วันเวลาปัจจุบัน 27 เม.ย. 2024, 20:24  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


กฎการใช้บอร์ด


รวมกระทู้จากบอร์ดเก่า http://www.dhammajak.net/board/viewforum.php?f=7



กลับไปยังกระทู้  [ 1 โพสต์ ]    Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 20 มี.ค. 2022, 17:35 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
อาสาสมัคร
อาสาสมัคร
ลงทะเบียนเมื่อ: 20 ก.พ. 2007, 20:39
โพสต์: 174


 ข้อมูลส่วนตัว


รูปภาพ

๑. สติโดยพยัญชนะ คือ แล่นไปเร็ว
.
๒. สติโดยอรรถะ คือ ความระลึกได้เร็ว,
หรือทันเวลา ในการนำมาซึ่งปัญญา
.
๓. สติโดยไวพจน์ คือ อัปปมาท, ชาครธรรม
.
๔. สติโดยองค์ประกอบ
{๔.๑} ความรู้จัก และกลัวต่อความทุกข์
{๔.๒} ความรู้จักละอาย
{๔.๓} ความเข็ดหลาบ
{๔.๔} ความเชื่อฟังและเคร่งครัดต่อระเบียบ
.
๕. สติโดยลักษณะ
{๕.๑} แห่งเจตสิกธรรม เครื่องประกอบจิต
{๕.๒} แห่งผู้เฝ้า ผู้ระวัง ผู้รักษา ผู้คุ้มครอง
{๕.๓} แห่งความตื่น ไม่หลับ ไม่เผลอ
.
๖. สติโดยอาการ
{๖.๑} แห่งการขนส่งซึ่งปัญญาอย่างทันเวลา
{๖.๒} คัดเลือกและใช้ปัญญาให้ถูกแก่กรณี
.
๗. สติโดยประเภท
.
ก. จำแนกโดยประเภทสอง ตามอาการหรือ
หน้าที่ มี ๖ คู่ ...
.
{คู่ที่หนึ่ง} ๑. สัมมาสติ ๒. มิจฉาสติ
.
{คู่ที่สอง} ๑. สติตามธรรมดา
๒. สติที่เป็นองค์แห่งมรรค คือสติที่เป็นไปเพื่อวิเวก วิราคะ นิโรธะ โวสสัคคะ
.
{คู่ที่สาม} ๑. สติที่เกิดก่อนการกระทำ
๒. สติที่เกิดขณะกำลังกระทำเพื่อควบคุมการกระทำ
.
{คู่ที่สี่} ๑. สติที่เป็นไปในอารมณ์ภายนอก
๒. สติที่เป็นไปในอารมณ์ภายใน
.
{คู่ที่ห้า} ๑. สติเมื่อทำหน้าที่ตามกำลังของสติเอง
๒. สติเมื่อทำหน้าที่ร่วมกับธรรมอื่น
.
{คู่ที่หก} ๑. สติเป็นไปในหน้าที่แห่งการระลึก
๒. สติเป็นไปในหน้าที่แห่งการรักษาหรือปิดกั้น
.
ข. จำแนกตามฐานที่ตั้ง มี ๔ ประเภท คือ
สติเป็นไปทางกาย ทางเวทนา ทางจิต ทางธรรม
ที่เรียกว่า " สติปัฏฐานสี่ "
.
ค. จำแนกตามอารมณ์เป็นเครื่องติดตามกำหนด
มี ๑๐ คือ พุทธานุสสติ, ธรรมานุสสติ, สังฆานุสสติ, สีลานุสสติ, จาคานุสสติ, เทวตานุสสติ, มรณานุสสติ, กายานุสสติ, อานาปานสติ, อุปปสมานุสสติ
.
๘. สติโดยกฎเกณฑ์
{๘.๑} ต้องทำหน้าที่ร่วมกับปัญญาอย่างที่จะแยกกันไม่ได้ ทั้งเบื้องต้นท่ามกลางและสุดท้าย
{๘.๒} เป็นสิ่งที่ต้องใช้ทุกกรณีและทุกกาละเทศะ
{๘.๓} ทำให้เกิดการเป็นพระอรหันต์ เมื่อสติถึงความสมบูรณ์
.
๙. สติโดยสัจจะ
{๙.๑} ความสมบูรณ์แห่งสติคือความรอดปลอดภัยของชีวิต
{๙.๒} สติเป็นเครื่องหยุดกระแสแห่งกิเลส เพื่อให้โอกาสแก่ปัญญาในการทำลายกิเลส
.
๑๐. สติโดยหน้าที่ (โดยสมมติ)
{๑๐.๑} สติมีหน้าที่ระลึกและประมวลมาซึ่งธรรมทั้งหลายเพื่อการคัดเลือก และให้ใช้ถูกต้องโดยหน้าที่
{๑๐.๒} สติมีหน้าที่กำหนดอารมณ์ ทั้งในฝ่ายสมาธิและปัญญา
.
๑๑. สติโดยอุปมาเปรียบเสมือน
{๑๑.๑} ผู้เฝ้า ผู้พิทักษ์ ผู้คุ้มครอง
{๑๑.๒} เครื่องขนส่งของปัญญา
{๑๑.๓} ความเร็วของสายฟ้า
{๑๑.๔} คลื่นวิทยุทั้งในลักษณะของคลื่นพาและคลื่นเสียง
{๑๑.๕} เสือในขณะชุ่มตัวคอยจับสัตว์อยู่ในป่า
{๑๑.๖} สารถีแห่งอัตภาพของชีวิต
.
๑๒. สติโดยสมุทัย
{๑๒.๑} สมุทัยโดยตรง คือ ความกลัวต่อความทุกข์แล้วระวังอยู่
{๑๒.๒} สมุทัยโดยอ้อม คือ ความละอายต่อความชั่วแล้วระวังอยู่
{๑๒.๓} ความไม่ประมาทในธรรมทั้งปวง
{๑๒.๔} มีปัจจัยสำหรับสนับสนุน คือ สมาธิ
.
๑๓. สติโดยอัตถังคมะ
{๑๓.๑} ความหลงลืม ความเผลอ
{๑๓.๒} ความพ่ายแพ้ต่อความยั่วยวน
{๑๓.๓} ขาดการสำรวมระวัง
{๑๓.๔} เมื่อความประมาทครอบงำ
.
๑๔. สติโดยอัสสาทะ คือ ความพอใจเมื่อได้รับผลของความไม่เผลอเรอ พลังพลาดขาดสติ
.
๑๕. สติโดยอาทีนวะ อาทีนวะของสติไม่มี มีแต่การขาดสติ
{๑๕.๑} ความทุกข์ ความเสื่อมเสีย ความสูญเสีย หรือถึงกับความตาย
{๑๕.๒} ความหมดสมรรถนะของความเป็นผู้คุ้มครองรักษาในด้านของวัตถุและจิตใจ
{๑๕.๓} หมดหวังความก้าวหน้าไปตามทางของพระนิพพาน เพราะขาดสติปัฏฐานทั้งสี่
{๑๕.๔} ไม่สามารถนำออกซึ่งอภิชฌาและโทมนัสในโลกจากจิตใจ (ความไม่อยู่เหนืออิทธิพลของความเป็นบวกและลบของสิ่งทั้งปวง)
.
๑๖. สติโดยนิสสรณะ นิสสรณะออกจากสติไม่มี มี แต่นิสสรณะจากโทษของความขาดสติ
{๑๖.๑} อริยอัฏฐังคิกมรรค
{๑๖.๒} ความไม่ประมาทในธรรมทั้งปวง
.
๑๗. สติโดยทางปฏิบัติ เข้าสู่ความมีสติ
{๑๗.๑} สติปัฏฐานสี่ หรืออานาปานสติ
{๑๗.๒} ความสมบูรณ์แห่งสติในขณะแห่งผัสสะ
{๑๗.๓} เห็นโลกโดยความเป็นของว่างจากอัตตาและอัตนียาอยู่เป็นประจำ
{๑๗.๔} มีนิพพานเป็นอารมณ์อยู่ทุกอิริยาบถ
{๑๗.๕} รู้สึกสมบูรณ์ก่อนการเคลื่อนไหว หรือการ กระทำใด ๆ เพื่อป้องกันการหลงลืม
.
๑๘. สติโดยอานิสงส์
{๑๘.๑} สกัดกั้นกระแสแห่งปฏิจจสมุปบาท ไม่ให้ลุกลามไปจนเกิดทุกข์
{๑๘.๒} ไม่มีการกระทำใดๆ ที่เป็นเหตุให้ต้องเสียใจ {๑๘.๓} สติเป็นเครื่องคุ้มครองศรัทธา ทิฏฐิและวิริยะ ไม่ให้เฉออกนอกทาง และเป็นเครื่องเรียกมาให้ทันเวลาซึ่งสมาธิ ปัญญา หิริ โอตตัปปะ ขันติ จาคะ เป็นต้น
{๑๘.๔} ป้องกันและควบคุมการเกิดแห่งกิเลส ตัณหา อุปาทาน ได้แน่นอน
{๑๘.๕} สติเมื่อสมบูรณ์ถึงที่สุด ทำให้รู้วินาทีที่จะดับจิต
.
๑๙. สติโดยหนทางถลำ เข้าไปสู่ความมีสติ
{๑๙.๑} ความเป็นอยู่อย่างวิเวก สันโดษ เรียบง่าย
{๑๙.๒} ความมีหิริโอตตัปปะอยู่เป็นพื้นฐานของจิต
{๑๙.๓} การเห็นภัยในวัฏฏสงสารอยู่เป็นประจำ
{๑๙.๔} มีกัลยาณมิตรคอยตักเตือน
.
๒๐. สติโดยสิ่งที่ต้องเกี่ยวข้อง
{๒๐.๑} ขันติธรรมที่เพียงพอ
{๒๐.๒} สมาธิแห่งความจดจำที่เข้มแข็งและเพียงพอ.

๒๑. สติโดยภาษาคน - ภาษาธรรม
{ภาษาคน} : ความไม่สะเพร่า เลินเล่อ.
{ภาษาธรรม} : ความรู้สึกตัวทั่วพร้อมอยู่ด้วยอำนาจของปัญญาต่ออารมณ์ทั้งปวง.

จาก "ธรรมโฆษณ์อรรถานุกรม" ของ พุทธทาสภิกขุ
รวบรวมโดยกลุ่มปฏิบัติงานและเผยแผ่พระพุทธศาสนา ร่วมกับสวนอุศมมูลนิธิ, หน้าที่ ๒๒๒ - ๒๒๗ ...

https://www.dhammaghosana.org/index.php ... 118&hltxt=

.....................................................
เมื่อเจ้าจักเห็น จงเห็นฉับพลัน พอตั้งต้นคิด หนทางปิดตัน


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 1 โพสต์ ] 

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 136 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร