วันเวลาปัจจุบัน 27 เม.ย. 2024, 05:04  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


กฎการใช้บอร์ด


รวมกระทู้จากบอร์ดเก่า http://www.dhammajak.net/board/viewforum.php?f=7



กลับไปยังกระทู้  [ 1 โพสต์ ]    Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 10 ต.ค. 2012, 14:39 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 14 ก.ย. 2010, 20:29
โพสต์: 5111

แนวปฏิบัติ: พิจารณากาย
สิ่งที่ชื่นชอบ: มณีรัตน์,พระผู้เป็นดั่งผ้าขี้ร้วห่อทอง
อายุ: 39

 ข้อมูลส่วนตัว


รูปภาพ

อปัณณกสูตร (ม.ม.๒๐/๒๒๓)

อปัณณกธรรม

[๑๐๔] พระผู้มีพระภาคได้ตรัสกะพราหมณ์และคฤหบดีชาวบ้านศาลาผู้นั่งเรียบร้อยแล้ว
ว่า ดูกรคฤหบดีทั้งหลาย ศาสดาคนใดคนหนึ่ง ซึ่งเป็นที่ชอบใจของท่านทั้งหลาย เป็นที่ให้
ท่านทั้งหลายได้ศรัทธาอันมีเหตุ มีอยู่หรือ?

พราหมณ์และคฤหบดีกราบทูลว่า
ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ศาสดาคนใดคนหนึ่ง ซึ่งเป็นที่ชอบใจของข้าพระพุทธเจ้าทั้งหลาย เป็นที่ให้ข้าพระพุทธเจ้าทั้งหลายได้ศรัทธาอันมีเหตุ หามีไม่.


ดูกรพราหมณ์และคฤหบดีทั้งหลาย เมื่อท่านทั้งหลายยังไม่ได้ศาสดาที่ชอบใจ พึงสมาทาน
"อปัณณกธรรม" นี้แล้วประพฤติ ด้วยว่าอปัณณกธรรมที่ท่านทั้งหลายสมาทานให้บริบูรณ์แล้ว จักเป็น
ไปเพื่อประโยชน์เกื้อกูล เพื่อความสุขแก่ท่านทั้งหลายสิ้นกาลนาน


:b42:

คัดลอกข้อความจากพระสูตรฉบับเต็ม
พระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๓ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๕
มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ (อปัณณกสูตร)

http://www.84000.org/tipitaka/pitaka2/v.php?B=13&A=1833&Z=2382

:b42: :b42:


:b48: สรุปพระสูตร :b48:


:b41: ๑. พระพุทธเจ้าทรงแสดงว่า แม้จะไม่นับถือใครเป็นศาสดา แต่ก็ควรมีอปัณกธรรม
คือ หลักความเชื่อหรือหลักปฏิบัติที่ถูกต้อง สำหรับเป็นหลักดำเนินของชีวิต
เพื่อประโยชน์และความสุขของชีวิตตลอดไป


:b41: ๒. พระพุทธเจ้าทรงแสดงว่า ลัทธิหรือความเชื่อที่ไม่ถูกต้องนั้น มีดังนี้

๒.๑) ลัทธิหรือความเชื่อประเภท "นัตถิกทิฏฐิ"
ที่เชื่อว่า ไม่มีอะไร เช่น ไม่มีความดี ไม่มีความชั่ว ไม่มีโลกนี้โลกหน้า
ไม่มีบิดา มารดา ไม่มีโอปปาติกสัตว์ ไม่มีผู้ปฏิบัติดีปฏิบัติชอบ

คนที่เชื่อลัทธิแบบนี้ย่อมไม่สนใจที่ประพฤติกุศลธรรม
คือ กายสุจริต วจีสุจริต มโนสุจริต แต่จะประพฤติแต่อกุศลธรรม
คือ กายทุจริต วจีทุจริต และมโนทุจริต
เพราะเขาเชื่อว่า ไม่มีความดีความชั่ว

ลัทธิแบบนี้ ย่อมนำไปสู่ความเชื่อที่ผิด (มิจฉาทิฏฐิ) ความคิดที่ผิด (มิจฉาสังกัปปะ)
การพูดที่ผิด (มิจฉาวาจา) การเป็นปฏิปักษ์ต่อพระอริยะ การชักนำคนอื่นให้คิดผิด
เชื่อผิด และการยกตนข่มผู้อื่น

ผลจากการที่เชื่อลัทธิที่ผิดแบบนี้ คือ

- ถ้าโลกหน้าไม่มีจริง เขาก็รอดตัวไป
- ถ้าโลกหน้ามีจริง เมื่อทำแต่ความชั่ว ตายลงเขาก็ไปสู่อบาย
- แม้โลกหน้าไม่มีจริง เมื่อทำแต่ความชั่ว เขาก็ถูกวิญญูชนติเตียนได้ในปัจจุบันว่าเป็นคนชั่ว
- แม้โลกหน้ามีจริง เมื่อทำแต่ความชั่ว เขาก็ได้ชื่อว่าแพ้ (คือ เสียประโยชน์) ทั้งสองโลก
(คือ ปัจจุบันก็ถูกเขาติเตียนว่าเป็นคนชั่ว เมื่อตายลงก็ไปอบาย)

๒.๒ ) ลัทธิหรือความเชื่อประเภท "อกิริยทิฏฐิ"
ซึ่งเชื่อว่า การกระทำทั้งปวงไม่ว่าจะทำดีหรือทำชั่วไม่มีผลเป็นบุญหรือบาป
กล่าวสั้นๆคือ การกระทำทั้งปวงไม่มีผล จึงมีค่าเท่ากับไม่ได้ทำอะไร (อกิริยะ)

คนที่เชื่อลัทธิแบบนี้ก็เช่นเดียวกัน ย่อมไม่สนใจที่จะทำความดี (กุศลธรรม)
แต่จะทำสิ่งที่ชั่ว (อกุศลธรรม) เพราะเขาเชื่อว่า ไม่ว่าจะทำอะไรก็ไม่มีผลอะไรเหมือนกัน
(คือ มีค่าเท่ากับไม่ได้ทำอะไร)

ความเชื่อหรือลัทธิแบบนี้ก่อให้เกิดมิจฉาทิฏฐิ มิจฉาสังกัปปะ มิจฉาวาจา
การเป็นปฏิปักษ์กับพระอริยะ การชักนำคนอื่นให้คิดผิดเชื่อผิด และการยกตนข่มผู้อื่น

ผลของการเชื่อถือแบบนี้คือ

- ถ้าการกระทำทั้งปวงไม่มีผลจริง เขาก็รอดตัวไป
- ถ้าการกระทำทั้งปวงมีผล เมื่อทำแต่ความชั่ว ตายลงเขาย่อมไปสู่อบาย
- แม้การกระทำทั้งปวงไม่มีผลจริง เมื่อทำแต่ความชั่ว เขาก็ถูกวิญญูชนติเตียนได้ในปัจจุบันว่าเป็นคนชั่ว
- ถ้าการกระทำทั้งปวงมีผลจริง เมื่อทำแต่ความชั่ว เขาก็ได้ชื่อว่าแพ้ทั้งสองโลก (คือ ปัจจุบันก็ถูกติเตียน ตายลงก็ไปอบาย)

๒.๓) ลัทธิหรือความเชื่อประเภท "อเหตุกทิฏฐิ"
ซึ่งเชื่อว่า ดี ชั่ว สุข ทุกข์ ของชีวิตไม่มีเหตุ ไม่มีปัจจัย เมื่อจะดีก็ดีเอง เมื่อจะชั่วก็ชั่วเอง

คนที่เชื่อลัทธิแบบนี้ก็เช่นเดียวกัน ย่อมไม่สนใจการประพฤติกุศลธรรม
แต่จะประพฤติอกุศลธรรม เพราะเขาเชื่อว่า ทั้งดีและชั่วไม่มีเหตุไม่มีปัจจัย

ความเชื่อหรือลัทธิแบบนี้ก่อให้เกิดมิจฉาทิฏฐิ มิจฉาสังกัปปะ มิจฉาวาจา
การเป็นปฏิปักษ์กับพระอริยะ การชักนำคนอื่นให้คิดผิดเชื่อผิด และการยกตนข่มผู้อื่น

ผลของการเชื่อถือแบบนี้คือ

- ถ้าความดีความชั่วไม่มีเหตุไม่มีปัจจัยจริง เขาก็รอดตัวไป
- ถ้าความดีความชั่วมีเหตุมีปัจจัย เมื่อทำแต่ความชั่ว ตายลงเขาย่อมไปสู่อบาย
- แม้ความดีความชั่วไม่มีเหตุมีปัจจัย เมื่อทำแต่ความชั่ว เขาก็ถูกวิญญูชนติเตียนได้ในปัจจุบันว่าเป็นคนชั่ว
- ถ้าความดีความชั่วมีเหตุมีปัจจัย เมื่อทำแต่ความชั่ว เขาก็ได้ชื่อว่าแพ้ทั้งสองโลก (คือ ปัจจุบันก็ถูกติเตียน ตายลงก็ไปอบาย)

๒.๔) ลัทธิที่เชื่อว่า "ไม่มีพรหมโลก" ประเภทที่ไม่มีรูป (อรูปพรหม)
๒.๕) ลัทธิที่เชื่อว่า ความดับแห่งภพ (คือ นิพพาน) ไม่มี
ความเชื่อถือแบบนี้มักนำไปสู่ความกำหนัดยินดี ความเพลิดเพลิน และความยึดมั่นถือมั่น


:b41: ๓. ทรงแสดงว่า ลัทธิความเชื่อที่ถูกต้องนั้น
คือ ที่ตรงกันข้ามกับลัทธิความเชื่อ ๕ ประเภทดังกล่าวแล้ว
ได้แก่

๓.๑) ความเชื่อประเภท "อัตถิกทิฏฐิ"
คือ เชื่อว่า ความดีความชั่ว (บุญ-บาป) มีจริง โลกนี้โลกหน้ามีจริง
บิดามารดามีจริง โอปปาติกสัตว์มีจริง ผู้ปฏิบัติดี ปฏิบัติชอบมีจริง เป็นต้น

คนที่มีความเชื่อถือแบบนี้ ย่อมละเว้นจากอกุศลธรรม
และจะประพฤติแต่กุศลธรรม เพราะเขาเชื่อว่า ความดีความชั่ว (บุญบาป) มีจริง
โลกนี้โลกหน้ามีจริง เป็นต้น

ความเชื่อแบบนี้ย่อมก่อให้เกิดสัมมาทิฏฐิ สัมมาสังกัปปะ สัมมาวาจา
ไม่เป็นปฏิปักษ์ต่อพระอริยะ ชักนำคนอื่นให้เข้าใจในทางที่ถูกต้อง
และไม่ยกตนข่มผู้อื่น

ผลของความเชื่อประเภทนี้ คือ

- ถ้าโลกหน้ามีจริง เมื่อทำแต่ความดี ตายลงเขาย่อมไปสู่สุคติ
- ถ้าโลกหน้าไม่ีมีจริง เมื่อทำแต่ความดี เขาก็ได้รับคำสรรเสริญจากวิญญูชนในปัจจุบันว่า เป็นคนดี
- หรือว่า ถ้าโลกหน้ามีจริง เมื่อทำแต่ความดี เขาก็ได้ชื่อว่า เป็นผู้ชนะ (คือ ได้รับประโยชน์) ในโลกทั้งสอง (คือ ปัจจุบันก็ได้รับคำสรรเสริญ ตายลงก็ไปสู่สุคติ)

๓.๒) ความเชื่อประเภท "กิริยทิฏฐิ"
คือ เชื่อว่า การกระทำทั้งปวงมีผล ทำดีได้รับผลดี ทำชั่วได้รับผลชั่ว เป็นต้น

คนที่มีความเชื่อแบบนี้ ย่อมละเว้นจากอกุศลธรรม
และประพฤติแต่กุศลธรรม เพราะเขาเชื่อว่า การกระทำทุกอย่างมีผล

ความเชื่อแบบนี้ย่อมก่อให้เกิดสัมมาทิฏฐิ สัมมาสังกัปปะ
สัมมาวาจา ไม่เป็นปฏิปักษ์ต่อพระอริยะ ชักนำคนอื่นให้เข้าใจในทางที่ถูกต้อง
และไม่ยกตนข่มผู้อื่น

ผลของการเชื่อแบบนี้ คือ

- ถ้าการกระทำทั้งปวงมีผลจริง เมื่อทำแต่ความดี ตายลงเขาย่อมไปสู่สุคติ
- ถ้าการกระทำทั้งปวงไม่มีผลจริง เมื่อทำแต่ความดี เขาก็ได้รับคำสรรเสริญจากวิญญูชนในปัจจุบันว่า เป็นคนดี
- หรือว่า ถ้าการกระทำทั้งปวงมีผลจริง เมื่อทำแต่ความดี เขาก็ได้ชื่อว่า เป็นผู้ชนะ ในโลกทั้งสอง (คือ ปัจจุบันก็ได้รับคำสรรเสริญ ตายลงก็ไปสู่สุคติ)

๓.๓) ความเชื่อประเภท "เหตุกทิฏฐิ"
คือ เชื่อว่า ดีชั่ว ทุกข์ของชีวิต มีเหตุ มีปัจจัย ไม่ได้เกิดขึ้นลอยๆ

คนที่มีความเชื่อแบบนี้ ย่อมละเว้นจากอกุศลธรรม
และประพฤติแต่กุศลธรรม เพราะเขาเชื่อว่า ดีชั่ว ทุกข์ของชีวิต มีเหตุ มีปัจจัย

ความเชื่อแบบนี้ย่อมก่อให้เกิดสัมมาทิฏฐิ สัมมาสังกัปปะ
สัมมาวาจา ไม่เป็นปฏิปักษ์ต่อพระอริยะ ชักนำคนอื่นให้เข้าใจในทางที่ถูกต้อง
และไม่ยกตนข่มผู้อื่น

ผลของการเชื่อแบบนี้ คือ

- ถ้าเหตุปัจจัยมีผลจริง เมื่อทำแต่ความดี ตายลงเขาย่อมไปสู่สุคติ
- ถ้าเหตุปัจจัยไม่มีจริง เมื่อทำแต่ความดี เขาก็ได้รับคำสรรเสริญจากวิญญูชนในปัจจุบันว่า เป็นคนดี
- หรือว่า ถ้าเหตุปัจจัยมีจริง เมื่อทำแต่ความดี เขาก็ได้ชื่อว่า เป็นผู้ชนะ ในโลกทั้งสอง (คือ ปัจจุบันก็ได้รับคำสรรเสริญ ตายลงก็ไปสู่สุคติ)

๓.๔) วิญญูชนไม่ควรยืนยันหรือปฏิเสธสิ่งที่ตนไม่รู้ไม่เห็นว่า จริงหรือเท็จ
เช่น เรืองพรหม ถ้าอรูปพรหมไม่มีจริง เราก็อาจจะไปเกิดในรูปพรหมก็ได้
ถ้าอรูปพรหมมีจริง เราก็อาจจะไปเกิดในอรูปพรหมก็ได้
แต่เมื่อวิญญูชนพิจารณาด้วยดีแล้วย่อมเห็นว่า
รูปที่มาหรือเป็นเหตุของการแก่งแย่ง ทะเลาะวิวาทและประหัตประหารกัน
ฉะนั้น วิญญูชนย่อมปฏิบัติเพื่อหน่าย คลายกำหนดในรูป

๓.๕) ในเรื่องความดับแห่งภพ (นิพพาน) ก็เช่นกัน วิญญูชนเมื่อไม่รู้ไม่เห็น
ย่อมไม่ยืนยันหรือปฏิเสธว่า จริงหรือเท็จ

ถ้านิพพานไม่มีจริง เราก็อาจจะไปเกิดในพรหมโลก ประเภทไม่มีรูป (อรูปพรหม) ก็ได้
ถ้านิพพานมีจริง เราก็สามารถบรรลุนิพพานได้ในปัจจุบัน
เมื่อวิญญูชนพิจารณาด้วยดีแล้ว ย่อมเห็นว่า
ความเชื่อว่า นิพพานไม่มีจริงนั้นย่อมนำไปสู่ความกำหนัดยินดีและความเพลิดเพลินยึดมั่นถือมั่น

ส่วนความเชื่อว่า นิพพานมีจริงนั้น ย่อมนำไปสู่ความไม่กำหนัดยินดี
ความไม่เพลิดเพลิน และความไม่ยึดมั่นถือมั่น
ฉะนั้น วิญญูชนย่อมปฏิบัติเพื่อความคลายกำหนัดและเพื่อความดับแห่งภพ (คือ เพื่อนิพพาน)


:b41: ๔. ทรงแสดงว่า ในโลกนี้มีคนอยู่ ๔ ประเภท คือ

๔.๑) คนที่ทำให้ตนเดือดร้อน
คือ คนที่ประพฤติทุกขกิริยาแบบต่างๆ ซึ่งเป็นการทรมานตนเองให้เดือดร้อนโดยเปล่าประโยชน์

๔.๒) คนที่ทำให้ผู้อื่นเดือดร้อน
คือ ชอบฆ่าสัตว์ตัดชีวิตและเบียดเบียนทำร้ายผู้อื่นในลักษณธต่างๆ

๔.๓) คนที่ทำให้ทั้งตนเองและผู้อื่นเดือดร้อน
คือ ผู้นำหรือผู้ปกครองที่ชอบเบียดเบียนสัตว์และเบียดเบียนประชาชน

๔.๔) คนที่ไม่ทำให้ทั้งตนเองและผู้อื่นเดือดร้อน
คือ คนที่ดำรงตนอยู่ในหลักของศีล สมาธิ ปัญญา ตั้งแต่ขั้นต้นจนถึงขั้นสูงสุด คือ บรรลุนิพพาน

และทรงแสดงว่า คนประเภทที่ ๔ ได้ชื่อว่า "เป็นพรหมในปัจจุบัน"


:b44: :b44:


คัดลอกเนื้อหาจาก
เอกสารประกอบการบรรยายวิชา พระไตรปิฏกศึกษา ภาคที่ ๑
สถาบันภาษาศาสตร์และวัฒนธรรมศึกษาราชนครินทร์
มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ พ.ศ. ๒๕๔๖ หน้า ๓๑-๓๔

.....................................................
"เกิดดับ..เกิดแล้วไม่ดับไม่มี"


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 1 โพสต์ ] 

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 81 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร