
พระเถรเจ้าทูลว่า "ขอถวายพระพร พระผู้มีพระภาคเจ้ามิได้ทรงมุ่งหมายพระอรหันต์ทั้งหลายตรัสพระพุทธพจน์นี้ว่า 'สัตว์ทั้งหลายทั้งปวงย่อมสะดุ้งต่ออาชญา สัตว์ทั้งหลายทั้งปวงย่อมกลัวต่อความตาย'ดังนี้, พระอรหันต์อันพระผู้มีพระภาคเจ้ายกแล้วในวัตถุนั้น, เหตุแห่งภัยอันพระอรหันต์เลิกถอนพร้อมแล้ว, สัตว์ทั้งหลายเหล่าใดนั้น เป็นไปกับด้วยกิเลส อนึ่ง สัตว์ทั้งหลายใด มีทิฏฐิไปตามซึ่งตน คือ เห็นว่าเป็นตัวเป็นตนมีประมาณยิ่ง อนึ่ง สัตว์ทั้งหลายเหล่าใด ฟูขึ้นและยอมลงแล้วเพราะสุขและทุกข์ทั้งหลาย, พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงมุ่งหมายสัตว์ทั้งหลายเหล่านั้น ตรัสแล้วว่า 'สัตว์ทั้งหลายทั้งปวง ย่อมสะดุ้งต่ออาชญา สัตว์ทั้งหลายทั้งปวงย่อมกลัวต่อความตาย' ดังนี้. คติทั้งปวงอันพระอรหันต์เข้าไปตัดเสียแล้ว, กำเนิดอันพระอรหันต์ยื้อแย่งเสียแล้วปฏิสนธิอันพระอรหันต์กำจัดเสียแล้ว, กิเลสดังซี่โครงทั้งหลาย อันพระอรหันต์หักรานเสียแล้ว, อาลัยในภพทั้งหลายทั้งปวง อันพระอรหันต์ถอนขึ้นพร้อมแล้ว, กุศลและอกุศล อันพระอรหันต์กำจัดเสียแล้ว, อวิชชาอันพระอรหันต์กำจัดให้พินาศแล้ว, วิญญาณ อันพระอรหันต์กระทำไม่ให้เป็นพืชได้แล้ว, กิเลสทั้งหลายทั้งปวง อันพระอรหันต์เผาเสียแล้ว, โลกธรรมทั้งหลาย อันพระอรหันต์เป็นไปล่วงได้แล้ว, เพราะเหตุนั้น พระอรหันต์ย่อมไม่สะดุ้งแต่ภัยทั้งหลายทั้วปวง.
ขอถวายพระพร ในนครนี้ พึงมีมหาอมาตย์ทั้งสี่ของพระมหากษัตริย์ ล้วนเป็นผู้อันพระราชาโปรด ได้ยศแล้ว มีความคุ้นเคยในพระมหากษัตริย์ พระองค์ทรงตั้งไว้ในตำแหน่งมีความเป็นอิสระใหญ่. ลำดับนั้น ครั้นเมื่อราชกิจอันหนึ่งเกิดขึ้นแล้ว พระมหากษัตริย์ทรงมีพระราชบัญชา ชนทั้งปวงในแว่นแคว้นของพระองค์โดยประมาณเท่าไรว่า "ชนทั้งหลายทั้งปวงเทียว จงกระทำพลีแก่เรา, ท่านทั้งหลายผู้มหาอมาตย์สี่จงยังกิจนั้นให้สำเร็จ;" ความสะดุ้งเพราะกลัวแต่พลี จะพึงเกิดขึ้นแก่มหาอมาตย์ทั้งสี่เหล่านั้นบ้างหรือเป็นไฉน ขอถวายพระ."
ร. "หาไม่ พระผู้เป็นเจ้า."
ถ. "ขอถวายพระพร ความสะดุ้งกลัวแต่พลี ไม่พึงเกิดขึ้นแก่มหาอมาตย์ทั้งสี่เหล่านั้น เพราะเหตุอะไร?"
ร. "มหาอมาตย์สี่เหล่านั้น อันพระมหากษัตริย์ทรงตั้งไว้แล้วในตำแหน่งอันสูงสุด, พลีย่อมไม่มีแก่มหาอมาตย์ทั้งสี่เหล่านั้น."
ถ. "มหาอมาตย์ทั้งสี่เหล่านั้น มีพลีอันก้าวล่วงด้วยประการทั้งปวงแล้ว, พระมหากษัตริย์ทรงมุ่งหมายชนทั้งหลายอันเศษนอกจากมหาอมาตย์เหล่านั้น ทรงพระราชบัญชาแล้วว่า 'ชนทั้งหลายทั้งปวงเทียว จงกระทำพลีแก่เรา' ดังนี้ ฉันใด; พระพุทธพจน์นี้อันพระผู้มีพระภาคเจ้ามิได้ทรงมุ่งหมายพระอรหันต์ทั้งหลายตรัสแล้ว, พระอรหันต์พระองค์ยกเสียแล้วในวัตถุนั้น, เหตุแห่งความ กลัวของพระอรหันต์ ท่านเลิกถอนพร้อมแล้ว; สัตว์ทั้งหลายเหล่าใดนั้นที่ยังมีกิเลส อนึ่ง ทิฏฐิไปตามตนของสัตว์ทั้งหลายเหล่าใด มีประมาณยิ่ง คือ หนาหนักในสันดาน อนึ่ง สัตว์ทั้งหลายเท่าใด ฟูขึ้นและยอบลงแล้ว เพราะสุขและทุกข์ทั้งหลายพระผู้มีพระภาคทรงมุ่งหมายสัตว์ทั้งหลายเหล่านั้น ตรัสแล้วว่า 'สัตว์ทั้งหลายทั้งปวง ย่อมสะดุ้งต่ออาชญา สัตว์ทั้งหลายทั้งปวง ย่อมกลัวต่อความตาย' ดังนี้ ฉันนั้นโดยแท้. เพราะเหตุนั้น พระอรหันต์ย่อมไม่สะดุ้งแต่ภัยทั้งหลายทั้งปวง ขอถวายพระพร."
ร. "พระผู้เป็นเจ้า คำว่า "สัพเพ" ทั้งปวงนี้ แสดงสัตว์มีส่วนเหลือหามิได้, คำว่า "สัพเพ" ทั้งปวงนี้ กล่าวสัตว์ไม่มีส่วนเหลือ, พระผู้เป็นเจ้าจงกล่าวเหตุยิ่งในข้อนั้นแก่ข้าพเจ้า เพื่อให้คำนั้นมีหลักฐาน"
ถ. "ขอถวายพระพร ในที่นี้ พึงมีเจ้าของบ้านนายบ้านบังคับ บุรุษผู้รับใช้ว่า 'ผู้รับใช้ผู้เจริญ ท่านจงมา บรรดาชาวบ้านทั้งหลายในบ้าน มีประมาณเท่าใด ท่านจงยังชาวบ้านทั้งหลายทั้งปวงเหล่านั้นให้ประชุมกันในสำนักของเราโดยเร็ว' ดังนี้; ผู้รับใช้นั้นรับว่า 'ดีละเจ้าข้า' แล้วยืนอยู่ ณ ท่ามกลางแห่งบ้าน ยังชนทั้งหลายให้ได้ยินเสียงเนือง ๆ สามครั้งว่า 'บรรดาชาวบ้านทั้งหลายในบ้านมีประมาณเท่าใด ชาวบ้านทั้งหลายทั้งปวงเหล่านั้น จงประชุมกันในสำนักของเจ้าบ้านโดยเร็ว ๆ;' ลำดับนั้น ลูกบ้านทั้งหลายเหล่านั้น รีบประชุมกันตามคำของบุรุษผู้บังคับแล้ว จึงบอกแก่เจ้าของบ้านว่า 'ข้าแต่เจ้า ลูกบ้านทั้งหลายทั้งปวงประชุมกันแล้ว, กิจที่จำต้องกระทำอันใด ของท่านมีอยู่ ท่านจงกระทำกิจนั้น' ดังนี้. เจ้าของบ้านนั้น เมื่อให้พ่อเรือนทั้งหลายให้ประชุมกันบังคับลูกบ้านทั้งหลายทั้งปวง, ส่วนลูกบ้านทั้งหลายเหล่านั้น อันเจ้าบ้านบังคับแล้วจะประชุมกันทั้งหมดหามิได้ ประชุมแต่พ่อเรือนทั้งหลายพวกเดียว, ส่วนเจ้าของบ้านก็ย่อมรับว่า 'ลูกบ้านทั้งหลายของเราเท่านี้นั่นเทียว' คนทั้งหลายเหล่าอื่นที่ไม่มาแล้วมากกว่า, สตรีและบุรุษทั้งหลาย ทาสีและทาสทั้งหลาย ลูกจ้างทั้งหลาย กรรมกรทั้งหลาย ชาวบ้านทั้งหลาย ชนใช้ทั้งหลาย โคและกระบือทั้งหลาย แพะและแกะทั้งหลายที่เป็นสัตว์ดี ชนทั้งหลายเหล่าใด ที่ไม่มาแล้ว ชนทั้งหลายเหล่านั้นทั้งปวง เจ้าของบ้านมิได้รับแล้ว, เพราะความที่ลูกบ้านอันเจ้าของบ้านมุ่งหมายพ่อเรือนทั้งหลายพวกเดียว บังคับแล้วว่า 'ชนทั้งหลายเหล่านั้นทั้งปวง เจ้าของบ้านมิได้รับแล้ว, เพราะความที่ลูกบ้านอันเจ้าของบ้านมุ่งหมายพ่อเรือนทั้งหลายพวกเดียว บังคับแล้วว่า 'ชนทั้งหลายทั้งปวงจงประชุมกัน' ดังนี้ ฉันใด. คำนั้นอันพระผู้มีพระภาคเจ้ามิได้มุ่งหมายพระอรหันต์ทั้งหลายตรัสแล้ว, พระอรหันต์ พระองค์ทรงยกแล้วในวัตถุนั้น, เหตุแห่งความกลัวของพระอรหันต์ท่านเลิกถอนแล้ว สัตว์ทั้งหลายเหล่าใดนั้นที่ยังมีกิเลส อนึ่ง ทิฏฐิไปตามตนของสัตว์ทั้งหลายเหล่าใด มีประมาณยิ่ง อนึ่ง สัตว์ทั้งหลายเหล่าใด ฟูขึ้นและยอบลงแล้ว เพราะสุขและทุกข์ทั้งหลาย, พระผู้มีพระภาคทรงมุ่งหมายสัตว์ทั้งหลายเหล่านั้น ตรัสแล้วว่า 'สัตว์ทั้งหลายทั้งปวง ย่อมสะดุ้งต่ออาชญา สัตว์ทั้งหลายทั้งปวงย่อมกลัวต่อความตาย' ดังนี้ ฉันนั้นโดยแท้. เพราะเหตุนั้น พระอรหันต์ย่อมไม่สะดุ้งแต่ภัยทั้งหลายทั้งปวง.




เอาบุญมาฝากจะถวายสังฆทาน เจริญวิปัสสนา ให้ธรรมะเป็นทาน ให้อภัยทาน บอกบุญ สักการะพระธาตุ ให้อาหารสัตว์เป็นทาน ช่วยพ่อแม่ทำงานบ้าน ถวายข้าวพระพุทธ อนุโมทนาบุญกับผู้อื่น สร้างพระสร้างเจดีย์สร้างธรรมจักรสร้างรอยพระพุทธบาทสร้างระฆังและอัครสาวกซ้ายขวาสร้างพระสีวลีสร้างพระกัสสะปะสร้างพระอุปคุตสร้างพระองคุลีมารผสมทองคำเปลวพร้อมนำดอกไม้มาบูชาถวายพระรัตนตรัย
รักษาศีล เจริญภาวนา สวดมนต์ ให้อาหารสัตว์เป็นทานเป็นประจำ กรวดน้ำอุทิศบุญ อนุโมทนากับพ่อแม่ญาติพี่น้องที่รักษาศีล ฟังธรรม ให้ทาน อนุโมทนากับเพื่อนๆที่รักษาศีล ศึกษาการรักษาโรค ที่ผ่านมาคุณแม่ได้ถวายสังฆทานมาโดยตลอด ที่ผ่านมาได้ปิดทองพระ รักษาอาการป่วยของผู้อื่นกับผู้ร่วมงาน และที่ผ่านมาได้รักษาอาการป่วยของบิดามารดา ปล่อยชีวิตสัตว์มาโดยตลอด ถวายยาแก่ภิกษุ ขัดองค์พระ จุดเทียนถวายพระรัตนตรัย ให้ความรู้สมุนไพรเพื่อสุขภาพเป็นวิทยาทาน ที่ผ่านมาคุณแม่ได้ทำบุญหลายอย่างมาโดยตลอด ที่ผ่านมาได้ถวายสังฆทานและทำบุญสร้างอาคารผู้ป่วยและกฐินกับเพื่อนๆและให้อาหารเป็นทานแก่สรรพสัตว์กับเพื่อนๆและเพื่อนคนหนึ่งและบริวารของเพื่อนและครอบครัวของเพื่อนได้มีจิตเมตตาให้ทานและเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ช่วยเหลือผู้อื่นอยู่ตลอดและเพื่อนได้เคยสวดมนต์เย็นกับคุณแม่และที่ผ่านมาได้ทำบุญสักการะพระธาตุทำบุญปิดทองชำระหนี้สงฆ์และไหว้พระและทำบุญตามกล่องรับบริจาคตามวัดต่างๆกับเพื่อนและตั้งใจว่าจะสร้างบารมีให้ครบทั้ง 10 อย่างขอให้อนุโมทนาบุญด้วย


ขอเชิญถวายสังฆทาน เจริญวิปัสสนา ให้ธรรมะเป็นทาน ให้อภัยทาน บอกบุญ ให้อาหารสัตว์เป็นทาน สักการะพระธาตุ ฟังธรรม สวดมนต์ ช่วยพ่อแม่ทำงานบ้าน
รักษาศีล เจริญภาวนา สวดมนต์ สร้างพระสร้างเจดีย์สร้างธรรมจักรสร้างรอยพระพุทธบาท
สร้างระฆังและอัครสาวกซ้ายขวาสร้างพระสีวลีสร้างพระกัสสะปะสร้างพระอุปคุตสร้างพระองคุลีมารผสมทองคำเปลวพร้อมนำดอกไม้มาบูชาถวายพระรัตนตรัย กรวดน้ำอุทิศบุญ ถวายข้าวพระพุทธ อนุโมทนาบุญกับผู้อื่น สนทนาธรรม
ถวายข้าวพระพุทธ อนุโมทนาบุญกับผู้อื่น รักษาอาการป่วยของผู้อื่น รักษาอาการป่วยของบิดามารดา จุดเทียนถวายพระรัตนตรัย
ปิดทอง สักการะพระธาตุ กราบอดีตสังขารเจ้าอาวาสที่ไม่เน่าเปื่อย ที่วัดแจ้ง อ.เมือง จ.ปราจีนบุรี ปิดทองพระ ปล่อยชีวิตสัตว์ถวายยาแก่ภิกษุ ไหว้พระตามวัดต่างๆ ขัดองค์พระ ให้ความรู้สมุนไพรในการดูแลสุขภาพเป็นทาน
และสร้างบารมีให้ครบทั้ง 10 อย่างขอเชิญร่วมบุญกุศลร่วมกันนะ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 02 ส.ค. 2012, 08:05 
 
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 6
สมาชิก ระดับ 6
ลงทะเบียนเมื่อ: 08 พ.ค. 2012, 02:09
โพสต์: 456


 ข้อมูลส่วนตัว


.. :b8:
อนุโมทนาแล้วๆๆ ..


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 03 ส.ค. 2012, 04:42 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
อาสาสมัคร
อาสาสมัคร
ลงทะเบียนเมื่อ: 06 มี.ค. 2009, 10:48
โพสต์: 5361


 ข้อมูลส่วนตัว


ขอถวายพระพร คำแสดงสัตว์มีส่วนเหลือ อรรถแสดงสัตว์มีส่วนเหลือก็มี, คำแสดงสัตว์มีส่วนเหลือ อรรถแสดงสัตว์ไม่มีส่วนเหลือก็มี, คำแสดงสัตว์ไม่มีส่วนเหลือ อรรถแสดงสัตว์มีส่วนเหลือก็มี, คำแสดงสัตว์ไม่มีส่วนเหลือ อรรถก็แสดงสัตว์ไม่มีส่วนเหลือก็มี: เนื้อความบัณฑิตพึงรับรองด้วยเหตุนั้น ๆ. เนื้อความอันบัณฑิตพึงรับรองโดยเหตุห้าอย่าง คือ โดยอาหัจจบทหนึ่ง โดยรสหนึ่ง โดยอาจริยวังสตาหนึ่ง โดยอธิบายหนึ่ง โดยการณุตตริยตาหนึ่ง ก็ในเหตุห้าอย่างนี้ สูตรท่านอธิบายว่า อาหัจจบท, สุตตานุโลม ท่านอธิบายว่ารส, อาจริยวาท ท่านอธิบายว่า อาจริยวังสะ, อัตตโนมัติ ท่านอธิบายว่า อธิบาย, เหตุถึงพร้อมด้วยเหตุทั้งหลายสี่เหล่านี้ ท่านอธิบายว่า การณุตตริยตา. เนื้อความ บัณฑิตพึงรับรองโดยเหตุทั้งหลายห้าประการเหล่านี้แล : ปัญหานี้ จึงเป็นปัญหาอันอาตมภาพวินิจฉัยดีแล้วด้วยประการอย่างนี้ ขอถวายพระพร."
ร. "พระผู้เป็นเจ้านาคเสน ปัญหานี้เป็นปัญหาอันพระผู้เป็นเจ้าวินิจฉัยดีแล้วเถิด, ข้าพเจ้ารับรองปัญหานั้นอย่างนั้น, พระอรหันต์จงเป็นผู้อันพระผู้มีพระภาคเจ้ายกแล้วในวัตถุนั้น, สัตว์ทั้งหลายเหลือนั้นสะดุ้งเถิด. ก็แต่ว่า สัตว์ทั้งหลายที่เกิดในนรก เสวยทุกขเวทนากล้าเผ็ดร้อนอยู่ในนรก มีองค์อวัยวะใหญ่น้อยทั้งปวงโพลงชัชวาทแล้ว เป็นผู้ร้องไห้น่าสงสาร คร่ำครวญร่ำไรบ่นเพ้อด้วยปาก อันทุกข์กล้าเหลือทนครอบงำแล้ว ไม่มีผู้เป็นที่พึ่ง ไม่มีผู้เป็นที่ระลึก เป็นสัตว์หาผู้เป็นที่พึ่งมิได้ อาดูรด้วยความโศกไม่น้อย เวียนว่ายอยู่ เป็นสัตว์มีความโศกเป็นที่ถึงในเบื้องหน้าโดยส่วนเดียว, เมื่อจุติจากนรกใหญ่ มีเสียงใหญ่นฤนาท ยังภัยน่ากลัวให้เกิด อากูลด้วยระเบียบแห่งเปลวหกอย่างเดี่ยวประสานกันแล้ว มีเรี่ยวแรงแห่งเปลวแผ่ไปได้เนือง ๆ ตลอดร้อยโยชน์โดยรอบ กระด้าง เป็นที่ยังสัตว์ให้ร้อน จะกลัวต่อความตายด้วยหรือเล่า? พระผู้เป็นเจ้า."
ถ. "ขอถวายพระพร สัตว์เหล่านั้นย่อมกลัวต่อความตาย."
ร. "พระผู้เป็นเจ้านาคเสน นรกยังทุกขเวทนาให้เกิดโดยส่วนเดียวไม่ใช่หรือ, สัตว์ทั้งหลายที่เกิดในนรกเหล่านั้น เสวยแต่ทุกขเวทนาโดยส่วนเดียว เมื่อจะเคลื่อนจากนรกย่อมกลัวแต่ความตายเพื่อเหตุอะไรเล่า, ย่อมยินดีในนรกเพื่อเหตุอะไรเล่า พระผู้เป็นเจ้า?"
ถ. "ขอถวายพระพร สัตว์ทั้งหลายที่เกิดอยู่ในนรกเหล่านั้น ซึ่งจะยินดีอยู่ในนรกหามิได้, สัตว์ทั้งหลายที่เกิดอยู่ในนรกเหล่านั้น อยากจะพ้นจากนรกโดยแท้; ความสะดุ้งเกิดขึ้นแก่สัตว์เกิดในนรกทั้งหลายเหล่านั้น ด้วยอานุภาพใด อานุภาพนี้ เป็นอานุภาพของความตาย ขอถวายพระพร."
ร. "ความสะดุ้งเพราะจุติเกิดขึ้นแก่สัตว์ทั้งหลาย ที่อยากจะพ้นอันใด ข้าพเจ้าจักไม่เชื่อความเกิดความสะดุ้งนี้;สัตว์ทั้งหลายเหล่านั้นได้สิ่งที่ตนปรารถนาแล้ว ด้วยเหตุที่เป็นที่ตั้งใด เหตุที่เป็นที่ตั้งนั้น ควรร่าเริงพระผู้เป็นเจ้า. ให้ข้าพเจ้าทราบด้วยดีโดยเหตุเถิด พระผู้เป็นเจ้า."
ถ. "ขอถวายพระพร เหตุเป็นที่ตั้งนี้ว่า 'ความตาย' ดังนี้แล เป็นเหตุที่ตั้งแห่งความสะดุ้งของสัตว์ทั้งหลาย ที่ยังไม่ได้เห็นอริยสัจจ์, ชนนี้ย่อมสะดุ้งด้วย ย่อมหวาดเสียวด้วย เพราะความตายนี้. ก็บุคคลใดกลัวต่องูเห่า ผู้นั้น เมื่อกลัวต่อความตายจึงกลัวต่องูเห่า, ก็ผู้ใด กลัวต่อช้าง, ราชสีห์ เสือโคร่ง, เสือเหลือง, หมี, เสือดาว, ควาย, วัวลาน, ไฟ, น้ำ, หลักตอ, หนาม, ละอย่าง ๆ ผู้นั้น เมื่อกลัวต่อความตาย จึงกลัวต่อช้าง, ราชสีห์ เสือโคร่ง, เสือเหลือง หมี, เสือดาว, ควาย, วัวลาน, ไฟ, น้ำ, หลักตอ, หนาม, ละอย่าง ๆ, ก็ผู้ใด กลัวต่อหอก ผู้นั้น เมื่อกลัวต่อความตาย จึงกลัวต่อหอกนั้น. นั่นเป็นเดชโดยภาวะกับทั้งรสแห่งความตาย, สัตว์ทั้งหลายที่มีกิเลส ย่อมสะดุ้งย่อมกลัวแต่ความตาย ด้วยเดชโดยภาวะกับทั้งรสนั้น, บรมบพิตร สัตว์ทั้งหลายที่เกิดในนรก แม้อยากจะพ้นนรก ย่อมสะดุ้งย่อมกลัวแต่ความตาย. ในที่นี้ ถ้ามีหน่อเกิดขึ้นในกายของบุรุษ ๆ นั้นเสวยทุกข์เพราะโรคนั้น อยากจะพ้นจากอุปัทวะจึงเรียกหมอทางผ่าตัดมา, หมอทางผ่าตัดนั้นรับแก่บุรุษนั้นแล้ว พึงยังเครื่องมือให้เข้าไปตั้งอยู่ เพื่อจะบ่งโรคนั้น คือ พึงกระทำศัสตราให้คม พึงเอาเหล็กนาบสุมในไฟ พึงบดเกลือแสบด้วยหินบด; ความสะดุ้งพึงเกิดแก่บุรุษผู้อาดูรนั้น ด้วยอันเชือดด้วยคมศัสตราอันคม และนาบด้วยคู่ซี่เหล็ก และอันยังน้ำเกลือแสบให้เข้าไปบ้างหรือไม่?"
ร. "ความสะดุ้งพึงบังเกิดขึ้นแก่บุรุษนั้นซิ พระผู้เป็นเจ้า."
ถ. "ขอถวายพระพร บรมบพิตร เมื่อบุรุษนั้นกระสับกระส่ายอยู่ แม้ใคร่จะพ้นจากโรค ความสะดุ้งย่อมเกิดขึ้นแก่บุรุษนั้น เพราะความกลัวต่อเวทนา ด้วยประการดังนี้ ฉันใด, เมื่อสัตว์ทั้งหลายที่เกิดอยู่ในนรก แม้ใคร่จะพ้นจากนรก ความสะดุ้งย่อมเกิดขึ้นแก่สัตว์ทั้งหลายเหล่านั้น เพราะอันกลัวแต่ความตาย ฉันนั้นนั่นเทียวแล.
อีกอย่างหนึ่ง ในที่นี้ มีบุรุษกระทำความผิดในท่านผู้เป็นอิสระต้องจำด้วยตรวนเครื่องจำ ต้องขังอยู่ในห้อง เป็นผู้ใคร่เพื่อจะพ้นไป, ชนผู้เป็นอิสระนั้นใคร่จะปล่อยบุรุษนั้นนั่น พึงเรียกบุรุษนั้นมา;เมื่อบุรุษผู้กระทำโทษผิดในท่านผู้เป็นอิสระนั้นรู้อยู่ว่า 'ตัวมีโทษได้กระทำแล้ว' ความสะดุ้งพึงเกิดขึ้นแก่บุรุษนั้น เพราะได้เห็นท่านที่เป็นอิสระบ้างหรือไม่?"
ร. "ความสะดุ้งย่อมเกิดขึ้นแก่บุรุษนั้นซิ?"
ถ. "ขอถวายพระพร บรมบพิตร เมื่อบุรุษผู้มีโทษผิดในท่านผู้เป็นอิสระ ถึงปรารถนาจะพ้นจากเรือนจำ ความสะดุ้งย่อมเกิดขึ้นแก่บุรุษนั้น เพราะกลัวแต่ท่านผู้เป็นอิสระ ด้วยประการนี้ ฉันใด, เมื่อสัตว์ทั้งหลายที่เกิดในนรก ถึงอยากจะพ้นจากนรก ความสะดุ้งย่อมเกิดขึ้นแก่สัตว์ทั้งหลายเหล่านั้น เพราะกลัวแต่ความตาย ฉันนั้นโดยแท้."
ร. "พระผู้เป็นเจ้า พระผู้เป็นเจ้าจงกล่าวเหตุที่ยิ่งขึ้นไปแม้อื่นอีก ข้าพเจ้าจะพึงเชื่อด้วยเหตุไรเล่า?"
ถ. "ขอถวายพระพร บรมบพิตร ในที่นี้ พึงมีบุรุษอันอสรพิษมีพิษร้ายกัดแล้ว บุรุษนั้นพึงล้มลงเกลือกกลิ้งด้วยพิษวิการนั้น, ครั้งนั้น มีบุรุษผู้ใดผู้หนึ่ง พึงเรียกอสรพิษมีพิษร้ายนั้นมา ด้วยบทแห่งมนต์อันขลัง ให้อสรพิษมีพิษร้ายนั้นดูดพิษคืน เมื่ออสรพิษมีพิษร้ายนั้นเข้าไปใกล้ เหตุความสวัสดี ความสะดุ้งพึงเกิดขึ้นแก่บุรุษผู้มีพิษซาบแล้วนั้นบ้างหรือไม่?"
ร. "ความสะดุ้งย่อมเกิดขึ้นแก่บุรุษนั้นซิ."
ถ. "ขอถวายพระพร เมื่ออสรพิษเห็นปานนั้น เข้าไปใกล้ แม้เพราะเหตุความสวัสดี ความสะดุ้งยังเกิดขึ้นแก่บุรุษนั้น ด้วยประการฉะนี้ ฉันใด, ความสะดุ้งย่อมเกิดขึ้นแก่สัตว์ทั้งหลายที่เกิดในนรก แม้ใคร่จะพ้นจากนรกเพราะกลัวแต่ความตาย ฉันนั้นโดยแท้แล, ความตายเป็นของไม่พึงปรารถนาของสัตว์ทั้งหลายทั้งปวง. เพราะเหตุนั้นสัตว์ทั้งหลายที่เกิดในนรก ถึงอยากจะพ้นจากนรก ก็ย่อมกลัวต่อความตาย."
ร. "ดีละ พระผู้เป็นเจ้านาคเสน ข้อวิสัชนาปัญหาของพระผู้เป็นเจ้า สมอย่างนั้น, ข้าพเจ้ายอมรับรองอย่างนั้น."

๔. มัจจุปาสามุตติกปัญหา ๑๔

พระราชาตรัสถามว่า "พระผู้เป็นเจ้านาคเสน พระพุทธพจน์นี้อันพระผู้มีพระภาคเจ้าแม้ทรงภาสิตแล้วว่า 'บุคคลตั้งอยู่ในอากาศ ไม่พึงพ้นจากบ่วงแห่งมัจจุ คือความตาย, บุคคลตั้งอยู่ในสมุทร ไม่พึงพ้นจากบ่วงแห่งมัจจุ, บุคคลเข้าไปสู่ช่องแห่งภูเขาทั้งหลายแล้ว ไม่พึงพ้นจากบ่วงแห่งมัจจุ, บุคคลตั้งอยู่ในประเทศแผ่นดินใด พึงพ้นจากบ่วงแห่งมัจจุได้ ประเทศแผ่นดินนั้นไม่มี' ดังนี้.
ส่วนปริตรทั้งหลาย อันพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดงขึ้นแล้วอีก; ปริตรทั้งหลายอย่างไรนี้? ปริตรทั้งหลาย คือ รตนสูตรหนึ่ง ขันธปริตรหนึ่ง โมรปริตรหนึ่ง ธชัคคปริตรหนึ่ง อาฏานาฏิยปริตรหนึ่ง อังคุลามาลปริตรหนึ่ง. ถ้าว่าบุคคล แม้ไปในอากาศแล้ว แม้ไปในท่ามกลางแห่งสมุทรแล้ว แม้ไปในปราสาท และกุฎี และที่เป็นที่เร้น และถ้ำ และเงื้อมเขา และซอกเขา และปล่อง และช่องเขา และระหว่างภูเขาย่อมไม่พ้นจากบ่วงแห่งมัจจุได้, ถ้าอย่างนั้น ความกระทำปริตรเป็นผิด. ถ้าว่าความพ้นจากบ่วงแห่งมัจจุได้ ด้วยความกระทำปริตรย่อมมีไซร้, ถ้าอย่างนั้น คำที่ว่า 'บุคคลตั้งอยู่แล้วในอากาศ ตั้งอยู่แล้วในท่ามกลางแห่งสมุทร เข้าไปสู่ช่องแห่งภูเขาทั้งหลายแล้ว ไม่พึงพ้นจากบ่วงแห่งมัจจุ, บุคคลตั้งอยู่แล้วในประเทศแผ่นดินใด พึงพ้นจากบ่วงแห่งมัจจุได้ ประเทศแห่งแผ่นดินนั้น ย่อมไม่มี' ดังนี้ แม้นั้นก็เป็นผิด. ปัญหาแม้นี้สองเงื่อน มีขอดยิ่งกว่าขอดโดยปกติ มาถึงพระผู้เป็นเจ้าแล้ว, ปัญหานั้น พระผู้เป็นเจ้าพึงแก้ไขให้จะแจ้งเถิด."
พระเถรเจ้าทูลว่า "ขอถวายพระพร พระผู้มีพระภาคเจ้าแม้ได้ทรงภาสิตพระพุทธพจน์นี้ว่า 'บุคคลตั้งอยู่แล้วในอากาศ พึงพ้นจากบ่วงแห่งมัจจุไม่ได้, บุคคลตั้งอยู่แล้วในท่ามกลางแห่งสมุทร พึงพ้นจากบ่วงแห่งมัจจุไม่ได้, บุคคลเข้าไปแล้วสู่ช่องแห่งภูเขาทั้งหลาย พึงพ้นจากบ่วงแห่งมัจจุไม่ได้, บุคคลตั้งอยู่ในประเทศแผ่นดินใด พึงพ้นจากบ่วงแห่งมัจจุได้ ประเทศแผ่นดินนั้นย่อมไม่มี' ดังนี้. อนึ่งปริตรทั้งหลาย พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ทรงยกขึ้นแสดงแล้ว. ก็แหละความยกปริตรขึ้นแสดงนั้น พระองค์ทรงกระทำเพื่อบุคคลมีอายุยังเหลืออยู่ เป็นผู้ถึงพร้อมแล้วด้วยวัย มีกรรมเครื่องห้ามกันไปปราศจากสันดานแล้ว, ความกระทำหรือ หรือความพากเพียรเพื่อความตั้งมั่นของบุคคลผู้สิ้นอายุแล้วย่อมไม่มี, เหมือนต้นไม้ตายแล้ว แห้งแล้วผุไม่มียาง มีความเป็นอันตรายกั้นแล้ว มีอายุสังขารไปแล้ว เมื่อบุคคลพรมน้ำแม้สักพันหม้อ ความเป็นของชุ่มหรือ หรือความเป็นไม้มีใบอ่อน และเป็นของเขียวของต้นไม้นั้น ไม่พึงมี ฉันใด, ความกระทำหรือความเพียรด้วยเภสัช และความกระทำปริตรเพื่อความตั้งมั่นแห่งบุคคลผู้สิ้นอายุแล้ว ไม่มี. โอสถและยาทั้งหลายในแผ่นดินเหล่าใดนั้น แม้ยาทั้งหลายเหล่านั้น เป็นของไม่กระทำกิจของบุคคลผู้สิ้นอายุแล้วปริตรย่อมรักษาคุ้มครองได้แต่บุคคลผู้มีอายุยังเหลืออยู่ ถึงพร้อมแล้วด้วยวัยปราศจากกรรมเครื่องห้ามแล้ว, พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดงปริตรทั้งหลายขึ้นแล้ว เพื่อประโยชน์แก่บุคคลมีอายุยังเหลืออยู่. เปรียบเหมือนชาวนา เมื่อข้าวเปลือกสุกแล้ว เมื่อซังข้าวตายแล้ว พึงกั้นน้ำไม่ให้เข้าไปในนา, แต่ข้าวกล้าใด ที่ยังอ่อนอาศัยเมฆ ถึงพร้อมแล้วด้วยวัย ข้าวกล้านั้น ย่อมเจริญโดยความเจริญด้วยน้ำ ฉันใด, เภสัชและความกระทำปริตร เพื่อบุคคลผู้สิ้นอายุแล้ว พระองค์ยกห้ามแล้ว, ก็แต่ว่า มนุษย์ทั้งหลายเหล่าใดนั้น เป็นผู้มีอายุยังเหลืออยู่ ยังถึงพร้อมด้วยวัยอยู่ พระองค์ตรัสปริตรและยาทั้งหลาย เพื่อประโยชน์แก่มนุษย์ทั้งหลายเหล่านั้น, มนุษย์ทั้งหลายเหล่านั้น เจริญอยู่ด้วยปริตรและเภสัชทั้งหลาย ขอถวายพระพร."
ร. "พระผู้เป็นเจ้า ถ้าบุคคลสิ้นอายุแล้ว ย่อมตาย บุคคลที่ยังมีอายุเหลืออยู่ ย่อมเป็นอยู่, ถ้าอย่างนั้น ปริตรและเภสัชทั้งหลายเป็นของไม่มีประโยชน์น่ะซิ."
ถ. "ขอถวายพระพร ก็บรมบพิตรเคยทอดพระเนตรเห็นโรคอะไร ๆ ที่คืนคลายไป เพราะเภสัชทั้งหลายบ้างหรือไม่?"
ร. "เคยเห็นซิ พระผู้เป็นเจ้า ข้าพเจ้าได้เห็นมาหลายร้อยแล้ว."
ถ. "ขอถวายพระพร ถ้าอย่างนั้น คำที่ว่า 'ความทำปริตรและเภสัชหาประโยชน์มิได้' ดังนี้นั้น ย่อมเป็นคำผิด."
ร. "พระผู้เป็นเจ้านาคเสน ความดื่มและชะโลมยาทั้งหลายเพราะความเพียรของหมอทั้งหลายปรากฏอยู่, โรคคืนคลายเพราะความเพียรนั้นของหมอทั้งหลายเหล่านั้น."
ถ. "ขอถวายพระพร แม้เสียงของบุคคลทั้งหลาย เมื่อยังปริตรทั้งหลายให้เป็นไปอยู่ คือ สวดปริตรอยู่ ชนทั้งหลายอื่นย่อมได้ยินอยู่, ชิวหาของบุคคลผู้สวดปริตรเหล่านั้นย่อมแห้ง ใจย่อมวิงเวียน คอย่อมแหบ; พยาธิทั้งปวงย่อมระงับไป ความจัญไรทั้งหลายทั้งปวงย่อมปราศจากไป ด้วยความเป็นไปแห่งปริตรทั้งหลายเหล่านั้น ๆ. บรมบพิตรเคยทอดพระเนตรเห็นแล้วหรือ ใคร ๆ ที่อสรพิษกัดแล้ว ผู้มีวิชชาปริตรขับพิษขจัดปัดเป่าพิษให้เสื่อมคลาย มีชีวิตรอดอยู่ได้."
ร. "อย่างนั้นซิ พระผู้เป็นเจ้า ข้อนั้นย่อมเป็นไปในโลก แม้ในทุกวันนี้."
ถ. "ขอถวายพระพร ถ้าอย่างนั้น คำที่ว่า 'ความกระทำปริตรและเภสัชหาประโยชน์มิได้' ดังนี้นั้นผิด. เพราะอสรพิษใคร่จะกัด ก็กัดบุรุษผู้กระทำปริตรแล้วไม่ได้, ปากของอสรพิษที่อ้าขึ้นแล้วย่อมหุบลง, แม้ตะบองที่โจรทั้งหลายเงื้อขึ้นแล้ว ย่อมตีไม่ลง, โจรทั้งหลายเหล่านั้นปล่อยตะบองเสีย กระทำความรักใคร่, คชสารประเสริฐ แม้โกรธแล้วเข้ามาใกล้แล้ว กลับยินดี, กองไฟใหญ่โพลงชัชวาลแล้วเข้ามาใกล้แล้วดับไป, ยาพิษแรงกล้าอันบุรุษผู้กระทำปริตรนั้นเคี้ยวแล้วกลับกลายเป็นยาบำบัดโรคไปบ้าง แผ่ไปเพื่ออาหารกิจบ้าง, ข้าศึกทั้งหลายใคร่จะฆ่า ครั้นเข้าไปใกล้แล้ว กลับยอมตัวเป็นทาส, บ่วงแม้บุรุษผู้กระทำปริตรนั้นเหยียบแล้ว ย่อมไม่รูด. อนึ่ง บรมบพิตรเคยทรงสดับแล้วหรือ เมื่อนกยูงกระทำปริตรอยู่ พรานนกไม่อาจเพื่อจะนำบ่วงเข้าไปใกล้นกยูงนั้นถึงเจ็ดร้อยปี, มาวันหนึ่ง นกยูงนั้นประมาทไปหาได้กระทำปริตรไม่ พรานนกจึงได้นำบ่วงเข้าไปใกล้นกยูงนั้นได้ในวันนั้น."
ร. "ข้าพเจ้าเคยได้ฟังซิ กิตติศัพท์นั้นฟุ้งทั้งไปในโลกทั้งเทวดา."
ถ. "ขอถวายพระพร ถ้าอย่างนั้น คำที่ว่า 'ความกระทำปริตรและเภสัชหาประโยชน์มิได้' ดังนี้นั้นเป็นผิด. อนึ่ง บรมบพิตรเคยทรงสดับแล้วหรือ ทานพ (อสูรบุตรของอสูรมารดาชื่อ ทนุ) เมื่อจะรักษาภริยา เก็บภริยาไว้ในผอบแล้วกลืนผอบเข้าไว้ในท้อง บริหารรักษาด้วยท้อง, ครั้งนั้น วิทยาธรเข้าไปทางปากของทานพนั้น อภิรมย์กับด้วยภริยาของทานพนั้น, ในกาลที่ทานพนั้นได้รู้แล้ว ได้คายผอบนั้นออกเปิดดู, ขณะเปิดผอบนั้น วิทยาธรหลีกหนีไปได้ตามความปรารถนา."
ร. "ข้าพเจ้าเคยได้ฟังซิ พระผู้เป็นเจ้า แม้กิตติศัพท์นั้นฟุ้งทั่วไปในโลกกับทั้งเทวดา."
ถ. "ขอถวายพระพร วิทยาธรนั้นพ้นแล้วจากการจับไป ด้วยกำลังแห่งปริตรไม่ใช่หรือ?"
ร. "อย่างนั้นซิ พระผู้เป็นเจ้า."
ถ. "ขอถวายพระพร ถ้าอย่างนั้น กำลังแห่งปริตรมีอยู่."
ร. "พระผู้เป็นเจ้า ปริตรรักษาชนทั้งหลายปวงทั่วไปหรือ?"
ถ. "ขอถวายพระพร ปริตรรักษาชนทั้งหลายบางจำพวก ไม่รักษาคนทั้งหลายบางจำพวก."
ร. "ถ้าอย่างนั้น ปริตรไม่เป็นประโยชน์แก่ชนทั้งหลายทั้งปวงทั่วไปนั่นซิ พระผู้เป็นเจ้า."
ถ. "ขอถวายพระพร โภชนะย่อมรักษาชีวิตของสัตว์ทั้งหลายทั้งปวงหรือหนอแล?"
ร. "โภชนะย่อมรักษาชนทั้งหลายบางพวก ไม่รักษาชนทั้งหลายบางพวก."
ถ. "เพราะเหตุไร ขอถวายพระพร."
ร. "พระผู้เป็นเจ้า ณ กาลใด ชนทั้งหลายบางพวกบริโภคโภชนาหารนั้นมากเกินประมาณ ย่อมจุกตาย ในกาลนั้น. เพราะเหตุนั้น จึงว่า 'โภชนะรักษาชนทั้งหลายบางพวก ไม่รักษาชนทั้งหลายบางพวก."
ถ. "ขอถวายพระพร ถ้าอย่างนั้น โภชนะไม่รักษาชีวิตของสัตว์ทั้งหลายทั้งปวงทั่วไป."
ร. "พระผู้เป็นเจ้านาคเสน โภชนะย่อมนำ คือ ทอนชีวิตสัตว์ทั้งหลายด้วยเหตุสองอย่าง คือ ความบริโภคมากเกินอย่างหนึ่ง, คือ ความที่สัตว์ผู้บริโภคนั้นมีธาตุไฟหย่อนหนึ่ง; โภชนะเป็นของให้อายุแก่สัตว์ทั้งหลาย มานำไป คือ ทอนชีวิตสัตว์ทั้งหลาย เพราะความบำรุงไม่ดี."
ถ. "ขอถวายพระพร ปริตรย่อมรักษาชนทั้งหลายบางพวกย่อมไม่รักษาชนทั้งหลายบางพวก ฉันนั้นนั่นเทียว.
ขอถวายพระพร ปริตรรักษาไว้ไม่ได้ ด้วยเหตุสามอย่าง คือ กัมมวรณ กรรมเป็นเครื่องกั้นหนึ่ง, กิเลสาวรณ กิเลสเป็นเครื่องกั้นหนึ่ง, อสัททหนตา ความไม่เชื่อถือปริตรนั้นให้มั่นคงหนึ่ง. ปรตรเป็นเครื่องตามรักษาสัตว์ ละการรักษาเสีย เพราะเหตุเครื่องกั้นซึ่งสัตว์ทั้งหลายกระทำแล้วด้วยตน. อุปมาเหมือนมารดาเลี้ยงบุตรที่เกิดในครรภ์อุ้มทรงครรภ์มาจนคลอด ด้วยเครื่องบำรุงเป็นประโยชน์เกื้อกูล, ครั้นคลอดแล้ว นำของไม่สะอาด และมลทิน และน้ำมูก เสียจากอวัยวะชำระให้หมดจด ฉาบทาสุคนธ์อันอุดมประเสริฐ, เมื่อบุคคลอื่นด่าอยู่หรือตีอยู่ มารดามีหฤทัยหวั่นไหว ฉุดจูงไปหาเจ้าบ้าน; ถ้าบุตรของมารดานั้นเป็นผู้มีโทษผิดล่วงเขตแดน, เมื่อเป็นเช่นนั้น มารดานั้นย่อมติย่อมโบยบุตรนั้นด้วยท่อนไม้ และตะบอง และเข่า และกำมือทั้งหลาย; มารดาของบุตรนั้นได้เพื่อจะกระทำความฉุดมาฉุดไป และความจับและจูงไปหาเจ้าบ้านหรือเป็นไฉน?"
ร. "หาไม่ พระผู้เป็นเจ้า."
ถ. "เพราะเหตุไร ขอถวายพระพร."
ร. "เพราะโทษผิดของบุตรนั้นกระทำแล้วเองนะซิ."
ถ. "ขอถวายพระพร มารดามิอาจรักษาป้องกันบุตรนั้นไว้ได้ เพราะโทษที่บุตรนั้นกระทำผิดเอง ฉันใด, ปริตรเป็นเครื่องรักษาสัตว์ทั้งหลาย กระทำความรักษาสัตว์ทั้งหลายไว้ไม่ได้ เพราะโทษผิดที่สัตว์ทั้งหลายกระทำด้วยตน ฉันนั้นนั่นเทียวแล."
ร. "พระผู้เป็นเจ้านาคเสน ดีละ ปัญหาพระผู้เป็นเจ้าวินิจฉัยดีแล้ว, ชัฏพระผู้เป็นเจ้ากระทำไม่ให้เป็นชัฏแล้ว, มืดพระผู้เป็นเจ้ากระทำให้เป็นแสงสว่างแล้ว, ร่างข่ายคือทิฐิมากระทบพระผู้เป็นเจ้าผู้ประเสริฐกว่าเจ้าคณะผู้ประเสริฐแล้ว คลี่คลายไปแล้ว."

๕. ภควโต ลาภันตรายปัญหา ๑๕

พระราชาตรัสถามว่า "พระผู้เป็นเจ้านาคเสน พระผู้เป็นเจ้ากล่าวอยู่ว่า 'พระตถาคตรวย จีวร บิณฑบาต เสนาสนะ และยาเป็นปัจจัยแก่คนไข้เป็นบริกขารทั้งหลาย' ดังนี้. อนึ่ง พระผู้เป็นเจ้ากล่าวอีกว่า พระตถาคตเสด็จเข้าไปสู่บ้านแห่งพราหมณ์ชื่อ ปัญจสาลคามเพื่อบิณฑาหาร ไม่ได้วัตถุอันใดอันหนึ่งเลย มีบาตรล้างแล้วอย่างไร คือ ทรงแต่บาตรเปล่า เสด็จออกแล้ว.' ถ้าว่าพระตถาคตรวยจีวร บิณฑบาต เสนาสนะ และยาเป็นปัจจัยแก่คนไข้เป็นบริกขารทั้งหลาย, ถ้าอย่างนั้น คำที่ว่า 'พระองค์ได้เสด็จเข้าไปสู่บ้านแห่งพราหมณ์ชื่อปัญจสาลคาม เพื่อบิณฑาหาร ไม่ได้วัตถุอันใดอันหนึ่งเลยทีเดียว มีบาตรล้างแล้วอย่างไร คือ ทรงแต่บาตรเปล่าเสด็จออกแล้ว' ดังนี้นั้นผิด. ถ้าว่าพระตถาคตเสด็จเข้าไปสู่บ้านแห่งพราหมณ์ชื่อ ปัญจสาลคาม เพื่อบิณฑาหาร ไม่ได้วัตถุอันใดอันหนึ่งเลยทีเดียว ทรงบาตรล้างแล้วอย่างไร เสด็จออกแล้ว, ถ้าอย่างนั้น คำที่ว่า 'พระตถาคตรวย จีวร บิณฑบาต เสนาสนะ และยาเป็นปัจจัยแก่คนไข้เป็นบริขารทั้งหลาย' ดังนี้ แม้นั้นก็ผิด. ปัญหาแม้นี้สองเงื่อนใหญ่ด้วยดี บัณฑิตพึงแทงตลอดโดยยาก มาถึงพระผู้เป็นเจ้าแล้ว, ปัญหานั้นพระผู้เป็นเจ้าพึงขยายออกให้แจ้งชัดเถิด."
พระเถรเจ้าทูลว่า "ขอถวายพระพร พระตถาคตรวยจีวร บิณฑบาต เสนาสนะ และยาเป็นปัจจัยแก่คนไข้เป็นบริขารทั้งหลาย. อนึ่ง พระองค์เสด็จเข้าไปสู่บ้านแห่งพราหมณ์ชื่อ ปัญจสาลคาม เพื่อบิณฑาหาร ไม่ได้วัตถุอันใดอันหนึ่งเลยทีเดียวแล้ว ทรงบาตรล้างแล้วอย่างไร เสด็จออกแล้ว. ก็แหละ ความที่พระองค์ไม่ได้วัตถุอันใดอันหนึ่ง ทรงแต่บาตรเปล่าเสด็จออกแล้วนั้น เป็นไปเพราะเหตุแห่งมารผู้มีบาป."
ร. "พระผู้เป็นเจ้า ถ้าอย่างนั้น กุศลที่พระองค์ทรงก่อสร้างไว้แล้วสิ้นกัปป์ทั้งหลาย ล่วงคลองแห่งการนับแล้ว จะสำเร็จผลอะไร, มารผู้มีบาป ตั้งขึ้นแล้วในกาลนี้ จะพึงปิดกุศลนั้น เป็นธรรมเครื่องอยู่มีกำลังและเรี่ยวแรงแล้วว่ากระไร. ถ้าอย่างนั้น อุปวาทจะมาในสองสถานเพราะวัตถุนั้นว่า 'อกุศลเป็นของกำลังวิเศษแม้กว่ากุศล, กำลังของมาย่อมมีกำลังวิเศษแม้กว่ากำลังของพระพุทธเจ้า.' ถ้าอย่างนั้นยอดไม้เป็นของหนักวิเศษแม้กว่าโคนแห่งต้นไม้, บาปที่สุดจะเป็นของมีกำลังวิเศษแม้กว่าบุคคลที่สะพรั่งแล้วด้วยคุณ."
ถ. "ขอถวายพระพร อกุศลซึ่งจะเป็นของมีกำลังวิเศษแม้กว่ากุศล และกำลังของมารซึ่งจะเป็นของมีกำลังวิเศษแม้กว่ากำลังของพระพุทธเจ้า. เพราะเหตุมีประมาณเท่านั้น หามิได้. เออก็ บรมบพิตรพึงปรารถนาเหตุในข้อนี้.
ขอถวายพระพร เหมือนมีบุรุษนำน้ำผึ้งหรือ หรือรวงแห่งน้ำผึ้ง หรือเครื่องบรรณาการอื่นทูลเกล้า ฯ ถวายแด่พระเจ้าจักรพรรดิ, บุรุษผู้รักษาพระทวารของพระเจ้าจักรพรรดิ พึงว่ากะบุรุษนั้นนั่นอย่างนี้ว่า 'สมัยนี้ ไม่ใช่กาลเพื่อจะเฝ้าพระมหากษัตริย์, เหตุนั้นแล ท่านจงถือเครื่องบรรณาการของท่านกลับไปเสียเร็ว ๆ เถิด อย่าทันให้พระมหากษัตริย์ลงพระราชอาชญาแก่ท่านเสียก่อนเลย, ลำดับนั้น บุรุษนั้นสะดุ้งหวาดเสียวแล้ว เพราะกลัวแต่พระราชอาชญา พึงถือเครื่องบรรณาการนั้นกลับไปเร็ว ๆ ฉันใด; พระเจ้าจักรพรรดินั้น ชื่อว่าเป็นผู้เสื่อมโดยวิเศษ เพราะบุรุษผู้รักษาซึ่งพระทวาร ก็หรือไม่พึงได้เครื่องบรรณาการหน่อยหนึ่งอันอื่น ด้วยเหตุสักว่าขาดแคลนเครื่องบรรณาการ มีประมาณเท่านั้นบ้างหรือแล ขอถวายพระพร."
ร. "หาไม่ พระผู้เป็นเจ้า บุรุษผู้รักษาพระทวารนั้น เป็นผู้อันความริษยาครอบงำแล้ว ห้ามเครื่องบรรณาการเสียแล้ว, ก็แต่ว่า เครื่องบรรณาการแม้แสนเท่า ย่อมเข้าถึงแด่พระเจ้าจักรพรรดิโดยพระทวารอื่น."
ถ. "ขอถวายพระพร บุรุษผู้รักษาพระทวารนั้น อันความริษยาครอบงำแล้ว ห้ามเครื่องบรรณาการของพระเจ้าจักรพรรดิเสียแล้วถึงกระนั้น เครื่องบรรณาการแม้แสนเท่า ย่อมเข้าถึงแด่พระเจ้าจักรพรรดิโดยพระทวารอื่น ฉันใด, มารผู้มีบาปอันความริษยาครอบงำแล้ว สิงพราหมณ์และคฤหบดีทั้งหลายชาวบ้านปัญจสาลคามแล้ว, ถึงกระนั้น แสนแห่งเทพดาทั้งหลายเหล่าอื่นมิใช่แสนเดียว ถือโอชาทิพย์อมฤตเข้าไปใกล้แล้ว เป็นผู้ประคองอัญชลีนมัสการพระผู้มีพระภาคเจ้ายืนอยู่ ด้วยคิดว่า 'เราทั้งหลายจักแทรกทิพยโอชาลงในพระกายของพระผู้มีพระภาคเจ้า' ฉันนั้นนั่นเทียว ขอถวายพระพร."
ร. "ข้อนั้นจงยกไว้เถิด พระผู้เป็นเจ้า ปัจจัยทั้งหลายสี่ เป็นลาภดีของพระผู้มีพระภาคเจ้าผู้บุรุษสูงสุดในโลก หรือพระองค์อันเทพดาและมนุษย์ทั้งหลายวิงวอนเชิญบริโภคปัจจัยทั้งหลายสี่ เออก็แหละความประสงค์อันใดของมาร ความประสงค์นั้น สำเร็จแล้วด้วยเหตุมีประมาณเท่านั้น มารนั้นได้กระทำอันตรายแก่ความเสวยของพระผู้มีพระภาคเจ้าด้วยเหตุไรเล่า. ความสงสัยในข้อนี้ของข้าพเจ้ายังไม่ขาด, ข้าพเจ้ามีความสงสัยในข้อนั้นเกิดแล้ว แล่นไปสู่ความสงสัยแล้ว, ใจของข้าพเจ้าย่อมไม่แล่นไปในเหตุนั้น มารได้กระทำอันตรายแก่ลาภเลวทรามเล็กน้อย เป็นบาป ไม่ใช่ของพระอริยเจ้า แด่พระตถาคตอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าผู้เป็นอัครบุคคลประเสริฐ มีบุญเป็นกุศลประเสริฐเป็นแดนเถิด ไม่มีใครเสมอ ไม่มีบุคคลเปรียบ ไม่มีใครเปรียบเสมอในโลกกับทั้งเทวดา เพราะเหตุไรเล่า พระผู้เป็นเจ้า."
ถ. "ขอถวายพระพร อันตรายมีอยู่สี่ประการ คือ อทิฏฐันตราย อันตรายด้วยความไม่เห็นหนึ่ง อุททิสสกตันตราย อันตรายกะโภชนะอันบุคคลเฉพาะกระทำแล้วหนึ่ง อุปักขตันตราย อันตรายกะของอันบุคคลเตรียมไว้แล้วหนึ่ง ปริโภคันตราย อันตรายในของเครื่องใช้สอยหนึ่ง. ในอันตรายทั้งสี่นั้น ชื่อ อทิฏฐันตราย คือใคร ๆ กระทำอันตรายกะของที่บุคคลปรุงไว้แล้วไม่เฉพาะ ด้วยอันไม่เห็น ด้วยคิดว่า 'ประโยชน์อะไรด้วยอันให้แล้วแก่บุคคลอื่น.' นี้ชื่อ อทิฏฐันตราย. อุททิสสกตันตรายเป็นไฉน? ในโลกนี้ โภชนะเป็นของอันใคร ๆ อ้างบุคคลบางคนแล้ว ตกแต่งเฉพาะแล้ว ใคร ๆ กระทำอันตรายกะโภชนะ นั้น, นี้ชื่อ อุททิสสกตันตราย. อุปักขตันตรายเป็นไฉน? ในโลกนี้ วัตถุ อันใดอันหนึ่งเป็นของอันบุคคลเตรียมไว้แล้ว แต่ยังไม่ได้ประเคนแล้ว ใคร ๆ กระทำอันตรายในวัตถุที่เขาเตรียมไว้แล้วนั้น, นี้ชื่อ อุปักขตันตราย. ปริโภคันตราย เป็นไฉน? ในโลกนี้ วัตถุอันใดอันหนึ่งเป็นเครื่องใช้สอยใคร ๆ กระทำอันตรายในวัตถุเครื่องใช้สอยนั้น, นี้ชื่อเป็น ปริโภคันตราย. อันตรายทั้งหลายสี่เหล่านี้แล.
ขอถวายพระพร ก็มารผู้มีบาปสิงพราหมณ์และคฤหบดีชาวบ้านปัญจสาลคามทั้งหลายแล้ว เพราะเหตุใด, ที่นั้นจะเป็นที่บริโภคของพระผู้มีพระภาคเจ้าไม่ใช่เลย จะเป็นวัตถุอันบุคคลตระเตรียมแล้ว ก็ไม่ใช่ จะเป็นโภชนะอันบุคคลกระทำเฉพาะแล้ว ก็ไม่ใช่, วัตถุยังไม่มาแล้ว ยังไม่ถึงพร้อมแล้ว มารกระทำอันตรายด้วยความเห็น; ก็ความกระทำอันตรายนั้น เฉพาะพระผู้มีพระภาคเจ้าองค์เดียวเท่านั้นหามิได้, ชนทั้งหลายเหล่าใดออกแล้ว มาเฉพาะแล้วโดยสมัยนั้น ชนทั้งหลายเหล่านั้นแม้ทั้งปวงไม่ได้โภชนะแล้วในวันนั้น. บุคคลใด พึงกระทำอันตรายกะเครื่องบริโภคอันบุคคลกระทำเฉพาะแล้ว เตรียมไว้แล้วเพื่อพระผู้มีพระภาคเจ้านั้น อาตมภาพไม่เห็นบุคคลนั้นในโลกทั้งเทพดาทั้งมารทั้งพรหม ในหมู่สัตว์กับทั้งสมณะและพราหมณ์ ทั้งเทพดาและมนุษย์; ถ้าใคร ๆ พึงกระทำอันตรายกะเครื่องบริโภคอันบุคคลกระทำเฉพาะแล้ว เตรียมไว้แล้ว เพื่อพระผู้มีพระภาคเจ้านั้น ด้วยความริษยา, ศีรษะของบุคคลนั้น พึงแตกโดยร้อยภาค หรือพันภาค ขอถวายพระพร.
ขอถวายพระพร คุณทั้งหลายของพระตถาคตสี่ประการเหล่านี้อันใคร ๆ ห้ามกันไม่ได้, คุณทั้งหลายสี่ประการที่ใคร ๆ ห้ามกันไม่ได้เป็นไฉน? ลาภอันบุคคลกระทำแล้วเฉพาะ เตรียมไว้แล้ว เพื่อพระผู้มีพระภาคเจ้า อันใคร ๆ ไม่อาจเพื่อจะกระทำอันตรายหนึ่ง, แสงสว่างมีวาหนึ่งเป็นประมาณ ไปตามพระสรีระของพระผู้มีพระภาคเจ้าอันใคร ๆ ไม่อาจเพื่อจะกระทำอันตรายหนึ่ง, รัตนะ คือ พระสัพพัญญุตญาณของพระผู้มีพระภาคเจ้า อันใคร ๆ ไม่อาจเพื่อจะกระทำอันตรายหนึ่ง, พระชนมชีพของพระผู้มีพระภาคเจ้า อันใคร ๆ ไม่อาจเพื่อจะกระทำอันตรายหนึ่ง, คุณทั้งหลายของพระตถาคตเจ้าสี่ประการเหล่านี้แล อันใคร ๆ พึงห้ามกันไม่ได้. คุณทั้งหลายแม้ทั้งปวงเหล่านี้ มีรสเป็นอันเดียว ไม่มีโรค ไม่กำเริบ ไม่มีความเพียรแห่งผู้อื่น กิริยาทั้งหลายเป็นของไม่หยาบ. มารผู้มีบาปแอบสิงพราหมณ์และคฤหบดีทั้งหลายชาวบ้านปัญจสาลคาม ด้วยความไม่เห็น, โจรทั้งหลายซุ่มอยู่ในชัฏในประเทศที่สุดแห่งแดนของพระมหากษัตริย์ ประทุษร้ายชนเดินทาง ก็ถ้าว่า พระมหากษัตริย์พึงทอดพระเนตรเห็นโจรทั้งหลายเหล่านั้นไซร้, โจรทั้งหลายเหล่านั้นพึงได้ความสวัสดี หรือเป็นไฉนเล่า? ขอถวายพระพร"
ร. "หาไม่ พระผู้เป็นเจ้า ถ้าพระมหากษัตริย์ทอดพระเนตรเห็นโจรทั้งหลายเหล่านั้นไซร้, พระองค์พึงทรงบัญชาให้ราชบุรุษผ่าโจรทั้งหลายเหล่านั้นร้อยภาคบ้าง พันภาคบ้าง."
ถ. "ขอถวายพระพร โจรทั้งหลายซุ่มอยู่ในชัฏในประเทศเป็นที่สุดแห่งแดนของพระมหากษัตริย์ ประทุษร้ายชนเดินทางได้ ด้วยความที่พระมหากษัตริย์ไม่ทอดพระเนตรเห็น ฉันใด, มารผู้มีบาปแอบสิงพราหมณ์และคฤหบดีทั้งหลายชาวบ้านปัญจสาลคามได้ ด้วยความที่ใคร ๆ ไม่เห็น ฉันนั้นนั่นเทียวแล.
อีกอย่างหนึ่ง เปรียบเหมือนสตรียังพร้อมด้วยสามี ลอบเสพบุรุษอื่นด้วยความที่สามีไม่เห็น ฉันใด, มารผู้มีบาปแอบสิงพราหมณ์และคฤหบดีทั้งหลายชาวบ้านปัญจสาลคามได้ ด้วยความที่ใคร ๆ ไม่เห็นฉันนั้นโดยแท้; ถ้าสตรีเสพบุรุษอื่นในที่เฉพาะหน้าของสามีไซร้, สตรีนั้นพึงได้ความสวัสดีบ้างหรือเป็นไฉน? ขอถวายพระพร"
อีกอย่างหนึ่ง เปรียบเหมือนสตรียังพร้อมด้วยสามี ลอบเสพบุรุษอื่นด้วยความที่สามีไม่เห็น ฉันใด, มารผู้มีบาปแอบสิงพราหมณ์และคฤหบดีทั้งหลายชาวบ้านปัญจสาลคามได้ ด้วยความที่ใคร ๆ ไม่เห็นฉันนั้นโดยแท้;ถ้าสตรีเสพบุรุษอื่นในที่เฉพาะหน้าของสามีไซร้, สตรีนั้นพึงได้ความสวัสดีบ้างหรือเป็นไฉน? ขอถวายพระพร"
ร. "หาไม่ พระผู้เป็นเจ้า ถ้าสตรีนั้นเสพบุรุษอื่นต่อหน้าสามีไซร้, สามีพึงทุบสตรีนั้นบ้าง พึงฆ่าสตรีนั้นบ้าง พึงจำสตรีนั้นไว้บ้าง พึงนำสตรีนั้นเข้าไปสู่ความเป็นทาสีบ้างซิ."
ถ. "ขอถวายพระพร มารผู้มีบาปแอบสิงพราหมณ์และคฤหบดีทั้งหลายชาวบ้านปัญจสาลคามได้แล้ว ด้วยความที่ใคร ๆ ไม่เห็นฉันนั้นนั่นเทียวแล. ถ้าว่ามารผู้มีบาป พึงกระทำอันตรายกะเครื่องเสวยที่บุคคลอุทิศเฉพาะกระทำแล้ว เตรียมไว้แล้ว เพื่อพระผู้มีพระภาคเจ้าไซร้, ศีรษะของมารนั้น พึงแตกโดยร้อยภาคบ้าง โดยพันภาคบ้าง ขอถวายพระพร."
ร. "พระผู้เป็นเจ้านาคเสน ความแอบสิงอย่างนั้นนั่น มารผู้มีบาปกระทำแล้วด้วยความเป็นโจร, มารผู้มีบาปแอบสิงพราหมณ์และคฤหบดีทั้งหลายชาวบ้านปัญจสาลคามได้แล้ว. ถ้าว่ามารผู้มีบาปนั้นพึงกระทำอันตรายกะเครื่องเสวยที่บุคคลเฉพาะกระทำแล้ว เตรียมไว้แล้ว เพื่อพระผู้มีพระภาคเจ้าไซร้, ศีรษะของมารนั้นพึงแตกร้อยภาคบ้างพันภาคบ้าง, กายของมารนั้น พึงเรี่ยรายไปเหมือนดังกำแห่งเถ้าบ้าง. ดีละ พระผู้เป็นเจ้านาคเสน ข้อวิสัชนาของพระผู้เป็นเจ้าสมอย่างนั้น ข้าพเจ้ายอมรับรองอย่างนั้น."





เอาบุญมาฝากจะถวายสังฆทาน เจริญวิปัสสนา ให้ธรรมะเป็นทาน ให้อภัยทาน บอกบุญ สักการะพระธาตุ ให้อาหารสัตว์เป็นทาน ช่วยพ่อแม่ทำงานบ้าน ถวายข้าวพระพุทธ อนุโมทนาบุญกับผู้อื่น สร้างพระสร้างเจดีย์สร้างธรรมจักรสร้างรอยพระพุทธบาทสร้างระฆังและอัครสาวกซ้ายขวาสร้างพระสีวลีสร้างพระกัสสะปะสร้างพระอุปคุตสร้างพระองคุลีมารผสมทองคำเปลวพร้อมนำดอกไม้มาบูชาถวายพระรัตนตรัย
รักษาศีล เจริญภาวนา สวดมนต์ ให้อาหารสัตว์เป็นทานเป็นประจำ กรวดน้ำอุทิศบุญ อนุโมทนากับพ่อแม่ญาติพี่น้องที่รักษาศีล ฟังธรรม ให้ทาน อนุโมทนากับเพื่อนๆที่รักษาศีล ศึกษาการรักษาโรค ที่ผ่านมาคุณแม่ได้ถวายสังฆทานมาโดยตลอด ที่ผ่านมาได้ปิดทองพระ รักษาอาการป่วยของผู้อื่นกับผู้ร่วมงาน และที่ผ่านมาได้รักษาอาการป่วยของบิดามารดา ปล่อยชีวิตสัตว์มาโดยตลอด ถวายยาแก่ภิกษุ ขัดองค์พระ จุดเทียนถวายพระรัตนตรัย ให้ความรู้สมุนไพรเพื่อสุขภาพเป็นวิทยาทาน ที่ผ่านมาคุณแม่ได้ทำบุญหลายอย่างมาโดยตลอด ที่ผ่านมาได้ถวายสังฆทานและทำบุญสร้างอาคารผู้ป่วยและกฐินกับเพื่อนๆและให้อาหารเป็นทานแก่สรรพสัตว์กับเพื่อนๆและเพื่อนคนหนึ่งและบริวารของเพื่อนและครอบครัวของเพื่อนได้มีจิตเมตตาให้ทานและเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ช่วยเหลือผู้อื่นอยู่ตลอดและเพื่อนได้เคยสวดมนต์เย็นกับคุณแม่และที่ผ่านมาได้ทำบุญสักการะพระธาตุทำบุญปิดทองชำระหนี้สงฆ์และไหว้พระและทำบุญตามกล่องรับบริจาคตามวัดต่างๆกับเพื่อนและตั้งใจว่าจะสร้างบารมีให้ครบทั้ง 10 อย่างขอให้อนุโมทนาบุญด้วย


ขอเชิญถวายสังฆทาน เจริญวิปัสสนา ให้ธรรมะเป็นทาน ให้อภัยทาน บอกบุญ ให้อาหารสัตว์เป็นทาน สักการะพระธาตุ ฟังธรรม สวดมนต์ ช่วยพ่อแม่ทำงานบ้าน
รักษาศีล เจริญภาวนา สวดมนต์ สร้างพระสร้างเจดีย์สร้างธรรมจักรสร้างรอยพระพุทธบาท
สร้างระฆังและอัครสาวกซ้ายขวาสร้างพระสีวลีสร้างพระกัสสะปะสร้างพระอุปคุตสร้างพระองคุลีมารผสมทองคำเปลวพร้อมนำดอกไม้มาบูชาถวายพระรัตนตรัย กรวดน้ำอุทิศบุญ ถวายข้าวพระพุทธ อนุโมทนาบุญกับผู้อื่น สนทนาธรรม
ถวายข้าวพระพุทธ อนุโมทนาบุญกับผู้อื่น รักษาอาการป่วยของผู้อื่น รักษาอาการป่วยของบิดามารดา จุดเทียนถวายพระรัตนตรัย
ปิดทอง สักการะพระธาตุ กราบอดีตสังขารเจ้าอาวาสที่ไม่เน่าเปื่อย ที่วัดแจ้ง อ.เมือง จ.ปราจีนบุรี ปิดทองพระ ปล่อยชีวิตสัตว์ถวายยาแก่ภิกษุ ไหว้พระตามวัดต่างๆ ขัดองค์พระ ให้ความรู้สมุนไพรในการดูแลสุขภาพเป็นทาน
และสร้างบารมีให้ครบทั้ง 10 อย่างขอเชิญร่วมบุญกุศลร่วมกันนะ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 03 ส.ค. 2012, 11:46 
 
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 6
สมาชิก ระดับ 6
ลงทะเบียนเมื่อ: 08 พ.ค. 2012, 02:09
โพสต์: 456


 ข้อมูลส่วนตัว


.. :b8:

ผู้กระทำเหตุให้บังเกิดในนรก อบาย ทุคติ วินิบาต แม้สัตว์เดรัจฉานเหล่าใดก็ดี..ใครเล่าจะช่วยได้ ถ้าไม่ช่วยตัวเอง.. ผู้ยังหวังรอแต่ผลแห่งบุญกุศลอันคนอื่นๆ พึงอุทิศให้อยู่ด้วยความเป็นญาติก็ดี.. ผู้นั้นชื่อว่า ผู้ประมาท.. และผู้ไม่ศึกษากฏแห่งกรรม ชื่อว่า ผู้ไม่รู้..

อนุโมทนาแล้วๆๆ..


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 04 ส.ค. 2012, 04:34 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
อาสาสมัคร
อาสาสมัคร
ลงทะเบียนเมื่อ: 06 มี.ค. 2009, 10:48
โพสต์: 5361


 ข้อมูลส่วนตัว


๖. สัพพสัตตหิตจรณปัญหา ๑๖

พระราชาตรัสถามว่า "พระผู้เป็นเจ้านาคเสน พระผู้เป็นเจ้ากล่าวอยู่ว่า 'พระตถาคตนำสิ่งที่ไม่เป็นประโยชน์เกื้อกูลออกเสีย เข้าไปตั้งประโยชน์เกื้อกูลไว้แก่สัตว์ทั้งหลายทั้งปวง, ดังนี้. อนึ่ง พระผู้เป็นเจ้ากล่าวอยู่อีกว่า 'เมื่อธรรมปริยายเปรียบด้วยกองแห่งไฟ อันพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสเทศนาอยู่ โลหิตร้อนพลุ่งขึ้นแล้วจากปากภิกษุทั้งหลายประมาณหกสิบ' ดังนี้. พระผู้เป็นเจ้า พระตถาคต เมื่อทรงแสดงธรรมปริยายมีกองแห่งไฟเป็นเครื่องเปรียบ นำประโยชน์เกื้อกูลของภิกษุทั้งหลายประมาณหกสิบออกเสียแล้ว เข้าไปตั้งสิ่งที่ไม่เป็นประโยชน์เกื้อกูลไว้แก่ภิกษุทั้งหลายเหล่านั้น. ถ้าว่าพระตถาคตนำสิ่งที่ไม่ใช่ประโยชน์เกื้อกูลออกเสีย เข้าไปตั้งสิ่งที่เป็นประโยชน์เกื้อกูลไว้แก่สัตว์ทั้งหลายทั้งปวง, ถ้าอย่างนั้น คำที่ว่า 'ธรรมปริยายมีกองไฟเป็นเครื่องเปรียบ อันพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสเทศนาอยู่ โลหิตร้อนพลุ่งออกแล้วจากปากของภิกษุทั้งหลายประมาณหกสิบ นั้นผิด. ถ้าเมื่อธรรมปริยายมีกองไฟเป็นเครื่องเปรียบ อันพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสเทศนาอยู่ โลหิตร้อนพลุ่งออกจากปากของภิกษุทั้งหลายประมาณหกสิบจริง, ถ้าอย่างนั้น คำที่ว่า 'พระตถาคตนำสิ่งที่ไม่ใช่ประโยชน์เกื้อกูลออกเสีย เข้าไปตั้งสิ่งที่เป็นประโยชน์เกื้อกูลไว้แก่สัตว์ทั้งหลายทั้งปวง' ดังนี้ แม้นั้นก็ผิด. แม้ปัญหานี้สองเงื่อน มาถึงพระผู้เป็นเจ้าแล้ว พระผู้เป็นเจ้าพึงขยายให้แจ้งชัดเถิด"
พระเถรเจ้าทูลว่า "ขอถวายพระพร พระตถาคตนำสิ่งที่ไม่ใช่ประโยชน์ออกเสีย เข้าไปตั้งสิ่งที่เป็นประโยชน์เกื้อกูลไว้ แก่สัตว์ทั้งหลายทั้งปวง, เมื่อธรรมปริยายมีกองไฟเป็นเครื่องเปรียบ พระองค์ตรัสเทศนาอยู่ โลหิตร้อนพลุ่งออกแล้วจากปากของภิกษุทั้งหลายประมาณหกสิบด้วยจริง, ก็และโลหิตนั้นจะได้พลุ่งออกจากปากของภิกษุทั้งหลายเหล่านั้น เพราะกิริยาของพระตถาคต ก็หาไม่ โลหิตนั้นพลุ่งออกจากปากของภิกษุทั้งหลายเหล่านั้น เพราะกิริยาของตนของภิกษุทั้งหลายนั่นเอง."
ร. "พระผู้เป็นเจ้านาคเสน ถ้าพระตถาคตไม่ทรงภาสิตธรรมปริยายมีกองไฟเป็นเครื่องเปรียบ โลหิตร้อนจะพึงพลุ่งออกจากปากของภิกษุทั้งหลายเหล่านั้นหรือ?"
ถ. "หาไม่ ขอถวายพระพร ความเร่าร้อนเกิดขึ้นแล้วในกายของภิกษุทั้งหลายเหล่านั้น ผู้ปฏิบัติผิดแล้ว เพราะได้ฟังธรรมปริยายของพระผู้มีพระภาคเจ้า, โลหิตร้อนพลุ่งออกจากปากของภิกษุทั้งหลายเหล่านั้น เพราะความเร่าร้อนนั้น."
ร. "พระผู้เป็นเจ้านาคเสน ถ้าอย่างนั้น โลหิตร้อนพลุ่งออกแล้วจากปากของภิกษุทั้งหลายเหล่านั้น เพราะกิริยาของพระตถาคตนั้นเอง พระตถาคตทีเดียวเป็ฯอธิการในความที่โลหิตร้อนพลุ่งออกจากปากนั้นเพื่อความฉิบหายของภิกษุทั้งหลายเหล่านั้น. อุปมาเหมือนกะว่า งูเข้าไปสู่จอมปลวก, มีบุรุษผู้ต้องการฝุ่นคนใดคนหนึ่ง ทำลายจอมปลวกนำฝุ่นไป, พึงปิดโพรงแห่งจอมปลวกนั้นเสียด้วยความนำฝุ่นไป, ทีนั้นงูในจอมปลวกนั้นนั่นเทียว ไม่ได้ความหายใจ คือ หายใจไม่ได้ ตาย; งูนั้นถึงความตายเพราะกิริยาของบุรุษนั้นไม่ใช่หรือ พระผู้เป็นเจ้า."
ถ. "ขอถวายพระพร งูนั้นถึงความตายเพราะกิริยาของบุรุษนั้น."
ร. "พระผู้เป็นเจ้านาคเสน พระตถาคตเป็นอธิการในความที่โลหิตเป็นของร้อนพลุ่งออกจากปากของภิกษุทั้งหลายนั้น เพื่อความฉิบหายแห่งภิกษุทั้งหลายเหล่านั้น ฉันนั้นนั่นเทียวแล."
ถ. "ขอถวายพระพร พระตถาคตเมื่อทรงแสดงธรรม ไม่ทรงกระทำความเอ็นดูและปฏิฆะ, พระองค์พ้นจากความเอ็นดูและปฏิฆะทรงแสดงธรรม, เมื่อพระองค์ทรงแสดงธรรมอย่างนี้ บุคคลทั้งหลายเหล่าใด เป็นผู้ปฏิบัติชอบในธรรมนั้น บุคคลเหล่านี้ย่อมตรัสรู้; ส่วนบุคคลทั้งหลายเหล่าใด เป็นผู้ปฏิบัติผิดแล้ว บุคคลทั้งหลายเหล่านั้นย่อมตกไป. เปรียบเหมือนเมื่อบุรุษสั่นต้นมะม่วง หรือต้นชมพู่ หรือต้นมะทราง(น่าจะเป็นมะปรางมากกว่า-ความเห็นส่วนตัว) ผลทั้งหลายในต้นไม้อันใด ที่เป็นสาระมีขั้วมั่น ผลเหล่านั้นไม่เคลื่อนไม่หลุด คงอยู่ในต้นไม้นั้นนั่นเทียว, ส่วนผลทั้งหลายอันใด มีโคนแห่งก้านเน่า มีขั้วทรพล ผลทั้งหลายเหล่านั้น ย่อมหล่นไป ฉันใด, พระตถาคต เมื่อทรงแสดงธรรม ไม่กระทำความเอ็นดูและปฏิฆะ, พระองค์พ้นแล้วจากความเอ็นดูและปฏิฆะทรงแสดงธรรม, เมื่อพระองค์ทรงแสดงธรรมอยู่อย่างนี้ บุคคลทั้งหลายเหล่าใด เป็นผู้ปฏิบัติชอบแล้วในธรรมนั้น บุคคลทั้งหลายเหล่านั้นย่อมตรัสรู้; ส่วนบุคคลทั้งหลายเหล่าใดที่ปฏิบัติผิดแล้ว บุคคลทั้งหลายเหล่านั้นย่อมตกไป ฉันนั้นนั่นเทียวแล.
อีกนัยหนึ่ง ชนชาวปรารถนาจะปลูกข้าวกล้า ย่อมไถซึ่งนา, เมื่อชาวนานั้นไถนาอยู่ หญ้าทั้งหลายไม่ใช่แสนเดียวย่อมตายไป ฉันใด;พระตถาคตจะยังสัตว์ทั้งหลายที่มีวิปัสสนาญาณ ซึ่งแก่กล้าแล้วให้ตรัสรู้พระองค์พ้นแล้วจากความเอ็นดูและปฏิฆะทรงแสดงธรรม, เมื่อพระองค์ทรงแสดงธรรมอยู่อย่างนี้ บุคคลทั้งหลายเหล่าใด เป็นผู้ปฏิบัติชอบแล้วในธรรมนั้น บุคคลทั้งหลายเหล่านั้นย่อมตรัสรู้; ส่วนว่าบุคคลทั้งหลายเหล่าใด ที่เป็นผู้ปฏิบัติผิดแล้ว บุคคลทั้งหลายเหล่านั้น เหมือนกะหญ้าทั้งหลายที่ตายไปแล้ว ฉันนั้น.
อีกนัยหนึ่ง มนุษย์ทั้งหลายหีบอ้อยในยนต์ เหตุจะต้องการรส, เมื่อมนุษย์ทั้งหลายเหล่านั้นหีบอ้อยอยู่ กิมิชาติทั้งหลายเหล่าใด ในยนต์นั้น ที่ไปแล้วในปากแห่งยนต์ กิมิชาติทั้งหลายเหล่านั้น ย่อมถูกยนต์บีบ ฉันใด; พระตถาคตมีพระประสงค์จะให้สัตว์ทั้งหลายที่มีวิปัสสนาญาณในใจอันแก่กล้าแล้วตรัสรู้ ทรงบีบเฉพาะซึ่งยนต์คือธรรม, สัตว์ทั้งหลายเหล่าใด ที่ปฏิบัติผิดแล้วในธรรมนั้น สัตว์ทั้งหลายเหล่านั้น ย่อมตายเหมือนกิมิชาติ ฉันนั้นนั่นเทียวแล ขอถวายพระพร."
ร. "พระผู้เป็นเจ้านาคเสน ภิกษุทั้งหลายเหล่านั้น ตกแล้วด้วยธรรมเทศนานั้น ไม่ใช่หรือ?"
ถ. "ขอถวายพระพร ช่างถากเสียดายต้นไม้อยู่ กระทำให้ตรงให้บริสุทธิ์ได้หรือไม่?
ร. "หาไม่ พระผู้เป็นเจ้า ช่างถากนำไม้ที่ควรเว้นออกเสีย กระทำไม้นี้ให้ตรงให้บริสุทธิ์อย่างเดียว."
ถ. "ขอถวายพระพร พระตถาคตเมื่อเสียดายบริษัท ไม่อาจเพื่อจะยังสัตว์ทั้งหลายที่ควรจะตรัสรู้ให้ตรัสรู้ได้, ต้องนำสัตว์ทั้งหลายที่ปฏิบัติผิดออกเสียแล้ว จึงให้สัตว์ทั้งหลายที่ควรตรัสรู้เหล่านี้เท่านั้น ตรัสรู้ได้ ฉันนั้นนั่นเทียว. ก็ภิกษุทั้งหลายเหล่านั้นเป็นผู้ปฏิบัติผิดแล้วย่อมตกไป เพราะกรรมที่ตนกระทำแล้ว. เปรียบเหมือนต้นกล้วย ไม้ไผ่ และนางม้าอัสดร อันผลเกิดแต่ตนย่อมฆ่าเสีย ฉันใด, บุคคลทั้งหลายเหล่าใดนั้นเป็นผู้ปฏิบัติผิดแล้ว บุคคลทั้งหลายเหล่านั้นอันกรรมที่ตนกระทำแล้ว ย่อมฆ่าเสียตกไป ฉันนั้น. อนึ่ง โจรทั้งหลาย ย่อมถึงความควักจักษุเสีย และเสียบด้วยหลาว ตัดศีรษะเสีย เพราะโทษผิดที่ตนกระทำแล้ว ฉันใด, บุคคลทั้งหลายเหล่าใด ปฏิบัติผิดแล้ว บุคคลทั้งหลายเหล่านั้น อันโทษผิดที่ตนกระทำแล้ว ย่อมฆ่าเสีย ย่อมตกลงจากพระชินศาสนา ฉันนั้น. โลหิตร้อนพลุ่งขึ้นแล้วจากปากของภิกษุทั้งหลายประมาณหกสิบเหล่าใด โลหิตนั้นของภิกษุทั้งหลายเหล่านั้นจะได้พลุ่งออกเพราะกิริยาของพระผู้มีพระภาคเจ้า ก็หาไม่ จะได้พลุ่งออกเพราะกิริยาของบุคคลทั้งหลายอื่น ก็หาไม่เลย, โลหิตนั้นพลุ่งออกเพราะโทษผิดที่ตนกระทำแล้วของตนเองโดยแท้แล. เปรียบเหมือนบุรุษ พึงให้อมฤตแก่ชนทั้งปวง, ชนทั้งหลายเหล่านั้นกินอมฤตนั้นแล้วเป็นผู้ไม่มีโรค มีอายุยืน พึงพ้นจากจัญไรทั้งปวงได้, ลำดับนั้น บุรุษคนใดคนหนึ่งกินตอมฤตนั้น ด้วยประพฤติผิดอย่าง จึงถึงความตาย; บุรุษผู้ให้อมฤตนั้น พึงถืออกุศลไม่ใช่บุญหน่อยหนึ่ง มีความให้อมฤตนั้นเป็นเหตุหรือไม่ ขอถวายพระพร"
ร. "หาไม่ พระผู้เป็นเจ้า."
ถ. "ขอถวายพระพร บุรุษผู้ให้อมฤตนั้นไม่ต้องอกุศล ไม่ใช่บุญ เพราะความให้อมฤตนั้นเป็นเหตุ ฉันใด, พระตถาคตทรงให้อมฤตเป็นธรรมทานแก่เทพดาและมนุษย์ทั้งหลายในโลกธาตุ มีหมื่นหนึ่งเป็นประมาณ, สัตว์ทั้งหลายเหล่าใดนั้น เป็นภัพพบุคคลควรตรัสรู้ สัตว์ทั้งหลายเหล่านั้น ย่อมตรัสรู้ด้วยอมฤต คือ ธรรม, ส่วนสัตว์ทั้งหลายเหล่าใดนั้น เป็นอภัพพะไม่ควรจะตรัสรู้ สัตว์ทั้งหลายเหล่านั้นอันกิริยาของตน ย่อมฆ่าเสียจากอมฤต ย่อมตกไป ฉันนั้นนั่นเทียวแล."
ร. "พระผู้เป็นเจ้านาคเสน ดีละ พระผู้เป็นเจ้านาคเสน ข้อวิสัชนาของพระผู้เป็นเจ้า สมอย่างนั้น, ข้าพเจ้ายอมรับรองอย่างนั้น."

๗. เสฏฐธัมมปัญหา ๑๗

พระราชาตรัสถามว่า "พระผู้เป็นเจ้านาคเสน พระพุทธพจน์นี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าแม้ตรัสแล้วว่า 'ดูก่อนวาสิฏฐโคตร ธรรมนั่นเทียวเป็นของประเสริฐสุดในชนนั้น ในทิฏฐธรรม คือ ภพเห็นประจักษ์นี้นั่นเทียวด้วย ในภพอันสัตว์พึงถึงในเบื้องหน้าพร้อมเฉพาะด้วย' ดังนี้, ส่วนคฤหัสถ์เป็นอุบาสก เป็นโสดาบัน ปิดอบายได้แล้ว มีทิฏฐิบรรลุแล้ว ทราบแจ้งศาสนาแล้วด้วยใจ ย่อมไหว้ ย่อมลุกรับภิกษุบ้าง สามเณรบ้าง ที่ยังเป็นปุถุชน ถ้าพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสแล้วว่า 'ดูก่อนวาสิฏฐโคตร ธรรมนั่นเทียว เป็นของประเสริฐสุดในชนนั้น ในทิฏฐธรรมคือภพเห็นประจักษ์นี้นั่นเทียวด้วย ในภาพอันสัตว์พึงถึงในเบื้องหน้าพร้อมเฉพาะด้วย' ดังนี้, ถ้าอย่างนั้น คำที่ว่า 'คฤหัสถ์เป็นอุบาสกเป็นโสดาบัน ปิดอบายได้แล้ว มีทิฏฐิบรรลุแล้ว รู้แจ้งศาสนาแล้วด้วยใจ ย่อมไหว้ ย่อมลุกรับภิกษุบ้าง สามเณรบ้าง ที่ยังเป็นปุถุชน' ดังนี้ นั้นเป็นผิด. ถ้าคฤหัสถ์เป็นอุบาสก เป็นโสดบัน ปิดอบายได้แล้ว มีทิฏฐิบรรลุแล้ว รู้แจ้งศาสนาด้วยใจ ย่อมไหว้ ย่อมลุกรับ ภิกษุบ้าง สามเณรบ้าง ที่เป็นปุถุชน, ถ้าอย่างนั้น คำที่ว่า 'ดูก่อนวาสิฏฐโคตรธรรมนั่นเทียว เป็นของประเสริฐสุดในชนนั้น ทั้งในทิฏฐิธรรมและอภิสัมปรายะ' ดังนี้ แม้นั้นก็เป็นผิด. ปัญหาแม้นี้สองเงื่อน มาถึงพระผู้เป็นเจ้าแล้ว, พระผู้เป็นเจ้าพึงขยายให้แจ้งชัดเถิด."
พระเถรเจ้าทูลว่า "ขอถวายพระพร พระผู้มีพระภาคเจ้า แม้ทรงภาสิตพระพุทธพจน์นี้ แก่มาณพผู้เหล่ากอวาสิฏฐโคตรว่า 'ดูก่อนวาสิฏฐโคตร ธรรมนั่นเทียว เป็นของประเสริฐสุดในชนนั้น ทั้งในทิฏฐิธรรมด้วย ในอภิสัมปรายะด้วย' ดังนี้, อนึ่ง คฤหัสถ์เป็นอุบาสกเป็นโสดาบัน ปิดอบายได้แล้ว มีทิฏฐิบรรลุแล้ว รู้แจ้งศาสนาด้วยใจย่อมไหว้ ย่อมลุกรับ ภิกษุและสามเณรที่เป็นปุถุชน ก็แต่ว่า เหตุในปัญหานั้นมีอยู่, เหตุนั้นอย่างไร? ธรรมทั้งหลายที่กระทำให้เป็นสมณะของสมณะยี่สิบ เพศทั้งหลายสองด้วย เหล่านี้ซึ่งเป็นเหตุให้พระสมณะเป็นผู้ควรไหว้และลุกรับและความนับถือและบูชา, ธรรมทั้งหลายที่กระทำให้เป็นสมณะของสมณะยี่สิบ และเพศทั้งหลายสองอย่างไร? คือ นิยมประเสริฐที่สุด ได้แก่ความมุ่งต่อพระนฤพานหนึ่ง นิยมเลิศ คือ นิยมในพระอรหัตหนึ่ง ความประพฤติหนึ่ง ธรรมเครื่องอยู่หนึ่ง ความสำรวมหนึ่ง ความระวังหนึ่ง ความอดทนหนึ่ง ความเป็นผู้ยินดีในธรรมอันงาม คือ ความเป็นผู้เรียบร้อยหนึ่ง ความประพฤติในความเป็นผู้เดียวหนึ่ง ความยินดียิ่งในความเป็นผู้เดียวหนึ่ง ความหลีกออกเร้นอยู่หนึ่ง หิริโอตตัปปะหนึ่ง ความเพียรหนึ่ง ความไม่ประมาทหนึ่ง ความสมาทานสิกขาหนึ่ง อุทเทสความเรียนพระบาลีหนึ่ง ปริปุจฉา ความเรียนอัฏฐกถาและฎีกาหนึ่ง ความยินดียิ่งในศีลคุณเป็นต้นหนึ่ง ความเป็นผู้ไม่มีอาลัยหนึ่ง ความเป็นผู้กระทำสิกขาบทให้บริบูรณ์หนึ่ง, ความทรงผ้ากาสาวะไว้หนึ่ง ความเป็นผู้มีศีรษะโล้นหนึ่ง; ธรรมทั้งหลายกระทำให้เป็นสมณะของสมณะยี่สิบ และเพศทั้งหลายสองเหล่านี้แล. อุบาสกโสดาบันคิดว่า 'ภิกษุมาสมาทานคุณทั้งหลายเหล่านี้ ประพฤติอยู่, ภิกษุนั้น เพราะความที่ธรรมทั้งหลายเหล่านั้น เป็นของไม่บกพร่อง เพราะความที่ธรรมทั้งหลายเหล่านั้น เป็นของเต็มบริบูรณ์แล้ว เพราะความที่ธรรมทั้งหลายเหล่านั้น เป็นของถึงพร้อมแล้ว เพราะความที่ธรรมมาตามพร้อมแล้ว ด้วยธรรมทั้งหลายเหล่านั้น เธอหยั่งลงสู่อเสขภูมิ อรหันตภูมิ, เธอหยั่งลงสู่ภูมิอื่นที่ประเสริฐ, เธอมาตามพร้อมแล้วด้วยพระอรหัต' จึงควรไหว้ ควรลุกรับ, อุบาสกโสดาบัน คิดว่า "ภิกษุนั้นเข้าถึงความเป็นผู้เสมอด้วยพระขีณาสพทั้งหลาย, ความถึงพร้อมนั้นของเราไม่มี' จึงควรไหว้ ควรลุกรับ ภิกษุที่เป็นปุถุชน, อุบาสกโสดาบัน คิดว่า 'ภิกษุนั้นเข้าถึงบริษัทเลิศ เรามิได้เข้าถึงที่นั้นแล้ว' จึงควรไหว้ ลุกรับ ภิกษุที่เป็นปุถุชน, อุบาสกโสดาบัน คิดว่า 'ภิกษุนั้นย่อมได้เพื่อจะฟังปาฏิโมกขุทเทส เราย่อมไม่ได้เพื่อจะฟังปาฏิโมกขุทเทสนั้น' จึงควรไหว้ ลุกรับ ภิกษุที่เป็นปุถุชน, อุบาสกโสดาบัน คิดว่า 'ภิกษุนั้นยังกุลบุตรทั้งหลายอื่นให้บวชให้อุปสมบท ยังศาสนาของพระพุทธเจ้าผู้ชนะแล้วให้เจริญ เราย่อมไม่ได้เพื่อจะกระทำกิจทั้งสามนั้น' จึงควรไหว้ควรลุกรับ ภิกษุที่เป็นปุถุชน, อุบาสกโสดาบัน คิดว่า 'ภิกษุนั้นเป็นผู้กระทำให้บริบูรณ์ในสิกขาบททั้งหลายไม่มีประมาณ เราไม่ได้ประพฤติในสิกขาบททั้งหลายเหล่านั้น' ดังนี้ จึงควรไหว้ ควรลุกรับ ภิกษุที่เป็นปุถุชน, อุบาสก โสดาบัน คิดว่า 'ภิกษุนั้นเข้าถึงแล้วซึ่งเพศแห่งสมณะ ตั้งอยู่ในความประสงค์ของพระพุทธเจ้า เราหลีกไปแล้วสู่ที่ไกลจากเพศนั้น' ดังนี้ จึงควรไหว้ ควรลุกรับ ภิกษุที่เป็นปุถุชน, อุบาสกโสดาบัน คิดว่า 'ภิกษุนั้นมีขนในรักแร้รุงรังแล้ว มิได้หยอดประดับมีกลิ่นแห่งศีลฉาบทาแล้ว ส่วนเราเป็นผู้ยินดียิ่งในการประเทืองผิวและประดับ' ดังนี้ จึงควรไหว้ ควรลุกรับ ภิกษุที่เป็นปุถุชน, ก็อุบาสกโสดาบัน คิดว่า 'ธรรมทั้งหลายที่กระทำให้เป็นสมณะยี่สิบ และเพศเหล่านั้นใด ธรรมทั้งหลายแม้ทั้งปวงเหล่านี้ ย่อมมีพร้อมแก่ภิกษุ ภิกษุนั้นนั่นเทียว ย่อมทรงธรรมทั้งหลายเหล่านั้นไว้ ยังกุลบุตรทั้งหลายแม้อื่นให้ศึกษาอยู่ในธรรมทั้งหลายเหล่านั้น นิกายเป็นที่มา และความยังกุลบุตรให้ศึกษานั้นของเราไม่มี' ดังนี้ จึงควรไหว้ ควรลุกรับภิกษุที่เป็นปุถุชน.
ขอถวายพระพร เออก็ ราชกุมารเรียนวิทยาศึกษาธรรมเนียมของกษัตริย์ในสำนักแห่งปุโรหิต, โดยสมัยอื่น ราชกุมารนั้นได้อภิเษกแล้ว จึงควรไหว้ ควรลุกรับอาจารย์ ด้วยความดำริว่า 'ปุโรหิต นี้เป็นอาจารย์ให้ศึกษาของเรา" ดังนี้ ฉันใด; อุบาสกโสดาบัน คิดว่า 'ท่านผู้ดำรงวงศ์ เป็นผู้ยังกุลบุตรให้ศึกษา ดังนี้' จึงควรไหว้ ควรลุกรับ ภิกษุที่เป็นปุถุชน ฉันนั้นนั่นเทียวแล. เออก็ บรมบพิตรจงทรงทราบความที่ภูมิของภิกษุเป็นของใหญ่ ความที่ภูมิของภิกษุเป็นของไพบูลย์ ไม่มีภูมิอื่นเสมอนั้นโดยปริยายนี้: ถ้าอุบาสกโสดาบันกระทำให้แจ้งซึ่งพระอรหัต, คติทั้งหลายสองเท่านั้น ไม่มีคติอื่น ย่อมมีแก่อุบาสกผู้กระทำให้แจ้งพระอรหัตนั้น คือ: อุบาสกผู้อรหันต์นั้น พึงปรินิพพานบ้าง พึงเข้าไปถึงความเป็นภิกษุบ้าง ในวันนั้นทีเดียว; เพราะว่าภูมิของภิกษุนี้ใด ภูมิของภิกษุนั้น เป็นบรรพชาไม่เขยื้อน เป็นของใหญ่บริสุทธิ์สูงยิ่ง."
ร. "พระผู้เป็นเจ้านาคเสน ปัญหาไปแล้วโดยญาณ พระผู้เป็นเจ้าผู้มีความรู้ยิ่ง มีกำลังคลี่คลายออกด้วยดีแล้ว, บุคคลอื่นนอกจากท่านผู้มีความรู้เช่นพระผู้เป็นเจ้า ไม่อาจเพื่อจะคลี่คลายปัญหานี้ออกให้แจ้งชัดอย่างนี้ได้แล."

๘. ตถาคตอเภชชปริสปัญหา ๑๘

พระราชาตรัสถามว่า "พระผู้เป็นเจ้ากล่าวอยู่ว่า 'พระตถาคตมีบริษัทอันใคร ๆ ให้แตกไม่ได้ ดังนี้. ก็แหละ พระผู้เป็นเจ้ากล่าวอยู่อีกว่า 'ภิกษุห้าร้อย พระเทวทัตทำลายแล้ว ประหารอันเดียว' ดังนี้. ถ้าพระตถาคตเป็นผู้มีบริษัทอันใคร ๆ ทำลายไม่ได้แล้วไซร้, ถ้าอย่างนั้น คำที่ว่า 'ภิกษุทั้งหลายประมาณห้าร้อย พระเทวทัตทำลายแล้ว ประหารอันเดียว' ดังนี้ นั้นเป็นผิด. ถ้าภิกษุทั้งหลายประมาณห้าร้อย อันพระเทวทัตทำลายแล้ว ประหารอันเดียวไซร้, ถ้าอย่างนั้น คำที่ว่า 'พระตถาคตเป็นผู้มีบริษัทอันใคร ๆ ทำลายไม่ได้ดังนี้ แม้นั้นเป็นผิด. ปัญหาแม้นี้สองเงื่อน ลึก ใคร ๆ ตัดสินโดยยากเป็นขอดวิเศษกว่าขอดโดยปกติ มาถึงพระผู้เป็นเจ้าแล้ว, ชนหมู่นี้อันอวิชชากางกั้น ปกคลุมแล้ว ปิดแล้ว หุ้มห่อแล้ว ในปัญหานี้, พระผู้เป็นเจ้าจงแสดงกำลังแห่งปรีชาญาณ ในปรัปปวาททั้งหลาย ในปัญหานี้เถิด."
พระเถรเจ้าทูลว่า "ขอถวายพระพร พระตถาคตเป็นผู้มีบริษัทอันใคร ๆ ทำลายไม่ได้, ก็แหละ ภิกษุทั้งหลายประมาณห้าร้อย อันพระเทวทัตทำลายแล้ว ประหารอันเดียว. ก็แต่ว่า ความทำลายนั้นด้วยกำลังแห่งเหตุเครื่องทำลาย, ครั้นเมื่อเหตุเครื่องทำลายมีอยู่ ชื่อว่าของอันใคร ๆ ทำลายไม่ได้ไม่มี. เมื่อเหตุเครื่องทำลายมีอยู่ แม้มารดาย่อมแตกจากบุตร แม้บุตรย่อมแตกจากมารดา แม้บิดาย่อมแตกจากบุตร แม้บุตรย่อมแตกจากบิดา แม้พี่น้องชายย่อมแตกจากพี่น้องหญิง แม้พี่น้องหญิงย่อมแตกจากพี่น้องชาย แม้สหายย่อมแตกจากสหาย, แม้เรือทั้งลายที่ขนานด้วยต้นไม้ต่าง ๆ ย่อมแตกด้วยกำลังแห่งคลื่นประหาร แม้ต้นไม้ที่มีผลถึงพร้อมแล้วด้วยรส อันบุคคลพึงกำหนดด้วยน้ำผึ้งอันเรี่ยวแรงมีกำลังแห่งลมกระทบเฉพาะแล้วย่อมแตก แม้ทองคำมีชาติย่อมแตกด้วยโลหะ เออก็ คำที่ว่า 'พระตถาคตเป็นผู้มีบริษัทอันใคร ๆ ทำลายได้ ดังนี้ ไม่ใช่ความประสงค์ของวิญญูชนทั้งหลาย ไม่ใช่ความนึกน้อมของพระพุทธเจ้าทั้งหลาย ไม่ใช่ฉันทะของบัณฑิตทั้งหลาย. เออก็พระตถาคตอันบัณฑิตทั้งหลายย่อมกล่าวสรรเสริญว่า 'พระองค์มีบริษัทอันใครทำลายไม่ได้' ดังนี้ ด้วยเหตุใด เหตุนั้น ในความกล่าวสรรเสริญนั้นมีอยู่, เหตุในความกล่าวสรรเสริญนั้นอย่างไร? คือใครไม่เคยได้ยินได้ฟังมาว่า 'เมื่อพระตถาคตยังเป็นพระโพธิสัตว์ ทรงประพฤติจริยาในภพใดภพหนึ่ง ด้วยการหยิบฉวยทรัพย์ของใคร ๆ อันพระองค์ได้กระทำแล้วหรือ หรือด้วยการเจรจาวาจาที่ไม่น่ารัก หรือด้วยความประพฤติสิ่งที่ไม่เป็นประโยชน์แก่ตนและผู้อื่น หรือด้วยความเป็นผู้ไม่มีตนเสมอ บริษัทของพระองค์แตกแล้ว' ดังนี้เลย, เพราะเหตุนั้นบัณฑิตทั้งหลายจึงกล่าวสรรเสริญว่า 'พระตถาคตเป็นผู้มีบริษัทอันใคร ๆ ทำลายไม่ได้. 'เหตุนี้ แม้บรมบพิตรพึงทรงทราบว่า 'เหตุอันหนึ่งมาแล้วโดยสูตรมีอยู่ในพุทธพจน์ มีองค์เก้าประการว่า 'บริษัทของพระตถาคตแตกแล้ว เพราะเหตุชื่อนี้ อันพระองค์ยังเป็นโพธิสัตว์กระทำแล้ว."
ร. "หาไม่ พระผู้เป็นเจ้า ก็เหตุนั้น มิได้ปรากฏในโลก แม้อันข้าพเจ้าก็ไม่ได้ยิน, ดีละ พระผู้เป็นเจ้านาคเสน ข้อวิสัชนาของพระผู้เป็นเจ้าสมอย่างนั้น, ข้าพเจ้ายอมรับรองอย่างนั้น."

๙. อซานโตปาปกรณอปุญญปัญหา ๑๙

พระราชาตรัสถามว่า "พระผู้เป็นเจ้านาคเสน พระผู้เป็นเจ้ากล่าวอยู่ว่า 'ผู้ใดไม่รู้กระทำปาณาติบาต ผู้นั้นยังอกุศลมีกำลังกล้าให้เกิด' ดังนี้. ส่วนพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสแล้วในวินัยบัญญัติอีกว่า 'ความไม่มีอาบัติแก่ภิกษุผู้ไม่รู้' ดังนี้. ถ้าว่าบุคคลไม่รู้แล้ว กระทำปาณาติบาต ยังอกุศลมีกำลังกล้าให้เกิด, ถ้าอย่างนั้น คำที่ว่า 'ความไม่มีอาบัติแก่ภิกษุผู้ไม่รู้, ดังนี้ นั้นเป็นผิด. ถ้าว่าความไม่มีอาบัติแก่ภิกษุผู้ไม่รู้, ถ้าอย่างนั้น คำที่ว่า 'บุคคลไม่รู้แล้ว กระทำปาณาติบาตยังอกุศลมีกำลังกล้าให้เกิด' ดังนี้ แม้นั้นก็ผิด. ปัญหาแม้นี้สองเงื่อนอันบุคคลข้ามยาก ก้าวล่วงยาก มาถึงพระผู้เป็นเจ้าแล้ว, ปัญหานั้นพระผู้เป็นเจ้าพึงขยายให้แจ้งชัดเถิด."
พระเถรเจ้าทูลว่า "ขอถวายพระพร พระผู้มีพระภาคเจ้าแม้ได้ทรงภาสิตพระพุทธพจน์นี้ว่า 'บุคคลใดไม่รู้ กระทำปาณาติบาต บุคคลนั้นย่อมยังอกุศลมีกำลังกล้าให้เกิด,' ก็แม้ในวินัยบัญญัติ พระองค์ตรัสแล้วว่า 'ความไม่มีอาบัติแก่ภิกษุผู้ไม่รู้' ดังนี้อีก, เนื้อความพิเศษในพระพุทธพจน์นั้นมีอยู่, เนื้อความพิเศษเป็นไฉน? เนื้อความพิเศษ คือ อาบัติที่เป็น สัญญาวิโมกข์ พ้นด้วยสัญญาก็มี;ที่เป็นโนสัญญาวิโมกข์ไม่พ้นด้วยสัญญาก็มี อาบัตินี้ใด ที่เป็นสัญญาวิโมกข์ พระผู้มีพระภาค ทรงปรารภอาบัตินั้น ตรัสแล้ว่า 'ความไม่มีอาบัติแก่ภิกษุผู้ไม่รู้' ดังนี้ ขอถวายพระพร."
ร. "ดีละ พระผู้เป็นเจ้านาคเสน ข้อวิสัชนาของพระผู้เป็นเจ้านี้ สมอย่างนั้น, ข้าพเจ้ายอมรับรองอย่างนั้น."

๑๐. ภิกขุคณอเปกขภาวปัญหา ๒๐

พระราชาตรัสถามว่า "พระผู้เป็นเจ้านาคเสน แม้พระพุทธพจน์นี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ทรงภาสิตแล้วว่า 'ความดำริอย่างนี้ว่า 'เราจะบริหารภิกษุสงฆ์หรือ หรือว่าภิกษุสงฆ์มีตัวเราเป็นที่พำนัก' ดังนี้ มิได้มีแด่พระตถาคตเลย' ดังนี้. ก็เมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดงคุณตามที่เป็นจริง ของพระผู้มีพระภาคทรงพระนามว่า เมตไตรย ได้ตรัสแล้วอย่างนี้ว่า 'พระผู้มีพระภาคทรงพระนามว่า เมตไตรย นั้น จักบริหารภิกษุสงฆ์มิใช่พันเดียว เหมือนเราผู้ตถาคตบริหารภิกษุสงฆ์มิใช่ร้อยเดียวอยู่ในกาลนี้ แม้ฉันนั้น' ดังนี้. ถ้าว่าพระผู้มีภาคได้ตรัสแล้วว่า 'ดูก่อนอานนท์ ความดำริอย่างนี้ว่า 'เราจะบริหารภิกษุสงฆ์หรือ หรือว่าภิกษุสงฆ์มีตัวเราเป็นที่พำนัก' ดังนี้ มิได้มีแด่พระตถาคตเลย' ดังนี้, ถ้าอย่างนั้น คำที่ว่า 'เราบริหารภิกษุสงฆ์มิใช่ร้อยเดียว' ดังนี้ นั้นเป็นผิด. ถ้าว่าพระตถาคตตรัสแล้ว่า 'เหมือนเราผู้ตถาคตบริหารภิกษุสงฆ์มิใช่ร้อยเดียวอยู่ในกาลนี้ แม้ฉันนั้น,' ถ้าอย่างนั้น คำที่ว่า 'ดูก่อนอานนท์ ความดำริว่า 'เราจะบริหารภิกษุสงฆ์หรือ หรือว่าภิกษุสงฆ์มีตัวเราเป็นที่พำนัก' ดังนี้ มิได้มีแด่พระตถาคตเลย' ดังนี้ แม้นั้นก็ผิด. ปัญหาแม้นี้สองเงื่อน มาถึงพระผู้เป็นเจ้าแล้ว ปัญหานั้นพระผู้เป็นเจ้า พึงแก้ไขให้แจ่มแจ้งเถิด."
พระเถรเจ้าทูลว่า "ขอถวายพระพร พระผู้มีพระภาค แม้ได้ทรงภาสิตพระพุทธพจน์นี้ว่า 'ดูก่อนอานนท์ ความดำริว่า 'เราจะบริหารภิกษุสงฆ์ดังนี้หรือ หรือว่าภิกษุสงฆ์มีตัวเราเป็นที่พำนัก'ดังนี้ อย่างนี้มิได้มีแด่พระตถาคตเลย' ดังนี้. เมื่อพระองค์ทรงแสดงคุณตามที่เป็นจริงของพระผู้มีพระภาคเจ้าแม้ทรงพระนามว่า เมตไตรย ได้ตรัสแล้วว่า 'พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงพระนามว่า เมตไตรยนั้น จักบริหารภิกษุสงฆ์มิใช่พันเดียว เหมือนเราบริหารภิกษุสงฆ์มิใช่ร้อยเดียวอยู่ในกาลนี้ แม้ฉันนั้น' ดังนี้. ก็ในปัญหานี้ เนื้อความหนึ่งเป็นสาวเสส มีส่วนเหลือเนื้อความหนึ่งเป็นนิรวเสสไม่มีส่วนเหลือ. พระตถาคตเจ้ามิได้ทรงดำเนินตามบริษัท. ส่วนบริษัทดำเนินโดยเสด็จพระตถาคตเจ้า. แม้วาจาว่าเรา ว่าของเรา นี้เป็นแต่สมมติ พระโองการตินี้มิใช่ปรมัตถ์. ความรักของพระตถาคตเจ้าปราศจากไปแล้ว ความเยื่อใยปราศจากไปแล้ว และความถือว่าของเรา ย่อมไม่มีแด่พระตถาคต, ก็แต่ว่าความอาศัยยึดเหนี่ยวย่อมมี. อุปมาเหมือนแผ่นดินเป็นที่อาศัยตั้งอยู่ของสัตว์ทั้งหลายที่ตั้งอยู่ในพื้น สัตว์ทั้งหลายเหล่านี้ เป็นผู้ตั้งอยู่ในแผ่นดินโดยแท้, แต่ว่า ความเพ่งว่า 'สัตว์ทั้งหลายเหล่านี้ ของเรา' ดังนี้ ย่อมไม่มีแก่แผ่นดินใหญ่ ฉันใด; พระตถาคตเจ้าเป็นที่พึ่งอาศัยของสัตว์ทั้งหลายทั้งปวง สัตว์ทั้งหลายเหล่านี้ พึ่งพระตถาคตโดยแท้, ก็แต่ว่า ความเพ่งว่า 'สัตว์ทั้งหลายเหล่านี้ ของเรา' ย่อมไม่มีแด่พระตถาคตเลย ฉันนั้น.
อีกอย่างหนึ่ง เปรียบเหมือนมหาเมฆใหญ่ เมื่อยังฝนให้ตกเฉพาะกาล ย่อมให้ความเจริญแก่หญ้า และต้นไม้ และสัตว์ของเลี้ยง และมนุษย์ทั้งหลาย ย่อมตามเลี้ยงไว้ซึ่งสันตติ, ก็สัตว์ทั้งหลายทั้งปวงเหล่านั้น เป็นผู้อาศัยฝนเป็นอยู่, ก็แต่ว่า ความเพ่งว่า 'สัตว์ทั้งหลายเหล่านั้น ของเรา' ดังนี้ ย่อมไม่มีแก่มหาเมฆ ฉันใด; พระตถาคตยังกุศลธรรมให้เกิดแก่สัตว์ทั้งปวง ย่อมตามรักษาสัตว์ทั้งปวงไว้, ก็สัตว์ทั้งหลายทั้งปวงเหล่านั้น เป็นผู้อาศัยพระศาสดาเป็นอยู่, แต่ว่า ความเพ่งว่า 'สัตว์ทั้งปวงเหล่านี้ ของเรา' ย่อมไม่มีแด่พระตถาคต ฉันนั้น; ซึ่งเป็นดังนั้นเพราะเหตุไร? ซึ่งเป็นดังนั้นเพราะความที่ทิฏฐิไปตามซึ่งตนพระตถาคตละเสียได้แล้ว."
ร. "ดีละ พระผู้เป็นเจ้านาคเสน ปัญหาพระผู้เป็นเจ้าคลี่คลายออกได้แล้วด้วยเหตุทั้งหลายต่าง ๆ, ปัญหาลึกพระผู้เป็นเจ้ามากระทำให้ตื้นได้แล้ว, ขอดพระผู้เป็นเจ้าทำลายได้แล้ว, ชัฏพระผู้เป็นเจ้ากระทำไม่ให้เป็นชัฏแล้ว, มืดกระทำให้เป็นแสงสว่างแล้ว, ปรัปปวาททั้งหลายพระผู้เป็นเจ้าหักเสียแล้ว, จักษุของชินบุตรทั้งหลายอันพระผู้เป็นเจ้าให้เกิดขึ้นได้แล้ว."

วรรคที่สาม
๑. วัตถคุยหทัสสนปัญหา ๒๑

พระราชาตรัสถามว่า "พระผู้เป็นเจ้านาคเสน พระตถาคตแม้ทรงภาสิตพระพุทธพจน์นี้ว่า 'ความสำรวมระวังด้วยกาย ความระวังด้วยวาจา ความระวังด้วยใจ เป็นของดีละอย่าง ๆ ความระวังในที่ทั้งปวง เป็นของดีกระทำประโยชน์ให้สำเร็จได้' ดังนี้. และพระตถาคตเจ้าเสด็จนั่งในท่ามกลางบริษัทสี่ ทรงแสดงอวัยวะที่จะพึงซ่อนในผ้าตั้งลงแล้วในฝักแก่พราหมณ์ชื่อ เสละ ต่อหน้าแห่งเทพดามนุษย์ทั้งหลาย. ถ้าว่าพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสแล้วว่า 'ความระวังด้วยกายเป็นของดี' ดังนี้, ถ้าอย่างนั้น คำที่ว่า 'พระองค์แสดงอวัยวะที่จะพึงซ่อนในผ้าตั้งลงแล้วในฝักแก่เสลพราหมณ์นั้นเป็นผิด. ถ้าว่าพระตถาคตทรงแสดงอวัยวะที่จะพึงซ่อนในผ้าตั้งลงแล้วในฝักแก่เสลพราหมณ์, ถ้าอย่างนั้น คำที่ว่า 'ความระวังด้วยกายเป็นของดี' ดังนี้ แม้นั้นก็ผิด. ปัญหาแม้นี้สองเงื่อน มาถึงพระผู้เป็นเจ้าแล้ว พระผู้เป็นเจ้าพึงขยายให้แจ้งชัดเถิด."
พระเถรเจ้าทูลว่า "ขอถวายพระพร พระผู้มีพระภาคเจ้าแม้ตรัสพระพุทธพจน์นี้แล้ว 'ความระวังด้วยกายเป็นของดี' ดังนี้. และทรงแสดงอวัยวะที่จะพึงซ่อนในผ้าตั้งลงแล้วในฝักแก่เสล พราหมณ์.
ขอถวายพระพร ความสงสัยในพระตถาคตเกิดขึ้นแล้วแก่บุคคลใด พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดงพระกายมีส่วนเปรียบด้วยอวัยวะนั้น ด้วยฤทธิ์ เพื่อจะยังบุคคลนั้นให้รู้, บุคคลนั้นเท่านั้น ย่อมเห็นปาฏิหาริย์นั้น."
ร. "พระผู้เป็นเจ้านาคเสน ใครเล่าจักเชื่อปาฏิหาริย์นั้น บุคคลไปในบริษัท ย่อมเห็นอวัยวะที่จะพึงซ่อนนั้นแต่ผู้เดียว ด้วยปาฏิหารย์ไรเล่า, คนทั้งหลายนอกนั้นมีในที่นั่นเทียว ไม่ได้เห็น. เชิญพระผู้เป็นเจ้าอ้างเหตุในข้อนั้น ยังข้าพเจ้าให้หมายรู้ด้วยเหตุเถิด."
ถ. "ขอถวายพระพร บรมบพิตรเคยทอดพระเนตรบ้างแล้วหรือบุรุษมีพยาธิบางคน พรักพร้อมด้วยญาติและมิตรมาแวดล้อมอยู่รอบข้าง?"
ร. "เคยเห็น พระผู้เป็นเจ้า."
ถ. "ขอถวายพระพร บุรุษเสวยทุกข์ รู้สึกเจ็บโดยเวทนาใด บริษัทหรือญาติและมิตรเห็นเวทนานั้นบ้างหรือ?"
ร. "หาไม่ พระผู้เป็นเจ้า บุรุษนั้น ย่อมเสวยทุกข์ รู้สึกเจ็บปวดแต่ตนผู้เดียว."
ถ. "ขอถวายพระพร ความสงสัยเกิดขึ้นแล้วแก่บุคคลใด พระตถาคตทรงแสดงพระกายมีส่วนเปรียบด้วยอวัยวะ ที่จะพึงว่อนให้ลับในผ้า ด้วยฤทธิ์ของพระองค์ เพื่อยังบุคคลนั้นให้รู้แต่ผู้เดียว. บุคคลนั้นผู้เดียวเห็นปาฏิหาริย์นั้น ฉันนั้น ขอถวายพระพร.
อีกนัยหนึ่ง ภูตสิงบุรุษคนใดคนหนึ่ง, บริษัทนอกนั้น ย่อมเห็นความมาของภูตนั้นบ้างหรือ?"
ร. "หามิได้ บุรุษที่กระสับกระส่ายอยู่เท่านั้น ย่อมเห็นความมาของภูตนั้น."
ถ. "ขอถวายพระพร บริษัทนอกนั้น ย่อมไม่เห็นความมาของภูตนั้น บุรุษที่กระสับกระส่ายอยู่เท่านั้น ย่อมเห็นความมาของภูตนั้นฉันใด, ความสงสัยในพระตถาคตเกิดขึ้นแล้วแก่บุคคลใด บุคคลนั้นผู้เดียว ย่อมเห็นปาฏิหาริย์แต่ผู้เดียว ฉันนั้น."
ร. "พระผู้เป็นเจ้า นาคเสน กิจที่บุคคลจะพึงกระทำโดยยาก พระผู้มีพระภาคเจ้า เมื่อทรงแสดงปาฏิหาริย์ที่ใคร ๆ จะพึงแสดงแม้แก่บุคคลผู้เดียวในท่ามกลางบริษัท ให้เห็นแต่ผู้เดียวไม่ได้นั้น ทรงกระทำได้แล้ว."
ถ. "ขอถวายพระพร พระผู้มีพระภาคเจ้าซึ่งจะได้ทรงแสดงอวัยวะที่จะพึงซ่อนแล้วนั้นหามิได้ล ก็แต่ว่า พระองค์ทรงแสดงพระฉายด้วยฤทธิ์."
ร. "เสล พราหมณ์ได้เห็นอวัยวะที่จะพึงซ่อนอันใดแล้ว จึงสันนิษฐานเข้าใจแน่ได้ เมื่อบุคคลได้เห็นพระฉาย ก็ได้ชื่อว่าเห็นอวัยวะที่จะพึงซ่อนนั้นทีเดียวนะ พระผู้เป็นเจ้า."
ถ. "ขอถวายพระพร พระตถาคตทรงกระทำแม้ซึ่งกรรมอันบุคคลกระทำได้โดยยาก เพื่อจะยังสัตว์ทั้งหลายที่ควรจะตรัสรู้ให้ตรัสรู้ ถ้าว่าพระตถาคตพึงกระทำกิจที่จะพึงกระทำให้เสื่อมไปเสีย, สัตว์ทั้งหลายที่ควรตรัสรู้ได้ จะไม่พึงตรัสรู้ พระตถาคตผู้รู้ซึ่งอุบายอันบุคคลพึงประกอบเพื่อจะยังสัตว์ทั้งหลายที่ควรตรัสรู้ให้ตรัสรู้ เพราะเหตุใด, เพราะเหตุนั้น สัตว์ทั้งหลายที่ควรจะตรัสรู้ ย่อมตรัสรู้ได้ด้วยอุบายอันจะพึงประกอบใด ๆ พระตถาคตยังสัตว์ที่ควรตรัสรู้ทั้งหลายให้ตรัสรู้ด้วยอุบายที่จะพึงประกอบนั้น ๆ.
ขอถวายพระพร เหมือนหมอผู้ฉลาด เมื่อจะเยียวยารักษาคนไข้ครั้นไปดูคนไข้เห็นแจ้งประจักษ์แล้วก็วางยา โรคควรจะสำรอกออกเสีย ก็ให้สำรอกเสีย โรคควรถ่ายยา ก็ให้ถ่ายเสีย โรคควรจะชโลมยา ทายา ก็ให้ชโลมยา ทายาเสีย โดยที่ควรจะรมก็รมเสีย รักษาด้วยยานั้น ๆ เอาความหายโรคเป็นประมาณ ฉันใด; สัตว์ทั้งหลายที่ควรตรัสรู้ จะตรัสรู้ได้ด้วยอุบายที่จะพึงประกอบใด ๆ พระตถาคตก็ให้ตรัสรู้ด้วยอุบายที่จะพึงประกอบนั้น ๆ ฉันนั้นนั่นเทียวแล ขอถวายพระพร.
อีกนัยหนึ่ง สตรีที่มีครรภ์หลงแล้วย่อมแสดงอวัยวะที่ควรซ่อนไม่ควรแสดงให้ใครเห็น แก่หมอผดุงครรภ์ ฉันใด, พระตถาคตทรงแสดงพระฉายที่ไม่ควรแสดงให้ใครเห็น ควรจะซ่อนไว้ ด้วยฤทธิ์เพื่อจะยังสัตว์ทั้งหลายที่ควรจะตรัสรู้ให้ตรัสรู้ ฉันนั้นนั่นเทียวแล. อาศัยยึดบุคคล โอกาสชื่อเป็นของไม่ควรแสดง ย่อมไม่มี. ถ้าว่าใคร ๆ พึงเห็นพระหฤทัยของพระผู้มีพระภาคเจ้าแล้วจึงตรัสรู้ได้, พระผู้มีพระภาคเจ้าพึงทรงแสดงพระหฤทัยแม้แก่บุคคลนั้น ด้วยอุบายที่จะพึงประกอบ. พระตถาคตเป็นผู้รู้อุบายที่จะพึงประกอบ และฉลาดในเทศนาพระตถาคตทรงทราบอัธยาศัยของพระเถรชื่อ
นันทะ นำพระนันทเถระนั้นไปสู่พิภพของเทพดา แล้วทรงแสดงนางเทพกัญญา ด้วยทรงพระดำริว่า 'กุลบุตรนี้จักตรัสรู้ได้ด้วยอุบายเครื่องประกอบนี้' ดังนี้, กุลบุตรนั้นก็ตรัสรู้แล้วด้วยอุบายเครื่องประกอบนั้นไม่ใช่หรือ?
ขอถวายพระพร พระตถาคตดูหมิ่นติเตียนสุภนิมิตโดยปริยายมิใช่อันเดียว เกลียดสุภนิมิต ทรงแสดงนางเทพอัปสรทั้งหลายมีสีเท้าดังสีเท้านกพิลาบ เพราะความตรัสรู้ของท่านเป็นเหตุ, พระ นันทเถระตรัสรู้ด้วยอุบายนั้น ดังนี้แล, พระตถาคตเป็นผู้รู้อุบายเครื่องประกอบเป็นผู้ฉลาดในเทศนา ด้วยอุบายอย่างนี้บ้าง ขอถวายพระพร.
คำที่จะพึงกล่าวยังมีอีก พระตถาคต เมื่อพระเถระจูฬปันถกอัน พระเถระผู้พี่ชายฉุดออกเสียจากวิหาร เกิดทุกขโทมนัส พระองค์เสด็จเข้าไปใกล้แล้ว ประทานท่อนผ้าอันละเอียดให้แล้ว ด้วยหวังพระหฤทัยว่า "กุลบุตรนี้จักตรัสรู้ด้วยท่อนผ้านี้'ดังนี้, กุลบุตรนั้นก็ถึงความเป็นผู้ชำนาญในพระชินศาสนา ด้วยเหตุนั้น. พระตถาคตเป็นผู้รู้อุบายเครื่องประกอบ เป็นผู้ฉลาดในเทศนาด้วยอุบายอย่างนี้บ้าง.
คำที่จะพึงกล่าวยังมีอีก พระตถาคต เมื่อพราหมณ์โมฆราชมาทูลถามปัญหาถึงสามครั้ง พระองค์มิได้ทรงพยากรณ์ด้วยความดำริว่า 'มานะของกุลบุตรนี้จักระงับไปด้วยอุบายอย่างนี้, ความตรัสรู้จักมีเพราะความที่มานะระงับไป' ดังนี้, มานะของกุลบุตรนั้นก็ระงับไปแล้ว ด้วยเหตุนั้น, เพราะความที่มานะระงับไป พราหมณ์นั้นถึงแล้วซึ่งความเป็นผู้ชำนาญในอภิญญา หกประการ. พระตถาคตเป็นผู้รู้อุบายเครื่องประกอบ เป็นผู้ฉลาดในเทศนาด้วยอุบายอย่างนี้บ้าง ดังนี้."
ร. "ดีละ พระผู้เป็นเจ้านาคเสน ปัญหาพระผู้เป็นเจ้าแก้ไขด้วยดีแล้วด้วยเหตุทั้งหลายมากหลายประการ, ชัฏพระผู้เป็นเจ้ากระทำไม่ให้เป็นชัฏแล้ว, มืดกระทำให้เป็นแสงสว่างแล้ว, ขอดทำลายแล้วปรัปปวาททั้งหลายพระผู้เป็นเจ้าหักรานเสียแล้ว, จักษุพระผู้เป็นเจ้าได้ให้เกิดขึ้นแล้วแก่ชินบุตรทั้งหลาย, เดียรถีย์ทั้งหลาย มากระทบพระผู้เป็นเจ้าผู้ประเสริฐกว่าเจ้าคณะผู้ประเสริฐแล้ว หาปฏิภาณมิได้."






เอาบุญมาฝากจะถวายสังฆทาน เจริญวิปัสสนา ให้ธรรมะเป็นทาน ให้อภัยทาน บอกบุญ สักการะพระธาตุ ให้อาหารสัตว์เป็นทาน ช่วยพ่อแม่ทำงานบ้าน ถวายข้าวพระพุทธ อนุโมทนาบุญกับผู้อื่น สร้างพระสร้างเจดีย์สร้างธรรมจักรสร้างรอยพระพุทธบาทสร้างระฆังและอัครสาวกซ้ายขวาสร้างพระสีวลีสร้างพระกัสสะปะสร้างพระอุปคุตสร้างพระองคุลีมารผสมทองคำเปลวพร้อมนำดอกไม้มาบูชาถวายพระรัตนตรัย
รักษาศีล เจริญภาวนา สวดมนต์ ให้อาหารสัตว์เป็นทานเป็นประจำ กรวดน้ำอุทิศบุญ อนุโมทนากับพ่อแม่ญาติพี่น้องที่รักษาศีล ฟังธรรม ให้ทาน อนุโมทนากับเพื่อนๆที่รักษาศีล ศึกษาการรักษาโรค ที่ผ่านมาคุณแม่ได้ถวายสังฆทานมาโดยตลอด ที่ผ่านมาได้ปิดทองพระ รักษาอาการป่วยของผู้อื่นกับผู้ร่วมงาน และที่ผ่านมาได้รักษาอาการป่วยของบิดามารดา ปล่อยชีวิตสัตว์มาโดยตลอด ถวายยาแก่ภิกษุ ขัดองค์พระ จุดเทียนถวายพระรัตนตรัย ให้ความรู้สมุนไพรเพื่อสุขภาพเป็นวิทยาทาน ที่ผ่านมาคุณแม่ได้ทำบุญหลายอย่างมาโดยตลอด ที่ผ่านมาได้ถวายสังฆทานและทำบุญสร้างอาคารผู้ป่วยและกฐินกับเพื่อนๆและให้อาหารเป็นทานแก่สรรพสัตว์กับเพื่อนๆและเพื่อนคนหนึ่งและบริวารของเพื่อนและครอบครัวของเพื่อนได้มีจิตเมตตาให้ทานและเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ช่วยเหลือผู้อื่นอยู่ตลอดและเพื่อนได้เคยสวดมนต์เย็นกับคุณแม่และที่ผ่านมาได้ทำบุญสักการะพระธาตุทำบุญปิดทองชำระหนี้สงฆ์และไหว้พระและทำบุญตามกล่องรับบริจาคตามวัดต่างๆกับเพื่อนและตั้งใจว่าจะสร้างบารมีให้ครบทั้ง 10 อย่างขอให้อนุโมทนาบุญด้วย


ขอเชิญถวายสังฆทาน เจริญวิปัสสนา ให้ธรรมะเป็นทาน ให้อภัยทาน บอกบุญ ให้อาหารสัตว์เป็นทาน สักการะพระธาตุ ฟังธรรม สวดมนต์ ช่วยพ่อแม่ทำงานบ้าน
รักษาศีล เจริญภาวนา สวดมนต์ สร้างพระสร้างเจดีย์สร้างธรรมจักรสร้างรอยพระพุทธบาท
สร้างระฆังและอัครสาวกซ้ายขวาสร้างพระสีวลีสร้างพระกัสสะปะสร้างพระอุปคุตสร้างพระองคุลีมารผสมทองคำเปลวพร้อมนำดอกไม้มาบูชาถวายพระรัตนตรัย กรวดน้ำอุทิศบุญ ถวายข้าวพระพุทธ อนุโมทนาบุญกับผู้อื่น สนทนาธรรม
ถวายข้าวพระพุทธ อนุโมทนาบุญกับผู้อื่น รักษาอาการป่วยของผู้อื่น รักษาอาการป่วยของบิดามารดา จุดเทียนถวายพระรัตนตรัย
ปิดทอง สักการะพระธาตุ กราบอดีตสังขารเจ้าอาวาสที่ไม่เน่าเปื่อย ที่วัดแจ้ง อ.เมือง จ.ปราจีนบุรี ปิดทองพระ ปล่อยชีวิตสัตว์ถวายยาแก่ภิกษุ ไหว้พระตามวัดต่างๆ ขัดองค์พระ ให้ความรู้สมุนไพรในการดูแลสุขภาพเป็นทาน
และสร้างบารมีให้ครบทั้ง 10 อย่างขอเชิญร่วมบุญกุศลร่วมกันนะ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 04 ส.ค. 2012, 13:42 
 
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 6
สมาชิก ระดับ 6
ลงทะเบียนเมื่อ: 08 พ.ค. 2012, 02:09
โพสต์: 456


 ข้อมูลส่วนตัว


.. :b8:

อนุโมทนาแล้วๆๆ ..


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 12 โพสต์ ] 

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

่กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 1 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร