วันเวลาปัจจุบัน 26 เม.ย. 2024, 15:54  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


กฎการใช้บอร์ด


รวมกระทู้จากบอร์ดเก่า http://www.dhammajak.net/board/viewforum.php?f=7



กลับไปยังกระทู้  [ 2 โพสต์ ]    Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 28 ก.พ. 2013, 19:44 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 07 มิ.ย. 2011, 10:18
โพสต์: 590

โฮมเพจ: www.bhuddhakhun.blogspot.com
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว www


รูปภาพ

ทำไมพระพุทธองค์ทรงเลือกเฟ้นสัมมาปฏิปทาแห่งทางสายกลาง


ความหมายของคำว่า “มัชฌิมาปฏิปทา” แบ่งออกเป็น ๒ นัย คือ “มัชฌิมา” แปลว่า กลาง ไม่หนักเกินไป ไม่เบาเกินไป “ปฏิปทา” แปลว่า แนวทางประพฤติปฏิบัติ เมื่อนำความหมายมารวมกัน “มัชฌิมาปฏิปทา” แปลว่า “ทางสายกลาง” ซึ่ง (๑) ว่าด้วยการเว้น “ที่สุด” ๒ อย่าง นั่นคือเรียกว่า “อันตา ๒” คือ ที่สุด ข้อปฏิบัติหรือการดำเนินชีวิตที่เอียงสุด ผิดพลาดไปจากทางอันถูกต้องคือ “มัชฌิมาปฏิปทา” ได้แก่

(๑) แนวคิดที่ ๑ กามสุขัลลิกานุโยค หมายถึง การหมกมุ่นอยู่ด้วยกามสุข โดยสำคัญผิดว่าเป็นแนวทางแห่งความหลุดพ้นสู่สันติบท ดังเช่น ชีวิตฆราวาสของพระพุทธองค์ที่ได้รับการเสพบำเรอด้วยกามสุขอย่างล้นเหลือ คือ กามราคะและโภคทรัพย์ ซึ่งเป็นไปตามความเชื่อกระแสคติขัตติยะอินเดียโบราณ โดยความหวั่นไหวว่าพระองค์จะทรงออกผนวชตามคติที่สองว่า จะได้เป็นจอมศาสดาผู้ยิ่งใหญ่ในโลก

(๒) แนวคิดที่ ๒ อัตตกิลมถานุโยค หมายถึง การประกอบความลำบากเดือดร้อนแก่ตนเอง การบีบคั้นทรมานตนให้เดือดร้อน โดยสำคัญผิดว่าเป็นแนวทางแห่งความหลุดพ้นสู่สันติบท ดังเช่น พระพุทธองค์ทรงบำเพ็ญทุกรกิริยามาก่อน ซึ่งเป็นไปคติของพราหมณ์และฮินดู คือ ความเคร่งครัดในศีลพรต (สีลัพพตปรามาส) ด้วยวิธีที่เรียกว่า “กฎประกาศิต” (Prescriptivism) นั่นคือ การขาดเหตุผลทั้งทางภาคทฤษฎีและภาคปฏิบัติ ซึ่งตรงกันข้ามกับ “มัชฌิมาปฏิปทา” ที่เป็น “กฎแบบเชิงพรรณนา” (Descriptivism) ตามเหตุผลที่เป็นจริงโดยอิงกับข้อมูลที่ปรากฏจริงตามธรรมชาติ

สำหรับ (๒) ว่าด้วย “อริยสัจจ์ ๔” ซึ่งพระพุทธเจ้าได้ตรัสรู้ญาณ ๓ (สัจจญาณ กิจจญาณ กตญาณ) คือ ญาณทัสสนะอันมีปริวัฏฏ์ ๓ อันทำให้พระองค์สามารถปฏิญาณว่า ได้ตรัสรู้ “อนุตรสัมมาสัมโพธิญาณ” คือ ญาณแห่งความตรัสรู้เองโดยชอบอันยอดเยี่ยม ซึ่ง “มัชฌิมาปฏิปทา” หมายถึง “มรรคมีองค์ ๘” นั่นเอง “อริยสัจจ์ ๔” คือ ความจริงอันประเสริฐที่ทำให้ผู้เข้าถึงกลายเป็น “อริยบุคคล” ได้แก่

(๑) ทุกข์ คือ ความทุกข์ สภาพที่ทนได้ยาก สภาวะที่บีบคั้น ขัดแย้ง บกพร่อง ขาดแก่นสารและความเที่ยงแท้ ไม่ให้ความพึงพอใจแท้จริง ได้แก่ ชาติ ชรา มรณะ การประจวบกับสิ่งอันไม่เป็นที่รัก การพลัดพรากจากสิ่งที่รัก ความปรารถนาไม่สมหวังโดยย่อว่า “อุปาทานขันธ์ ๕” เป็นทุกข์

(๒) ทุกขสมุทัย คือ เหตุเกิดแห่งทุกข์ สาเหตุให้ทุกข์เกิด ได้แก่ ตัณหา ๓ คือ กามตัณหาภวตัณหา และ วิภวตัณหา

(๓) ทุกขนิโรธ คือ ความดับทุกข์ ได้แก ่ ภาวะที่ตัณหาดับสิ้นไป ภาวะที่เข้าถึงเมื่อกำจัดอวิชชา สำรอกตัณหาสิ้นแล้ว ไม่ถูกย้อม ไม่ติดข้อง หลุดพ้น สงบ ปลอดโปร่ง เป็นอิสระ คือ “นิพพาน”

(๔) ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา คือ สัมมาปฏิปทาที่นำไปสู่ความดับแห่งทุกข์ ข้อปฏิบัติให้ถึงความดับทุกข์ ได้แก่ “อริยอัฏฐังคิกมรรค” หรือเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า “มัชฌิมาปฏิปทา” แปลว่า “ทางสายกลาง” มรรคมีองค์ ๘ นี้ สรุปลงในไตรสิกขา คือ ศีล สมาธิ ปัญญา

ตามความเป็นจริง “มัชฌิมาปฏิปทา” หมายถึง “มรรคมีองค์ ๘” คือ “อัฏฐังคิกมรรค” เรียกเต็มว่า “อริยอัฏฐังคิกมรรค” แปลว่า “ทางมีองค์แปดประการอันประเสริฐ” ได้แก่

(๑) สัมมาทิฏฐิ คือ เห็นชอบ ได้แก่ ความรู้อริยสัจจ์ ๔ หรือ เห็นไตรลักษณ์ หรือรู้อกุศลและอกุศลมูลกับกุศลและกุศลมูล หรือเห็นปฏิจจสมุปบาท
(๒) สัมมาสังกัปปะ คือ ดำริชอบ ได้แก่ เนกขัมมสังกัปป์ อพยาบาทสังกัปป์ อวิหิงสาสังกัปป์
(๓) สัมมาวาจา คือ เจรจาชอบ ได้แก่ วจีสุจริต ๔
(๔) สัมมากัมมันตะ คือ กระทำชอบ ได้แก่ กายสุจริต ๓
(๕) สัมมาอาชีวะ คือ เลี้ยงชีพชอบ ได้แก่ เว้นมิจฉาชีพ ประกอบสัมมาชีพ
(๖) สัมมาวายามะ คือ พยายามชอบ ได้แก่ ปธาน หรือ สัมมัปปธาน ๔
(๗) สัมมาสติ คือ ระลึกชอบ ได้แก่ สติปัฏฐาน ๔
(๘) สัมมาสมาธิ คือ ตั้งจิตมั่นชอบ ได้แก่ ฌาน ๔

หลักธรรม “มรรคมีองค์ ๘” จะสนับสนุนแนวคิด (Approach) ในการค้นหาวิธีเพื่อความสำเร็จในความตรัสรู้บรรดาธรรมที่ทำให้เป็นอริยบุคคล ในการค้นหาความจริงอันประเสริฐ เรียกว่า “อริยสัจจ์ ๔” ซึ่งอยู่บนหลักการที่ว่า ต้องผ่านกระบวนการทำให้ไตรสิกขาเกิดความบริสุทธิ์สมบูรณ์ ได้แก่ ศีล สมาธิ ปัญญา ตามปกติให้กลายเป็น อธิสีลสิกขา อธิจิตตสิกขา อธิปัญญาสิกขา พระพุทธองค์ทรงเน้นความตรัสรู้ทั้ง “เจโตวิมุตติ” คือ ความสิ้นอาสวะด้วยอำนาจทางสมาธิ ซึ่งเป็นด้านสมถภาวนาและ “ปัญญาวิมุตติ” คือ ความสิ้นอาสวะด้วยอำนาจทางปัญญา ซึ่งเป็นด้านวิปัสสนาภาวนา

อันดับสุดท้าย คือ (๓) ว่าด้วย “กฎธรรมชาติ” เพราะการค้นหาความจริงโดยปรมัตถ์ ซึ่งเป็นความหมายอันสูงสุด (Ultimate Meaning) คือ คำอธิบายหรือพรรณนาถึงปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นตามความเป็นจริงในธรรมชาติ ปราศจากการปรุงแต่งด้วยปัจจัยทั้งหลาย เช่น ไตรลักษณ์ ปฏิจจสมุปบาท–อิทัปปัจจยตา ธรรมนิยาม หรือ ปัจจัย ๒๔ ซึ่งเป็น “ความรู้ที่บริสุทธิ์” (Pure Knowledge) หรือ “โลกุตตรสัมมาทิฏฐิ” เรียกอีกอย่างว่า “โลกุตตรปัญญา” หมายถึง ปัญญาที่สัมปยุตต์ด้วยโลกุตตรมรรค ความรู้ที่พ้นวิสัยของโลก หรือความรู้ที่ช่วยคนให้พ้นโลก ซึ่งทั้งหลายทั้งปวงนั้น หมายถึง “อริยสัจจธรรม” นั่นเอง

อาจารย์นิธี ศิริพัฒน์

.....................................................
รูปภาพ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 06 มี.ค. 2013, 01:18 
 
ออฟไลน์
อาสาสมัคร
อาสาสมัคร
ลงทะเบียนเมื่อ: 17 ก.ย. 2012, 15:32
โพสต์: 2876


 ข้อมูลส่วนตัว


:b8: บทธรรมนี้ดีมากค่ะ โมทนาค่ะ :b27:


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 2 โพสต์ ] 

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 63 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร