วันเวลาปัจจุบัน 19 มี.ค. 2024, 15:46  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


กฎการใช้บอร์ด


รวมกระทู้จากบอร์ดเก่า http://www.dhammajak.net/board/viewforum.php?f=7



กลับไปยังกระทู้  [ 3 โพสต์ ]    Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 14 ก.ค. 2014, 23:45 
 
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 8
สมาชิก ระดับ 8
ลงทะเบียนเมื่อ: 29 มิ.ย. 2014, 09:57
โพสต์: 667

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


รูปภาพ

บัณฑิตลักษณกถา

น เตน ปณฺฑิโต โหติ ... ยาวตา พหุ ภาสติ
เขมี อเวรี อภโย ... ปณฺฑิโตติ ปวุจฺจตีติ.
..........บัดนี้จะแสดงลักษณะแห่งบัณฑิต ตามที่มา
ในคัมภีร์พระธรรมบท เห็นว่า
เป็นสุภาษิตอันน่าจับใจ และเป็นสุภาษิตอันอยู่
ในระหว่างแห่งการศึกษาเล่าเรียนของกุลบุตร
ด้วย ควรใฝ่ใจนำมาเตือนตน จะเป็นประโยชน์แก่ตน
ไม่ใช่น้อย
..........เนื้อความตามพระคาถานั้นว่า “บุคคลผู้จะ
ได้นามว่าบัณฑิต เพียงแต่ว่าเป็นคนมีโวหารมาก
องอาจกล้าหาญ
ในท่ามกลางที่ประชุมมีท่ามกลางสงฆ์เป็นต้นเท่านั้น
จะได้ชื่อว่าเป็นบัณฑิตยังไม่ได้เลย เพราะยังยุ่ง
อยู่แต่ประโยชน์ของผู้อื่น ก็บุคคลผู้ใดทำประโยชน์
ส่วนตนให้สำเร็จ คือ เขมี ให้เป็นผู้เกษมจากโยคะ
อเวรี ให้เป็นผู้หาเวรมิได้ อภโย ให้เป็นผู้หาภัยมิได้
บุคคลผู้นั้นแหละได้นามชื่อว่าเป็น บัณฑิต” มีเนื้อ
ความโดยย่อตามนัยพระคาถาดังนี้
..........ต่อนี้จักอธิบายกระจายเนื้อ
ความแห่งพระคาถานั้นให้กระจ่างขึ้น พอถือเอาเนื้อ
ความนำไปปฏิบัติได้
ข้อต้นที่ปฏิเสธบัณฑิตว่า ผู้มีโวหารมาก พูดมาก
องอาจกล้าหาญในท่ามกลางบริษัทเพียงเท่านั้นจะ
ได้นามบัญญัติชื่อว่าเป็นบัณฑิตยังไม่ได้เลยดังนี้
ก็คือว่าตินักเทศน์นั่นเอง เพราะได้แต่สอนคนอื่น หัดพูด
หัดจา หัดเทศนา เป็นน้ำไหลไฟดับไป
ใครฟังก็ไพเราะจับใจ ถูกนิมนต์ไม่หยุด แต่ประโยชน์
ส่วนตนก็ได้แต่เครื่องกัณฑ์ของเขาเท่านั้น
ท่านแสดงไว้ว่า “สกฺกาโร กาปุริสํ หนฺติ”
เครื่องสักการะย่อมฆ่าเสียซึ่งบุรุษผู้น่าเกลียดดังนี้
ย่อมได้แก่บุคคลผู้ไม่สอนตนเช่นนั้น ท่านจึงแสดงไว้ว่า
ยังนับว่าเป็นบัณฑิตไม่ได้ เพียงเป็นคนพูดมากเท่านั้น
ดังนี้จึงทรงแสดงลักษณะแห่งบัณฑิตต่อไปว่า เขมี
ผู้เกษมจากโยคะ คำที่ว่าเกษมนั้นคือมีความสุข
ความสำราญเบิกบานใจ เพราะปราศจากโยคะ
คำว่า โยคะ นั้น คือกิเลสเครื่องสัมปยุตด้วยใจ
เครื่องประกอบกับใจ ได้แก่
กามโยคะ ความรักใคร่พัวพันในกิเลสกาม
และวัตถุกามประการหนึ่ง
ภวโยคะ คือกิเลสเครื่องสวมใจ คือ ภวะ ได้แก่ ความ
เป็นความมี เป็นอะไรก็เกี่ยวเกาะอยู่ในอันนั้น มีสิ่ง
ใดก็เกี่ยวเกาะอยู่ในสิ่งนั้น ถอนตนออกจากความเป็น
ความมีไม่ได้ ชื่อว่า ภวโยคะ ประการหนึ่ง
ทิฏฐิโยคะ คือกิเลสเครื่องรัดใจคือทิฏฐิ ได้แก่
ความเห็นวิปลาส ดังพวกที่เห็นว่าบุญบาปไม่มี
สวรรค์นรกไม่มี สัตว์ดีเองชั่วเอง ตายแล้วสูญ
ไม่เกิดอีก การที่ทำบุญ
ให้ทานรักษาศีลเสียเวลาเปล่า ๆ พวกที่ทำบุญ
ให้ทานนั้นเป็นคนโง่หาปัญญามิได้
ความเห็นอย่างนี้ชื่อว่าทิฏฐิวิปลาส
นิสัยของมนุษย์เราถ้าได้เห็นจริงแล้ว
ถึงจักเลวทรามสักปานใดก็แก้ยาก เพราะกินใจเสีย
แล้ว ดังแขกเจ้าเซ็นเป็นตัวอย่าง ศาสนาทั้งหลาย
เขาถือ เขาได้ความสุข ส่วนศาสนาของตัว
ต้องเดือดร้อน ถึงฤดูปีต้องถูกเกณฑ์ทุบอก
และกรีดเลือดบูชาพระเป็นการลำบาก
เป็นศาสนาเบียดเบียนตน แต่ติดเสียแล้ว ความติด
นั้นแหละชื่อว่าเกี่ยวเกาะ คือเห็นของตนดีพอแล้ว
เห็นของผู้อื่นเลวทราม สู้ความประพฤติของพวกตนไม่
ได้
เรื่องของทิฏฐิเป็นของสำคัญมาก ถ้าคบครูวิปลาส
อาจทำตนให้เสียหายจากความดีได้จริงจัง
บรรดาศาสดาต่าง ๆ ที่ปลีกตนออกไป
จากพุทธศาสนา ตกอยู่ในทิฏฐิวิปลาสทั้งนั้น
เพราะเหตุนั้น ทิฏฐิท่านจึงจัดเข้า
ในประเภทแห่งกิเลสเครื่องเหนี่ยวใจสัตว์ประการหนึ่ง
อวิชชา ความไม่รู้ตนก็นับว่าเป็น อวิชชาโยคะ คือ
เป็นกิเลสเครื่องสัมปยุตเกี่ยวเกาะเหมือนกัน ความ
ไม่รู้ตนชื่อว่าอวิชชา ไม่รู้ว่าอะไรเป็นตน ไม่รู้ว่าตน
เป็นอะไร
ไม่รู้ว่าอะไรเป็นตนนั้น รู้แต่เพียงว่า นาม รูป ธาตุ
ขันธ์ อายตนะเท่านั้นเป็นตน แต่ก็ไม่แน่ยังลังเลยังเห็น
อยู่ว่า นาม รูป ธาตุ ขันธ์ อายตนะ เป็นอนัตตาไม่ใช่ตน
จะเห็นลงแน่นอนว่าอะไรเป็นตน อะไรไม่ใช่ตน
ก็เห็นลงไม่ได้
ที่ว่าไม่รู้ว่าตนเป็นอะไรนั้น คือไม่รู้ว่าตนของเรา
เป็นคนพาลหรือเป็นบัณฑิต ตนของเราเป็นโสดา
สกิทาคา อนาคา อรหันต์ หรือเป็นอะไรไม่เข้าใจ
อย่างนี้แหละชื่อว่าอวิชชาไม่รู้ตน ความที่ไม่รู้ตนเช่น
นั้นย่อมเป็นกิเลสเครื่องหน่วงเหนี่ยวให้
เป็นหลักตอจมอยู่ในวัฏสงสารประการหนึ่ง
ถ้าโยคะทั้ง ๔ นี้ ยังรึงรัดเกี่ยวเกาะอยู่แก่บุคคลผู้ใด
บุคคลผู้นั้นย่อมไม่ได้รับ
ความสุขอันบริสุทธิ์ที่ว่านิรามิสสุขเลย
ผู้ที่กำจัดโยคะทั้ง ๔ นั้นออกจากตนได้แล้ว จึงจะ
ได้ประสบนิรามิสสุข อันเป็นความสุขอันสะอาด
ปราศจากมลทิน จึงชื่อว่า เขมี นี้
เป็นลักษณะของบัณฑิตประการหนึ่ง


แก้ไขล่าสุดโดย สยามนุภาพ เมื่อ 15 ก.ค. 2014, 00:08, แก้ไขแล้ว 1 ครั้ง

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 14 ก.ค. 2014, 23:55 
 
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 8
สมาชิก ระดับ 8
ลงทะเบียนเมื่อ: 29 มิ.ย. 2014, 09:57
โพสต์: 667

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


อเวรี ผู้ไม่มีเวร คือผู้เว้นจากการก่อกรรมก่อเวร
ใส่ตัว ที่ท่านตั้งไว้ว่าปัญจเวรวิรัติ ให้เว้นจากเวร ๕
ประการ คือรักษาศีล ๕ นั้นเอง
การที่ไม่รักษาศีล ๕ ก็คือสร้างกรรมสร้างเวร
ใส่ตนนั่นเอง ถ้าเราฆ่าสัตว์เบียดเบียนสัตว์
โทษแห่งการฆ่าการเบียดเบียนนั้น ก็จักตลบมา
ถึงตนในคราวหนึ่ง ถ้าเราลักขโมยของเขา
โทษคือการลักการขโมยนั้น ก็คงจะมา
ถึงตัวเราวันหนึ่ง ถ้าเราประพฤติมิจฉาจาร
โทษแห่งมิจฉาจารนั้น ก็คงจะมาอำนวยผล
ให้แก่เราวันหนึ่ง ถ้าเรากล่าวคำเท็จ คำหยาบ
คำส่อเสียด คำโปรยประโยชน์ โทษเหล่านั้น
ก็จักตามมาสนองแก่เราวันหนึ่งไม่เร็วก็ช้าเท่านั้น
ถ้าเราดื่มน้ำเมา โทษแห่งความดื่มความเมา
ก็จักตลบมาถึงตัวของเราวันหนึ่งโดยไม่ต้องสงสัย
จึงชื่อว่าสร้างกรรมสร้างเวรใส่ตน
ผู้ที่เว้นการฆ่าสัตว์ ลักทรัพย์ เว้นมิจฉาจาร
เว้นมุสาวาท ผรุสวาท เปสุญญวาท สัมผัปปลาปวาท
เว้นดื่มน้ำเมา โทษทั้ง ๕ ประเภทนี้ จะ
ได้เกิดมีแก่บุคคลจำพวกนั้นไม่มีเลย จึง
ได้ชื่อว่าปัญจเวรวิรัติ เว้นจากเวร ๕ ผู้ที่เว้นจากเวร
๕ นี้ได้ จึงได้ชื่อว่า อเวรี ผู้หาเวรมิได้
เป็นลักษณะของบัณฑิตประการหนึ่ง
..........ข้อที่ว่า อภโย ผู้ไม่กลัวนั้น ต้องเป็นผลไป
จาก เขมี และ อเวรี
จะบรรยายความกลัวเสียก่อน คือกลัว
ในที่ประชุมชน กลัวเสื่อมลาภเสื่อมยศ กลัว
เขาติเตียน นินทาว่าร้ายต่าง ๆ กลัวเขา
จะมาปองร้ายฆ่าฟัน กลัวโทษทัณฑ์จะ
ต้องเสียเงินทองทรัพย์สิน
กลัวติดคุกติดตะรางจำจอง ความกลัวเหล่านี้
เกิดแต่กรรมคือความทำของตน เมื่อตนทำลงไว้
แล้วชื่อว่าเวร คือจะต้องนำทุกข์ตลบมาทับตน
เพราะความทำของตน อเวรี ผู้ไม่มีเวรนั้นคือ บุคคล
ผู้มีศีล ๕ ถ้าผู้ใดมีศีล ๕ แล้ว
ความกลัวที่บรรยายมานี้อาจจักป้องกันได้ ศีล ๕
จึงชื่อว่า ปัญจเวรวิรัติ ผู้เว้นจากเวร ๕ เพราะ
ไม่กลัวทุกข์เหล่านี้ จึงได้ชื่อว่า อภโย ผู้หาภัยมิได้
แต่ความกลัวอีกประการหนึ่ง คือกลัวยากกลัวจน
กลัวอดตาย กลัวไม่เทียมเขา กลัววัฏทุกข์
คือกลัวเกิด กลัวแก่ กลัวเจ็บ กลัวไข้ กลัวตาย
กลัวเวียนว่ายตายเกิด ถือเอากำเนิดในภพน้อยภพใหญ่
ความกลัวประเภทนี้เกิดแต่ อเขมี ผู้ไม่เกษมจากโยคะ
โยคะนั้นได้แก่กิเลสเครื่องสวมใจ เครื่องโยงใจ
ได้แก่กามคุณทั้ง ๕ คือรูป เสียง กลิ่น รส
เครื่องสัมผัส และภพคือวัตถุที่มีที่เป็น
อยู่ทุกสิ่งทุกอย่าง ตั้งต้นแต่อัตภาพของตนไป อยากให้มี
อยู่เป็นอยู่อย่างนี้ร่ำไป ส่วนวัตถุภายนอกที่มีอยู่
แล้วก็อยากให้มีอยู่ร่ำไป ส่วนยังไม่มีก็อยากให้มีขึ้น
ความทะยานอยากซึ่งสัมปยุตกับใจอย่างนี้จึงชื่อว่าโยคะ
ได้แก่ผู้ตั้งตัวเป็นเจ้าของกาม เจ้าของภพนั้นเอง
กิเลสคือความอยากความปรารถนา อัน
ได้นามชื่อโยคะนี้แหละเป็นเหตุแต่งทุกข์เหล่านี้
ให้เกิดขึ้น จึงชื่อว่า อเขมี ผู้ไม่เกษม คือเป็นผู้
ไม่ประเสริฐ เป็นผู้ไม่วิเศษ เป็นผู้กลัว ชื่อว่าผู้มีภัย
..........ถ้าผู้ใดกำจัด โยคะ ทั้ง ๔ มี กามโยคะ
เป็นต้นออกเสียได้ ไม่ยอมตนเป็นเจ้าของกาม ไม่ยอมตน
เป็นเจ้าของภพได้เมื่อใด ผู้นั้นก็ได้ชื่อว่า เขมี ผู้เกษม
จากโยคะ คือเป็นผู้ประเสริฐ เป็นผู้วิเศษ เป็นผู้
ไม่มีกลัว ชื่อว่า อภโย ผู้หาภัยมิได้
ที่ท่านแสดงเอา เขมี ไว้หน้า เพราะ เขมี
อย่างเดียวครอบ อเวรี ได้ ถ้าผู้เกษมจากโยคะได้
แล้ว ย่อมเป็นผู้ไม่มีเวรไม่มีภัยอยู่เอง อภโย ชั้น
อเวรี ยังต่ำ แต่ก็ยังนับว่าเป็นบัณฑิตได้ชั้นหนึ่ง ถ้า
อภโย ชั้น เขมี นับว่าเป็นยอดของบัณฑิตแท้
ให้พุทธบริษัทผู้ได้สดับพึงรู้ตนว่า ตนเป็นคนพาล
หรือเป็นบัณฑิตด้วยพุทธภาษิตน


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 15 ก.ค. 2014, 00:00 
 
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 8
สมาชิก ระดับ 8
ลงทะเบียนเมื่อ: 29 มิ.ย. 2014, 09:57
โพสต์: 667

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


การรู้ตนว่าเป็นธรรมประเภทใด เรียกว่า
อัตตัญญู ในสัปปุริสธรรมข้อที่ ๑ ว่า ธัมมัญญู
รู้ธรรม คือรู้สกลกายของตนนี้ว่าเป็นธรรมดา
เป็นมาอย่างใดก็เป็นไปอย่างนั้น เป็นอสังขตธรรม
หรือเป็นอพยากตธรรม ส่วนคุณธรรม
เป็นของอาศัยอพยากตธรรมเกิดขึ้น ท่านจัดไว้เป็น ๒
คือ กุศลได้แก่ความฉลาด ๑ อกุศลได้แก่ความโง่ ๑
จะถือเอาเนื้อความว่า อพยากตธรรมแต่งให้
ความฉลาดความโง่เกิดขึ้นก็ได้ จะถือเอาเนื้อความว่า
ความฉลาดความโง่อาศัยอพยากตธรรมเกิดขึ้นก็ได้
เปรียบเหมือนแผ่นดินซึ่งเป็นประธานอยู่เฉย ๆ
แต่มีบ่อเพชรบ่อพลอยบ่อเงินบ่อทองบ่อโลหธาตุต่างๆ
มีต้นไม้ต้นหญ้าและสรรพสัตว์เต็มแผ่นดิน
จะถือเอาเนื้อความว่า แผ่นดินให้สรรพวัตถุ
และสรรพสัตว์เกิดขึ้นก็ได้ จะถือเอาเนื้อความว่า
สรรพวัตถุและสรรพสัตว์อาศัยแผ่นดินเกิดขึ้นก็
ได้ เหมือนกัน
กับบุญบาปดีชั่วอาศัยอพยากตธรรมเกิดขึ้นฉะนั้น
ถ้าเข้าใจอย่างนี้แล้ว จะได้รู้จักตัวธรรม
และรู้จักคุณธรรม สังขตธรรมทั้งสิ้น
เป็นคุณธรรม มีทั้งดีทั้งชั่ว อกุศลความโง่เกิดแต่มูล
๓ ชื่ออกุศลมูล คือ ความโลภ ความโกรธ
ความหลง เป็นผู้แต่ง ผู้ใดลุอำนาจแห่งมูล ๓ นี้
ตั้งหน้าทำกรรมอันเป็นบาปร่ำไปตามอำนาจของเขา
ชื่อว่าทำไปด้วยความโง่ จะได้รับทุกข์เป็นผล
ยิ่งทำมากขึ้นเท่าใด ก็จักทวีทุกข์ให้มากขึ้นเท่านั้น
คนจำพวกนั้นท่านจึงให้นามว่า พาโล แปลว่าคนเขลา
อกุศลมูลมีในธรรมก้อนใด
ธรรมคือสกลกายก้อนนั้น ชื่อว่าอกุสลา ธัมมา
ส่วนกุศลคือความฉลาด ก็เกิดแต่มูล ๓ เหมือนกัน
แต่เรียกว่ากุศลมูล ได้แก่ความไม่โลภ ไม่โกรธ
ไม่หลง เป็นผู้แต่ง ผู้ใดอยู่ในอำนาจแห่งกุศลมูล ๓ นี้
ก็ตั้งหน้าทำแต่กรรมอันเป็นบุญ มี
ให้ทานรักษาศีลบำเพ็ญเมตตาภาวนา ทำสมาธิ
และปัญญาให้เจริญขึ้น ยิ่งทำมากขึ้นเท่าใด ก็ยิ่งทวี
ความสุขให้ยิ่งขึ้นเท่านั้น บุคคลจำพวกนั้นท่านจึง
ให้ชื่อว่า ปัณฑิโต ผู้ฝึกตนได้ กุศลมีในธรรมก้อนใด
ธรรมคือสกลกายก้อนนั้นชื่อว่ากุสลา ธัมมา
กุศลอกุศลเป็นสังขตธรรมแต่งเอาได้
ใครชอบบาปก็แต่งเอาบาป ใครชอบบุญก็แต่งเอาบุญ
ใครชอบเพียงโลกิยธรรมก็แต่งเอาโลกิยธรรม
ใครชอบโลกุตรธรรมก็แต่งเอาโลกุตรธรรม
ธรรมชาติของสังขตธรรม ย่อมแต่งเอา
ได้ตามชอบใจ ส่วนอสังขตธรรมแต่งเอาไม่ได้
เหมือนอย่างร่างกายของเราแต่งเอาไม่ได้ ได้มาอย่าง
ใดก็อาศัยไปอย่างนั้นจนตาย แต่ว่าก็ต้องอาศัยความแต่ง
นั้นแหละ ร่างกายจึงเป็นอยู่ได้
ร่างกายเป็นตัวสภาวธรรม ความแต่ง
เป็นคุณของสภาวธรรมนั้น จึงเรียกว่าคุณธรรม
ส่วนคุณธรรมนั้นมีทั้งชั่วและดี
คือกุศลอกุศลตลอดถึงโลกิยกุศล
และโลกุตรกุศล จะต้องมาแสดง
ให้ปรากฏที่สภาวธรรมคือสกลกายนี้ พึงรู้
ไว้ว่าร่างกายนี้เป็นธรรม แต่จะรู้ว่า
เป็นธรรมประเภทไร ต้องรู้ด้วยคุณธรรม
เป็นเครื่องแสดง ในสัปปุริสลักษณะ ท่านจึงแสดง
ไว้ว่า ธัมมัญญู ผู้รู้ธรรม ก็คือรู้ตนเป็นธรรม
อัตถัญญู รู้เนื้อความ คือรู้คุณของธรรม ที่เรียก
กันว่าคุณธรรมมีมากถึง ๘๔,๐๐๐ จะแสดงไว้พอเข้าใจ
ความ ศีล สมาธิ ปัญญา วิชชา วิมุตติ มรรค ผล
นิพพาน เป็นต้น เป็นคุณธรรม บรรดาคุณธรรม
นั้น ๆ เราเข้าใจ เรารู้ลักษณะของคุณธรรมนั้น ๆ
ชื่อว่า อัตถัญญู ผู้รู้เนื้อความ
อัตตัญญู ผู้รู้ตนนั้น หมายผู้รู้ธรรมเป็นตน รู้ตน
เป็นธรรม ที่ว่ารู้ธรรมเป็นตนนั้น
คือรู้ว่าสกลกายนี้แหละเป็นธรรม
คือสภาวธรรมที่ว่ารู้ตนเป็นธรรม
นั้นคือรู้คุณของธรรม รู้ว่าตัวของเรา เป็นศีล
เป็นสมาธิ เป็นปัญญา เป็นวิชชา เป็นวิมุตติ เป็นมรรค
เป็นผล เป็นนิพพาน รู้อย่างนี้ชื่อว่า อัตตัญญู รู้ตน
คือรู้ว่าตนของเราเดี๋ยวนี้เป็นธรรมประเภทนี้ ๆ
ความรู้ตนนี้แหละชื่อว่าวิชชา ถ้าไม่รู้ตนเช่นนั้น
เป็นอวิชชา
เมื่อรู้ตนว่าเป็นธรรมประเภทใด ก็ชื่อว่า
ได้ธรรมประเภทนั้นไว้เป็นที่พึ่ง เป็นคนไม่ลังเล
มีตนเป็นสรณะเป็นที่พึ่ง
ถ้าตกอยู่ในอำนาจของอวิชชา แล้วจะหาที่พึ่งไม่ได้
มองดูอะไรก็เป็นของไม่เที่ยงไปหมด มองดูอะไรก็
เป็นทุกข์ไปหมด มองดูอะไรก็เป็นอนัตตาไปหมด
เลยเห็นเป็นของสูญกลายเป็นอนัตตาสูญไป ของที่มี
อยู่คือสกลกายนี้ ก็เลยเสกให้มันสูญไปซ้ำ
ทีนี้คุณพระพุทธ คุณพระธรรม คุณพระสงฆ์
คุณบิดามารดา คุณครูบาอาจารย์ คุณทาน คุณศีล
คุณภาวนา ก็ขาดลอยหมด เป็นเรือไม่มีแจวไม่มีพาย
เป็นคนหมดที่พึ่งที่หวัง กลาย
เป็นนิพพานอวิชชานิพพานอนัตตาไป
เป็นนิพพานของคนยากคนจน ชาตินี้ก็จน
ตายไปก็ไปจนอีก
นิพพานของพระพุทธเจ้าเป็นนิพพานมั่งมี
ต้องบริบูรณ์ไปด้วยพระบารมี มีทานศีลเป็นต้น
มีอริยทรัพย์ ๗ มีศรัทธาเป็นต้น มีโพธิปักขิยธรรม
มีสติปัฏฐานเป็นต้น อริยทรัพย์ภายในบริบูรณ์
ทรัพย์ภายนอกก็ล้นเหลือ บุคคลผู้บริบูรณ์เช่น
นั้นจึงไปนิพพานของพระพุทธเจ้าได้ พวกคนจนไปไม่
ได้เลย ให้ดูความมั่งมีของพระพุทธเจ้า
และพระสาวกเป็นตัวอย่าง เห็นใครบ้างเป็นคนจน
ล้วนแต่เป็นผู้ตั้งอยู่ในภูมิ มหาลาโภ มหาโภโค
มหายโส มหาปริวาโรทั้งนั้น จึง
เป็นพระนิพพานน่ายินดีจะไป ลาภ ยศ สรรเสริญ
ความสุขเป็นของพระอริยเจ้า เป็นแต่ท่านเป็นผู้ไม่ติด
ท่านไม่ให้โลกธรรมมาท่วมทับท่านได้ ท่านเป็นผู้
อยู่เหนือโลกธรรมสบายใจ
ถ้าผู้ใดชอบใจนิพพานของพระพุทธเจ้าเป็นนิพพานมั่งมี
อย่าพากันหมิ่นประมาททาน ศีล ภาวนา
เพียรบำรุงจรณธรรม มีโพธิปักขิยธรรม
เป็นต้นให้บริบูรณ์ เพียงแต่เดินทางถูกเท่านี้ได้
ความสุขสบายเสียแล้ว ถ้าได้สำเร็จพระนิพพานจะมี
ความสุขสักเพียงไร ข้อนั้นจะพึงวินิจฉัยได้
ด้วยมรรคปฏิปทา คือผู้ดำเนินในอริยมรรค จะ
ได้เห็นความสุขด้วยตน มรรคเป็นแต่ทางปฏิบัติ ยัง
ได้รับผลความสุขถึงเพียงนี้ คาดความสุข
ในพระนิพพานได้
การที่แสดงมานี้ มีประสงค์จะให้รู้ตนเป็นข้อสำคัญ
ผู้รู้ตนรักตนฝึกหัดตน ให้ทรงไว้
ซึ่งคุณธรรมชั้นสูงตลอดถึงนิพพานธรรมชื่อว่า
เป็นยอดแห่งบัณฑิต ผู้ใดต้องการเป็นบัณฑิต
พึงมนสิการทำให้สำเร็จประโยชน์ของตนเทอญ.
...........................


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 3 โพสต์ ] 

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 14 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร