วันเวลาปัจจุบัน 15 พ.ค. 2025, 19:05  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


กฎการใช้บอร์ด


รวมกระทู้จากบอร์ดเก่า http://www.dhammajak.net/board/viewforum.php?f=7



กระทู้นี้ถูกล็อก คุณไม่สามารถแก้ไขข้อความ หรือ ตอบกลับในกระทู้นี้  [ 4 โพสต์ ]    Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 11 มี.ค. 2010, 14:15 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 13 มิ.ย. 2009, 09:55
โพสต์: 4062

แนวปฏิบัติ: มรณานุสสติ
อายุ: 0
ที่อยู่: ตรงปลายจมูก

 ข้อมูลส่วนตัว


รูปภาพ


คน เมื่อปฏิบัติดีปฏิบัติชอบ จนกระทั่งมีจิตใจสูงกว่าคนธรรมดาสามัญ
ก็ควรเรียกชื่ออีกอย่างหนึ่งว่า “มนุษย์” แปลว่า “ผู้มีจิตใจสูง”
คือมีจิตใจและการประพฤติทางกายวาจาสูงกว่าคนและสัตว์ทั่วไป

มนุษย์นี้เป็นภพที่สัตว์ผู้เป็นอยู่อาศัย ได้รับความอิสระเสรีเต็มที่ในการกระทำทางกายวาจาใจ
ไม่เหมือนอบายภูมิทั้งสี่ คือ นรก เปรต อสุรกาย และสัตว์ดิรัจฉาน
ทั้งเป็นสถานที่เหมาะสมแก่การบำเพ็ญคุณธรรม อันจะนำตนให้สูงยิ่งๆขึ้นไปอีก
เช่น เป็นเทวดา เป็นพรหม ตลอดจนเป็นพระอริยะ
เพราะผู้ที่จะเป็นพระอรหันต์ก็ดี ต้องเป็นมนุษย์ก่อน แล้วจึงจะไปเกิดในสถานที่สูงๆนั้นได้

แต่เราก็อย่านินทาตนว่า เราเป็นมนุษย์แล้วจะต้องไปเกิดในสถานที่ดีขึ้นไปโดยลำดับอย่างเดียวเท่านั้น
เพราะถึงเป็นมนุษย์แล้ว แต่ไม่ปฏิบัติตัวให้ดีสมกับความเป็นมนุษย์ กลับกระทำตนเยี่ยงสัตว์นรก
ก็ต้องกลับไปเกิดในนรกอีก จะต้องไปเกิดเป็นเปรต หรืออสุรกาย หรือสัตว์ดิรัจฉาน ตามกรรมของตนนั้นๆอีก

ฉะนั้น จึงจำเป็นต้องระมัดระวังตัวให้ดี เหมือนกับเรากำลังเดินเลาะอยู่ปากเหวลึก
หากไม่ระวังให้ดี เผลอสตินิดเดียว มัวชมอะไรเพลิน พลาดตกลงไปในเหวแล้ว
ก็อย่าหวังเลยว่าจะกลับขึ้นมาได้อีก

อันการที่จะเกิดเป็นมนุษย์นี้ได้ ต้องบำเพ็ญกุศลอะไรเล่า ?
ท่านกล่าวไว้ว่า ...
เพราะเหตุที่ตนได้ปฏิบัติกุศลกรรมบถ ๑๐ ประการมาแล้วเป็นอย่างดีนั่นเอง

หน้าที่โดยตรงของมนุษย์เรานั้นก็คือ ปฏิบัติและรักษากุศลกรรมบถ ๑๐ ประการนี้
ให้มีครบถ้วนอยู่ในตัวเราเสมอ หากข้อไหนขาดไป เราไม่ปฏิบัติหรือตั้งใจที่จะละเมิดเสีย
ก็ชื่อว่าเราขาดทุน เป็นมนุษย์ที่ไม่สมบูรณ์

กุศลกรรมบถ ๑๐ ประการ
หลวงพ่อสำเนียง อยู่สถาพร ท่านจึงให้คติเตือนใจเอาไว้ว่า
“ถ้าทำดีไม่ได้ ก็อย่าทำชั่ว และจงรักษาความดีที่ตัวมีอยู่ก็พอแล้ว”




มีต่อ... :b54:

.....................................................
~ นิพพานัง ปัจจโยโหตุ ~


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 11 มี.ค. 2010, 14:17 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 13 มิ.ย. 2009, 09:55
โพสต์: 4062

แนวปฏิบัติ: มรณานุสสติ
อายุ: 0
ที่อยู่: ตรงปลายจมูก

 ข้อมูลส่วนตัว



กุศลกรรมบถ ๑๐ ประการ นั้นคือ

๑. งดเว้นจากการฆ่าสัตว์ที่มีชีวิตให้ตาย โดยไม่ใช้ให้ผู้อื่นฆ่า
สร้างจิตให้มีเมตตารักใคร่คนและสัตว์ดิรัจฉาน มีความปรารถนาที่จะให้คนและสัตว์มีความสุข ปราศจากทุกข์โดยทั่วกัน มีความกรุณา สงสารคนและสัตว์ผู้ประสบความทุกข์ยาก งดเว้นจากการเบียดเบียนให้คนและสัตว์เดือดร้อน เช่นทำให้อวัยวะ มีแขน ขา เป็นต้น ของคนและสัตว์ให้หักหรือพิการ หรือทรมานสัตว์ให้ได้รับความเหนื่อยยากลำบาก มีมุทิตา พลอยยินดีในเมื่อคนและสัตว์ได้ดี มีลาภ มียศ มีความสุขความเจริญ งดเว้นจากการอิจฉาริษยาเมื่อผู้อื่นได้ดีกว่าตน และตั้งจิตเป็นอุเบกขา วางเฉยในเมื่อประสบคนและสัตว์ที่ถึงความวิบัติจนไม่สามารถจะช่วยได้ โดยพิจารณาว่าเป็นกรรมของคนและสัตว์นั้นๆเอง

๒. งดเว้นจากการลักขโมยสิ่งของ ของคนและสัตว์ และไม่ใช้ให้ผู้อื่นลักขโมย ไม่หลอกลวงให้ผู้อื่นต้องเสียทรัพย์และชื่อเสียง
หมั่นบำเพ็ญทานและสละทรัพย์หรือสิ่งของให้เป็นประโยชน์แก่ผู้อื่นเสมอ เพื่อทำให้จิตบรรเทาจากความตระหนี่และความโลภอยากได้ของผู้อื่นมาเป็นของตน

๓. งดเว้นจากการประพฤติผิดในกามทั้งหลาย คือไม่ข่มขืนทำลามกอนาจาร ล่วงละเมิดสิทธิของสตรีและบุรุษอื่น เรียกว่าไม่ทำชู้ในสามีและภรรยาของผู้อื่น โดยถือสันโดษยินดีเฉพาะในภรรยาหรือสามีของตนเท่านั้น ไม่รักหญิงอื่นหรือชายอื่น ยิ่งกว่าภรรยาหรือสามีของตน
แม้สิ่งของใดๆ ของใครๆ ก็ไม่ถือโอกาสนำไปใช้หรือแตะต้องก่อนได้รับอนุญาตจากเจ้าของ โดยถือหลักว่า เมื่อไม่มีสิ่งที่ตัวชอบ จงชอบสิ่งที่ตัวมี

๔. งดเว้นจากการพูดเท็จ คือไม่พูดโกหกหลอกลวงให้ผู้อื่นเข้าใจผิดตามที่ตนพูด เช่น สิ่งใดที่เรารู้เราเห็น เมื่อเขาถามเรากลับตอบว่าเราไม่รู้ เราไม่เห็น และสิ่งใดที่เราไม่รู้ไม่เห็น แต่กลับตอบว่า เรารู้เราเห็น เป็นต้น
พยายามพูดแต่คำที่สัตย์ที่จริง หากคำใดเราเห็นว่าพูดออกไปแล้วแม้เป็นความจริง แต่จะทำให้เกิดความเดือดร้อนแก่ผู้อื่น เราก็งดเสีย ไม่พูดเลย เพราะถ้าไม่พูดคำจริง เราก็พูดเท็จ อันเป็นการทำให้เราเสียกุศลกรรมบถในข้อนี้

๕. งดเว้นจากการพูดส่อเสียด ได้แก่ ฟังข้างนี้แล้วเอาไปบอกข้างโน้น เพื่อที่จะทำลายข้างนี้ หรือได้ฟังข้างโน้นแล้วเอามาบอกข้างนี้ เพื่อที่จะทำลายข้างโน้น คือมุ่งหมายยุยงให้เขาแตกจากกัน ทำลายความพร้อมเพรียง ส่งเสริมผู้ที่แตกกันแล้วให้แตกมากยิ่งขึ้น ยินดีเพลิดเพลินในความเป็นพรรคเป็นพวก เข้าข้างโน้นบ้าง เข้าพวกนี้บ้าง ทำพรรคต่อพรรคให้แตกจากกัน
ตั้งใจพูดแต่คำที่จะสมานไมตรี เชื่อมโยงให้คนโน้นคนนี้มีความรักใคร่นับถือกัน ปรองดองกลมเกลียวกัน ถ้าเห็นว่าจะช่วยให้สามัคคีกันไม่ได้จริงๆ ก็งดเสียเลย ไม่พูด


มีต่อ...... :b38:

.....................................................
~ นิพพานัง ปัจจโยโหตุ ~


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 11 มี.ค. 2010, 14:19 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 13 มิ.ย. 2009, 09:55
โพสต์: 4062

แนวปฏิบัติ: มรณานุสสติ
อายุ: 0
ที่อยู่: ตรงปลายจมูก

 ข้อมูลส่วนตัว


๖. งดเว้นจากการพูดวาจาหยาบคายที่เผ็ดร้อน ที่เป็นปมเป็นที่ขัดข้องของผู้อื่น เป็นที่ระคายหูของผู้ที่ได้ยินได้ฟัง ยิ่งเป็นคำด่า คำแช่ง แม้แต่กับสัตว์ดิรัจฉานก็ไม่ควร พูดแต่คำที่อ่อนหวาน เรียบร้อย นุ่มนวล ละมุนละไม เป็นที่พอใจชุ่มชื่นเบิกบานใจของผู้ที่ได้ยินได้ฟัง

๗. งดเว้นจากการพูดเพ้อเจ้อ ได้แก่ งดการพูดในเวลาที่ไม่ควรพูด งดการพูดในสถานที่ที่เขาไม่ต้องการให้เราพูด การพูดมากไปกว่าความเป็นจริง พูดไม่มีเหตุผล พูดจาไม่มีหลักไม่มีฐาน ไม่พูดตามธรรมตามวินัย พูดไม่รู้จักหยุด แม้ว่าไม่มีใครอยากฟังแล้วก็ยังพูดเรื่อยเปื่อยไปโดยไม่มีประโยชน์
ต้องใช้สติสัมปชัญญะในการพูดทุกครั้ง ถึงเป็นเรื่องจริงๆ ก็ต้องพูดให้ถูกกาลเทศะ พูดให้มีเหตุผลพอที่จะเชื่อถือได้ พูดให้ถูกตามหลักธรรมวินัย พูดแต่พอเหมาะพอควร ไม่ให้มากเกินเรื่องราวจนจับไม่ได้ว่าเรื่องอะไร ซึ่งเรียกว่าพูดเป็นน้ำท่วมทุ่ง ผักบุ้งโหรงเหรง หรือ พูดกระบุงเอาสักกระบายก็ไม่ได้ ดังนี้
ถ้าเห็นว่าพูดแล้วมีประโยชน์แก่ผู้ฟังจึงพูด ถ้าเห็นว่าพูดแล้วจะไม่มีประโยชน์เลยก็อย่าพูดเสียดีกว่า
จงนึกถึงภาษิตโบราณไว้เสมอว่า...
อันดีชั่ว สุดนิยม ที่ลมปาก
จะได้ยาก โหยหิว เพราะชิวหา
จะถูกผิด เป็นมนุษย์ เพราะพูดจา
จะเจรจา จงพิเคราะห์ ให้เหมาะความ


๘. ไม่โลภอยากได้ของผู้อื่นมาเป็นของตน ได้แก่ เมื่อเห็นวัสดุอุปกรณ์ เครื่องใช้สอย ทั้งที่มีวิญญาณและไม่มีวิญญาณของผู้อื่นแล้ว แม้ตนจะชอบพอใจก็ไม่พยายามเพ่งว่า ขอให้สมบัติของผู้นั้นจงมาเป็นของเรา หรือครุ่นคิดแต่ในใจว่า ทำไฉนเราจะได้สมบัติของผู้นั้นหนอ ดังนี้
จงพยายามคิดให้เห็นว่า ทรัพย์สมบัติเครื่องใช้สอยอย่างดีเป็นอันมากเกิดขึ้นแก่ผู้นั้น เพราะเขาได้ทำความดีเป็นบุญเป็นกุศลมาก่อน แม้ชาตินี้เราไม่เห็นเขาทำอะไร ก็คงเป็นเพราะเขาทำมาแล้วแต่อดีตชาติโน้น ผลจึงสนองให้เขาเป็นคนมั่งมีด้วยทรัพย์สมบัติอันน่าปลื้มใจเช่นนั้น
ถ้าเราไปโลภอยากได้ของเขา จะทำให้เกิดเป็นบาปแก่ใจ คือเป็นสนิมเกาะกินจิตใจของเรา เหมือนสนิมอันเกิดแต่เหล็กและเกาะกินเนื้อเหล็ก ฉะนั้น จะทำให้จิตใจของเรากร่อนอ่อนกำลังลง ไม่สามารถที่จะกระทำความดีอย่างอื่นได้
ควรแสดงมุทิตาจิตพลอยยินดีต่อผู้นั้น แล้วพยายามบำเพ็ญบุญกุศล เช่น ให้ทาน เสียสละความโลภของตนให้เบาบางลง และขวนขวายช่วยเหลือผู้อื่นในการทำความดี เป็นต้น ผลจะเกิดแก่ตนเองในภายหลัง

๙. ไม่พยาบาทปองร้ายเขา คือ ไม่คิดอยากให้ผู้อื่นเดือดร้อน ไม่จองเวรต่อสัตว์และคนอื่น ไม่ตั้งใจที่จะให้ใครๆเป็นผู้ฉิบหายหรือวิบัติด้วยประการใดๆ แม้ว่าจะโกรธเคืองใครบ้าง โดยที่เขามาทำอะไรให้เสียหาย หรือมาด่าว่าให้เกิดความเจ็บช้ำน้ำใจ ก็ไม่อาฆาตพยาบาทจองเวรผู้นั้นต่อไปอีก เช่นเขามาทำร้ายเราก็ให้คิดเสียว่าเพราะเราระวังตัวไม่ดี หรือเพราะเราเคยทำร้ายให้เขาเดือดร้อนมาก่อนแล้ว กรรมจึงติดตามมาสนองเรา ขอให้เป็นการใช้หนี้กรรมกันสุดสิ้นแต่เพียงชาตินี้เถิด หรือเขามาโกงเงินเรา โดยยืมไปแล้วไม่ใช้คืน หรือเข้าหุ้นกันแล้ว เขาโกงไปเสีย เช่นนี้ก็จงคิดว่าเราเคยโกงเขามาแล้วในชาติก่อนโน้น เขาจึงโกงเอาคืนไป ขอให้สิ้นสุดเวรกรรมกันเสียที ตั้งใจแผ่เมตตาให้เขาเหล่านั้น จงเป็นผู้มีความสุข ปราศจากทุกข์ มีความเจริญยิ่งๆขึ้นไปเถิด อย่าพยาบาทจองเวรซึ่งกันและกันเลย

พิจารณาให้เห็นโทษว่าการพยาบาทนั้นมันทำให้เราเดือดร้อนกระวนกระวาย กระสับกระส่าย เป็นทุกข์ใจไปคนเดียว เราเป็นผู้ขาดทุนเพียงคนเดียวแท้ๆ จักผ่อนคลายความพยาบาทลงได้มากทีเดียว หรือคิดให้เห็นว่าหากเราจองเวรกันตลอดไปแล้ว ย่อมไม่มีที่สิ้นสุด

มีต่อ.... :b41:

.....................................................
~ นิพพานัง ปัจจโยโหตุ ~


แก้ไขล่าสุดโดย Bwitch เมื่อ 11 มี.ค. 2010, 14:21, แก้ไขแล้ว 1 ครั้ง

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 11 มี.ค. 2010, 14:20 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 13 มิ.ย. 2009, 09:55
โพสต์: 4062

แนวปฏิบัติ: มรณานุสสติ
อายุ: 0
ที่อยู่: ตรงปลายจมูก

 ข้อมูลส่วนตัว



๑๐. เห็นชอบตามคลองธรรม ได้แก่ เห็นว่าบุญมีจริง บาปมีจริง ผลของบุญมี ผลของบาปมี คนทำดีย่อมได้ดี คนทำชั่วย่อมได้ชั่ว นรกมีสวรรค์มี และนิพพานก็มี โลกนี้มีโลกอื่นมี ชาตินี้มีชาติหน้ามี สัตว์ที่ยังมีกิเลสทำกรรมไว้ ตายแล้วต้องเกิดเสวยผลของกรรมนั้นอีก ผู้ที่ไม่มีกิเลสอันเป็นเหตุให้ทำกรรม มีจิตสงบ บริสุทธิ์หมดจด ตายแล้วย่อมไม่ต้องเกิดอีก เพราะหมดเหตุหมดปัจจัยอันจะทำให้เราเกิดแล้ว

จงระวังอย่าให้จิตเห็นผิดว่านรกไม่มี สวรรค์ไม่มี นิพพานไม่มี ทำบุญไม่ได้บุญ ทำบาปไม่ได้บาป คนจะดีจะชั่วก็ดีเองชั่วเอง พ่อแม่ไม่มี ตายแล้วก็สูญ เกิดมาแล้วต้องกินให้เต็มที่ สนุกให้เต็มที่ ดังนี้ ถ้าเห็นผิดเช่นนี้จัดเป็นความเห็นผิด เป็นโทษร้ายแรงมาก เป็นความชั่วที่เลวทรามที่สุดในบรรดาความชั่วทั้งหลายในโลกนี้ ไม่มีความชั่วอะไรจะเป็นสิ่งที่น่ากลัวมากเท่ากับความเห็นผิดเลย เพราะผู้ใดมีความเห็นผิดเท่านั้น ย่อมทำความชั่วได้ทุกๆอย่าง ตั้งแต่อย่างเล็กที่สุด จนถึงอย่างใหญ่ที่สุด เขาจะทำบาปได้ทุกชนิด ไม่มีความละอายหรือเมตตาปรานีใครเลย ย่อมทำตนและคนอื่นให้เดือดร้อน ทั้งในชาตินี้และชาติหน้า ไม่มีที่สิ้นสุด

ที่ว่า ทำดีได้ดี ทำชั่วได้ชั่ว นี้ อย่าพึงเข้าใจว่าดีและชั่วนั้นเป็นวัตถุเสมอไป เช่น คนพยายามไหว้พระสวดมนต์ รับศีล ใส่บาตรพระทุกๆวัน เมื่อตนยังไม่ร่ำรวยเป็นเศรษฐีทันใจ ก็กลับคิดเห็นว่าทำดีไม่ได้ดีจริง นี่ เรียกว่าต้องการได้ดีทางวัตถุ หรือคนโกงเขาปล้นเขามา แล้วกลับรวย ไม่เห็นยากจนเหมือนคนมีศีล ก็เกิดความเข้าใจผิด เห็นว่าทำชั่วไม่ได้ชั่ว นี้เรียกว่า ต้องการเห็นความชั่วทางวัตถุ คือ ต้องเห็นคนที่โกงนั้นกลับยากจน เดือดร้อน จึงจะชื่อว่าทำชั่วได้ชั่ว

ความจริงเรื่องดีและชั่วนี้ ทางธรรมะหมายถึงนาม เช่น คนประพฤติดีมีศีลธรรม แม้จะไม่ร่ำรวยด้วยข้าวของเงินทอง แต่บัณฑิตก็สรรเสริญว่าเป็นคนดี จิตใจของผู้นั้นมีความปลื้มปีติ อิ่มอกอิ่มใจ ส่วนคนที่ประพฤติชั่ว เช่น ฆ่า ปล้น หลอกลวงเขา แม้จะร่ำรวยด้วยทรัพย์สมบัติ จิตใจของเขาก็เศร้าหมอง ไม่ผ่องใส ผู้รู้ทั้งหลายก็ติเตียนเขาว่าเป็นคนชั่ว

ฉะนั้น ผู้ประสงค์จะดำรงความเป็นมนุษย์ให้มั่นคงถาวร จงพิจารณาให้เข้าใจชัดเจนในเรื่องทำดีได้ดี ทำชั่วได้ชั่วนี้ อย่ามีความเห็นผิดเป็นอันขาด เพราะการร่ำรวยหรือยากจนทางวัตถุนั้น เป็นผลพลอยได้เท่านั้น ส่วนความดีและความชั่วนั้น ผู้ทำย่อมได้รับผลตั้งแต่ขณะที่ลงมือทำนั้นแล้ว.

*****
จากเรื่อง “หน้าที่มนุษย์”
หนังสือ “หัวใจของคนดี - วิธีปฏิบัติเพื่อยกระดับภาวะแห่งจิต”
เรียบเรียงโดย พระพรหมมังคลาจารย์ (ปัญญานันทภิกขุ)

.....................................................
~ นิพพานัง ปัจจโยโหตุ ~


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กระทู้นี้ถูกล็อก คุณไม่สามารถแก้ไขข้อความ หรือ ตอบกลับในกระทู้นี้  [ 4 โพสต์ ] 

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

่กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 1 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร