วันเวลาปัจจุบัน 19 มี.ค. 2024, 18:25  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


กฎการใช้บอร์ด


รวมกระทู้จากบอร์ดเก่า http://www.dhammajak.net/board/viewforum.php?f=7



กลับไปยังกระทู้  [ 9 โพสต์ ]    Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 16 ก.ค. 2014, 22:30 
 
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 8
สมาชิก ระดับ 8
ลงทะเบียนเมื่อ: 29 มิ.ย. 2014, 09:57
โพสต์: 667

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


รูปภาพ

แบบแสดงตนเป็นพุทธมามกะ

(เรียบเรียง พ.ศ. ๒๔๗๗)
.......... ระเบียบการแสดงตนเป็นพุทธมามกะ
ตามหลักของสมเด็จพระมหาสมณเจ้า
กรมพระยาวชิรญาณวโรรส ทรงรจนาไว้ดังนี้
มารดาบิดาหรือผู้ใหญ่ในสกุล ปรารถนา
ให้บุตรหลานของตนเป็นพุทธมามกะ คือ
ผู้รับเอาพระพุทธเจ้าเป็นที่นับถือของตนโดยหลักฐาน
พึงแนะนำเขาให้น้อมใจเชื่อในพระพุทธเจ้า ผู้
เป็นเจ้าของพระพุทธศาสนา จนยอมรับเอา
เป็นที่นับถือของตนได้แล้ว พึงแจ้งความ
นั้นแก่พระเถระที่จักถือเอาเป็นพระอาจารย์ในกาลนั้น ขอ
ความอนุเคราะห์ของท่าน เพื่อเป็นผู้อำนวยการนั้น
เมื่อถึงวันเวลากำหนดนัด ท่าน
ผู้อำนวยการพึงประชุมสงฆ์ตั้งแต่สี่รูปขึ้นไป
ผู้กุลบดีพึงพาบุตรหลานของตนไปสู่อารามพร้อม
ด้วยญาติและพวกพ้อง ให้ผลัดเครื่องนุ่งห่มขาวแล้วพา
เข้าไปในอุโบสถ ผู้ปฏิญาณพึงเข้าไปที่พุทธอาสน์
บูชาพระรัตนตรัย กราบด้วยเบญจางคประดิษฐ์ ๓ หน
แล้ว พึงเข้าไปสู่ที่ประชุมสงฆ์ กราบด้วยอาการอย่างนั้น
๓ หนแล้ว จึงนั่งคุกเข่าประณมมือลั่นวาจาเป็นคำบาลี
ปฏิญาณตนเป็นพุทธมามกะตามระเบียบแล้วนั่งราบ
ในลำดับนั้น พระอาจารย์พึงให้โอวาท
เพื่อรู้หัวข้อพระพุทธศาสนา ครั้นจบแล้ว พึงให้ผู้
นั้นคุกเข่าให้สมาทานเบญจศีล
ว่าตามบาลีไปทีละสิกขาบท จบแล้วผู้นั้นพึงกราบอีก ๓
หนแล้วนั่งราบ
.......... ถ้ามีเครื่องสักการะ
หรือไทยธรรมสำหรับพระสงฆ์ พึงถวายในเวลานี้
ในลำดับนั้นพระสงฆ์พึงสวดอำนวยพรด้วยคำบาลีว่า (โส
อตฺถลทฺโธ) หรือ (เต อตฺถลทฺธา)
โดยสมควรแก่จำนวนคนผู้ปฏิญาณ ผู้
นั้นพึงประณมมือรับพรจบแล้ว พึงนั่งคุกเข่ากราบอีก ๓
หน ถอยออกจากที่ประชุมสงฆ์ เป็นเสร็จการเพียงเท่านี้
ก็แล คำว่ากราบด้วยเบญจางคประดิษฐ์นั้น หมาย
ความว่ากราบตั้งองค์ ๕ คือ ให้หน้าผาก ๑ มือทั้ง ๒ เข่า
ทั้ง ๒ จดพื้น เมื่อกราบอย่างนี้ พึงนั่งคุกเข่า เป็นอันว่าเข่า
ทั้ง ๒ จดพื้น พึงหมอบลงทอดฝ่ามือที่พื้น แหวกช่อง
ให้ห่างสักหน่อย พึงก้มศีรษะลงตรงช่องนั้น
ให้หน้าผากจดพื้น อย่างนี้เรียกว่า กราบ
ด้วยเบญจางคประดิษฐ์


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 16 ก.ค. 2014, 22:47 
 
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 8
สมาชิก ระดับ 8
ลงทะเบียนเมื่อ: 29 มิ.ย. 2014, 09:57
โพสต์: 667

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


คำปฏิญาณตนเป็นพุทธมามกะว่า
เอสาหํ ภนฺเต สุจิรปรินิพฺพุตมฺปิ ตํ ภควนฺตํ สรณํ คจฺฉามิ
ธมฺมญฺจ สงฺฆญฺจ พุทฺธมามโกติ มํ สงฺโฆ ธาเรตุ
อชฺชตคฺเค ปาณุเปตํ สรณํ คตํ.
ถ้าหลายคนด้วยกัน ว่าพร้อมกันก็ได้ แต่ต้องเปลี่ยนว่า
เอเต มยํ ภนฺเต สุจิรปรินิพฺพุตมฺปิ ตํ ภควนฺตํ สรณํ คจฺฉามิ
ธมฺมญฺจ สงฺฆญฺจ พุทฺธมามกาติ โน สงฺโฆ ธาเรตุ
อชฺชตคฺเค ปาณุเปตํ สรณํ คตํ.
แปลว่า ท่านเจ้าข้า ข้าพเจ้าถึงพระผู้มีพระภาคเจ้านั้น
แม้ปรินิพพานนานมาแล้ว และพระธรรมพระสงฆ์
เป็นสรณะ (คือที่ระลึกนับถือ) ตลอดชีวิต นับแต่วันนี้
เป็นต้นไป ถ้ามากคนก็แปลเป็นพหุวจนะต่างกันเท่านั้น
คำว่าพุทธมามกะนี้ หมายความ ๔ ประการคือ
ประการที่ ๑
ปฏิญาณตนถวายแด่พระรัตนตรัยเพียงดังทาสตลอดชีวิต
ประการที่ ๒ ปฏิญาณตนว่า เป็นผู้มีพระรัตนตรัย
เป็นที่พึ่งที่ระลึกตลอดชีวิต
ประการที่ ๓ ปฏิญาณตนว่า เป็นศิษย์ของพระรัตนตรัย
ยอมรับภาระตลอดชีวิต
ประการที่ ๔ ปฏิญาณตนว่า จะเป็น
ผู้เคารพนับถือกราบไหว้พระรัตนตรัยตลอดชีวิต


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 16 ก.ค. 2014, 22:54 
 
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 8
สมาชิก ระดับ 8
ลงทะเบียนเมื่อ: 29 มิ.ย. 2014, 09:57
โพสต์: 667

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


พุทธประวัติ
.......... ผู้ปฏิญาณตนว่าเป็นพุทธมามกะ
ควรรู้จักพระพุทธเจ้าตามนัยพระพุทธประวัติไว้สำหรับตัว
แต่พุทธประวัตินั้นมีหลายฉบับ อย่างเก่าเรียกว่า “
ปฐมสมโพธิ” พระอาจารย์ต่าง ๆ ได้ตัดทอนให้สั้นเข้า
พอได้ใจความ ถึงมีมากฉบับ แต่ใจความก็ลงกันหมด
ต่างกันแต่พลความอ้างถึงอิทธิฤทธิ์ปาฏิหาริย์ต่าง ๆ ล้วน
เป็นเหตุให้เกิดมหัศจรรย์ ในที่นี้จะแสดง
ไว้เพียงเอกเทศพอรู้ไว้เป็นหลักอย่างย่อ ๆ ต่อไปก็คง
จะรู้อย่างพิสดารเอง
ที่จะให้รู้พุทธประวัตินั้น มีประสงค์จะให้รู้ว่า
พระพุทธเจ้าก็เป็นชาติมนุษย์ด้วยกัน แต่
เป็นมนุษย์อัศจรรย์ ไม่ใช่อินทร์ พรหม ยม ยักษ์ หรือ
ผู้วิเศษสร้างโลกซึ่งไม่มีตัวตน
เหมือนอย่างศาสนาพราหมณ์อ้างว่าพรหม
เป็นเจ้าของศาสนา เยซูอ้างพระยะโฮวา
ศาสนาโมหะหมัดอ้างพระอาหล่า ศาสนาจีนอ้างเต๋า
เป็นเจ้า มีแต่หัวหน้าเป็นผู้รับผิดชอบอย่างเดียว อาจ
เป็นกลอุบาย หรือมายาสาไถยของหัวหน้าก็ได้ ไม่พ้น
ความรังเกียจของนักปราชญ์ในโลก ส่วนเรา
ไม่มีเจตนารังเกียจและติเตียนศาสนาใด ๆ หมด
เห็นว่าบรรดาศาสนาทั้งหมด ย่อมมุ่งประโยชน์
ความสุขแก่เพื่อนมนุษย์ด้วยกันสิ้น และมีดีด้วย
กันทุกศาสนา จะยิ่งและหย่อนกว่ากันก็
โดยประเภทแห่งคำสั่งสอนเท่านั้น
แต่พระพุทธศาสนาไม่ได้อ้างถึงใครหมดว่าเป็นศาสดา
พระองค์เองว่าพระองค์เป็นสัมมาสัมพุทโธ ผู้ตรัสรู้เอง
โดยชอบ คือรู้จักของจริง คือ จริงสมมติ จริงสภาวะ
จริงอริยสัจ จริงนิพพาน ส่วนจริงสมมติ จริงสภาวะนั้น
ศาสนาอื่น ๆ ก็ยกขึ้นแสดงได้ แต่จริงอริยสัจ จริงนิพพาน
นั้น มีแต่พระพุทธเจ้าพระองค์เดียว
ยกขึ้นมาประกาศสั่งสอน และเป็นทางให้ผู้ปฏิบัติถึง
ความดับทุกข์ได้จริงด้วย
เหตุใดพระองค์จึงทรงพระนามว่าพระพุทธเจ้า ? ตอบว่า
เหตุพระองค์เป็นเจ้าแห่งความตรัสรู้ ไม่มีใครในไตรภพ
จะรู้ยิ่งกว่าพระองค์ พระองค์จึงมีพระนามอีกว่า “มุนินฺโท”
แปลว่าพระองค์เป็นใหญ่กว่านักปราชญ์ในโลก
ในทางตรัสรู้ของจริง
ข้อนี้เป็นความจริง คือในครั้งพุทธกาลก็ไม่มีผู้
ใดปฏิญาณตนว่า เป็นผู้รู้ยิ่งกว่าพระองค์ แม้ต่อ ๆ มา
ในระหว่างสองพันปีเศษ ก็ยังไม่เคยมีผู้วิเศษคนใดที่
จะปฏิญาณตนว่า เป็นผู้รู้ยิ่งกว่าพระองค์ จะมี
อยู่บ้างก็เพียงผู้ปฏิญาณตนว่า เป็นผู้รับใช้ของผู้วิเศษซึ่ง
ไม่มีตัว ให้มาประกาศศาสนาสอนโลกเพียงเท่านั้น
ที่ว่าพระพุทธเจ้าเป็นผู้วิเศษนี้
ก็มีหลักฐานพยานคือพระสงฆ์
ผู้ศาสนทายาทสืบศาสนามาโดยลำดับ พร้อม
ด้วยพระปริยัติธรรม ซึ่งเป็นพุทธโอวาทเป็นพยาน
ส่วนประวัติของพระองค์ ตั้งต้นแต่เกิดมาจนถึงนิพพาน
เป็นที่สุด ก็ยังมีปรากฏเป็นพยานอยู่ทุกประการ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 16 ก.ค. 2014, 22:59 
 
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 8
สมาชิก ระดับ 8
ลงทะเบียนเมื่อ: 29 มิ.ย. 2014, 09:57
โพสต์: 667

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


พระพุทธเจ้าของเราทั้งหลายนั้นได้บังเกิดขึ้น
ในประเทศอินเดีย ที่พระนครกบิลพัสดุ์
โดยพระชาติพระองค์เป็นกษัตริย์ โดยพระวงศ์ พระองค์
เป็นโคตมวงศ์ โดยชาติภูมิพระองค์
เป็นชาวศากยะเรียกว่าชาวอริยกะบ้าง เกิดขึ้น
ในโลกก่อนพุทธศักราช ๘๐ ปี
พระราชบิดาทรงพระนามว่า “พระเจ้าสุทโธทนมหาราชา”
พระราชมารดาทรงพระนามว่า “
พระนางสิริมหามายาราชเทวี”
พระองค์เองทรงพระนามว่า “สิทธัตถะ”
เป็นพระราชโอรสผู้ใหญ่ของพระเจ้าสุทโธทนะ
เมื่อพระองค์ประสูติได้ ๗ วัน พระมารดาทิวงคต
พระนางปชาบดีผู้น้าทรงเป็นพระธุระ
ในการบริหารเลี้ยงดู พระองค์ทรงเจริญขึ้น
ด้วยราชูปถัมภ์อย่างขัตติยราชกุมาร มีแต่
ความสุขสำราญโดยส่วนเดียว
ครั้นเจริญพระชนม์พรรษาสมควร
จะศึกษาวิทยาการสำหรับราชตระกูล
พระราชบิดาก็หาครูผู้เชี่ยวชาญมาสอน
พระองค์เล่าเรียนสรรพวิทยาทั้งปวงโดยไม่ลำบาก
เพราะทรงพระปรีชาเฉียบแหลมจนอาจารย์ออกปากว่า “
ไม่มีใครจักเสมอ ยิ่งกว่าข้าพเจ้าผู้เป็นอาจารย์เสียอีก”
แต่พระองค์มีพระจรรยาอ่อนนวล
ไม่มีกระด้างกระเดื่องเลย
ครั้นพระชนม์ได้ ๑๖ พรรษา พระบิดา
ได้ทรงนำนางยโสธรา อีกชื่อหนึ่งว่าพิมพาเป็นขัตติยนารี
ซึ่งประกอบด้วยอิตถีลักษณะงามเลิศยิ่งกว่านารีทั้งปวง
ในสมัยนั้น มาอภิเษกให้เป็นพระชายา พระองค์เป็น
ผู้รับรัชทายาทครองราชย์ช่วยพระราชบิดาอยู่ ๑๓ ปี
พระชนม์ได้ ๒๙ พรรษา ได้มีพระโอรส
กับพระนางยโสธราองค์ ๑ ชื่อ “ราหุล”
อันธรรมดาหากนิยม พระองค์ทรงฝักใฝ่แต่ในการที่
จะออกบวช เพราะเห็นกองทุกข์ของสัตวโลกคือ เกิด แก่
เจ็บ ตาย ครอบงำ หาพระเป็นเจ้าที่ไหนจะช่วยก็ไม่มี
ได้แต่พากันวิงวอนเปล่า ๆ ขอความช่วยเหลือ แต่หา
ได้รับผลช่วยเหลือจากพระเป็นเจ้าอย่างไรไม่ สมควรเรา
จะออกบวชค้นหาของจริงช่วยทุกข์ของโลก
เครื่องช่วยทุกข์ก็คงมีอยู่ในมนุษย์นี้เอง ถ้าเราตัดห่วงใย
ในราชสมบัติเสียได้คงค้นพบ เพราะของ
ในโลกย่อมมีคู่คือมีไฟเป็นของร้อนก็มีน้ำเป็นของเย็น
มีมืดก็มีสว่างเป็นคู่ มีเกิด แก่ เจ็บ ตายเช่นนี้ คงจะมี
ไม่เกิด ไม่แก่ ไม่เจ็บ ไม่ตาย เป็นคู่แน่นอน
เมื่อตกลงพระหฤทัยว่า “เพศนักบวชเป็นเพศวิเวก
ควรแก่เราผู้มุ่งหวังจะช่วยสัตวโลกให้พ้นทุกข์โดยแท้”
จึงทรงสละเสียซึ่งกามสุขอันถึงพร้อมแล้ว อันโลก
เขานิยม ออกทรงบรรพชาเพศเป็นนักบวชอยู่
ในอาณาเขตเมืองราชคฤห์
แต่ทรงพยายามค้นอยู่ถึง ๖ ปีล่วงแล้ว ขึ้นปี
ใหม่วันวิสาขปุณณมี เดือน ๖ เพ็ญ พระองค์จึง
ได้ตรัสรู้ของจริง คือพระนิพพาน อันพ้นจากแก่ง
กันดารคือชรา พยาธิ มรณะ เบื้องหน้าแต่
นั้นก็ทรงประกาศพระพุทธโอวาทยังมหาชนเป็นอันมาก
ให้บรรลุพระนิพพาน ที่บารมียังอ่อนก็ให้เกิดศรัทธา
เชื่อกรรมเชื่อผลของกรรม ประพฤติบุญกุศล มีทาน ศีล
ภาวนา เป็นต้น ให้ได้รับความสุขกายสุขใจ
ทรงแนะนำสั่งสอนให้ทำมาหาเลี้ยงชีพโดยชอบธรรม
ให้มีศีลห้า ศีลแปด เป็นกัลยาณวัตร
ทรงตั้งศาสนมณฑล คือ ภิกษุ ภิกษุณี อุบาสก อุบาสิกา
ทรงแต่งตั้งพุทธบัญญัติ มีทั้งพระธรรมและพระวินัยขึ้น
เป็นศาสนาใหญ่ ให้ชื่อว่า “พุทธศาสนา”
ทรงแนะนำสั่งสอนให้สาวกพุทธบริษัทเฉลียวฉลาดรอบรู้
ในพระธรรมวินัย ทรงกระทำไม่ให้มีภายใน ไม่
ให้มีภายนอกจนพระองค์ทรงประกาศว่า “ศาสนาของเรา
ไม่มีเวลาเสื่อม เพราะเราผู้เป็นศาสดาได้ผ่านวัย
ทั้งสามมาแล้ว ส่วนสาวกของเราฝ่ายบรรพชิตชั้นแก่
ชั้นกลาง ชั้นหนุ่ม ได้รู้ธรรมวินัยของเราแล้ว ฝ่ายฆราวาส
คือ อุบาสก อุบาสิกา ชั้นแก่ ชั้นกลาง ชั้นหนุ่ม ก็
ได้รู้ธรรมวินัยของเราชัดเจนแล้ว” ดังนี้
พระองค์ทรงประกาศพระพุทธศาสนาอยู่ถึง ๔๕ พรรษา
พระชนม์ครบ ๘๐ ปีบริบูรณ์ พระองค์จึงเสด็จ
เข้าสู่พระปรินิพพาน ในวันวิสาขปุณณมีเหมือนวันตรัสรู้
นั้น โบราณาจารย์จึงได้ประพันธ์ไว้ว่า “วันประสูติ
จากคัพโภทร ๑ วันอันตรัสรู้พระสยัมภูญาณ ๑
วันเสด็จดับขันธปรินิพพาน ๑ .. ๓ กาลนี้เป็นวันวิสาขฤกษ์
เดือน ๖ เพ็ญเช่นเดียวกัน” ดังนี้ จัด
เป็นมหัศจรรย์ประการหนึ่ง
โดยกำลังพระบารมีอันธรรมดาหากนิยมให้สมกับ
เป็นพระพุทธเจ้า นับแต่วันปรินิพพานมาถึงปีนี้ได้ ๒๔๗๗
พรรษา
ตำนานพุทธประวัติมีที่อ้างหลักฐานทุกประการ จึง
เป็นของควรเชื่อได้
ยิ่งสอบสวนพระธรรมวินัยที่พระองค์ประกาศเทศนาสั่งสอนแต่งตั้ง
ไว้ ถ้ารู้ตามเห็นตาม ใคร ๆ ก็อดกราบอดไหว้ไม่ได้
เพราะพระปัญญาคุณ พระกรุณาคุณ พระวิสุทธิคุณ
เป็นเครื่องส่องให้สว่างสิ้นความสงสัยอยู่เป็นนิตย์


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 16 ก.ค. 2014, 23:04 
 
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 8
สมาชิก ระดับ 8
ลงทะเบียนเมื่อ: 29 มิ.ย. 2014, 09:57
โพสต์: 667

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


อารัมภกถาศีล ๕
บัดนี้ จักแสดงหลักแห่งจรรยา อันสมควรจะปฏิบัติ
ให้สำเร็จประโยชน์และความสุขในชาตินี้และชาติหน้า
ตามในพระพุทธโอวาทศาสนาคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า
เพื่อให้พุทธมามกะดำเนินตาม
ด้วยพวกเราชาวสยามย่อมรู้อยู่ด้วยกันว่า
พระพุทธศาสนาเป็นที่ไหว้ที่บูชาเป็นที่ทำบุญให้ทาน
มีวัดวาอารามดื่นดาษ มีพระสงฆ์สามเณร
เป็นเจ้าของรักษาวัดวาอารามทั่วไป พวกชาวบ้าน
ผู้อุปถัมภ์วัดวาอารามนั้น เรียกว่าทายกทายิกาบ้าง
เรียกว่าอุบาสกอุบาสิกาบ้าง พากันไปทำบุญ
ให้ทานแก่พระสงฆ์สามเณร ไปรับศีลบ้าง
ไปฟังธรรมเทศนาบ้างตามวัด บางคราวนิมนต์พระเณร
เข้าไปสวดมนต์ไปฉันในบ้าน รับศีลฟังเทศน์ในบ้านบ้าง
ตำบลใดที่ห่างจากวัด ไปทำบุญให้ทานลำบาก
พวกชาวบ้านก็พร้อมใจกันสร้างวัดขึ้นในตำบลนั้น
ไปนิมนต์พระมาอยู่ แล้วพากันอุปัฏฐากปฏิบัติ
พวกเราเกิดมาก็พากันเห็นอยู่อย่างนี้
ด้วยตาของตนทุกคน
การสร้างวัดวาอารามสำหรับบ้านเมือง ก็เท่า
กับสร้างสระน้ำไว้สำหรับอาบกิน
พระพุทธโอวาทศาสนาคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้าเปรียบเหมือนน้ำอันสะอาด
พระสงฆ์สามเณรเป็นผู้รักษาน้ำเป็นผู้เสาะหาน้ำมาไว้
คือหมั่นศึกษาเล่าเรียนให้ฉลาดในพุทธโอวาท ญาติโยม
เป็นผู้อาศัยอาบกิน คือการสดับรับฟัง
เป็นธรรมเนียมมาอย่างนี้
ยิ่งสมัยปัจจุบันนี้ พระมหากษัตราธิราชเจ้า
ผู้ทรงทศพิธราชธรรม ปกครองพระราชอาณาจักร
โดยลำดับมาถึง ๗ รัชสมัย
พระราชอาณาจักรสยามยิ่งราบคาบ ปราศจากศัตรูไพรี
ทั้งภายในและภายนอก เป็นเหตุให้อาณาประชาราษฎร์
ผู้พึ่งพระบรมโพธิสมภาร ได้ประกอบกสิกรรม
และพาณิชยกรรม
บำรุงโภคทรัพย์สมบูรณ์บริบูรณ์ยิ่งขึ้น
พระราชเกียรติยศยิ่งอุโฆษไพศาลไปทั่วโลก เป็นเหตุ
ให้นานาชาติแตกตื่นเข้ามาพึ่งพระบรมโพธิสมภาร
บ้านเมืองยิ่งตระการเต็มไปด้วยโภคสมบัติสารพัดแต่จะมี
เป็นต้นว่า วัตถุเครื่องอุปโภค คือ
วัตถาอลังการสายสร้อยตุ้มหูไข่มุก
เพชรนิลจินดานาฬิกาข้อมืออย่างประณีต จะพรรณนา
ไม่สิ้นสุด วัตถุเครื่องบริโภค เป็นต้นว่า
ข้าวปลาอาหารเครื่องกระป๋อง หีบขนมนมเนยและผลไม้
ทั้งแห้งทั้งสดนับไม่ถ้วน คือว่าประเทศใด ชาติใด ภาษา
ใด ถ้าประดิษฐ์สรรพวัตถุอันใดขึ้นได้เป็นสินค้า ชาตินั้น
ภาษานั้นเป็นต้องนำเข้ามาสู่ประเทศสยามทั้งสิ้น
เพราะเหตุนั้น ประเทศสยามทุกวันนี้ สมบูรณ์บริบูรณ์
ด้วยโภไคยมไหยสมบัติ
ยิ่งกว่าสมบัติเมืองสวรรค์อันพวกเรายังไม่เคยเห็นเสียอีก
พวกเราชาวสยาม เมื่อได้เสวยสุขสมบัติอันมโหฬารเช่นนี้
ก็อย่าพากันเพลิดเพลินเกินไป ให้พึงเข้าใจว่า บรรดาผู้ที่
เข้าพึ่งพระบรมโพธิสมภารพระเจ้าอยู่หัวของพวกเรานั้น
ล้วนแต่หวังประโยชน์ส่วนตัวโดยมาก คงจะเป็น
ด้วยเหตุนี้ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวของพวกเรา
ทั้งหลาย ผู้ทรงพระปรีชาญาณอันสุขุมคัมภีรภาพ
ทรงเห็นกาลอันยืดยาวในเบื้องหน้า จึง
ได้ทรงพระมหากรุณาโปรดให้จัดการตั้งโรงเรียนรัฐบาล
และประชาบาลทั่วพระราชอาณาจักร เพื่อให้พวกเรามี
ความฉลาดทันสมัย


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 16 ก.ค. 2014, 23:09 
 
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 8
สมาชิก ระดับ 8
ลงทะเบียนเมื่อ: 29 มิ.ย. 2014, 09:57
โพสต์: 667

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ถ้ารู้ความประสงค์อันนี้ ควรผู้
เป็นบิดามารดารีบตักเตือนบุตรหลานของตน ๆ
ให้รีบเล่าเรียนและหมั่นแนะนำทางทำมาหากินไว้ให้
เป็นหลักฐานมั่นคง อย่าให้เป็นดังชาติไม้น้ำ คือ สาหร่าย
จอก แหน ผักบัว ผักตบ ผักตีนเต่า ผักกระเฉด ผักบุ้ง
ผักแพงพวย แต่ก่อนเคย
เป็นเจ้าของห้วยหนองคลองบึงบางทั่วไป
พอเจ้าผักตบชวาเข้ามาแย่งพักเดียว
เจ้าของเก่าหายหน้าไปหมด ทุกวันนี้มีแต่ผักตบชวาเต็ม
ในห้วยหนองคลองบึงบางทั่วไป
เพราะเจ้าพวกเก่าอ่อนแอ
ถึงไม้บกก็เหมือนกัน
แต่ก่อนตามป่าตามดงมีหญ้าขัดหญ้าคาและต้นไม้เล็ก ๆ
ต่าง ๆ เต็มไป พอเจ้าหญ้าดอกขาว (
บางพวกเรียกว่าหญ้าสาบเสือ บางพวกเรียกว่าหญ้าฝรั่ง
บางพวกเรียกว่าหญ้าเมืองวาย) เข้ามาแย่งพักเดียว
เจ้าพวกเก่าหายหน้าไปหมด ทุกวันนี้ป่าดงเต็มไป
ด้วยหญ้าดอกขาวทั่วไป
อีกประการหนึ่ง ขอให้ชำเลืองตาดูตามตลาด
และโรงร้านทุกตำบล รายได้และรายจ่ายอยู่
กับคนพวกไหนมาก ต่อไปให้พากันระวังที่บ้านที่สวนที่นา
ที่ของเราดี ๆ อย่าเห็นแต่ส่วนได้ ให้แลเห็นส่วนเสียบ้าง
ต่อไปป่าดงพงไพร คนผู้มีเงินมาก
จะจับจองถือกรรมสิทธิ์เสียหมด เรา
จะไปเบิกป่าดงที่ไหนทำไร่ทำนาได้ ถ้าหากว่าจะเป็น
ได้อย่างนั้น พวกเราจะมิพากัน
เป็นลูกจ้างกรรมกรไปหมดหรือ ขออย่าให้เป็นอย่าง
นั้นเลย
ทุกวันนี้ความเจริญของบ้านเมืองยิ่งทวีขึ้น
เครื่องสูบเอาเงินจากพวกเรายิ่งมากขึ้น เป็นต้นว่า
รถยนต์ เรือไฟ เรือยนต์ ไฟฟ้า โรงหนัง โรงลิเก แข่งม้า
ต่อยมวย ของเหล่านี้ล้วนเป็นลอบ
เป็นไซสำหรับสูบเอาเงินจากพวกเราทั้งสิ้น ส่วนราย
ได้ของพวกเราอยู่ที่ไหนบ้าง จึงจะพอแก่รายจ่ายให้แก่
เขาพวกนั้น ขอให้พากันดำริบ้าง อย่าเพลินไปโดย
ส่วนเดียว
คำว่าสมัยเก่าสมัยใหม่ และคำว่ากาลเทศะ ก็คง
เป็นอันเดียวกัน สมัยก็คราว กาละก็คราว เทศะ
นั้นหมายประเทศ คือสมัยใดคราว
ใดประเทศบ้านเมืองของท่านเปลี่ยนแปลง ประพฤติ
เป็นไปอย่างไร เราควรมองดูบ้าง สิ่ง
ใดควรเปลี่ยนแปลงตามสมัย เราไม่เปลี่ยนแปลง
ให้มีการเล่าเรียนสรรพวิทยาทั่วไป เราจะถือว่าแต่ก่อน
ไม่เคยมีโรงร่ำโรงเรียน ก็ยังเป็นบ้านเป็นเมือง และห้าม
ไม่ให้ลูกหลานของตนเล่าเรียน ถ้าเช่นนั้น
ความเสียหายก็ตกอยู่ที่ลูกหลานของเรานั่นเอง
ถึงแม้การอื่น ๆ ก็เหมือนกัน ส่วนที่ไม่ควร
จะรีบเปลี่ยนแปลง ดังการนุ่งห่ม
และเครื่องแต่งตัวบางประการ ซึ่งเป็นของไม่จำเป็น
ดังกระเป๋าหนังเล็กๆ หรือกระเป๋าเงิน กระเป๋าทองเล็ก ๆ
สำหรับใส่สตางค์และนาฬิกาผูกข้อมือ
และการดูหนังดูลิเกเป็นต้น ซึ่งแต่ก่อนไม่เคยมีและ
เป็นของไม่ควรจะรีบเปลี่ยนแปลง รีบพา
กันเปลี่ยนแปลงไปตามเขา ความเสียหายก็มาตก
อยู่ที่เราเหมือนกัน ให้วินิจฉัยดู ไม่
ต้องถือว่าประเพณีของเก่าอย่างเก่าอย่างใหม่
ถ้าสิ่งใดที่มีประโยชน์ให้เกิดโภคทรัพย์ ให้เกิดความสุข
สิ่งนั้นต้องรักษาไว้ ต้องทำตาม สิ่งใดที่
ให้เสื่อมเสียประโยชน์ ให้เกิดความทุกข์ ให้เกิด
ความยากจน สิ่งนั้นไม่ควรรักษาไว้ ไม่ควรทำตาม ถ้าเป็น
ผู้รู้มาตราเช่นนี้ เรียกว่า มัตตัญญู กาลัญญู
เป็นธรรมสำหรับนักปราชญ์ ถ้ามีอยู่ในผู้ใด ผู้นั้น
เป็นคนทันสมัย พึงเข้าใจเถิด ความฉลาด
เป็นทางมาแห่งโภคทรัพย์ เป็นทางมาแห่งความสุข
ความโง่เขลาเบาปัญญา เป็นทางมาแห่งทุจริตมีขี้ลักขี้ฉ้อ
เป็นต้น เป็นทางไหลมาแห่งความยากจนข้นแค้น
ความฉลาดเป็นบ่อเกิดแห่งความสุข ความโง่
เป็นบ่อเกิดแห่งความทุกข์


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 16 ก.ค. 2014, 23:13 
 
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 8
สมาชิก ระดับ 8
ลงทะเบียนเมื่อ: 29 มิ.ย. 2014, 09:57
โพสต์: 667

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


บัดนี้ จักแนะนำทางพุทธศาสนา
อันบรรพบุรุษของพวกเราพานับถือสืบ
กันมาแต่ดึกดำบรรพ์
เพราะพุทธโอวาทล้วนแต่แสดงประโยชน์ให้เกิดความสุข
และความฉลาดแก่ผู้ปฏิบัติที่ถูกต้องตามคลองธรรม
การถือพุทธศาสนาทุกวันนี้ โดยมากมักจะถือตาม ๆ กัน
เท่านั้น จะได้ศึกษา
ให้รู้ว่าพระพุทธโอวาทหวังประโยชน์อะไร
เรานับถือเพื่อประโยชน์อะไร เราได้ประโยชน์
จากพระศาสนาคืออะไรบ้าง คนโดยมากไม่
เข้าใจเสียเลย ข้อนี้เห็นจะเป็นด้วยการถือศาสนามานาน
เป็นการเรื้อรัง คือว่าพอเกิดมารู้เดียงสา ก็
ได้เห็นบรรพบุรุษพากันนับถือมาอย่างนั้น เลยกลาย
เป็นชินกัน ท่านเรียกว่าอาจิณณกัปปีกาถือว่าชอบ
ว่าควรตามเคยเห็นว่าคนเก่าท่านพาประพฤติมาอย่างนี้
เห็นจะเป็นด้วยเหตุนี้ จึงขาดการศึกษาเสียหมด
โดยที่สุดการฟังเทศน์ก็ฟังเอาแต่บุญเท่านั้น พระ
และสามเณรอ่านหนังสืออะไรให้ฟัง
เป็นการฟังธรรมไปหมด โดยที่สุดแต่หนังสือเขาแต่งเล่น
หงส์เหิน การะเกษ สังข์ศิลป์ไชย จำปาสี่ต้น เป็นตัวอย่าง
เอามาเทศน์สู่กันฟัง ว่าตัวฟังธรรมได้บุญ มันเลอะ
เถรส่องบาตรอย่างนี้ เพราะเหตุนั้นเข้าวัดฟังธรรมมาตั้ง
๕ ปี เพียงศีล ๕ ศีล ๘ ก็ไม่เข้าใจเนื้อความ ได้แต่ทำตาม
เขาไปเท่านั้น คนชาติอื่นเขาไม่เคย
เป็นเจ้าของพุทธศาสนา เขาพึ่งเริ่มศึกษา
เขาตั้งใจตรึกตรอง จริงจนจับเหตุจับผลได้
เขาออกหนังสือชี้แจงได้ถ้อยได้ความดี เลยเห็นว่า
เขามีสติปัญญาเฉลียวฉลาดดี
แต่ความจริงก็มีปัญญาด้วยกัน แต่พวกเราถือว่าตน
เป็นเจ้าของไปเสีย จึงถือตามกันเรื่อยไป เลยไม่ต้องคิด
ไม่ต้องตรองเท่านั้นเอง ไม่ใช่จะเป็นแต่ชาวบ้าน
ถึงแม้ชาววัดผู้รับศาสนทายาท ออกจะเป็นเช่นนั้น เพราะ
ความชินว่าเราเป็นเจ้าของพระศาสนา
ความจริงของดีวิเศษที่เรียกว่า “อุตริมนุสสธรรม” มี
ในอนุศาสน์ท้ายอุปสมบทว่า “ฌานํ วา วิโมกฺขํ วา สมาธึ
วา สมาปตฺตึ วา มคฺคํ วา ผลํ วา” ดังนี้
คุณธรรมทั้ง ๖ ประการนี้ชื่อว่าอุตริมนุสสธรรม
แปลว่าธรรมสำหรับมนุษย์ชั้นสูง ผู้มีธรรม ๖
ประการนี้อย่างใดอย่างหนึ่ง ผู้นั้นพ้นจากมนุษย์สามัญ
กลายเป็นอุตริมนุษย์ขึ้น ในพระไตรปิฎกทุกประเภท
แสดงธรรม ๖ ประการนี้แทบจะมีทุกเรื่องทุกนิทาน
ผู้แตกฉานในพระไตรปิฎกแทบจะรู้ทั่วกัน แต่หา
ได้สอบสวนให้เห็นประจักษ์มีสิทธิขึ้นในตนไม่
ความจริงก็หากมีผู้ใฝ่ใจอยู่บ้างเหมือนกัน แต่หากมีโดย
ส่วนน้อย ร้อยละหนึ่งละสองก็ไม่ถึง จึงนับว่าไม่มี
การถือพระศาสนาของพวกเรา มักจะกลายไป
เหมือนม้าลาและโค
ถือต่างของบรรทุกมาบนหลังล้วนแต่ของดี ๆ ไม่
เป็นประโยชน์แก่ตัวเสียเลย อย่างดีเขาจะ
ให้ข้าวเปลือกบรรทุกมาบนหลังเล็กน้อยวันละทะนาน
พวกเราที่เล่าเรียนพระปริยัติธรรมให้แตกฉาน ก็เท่า
กับบรรทุกพระปริยัติธรรมไว้เต็มตัว ถ้าไม่
ได้ดื่มรสของฌาน วิโมกข์ สมาธิ สมาบัติ มรรคผล
ได้รับเพียงลาภสักการะและความสรรเสริญ ซึ่งเป็นของ
ไม่ถาวร ก็เท่ากับม้าลาและโคที่ได้รับแต่เพียงข้าวเปลือก
เท่านั้น ของดี ๆ เท่ากับบรรทุกหนักหลังเปล่า ๆ หา
เป็นประโยชน์แก่ตนไม่ ฌาน วิโมกข์ สมาธิ สมาบัติ
มรรคผล เหล่านี้เป็นธรรมชั้นสูงสำหรับนักปราชญ์ ไม่จำ
เป็นจะต้องแสดงมาก เพราะผู้แสดงก็ตกอยู่
ในพวกหนักหลังด้วยกัน ในที่นี้มีประสงค์
จะแสดงเพียงชั้นสุจริตธรรม ซึ่งเป็นสาธารณะควรรักษา
ได้ทั่วไป คือให้เป็นพลเมืองดีด้วยกันมาก ๆ เท่านั้น
บุพพภาคปฏิบัติ คือข้อปฏิบัติเป็นเบื้องต้น อะไร
จะดียิ่งกว่าศีล ๕ กุศลกรรมบถเป็นอันไม่มี ศีล ๕
กุศลกรรมบถนี้แลชื่อว่าสุจริต


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 16 ก.ค. 2014, 23:20 
 
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 8
สมาชิก ระดับ 8
ลงทะเบียนเมื่อ: 29 มิ.ย. 2014, 09:57
โพสต์: 667

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


แต่ในที่นี้แสดงเพียงศีลเบื้องต้นไว้ก่อน ศีล ๕ นี้ท่านเรียก
ให้ไพเราะว่าเบญจเวรวิรัติ ความว่าเว้นจากเวร ๕
ในศาสนมณฑลย่อมสั่งสอนกันเป็นพื้น จะให้ทาน
จะฟังเทศน์ จะฟังสวดมนต์ ต้องอาราธนาศีล ๕ ศีล ๘
บ้างตามควรแก่สมัย พระก็ให้ศีลตามประสงค์ แล้ว
จึงทำกิจนั้นต่อไป
การสมาทานศีล ๕ นั้น ท่านให้สมาทานเป็นภาษาบาลีว่า “
ปาณาติปาตา เวรมณี, อทินฺนาทานา เวรมณี, กาเมสุ
มิจฺฉาจารา เวรมณี, มุสาวาทา เวรมณี,
สุราเมรยมชฺชปมาทฏฺฐานา เวรมณี สิกฺขาปทํ สมาทิยามิ”
ดังนี้ ต้องท่องบ่นจำทรงบาลีศีล ๕ นี้ให้ขึ้นปากขึ้นใจ
ไว้ทุกคน จึงจะสมควรแก่พวกเราผู้เป็นพุทธมามกะ
แต่ที่จะเป็นศีลนั้นต้องมีเจตนางดเว้น
จะว่าแต่บาลีตามพระไปเปล่า ๆ เจตนางดเว้นไม่มีก็ไม่
เป็นศีล เพราะเหตุนั้นเมื่อได้บาลีไว้แล้ว ก็ต้องศึกษาให้
เข้าใจเนื้อความโดยย่อ ๆ ไว้ทุกคน คือ บท ปาณา ห้าม
ไม่ให้ฆ่าสัตว์ อทินนา ห้ามไม่ให้ลักของท่าน กาเม ห้ามไม่
ให้เล่นเมียท่านผัวท่าน มุสา ห้ามไม่ให้กล่าวคำเท็จ คือคำ
ไม่จริง สุรา ห้ามไม่ให้กินเหล้าและน้ำเมา อันเป็นเหตุแห่ง
ความประมาท ต้องพากันจดจำไว้สำหรับตัวทุกคน จะได้
เป็นศีลเป็นธรรม
อย่าถือแต่สิกขาบทเป็นศีล เจตนาที่งดเว้นนั่นแหละ
เป็นศีล กายไม่ฆ่าสัตว์ไม่ลักของท่าน
ไม่เล่นเมียท่านผัวท่าน นั่นแหละกายเป็นศีล วาจา
ไม่พูดปดพูดเท็จ ไม่พูดคำหยาบ ไม่พูดส่อเสียด
ไม่พูดเล่น นั่นแหละวาจาเป็นศีล พึงเข้าใจว่า กาย วาจา
ใจ เป็นศีล สิกขาบทเป็นแต่อาการบอกให้รู้ว่า กาย วาจา
ใจ เป็นศีลเท่านั้น อย่าถือศีลงมงายตามเขาไปเพียงเท่า
นั้น ต้องศึกษาให้รู้จริง ๆ ถือให้เป็นศีลเป็นธรรมจริง ๆ
ศึกษาให้รู้เหตุรู้ผลด้วย
เหตุนั้นคือ เหตุบาป เหตุบุญ ถ้าฆ่าสัตว์ ลักของท่าน
เล่นเมียท่าน เล่นผัวท่าน กล่าวคำเท็จ กินเหล้า
เป็นเหตุบาป คำว่าบาปนั้น คือ ทำความร้อนใส่ตัว
ทำกรรมทำเวรใส่ตัว คือว่าเราไปทุบตีฆ่าฟันเขา ถ้าพวก
เขามีอำนาจ เขาจะต้องแก้แค้นทำแก่เราเหมือนกัน
ถ้าเราลักของเขา เขารู้เข้าก็ต้องแก้แค้นให้เรา
ได้รับโทษทุกข์เต็มที่ ถ้าเราเล่นเมียเขา เขารู้เข้า เขา
ต้องหาอุบายแก้แค้นให้เราได้รับโทษเหมือนกัน
ถ้าเราพูดปดหลอกลวงเขา เขารู้เข้า เขาก็ต้องคิดแก้แ
ค้นทำให้เราเสียผู้เสียคนไป ถ้าเรากินเหล้า
ก็ชื่อว่าเราทำตัวให้เป็นคนเสียศีล เสียสัตย์
เสียจรรยาแห่งผู้ดี คือทำตัวให้เสียเกียรติยศให้
เขาดูหมิ่นหาผู้ยำเกรงมิได้
โทษที่เกิดแก่ผู้ไม่รักษาศีล ๕ นั้น แต่ละองค์อย่างต่ำต้อง
ได้รับคำครหานินทาติเตียนแต่คนทั้งหลาย อย่างกลาง
ต้องเสียเงินเสียทองติดคุกติดคอก อย่างสูง
ต้องติดคุกจนตายหรือประหารชีวิต โทษทุกข์เหล่านี้
เป็นผลมาจากเหตุ คือไม่มีศีล ๕
พึงพิจารณาดูบรรดานักโทษที่ติดคุกติดตะรางทั้งสิ้น
หรือผู้ถูกหาเป็นจำเลยทุกคดีในโรงศาล มักจะเป็นคน
ไม่มีศีล ๕ โดยมาก เพราะเหตุนั้นคนไม่มีศีล ท่าน
จึงว่าคนบาป คนหาทุกข์ใส่ตัว


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 16 ก.ค. 2014, 23:29 
 
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 8
สมาชิก ระดับ 8
ลงทะเบียนเมื่อ: 29 มิ.ย. 2014, 09:57
โพสต์: 667

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


จะถามว่า คนไม่มีศีล ๕ ไม่เข้าวัดฟังธรรม ไม่ถือศีล จะ
ต้องได้รับโทษหมดทุกคนหรือ ต้องตอบว่า
ได้รับหมดทุกคน ตามโทษหนักโทษเบา ไม่มีผู้ใด
จะยกโทษให้ ผู้ไม่เข้าวัดฟังธรรมไม่รู้จักศีล ๕ เลย
ไปฆ่าฟันเขา ไปลักของเขา เล่นเมียเขา หลอกลวงเขา
กินเหล้าเมาสุรา ก็ต้องได้รับโทษตามโทษหนักโทษเบา
ถึงแม้คนที่เข้าวัดฟังธรรมรักษาศีลแต่ทำให้ศีลขาด
คือไปฆ่าฟันเขา ลักของเขา เล่นเมียเขา หลอกลวงเขา
กินเหล้าเมาสุรา ก็ต้องได้รับโทษตามโทษานุโทษเหมือน
กัน
ศีลนั้นเป็นของกลาง จะรู้จักก็ตาม ไม่รู้จักก็ตาม
จะรักษาก็ตาม ไม่รักษาก็ตาม ถ้าล่วงเข้าแล้วต้องมีโทษ
ถ้าไม่ล่วงก็เป็นศีลอยู่เอง จะเป็นคนชาติใดภาษา
ใดก็ตาม จะเป็นคนป่าคนดอย ไม่รู้จักศีล
ไม่รู้จักธรรมเสียเลยก็ตาม ถ้าไปฆ่าฟันเขา ลักของเขา
เล่นเมียเขา หลอกลวงเขา
กินเหล้าเมาสุราก็มีโทษหนักเบาตามโทษานุโทษ
อยู่นั่นเอง ถ้าไม่ทำไม่ล่วงเช่นนั้น ก็ชื่อว่ามีศีลอยู่เย็น
เป็นสุขเหมือนกัน
พึงเข้าใจเถิดว่าโลกจะอยู่เย็นเป็นสุขก็ด้วยศีล เพราะเหตุ
นั้นนักปราชญ์ผู้เป็นต้นศาสนาทุกศาสนา ต้องสอน
ให้รักษาศีล ๕ นี้ทั่วไป เพราะ
เป็นตัวสุจริตธรรมสำหรับโลก จะต่างกันอยู่บ้างก็
เป็นแต่แบ่งหนักแบ่งเบา ดังสอนว่าฆ่าสัตว์กิน
ไม่บาปฆ่ามนุษย์บาปเพียงเท่านั้น ก็พึงเข้าใจว่าสอน
ให้เว้นปาณาติบาตนั้นเอง ส่วนพุทธศาสนาสอน
ให้รักเพื่อนมนุษย์ด้วยกัน คือให้มีเมตตาแก่เพื่อนมนุษย์
และให้แผ่เมตตานั้นทั่วไปถึงสรรพสัตว์ซึ่งมีชีวิตเป็นที่รัก
ด้วย พึงเข้าใจเถิดว่าโทษทุกอย่างต่างเป็นผลไหลมา
จากเหตุ คือไม่มีศีลนั่นเอง ส่วนความสุขที่มนุษย์ทั่วโลก
ได้เสวยอยู่ทุกวันนี้ เป็นผลของศีลธรรม
คือสุจริตธรรมศีล ๕ นั้นเอง
แม้การปกครองบ้านเมืองทุกประเทศ ผู้เป็นเจ้าเป็น
ใหญ่ปรารถนาความอยู่เย็นเป็นสุขแก่ไพร่บ้านพลเมือง
ก็เล็งเอาสุจริตธรรมคือ ศีล ๕ นี้แหละเป็นสเกล ตั้ง
เป็นบาทบทกฎหมายสำหรับป้องกันพวกทุจริต
ด้วยการระวางโทษ มีพิกัดหนักเบาตามโทษานุโทษ
เพราะศีล ๕ เป็นหลักเป็นประธานให้เกิดความสุขแก่โลก
จึงเป็นของควรศึกษาให้เข้าใจ รักษาให้ถูกต้อง การที่
ไม่รู้จักศีล ๕ เป็นแต่ไม่ล่วงละเมิด คือรักษาตัวดี ก็
เป็นบุญเป็นคุณอยู่เหมือนกัน แต่ก็คงสู้ผู้รักษาด้วย
ความรู้ความฉลาดไม่ได้ ไม่ว่าสิ่งใด ๆ หมด ถ้าทำขึ้น
ให้สำเร็จด้วยความรู้ความฉลาด อาจ
เป็นของดีของประณีตได้ คงดีกว่าทำขึ้นให้สำเร็จด้วย
ความโง่เขลาเป็นแน่นอน
เพราะเหตุนั้นพวกเราเป็นพุทธมามกะ ควรศึกษา
ให้รู้จักศีล ๕ และให้รู้จักความสุขและความทุกข์
เป็นผลมาจากเหตุคือมีศีลและไม่มีศีลนั้นเอง
ถ้าพวกเราพากันรักษาให้มาก ๆ ด้วยกัน ก็จัก
เป็นพลเมืองดีด้วยกัน ชื่อว่าเป็นคนกตัญญูต่อชาติ
ศาสนา พระมหากษัตริย์ทั่วกัน บ้านเมืองก็ยิ่งจะรุ่งเรือง
ด้วยโภไคยมไหยสมบัติ และจะสมบูรณ์ด้วย
ความสุขอันไพศาลยิ่งขึ้นไปไม่มีที่สิ้นสุด
ดังบรรยายมาทุกประการนั้นแล.
.................................


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 9 โพสต์ ] 

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 8 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร