ลานธรรมจักร http://www.dhammajak.net/forums/ |
|
“วันอาสาฬหบูชา” เป็น “วันห้ามขายเครื่องดื่มแอลกอฮอล์” http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=85&t=53774 |
หน้า 1 จากทั้งหมด 1 |
เจ้าของ: | สาวิกาน้อย [ 02 ก.พ. 2016, 11:31 ] |
หัวข้อกระทู้: | “วันอาสาฬหบูชา” เป็น “วันห้ามขายเครื่องดื่มแอลกอฮอล์” |
๕ วันสำคัญพิเศษทางพระพุทธศาสนา “วันห้ามขายเครื่องดื่มแอลกอฮอล์” ![]() ปี พ.ศ. ๒๕๕๑ รัฐบาลได้ประกาศกำหนดให้ “วันเข้าพรรษา” ของทุกปี เป็น “วันงดดื่มสุราแห่งชาติ” ตามมติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันอังคารที่ ๘ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๑ โดยให้เริ่มต้นใช้บังคับในวันที่ ๑๘ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๑ (วันเข้าพรรษาของปีนั้น) ปีถัดมา พ.ศ. ๒๕๕๒ รัฐบาลยังได้ประกาศกำหนดให้ “วันเข้าพรรษา” เป็น วันห้ามขายเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ โดยให้เริ่มต้นใช้บังคับตั้งแต่วันที่ ๔ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๒ เป็นต้นไป ทั้งนี้ เพื่อรณรงค์ให้ชาวไทยร่วมกันตั้งสัจจอธิษฐานรักษาศีล ๕ งด-ลด-ละ-เลิกการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ในวันเข้าพรรษา และในช่วงตลอด ๓ เดือนระหว่างฤดูเข้าพรรษา อันจะเป็นพื้นฐานในการที่จะเลิกการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ตลอดไป เพื่อส่งเสริมค่านิยมที่ดีให้แก่สังคมไทย กฎหมายที่เกี่ยวข้องกับเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ อาทิ (๑) พระราชบัญญัติควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ พ.ศ. ๒๕๕๑ (๒) พระราชบัญญัติสุรา พ.ศ. ๒๔๙๓ ![]() ๏ มาตรา ๔ ให้นายกรัฐมนตรีรักษาการตามพระราชบัญญัตินี้ และให้มีอำนาจแต่งตั้งพนักงานเจ้าหน้าที่ ออกกฎกระทรวง ระเบียบ และประกาศ เพื่อปฏิบัติการตามพระราชบัญญัตินี้ กฎกระทรวง ระเบียบ และประกาศนั้น เมื่อได้ประกาศในราชกิจจานุเบกษาแล้วให้ใช้บังคับได้ ๏ มาตรา ๒๗ ห้ามขายเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ในสถานที่หรือบริเวณดังต่อไปนี้ (๑) วัดหรือสถานที่สำหรับปฏิบัติพิธีกรรมทางศาสนา . . (๘) สถานที่อื่นที่รัฐมนตรีประกาศกำหนดโดยความเห็นชอบของคณะกรรมการ ๏ มาตรา ๒๘ ห้ามมิให้ผู้ใดขายเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ในวันหรือเวลาที่รัฐมนตรีประกาศกำหนดโดยคำแนะนำของคณะกรรมการ ทั้งนี้ ประกาศดังกล่าวจะกำหนดเงื่อนไขหรือข้อยกเว้นใดๆ เท่าที่จำเป็นไว้ด้วยก็ได้ บทบัญญัติในวรรคหนึ่ง มิให้ใช้บังคับกับการขายของผู้ผลิต ผู้นำเข้า หรือตัวแทนของผู้ผลิตหรือผู้นำเข้าไปยังผู้ขายซึ่งได้รับอนุญาตตามกฎหมายว่าด้วยสุรา ๏ มาตรา ๓๑ ห้ามมิให้ผู้ใดบริโภคเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ในสถานที่หรือบริเวณดังต่อไปนี้ (๑) วัดหรือสถานที่สำหรับปฏิบัติพิธีกรรมทางศาสนา เว้นแต่เป็นส่วนหนึ่งของพิธีกรรมทางศาสนา ๏ มาตรา ๓๙ ผู้ใดขายเครื่องดื่มแอลกอฮอล์โดยฝ่าฝืนมาตรา ๒๗ หรือมาตรา ๒๘ ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหกเดือน หรือปรับไม่เกินหนึ่งหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ ๏ มาตรา ๔๒ ผู้ใดฝ่าฝืนมาตรา ๓๑ ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหกเดือน หรือปรับไม่เกินหนึ่งหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ ![]() เรื่อง กำหนดวันห้ามขายเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ (ฉบับที่ ๓) พ.ศ. ๒๕๕๘ อาศัยอํานาจตามความในมาตรา ๔ มาตรา ๒๗ และมาตรา ๒๘ แห่งพระราชบัญญัติควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ พ.ศ. ๒๕๕๑ นายกรัฐมนตรีโดยคําแนะนําของคณะกรรมการนโยบายเครื่องดื่มแอลกอฮอล์แห่งชาติ จึงออกประกาศไว้ ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ให้ยกเลิกประกาศสํานักนายกรัฐมนตรี เรื่อง กําหนดวันห้ามขายเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ พ.ศ. ๒๕๕๒ ลงวันที่ ๓๐ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๕๒ และประกาศสํานักนายกรัฐมนตรี เรื่อง กําหนดวันห้ามขายเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๕๒ ลงวันที่ ๔ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๒ ข้อ ๒ ห้ามผู้ใดขายเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ในวันมาฆบูชา วันวิสาขบูชา วันอาสาฬหบูชา วันเข้าพรรษา และวันออกพรรษา ยกเว้นการขายเฉพาะร้านค้าปลอดอากรภายในอาคารท่าอากาศยานนานาชาติ ข้อ ๓ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป ประกาศ ณ วันที่ ๕ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๕๘ พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ![]() ![]() (ก) ประกาศฯ ฉบับนี้ กำหนดห้ามขายเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ในวันออกพรรษา เพิ่มเติมจากเดิมที่ประกาศไว้เพียงวันมาฆบูชา วันวิสาขบูชา วันอาสาฬหบูชา และวันเข้าพรรษา (ข) ประกาศฯ ฉบับนี้ ได้นำลงประกาศในราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๒, ตอนพิเศษ ๓๙ ง, หน้า ๑๐, วันที่ ๑๘ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๕๘ จึงมีผลใช้บังคับตั้งแต่วันที่ ๑๙ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๕๘ เป็นต้นไป ![]() วันห้ามขายเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ๕ วันสำคัญพิเศษทางพระพุทธศาสนา (๑) วันมาฆบูชา (๒) วันวิสาขบูชา (๓) วันอาสาฬหบูชา (๔) วันเข้าพรรษา (๕) วันออกพรรษา จากพระราชบัญญัติควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ พ.ศ. ๒๕๕๑ มาตรา ๒๗ (๘), มาตรา ๒๘, มาตรา ๓๙ โดยพิจารณาประกอบกับ “ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง กำหนดวันห้ามขายเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ (ฉบับที่ ๓) พ.ศ. ๒๕๕๘” สรุปสาระสำคัญเรื่อง...วันห้ามขายเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ได้ดังนี้ >>>> วันมาฆบูชา วันวิสาขบูชา วันอาสาฬหบูชา วันเข้าพรรษา และวันออกพรรษา (๕ วันสำคัญพิเศษทางพระพุทธศาสนา) เป็นวันห้ามขายเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ทุกชนิด ทั้งชนิดขายส่งและขายปลีก ทั่วราชอาณาจักร ตลอด ๒๔ ชั่วโมง (เริ่มนับตั้งแต่หลังเวลา ๒๔.๐๐ น. ของวันก่อนหน้า ไปจนถึงเวลา ๒๔.๐๐ น. ของวันที่ห้ามนั้น) โดยยกเว้นให้ขายได้เพียง ๒ กรณีเท่านั้น คือ ๑. การขายของผู้ผลิต ผู้นำเข้า หรือตัวแทนของผู้ผลิตหรือผู้นำเข้าไปยังผู้ขายซึ่งได้รับอนุญาตตามกฎหมายว่าด้วยสุรา ๒. การขายเฉพาะในร้านค้าปลอดอากรภายในอาคารท่าอากาศยานนานาชาติ หากพบว่ามีการฝ่าฝืนกฎหมาย จะมีความผิดต้องรับโทษจำคุกไม่เกิน ๖ เดือน หรือปรับไม่เกิน ๑๐,๐๐๐ บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ สำหรับปี พ.ศ. ๒๕๕๘ นี้ วันอาสาฬหบูชา-วันเข้าพรรษา ซึ่งเป็น ๒ ใน ๕ วันสำคัญพิเศษทางพระพุทธศาสนา ตรงกับวันที่ ๓๐-๓๑ กรกฎาคม ๒๕๕๘ ฉะนั้น จึงเป็นวันห้ามขายเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ทุกชนิด ทั้งชนิดขายส่งและขายปลีก ทั่วราชอาณาจักร ทั้งสองวัน ตลอด ๒๔ ชั่วโมง กล่าวคือ เริ่มนับตั้งแต่หลังเวลา ๒๔.๐๐ น. ของคืนวันพุธที่ ๒๙ กรกฎาคม ไปจนถึงเวลา ๒๔.๐๐ น. ของคืนวันศุกร์ที่ ๓๑ กรกฎาคม ๒๕๕๘ ดังนั้น จึงขอเชิญชวนพุทธศาสนิกชนทุกคนร่วมกันรักษาศีล ๕ งด-ลด-ละ-เลิกการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ โดยเฉพาะในวันพระใหญ่ที่เป็นวันสำคัญพิเศษของชาวพุทธ ซึ่ง ๑ ปี มีเพียง ๕ วันเท่านั้น และหากจะให้ดียิ่งๆ ขึ้นไปอีก ในช่วงตลอด ๓ เดือนระหว่างฤดูเข้าพรรษา หรือทุกวันของชีวิต ก็ควรงดการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ด้วยเช่นกัน เพราะล้วนเป็นคุณและเจริญกุศลให้แก่สุขภาพ ชีวิต และสังคมของเราค่ะ สาธุๆๆ นะคะทุกท่าน ศูนย์รับเรื่องร้องเรียนบุหรี่และสุรา กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข โทร. ๐๒-๕๙๐-๓๐๓๒-๓๕ ตลอด ๒๔ ชั่วโมง https://www.egov.go.th/th/e-government-service/76/ ![]() กว่าจะมาเป็น “วันงดดื่มสุราแห่งชาติ” สังคมไทยเป็นสังคมที่มีวัฒนธรรมอันดีงาม จนยึดถือเป็นธรรมเนียมปฏิบัติในวิถีชีวิต ต่อเนื่องกันมาตลอดระยะเวลาอันยาวนาน โดยเมื่อถึงช่วงเวลาเข้าพรรษาตลอด ๓ เดือน จะตั้งสัจจอธิษฐาน ลดละเลิกเหล้า รักษาศีล ๕ (๑) จากการที่สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) เครือข่ายองค์กรงดเหล้า (สคล.) และองค์กรภาคี ได้รณรงค์โครงการงดเหล้าเข้าพรรษามาตั้งแต่ปี ๒๕๔๖ เป็นต้นมา พบว่ามีผู้เข้าร่วมโครงการเพิ่มมากขึ้นเป็นลำดับ จากปกติที่เคยมีผู้งดเหล้าเข้าพรรษาร้อยละ ๑๕ เพิ่มขึ้นเป็นร้อยละ ๔๐-๕๐ โดยมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นเป็นลำดับ ซึ่งหากรัฐบาลรับรองให้มี “วันงดดื่มสุราแห่งชาติ” ยิ่งเป็นการสนับสนุนธรรมเนียมปฏิบัติที่ดีงามนี้ให้ดียิ่งขึ้น (๒) จากการสำรวจความคิดเห็นโดยสำนักวิจัยเอแบลโพลล์ ปี ๒๕๔๙ พบว่าประชาชนร้อยละ ๘๘.๖ เห็นด้วยกับ การกำหนดให้มี “วันงดดื่มสุราแห่งชาติ” ๑ วันต่อปี และเห็นว่า “วันเข้าพรรษา” ควรเป็น “วันงดดื่มสุราแห่งชาติ” ร้อยละ ๖๑.๖ (๓) การประกาศเป็นนโยบายของรัฐบาล (มติคณะรัฐมนตรี) จะทำให้ความร่วมมือในการรณรงค์มีความชัดเจนมากยิ่งขึ้น โดยเฉพาะกระทรวงทางสังคม และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ได้แก่ กระทรวงสาธารณสุข กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ กระทรวงวัฒนธรรม และสำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ เป็นต้น ต่อมารัฐบาลได้มีนโยบายในการสนับสนุนและส่งเสริมให้ประชาชน งดดื่มเหล้าในช่วงเทศกาลเข้าพรรษา อันจะเป็นพื้นฐานในการที่จะเลิกดื่มเหล้าตลอดไป คณะรัฐมนตรจึงได้มีมติเมื่อวันอังคารที่ ๘ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๑ เห็นชอบให้กำหนด “วันเข้าพรรษา” เป็น “วันงดดื่มสุราแห่งชาติ” โดยให้เริ่มต้นใช้บังคับในวันที่ ๑๘ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๑ (วันเข้าพรรษาของปีนั้น) มติคณะรัฐมนตรีดังกล่าวเป็นมติที่น่าอนุโมทนายิ่ง หากพุทธศาสนิกชนได้นำไปปฏิบัติก็จะเกิดผลแก่ตัวผู้ปฏิบัติเอง เพราะการดื่มสุราเป็นที่ตั้งของความประมาท “ความประมาทเป็นทางแห่งความตาย ปมาโท มจฺจุโน ปทํ” “ความไม่ประมาทเป็นทางไม่ตาย อปฺปมาโท อมตํ ปทํ” (ขุ.ธ. ๒๕/๑๘) น่าสังเกตว่า ในศีลทั้ง ๕ ข้อนั้นดูเหมือนการดื่มสุรา จะเป็นศีลข้อเดียวที่เกี่ยวกับการทำร้ายตัวเอง ถ้าคนมีสติก็จะไม่ประมาท แต่เพราะสุราดื่มแล้วทำให้ทำให้มึนเมา คนเมาย่อมขาดสติ ถ้างดดื่มสุราก็จะเป็นการฝึกสติไปในตัว และจะทำประโยชน์ได้ดังเช่นพระพุทธวจนะ ที่ว่า “มนุชสฺสา สทา สตีมโต เป็นคนควรมีสติทุกเมื่อ” หากมีพลังใจที่มั่นคงจะงดเหล้าตลอดพรรษา น่าจะเป็นผลดีต่อสุขภาพ ชีวิตจะได้ยืนยาวอยู่ดูโลกนานๆ เรียบเรียงส่วนหนึ่งมาจาก :: บทความของพระมหาบุญไทย ปุญญมโน มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย http://www.dhammajak.net/board/viewtopic.php?t=16666 ![]() พระราชบัญญัติควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ พ.ศ. ๒๕๕๑ http://udn.onab.go.th/attachments/138_prb-al2551.pdf ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง กำหนดวันห้ามขายเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ (ฉบับที่ ๓) พ.ศ. ๒๕๕๘ http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2558/E/039/10.PDF ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง กำหนดวันห้ามขายเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๕๒ http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2552/E/096/77.PDF พระราชบัญญัติสุรา พ.ศ. ๒๔๙๓ http://web.krisdika.go.th/data/law/law2 ... update.pdf ![]() http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=23&t=45499 ![]() http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=23&t=45498 |
เจ้าของ: | Duangtip [ 09 ก.พ. 2016, 16:40 ] |
หัวข้อกระทู้: | Re: ๕ วันสำคัญทางพระพุทธศาสนา “วันห้ามขายเครื่องดื่มแอลกอฮอล |
![]() ![]() ![]() ![]() ![]() |
หน้า 1 จากทั้งหมด 1 | เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง |
Powered by phpBB © 2000, 2002, 2005, 2007 phpBB Group http://www.phpbb.com/ |