วันเวลาปัจจุบัน 15 ก.ค. 2025, 13:43  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


กฎการใช้บอร์ด


รวมกระทู้จากบอร์ดเก่า http://www.dhammajak.net/board/viewforum.php?f=7



กลับไปยังกระทู้  [ 260 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1 ... 13, 14, 15, 16, 17, 18  ต่อไป  Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 09 ส.ค. 2011, 23:31 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ก.ค. 2006, 22:20
โพสต์: 5976

โฮมเพจ: http://walaiblog.blogspot.com/
แนวปฏิบัติ: กายคตาสติ
อายุ: 0
ที่อยู่: สมุทรปราการ

 ข้อมูลส่วนตัว


วัดกับบ้าน



วัดกับบ้าน ต่างกันตรงไหน


ระหว่างปฏิบัติที่วัดกับบ้าน ล้วนไม่แตกต่างกัน เหตุที่แท้จริงที่ทำให้สภาวะแตกต่าง ล้วนเกิดจากเหตุที่ทำมาทั้งสิ้น


ต่อให้ปฏิบัติที่วัด มีเวลาเท่าๆกันกับปฏิบัติที่บ้าน ทุกสิ่งทุกอย่างขึ้นอยู่กับเหตุที่ทำมา


จริงอยู่ เรื่องของสภาวะแวดล้อม สัปปายะ ทุกอย่างส่งผลต่อสภาวะได้ทั้งสิ้น แต่หากสามารถรู้วิธีการทำให้จิตสามารถรู้ชัดในกายและจิตได้เนืองๆ ไม่ว่าจะทำที่วัดหรือที่บ้าน ไม่แตกต่างเลย



วิธีการ


วิธีการที่ทำให้จิตสามารถรู้ชัดอยู่ในกายและจิตได้เนืองๆ ไม่ได้ยุ่งยากอะไร เพียงอาศัยการปรับอินทรีย์เป็นหลัก

สภาวะหลักที่ขาดไม่ได้ ต้องทำทุกวันให้ต่อเนื่อง คือ เดินกับนั่ง ส่วนเวลา ทำตามความสะดวก


เดินรู้เท้า นั่งรู้ชัดในกายและจิต จะทำแบบนี้ได้ สติกับสมาธิต้องสมดุลย์ ถ้าสมาธิมีกำลังมากกว่าสติ จะขาดความรู้สึกตัว เป็นเหตุให้ไม่สามารถรู้ชัดในกายและจิตได้ ส่วนสติ ยิ่งมากยิ่งดี



การปรับอินทรีย์


ให้ดูสภาวะที่จิตเป็นสมาธิเป็นหลัก หากนั่งแล้ว ขาดความรู้สึกตัว ให้เพิ่มเวลาในการเดิน ส่วนนั่งจะลดเวลาหรือใช้เวลาเท่าเดิมได้

เพิ่มเวลาเดินไปเรื่อยๆ หมั่นสังเกตุสภาวะ หากนั่งแล้ว สามารถรู้ชัดในกายและจิตได้ดี ให้ใช้เวลาตามนั้นในการเดินกับนั่ง



ไม่เที่ยง

สภาวะทุกๆสภาวะล้วนไม่เที่ยง สมาธิก็เช่นเดียวกัน ต้องหมั่นสังเกตุสภาวะตลอด หากขาดความรู้สึกตัวเวลานั่งเมื่อไหร่ ให้เพิ่มการเดิน ฉะนั้น การปรับอินทรีย์จึงมีการปรับเปลี่ยนตามสภาวะตลอดเวลา

ส่วนอิริยาบทย่อยอื่นๆ ทำตามสะดวก ที่สำคัญ รู้จักจิตตัวเองดีแล้วหรือยัง

การใช้อุบายในการรักษาจิตจะมีตลอดเวลา เป็นเหตุให้จิตอยู่กับปัจจุบัน ไม่ไหลไปในอดีตบ้าง อนาคตบ้าง หรือแม้กระทั่งไหลไปตามผัสสะที่เกิดขึ้น

.....................................................
มิจฉาปณิหิตจิต จิตที่ตั้งไว้ผิด ย่อมตามพิชิตตัวเอง

สัตว์โลกย่อมเป็นไปตามกรรม ตามการกระทำของแต่ละคน (ตามความเป็นจริง)


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 12 ส.ค. 2011, 11:02 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ก.ค. 2006, 22:20
โพสต์: 5976

โฮมเพจ: http://walaiblog.blogspot.com/
แนวปฏิบัติ: กายคตาสติ
อายุ: 0
ที่อยู่: สมุทรปราการ

 ข้อมูลส่วนตัว


พระพุทธเจ้าตรัสรู้พระอภิธรรม


เหตุของการเห็นแจ้งในสภาวะอริยสัจจ์


เมื่อก่อนที่ยังไม่เขียนเรื่องนี้ เนื่องจากว่า เท่าที่อ่านๆตำรามา ไม่เคยเจอในตำราเล่มไหนๆจะมีบันทึกไว้ว่าพระพุทธเจ้าทรงตรัสรู้เรื่องอะไร เห็นมีเขียนไว้อย่างเดียวว่า สิ่งที่พระองค์ทรงตรัสรู้คือ อริยสัจ ๔

ซึ่งสภาวะของอริยสัจจ์นี้จะต้องผ่านสภาวะสัจจานุโลมิกญาณ จึงจะเข้าใจและรู้ชัดในสภาวะของ อริยสัจ ๔

แล้วที่เกิดก่อนจะผ่านสภาวะสัจจานุฯล่ะ มันต้องมีเหตุมาก่อน ถึงจะมีผลมาแสดงให้ได้รับหรือให้เห็น อริยสัจจ ๔ ก็เช่นเดียวกัน

แม้กระทั่งเรื่องกับดักหลุมพรางของกิเลสหลุมใหญ่ที่ทุกๆคนจะต้องเจอเมื่อผ่านญาณ ๑๖ ครั้งแรกที่ทุกคนจะต้องเจอเหมือนๆกันหมด ไม่มีข้อยกเว้นแต่อย่างใด ไม่ว่าจะเป็นพระหรือฆราวาสก็ตาม เจอเหมือนกันหมดคือ อุปกิเลสตัวแม่

ไม่ว่าจะรู้ปริยัติหรือไม่รู้ปริยัติเลยก็ตาม เจอเหมือนๆกันหมด ต้องอาศัยการเจริญสติอย่างต่อเนื่องจึงจะผ่านสภาวะอุปกิเลสนี้ไปได้ สภาวะอุปกิเลสตรงนี้ มีสภาวะที่ละเอียดมากกว่าอุปกิเลสในสภาวะโดยทั่วๆไป

ถ้าผ่านสภาวะอุปกิเลสตรงนี้ไปได้แล้ว การปฏิบัติจะสะดวกสบาย เพราะผู้ปฏิบัติสามารถรู้จักจิตแท้ของตัวเองได้ละเอียดมากขึ้น รู้จักใช้อุบายในการรักษาจิตให้อยู่กับปัจจุบัน

จึงไม่ติดไม่ขัดเหมือนแรกๆของความไม่รู้ที่ยังมีอยู่ คือ ยังไม่รู้จักจิตที่แท้จริงของตัวเอง อุปมาอุปมัย เหมือนคนป่วยที่ใช้ยาในการรักษาไม่ถูกกับโรคที่เป็นอยู่



ไม่รู้ปริยัติ


เมื่อก่อนเราไม่รู้ปริยัติจริงๆ แต่สามารถรู้ได้ว่าสิ่งที่พระพุทธเจ้าทรงตรัสรู้นั้นคือ พระอภิธรรม ( รูป,นาม ขันธ์ ๕ ) และสมมุติ


ได้อ่านหนังสือเรื่อง อนัตตาสุดยอด เขียนโดยหลวงพ่อธี วิจิตฺตธมฺโม ปธ.๙ หลวงพ่อธีได้เขียนไว้ว่า พระพุทธเจ้าตรัสรู้พระอภิธรรม อยู่ในหน้าที่ ๒๗

โดยส่วนตัว ไม่เคยรู้จักหลวงพ่อธี และไม่เคยได้ยินชื่อของท่านมาก่อน แต่เคยอ่านเจอในเว็บบอร์ดลานธรรมจักร มีคนนำมาโพสไว้


สิ่งที่ถูกรู้

เรามักจะเขียนในสิ่งที่ได้รู้ตอนผ่านสภาวะ นั่นคือสภาวะของพระอภิธรรม แต่ไม่รู้จะพูดยังไงให้คนอื่นๆเข้าใจเหมือนที่เรารู้ เพราะนั่นเป็นสภาวะของรูป, นาม ขันธ์ ๕ ที่มีอยู่จริงๆ ไม่ใช่แค่ในตำราที่เขียนเอาไว้

เราจึงมักใช้คำว่า สิ่งที่รู้ คือ จิต กับสิ่งที่ถูกรู้ คือ สิ่งที่จิตรู้เห็น แต่รู้เห็นโดยสภาวะไม่ใช่โดยบัญญัติ แต่จะรู้ในบัญญัติทันที่ว่าสิ่งที่ถูกรู้นั้นคือ พระอภิธรรม แต่ไม่สามารถอธิบายให้เป็นรูปธรรมให้ใครๆฟังได้
ได้แต่บอกว่า มีแค่สิ่งที่รู้กับสิ่งที่ถูกรู้เท่านั้นเอง

มาวันนี้ กล้าที่จะเขียนเรื่องสิ่งที่ถูกรู้นี้ได้เต็มๆว่า พระพุทธเจ้าตรัสรู้พระอภิธรรม ซึ่งเป็นเหตุของการรู้แจ้งในสภาวะของอริยสัจ ๔ พอผ่านแล้ว ย่อมตกหลุมพรางของกิเลสหรืออุปกิเลสเหมือนกันหมด เพียงแต่จะรู้หรือไม่เท่านั้นเอง


ถ้าเรียงลำดับของการเกิดเหตุและผลแต่ละสภาวะจะเรียงตามลำดับดังนี้




กล่าวในแง่ของสภาวะ

เหตุของการผ่านญาณ ๑๖ ผลคือ รู้แจ้งในสภาวะของอภิธรรม (รูป นาม ขันธ์ ๕และสมมุติ)

เหตุของการรู้แจ้งในสภาวะอภิธรรม ผลคือ รู้แจ้งในสภาวะของอริยสัจ ๔

เหตุของการแจ้งอริยสัจ ๔ ทำให้รู้แจ้งชัดในสภาวะของพระนิพพาน คือ ลักษณะของพระนิพพาน ว่าทำอย่างไร จึงจะถึงซึ่งนิพพานที่แท้จริง

สภาวะเหล่านี้จะเกิดขึ้นเฉพาะในสภาวะของสมุจเฉทประหาณเท่านั้น คือเกิดจากสภาวะของจิตภาวนาจริงๆ ไม่ว่าจะรู้ปริยัติหรือไม่รู้ปริยัติ เมื่อผ่านสภาวะเหล่านี้แล้ว จะรู้เหมือนๆกันหมดและรู้นั้นๆตรงกัน ไม่แตกต่างกันเลยสักนิดเดียว


กล่าวในแง่ของปริยัติ


แสดงวิโมกขมุขสังคหะ

สุญฺญตานุปสฺสนา อนิตฺตานุปสฺสนา อปฺปณิหิตานุปสฺสนา เจติ ตีณิ วิโมกฺขมุขมุขานิ จ เวทิตพฺพานิ.


อธิบายคำว่า วิโมกขมุข แยกเป็น ๒ บท คือ

วิโมกฺข บทหนึ่ง

มุข บทหนึ่ง


วิโมกฺข แปลว่า การข้ามพ้นจากกิเลส ได้แก่ การปล่อยวางโดยตัวของจิตปล่อยวางเอง ไม่ใช่เกิดจากการคิดพิจรณาหรือมีความเห็น ตลอดตนความรู้สึกนึกคิดเข้าไปเกี่ยวข้องกับสภาวะ

มุข แปลว่า เป็นประตูหรือเป็นปาก หมายความว่า เป็นประตูทางเข้าอริยมรรค ได้แก่ สังขารุเปกขาญาณ


๑. สุญฺญตานุปสฺสนา วุฏฐาคามินีวิปัสสนาที่เนื่องมาจากอนัตตลักขณะ

๒. อนิตฺตานุปสฺสนา วุฏฐาคามินีวิปัสสนาที่เนื่องมาจากอนิจจลัขณะ

๓. อปฺปณิหิตานุปสฺสนา วุฏฐาคามินีวิปัสสนาที่เนื่องมาจากทุกขลักขณะ



ชื่อว่า สุญฺญตาวิโมกฺขมุข คือ ดับ(จิตปล่อยวาง)ทางอนัตตา หรือเข้าสู่สังขารุเปกขาญาณทางอนัตตา

ชื่อว่า อนิตฺตวิโมกฺขมุข คือ ดับ(จิตปล่อยวาง)ทางอนิจจัง หรือเข้าสู่สังขารุเปกขาญาณทางอนิจจัง

ชื่อว่า อปฺปณิหิตวิโมกฺขวิมุกข คือ ดับ(จิตปล่อยวาง)ทางทุกขัง หรือเข้าสู่สังขารุเปกขาญาณทางทุกขัง



พึงจำไว้ให้มั่นว่า การที่ผู้บำเพ็ญวิปัสสนาภาวนา จะเข้าสู่สังขารุเปกขาญาณ มรรคญาณบรรลุพระนิพพานได้นั้น จะต้องเข้าทางพระไตรลักษณ์ คือ อนิจจลักขณะ , ทุกขลักขณะ , อนัตตลัขณะ

โดยเข้าตามประตูทั้ง ๓ ตามวาสนาบารมีที่ตนได้เคยสร้างสมอบรมมาแต่ชาติก่อนดังกล่าวมาเท่านั้น จะเข้าทางอื่นอย่างอื่นไม่ได้ จะติดขัดด้วยประการทั้งปวง

และการที่ผู้ปฏิบัติจะรู้แน่แท้แก่ใจตนว่า ตนได้เคยสร้างอบรมบารมีมาทางไหน ย่อมรู้ได้อย่างแน่นอนในขณะที่วุฏฐาคามินีวิปัสสนากำลังเป็นอยู่ โดยแสดงพระไตรลักษณ์ที่มีกำลังมากที่สุดให้ปรากฏเห็นอย่างชัดเจนนี้เอง

เพราะพระไตรลักษณ์อย่างใดอย่างหนึ่งจะต้องปรากฏให้เห็นอย่างแน่นอน แก่ผู้ปฏิบัติวิปัสสนาภาวนาจนได้บรรลุอริยมรรค,อริยผลอย่างชัดเจนทุกคนไป


เหตุนี้ จึงมีข้อที่ควรทราบคือ อาจมีผู้ใดผู้หนึ่งซึ่งเป็นผู้มีความมึนเมาด้วยอำนาจแห่งทิฏฐิกิเลส สำคัญว่าตนเป็นผู้วิเศษ มีจิตสว่างสงบได้พบพระนิพพานแล้ว โดยตนไม่เคยปฏิบัติวิปัสสนาภาวนามาเลย

ได้แต่นึกคิดไปด้วยอำนาจจินตามยปัญญา แล้วสั่งสอนคนทั้งหลายด้วยภาษาอันเข้าใจบ้าง, ไม่เข้าใจบ้างอย่างผิดแบบผิดแผน

โดยนัยที่ว่าพระนิพพานนั้น ไม่ต้องไปปฏิบัติให้เหนื่อยยากลำบาก เพียงแต่ทำจิตให้ปล่อยวาง ไม่ยึดมั่นถือมั่น ให้เป็นไปตามธรรมชาติ ก็เป็นสุญญตานิพพานแล้ว เรื่องนรก, สวรรค์เป็นเรื่องของคนพาล, คนโง่ เป็นเรื่องของเด็กอมมือที่ยังมีอุปทานยึดอยู่เท่านั้น

หรือบางที ผู้หนึ่งผู้ใดซึ่งมีอาการยิ่งกว่าทิฏฐิวาทีตามที่กล่าวมาแล้ว ไม่เคยบำเพ็ญวิปัสสนาภาวนาเช่นกัน อยู่ๆก็กล่าวออกมาว่า ตุ๊เจ้าขา ( ตุ๊เป็นภาษาทางภาคเหนือ ใช้เรียกพระภิกษุ ) เราเป็นผู้สำเร็จแล้ว ได้มรรค, ผล, ธรรมวิเศษ สำเร็จวิปัสสนาแล้ว ได้วิโมกขธรรมสูงสุดของพระพุทธเจ้าแล้ว ดังนี้ก็มี


ตามตัวอย่างที่ยกมาดังนี้ แสดงว่าบุคคลเหล่านี้ไม่มีภาวนามยปัญญา ไม่รู้จักวุฏฐาคามินีวิปัสสนาญาณ คือ ลักษณาการที่จะก้าวเข้าสู่สังขารุเปกขาญาณทางพระไตรลักษณ์ ว่าตนเข้าถึงโดยพระไตรลักษณ์อย่างไหน และพระไตรลักษณ์นั้นมีลักษณะอาการเป็นอย่างไร ได้แก่การปล่อยวางชองจิตโดยเกิดสภาวะปล่อยวางเอง ไม่ใช่เกิดจากการน้อมเอา คิดเอา พยายามพิจรณาเพื่อปล่อยวาง ตราบใดที่ยังมีการพยายามทำให้เกิดการปล่อยวาง นั่นยังไม่ใช่สภาวะที่แท้จริงของจิตปล่อยวาง


ถ้าเขาเหล่านั้นไม่รู้แจ้งชัดในปัญหาที่ว่ามานี้แล้ว มรรค, ผลที่เขาเข้าใจเอาเองนั้น ก็ไม่ใช่มรรค, ผลที่ประเสริฐ

.....................................................
มิจฉาปณิหิตจิต จิตที่ตั้งไว้ผิด ย่อมตามพิชิตตัวเอง

สัตว์โลกย่อมเป็นไปตามกรรม ตามการกระทำของแต่ละคน (ตามความเป็นจริง)


แก้ไขล่าสุดโดย walaiporn เมื่อ 25 ต.ค. 2011, 22:43, แก้ไขแล้ว 3 ครั้ง.

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 29 ส.ค. 2011, 23:43 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ก.ค. 2006, 22:20
โพสต์: 5976

โฮมเพจ: http://walaiblog.blogspot.com/
แนวปฏิบัติ: กายคตาสติ
อายุ: 0
ที่อยู่: สมุทรปราการ

 ข้อมูลส่วนตัว


ล้าหลัง และ ล้ำหน้า

พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ว่า

“ภิกษุทั้งหลาย เทวดาและมนุษย์ทั้งหลายถูกครอบงำด้วยทิฏฐิ ๒ ประการ พวกหนึ่งล้าหลังอยู่ พวกหนึ่งล้ำหน้าไป แต่พวกหนึ่งมีจักษุ ( คือ ปัญญา ) เห็นอยู่

ภิกษุทั้งหลาย อันเทวดาและมนุษย์ทั้งหลายทั้งพวกหนึ่งล้าหลังอยู่อย่างไร?

ภิกษุทั้งหลาย เทวดาและมนุษย์ ( พวกหนึ่ง ) ยินดีพอในภพ พอใจในภพ เพลิดเพลินอยู่ในภพ เมื่อตถาคตแสดงธรรมเพื่อดับภพ จิตของพวกเขาก็ไม่แล่นเข้าไป ไม่เลื่อมใส ไม่ตั้งมั่น ไม่น้อมใจเชื่อ

ภิกษุทั้งหลาย เทวดาและมนุษย์พวกหนึ่งล้าหลังอยู่ด้วยอาการอย่างนี้แล



อนึ่ง ภิกษุทั้งหลาย เทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย พวกหนึ่งล้ำหน้าไปอย่างไร?

อันเทวดาและมนุษย์พวกหนึ่ง เบื่อหน่ายระอา เกลียดชังอยู่ด้วยภพนั่นเอง ชื่นชมยินดีปราศจากภพอยู่ ด้วยปรารภว่า

ท่านผู้เจริญ เขาว่า ในกาลใด อัตตานี้ขาดสูญพินาศไป เพราะว่าร่างกายแตกดับ ภายหลังมรณะ ไม่มีอยู่ภายหลังตายแล้ว นั่นเป็นความสงบ นั่นเป็นสิ่งประณีต นั่นเป้นความจริงแท้

ภิกษุทั้งหลาย เทวดาและมนุษย์พวกหนึ่งล้ำหน้าไปด้วยอาการอย่างนี้แล



อนึ่ง ภิกษุทั้งหลาย ท่านผู้มีจักษุ ( ปัญญา ) ทั้งหลายเห็นอยู่อย่างไร?

ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในพระศาสนานี้ เห็นภูต ( คือ เบญจขันธ์ ) ด้วยอนิจจานุปัสสนาเป็นต้น โดยความเป็นภูต ( ตามความเป็นจริง )

ครั้นเห็นภูต ( เบญจขันธ์ ) โดยความเป็นจริงแล้ว เป็นผู้ปฏิบัติ เพื่อความเบื่อหน่าย เพื่อคลายกำหนัด เพื่อความดับของภูต ( นั้น )

ภิกษุทั้งหลาย ท่านผู้มีจักษุ ( ปัญญา ) ทั้งหลายเห็นอยู่ด้วยอาการอย่างนี้แล”

.....................................................
มิจฉาปณิหิตจิต จิตที่ตั้งไว้ผิด ย่อมตามพิชิตตัวเอง

สัตว์โลกย่อมเป็นไปตามกรรม ตามการกระทำของแต่ละคน (ตามความเป็นจริง)


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 30 ส.ค. 2011, 22:40 
 
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 5
สมาชิก ระดับ 5
ลงทะเบียนเมื่อ: 19 ม.ค. 2011, 12:57
โพสต์: 337


 ข้อมูลส่วนตัว


สวัสดีครับคุณ walaiporn ทราบใช่ไหมครับวันที่ 4 ก.ย 54 พระราชทานเพลิงศพหลวงปู่ภัททันตะ ที่วัดสระเกศ ผมต้องเดินทางไป จ.อุดรธานี จึงไม่มีโอกาสได้ไปงานพระราชทานเพลิงศพ ในอดีตผมได้มีโอกาสปฏิบัติธรรมกับพระอาจารย์ท่านเจ้าคุณโชดก ภายหลังท่านมรณภาพแล้ว ได้ไปปฏิบัติธรรมกับหลวงปู่ภัททันตะ ที่วิเวกอาศรม พระอาจารย์และหลวงปู่ได้แสดงให้เห็นความจริง ทุกสรรพสิ่งเกิดขึ้น ตั้งอยู่และดับไป และว้นหนึ่งก็จะมาถึงตัวเรา ทุกลมหายใจเข้าออกจึงมีค่า พระธรรมที่พระพุทธองค์ได้ตรัสไว้ดีแล้ว ผู้ใดได้เห็นแล้ว ย่อมนำความสันติสุขมาให้ตามกำลังของสติปัญญา ขออนุโมทนากับผลการปฏิบัติของคุณ walaiporn :b8: :b8: :b8:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 01 ก.ย. 2011, 23:00 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ก.ค. 2006, 22:20
โพสต์: 5976

โฮมเพจ: http://walaiblog.blogspot.com/
แนวปฏิบัติ: กายคตาสติ
อายุ: 0
ที่อยู่: สมุทรปราการ

 ข้อมูลส่วนตัว


suttiyan เขียน:
สวัสดีครับคุณ walaiporn ทราบใช่ไหมครับวันที่ 4 ก.ย 54 พระราชทานเพลิงศพหลวงปู่ภัททันตะ ที่วัดสระเกศ ผมต้องเดินทางไป จ.อุดรธานี จึงไม่มีโอกาสได้ไปงานพระราชทานเพลิงศพ ในอดีตผมได้มีโอกาสปฏิบัติธรรมกับพระอาจารย์ท่านเจ้าคุณโชดก ภายหลังท่านมรณภาพแล้ว ได้ไปปฏิบัติธรรมกับหลวงปู่ภัททันตะ ที่วิเวกอาศรม พระอาจารย์และหลวงปู่ได้แสดงให้เห็นความจริง ทุกสรรพสิ่งเกิดขึ้น ตั้งอยู่และดับไป และว้นหนึ่งก็จะมาถึงตัวเรา ทุกลมหายใจเข้าออกจึงมีค่า พระธรรมที่พระพุทธองค์ได้ตรัสไว้ดีแล้ว ผู้ใดได้เห็นแล้ว ย่อมนำความสันติสุขมาให้ตามกำลังของสติปัญญา ขออนุโมทนากับผลการปฏิบัติของคุณ walaiporn :b8: :b8: :b8:




สาธุค่ะ :b8:

.....................................................
มิจฉาปณิหิตจิต จิตที่ตั้งไว้ผิด ย่อมตามพิชิตตัวเอง

สัตว์โลกย่อมเป็นไปตามกรรม ตามการกระทำของแต่ละคน (ตามความเป็นจริง)


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 01 ก.ย. 2011, 23:01 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ก.ค. 2006, 22:20
โพสต์: 5976

โฮมเพจ: http://walaiblog.blogspot.com/
แนวปฏิบัติ: กายคตาสติ
อายุ: 0
ที่อยู่: สมุทรปราการ

 ข้อมูลส่วนตัว


ความมั่นคงของชีวิต


ชีวิตที่มั่นคงไม่ได้ขึ้นอยู่กับเงินหรืองานที่ทำอยู่ แม้กระทั่งความมั่นคงในฐานะต่างๆทางโลก
ความมั่นคงของชีวิตที่แท้จริง คือการเห็นตามความเป็นจริง และรู้ชัดในรูป,นาม



เหตุของความมั่นคง

จะมั่นคงหรือไม่ให้ดูที่การกระทำ


๑. การสร้างเหตุของการไม่เกิด ได้แก่ พระนิพพาน

๒. การมุ่งดับเหตุทั้งปวง โดยการดับเหตุที่ตัวเอง ( การกระทำ )

.....................................................
มิจฉาปณิหิตจิต จิตที่ตั้งไว้ผิด ย่อมตามพิชิตตัวเอง

สัตว์โลกย่อมเป็นไปตามกรรม ตามการกระทำของแต่ละคน (ตามความเป็นจริง)


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 01 ก.ย. 2011, 23:07 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ก.ค. 2006, 22:20
โพสต์: 5976

โฮมเพจ: http://walaiblog.blogspot.com/
แนวปฏิบัติ: กายคตาสติ
อายุ: 0
ที่อยู่: สมุทรปราการ

 ข้อมูลส่วนตัว


การเฝ้าดูจิต


การที่จะเฝ้าดูจิตได้ ต้องฝึกจิตให้ตั้งมั่นให้ได้เสียก่อน ถ้าจิตยังไม่ตั้งมั่น จิตจะซัดส่ายอยู่ตลอดเวลา เพราะจิตไม่มีกำลัง เมื่อไม่มีกำลัง แทนที่จะดูจิตได้ กลับกลายเป็นความฟุ้งซ่านไป


การฝึกจิต

การฝึกจิตที่ถูกต้อง ควรฝึกจิตให้ตั้งมั่นก่อน สัปปายะและอิริยาบทจึงสำคัญอย่างยิ่ง สัปปายะแต่ละที่จะให้ผลของการเกิดสมาธิหรือทำให้จิตตั้งมั่นไม่เหมือนกัน ต้องหมั่นสังเกตุตัวเองด้วย


การหมั่นสังเกตุ

การหมั่นสังเกตุกายและจิตของตัวเอง นั่นคือการเฝ้าดูตามความเป็นจริงที่เกิดขึ้นในกายและจิต ยังไม่ต้องไปเอ่ยถึงเวทนาและธรรม เอาแค่ ๒ สภาวะนี้ก่อน

สมาธิยังไม่ต้องไปแยกว่าจะเป็นสมาธิแบบไหน แค่ทำจิตใหตั้งมั่นให้ได้เสียก่อน จะมิจฉาสมาธิหรือสัมมาสมาธิ คำเรียกต่างๆเหล่านั้น วางบัญญัติเสียก่อน ตรงนี้เป็นฐานสำคัญของการฝึกจิตในขั้นแรก



ลักษณะจิตมีกำลัง

ลักษณะของจิตที่มีกำลัง จิตจะมีสภาวะสดชื่น แจ่มใส เบิกบาน ลมหายใจโล่งโปร่ง รู้สึกเบาสบาย ถ้ามีสภาวะนี้เกิดขึ้นเมื่อใด ไม่ว่าจะทำอะไร จะสามารถรู้ชัดอยู่ที่กายได้ตลอด แม้กระทั่งความคิดจะมีระเบียบ ไม่ฟุ้งซ่านกระจัดกระจาย



จิตเห็นจิต

เมื่อจิตมีกำลัง การรู้เห็นในกายและจิตจะชัดมากขึ้น เห็นรายละเอียดต่างๆชัดมากขึ้น ส่วนจะรู้ชัดในกายได้นานเท่าไหร่นั้น ขึ้นอยู่กับกำลังของสมาธิ



สัปปายะในการทำสมาธิ

เหตุของแต่ละคนสร้างมาแตกต่างกันไป การทำให้จิตเกิดสมาธิก็เช่นเดียวกัน สัปปายะมีผลกับสภาวะนี้ด้วย ต้องทดสอบจิตหลายๆที่ ให้รู้ชัดว่า สถานที่แบบไหนที่ทำให้จิตเป็นสมาธิได้ง่ายที่สุด

ต้องเข้าใจในเรื่องเหตุก่อน เหตุของแต่ละคนสร้างมาแตกต่างกันไป ความชอบหรือจริตของแต่ละคนจึง
แตกต่างกัน บางคนชอบอากาศเย็น บางคนชอบอากาศปกติ เรียกว่าสภาวะความชอบไม่เหมือนกัน

บางคนชอบนั่งในที่สบายๆอากาศถ่ายเทได้สะดวก บางคนชอบนั่งที่นุ่มๆปล่อยตัวตามสบาย บางคนชอบนั่งในท่าขัดสมาธิฯลฯ

ให้สังเกตุตัวเองดูว่า นั่งแบบไหนแล้วจิตเป็นสมาธิได้ง่ายที่สุด ให้ฝึกนั่งในอิริยาบทนั้นบ่อยๆ ให้จิตคุ้นเคยกับการเป็นสมาธิ จนจำสภาวะได้แม่นว่า เวลาที่จิตเป็นสมาธินั้นมีอาการอย่างไร

เหตุที่ให้ฝึกตรงนี้ก่อน เพราะสมาธิที่เกิดขึ้นนี้ เป็นสมาธิที่มีอยู่ตามธรรมชาติหรือตามเหตุที่แต่ละคนเคยทำมา กำลังสมาธิของแต่ละคนจึงแตกต่างกันไป



อิริยาบทนั่ง

เวลานั่ง ให้รู้ที่ลมหายใจเข้า-ออก หายใจเข้าก็รู้ หายใจออกก็รู้ รู้แบบปกติที่หายใจในเวลาปกติ รู้ไปเรื่อยๆแบบนั้น ไม่ต้องไปคิดทำเพื่อให้เกิดสมาธิแต่อย่างใด ถ้าจะเกิด สมาธิจะเกิดเอง

ถ้าต้องการใช้คำบริกรรมหรือการกำนดต่างๆ ใช้ได้ตามปกติ เนื่องจากจิตที่เคยถูกฝึกมาบ้างแล้ว ย่อมคุ้นเคยในสิ่งที่เคยทำมาก่อน



ทำให้ชำนาญ

ฝึกเข้าออกสมาธิให้ชำนาญ ยังไม่ต้องไปสนใจในคำเรียกหรือบัญญัติต่างๆ ดูความรู้สึกแต่ละขณะที่จิตเป็นสมาธิ จะรู้สึกตัวหรือไม่รู้สึกตัวไม่เป็นไร แต่จงทำให้ชำนาญ เรียกว่า ถ้าสมาธิเกิดจะรู้ทันที



การฝึกขั้นแรก

ไม่ต้องเดินก่อนที่จะนั่ง ให้นั่งได้เลย นั่งตามสะดวก ตามความถนัด ตามความชอบ เพื่อจะได้ตรวจสอบสมาธิของตัวเองว่ามีมากน้อยแค่ไหน มีสภาวะอย่างไร จะได้นำสภาวะตรงที่ทำแล้วถนัดนี้ ไว้เป็นที่พักจิต



ปรับอินทรีย์

เมื่อฝึกให้จิตเป็นสมาธิ จนจำสภาวะเวลาที่จิตเป็นสมาธิได้ รู้ได้ว่าต้องอยู่ในสัปปายะหรือที่นั่ง หรือในสถานที่แบบไหน บรรยากาศแบบไหน นั่งแบบไหนที่จิตเป็นสมาธิได้ง่ายที่สุด เมื่อจำได้แล้ว ให้ดูเรื่องสมาธิที่เกิดขึ้น

เวลาที่จิตเป็นสมาธิ สามารถรู้ที่กายได้ตลอดหรือไม่ มีความรู้สึกตัวหรือไม่ รู้สึกตัวได้ตลอดไหม หรือมีแต่ความสงบ เบากาย เบาใจเกิดขึ้น

หากมีอาการไม่สามารถรู้กายได้ ให้ทำการปรับอินทรีย์ คือ เดินก่อนที่จะนั่งทุกครั้ง เดินมากกว่านั่ง แล้วเฝ้าสังเกตุสมาธิที่เกิดขึ้นไปเรื่อยๆ

ดูว่าเวลาที่เป็นสมาธิสามารถรู้ชัดในกายและจิตได้ไหม เช่น รู้ลมหายใจเข้า รู้ลมหายใจออก รู้กายที่นั่งอยู่ รู้ท้องพองยุบ รู้ชัดในความคิดฯลฯ

คือ สามารถรู้ชัดในทุกๆสภาวะที่เกิดขึ้นในกายและจิต แม้กระทั่งความรู้สึก นึกคิดที่เกิดขึ้น นี่คือ สภาวะที่ต้องการ



เหตุของการปรับอินทรีย์

การปรับอินทรีย์ เป็นวิธีการที่จะนำสมาธิที่มีอยู่ในตัวเอง เพื่อนำสมาธิที่มีอยู่ นำออกมาใช้ให้เกิดประโยชน์ได้สูงสุด ทุกๆคนมีสมาธิติดตัวทุกคนอยู่แล้ว เพียงแต่บางคนอาจจะไม่รู้ว่ามี

เหมือนการปฏิบัติ บางคนทำแทบตาย นั่งภาวนาแทบตาย สมาธิไม่เกิดเลย แล้วไปคิดกันเองว่า สงสัยจะไม่มีบุญวาสนาในการปฏิบัติภาวนา จึงทำไม่ได้เหมือนคนอื่นๆ

เรื่องสัปปายะต่างๆ เช่น สถานที่ อากาศ อิริยาบทขณะที่นั่งจึงสำคัญมากๆเพราะเหตุนี้ นั่งไม่ถูกที่ อิริยาบทไม่เป็นไปแบบผ่อนคลาย สบายๆ ไปบีบบังคับจิตเพื่อให้สมาธิเกิด มีหลายสาเหตุที่ไม่สามารถทำให้จิตไม่สามารถเป็นสมาธิได้

.....................................................
มิจฉาปณิหิตจิต จิตที่ตั้งไว้ผิด ย่อมตามพิชิตตัวเอง

สัตว์โลกย่อมเป็นไปตามกรรม ตามการกระทำของแต่ละคน (ตามความเป็นจริง)


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 17 ก.ย. 2011, 00:03 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ก.ค. 2006, 22:20
โพสต์: 5976

โฮมเพจ: http://walaiblog.blogspot.com/
แนวปฏิบัติ: กายคตาสติ
อายุ: 0
ที่อยู่: สมุทรปราการ

 ข้อมูลส่วนตัว


เริ่มต้นฝึกสมาธิใหม่


การปฏิบัติต้องรู้ชัดในอารมณ์ที่เกิดขึ้น และควรรู้วิธีรักษาจิต

หลายๆคนที่มาปรึกษา ส่วนมากที่ให้เริ่มเรื่องสมาธิใหม่เพราะเหตุนี้ ต้องรู้ชัดในจิตของตัวเองว่า นั่งในอิริยาบทไหนในบรรยากาศหรืออากาศแบบไหน ที่สมาธิเกิดได้ง่ายและมีกำลังมากที่สุด คือดิ่ง

ตอนนี้อาจจะยังมองไม่เห็นประโยชน์ในสิ่งที่ให้ทำเพิ่ม แต่ต่อไปต้องได้ใช้อย่างแน่นอน เพราะสภาวะเบื่อจะต้องเจอทุกคน ไม่ใช่เบื่อแบบธรรมดาๆ ต้องบอกว่าเบื่อจนไม่มีที่จะอยู่ เป็นเหตุให้ไม่อยากปฏิบัติ แต่ต้องทำแล้วเพราะรู้ว่าทำเพราะอะไร

เมื่อไม่อยากทำ แต่พยายามที่จะทำ กลายเป็นฝืนใจทำ ไม่ใช่ทำแบบปกติ นี่เจอทุกข์อีกแล้ว ฉะนั้นต้องมีที่ให้จิตชอบ มีที่ให้จิตพัก สมาธิเป็นที่พักจิตที่ดีที่สุดยิ่งกว่าสิ่งอื่นๆ แต่ต้องดูจังหวะ รู้ชัดในจิตของตัวเองให้ได้ก่อน รู้ชัดในสภาวะของสมาธิก่อน

บางคนรู้ชัดในสภาวะเวลาสมาธิเกิด แต่ไม่รู้ชัดในวิธีที่จะทำให้สมาธิเกิดได้ง่าย ไม่รู้ชัดในวิธีที่จะทำให้จิตเกิดสมาธิได้แนบแน่น เกิดสมาธิได้มากๆแบบไม่มีประมาณ จึงให้ฝึกสมาธิใหม่เพราะเหตุนี้ ฝึกเพื่อให้เกิดความชำนาญ ให้มีวสีรู้ชัดในการเข้าออกสมาธิ

เมื่อชำนาญแล้ว เอาไว้ใช้ในเวลาเกิดสภาวะเบื่อ ในสภาวะนี้ต้องใช้สมาธิที่มีกำลังมากๆ จึงจะช่วยกดข่มสภาวะที่เป็นอยู่ได้ เป็นเหตุให้ไม่ต้องทุกข์กับสภาวะที่เกิดขึ้น แม้กระทั่งการปฏิบัติก็ไม่ฝืนใจทำ จะทำสลับไปมาแบบนี้

เบื่อมาก ปล่อยจิตเข้าพักในสมาธิ จะทำทั้งวันก็ไม่เป็นไร เพราะสภาวะเบื่อบางครั้งจะเกิดขึ้นทั้งวัน พักจิตไปจนกว่าจะหายเบื่อ

จิตพอได้พักเต็มที่จะมีสภาวะสดใส สดชื่น เบิกบาน โปร่ง โล่งเบาสบาย สุขไม่มีประมาณ แล้วตัวปัญญาจะเกิด ที่นี้พอมาปฏิบัติจะทำได้อย่างสะดวกสบายไม่ต้องฝืนใจทำ ไม่ต้องไปบังคับกดข่มจิตเพื่อให้ทำแต่อย่างใด



กิเลส

สมาธิก็เป็นกิเลส ทั้งๆที่สมาธิไม่ได้เป็นกิเลส แต่กลับกลายเป็นกิเลสเพราะความไม่รู้ เกิดการยึดติดในสมาธิ ยึดติดความสงบ สุข ในสภาวะที่เกิดขึ้น ซึ่งเป็นผลของจิตเป็นสมาธิ

เมื่อรู้ว่าสมาธิเป้นกิเลสได้เพราะเหตุใด ต้องรู้จักนำกิเลสมาใช้ให้ถูกที่ ถูกทาง กิเลสก็พลิกสถานะการณ์ให้สภาวะที่เป็นอยู่เป็นต่อไปทันที สภาวะจะก้าวหน้ามากขึ้นเรื่อยๆ รู้ชัดในจิตมากขึ้น เห็นรายละเอียดต่างๆของสภาวะชัดมากขึ้น



รู้ชัดในรูป, นาม (กาย, เวทนา, จิต, ธรรม)

มีบางคนรู้ชัดในรูปนาม แต่ไม่รู้หรอกว่าสภาวะของตัวเองเป็นอย่างไร เมื่อเจอสภาวะเดิมๆซ้ำๆ ย่อมเกิดอาการเบื่อ นี่เป็นเรื่องปกติของความไม่รู้ ถึงแม้รู้แล้วยังเบื่อเลย เพราะยังไม่รู้จักวิธีรักษาจิต ไม่รู้ว่าควรทำอย่างไรต่อไป



สร้างเหตุยังไง รับผลเช่นนั้น

สภาวะที่เกิดขึ้นของแต่ละคนก็เช่นเดียวกัน ผู้ที่ไม่รู้ชัดในสภาวะ เมื่อเจอสภาวะเบื่อเช่นนี้ อาจจะบอกว่า นี่นิพพิทาญาณเกิดขึ้นแล้ว เสร็จเลย เสร็จกิเลส เสร็จกิเลสเพราะไม่รู้ชัดในสภาวะ ที่นี้ก็วุ่นวาย หาทางแก้ไขสภาวะ ทั้งๆที่จริงแล้วสภาวะเป็นไปตามเหตุของตัวสภาวะเอง


ญาณ ๑๖

เรื่องของญาณ ๑๖ ในดีมีเสีย ในเสียมีดี มีไว้ให้ศึกษา มีไว้ให้รู้ ไม่ใช่มีไว้ให้ยึด ซึ่งเกิดจากการตีความว่าสภาวะแต่ละญาณจะต้องเป็นเช่นนั้น เช่นนี้ ให้ดูเรื่องเหตุ ให้ดูการกระทำ ดูอารมณ์ยามผัสสะที่เกิดขึ้น ดูทันไหม ถ้าดูทันย่อมรู้ชัด


โสฬสธรรม

อยากรู้เรื่อญาณ ๑๖ ให้อ่านโสฬสธรรม เป็นคำถามที่พรามหณ์พาวารีผูกปัญหาให้ลูกศิษย์ ๑๖ คน นำไปถามพระพุทธเจ้า สิ่งที่พระพุทธเจ้าตอบมานั้นล้วนมีสภาวะซ่อนอยู่ภายในคำตอบทุกคำตอบ

เช่นคำถามของพระโมฆราช สิ่งที่พระพุทธเจ้าตอบ บางคนนำมาตีความเป็นเรื่องสุญญตา

สุญฺญโต โลกํ อเวกฺสฺสุ โมฆราช สทา สโต

อตฺตานุทิฏฐึ โอหจฺจ เอวํ มจฺจุตฺตโร สิยา

เอวํ โลกํ เอวกฺขนฺตํ มจฺจุราชา น ปสฺสติ

แปลความว่า ดูก่อนโมฆราช ท่านจงเป็นผู้มีสติตลอดเวลา มองเห็นโลกโดยความเป็นของว่างเปล่า พึงถอนอัตตานุทิฏฐิ (คือ ความเห็นเนืองๆว่ามีอัตตา) เสีย

จึงจะเป็นผู้ข้ามพ้นมฤตยูด้วยอาการอย่างนั้น มัจจุราช (มองหา) ไม่เห็นบุคคลผู้มองเห็นโลกอย่างนี้

วิโมกคาถา

ครั้นโยคาวจรเห็น(โลก) โดยความเป็นของว่างเปล่าอย่างนั้นแล้ว ยกขึ้นสู่ไตรลักษณ์ กำหนดรู้สังขารทั้งหลายอยู่ ก็ละความกลัวและความพึงพอใจเสียได้

เป็นผู้มีตนเป็นกลาง วางเฉยในสังขารทั้งหลาย ไม่ถือว่าเป็น”เรา” หรือว่า “เป็นของเรา”

(นำมาจากหนังสือ วิปัสสนากรรมฐาน ภาค ๑ เล่ม ๒ หลวงพ่อโชดก ในบทภังคญาณ)



สุญญตาที่เป็นบัญญัติ ล้วนเป็นเพียงอุบายในการสอน แต่โดยตัวสภาวะของสุญญตาที่แท้จริงมีรายละเอียดลงลึกไปกว่านั้น คำว่า มองโลกว่างเปล่าไม่มีอะไรๆ ล้วนเป็นอุบายในการสอนทั้งสิ้น สอนไม่ให้ยึดติดในสิ่งที่เกิดขึ้นหรือผัสสะ

กับอีกในพระสูตร อากังเขยยสูตร ในมูลปัณณาสก์ มัชฌิมนิกาย หน้า ๕๘ ว่า

“อากงฺเขยฺย เจ ภิกฺขเว ภิกฺขุ ฯลฯ วิปสฺสนาย สมนฺนาคโต พฺรูเหตา สุญฺญาคารานํ”

มีใจความว่า “ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย หากภิกษุหวังอยู่ว่า เราพึงเป็นที่รักใคร่ ที่ชอบใจ ที่เคารพ ที่ยกย่องของเพื่อนพรหมจรรย์ด้วยกันแล้ว เธอพึงทำให้บริบูรณ์ในศิล พึงเจริญสมถะและวิปปัสนาอยู่เนืองนิตย์ เป็นผู้ไม่ห่างเหินจากฌาน พอกพูนแต่ในสุญญาคารเถิด”


สุญญตาทั้งสองที่นำมาลง มีสภาวะแตกต่างกันอย่างสิ้นเชิง หากไม่รู้ชัดในสภาวะ ย่อมเข้าใจว่าเป็นสภาวะเดียวกัน

คำว่า “เธอพึงทำให้บริบูรณ์ในศิล พึงเจริญสมถะและวิปปัสนาอยู่เนืองนิตย์ เป็นผู้ไม่ห่างเหินจากฌาน พอกพูนแต่ในสุญญาคารเถิด”



พึงทำให้บริบูรณ์ในศิล

หมายถึง หมั่นรู้ชัดอยู่ในกาย เวทนา จิต ธรรม หรือ รูปนาม (กายและจิต)

สภาวะคือ มีจิตตั้งมั่น รู้ชัดอยู่ในกายและจิต ขณะที่จิตตั้งมั่นรู้ชัดอยู่ในรูปนาม ศิลย่อมสะอาดบริสุทธิ์ บริบูรณ์



พึงเจริญสมถะและวิปัสสนา


สภาวะคือ มีจิตตั้งมั่น (สมถะ) มีความรู้สึกตัวทั่วพร้อม รู้ชัดอยู่ในกายและจิต (วิปัสสนา)

หมายถึง มีสมาธิ (จิตตั้งมั่น) มีความรู้สึกตัวทั่วพร้อม (สัมปชัญญะ) รู้ชัด (สติ) อยู่ในกาย เวทนา จิต ธรรม หรือเรียกสั้นๆว่า รู้ชัดอยู่ในรูปนาม




เป็นผู้ไม่ห่างจากฌาน

หมายถึง เข้าออกฌานโดยชำนาญหรือมีวสีในการเข้าออกฌาน รู้ชัดในสภาวะของฌาน



พอกพูนอยู่แต่ในสุญญคาร

หมายถึง รู้ชัดอยู่ในกายและจิต(รูปนาม) หรือที่นิยมนำมาอธิบายว่า ไม่มีเขา ไม่มีเรา ไม่มีคน ไม่มีสัตว์ ซึ่งเป็นเพียงอุบายในการสอน แต่สภาวะที่แท้จริงคือ รู้ชัดอยู่ในรูปนามเนืองๆ

เมื่อรู้ชัดอยู่ในรูปนามได้เนืองๆ วิปัสสนาญาณ(ญาณ๑๖)ย่อมเกิดขึ้นเองตามลำดับขั้น

.....................................................
มิจฉาปณิหิตจิต จิตที่ตั้งไว้ผิด ย่อมตามพิชิตตัวเอง

สัตว์โลกย่อมเป็นไปตามกรรม ตามการกระทำของแต่ละคน (ตามความเป็นจริง)


แก้ไขล่าสุดโดย walaiporn เมื่อ 28 ก.ย. 2011, 22:57, แก้ไขแล้ว 1 ครั้ง

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 25 ก.ย. 2011, 13:01 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ก.ค. 2006, 22:20
โพสต์: 5976

โฮมเพจ: http://walaiblog.blogspot.com/
แนวปฏิบัติ: กายคตาสติ
อายุ: 0
ที่อยู่: สมุทรปราการ

 ข้อมูลส่วนตัว


สันโดษ


ถ้าจำแนกออกไปโดยพิศดารมีอยู่ ๕๐ อย่าง คือ สันโดษในเครื่องนุ่งห่ม ๒๐ สันโดษในอาหาร ๑๕ สันโดษในที่อยู่อาศัย ๑๕

สันโดษทั้ง ๕๐ นี้ เมื่อจะย่อสั้นๆ ก็มีเพียง ๓ เท่านั้น คือ ยถาลาภสันโดษ ๑ ยภาพลสันโดษ ๑ ยถาสารุปปสันโดษ ๑


ยถาลาภสันโดษ

ได้แก่ ความยินดีตามมีตามได้ พอใจใช้สอยเท่าที่ตนได้ เท่าที่ตนมีอยู่


ยภาพลสันโดษ

ได้แก่ ยินดีตามกำลัง เช่น รู้จักใช้ปัจจัย ๔ ของตนเท่าที่หามาได้ ให้ใช้เพียงพอแก่กำลังทรัพย์


ยถาสารุปปสันโดษ

ได้แก่ ยินดีตามสมควร เช่น รู้จักประมาณในรายรับ รายจ่าย รู้จักเก็บรักษาพอเหมาะพอควร ในทางศาสนาสอนไว้ว่า ทรัพย์ที่หามาได้นั้น ให้แบ่งออกเป็นส่วนๆ

๑. เอาไปใช้หนี้เก่า คือ เลี้ยงพ่อแม่ของตน

๒. เอาไปให้เขากู้ คือ เลี้ยงลูกของตน

๓. เอาไปฝัง คือ ทำบุญทำทาน

๔. เก็บไว้ใช้จ่าย ในคราวจำเป็น เช่น ในคราวเจ็บไข้ได้ป่วยเป็นต้น

สันโดษนี้ องค์สมเด็จพระชินสีห์ตรัสไว้ในมงคลสูตรว่า เป็นมงคลอันสูงสุดประการหนึ่งในมงคล ๓๘ ประการ เพราะเหตุดังนี้ คือ เป็นมหากุศล ตัดกังวลต่างๆ ออกห่างจากอกุศล ทำตนให้สบาย คลายความทุกข์ ได้รับแต่ความสุข

ปลุกตนให้ตื่น ไม่ฝืนทำชั่ว ไม่เกลือกกลั้วอธรรม นำทางถูก ปลูกศิลธรรม จำเริญเป็นนิตย์ มีจิตเข้มแข็ง แทงตลอดสัจธรรม นำตนให้พ้นทุกข์ ถึงสุขอันไพบูลย์ กล่าวคือ นฤพาน

ตัวอย่างเช่น พระเถระผู้ทรงผ้าบังสกุลเป็นวัตรรูปหนึ่ง ท่านตั้งใจจะไปไหว้พระเจดีย์ในเจติยบรรพตวิหาร ครั้นเดินทางไปถึงแล้ว ได้เข้าไปพักในวิหารนั้น

วันหนึ่ง ท่านเห็นผ้าสาฎกที่มนุษย์เอามาทิ้งไว้ เพราะเปื้อนอุจจาระ มีแมลงวันหัวเขียวไต่ตอมเป็นจำนวนมาก

ท่านจึงประคองอัญชลีขึ้นน้อมระลึกถึงสมเด็จพระชินสีห์ผู้พระบิดา ในคราวที่พระพุทธองค์ทรงสลัดหนอนออกจากผ้าห่อศพนางปุณณทาสี แล้วซักผ้ามหาบังสุกุลจนถึงกับแผ่นดินไหว

ใจของท่านก็เกิดปีติโสมนัส ยืนเจริญวิปัสสนากรรมฐานอยู่ที่นั้นเอง จนได้บรรลุโสดปัตติผล สกทาคามิผล และอนาคามิผล

แล้วจึงถือเอาผ้าสาฎกนั้น ไปทำเป็นจีวรห่ม ไปสู่ปาจีนขัณฑราชีวิหาร เจริญวิปัสสนากรรมฐานต่อ จนได้บรรลุพระอรหัตตมรรค พระอรหัตตผล เป็นอเสกขบุคคล ผู้เลิศประเสริฐสุดในพระพุทธศาสนา



หมายเหตุ:-

ขึ้นอยู่กับเหตุที่ทำมา ใช่ว่าทำแล้วจะได้รับผลเหมือนกันหมดทุกคน เฉกเช่นกับคำที่กล่าวไว้ว่า

เดินทางเดียว (ไม่)อย่าเหยียบซ้ำรอยกัน” ได้แก่ ทุกคนมุ่งไปทางเดียวกันหมด คือ พระนิพพาน เพียงแต่เหตุที่ทำมาหรือสร้างขึ้นมาแตกต่างกันไป เส้นทางการปฏิบัติหรือแนวทางการปฏิบัติของแต่ละคนจึงมีข้อปลีกย่อยแตกต่างกันไป

การปฏิบัติอาจจะทำตามรูปแบบ ถึงแม้จะเป็นรูปแบบเดียวกัน แต่สภาวะที่เกิดขึ้นจะแตกต่างกันไปตามเหตุปัจจัยที่มีอยู่ ฉะนั้นทางที่เดินจึงไม่(อย่า)เหยียบซ้ำรอยกันเพราะเหตุนี้ จึงควรมีผู้รู้นำทางเพราะเหตุนี้

ส่วนจะได้ผู้รู้ที่มีความชำนาญในเส้นทางมากน้อยแค่ไหน ก็ขึ้นอยู่กับเหตุที่ทำมาและที่กำลังสร้างขึ้นมาใหม่ด้วยของตัวเราเองด้วย ฉะนั้นจึงไม่ควรกล่าวโทษกัน เวลาที่ปฏิบัติแล้วไม่ได้ผลดั่งใจ

ควรให้ความเมตตาและให้อภัยต่อความไม่รู้ที่ยังมีอยู่ แล้วหมั่นรู้ในกายและจิตให้เนืองๆ วิถีหรือแนวทางการปฏิบัติหรือเส้นทางของแต่ละคนจึงแตกต่างกันไปตามเหตุปัจจัยของบุคคลนั้น

.....................................................
มิจฉาปณิหิตจิต จิตที่ตั้งไว้ผิด ย่อมตามพิชิตตัวเอง

สัตว์โลกย่อมเป็นไปตามกรรม ตามการกระทำของแต่ละคน (ตามความเป็นจริง)


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 25 ก.ย. 2011, 13:11 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ก.ค. 2006, 22:20
โพสต์: 5976

โฮมเพจ: http://walaiblog.blogspot.com/
แนวปฏิบัติ: กายคตาสติ
อายุ: 0
ที่อยู่: สมุทรปราการ

 ข้อมูลส่วนตัว


การหลีกเว้นและการคบหา

โดยหลีกเว้นบุคคลผู้ไม่มีสมาธิ

การหลีกเว้นเสียอย่างห่างไกล ซึ่งบุคคลทั้งหลายจำพวกที่ไม่เคยก้าวขึ้นสู่เนกขัมมปฏิปทา คือ ไม่เคยปฏิบัติปฏิปมาที่ให้ออกจากกาม มัวแต่วิ่งวุ่นอยู่ในกิจการเป็นอันมาก มีใจฟุ้งเฟ้อไปในกิจการนั้นๆ ชื่อว่า หลีกเว้นคนผู้ไม่มีสมาธิ


โดยคบหาบุคคลผู้มีสมาธิ

การเข้าไปคบหาสมาคมกับบุคลลทั้งหลาย จำพวกที่ปฏิบัติเนกขัมมปฏิปทา ได้สำเร็จสมาธิโดยกาลอันควรตลอดกาล ชื่อว่า สมาคมกับบุคคลผู้มีสมาธิ

โดยน้อมจิตไปในสมาธินั้น

ความน้อมจิตไปในอันที่จะทำสมาธิให้บังเกิดขึ้น คือ ความหนักในสมาธิ ความน้อมไปในสมาธิ ความทุ่มเทไปในสมาธิ ชื่อว่า น้อมจิตไปในสมาธินั้น โยคีบุคคลพึงทำอัปปนาโกศลให้เกิดขึ้นโดยบริบูรณ์ ด้วยประการฉะนี้


ต้องทำให้ชำนาญด้วยวสี ๕

ก็แหละโยคีบุคคลผู้แรกทำกัมมัฏฐาน ซึ่งได้บรรลุปฐมฌาน แม้กระทั่งฌานอื่นๆตามเหตุปัจจัยที่เคยกระทำมา ต้องฝึกเข้าฌานให้มากๆ แต่อย่าพิจรณาองค์ฌานให้มาก

เพราะเมื่อพิจรณามาก องค์ฌานทั้งหลายก็จะปรากฏเป็นสภาวะที่หยาบมีกำลังน้อย และเพราะเหตุปรากฏด้วยอาการอย่างนั้น องค์ฌานเหล่านั้นก็จะถึงซึ่งความเป็นปัจจัยแก่ความขวนขวายเพื่อภาวนาเบื้องสูงไปเสีย

เมื่อเธอสาละวนขวนขวายอยู่ในฌานที่ยังไม่คล่องแคล่ว เธอจะเสื่อมจากฌานปฐมฌานหรือฌานที่เกิดตามเหตุปัจจัยที่เคยทำไว้ ไม่สามารถเพื่อที่จะบรรลุซึ่งทุติยฌานหรือแม้กระทั่งฌานอื่นๆนั้นด้วย


เปรียบเหมือนแม่โคโง่ไม่ชำนาญภูเขา

ภิกษุทั้งหลาย เหมือนอย่างแม่โคที่ชอบเที่ยวไปตามภูเขา ตัวที่โง่ไม่ชำนาญไม่รู้เขตที่หากิน ไม่ฉลาดเพื่อท่องเที่ยวไปตามภูเขาอันไม่ราบเรียบ

แม่โคนั้น จะพึงคิดอย่างนี้ว่า ทำอย่างไรหนอเราจะพึงไปทิศที่ยังไม่เคยไป จะพึงได้กัดกินหญ้าที่ยังไม่เคยกัดกิน จะพึงได้ดื่มน้ำที่ยังไม่เคย

ครั้นแล้วมันยังไม่ทันได้เหยียบเท้าหน้าไว้ให้ได้ทีเสียก่อน แล้วยกเท้าหลังขึ้น มันก็จะไม่พึงไปทิศที่ตนไม่เคยไป ไม่พึงได้กัดกินหญ้าที่ตนยังไม่เคยกัดกิน และไม่พึงได้ดื่มน้ำที่ตนยังไม่เคยดื่ม

มิหนำซ้ำ มันยังไม่พึงกลับคืนมาโดยสวัสดียังสถานที่เดิมที่มันยืนคิดอยู่ว่า ทำอย่างไรหนอ เราจะพึงไปถึงทิศที่ยังไม่เคยไป จะพึงได้กัดกินหญ้าที่ยังไม่เคยกิน จะพึงได้ดื่มน้ำที่ยังไม่เคยดื่ม ฉะนี้ด้วย ข้อนั้นเพราะมีอะไรเป็นเหตุเล่า?

ภิกษุทั้งหลาย เพราะเหตุว่า แม่โคที่ชอบเที่ยวไปตามภูเขานั้น มันโง่ มันไม่ชำนาญ มันไม่รู้จักเขตที่หากิน มันไม่ฉลาดเพื่อที่จะท่องเที่ยวไปตามภูเขาอันไม่เรียบราบโดยแท้ ฉันใด

ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุบางรูปในศาสนานี้ก็ฉันเดียวกันนั่นเทียว คือ เป็นคนโง่ เพราะ ไม่ได้ส้องเสพสมถนิมิต เป็นคนไม่ชำนาญ เพราะไม่ทำสมาธิให้เจริญขึ้นซึ่งปฐมฌาน อันมีวิตก มีวิจาร มีปีติและสุขอันเกิดจากความสงัดอยู่

เพราะสงัดแล้วแน่นอนจากกามทั้งหลาย เพราะสงัดแล้วแน่นอนจากอกุศลธรรมทั้งหลาย ภิกษุนั้นไม่ได้ส้องเสพนิมิต (เครื่องหมายหรือสภาวะ คนละอย่างกับนิมิตแสง สี เสียง ภาพ) นั้น ไม่ทำให้นิมิตนั้นให้เจริญขึ้น ไม่ทำให้มากๆเข้า ไม่ทำให้ตั้งอยู่ด้วยดี

ถึงเธอจะมีความคิดอย่างนี้ว่า ทำอย่างไรหนอ เราจะพึงบรรลุซึ่งทุติยฌานอันเป็นภายใน ประกอบด้วยความเลื่อมใสแห่งใจ มีภาวะที่ให้ธรรมอันประเสริฐเกิดขึ้น

ไม่มีวิตก ไม่มีวิจาร เพราะวิตกวิจารสงบไปแล้ว มีแต่ปีติและสุขอันเกิดแต่สมาธิ เธอก็ไม่สามารถเพื่อที่จะบรรลุซึ่งทุติยฌาน .... นั้นได้

ถึงเธอจะมีความคิดขึ้นอย่างนี้ว่า ทำอย่างไรหนอ เราจะพึงบรรลุถึงซึ่งปฐมฌาน อันมีวิตก มีวิจาร มีปีติและสุขซึ่งเกิดแต่ความสงัดอยู่

เพราะสงัดแล้วแน่นอนจากกามทั้งหลาย เพราะสงัดแล้วแน่นอนจากอกุศลกรรมทั้งหลาย เธอก็ไม่สามารถเพื่อที่จะบรรลุซึ่งปฐมฌาน ..... นั้นได้

ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุนี้เรากล่าวว่า เป็นผู้พลัดตกเสียแล้วจากฌานทั้ง ๒ เป็นผู้เสื่อมสูญแล้ว จากฌานทั้ง ๒ เปรียบเหมือนแม่โคที่ชอบเที่ยวไปตามภูเขา ซึ่งเป็นสัตว์โง่ไม่ชำนาญ ไม่รู้จักขอบเขตที่หากิน ไม่ฉลาดเพื่อท่องเที่ยวไปตามภูเขาอันไม่ราบเรียบนั้น

เพราะเหตุฉะนี้ อันโยคีบุคคลนั้น จำเป็นต้องเป็นผู้สั่งสมวสี คือ ความสามารถด้วยอาการ ๕ อย่าง ในปฐมฌานนั้นนั่นเทียวเสียก่อน

.....................................................
มิจฉาปณิหิตจิต จิตที่ตั้งไว้ผิด ย่อมตามพิชิตตัวเอง

สัตว์โลกย่อมเป็นไปตามกรรม ตามการกระทำของแต่ละคน (ตามความเป็นจริง)


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 08 ต.ค. 2011, 00:28 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ก.ค. 2006, 22:20
โพสต์: 5976

โฮมเพจ: http://walaiblog.blogspot.com/
แนวปฏิบัติ: กายคตาสติ
อายุ: 0
ที่อยู่: สมุทรปราการ

 ข้อมูลส่วนตัว


พระพุทธเจ้าตรัสรู้อภิธรรมอีกครั้ง


ขอบคุณทุกคำถาม

กับคำถาม ที่มีผู้นำมาถามทุกๆครั้ง ทำให้เห็นรายละเอียดของสภาวะต่างๆมากขึ้น เช่น คำถามที่ถามมาว่า พระพุทธเจ้าตรัสรู้พระอภิธรรมนั้น ใช่แบบเดียวกับรู้อนัตตาไหม


คนละอย่าง คนละสภาวะกัน

เมื่อกล่าวถึงทุกขัง ต้องกล่าวถึงอนิจจัง และต้องกล่าวถึงอนัตตา


การรู้แจ้งในสภาวะไตรลักษณ์ เกิดจากเหตุการรู้ชัดอยู่ในรูปนาม ผลที่ได้รับจากการเห็นไตรลักษณ์ เป็นเพียงการถ่ายถอนอุปทานที่มีอยู่ เป็นเหตุให้จิตปล่อยวาง ซึ่งเป็นเหตุให้ญาณ ๑๖ ดำเนินไปตามสภาวะเอง

สภาวะญาณ ๑๖ จะมีสภาวะที่สำคัญเพียง ๒ สภาวะ คือ สภาวะนามรูปปริจเฉทญาณ ที่เป็นสภาวะปรมัตถ์(รู้ชัดอยู่ใน กาย เวทนา จิต ธรรม ขณะที่จิตเป็นสมาธิ)

กับสภาวะปัจจเวกขณญาณ ปัญญาในการทบทวนกิเลสที่เหลืออยู่ สภาวะตัวนี้เป็นตัวสำคัญที่บ่งบอกว่าได้ผ่านโคตรภูญาณมาแล้วจริงๆ หรือผ่านญาณ ๑๖ มาแล้ว เพราะทุกคนที่ผ่านแล้วจะมีสภาวะเดียวกันหมด เหมือนกันหมดไม่แตกต่าง


ส่วนสภาวะที่เหลือในองค์ประกอบโดยรวมของญาณ ๑๖ นั้น ล้วนเป็นการดำเนินไปตามสภาวะของญาณ ๑๖ ที่ทุกคนจะต้องเจอ เป็นเรื่องของอารมณ์ของจิต ไม่ว่าจะรู้ชัดอยู่ในนามรูปได้มากน้อยแค่ไหนก็ตาม

รู้ชัดอยู่ในรูปนามได้น้อย จะเห็นสภาวะหยาบๆ รู้ชัดอยู่ในรูปนามได้เนืองๆ จะเห็นสภาวะที่ละเอียดมากขึ้น สมถะสำคัญมากๆเพราะเหตุนี้ การยกจิตขึ้นสู่วิปัสสนา การปรับสมาธิกับสติให้สมดุลย์ สำคัญมากๆเพราะเหตุนี้


ที่เคยบอกว่าพระพุทธเจ้าตรัสรู้อภิธรรม ได้แก่ การรู้ชัดในสภาวะของรูปนาม ขันธ์ ๕ ในสภาวะปรมัตถ์ (ถึงแม้ผู้รู้นั้นจะไม่รู้ปริยัติก็ตาม)และสมมุติ เป็นเหตุให้สักกายทิฏฐิถูกประหานลงไปหมดสิ้น

เนื่องจากเมื่อรู้แจ้งในสภาวะอริยสัจ ๔ ย่อมรู้ชัดในสัจจานุโลกมิกญาณ รู้ชัดในเรื่องเหตุที่กระทำและผลที่ได้ ผัสสะที่เป็นเหตุปัจจัยส่งผลให้เกิดการระทำบ้าง ไม่ทำให้เกิดการกระทำบ้างเพราะอะไรเป็นเหตุ จะรู้ชัดในสภาวะต่างๆเหล่านี้

และรู้ชัดในสภาวะของนิพพาน ว่านิพพานที่แท้จริงนั้นมีสภาวะ ไม่มีการเกิดอีกต่อไป คือ การดับเหตุภายนอก ที่เป็นต้นเหตุของการเวียนว่ายในวัฏฏสงสาร

และสร้างเหตุภายในที่เป็นต้นเหตุของการดับทั้งเหตุภายนอกและภายใน ได้แก่ กิเลสหรือสังโยชน์ทั้ง ๑๐

ธรรมที่พระพุทธเจ้าทรงปรารภขึ้นมาว่า ธรรมนี้ละเอียดมากได้แก่ อริยสัจ ๔

.....................................................
มิจฉาปณิหิตจิต จิตที่ตั้งไว้ผิด ย่อมตามพิชิตตัวเอง

สัตว์โลกย่อมเป็นไปตามกรรม ตามการกระทำของแต่ละคน (ตามความเป็นจริง)


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 03 พ.ย. 2011, 23:03 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ก.ค. 2006, 22:20
โพสต์: 5976

โฮมเพจ: http://walaiblog.blogspot.com/
แนวปฏิบัติ: กายคตาสติ
อายุ: 0
ที่อยู่: สมุทรปราการ

 ข้อมูลส่วนตัว


อนัตตา ไม่ใช่ของวิเศษ


อนัตตาไม่ใช่ของวิเศษ เป็นเพียงแค่สภาวะ เหมือนๆกับทุกสภาวะ ที่แตกต่างคือเหตุที่ทำมา สภาวะที่เกิดขึ้นย่อมแตกต่าง

อนัตตาสามารถนำมาอธิบายให้เห็นเป็นรูปธรรมได้ สภาวะของอนัตตาที่แท้จริงคือ บังคับบัญชาไม่ได้ มีแค่นี้เอง เช่น ร่างกายนี้ ไปบังคับบัญชาได้ไหมว่า จะต้องหนุ่มสาวแบบนี้ตลอดไป บังคับไม่ได้แน่นอน สังขารหรือร่างกายนี้ย่อมแปรเปลี่ยนไป เสื่อมไปตามสภาพของตัวสภาวะ เมื่อไม่รู้ชัด จึงเป็นทุกข์ ทุกข์เพราะยึดติดกับสิ่งที่คิด และสิ่งที่เป็นอยู่

เมื่อเห็นว่า ร่างกายนี้ ไปบังคับบัญชาอะไรไม่ได้ ให้เป็นตามใจนึกไม่ได้ มันแปรเปลี่ยนไปตามสภาพ ยึดแล้วทุกข์ เมื่อเห็นบ่อยๆเข้า จิตย่อมปล่อยวางลงไปเอง ที่ทุกข์เพราะยึด เมื่อปล่อยวางลงไปได้ จึงไม่ทุกข์ แม้กระทั่งสภาวะอื่นๆที่เกิดขึ้นในชีวิต ล้วนมีเหตุปัจจัย ไปบังคับบัญชาอะไรไม่ได้ เมื่อมีเหตุ ย่อมมีผล ไม่มีเหตุ ไม่มีผล


คำสอนที่แพร่หลายที่เห็นได้ชัดในตอนนี้คือ เรื่องอนัตตา หยิบยกอนัตตาขึ้นมาเป็นของวิเศษ เป็นสิ่งที่ให้คำจำกัดความไม่ได้ อธิบายลักษณะอาการที่เกิดขึ้น ให้เห็นเป็นรูปธรรมไม่ได้

โดยตัวสภาวะที่แท้จริงของนัตตาไม่ได้มีความวิเศษหรือพิเศษไปกว่าตัวสภาวะอนิจจังและทุกขังเลย แตกต่างแค่สภาวะ แต่คุณสมบัติ คือ เป็นเหตุให้จิตเกิดการปล่อยวางเหมือนกัน

เมื่อกล่าวถึงอนัตตา ย่อมกล่าวถึงอนิจจังและทุกข์ เพราะทั้ง ๓ สภาวะนี้ เกิดขึ้นกับผู้ใด เป็นเหตุให้จิตเกิดการปล่อยวางโดยไม่ต้องพยายามคิดพิจรณาเพื่อให้เกิดการปล่อยวางอย่างใด


ความแตกต่างเรื่องการปล่อยวาง

ตราบใดที่ยังมีความคิดเข้าไปแทรกแซงสภาวะหรือสิ่งที่กำลังเกิดขึ้น สภาวะนั้นๆยังเป็นบัญญัติ จึงต้องอาศัยบัญญัติในการคิดพิจรณาเพื่อปล่อยวาง

การดูตามความเป็นจริงของสิ่งที่กำลังเกิดขึ้น โดยไม่เอาความคิดที่มีอยู่เข้าไปตัดสินในสิ่งที่เกิดขึ้น สภาวะอนิจจัง ทุกขัง อนัตตา ย่อมเกิดขึ้นมาเอง จิตย่อมปล่อยวางลงไปเอง และไม่มีการย้อนกลับมาเพื่อเจอสิ่งที่เคยเกิด เคยเป็นมาแล้ว


นี่คือความแตกต่างทั้งโดยสภาวะและพฤติกรรม ตราบใดที่ยังมีความคิดเข้าไปเกี่ยวข้อง สิ่งที่เห็นย่อมเปลี่ยนแปรไป จนกว่าจิตจะยอมรับตามความเป็นจริงของสิ่งที่เกิดขึ้น เมื่อนั้นจิตย่อมปล่อยวางลงไปเอง สภาวะนั้นย่อมจบลงไปตามเหตุ


เหตุมี ผลย่อมมี

เหตุที่ทำให้หยิบยกอนัตตาขึ้นมาเป็นของวิเศษ ล้วนเกิดจากกิเลสทั้งนั้น กิเลสที่อยากจะละสักกายะทิฏฐิ จะละไปได้อย่างไร ขนาดดูตามความเป็นจริงของสิ่งที่เกิดขึ้นทั้งภายในและภายนอก แค่ดู แค่รู้ แค่ยอมรับตามความเป็นจริง ยังทำไม่ได้เลย


สักกายะ

พระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๗ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๙
สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค
จุลปัณณาสก์
อันตวรรคที่ ๑
๑. อันตสูตร ว่าด้วยส่วนคือสักกายะ ๔
[๒๗๔] ข้าพเจ้าได้สดับมาแล้วอย่างนี้:-
สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระวิหารเชตวัน อารามของท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี ใกล้พระนครสาวัตถี. ณ ที่นั้นแล พระผู้มีพระภาคตรัสเรียกภิกษุทั้งหลายว่า

ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุเหล่านั้นทูลรับพระผู้มีพระภาคแล้ว พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย ส่วน ๔ อย่างเหล่านี้. ส่วน ๔ อย่างเป็นไฉน? ส่วนคือสักกายะ ๑ ส่วนคือสักกายสมุทัย ๑ ส่วนคือสักกายนิโรธ ๑ ส่วนคือสักกายนิโรธคามินีปฏิปทา ๑.

[๒๗๕] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ส่วนคือสักกายะเป็นไฉน? ส่วนคือสักกายะนั้น ควรจะกล่าวว่า อุปาทานขันธ์ ๕

อุปาทานขันธ์ ๕ เป็นไฉน?

อุปาทานขันธ์ ๕ นั้น ได้แก่ อุปาทานขันธ์คือรูป ๑ อุปาทานขันธ์คือเวทนา ๑ อุปาทานขันธ์คือสัญญา ๑ อุปาทานขันธ์คือ สังขาร ๑ อุปาทานขันธ์คือวิญญาณ ๑

ดูกรภิกษุทั้งหลาย นี้เรียกว่า ส่วนคือสักกายะ



[๒๗๖] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ส่วนคือสักกายสมุทัยเป็นไฉน? ส่วนคือสักกายสมุทัยนั้นคือ ตัณหาอันนำให้เกิดในภพใหม่ ประกอบด้วยความกำหนัดด้วยอำนาจความเพลิดเพลิน มีปกติเพลิดเพลินยิ่งในภพหรืออารมณ์นั้นๆ. ได้แก่กามตัณหา ภวตัณหา วิภวตัณหา.

ดูกรภิกษุทั้งหลาย นี้เรียกว่า ส่วนคือสักกายสมุทัย



[๒๗๗] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ส่วนคือสักกายนิโรธเป็นไฉน? ส่วนคือสักกายนิโรธนั้นคือ ความดับโดยไม่เหลือแห่งตัณหานั้นแล ด้วยมรรค คือ วิราคะ ความสละ ความสละคืน ความหลุดพ้น ความไม่มีอาลัย

ดูกรภิกษุทั้งหลาย นี้เรียกว่า ส่วนคือสักกายนิโรธ



[๒๗๘] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ส่วนคือสักกายนิโรธคามินีปฏิปทาเป็นไฉน? ส่วนคือสักกายนิโรธคามินีปฏิปทานั้น ได้แก่อริยมรรคประกอบด้วยองค์ ๘ นี้แล สัมมาทิฏฐิ ๑ สัมมาสังกัปปะ ๑ สัมมาวาจา ๑ สัมมากัมมันตะ ๑ สัมมาอาชีวะ ๑ สัมมาวายามะ ๑ สัมมาสติ ๑ สัมมาสมาธิ ๑

ดูกรภิกษุทั้งหลาย นี้เรียกว่า ส่วนคือสักกายนิโรธคามินีปฏิปทา.


ดูกรภิกษุทั้งหลาย ส่วน ๔ อย่างนี้แล. จบ สูตรที่ ๑.



ทิฏฐิ คือ ความเห็น

สักกายะ+ทิฏฐิ คือ ความเห็นที่มีอุปทานขันธ์ ๕ เป็นองค์ประกอบ ลักษณของสภาวะที่เกิดขึ้น ได้แก่ ความเห็นที่มีความรู้สึกนึกคิดของตัวเองเข้าไปเกี่ยวข้องกับสิ่งที่เกิดขึ้น นี่คือความหมายที่แท้จริงของสภาวะสักกายทิฏฐิ

เพราะเมื่อมีตัวตนเข้าไปเกี่ยวข้องกับสิ่งที่เกิดขึ้น ย่อมมีการให้ค่าต่อสิ่งที่เกิดขึ้น เช่น ชอบ, ชัง เนื่องจากมีเหตุปัจจัยกับสิ่งๆนั้น หรือเฉยๆ ไม่มีเหตุปัจจัยต่อสิ่งๆนั้น

มีการให้ค่ายังไม่พอ ยังนำความรู้สึกนึกคิดที่เกิดขึ้น ที่มีต่อผัสสะหรือสิ่งที่มากระทบ เช่น ชอบ, ชัง แล้วสร้างเหตุออกไปตามความรู้สึกนั้นๆ แม้กระทั่งรู้สึกเฉยๆ ก็ยังไม่รู้ว่าเพราะอะไรจึงเฉย ทั้งที่มีการกระทบ แต่ทำไมจึงไม่รู้สึกอะไร


ที่สำคัญ คำว่า อนัตตา โดยตัวสภาวะที่แท้จริง ไม่ได้หมายถึง การไม่มีตัวตน, เรา, เขา, หรือบุคคล สภาวะที่แท้จริงของอนัตตาคือ บังคับบัญชาไม่ได้

การที่นำอนัตตามาอธิบายในทำนองว่า ไม่ใช่ตัวตน ไม่มีตัวตน บุคคล เขา เรา ล้วนเป็นเพียงอุบายในการถ่ายถอนอุปทาน ความยึดมั่นถือมั่นที่มีอยู่ เนื่องจากมุ่งหวังในการละสักกายทิฏฐิ

.....................................................
มิจฉาปณิหิตจิต จิตที่ตั้งไว้ผิด ย่อมตามพิชิตตัวเอง

สัตว์โลกย่อมเป็นไปตามกรรม ตามการกระทำของแต่ละคน (ตามความเป็นจริง)


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 04 พ.ย. 2011, 23:34 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ก.ค. 2006, 22:20
โพสต์: 5976

โฮมเพจ: http://walaiblog.blogspot.com/
แนวปฏิบัติ: กายคตาสติ
อายุ: 0
ที่อยู่: สมุทรปราการ

 ข้อมูลส่วนตัว


ไตรลักษณ์ โดยบัญญัติและสภาวะ


สภาวะไตรลักษณ์ โดยองค์ธรรมได้แก่ อนิจจัง ๑ ทุกขัง ๑ อนัตตา ๑

ทำไมขันธ์ ๕ จึง เป็นอนิจจัง?
อุปฺปทวยญฺญถตฺตภาวา หุตฺวา อภาวโต เพราะมีแล้วกลับไม่มี คือ เกิดขึ้นแล้วเสื่อมไป และเป็นอย่างอื่น ดังนั้น ขันธ์ ๕ จึงเป็นอนิจจัง ได้แก่ แปรปรวนตลอดเวลา


ทำไมขันธ์ ๕ จึงเป็นทุกข?

อภิณฺหปฏิปีฬนา เพราะเบียดเบียนบีบคั้นอยู่บ่อยๆ ดังนั้น ขันธ์ ๕ จึงเป็นทุกข์


ทำไมขันธ์ ๕ จึงเป็นอนัตตา?

อวสตฺตนโต เพราะขันธ์ ๕ ไม่เป็นไปในอำนาจของใครๆ สิ้นทั้งมวล

อวสวตฺตนากาโร อนตฺตนากาโร อนตฺตลกฺขณํ อาการคือ ความไม่เป็นไปในอำนาจของใครๆ สิ้นทั้งมวลนั่นแหละ เป็นเครื่องหมายบอกให้รู้ว่า เป็นอนัตตา ได้แก่ บังคับบัญชาไม่ได้


อนุปัสสนาทั้ง ๓

อนุปัสสนา ๓ อย่างนั้น คือ อนิจจานุปัสสนา ๑ ทุกขานุปัสสนา ๑ อนัตตานุปัสสนา ๑

อนิจจานุปัสสนา ได้แก่ ปัญญาที่พิจรณาเห็นรูปนามว่า ไม่เที่ยง เกิดขึ้นแล้วดับไป เกิดที่ไหนก็ดับที่นั่น รูปนามก็ปรากฏว่ามีแต่ความเสื่อมไปสิ้นไป แล้วมีใจวางเฉย มีสติรู้อยู่ (เห็นความไม่เที่ยง จิตปล่อยวาง) เรียกว่า อนิมิตตวิโมกข์


ทุกขานุปัสสนา ได้แก่ ปัญญาพิจรณาเห็นรูปนามว่า เป็นทุกข์ ทนอยู่ไมได้ ใจก็เกิดความสังเวช คือสลดใจรูปนาม เห็นรูปนามเป็นภัย คือ เป็นของน่ากลัว แล้วมีใจวางเฉย มีสติรู้อยู่ (เห็นความทุกข์ จิตปล่อยวาง) เรียกว่า อัปปณิหิตวิโมกข์


อนัตตานุปัสสนา ได้แก่ ปัญญาพิจรณาเห็นรูปนามว่า บังคับบัญชาใดๆไม่ได้ แล้วมีใจวางเฉย มีสติรู้อยู่ (เห็นว่าบังคับให้เป็นไปตามที่ใจต้องการไม่ได้ จิตปล่อยวาง) เรียกว่า สุญญตวิโมกข์




คำว่า อนิมิตตวิโมกข์ แยกเป็น ๒ ศัพท์ คือ อนิมิตต+วิโมกข

อนิมิตต แปลว่า ไม่มีเครื่องหมาย

วิโมกข แปลว่า พ้นวิเศษจากกิเลสทั้งหลาย

ต่อกันเข้าเป็น อนิมิตตวิโมกข์ โดยองค์ธรรมได้แก่ ทางไปสู่อริยมรรค (เมื่อจิตปล่อยวางโดยสภาวะของจิตเอง สภาวะสังขารุเปกขาญาณ จึงเกิดขึ้นได้) ซึ่งทำพระนิพพานให้เป็นอารมณ์ โดยอาการว่างเปล่าจากราคะ โทสะ โมหะ

หากยังไม่แจ้งในอริยสัจจ์ จิตจะวกกลับไปที่สภาวะอุทยัพพยญาณ(สุญญตา) สลับกลับไปมาแบบนี้ จนกว่าจะแจ้งในสภาวะอริยสัจจ์




คำว่า อัปปณิหิตวิโมกข์ แยกออกเป็น ๒ ศัพท์ คือ อัปปณิหิต+วิโมกข

อัปปณิหิต แปลว่า ไม่มีที่ตั้ง

วิโมกข แปลว่า พ้นวิเศษจากกิเลสทั้งหลาย

ต่อกันเข้าเป็น อัปปณิมิตหิตวิโมกข์ โดยองค์ธรรมได้แก่ ทางไปสู่อริยมรรค (เมื่อจิตปล่อยวางโดยสภาวะของจิตเอง สภาวะสังขารุเปกขาญาณ จึงเกิดขึ้นได้) ซึ่งทำพระนิพพานให้เป็นอารมณ์ โดยอาการว่างเปล่าจากราคะ โทสะ โมหะ

หากยังไม่แจ้งในอริยสัจจ์ จิตจะวกกลับไปที่สภาวะอุทยัพพยญาณ(สุญญตา) สลับกลับไปมาแบบนี้ จนกว่าจะแจ้งในสภาวะอริยสัจจ์




คำว่า สุญญตวิโมกข์ แยกเป็น ๒ ศัพท์ คือ สุญญต+วิโมกข

สุญญต แปลว่า ว่างเปล่า

วิโมกข แปลว่า พ้นวิเศษจากกิเลสทั้งหลาย

ต่อกันเข้าเป็น สุญญตวิโมกข์ โดยองค์ธรรมได้แก่ ทางไปสู่อริยมรรค (เมื่อจิตปล่อยวางโดยสภาวะของจิตเอง สภาวะสังขารุเปกขาญาณ จึงเกิดขึ้นได้) ซึ่งทำพระนิพพานให้เป็นอารมณ์ โดยอาการว่างเปล่าจากราคะ โทสะ โมหะ

หากยังไม่แจ้งในอริยสัจจ์ จิตจะวกกลับไปที่สภาวะอุทยัพพยญาณ สลับกลับไปมาแบบนี้ จนกว่าจะแจ้งในสภาวะอริยสัจจ์




หมายเหตุ:-

คำว่า “มีพระนิพพานเป็นอารมณ์ โดยว่างเปล่าจากราคะ โทสะ โมหะ ” หมายถึง สภาวะตั้งแต่อุทยัพพยญาณถึงสังขารุเปกขาญาณ เกิดเองเป็นเองตามเหตุปัจจัยของสภาวะ ไม่ใช่เกิดจากความคิดพิจรณาใดๆที่พยายามจะทำให้เกิดขึ้น



สรุปความตามแนวแห่งการปฏิบัติ ดังนี้ คือ


เมื่อเห็น อนิจจัง ชื่อว่าได้เห็นทุกขังกับอนัตตา พร้อมกันไป

เมื่อเห็น ทุกขัง ชื่อว่าได้เห็น อนิจจังกับอนัตตา พร้อมกันไป

เมื่อเห็น อนัตตา ชื่อว่าได้เห็น อนิจจังกับทุกขัง พร้อมกันไป เพราะอยู่ด้วยกัน แยกจากกันไม่ได้ เช่น


ในขณะที่เห็นรูปนามว่าไม่เที่ยง เพราะสิ้นไป เสื่อมไป จัดเป็นอนิจจัง


ทำไมรูปนามเสื่อมไป สิ้นไป เพราะ ทนอยู่ไม่ได้ จัดเป็นทุกข์

ทำไมรูปนามจึงทนอยู่ไม่ได้ เพราะ บังคับไม่ได้ การที่รูปนามบังคับไม่ได้นี้ จัดเป็นอนัตตา

วิโมกข์ทั้ง ๓ นี้ จะมีได้ ก็เพราะ อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา

เมื่ออนิจจัง ทุกขัง อนัตตา เกิดพร้อมกัน วิโมกข์ทั้ง ๓ ก็เกิดพร้อมกันได้ ต่างกันที่ว่า จะเห็นสภาวะตัวไหนชัดเจนมากที่สุด กล่าวตามปริยัติคือ ยกเป็นอธิบดีเสียอันหนึ่ง นอกนั้นเป็นสหชาติปัจจัย


หมายเหตุ:

รูปนาม หมายถึงสิ่งที่เกิดขึ้น หรือสภาวะที่เกิดขึ้นทั้งภายนอกและภายใน เมื่อรู้ชัดในสภาวะ จะแยกแยะรายละเอียดของสภาวะต่างๆให้เห็นเป็นรูปธรรมได้


ในชีวิตประจำวัน สภาวะภายนอก คือ เมื่อผัสสะเกิด สักแต่ว่าดู สักแต่ว่ารู้ สักแต่ว่าเห็น ส่วนภายใน รู้สึกนึกคิดยังไง ยอมรับไปตามนั้น แต่อย่าให้ความรู้สึกนึกคิดที่เกิดขึ้น เป็นแรงผลักดันให้เกิดการกระทำออกไป เหตุมี ผลย่อมมี


ในแนวทางการปฏิบัติ สภาวะภายใน คือ รู้ชัดอยู่ในสุญญตาเนืองๆ ส่วนภายนอก สักแต่ว่าดู สักแต่ว่ารู้ สักแต่ว่าเห็น เหตุไม่มี ผลย่อมไม่มี ที่ยังมีเหตุ เพราะยังมีผลให้ได้รับอยู่ เพียงแค่ดู แค่รู้ และยอมรับในสิ่งที่มีและเป็นอยู่ แต่อย่านำไปสร้างเหตุ


ที่สำคัญที่สุด พึงรู้เรื่องของผัสสะต่างๆที่เกิดขึ้นในชีวิต ว่าแท้จริงแล้วทำไมสิ่งที่เกิดขึ้นจึงเป็นเหตุให้เกิดความรู้สึกชอบ, ชัง หรือเฉยๆ

เหตุมี ผลย่อมมี ที่ชอบหรือชังก็เพราะมีเหตุกับสิ่งที่เกิดขึ้น ที่รู้สึกเฉยๆ เพราะไม่มีเหตุกับสิ่งที่เกิดขึ้น


สิ่งที่เกิดขึ้นในชีวิตของทุกรูปทุกนาม ล้วนเกิดจากเหตุที่ทำมาทั้งสิ้น และที่กำลังสร้างให้เกิดขึ้นใหม่ในปัจจุบันขณะ ผลของเหตุที่ทำไว้ ส่งมาให้รับผลในรูปของผัสสะหรือเหตุหรือสิ่งที่เกิดขึ้นในปัจจุบัน

เหตุจากความไม่รู้ชัดในเรื่องผัสสะหรือสิ่งที่เกิดขึ้น เป็นเหตุให้มีการกระทำออกไปตามความรู้สึกนึกคิดที่เกิดขึ้นต่อผัสสะนั้นๆ ภพชาติจึงเกิดยืดยาวเพราะเหตุนี้ เหตุของความไม่รู้ชัดในเรื่องของเหตุและผล ตลอดจนผัสสะต่างๆที่เกิดขึ้น


การกระทำภายนอกที่ทำลงไป ส่งผลต่อสภาวะภายใน
ส่วนสภาวะที่เกิดขึ้นภายใน ส่งผลต่อสภาวะภายนอก
เพียงรู้ชัดภายใน ยอมรับภายนอก ไม่แก้ไข สภาวะจะจบลงไปโดยตัวสภาวะเอง


ไม่ใช่เรื่องง่ายและเรื่องยากที่จะรู้ชัดในเรื่องของสภาวะทั้งหมด ทุกรูปทุกนามสามารถทำได้เหมือนๆกัน ผลที่ได้รับ การรู้เห็นจะรู้เห็นเหมือนกันหมด ไม่แตกต่าง เพียงทำตามแนวทางที่พระพุทธองค์ทรงตรัสไว้ในสติปัฏฐาน ๔ คือ สมถะและวิปัสสนา


สมถกรรมฐาน คือ เหตุของการทำสมาธิให้เกิดขึ้น ได้แก่ อิทธิบาท ๔ สมาธิ ซึ่งมีบัญญัติเป็นอารมณ์ ได้แก่ คำบริกรรมภาวนาต่างๆ ตลอดจนรูปนามที่นำมาใช้ในการกำหนดสภาวะต่างๆที่เกิดขึ้นในกายและจิต ล้วนเป็นบัญญัติ

การเจริญสมถะ เพื่อให้จิตได้ส้องเสพสภาวะของการเป็นสมาธิ ตลอดจนรู้ชัดในสภาวะต่างๆของสมาธิ และ เพื่ออาศัยกำลังของสมาธิเป็นเหตุปัจจัยในการเจริญวิปัสสนา



การเจริญวิปัสสนา เพื่อรู้ชัดอยู่ในรูปนาม เพื่อให้ได้ปัจจุบันธรรม เห็นรูปนาม เห็นพระไตรลักษณ์ ได้บรรลุมรรค ผล นิพพาน

วิปัสสนาในสติปัฏฐาน ๔ คือ การยกจิตขึ้นสู่วิปัสสนา ได้แก่ การปรับอินทรีย์ ระหว่างสติกับสมาธิให้เกิดสภาวะสมดุลย์ หากสมาธิมากไป จิตไม่สามารถรู้ชัดภายในทั้งหมดและจิตจะคิดพิจรณาไม่ได้

การที่จิตรู้ชัดในสภาวะต่างๆที่เกิดขึ้นใน กาย เวทนา จิต ธรรม ได้นานมากน้อยแค่ไหน ขึ้นอยู่กับกำลังของสมาธิที่เกิดขึ้นขณะนั้นๆ

สภาวะที่เกิดขึ้นของวิปัสสนา คือ มีสติ สัมปชัญญะรู้ชัดอยู่ในกายในกาย เวทนาในเวทนา จิตในจิต ธรรมในธรรม ได้แก่ การดูตามความเป็นจริงของสภาวะที่เกิดขึ้นในกายและจิต มีปรมัตถ์เป็นอารมณ์ (รูปนาม)

ถ้ายังมีการกำหนด(บัญญัติต่างๆ) ยังไม่ใช่สภาวะตามความเป็นจริงของรูปนามที่มีอยู่จริงตามสภาวะที่เรียกว่า สภาวะปรมัตถ์

ส่วนวิริยะ, ศรัทธา, ปัญญา จะเกิดตามเหตุปัจจัยของตัวสภาวะที่เกิดขึ้น

.....................................................
มิจฉาปณิหิตจิต จิตที่ตั้งไว้ผิด ย่อมตามพิชิตตัวเอง

สัตว์โลกย่อมเป็นไปตามกรรม ตามการกระทำของแต่ละคน (ตามความเป็นจริง)


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 05 พ.ย. 2011, 22:40 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ก.ค. 2006, 22:20
โพสต์: 5976

โฮมเพจ: http://walaiblog.blogspot.com/
แนวปฏิบัติ: กายคตาสติ
อายุ: 0
ที่อยู่: สมุทรปราการ

 ข้อมูลส่วนตัว


สุญญตา,สุญญคาร


สุญญตากับสุญญคาร แตกต่างแค่ตัวหนังสือ แต่สภาวะเดียวกัน

สภาวะสุญญตา มีสภาวะรูปนามเป็นปรมัตถ์

สภาวะที่เกิดขึ้นที่สังเกตุเห็นได้ชัดของสภาวะปรมัตถ์ คือ ก่อนจิตเป็นสมาธิ ไม่ต้องใช้คำบัญญัติใดๆมาช่วยในการบริกรรมภาวนา แค่รู้ว่าหายใจ เรียกว่าสักแต่ว่ารู้ ไม่ใช่การตั้งใจทำให้เกิดขึ้น จิตจะเป็นสมาธิเอง นี่คือ สภาวะของรูปนามที่เป็นปรมัตถ์

ลักษณะอาการที่เกิดขึ้น คือ เมื่อจิตเป็นสมาธิ จะรู้ชัด ได้แก่ มีความรู้สึกตัวทั่วพร้อม มีสติรู้ชัดอยู่ภายใน กายในกาย เวทนาในเวทนา จิตในจิต ธรรมในธรรม


เหตุที่ทำให้รู้ชัดในสภาวะต่างๆที่เกิดขึ้น เนื่องจากกำลังของสมาธิ เหตุที่ทำให้รู้สึกตัวทั่วพร้อมเกิดจากสัมปชัญญะ ได้แก่ ความรู้สึกตัวขณะที่สภาวะต่างๆกำลังเกิดขึ้น


รู้ชัดกายในกาย ได้แก่ มีสิ่งใดเกิดขึ้นกับกายก็จะรู้ เช่น ท้องพองยุบ เสียงชีพจรเต้นตามจุดต่างๆของร่างกาย กล้ามเนื้อสั่น แม้กระทั่งอาการอื่นๆจะรู้ชัด

รู้ชัดในเวทนาในเวทนา ได้แก่ เมื่อมีเวทนาเกิดขึ้นก็จะรู้ เช่น ทุกขเวทนาที่เกิดกับกาย เช่น ปวด เมื่อย เหน็บชาฯลฯ

เมื่อมีสุขเวทนาเกิดขึ้น ก็จะรู้ เช่น ปีติสุข ในปฐมฌาน, ปีติ สุขในทุติยฌาน และสุขในตติยฌาน จิตวางเฉยก็จะรู้ เช่น อุเบกขา ในจตุตฌาน คือจะสามารถแยกแยะความแตกต่างของอุเบกขาในสภาวะของจตุตถฌานกับสังขารุเปกขาญาณได้

รู้ชัดจิตในจิต ได้แก่ เมื่อกิเลสเกิดขึ้นในจิต เกิดเอง เป็นเอง โดยปราศจากความรู้สึกนึกคิดใดๆก็จะรู้ เช่น จิตมีราคะก็จะรู้ว่าจิตมีราคะ จิตมีโทสะก็จะรู้จิตมีโทสะฯลฯ สิ่งเหล่านี้เป็นอนุสัยที่นองเนื่องอยู่ในขันธสันดาน จะเกิดเอง หายเอง

รู้ชัดธรรมในธรรมหรือธรรมารมณ์ ได้แก่ ความรู้สึกนึกคิดต่างๆที่เกิดขึ้นเอง โดยไม่ต้องไปนำความรู้ใดๆมาคิดพิจรณา จิตจะคิดพิจรณาเอง ตามสภาวะของจิตที่เป็นอยู่ รู้แค่ไหน จิตจะคิดพิจรณาตามความเป็นจริงของสภาวะแค่นั้น


สภาวะทั้งหมดที่เกิดขึ้นนี้จะสักแต่ว่าดู สักแต่ว่ารู้ สักแต่ว่าเห็น โดยไม่ความเป็นเรา เข้าไปเกี่ยวข้องกับสภาวะแต่อย่างใด


คำว่า ไม่มีความเป็นเรา หมายถึง ไม่มีความรู้สึกนึกคิดของตัวเองเข้าไปคิดพิจรณาสภาวะต่างๆที่กำลังเกิดขึ้นว่า สภาวะนั้นถูก, ผิด ใช่, ไม่ใช่, ชอบ, ชัง หรือเรียกว่านั่น เรียกว่านี่ จะไม่มีสิ่งต่างๆเหล่านี้เกิดขึ้น

สภาวะทั้งหมดนี้ เรียกตามปริยัติว่า รู้ชัดอยู่ในกายในกาย เวทนาในเวทนา จิตในจิต ธรรมในธรรมก็ได้ หรือกายและจิตก็ได้ หรือรูปนามก็ได้ สุญญตาก็ได้ สุญญคารก็ได้ เพราะชื่อทั้งหมดที่นำมาเรียกนี้ เป็นสภาวะเดียวกัน

รู้ชัดอยู่ในกายในกาย เวทนาในเวทนา จิตในจิต ธรรมในธรรม ได้แก่ มีความรู้สึกตัวทั่วพร้อม กายสักแต่ว่ากาย เวทนาสักแต่ว่าเวทนา จิตสักแต่ว่าจิต ธรรมารมณ์สักแต่ว่าธรรมารมณ์ แยกออกจากกันไม่ปะปนกัน จึงเรียกย่ออีกทีว่า กายและจิต


รูปนาม ในสภาวะที่เกิดขึ้นนี้ หมายถึง สภาวะรูปนามที่เป็นปรมัตถ์

สุญญตา หมายถึง บังคับบัญชาใดๆไม่ได้ คือ สภาวะเหล่านี้เกิดขึ้นตามความเป็นจริงของตัวสภาวะ จะไปพยายามตั้งใจทำให้เกิดขึ้นมาไม่ได้

สุญญคาร หมายถึง เรือนว่างเปล่า คือ ปราศจากตัวตนหรือความรู้สึกนึกคิดของตัวเราที่มีอยู่ เช่น ชอบ, ชัง, เฉยๆ เข้าไปเกี่ยวข้องกับสภาวะ เรียกว่า ไม่มีตัวตนเพราะเหตุนี้


ทั้ง ๓ สภาวะนี้ เป็นสภาวะเดียวกันหมด แตกต่างแค่ชื่อเรียกตามบัญญัติ จึงเป็นที่มาของคำว่า “มีพระนิพพานเป็นอารมณ์ โดยว่างเปล่าจากราคะ โทสะ โมหะ ”


แม้กระทั่งคำว่า อธิศิล อธิจิต อธิปัญญา ก็หมายถึงสภาวะเหล่านี้ คือ ถ้าเห็นคำเรียกเหล่านี้ ย่อมหมายถึงสภาวะรูปนาม(ปรมัตถ์),สุญญตา,สุญญคาร


คำว่า “มีพระนิพพานเป็นอารมณ์ โดยว่างเปล่าจากราคะ โทสะ โมหะ ” หมายถึง สภาวะนี้เกิดเองเป็นเองตามเหตุปัจจัยของสภาวะ ไม่ใช่เกิดจากความคิดพิจรณาใดๆที่พยายามจะทำให้เกิดขึ้น


สภาวะสุญญตา, สุญญคาร หรือมีรูปนามที่เป็นปรมัตถ์เป็นอารมณ์นี้ เป็นสภาวะที่เกิดขึ้นในสภาวะตั้งแต่อุทยัพพยญาณอย่างแก่ จนถึงสภาวะสังขารุเปกขาญาณ


ส่วนสภาวะอื่นๆที่เกิดในระหว่างสภาวะอุทยัพพยญาณ จนถึงสภาวะสังขารุเปกขาญาณนั้น เป็นเพียงสภาวะของจิตคิดพิจรณาที่เกิดขึ้นเอง จนกว่าจะเห็นไตรลักษณ์ แล้วจิตจะเกิดสภาวะปล่อยวางโดยสภาวะของจิตเอง สภาวะสังขารุฯจึงเกิด


สภาวะสังขารุเปกขาญาณ ไม่ได้เกิดขึ้นเพราะมีความเป็นตัวตนอยู่ เข้าไปคิดพิจรณาให้เกิดขึ้นมาได้แต่อย่างใด เป็นสภาวะของจิตล้วนๆ ไม่เกี่ยวข้องกับความเป็นเรา ได้แก่ ความรู้สึกนึกคิดที่มีอยู่

ผู้ที่รู้ชัดในสภาวะเหล่านี้ จะแยกแยะสภาวะความคิดที่เป็นนิวรณ์ กับความคิดที่เกิดขณะจิตเป็นสมาธิ ให้เห็นความแตกต่างของสภาวะความคิดทั้ง ๒ สภาวะ ได้ชัดเจน

เพราะความคิดที่เป็นนิวรณ์ จะมีความฟุ้งซ่านเข้าแทรก ส่วนความคิดที่เกิดขึ้นเองเป็นเองในจิตที่เป็นสมาธิ จะเป็นระเบียบ ไม่มีความฟุ้งซ่านแต่อย่างใด ขณะที่รู้ชัดในความคิด จะรู้ชัดในสภาวะธรรมอื่นๆที่เกิดขึ้นร่วมด้วย

.....................................................
มิจฉาปณิหิตจิต จิตที่ตั้งไว้ผิด ย่อมตามพิชิตตัวเอง

สัตว์โลกย่อมเป็นไปตามกรรม ตามการกระทำของแต่ละคน (ตามความเป็นจริง)


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 10 พ.ย. 2011, 01:03 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ก.ค. 2006, 22:20
โพสต์: 5976

โฮมเพจ: http://walaiblog.blogspot.com/
แนวปฏิบัติ: กายคตาสติ
อายุ: 0
ที่อยู่: สมุทรปราการ

 ข้อมูลส่วนตัว


สภาวะสุญญตา


ได้แก่ สภาวะปรมัตถ์ ไม่มีบัญญัติเกี่ยวข้อง เกิดขึ้นตั้งแต่สภาวะอุทยัพพยญาณ จนถึงสภาวะสังขารุเปกขาญาณ

จิตจะมีการพิจรณาโดยตัวสภาวะของจิตเอง โดยปราศจากความรู้สึกนึกคิดที่ยังมีความเป็นเรา(อุปทานขันธ์ ๕) ที่เข้าไปเกี่ยวข้องกับสภาวะ เช่น

การคิดพิจรณาว่า นั่นเป็นรูป นี่เป็นนาม เป็นสัญญา สังขาร วิญญาณ สิ่งเหล่านี้ล้วนเป็นบัญญัติ จิตจะคิดพิจรณาตามสภาวะที่แท้จริงของตัวสภาวะตามความเป็นจริงของสภาวะที่เป็นอยู่ ไม่มีคำเรียกชื่อเฉพาะเจาะจงใดๆทั้งสิ้น

จิตจะนึกคิดอะไร จะมีแต่รู้ๆๆๆๆๆ จะเห็นแต่ความไม่เที่ยง เป็นทุกข์ อนัตตา(ไม่อยู่ใต้อำนาจบังคับบัญชาของใครหรืออะไร) ทุกสิ่งมีเกิดและดับไปตามเหตุปัจจัยของสิ่งๆนั้นเอง เป็นเหตุให้เกิดความเบื่อหน่าย ปล่อยวาง วางเฉย แค่ดู แค่รู้

สภาวะภังคญาณ ภยญาณ อาทีนวญาณ นิพพิทาญาณ มุญจิตุกัมยตาญาณ ปฏิสังขาญาณ จะเกิดขึ้นตามเหตุปัจจัยซึ่งอยู่ในสภาวะของไตรลักษณ์ จนจิตเกิดการปล่อยวางโดยตัวของจิตเอง สภาวะสังขารุเปกขาญาณ(การวางเฉย)จึงเกิดขึ้น

หากยังไม่แจ้งในอริยสัจ ๔ สภาวะจิตคิดพิจรณา สภาวะตั้งแต่อุทยัพพยญาณ จนถึงสภาวะสังขารุเปกขาญาณจะเกิดขึ้นอีก เกิดวนๆทบทวนสภาวะไปมาอยู่แบบนี้ แม้กระทั่งในการประหานกิเลสในครั้งต่อๆไปก็เป็นแบบนี้เช่นเดียวกัน

มีความแตกต่างกันคือ สภาวะต่อๆไปของแต่ละญาณ จะเห็นตั้งแต่อุปาทะ ฐีติ ภังคะ เรียกว่าจะจดจำสภาวะของแต่ละญาณที่เกิดขึ้นได้แม่นยำ สภาวะแต่ละญาณจึงผ่านไปรวดเร็วมาก ขณะที่เกิดไม่มีบอกว่าญาณนี้ๆ

แต่เมื่ออกมาจากสภาวะแล้ว จึงมาเขียนรายละเอียดให้รู้เท่านั้นเองว่า ญาณแต่ละญาณที่อยู่ระหว่าง อุทยัพพยญาณกับสังขารุเปกขาญาน เป็นเพียงสภาวะของจิตคิดพิจรณา จนกระทั่งสภาวะไตรลักษณ์เกิดขึ้นเองตามความเป็นจริง ของตัวสภาวะไตรลักษณ์ ไม่ใช่เกิดจากการน้อมเอาคิดเอาเพื่อให้เกิดขึ้นแต่อย่างใด ฉะนั้น ชื่อเรียกของญานต่างๆมีไว้เพื่อรู้เท่านั้น

เพราะโดยตัวสภาวะที่แท้จริงของญาณต่างๆเหล่านั้น ล้วนเกิดจากสภาวะจิตคิดพิจรณาโดยตัวของจิตเอง จนกว่าสภาวะไตรลักษณ์จะเกิด เป็นเหตุจิตเกิดสภาวะปล่อยวางโดยจิตเอง สภาวะสังขารุเปกขาญาณเกิดขึ้นได้เพราะเหตุนี้

สภาวะนี้ปรากฏขึ้นในขณะจิตเป็นสมาธิ(สัมมาสมาธิ) คือตั้งแต่อุทยัพพยญาณจนถึงสภาวะสังขารุเปกขาญาณ จึงเรียกโดยรวมของสภาวะทั้งหมดนี้ว่า รู้ชัดอยู่ในกายและจิต หรือรูปนาม หรือสุญญตา หรือสุญญคาร ได้แก่ เรือนที่ว่างเปล่า

หมายถึงสภาวะที่เกิดขึ้นทั้งหมด ปราศจากความมีตัวตนของเรา คือ ความรู้สึกนึกคิดที่มีอยู่ในอุปทานขันธ์ ๕ ไม่มีมาเกี่ยวข้องในสภาวะที่เกิดขึ้นอยู่แต่อย่างใดทั้งสิ้น เป็นสภาวะตามความเป็นจริงที่เกิดขึ้นตามความเป็นจริงของจิตที่มีอยู่จริง

เหตุของสภาวะสัญญาที่กลายเป็นปัญญา เกิดจากการยึดติดในสิ่งที่คิดว่ารู้ เกิดจากความรู้สึกนึกคิดโน้มเอาคิดเอาว่าจะต้องเป็นอย่างนั้นอย่างนี้ เรียกนั่นเรียกนี่ เป็นเหตุให้ไม่รู้แจ้งในสภาวะของรูปนามที่เป็นปรมัตถ์

เหตุจากการพยามคิดพิจรณาเช่นนี้ เป็นเหตุให้ สภาวะที่แท้จริงของตัวปัญญาไม่เกิด เนื่องจากสภาวะบัญญัติบดบังสภาวะปรมัตถ์ เหตุมี ผลย่อมมี คำสอนที่ตกทอดสู่ๆกันมา ล้วนเป็นเพียงอุบายในการสอน

หากสักแต่ว่าดู สักแต่ว่ารู้ สักแต่ว่าเห็น พึงรู้ชัดอยู่ในรูปนามเนืองๆ(สัมมาสมาธิ) ย่อมสามารถแยกแยะสภาวะของสัญญา, วิญญาณ และปัญญา ออกจากกันได้อย่างชัดเจน

สัญญา เกิดจากความจำได้หมายรู้ เช่น บัญญัติต่างๆที่นำมาใช้เรียกในสมมุติ

วิญญาณ เป็นธาตุรู้ รู้ในสิ่งที่เกิดขึ้น เช่น รู้อยู่ภายใน กายในกาย เวทนาในเวทนา จิตในจิต ธรรมในธรรม

ปัญญา รู้ชัดในสิ่งที่เกิดขึ้นตามสภาวะตามความเป็นจริงของกายในกาย เวทนาในเวทนา จิตในธรรม ธรรมในธรรม ที่มีและเป็นอยู่ตามเหตุปัจจัยที่มีอยู่ ไม่เที่ยง เป็นทุกข์ บังคับบัญชาไม่ได้ จิตปล่อยวางตามความเป็นจริง ไม่ใช่พยายามทำให้เกิด

สุญญตาในปัจจุบัน

สุญญตาในปัจจุบัน ล้วนเป็นอุบายที่ใช้ในการคิดพิจรณาเพื่อถ่ายถอนอุปทานหรือสักกายทิฏฐิที่มีอยู่และเป็นอยู่ ล้วนเป็นเพียงบัญญัติ ที่ใช้ในการคิดพิจรณา ยังไม่ใช่โดยตัวสภาวะที่แท้จริงของสุญญตา ที่เป็นสภาวะเป็นปรมัตถ์

เมื่อยังไม่รู้ชัดตามความเป็นจริง การรู้โดยบัญญัติ ความมีอัตตา ได้แก่ อุปทานขันธ์ ๕ ย่อมมีแรงผลักดันของกิเลสที่เป็นอนุสัย เป็นตัวกระตุ้นให้กิเลสที่เกิดขึ้นตามเหตุปัจจัยที่มีต่อผัสสะนั้นๆ

เป็นเหตุให้สร้างเหตุใหม่เกิดขึ้นตามความชอบ, ชัง โดย โลภะ โทสะ โมหะ เป็นเหตุ เป็นเหตุให้เกิดภพทั้ง ๓ คือ กามภพ รูปภพ อรูปภพ ที่เป็นที่ตั้งของแห่งกองทุกข์ มีความเกิดเป็นต้น ซึ่งมีปรากฏอยู่ในพระไตรปิฏก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค หน้า ๒๑๖ ว่า

โฆราวิสาติ ภิกฺขเว จตุนฺนํ ธาตูนิ อธิวจนํ

ดูกรภิกษุทั้งหลาย คำว่า"อสรพิษร้ายกาจ" นี้เป็นชื่อของธาตุ ๔ ดังนี้


อุกฺขิตาสิโก วธโกติ โข ภิกฺขเว ปญฺจนฺเนตํ อุปทา นกฺขนฺธานํ

ภิกษุทั้งหลาย คำว่า นายเพชรฆาต ผู้ถือดาบเงื้ออยู่นี้ เป็นชื่อของ อุปาทานขันธ์ทั้ง ๕

(ขันธ์ ๕ ก็จะปรากฏเหมือนกันกับนายเพชฆาต กำลังถือดาบเงื้อจะตัดคออยู่แล้ว เพราะนำความทุกข์มา นำความตายมา ต่างก็เบียดเบียน บีบคั้น กันอยู่ตลอดเวลา)


สุญฺญาคาโมติ โข ภิกฺขเว ฉนฺเนตํ อชฺฌตฺติกานํ อายตนานํ อธิวจนํ จกฺขุโต ภิกฺขเว ปณฺฑิโต ตุจฺฉกเมว ขายติ สุญฺญกเมว ขายติ.

ดูกรภิกษุทั้งหลาย คำว่า “บ้านว่างเปล่า” นี้ เป็นชื่อของอายตนะภายในทั้ง ๖

ภิกษุทั้งหลาย หากว่าบุคคลเป็นบัณฑิต ฉลาดมีปัญญา มีตาดี พึงเข้าไปพิจรณาดูบ้านว่าง คือ อายตนะภายใน ๖ นั้น จะปรากฏแก่ผู้มีตาดี คือ มีปัญญาดีนั้นว่า เป็นของว่าง เป็นของเปล่า เป็นของสูญแท้ๆ


โจรา คามฆาตาติ โข ภิกฺขเว ฉนฺนเมตํ พาหิรานํ อายตนานํ อธิวจนํ จกฺขุํ ภิกฺขเว หญฺญติ มนาปามนาเปสุ รูเปสุ.
(ส. สฬ.๒๑๗)

ดูกรภิกษุทั้งหลาย คำว่า "มหาโจรผู้ปล้นฆ่าชาวบ้าน" นี้ เป็นชื่อของอายตนะภายนอก ๖

ภิกษุทั้งหลาย เมื่อตาเห็นรูปดีและไม่ดี ก็เกิดความเดือดร้อน เมื่อหูได้ยินเสียง จมูกได้กลิ่น ลิ้นได้รส กายถูกเย็น ร้อน อ่อน แข็ง ใจนึกคิดธรรมารมณ์ ก็ทำให้เกิดความเดือดร้อนเช่นกัน

อายตนะภายนอก ๖ ก็จะปรากฏเหมือนกันกับมหาโจรผู้ปล้นฆ่าชาวบ้าน เพราะ รูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ และธรรมารมณ์ เหล่านี้ เบียดเลียนสรรพสัตว์ให้เดือดร้อน ให้ถึงทุกข์ ให้ถึงความตายมามากต่อมาก จนไม่สามารถนับประมาณได้

เช่น ทะเลาะกัน วิวาทกัน ด่ากัน ตีกัน ฆ่ากัน เพราะรูปเป็นต้น(ได้แก่ผัสสะที่มากระทบ หรือสิ่งที่เกิดขึ้นขณะนั้นๆ) ถ้าจะรวบรวมมาทั้งโลกแล้ว ดูจะนับไม่ถ้วน

จกฺขุ ภิกฺขเว อาทิตฺตํ เกน อาทิตฺตํ ราคคฺคินา โทสคฺคินา โมหคฺคินา ชาติยา ชรามรเณน โสเกหิ ปริเทเวหิ ทุกฺเขหิ โทมนสฺเสหิ อุปายาเสหิ.
(ส. สฬ. ๒๓)

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย จักษุอันติดไฟทั่วแล้ว ไฟอะไรติดทั่วแล้ว ไฟคือ ราคะ โทสะ โมหะ ชาติ ชรา มรณะ โศกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทมัส และไฟคือ อุปายาส(ความคับแค้นใจ) ติดทั่วแล้ว

วิญญาณฐิติ ๗ สัตตวาส ๙ ก็จะปรากฏราวกับว่า ถูกไฟ ๑๑ กอง มีราคะ โทสะ โมหะ เป็นต้น ติดทั่วแล้ว ลุกพวยพุ่งอยู่ตลอดเวลา

.....................................................
มิจฉาปณิหิตจิต จิตที่ตั้งไว้ผิด ย่อมตามพิชิตตัวเอง

สัตว์โลกย่อมเป็นไปตามกรรม ตามการกระทำของแต่ละคน (ตามความเป็นจริง)


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 260 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1 ... 13, 14, 15, 16, 17, 18  ต่อไป

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

่กำลังดูบอร์ดนี้: Google [Bot] และ บุคคลทั่วไป 1 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร