วันเวลาปัจจุบัน 22 ก.ค. 2025, 03:38  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง




กลับไปยังกระทู้  [ 9 โพสต์ ]    Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสต์ เมื่อ: 28 เม.ย. 2009, 00:46 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 17 มิ.ย. 2008, 22:40
โพสต์: 1769

แนวปฏิบัติ: กินแล้วนอนพักผ่อนกายา
งานอดิเรก: ปลุกคน
สิ่งที่ชื่นชอบ: Tripitaka
ชื่อเล่น: สมสีสี
อายุ: 0
ที่อยู่: overseas

 ข้อมูลส่วนตัว


เนื้อความพระไตรปิฎก เล่มที่ ๒๗ บรรทัดที่ ๔๕๒๕ - ๔๕๔๕. หน้าที่ ๒๑๓

๑. คันธารชาดก
พูดคำมีประโยชน์เขาโกรธไม่ควรกล่าว

[๑๐๔๓] ท่านสละหมู่บ้านอันบริบูรณ์ถึงหมื่นหกพันตำบล และคลังที่เต็มไปด้วย
ทรัพย์มาแล้ว บัดนี้ ทำไมยังมาทำการสะสมเพียงก้อนเกลืออีกเล่า?
[๑๐๔๔] ท่านสู้สละคันธารวิสัย อันบริบูรณ์ด้วยทรัพย์มากมาย เลิกการสั่งสม
มาแล้ว บัดนี้ ทำไมยังมาสอนข้าพเจ้าให้สั่งสมในที่นี้อีกเล่า?
[๑๐๔๕] ดูกรท่านวิเทหดาบส ข้าพเจ้าย่อมกล่าวแต่คำที่เป็นธรรม ข้าพเจ้าไม่พอ
ใจกล่าวคำที่ไม่เป็นธรรม เมื่อข้าพเจ้ากล่าวคำที่เป็นธรรมอยู่ บาปย่อม
ไม่เข้ามาติดอยู่เลย.

[๑๐๔๖] บุคคลอื่นได้รับความโกรธเคือง เพราะถ้อยคำอย่างใดอย่างหนึ่ง ถึงหาก
ถ้อยคำนั้นจะมีประโยชน์มาก บัณฑิตก็ไม่ควรกล่าว.

[๑๐๔๗] บุคคลทำกรรมที่ไม่สมควร เมื่อถูกตักเตือนอยู่ จะโกรธเคืองก็ตาม ไม่
โกรธเคืองก็ตาม หรือจะทิ้งเสียเหมือนโปรยข้าวลีบก็ตาม เมื่อข้าพเจ้า
กล่าวคำที่เป็นธรรมอยู่ บาปย่อมไม่เข้าติดอยู่เลย.

[๑๐๔๘] ถ้าสัตว์เหล่านี้ไม่พึงมีปัญญาของตนเอง หรือไม่พึงได้ศึกษาวินัยดีแล้ว
ชนเป็นอันมากก็จะเที่ยวไป เหมือนกระบือตาบอดเที่ยวไปในป่า ฉะนั้น.
[๑๐๔๙] ก็แลบุคคลบางพวกในโลกนี้ ได้ศึกษาวินัยมาเป็นอย่างดีในสำนักอาจารย์
เพราะฉะนั้น เขาทั้งหลาย จึงมีวินัยอันอาจารย์แนะนำแล้ว เป็น
นักปราชญ์ มีจิตตั้งมั่นดี เที่ยวไป.

http://www.84000.org/tipitaka/atita100/v.php?B=27&A=4525&Z=4545

ข้อความจาก อรรถกถา คันธารชาดก ว่าด้วย พูดคำมีประโยชน์ เขาโกรธไม่ควรกล่าว

.......... ธรรมดา การให้โอวาทนี้เป็นประเพณีของพระพุทธเจ้า พระปัจเจกพุทธเจ้า และพระสาวก และโพธิสัตว์ทั้งหลาย. ถึงคนพาลจะไม่รับเอาโอวาทที่ท่านเหล่านั้นให้แล้ว แต่ผู้ให้โอวาทก็ไม่มีบาปเลย.
เมื่อจะแสดงอีก จึงกล่าวคาถาว่า :-

[color=#000080] ผู้มีปัญญา คนใดมักชี้โทษมักพูดบำราบ
คนควรมองให้เหมือนผู้บอกขุมทรัพย์
ควรคบบัณฑิตเช่นนั้น เพราะว่า
เมื่อคบบัณฑิตเช่นนั้น จะมีแต่ความดีไม่มีความชั่ว
คนควรตักเตือน ควรพร่ำสอนและควรห้ามเขาจากอสัตบุรุษ
เพราะเขาจะเป็นที่รักของเหล่าสัตบุรุษ
ไม่เป็นที่รักของเหล่าอสัตบุรุษ.


วิเทหดาบสฟังถ้อยคำของพระโพธิสัตว์นั้นแล้ว กล่าวว่า ข้าแต่ท่านอาจารย์ บุคคลแม้เมื่อกล่าวถ้อยคำที่อิงประโยชน์ ก็ไม่ควรกล่าวกระทบเสียดแทงผู้อื่น ท่านกล่าวคำหยาบคายมาก เหมือนโกนผมด้วยมีดโกนไม่คมแล้ว
จึงกล่าวคาถาที่ ๔ ว่า :-

คนอื่นได้รับความแค้นเคือง เพราะคำพูดอย่างใดอย่างหนึ่ง ถึงแม้ว่าคำนั้นจะมีประโยชน์มาก บัณฑิตก็ไม่ควรพูด.


ลำดับนั้น พระโพธิสัตว์จึงกล่าวคาถาที่ ๕ แก่วิเทหดาบสนั้น ว่า :-
ผู้ถูกตักเตือน จะแค้นเคืองหรือไม่แค้นเคืองก็ตามเถิด หรือจะเขี่ยทิ้งเหมือนโปรยแกลบทิ้งก็ตาม เมื่อเรากล่าวคำเป็นธรรมอยู่ ขึ้นชื่อว่า บาปย่อมไม่เปรอะเปื้อนเรา.


มีคำอธิบายว่า บุคคลผู้ทำกรรมไม่สมควร เมื่อถูกตักเตือนว่า ท่านทำกรรมไม่สมควรแล้ว จะโกรธโดยส่วนเดียวก็ตาม หรือไม่โกรธก็ตาม.
อีกอย่างหนึ่ง เขาจะเขี่ยทิ้งเหมือนกำแกลบหว่านทิ้งก็ตาม แต่ว่าเมื่อเรากล่าวคำเป็นธรรมอยู่ ขึ้นชื่อว่าบาปย่อมไม่มี.
ก็แหละพระโพธิสัตว์ ครั้นกล่าวอย่างนี้แล้ว ได้ดำรงอยู่ในข้อปฏิบัติที่สมควรแก่โอวาทของพระสุคตนี้ ว่า
ดูก่อนอานนท์ เราตถาคตจักไม่ทะนุถนอมเลย เหมือนช่างหม้อทะนุถนอมภาชนะดินเหนียวที่ยังดิบๆ ฉะนั้น เราตถาคตจักบำราบเอาบำราบเอา ผู้ใดหนักแน่นเป็นสาระ ผู้นั้นก็จักดำรงอยู่ได้.
เมื่อจะตักเตือนวิเทหดาบสอีกเพื่อแสดงให้เห็นว่า ท่านตักเตือนบำราบแล้ว ตักเตือนบำราบอีก จึงรับบุคคลทั้งหลายผู้เช่นกับภาชนะดินที่เผาสุกแล้วไว้ เหมือนช่างหม้อเคาะดูแล้วเคาะดูอีก ไม่รับเอาภาชนะดินที่ยังดิบไว้ รับเอาเฉพาะภาชนะดินที่เผาสุกแล้วเท่านั้นไว้ ฉะนั้น ดังนี้แล้ว
จึงได้กล่าวคาถา ๒ คาถาไว้ว่า :-

ถ้าสัตว์เหล่านี้ไม่มีปัญญาของตนเอง
หรือวินัยที่ศึกษาดีแล้วไซร้
คนจำนวนมากก็จะเที่ยวไป
เหมือนกระบือตาบอดเที่ยวไปในป่า ฉะนั้น
แต่เพราะเหตุที่ธีรชนบางเหล่า
ศึกษาดีแล้วในสำนักอาจารย์
ฉะนั้น ธีรชนผู้มีวินัยที่ได้แนะนำแล้ว
จึงมีจิตตั้งมั่นเที่ยวไปอยู่.


คาถานี้มีเนื้อความว่า ดูก่อนสหายวิเทหะ เพราะว่า ถ้าหากสัตว์เหล่านี้ไม่มีปัญญา หรือไม่มีวินัยคืออาจารบัญญัติ ที่ศึกษาดีแล้ว เพราะอาศัยเหล่าบัณฑิตผู้ให้โอวาทไซร้ เมื่อเป็นเช่นนี้คนเป็นอันมาก ก็จะเป็นเช่นท่าน เที่ยวไปเหมือนกระบือตาบอด ไม่รู้ที่ที่เป็นที่โคจรหรืออโคจร มีสิ่งที่น่ารังเกียจหรือไม่มีสิ่งที่น่ารังเกียจ เที่ยวไปในพงหญ้าและเถาวัลย์เป็นต้น
แต่เพราะเหตุที่ สัตว์บางพวกในโลกนี้ที่ปราศจากปัญญาของตน ศึกษาดีแล้วด้วยอาจารบัญญัติในสำนักอาจารย์ เพราะฉะนั้น สัตว์เหล่านั้นชื่อว่ามีวินัยที่แนะนำแล้ว เพราะตนเป็นผู้ที่อาจารย์แนะนำแล้ว ด้วยวินัยที่เหมาะสม คือเป็นผู้มีจิตตั้งมั่นแล้ว ได้แก่เป็นผู้มีจิตเป็นสมาธิ เที่ยวไป ดังนี้.


วิเทหดาบสได้ฟังคำนั้นแล้ว ไหว้ขอขมาพระมหาสัตว์ว่า ข้าแต่ท่านอาจารย์ ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป ขอท่านจงตักเตือน จงพร่ำสอนเราเถิด เรากล่าวกะท่าน เพราะความเป็นผู้ไม่มีความยับยั้งใจโดยกำเนิด ขอท่านจงให้อภัยแก่เราเถิด.


http://www.84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=27&i=1043

.....................................................
ศีล ๕ รักษาตนไม่ให้เกิดในอบายภูมิ


โพสต์ เมื่อ: 28 เม.ย. 2009, 01:24 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 08 ม.ค. 2009, 02:20
โพสต์: 1387

ที่อยู่: สัพพะโลก

 ข้อมูลส่วนตัว


คำพูดบางคำ ถึงแม้จะมีประโยชน์เพียงใด
ถ้าหากผู้ฟัง ไม่เปิดใจรับฟัง ก็ยากที่เขาจะเข้าใจเจตนา ที่ผู้พูดต้องการสื่อออกไป
กลับเห็นเป็นคำตำหนิ ตัดพ้อ ต่อว่า.....ก็อาจทำให้ขุ่นเคือง หมองใจกันไป :b8: :b8: :b8:

.....................................................
ผู้มีจิตเมตตาจะไม่มีศัตรู ผู้มีสติปัญญาจะไม่เกิดทุกข์.


โพสต์ เมื่อ: 28 เม.ย. 2009, 05:08 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 23 ก.พ. 2009, 04:12
โพสต์: 1067


 ข้อมูลส่วนตัว


:b8: :b8: :b8:

.....................................................
...นฺตถิตัณหา สมานที...
ห้วงน้ำใหญ่โต เสมอด้วยตัณหาไม่มี


โพสต์ เมื่อ: 28 เม.ย. 2009, 08:52 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 29 พ.ค. 2008, 14:14
โพสต์: 3832

อายุ: 12
ที่อยู่: กทม.

 ข้อมูลส่วนตัว


intrend นะคับ

:b8: :b8: :b8:


โพสต์ เมื่อ: 28 เม.ย. 2009, 11:46 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 7
สมาชิก ระดับ 7
ลงทะเบียนเมื่อ: 09 เม.ย. 2009, 19:25
โพสต์: 579

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


คำาพูด ที่มีประโยชน์ หากพูดไปแล้วเขาโกรธ
การพูดนี้ก็ชื่อว่าไม่มีประโยชน์

ผู้รู้ ควรต้องรู้ว่าเวลาไหนเป็นเวลาที่ควรแสดงความรู้
และเวลาไหน ไม่ใช่เวลาที่ควรแสดงความรู้

การให้แล้วสูญเปล่า ก็มีค่าเท่ากับไม่ให้
แม้แต่สิ่งดีงาม หรือความปรารถนาดี จากใจอันประเสริฐ
หากขาด ความรู้ทั่วถึง ขาดศิลปะ ขาดอุบายอันแยบคาย
ในการให้ การให้ก็พร้อมจะไม่เป็นดังใจที่มุ่งหวัง

คำพูดที่มีประโยชน์ บางกรณีอาจพูดตรงๆ ทันทีได้
แต่บางกรณีย์ควรต้องพูดโดยอ้อม หรือพูดเหมือนไม่ได้พูด

ควรต้องรู้จักตนเอง และผู้อื่น รู้จักสถานการณ์
รู้จักปริมาณการให้ รู้จักความหนักเบาของเรื่องราว
รู้จักศิลปะการร้อยเรียงถ้อยคำ และรู้จักสิ่งที่ตนพูดอย่างแท้จริง

คำพูดที่มีประโยชน์ หากออกจากปาก ของผู้ฉลาดในอุบาย
พูดอย่างไร ใครก็ไม่โกรธ

นอกเสียจากผู้พูด มีความตั้งใจ อยากให้เขาโกรธ
จึงพูดให้โกรธ เพราะบางครั้งการพูดให้คนโกรธ
อาจแฝงประโยชน์ทางอ้อมบางอย่าง แก่ผู้ฟัง

เรื่องราวบางอย่าง ควรให้เขารู้ได้ ด้วยการไม่ต้องพูด ไม่ต้องบอก
เพราะการพูดการบอก อาจทำให้เขา ไม่สามารถเข้าถึงความเข้าใจ
ที่แท้จริงต่อเรื่องราวนั้นได้

การพูดดี จากความหวังดี อย่างน้อยก็ยังเป็นความประเสริฐ
ถึงไม่เกิดประโยชน์กับใคร แต่เราก็ได้ทำประโยชน์ทางใจเราเอง

ผ่านวันคืนที่ผิดบ้าง ถูกบ้าง พูดโง่ๆบ้าง เหมือนปราชญ์บ้าง
ทุกคน จะค่อยๆ ละเอียดขึ้น ประณีตขึ้น และเกิดประโยชน์ได้มากขึ้น
กับทุกกรณีย์ที่ต้องพูด

ถึงที่สุด อาจจะอิ่มพูด เบื่อพูด ขี้เกียจพูด
และเน้นเนื้อ จนไม่เหลือน้ำ


โพสต์ เมื่อ: 28 เม.ย. 2009, 12:51 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 2
สมาชิก ระดับ 2
ลงทะเบียนเมื่อ: 06 ม.ค. 2009, 21:10
โพสต์: 66


 ข้อมูลส่วนตัว


แล้วถ้าพูดเล่าเรื่องตลกไร้สาระ ผู้ฟังชอบ....หรือชมว่าหล่อ สวย
แต่จริงๆไม่หล่อ ไม่สวย แต่เค้าชอบ เห็นเราคุยสนุก ชอบมาคุยกะเรา เป็นเพื่อนเรา
จัดว่าเป็นประโยชน์ไหมครับ


โพสต์ เมื่อ: 28 เม.ย. 2009, 13:08 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 29 พ.ค. 2008, 14:14
โพสต์: 3832

อายุ: 12
ที่อยู่: กทม.

 ข้อมูลส่วนตัว


หล่อ ลูกแม่อ้วน เขียน:
แล้วถ้าพูดเล่าเรื่องตลกไร้สาระ ผู้ฟังชอบ....หรือชมว่าหล่อ สวย
แต่จริงๆไม่หล่อ ไม่สวย แต่เค้าชอบ เห็นเราคุยสนุก ชอบมาคุยกะเรา เป็นเพื่อนเรา
จัดว่าเป็นประโยชน์ไหมครับ


คิดอยู่นะ
ผมก็ทำประจำแหละ ชอบหยอกเพื่อน เฮฮาไป ทะลึ่งตึงตังบ้าง
ก้จัดว่าวจีไม่สุจริต

แต่อย่างว่าแหละครับ มันขึ้นอยู่กับตัวเรา
ว่าเรามองตัวเรา และตั้งมาตรฐานกับตัวเราขนาดไหน
แล้วแต่หน้าที่ บริบท พอสมควรแก่ตนเอง

ให้ผมเลิกฮา ผมคง อก แตก ตาย
แต่ตอนบวชไปอยู่วัดก็ไม่รู้จะฮากะใคร แต่ก็ไม่รู้สึกว่าอยากจะฮานะคับ
สิ่งแวดล้อมมันก็มีผลกับเราเหมือนกัน

สรุปว่า คงจะแล้วแต่กาละเทศะ เลือกเอา
กำหนดความเข้มข้นเอาเองตามชอบแบบปรุงก๋วยเตี๋ยว
:b13:


โพสต์ เมื่อ: 20 พ.ค. 2009, 08:43 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 9
สมาชิก ระดับ 9
ลงทะเบียนเมื่อ: 16 เม.ย. 2009, 06:18
โพสต์: 731

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


สุภาสิตา จ ยา วาจา
พูดจากันสรรหาสุภาษิต
พูดผูกมิตรกันไว้ให้คมขำ
ไม่พูดมากพูดน้อยทุกถ้อยคำ
ให้ดื่มดำไพเราะเสนาะฟัง :b35:


โพสต์ เมื่อ: 20 พ.ค. 2009, 09:42 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 3
สมาชิก ระดับ 3
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 ม.ค. 2009, 18:57
โพสต์: 159


 ข้อมูลส่วนตัว


หลักที่ทรงใช้ในการตรัส
(๖ อย่าง)
ราชกุมาร ! (๑) ตถาคตรู้ชัดซึ่งวาจาใด อันไม่จริงแท้ ไม่ประกอบ
ด้วยประโยชน์และไม่เป็นที่รัก ที่พึงใจของผู้อื่น ตถาคตย่อม ไม่กล่าว วาจานั้น.

(๒) ตถาคตรู้ชัดซึ่งวาจาใด อันจริงแท้ แต่ ไม่ประกอบด้วยประโยชน์
และไม่เป็นที่รักที่พึงใจของผู้อื่น ตถาคตย่อมไม่กล่าว วาจานั้น.

(๓) ตถาคตรู้ชัดซึ่งวาจาใด อันจริงแท้ ประกอบด้วยประโยชน์
แต่ ไม่เป็นที่รักที่พึงใจของผู้อื่น ตถาคตย่อมเลือกให้เหมาะกาล เพื่อกล่าววาจานั้น.


(๔) ตถาคตรู้ชัดซึ่งวาจาใด อันไม่จริงแท้ ไม่ประกอบด้วยประโยชน์
แต่เป็นที่รักที่พึงใจของผู้อื่น ตถาคตย่อมไม่กล่าว วาจานั้น.

(๕) ตถาคตรู้ชัดซึ่งวาจาใด อันจริงอันแท้ แต่ไม่ประกอบด้วยประโยชน์
แต่ก็เป็นที่รักที่พึงใจของผู้อื่น ตถาคตย่อมไม่กล่าว วาจานั้น.

(๖) ตถาคตรู้ชัดซึ่งวาจาใด อันจริงแท้ และประกอบด้วยประโยชน์
และ เป็นที่รัก ที่พึงใจของผู้อื่น ตถาคตย่อมเป็นผู้ รู้จักกาละที่เหมาะ เพื่อกล่าววาจานั้น.


ข้อนี้เพราะเหตุไรเล่า ? ราชกุมาร ! เพราะตถาคตมีความเอ็นดูในสัตว์ทั้งหลาย.

-บาลี ม.ม. ๑๓/๙๑/๙๔,
-----------------------
:b8: :b8: :b8:


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 9 โพสต์ ] 

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

่กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 1 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร