วันเวลาปัจจุบัน 26 เม.ย. 2024, 12:25  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


กฎการใช้บอร์ด


รวมกระทู้จากบอร์ดเก่า http://www.dhammajak.net/board/viewforum.php?f=7



กลับไปยังกระทู้  [ 1 โพสต์ ]    Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 27 พ.ค. 2012, 20:36 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
อาสาสมัคร
อาสาสมัคร
ลงทะเบียนเมื่อ: 20 ต.ค. 2008, 13:20
โพสต์: 821


 ข้อมูลส่วนตัว


พระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๔ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๖ มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ ๘. อุปักกิเลสสูตร (๑๒๘)

[๔๓๙] ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้-สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ที่พระวิหารโฆสิตาราม เขตพระนครโก สัมพี สมัยนั้นแล พวก

ภิกษุในพระนครโกสัมพีเกิดขัดใจทะเลาะวิวาทกันเสียด สีกันและกันด้วยฝีปากอยู่ ฯ[๔๔๐] ครั้งนั้นแล ภิกษุรูปหนึ่งเข้าไปเฝ้าพระผู้มี

พระภาคยังที่ประทับครั้นแล้วถวายอภิวาท พระผู้มีพระภาค ยืนอยู่ ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง พอยืนเรียบร้อยแล้ว ได้กราบทูลพระผู้มีพระ

ภาคดังนี้ว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ พวกภิกษุใน พระนครโกสัมพีนี้ เกิดขัดใจทะเลาะวิวาทกัน เสียดสีกันและกันด้วยฝีปาก อยู่ ขอพระผู้

มีพระภาคได้โปรดอาศัยความอนุเคราะห์ เสด็จเข้าไปยังที่อยู่ของภิกษุ เหล่านั้นเถิด พระผู้มีพระภาคทรงรับด้วยดุษณีภาพ ต่อนั้น ได้

เสด็จเข้าไปยัง ที่อยู่ของภิกษุเหล่านั้น ครั้นแล้วได้ตรัสกะภิกษุเหล่านั้นดังนี้ว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย อย่าเลย อย่าขัดใจ อย่าทะเลาะ

อย่าแก่งแย่ง อย่าวิวาทกันเลย





เมื่อพระผู้มีพระภาคตรัสแล้วอย่างนี้ ภิกษุรูปหนึ่งได้ทูลพระผู้มีพระภาคดังนี้ว่าข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ขอพระผู้มีพระภาคผู้เป็นเจ้าของ



ธรรม ทรงยับยั้งก่อนขอได้โปรดทรงเป็นผู้ ขวนขวายน้อย ทรงประกอบเนืองๆ แต่สุขวิหารธรรมในปัจจุบันอยู่เถิด พวกข้าพระองค์ยัง

จักปรากฏอยู่ด้วยการขัดใจ ทะเลาะ แก่งแย่งวิวาทกันเช่น นี้ ฯ

[๔๔๑] พระผู้มีพระภาคได้ตรัสกะภิกษุเหล่านั้นแม้ในวาระที่ ๒ ดังนี้ว่าดูกร ภิกษุทั้งหลาย อย่าเลย อย่าขัดใจ อย่าทะเลาะ อย่าแก่งแย่ง

อย่าวิวาทกันเลย ภิกษุรูปนั้นก็ได้กราบทูลพระผู้มีพระภาค แม้ในวาระที่ ๒ ดังนี้ว่า ข้าแต่พระองค์ ผู้เจริญ ขอพระผู้มีพระภาคผู้เป็นเจ้า

ของธรรม ทรงยับยั้งก่อน ขอได้โปรด ทรงเป็นผู้ขวนขวายน้อย ทรงประกอบเนืองๆ แต่สุขวิหารธรรมในปัจจุบันอยู่ เถิด พวกข้า

พระองค์ยังจักปรากฏอยู่ด้วยการขัดใจ ทะเลาะ แก่งแย่ง วิวาทกัน เช่นนี้ ฯ

[๔๔๒] พระผู้มีพระภาคได้ตรัสกะภิกษุเหล่านั้นแม้ในวาระที่ ๓ ดังนี้ว่าดูกร ภิกษุทั้งหลาย อย่าเลย อย่าขัดใจ อย่าทะเลาะ อย่าแก่งแย่ง

อย่าวิวาทกันเลย ภิกษุรูปนั้นก็ได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคแม้ในวาระที่ ๓ ดังนี้ว่า ข้าแต่พระ-*องค์ผู้เจริญ ขอพระผู้มีพระภาคผู้เป็นเจ้า

ของธรรม ทรงยับยั้งก่อน ขอได้โปรดทรงเป็นผู้ขวนขวายน้อย ทรงประกอบเนืองๆ แต่สุขวิหารธรรมในปัจจุบันอยู่เถิดพวกข้าพระองค์

ยังจักปรากฏอยู่ด้วยการ ขัดใจ ทะเลาะแก่งแย่ง วิวาทกันเช่นนี้ ฯ

[๔๔๓] ครั้งนั้นแล พระผู้มีพระภาคทรงนุ่งสบง ทรงบาตร จีวรเสด็จเข้าไปบิณฑบาตยังพระนครโก สัมพีในเวลาเช้า ครั้นเสด็จกลับจาก

บิณฑบาต ภายหลังเวลาพระกระยาหารแล้ว ทรงเก็บเสนาสนะ กำลังประทับยืนอยู่นั่นแหละ ได้ตรัสพระคาถาดังนี้ว่าภิกษุมีเสียงดัง

เสมอกัน ไม่มีใครๆ สำคัญตัวว่าเป็นพาล เมื่อสงฆ์แตกกัน ต่างก็มิได้สำคัญตัวกันเองให้ยิ่ง พวกที่เป็น-บัณฑิต ก็พากันหลงลืม มีปาก

พูด ก็มีแต่คำพูดเป็นอารมณ์พูดไป เท่าที่ปรารถนาแสดงฝีปาก ไม่รู้เหตุที่ตนนำไป ก็ชนเหล่าใดผูกโกรธเขาว่า คนโน้นได้ด่าเรา คน

โน้นได้ประหารเราคนโน้นได้ชนะเรา คนโน้นได้ลักของของเรา เวรของชนเหล่านั้นย่อมไม่สงบ ส่วนชนเหล่าใดไม่ผูกโกรธเขาว่า คน

โน้นได้ด่าเรา คนโน้นได้ประหารเรา คนโน้นได้ชนะเรา คนโน้นได้ลักของของเรา เวรของชนเหล่านั้นย่อมเข้าไปสงบได้ เวรในโลกนี้

ย่อมไม่ระงับได้ด้วยเวรเลย ในกาลไหนๆ แต่จะระงับได้ด้วยไม่มีเวรกัน นี้เป็นธรรมดามีมาเก่าแก่ ก็คนพวกอื่นย่อมไม่รู้สึกว่า พวกเราจะ

ย่อยยับในที่นี้ แต่ชนเหล่าใดในที่นั้นรู้สึก ความมาดร้ายกัน ย่อมสงบแต่ชนเหล่านั้นได้ คนพวกอื่นตัดกระดูกกัน ผลาญชีวิตกัน ลักโค

ม้า ทรัพย์กัน แม้ชิงแว่นแคว้นกัน ยังมีคืนดีกันได้ เหตุไร พวกเธอจึงไม่มีเล่าถ้าบุคคลได้สหายที่มีปัญญารักษาตัวร่วมทางจร เป็นนัก

ปราชญ์มีปรกติให้สำเร็จประโยชน์อยู่ คุ้มอันตรายทั้งปวงได้ พึงชื่นชมมีสติเที่ยวไปกับสหายนั้นเถิด ถ้าไม่ได้สหายที่มีปัญญารักษาตัว

ร่วมทางจร เป็นนักปราชญ์ มีปรกติให้สำเร็จประโยชน์อยู่พึงเป็นผู้ผู้เดียวเที่ยวไป เหมือนพระราชาที่ทรงสละราชสมบัติและเหมือนช้าง

มาตังคะในป่า ฉะนั้นการเที่ยวไปคนเดียวประ-เสริฐกว่า เพราะไม่มีความเป็นสหายกันในคนพาล พึงเป็นผู้ผู้เดียวเที่ยวไป และไม่พึงทำ

บาป เหมือนช้างมาตังคะมีความขวนขวายน้อยในป่าฉะนั้น ฯ

[๔๔๔] ครั้งนั้นแล พระผู้มีพระภาคครั้นประทับยืนตรัสพระคาถานี้แล้วได้เสด็จเข้าไปยังบ้าน พาลกโลณการ ก็สมัยนั้นแล ท่านพระภคุ

อยู่ในบ้านพาลก-*โลณการ ได้เห็นพระผู้มีพระภาคเสด็จมาแต่ไกล ครั้นเห็นแล้ว จึงแต่งตั้งอาสนะและ น้ำสำหรับล้างพระบาทไว้ พระ

ผู้มีพระภาคประทับนั่งบนอาสนะที่แต่งตั้งไว้แล้ว ทรงล้างพระบาท ท่านพระภคุถวายอภิวาทพระผู้มีพระภาคแล้ว นั่ง ณ ที่ควรส่วน ข้าง

หนึ่ง พระผู้มีพระภาคได้ตรัสกะท่านพระภคุผู้นั่งเรียบร้อยแล้วดังนี้ว่า ดูกรภิกษุ พอทน พอเป็นไปได้หรือ เธอไม่ลำบากด้วยเรื่อง

บิณฑบาตบ้างหรือ ฯท่านพระภคุกราบทูลว่า ข้าแต่พระผู้มีพระภาค พอทน พอเป็นไปได้และข้าพระองค์ไม่ลำบากด้วยเรื่องบิณฑบาต

เลย พระพุทธเจ้าข้า ต่อนั้น พระผู้มีพระภาคทรงสนทนากับท่านพระภคุทรงชักชวนให้อาจหาญ ร่าเริงด้วยกถาประกอบด้วยธรรมแล้ว

ทรงลุกจากอาสนะเสด็จเข้าไปประทับนั่ง ยังป่าปาจีนวงส์ ฯ

[๔๔๕] ก็สมัยนั้นแล ท่านพระอนุรุทธ ท่านพระนันทิยะ และท่านพระกิมพิละ อยู่ในป่าปาจีนวงส์ คนรักษาป่าได้เห็นพระผู้มีพระภาค

เสด็จมาแต่ไกล ครั้นเห็นแล้ว ได้กล่าวกะพระผู้มีพระภาคดังนี้ว่า ข้าแต่ท่านสมณะ ท่านอย่าเข้าไปยัง ป่านี้ ในป่านี้ มีกุลบุตร ๓ คน

กำลังหวังอัตตาอยู่ ท่านอย่าได้ทำความ ไม่สำราญแก่เขาเลย ท่านพระอนุรุทธได้ยินคนรักษาป่าพูดกับพระผู้มีพระภาคอยู่ ครั้นได้ยิน

แล้ว จึงบอกคนรักษาป่าดังนี้ว่า ดูกรท่านผู้รักษาป่า ท่านอย่าห้ามพระผู้มีพระภาคเลย พระผู้มีพระภาคเป็นพระศาสดาของพวกเราได้

เสด็จถึงแล้วโดยลำดับ ต่อนั้น ท่านพระอนุรุทธเข้าไปหาท่านพระนันทิยะและท่านพระกิมพิละยังที่อยู่ แล้วบอกดังนี้ว่า นิมนต์ท่านทั้ง

สองไปข้างหน้าๆ กันเถิด พระผู้มีพระ-*ภาค ผู้เป็นพระศาสดาของพวกเรา เสด็จถึงแล้วโดยลำดับ ครั้งนั้นแล ท่านพระอนุ รุทธ

ท่านพระนันทิยะ และท่านพระกิมพิละต้อนรับพระผู้มีพระภาค องค์หนึ่งรับ บาตรจีวรของพระผู้มีพระภาค องค์หนึ่งแต่งตั้งอาสนะ องค์

หนึ่งตั้งน้ำสำหรับล้าง พระบาท พระผู้มีพระภาคประทับนั่งบนอาสนะที่แต่งตั้งแล้ว ทรงล้างพระบาทแม้ ท่านทั้ง ๓ นั้นก็ถวายอภิวาท

พระผู้มีพระภาคแล้ว นั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ฯ

[๔๔๖] พระผู้มีพระภาคได้ตรัสกะท่านพระอนุรุทธผู้นั่งเรียบร้อยแล้ว ดังนี้ว่า ดูกรอนุรุทธ เธอพอทน พอเป็นไปได้หรือ พวกเธอไม

ลำบากด้วยเรื่องบิณฑบาต บ้างหรือ ฯท่านพระอนุรุทธกราบทูลว่า ข้าแต่พระผู้มีพระภาค พอทนได้ พอเป็นไปได้ พวกข้าพระองค์ไม่

ลำบากด้วยเรื่องบิณฑบาตเลย พระพุทธเจ้าข้า ฯ

พ. ดูกรอนุรุทธ ก็พวกเธอพร้อมเพรียงกัน ยินดีต่อกัน ไม่วิวาทกันเข้ากันได้ดังนมสดและน้ำ

มองดูซึ่งกันและกันด้วยนัยน์ตาที่น่ารักอยู่หรือ ฯ

อ. แน่นอน พระพุทธเจ้าข้า พวกข้าพระองค์พร้อมเพรียงกันยินดีต่อกันไม่วิวาท กัน เข้ากันได้ดังนมสดและน้ำ มองดูซึ่งกันและกันด้วย

นัยน์ตาที่น่ารักอยู่ ฯ

พ. ดูกรอนุรุทธ อย่างไรเล่า พวกเธอจึงพร้อมเพรียงกันยินดีต่อกันไม่วิวาทกัน เข้ากันได้ดังนมสดและน้ำ มองดูซึ่งกันและกันด้วย

นัยน์ตาที่น่ารักอยู่ ได้ ฯ

[๔๔๗] อ. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ในเรื่องนี้ ข้าพระองค์มีความดำริอย่างนี้ว่า เป็นลาภของเรา เราได้ดีแล้วหนอที่อยู่กับเพื่อนภิกษุผู้

ประพฤติพรหมจรรย์ร่วมกันเห็น ปานนี้ ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์นั้นเข้าไปตั้งกายกรรม วจีกรรมมโนกรรม อันประกอบด้วย

เมตตา ในท่านผู้มีอายุเหล่านี้ ทั้งในที่แจ้ง ทั้งในที่ลับ และมีความดำริว่า ไฉนหนอ เราพึงวางจิตของตนใหเป็นไปตามอำนาจจิตของ

ท่านผู้มีอายุเหล่านี้ ข้าพระองค์นั้นแล จึงวางจิตของตนให้เป็นไปตามอำนาจจิต ของท่านผู้มีอายุเหล่านี้ ก็พวกข้าพระองค์ต่างกันแต่

กายเท่านั้น ส่วนจิตคงเป็นอันเดียวกัน ฯ

[๔๔๘] แม้ท่านพระนันทิยะและท่านพระกิมพิละ ก็กราบทูลพระผู้มี-*พระภาคดังนี้ ว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ แม้ข้าพระองค์ก็มีความดำริ

อย่างนี้ว่า เป็นลาภ ของเรา เราได้ดีแล้วหนอที่อยู่กับเพื่อนภิกษุผู้ประพฤติพรหมจรรย์ร่วมกันเห็นปาน นี้ ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้า

พระองค์นั้นเข้าไปตั้งกายกรรม วจีกรรมมโนกรรม อันประกอบด้วยเมตตา ในท่านผู้มีอายุเหล่านี้ ทั้งในที่แจ้ง ทั้งในที่ลับ และมีความ

ดำริว่า ไฉนหนอ เราพึงวางจิตของตนให้เป็นไปตามอำนาจจิตของ ท่านผู้มีอายุเหล่านี้ ข้าพระองค์นั้นแล จึงวางจิตของตนให้เป็นไป

ตามอำนาจจิต ของท่านผู้มีอายุเหล่านี้ ก็พวกข้าพระองค์ต่างกันแต่กายเท่านั้น ส่วนจิตคงเป็น อันเดียวกัน ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ

อย่างนี้แล พวกข้าพระองค์จึงพร้อมเพรียงกัน ยินดีต่อกัน ไม่วิวาทกัน เข้ากันได้ดังนมสดและน้ำ มองดูซึ่งกันและกันด้วย นัยน์ตาที่น่า

รักอยู่ได้ ฯ

[๔๔๙] พ. ดีละๆ อนุรุทธ ก็พวกเธอเป็นผู้ไม่ประมาท มีความเพียร ส่งตนไปในธรรมอยู่บ้างหรือ ฯ

อ. แน่นอน พระพุทธเจ้าข้า พวกข้าพระองค์ย่อมเป็นผู้ไม่ประมาท มีความเพียร ส่งตนไปในธรรมอยู่ ฯ

พ. ดูกรอนุรุทธ อย่างไรเล่า พวกเธอจึงเป็นผู้ไม่ประมาทมีความเพียร ส่งตน ไปในธรรมอยู่ได้ ฯ

[๔๕๐] อ. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ในเรื่องนี้ พวกข้าพระองค์รูปใดกลับ จากบิณฑบาตแต่หมู่บ้านก่อน รูปนั้นย่อมแต่งตั้งอาสนะ ตั้งน้ำ

ฉันน้ำใช้และ กระโถนไว้ รูปใดกลับทีหลัง ถ้ามีภัตที่ฉันเหลือยังปรารถนาอยู่ ก็ฉันไป ถ้าไม่ ปรารถนา ก็เทเสียในที่ปราศจากหญ้า หรือ

ทิ้งเสียในน้ำที่ปราศจากตัวสัตว์ รูปนั้น จะ เก็บอาสนะ เก็บน้ำฉันน้ำใช้และกระโถน กวาดโรงฉัน รูปใดเห็นหม้อน้ำฉัน หรือ หม้อน้ำใน

วัจจกุฎีว่างเปล่า รูปนั้นจะตักใส่ไว้ ถ้ารูปนั้นไม่อาจ พวกข้า พระองค์ จะกวักมือเรียกรูปที่สองมาแล้ว ช่วยกันตั้งหม้อน้ำฉัน หรือหม้อน้ำ

ใช้ไว้ โดย ช่วยกันหิ้วคนละมือ ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ พวกข้าพระองค์จะไม่ปริปาก เพราะ เหตุนั้นเลย และพวกข้าพระองค์จะนั่งประชุม

สนทนาธรรมกันคืนยังรุ่งทุกๆ ห้า วัน ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ อย่างนี้แล พวกข้าพระองค์จึงเป็นผู้ไม่ประมาท มี ความเพียร ส่งตนไปใน

ธรรมอยู่ได้ ฯ

[๔๕๑] พ. ดีละๆ อนุรุทธ ก็พวกเธอผู้ไม่ประมาท มีความเพียร ส่ง ตนไปในธรรมอยู่อย่างนี้ ย่อมมีคุณวิเศษคือ ญาณทัสสนะอัประเสริฐ

สามารถ กว่าธรรมของมนุษย์อัน ยิ่ง เป็นเครื่องอยู่สบายอันได้บรรลุแล้วหรือ ฯ อ. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ในเรื่องนี้ พวกข้าพระองค์ผู้

ไม่ประมาท มี ความ เพียร ส่งตนไปในธรรมอยู่ ย่อมรู้สึกแสงสว่างและการเห็นรูป แต่ไม่ช้า เท่าไร แสงสว่างและการเห็นรูปอันนั้นของ

พวกข้าพระองค์ ย่อมหายไปได้ พวก ข้า พระองค์ยังไม่แทงตลอดนิมิตนั้น ฯ

[๔๕๒] พ. ดูกรอนุรุทธ พวกเธอต้องแทงตลอดนิมิตนั้นแล แม้เราก็ เคยมาแล้ว เมื่อก่อนตรัสรู้ ยังไม่รู้เองด้วยปัญญาอันยิ่ง ยังเป็น

โพธิสัตว์อยู่ ย่อม นี้ว่า อะไรหนอแล เป็นเหตุ เป็น ปัจจัยให้แสงสว่างและการเห็นรูปของเราหายไปได้ ดูกรอนุรุทธ เรานั้นได้มี ความ รู้

ดังนี้ว่า วิจิกิจฉาแล เกิดขึ้นแล้วแก่เรา ก็วิจิกิจฉาเป็นเหตุสมาธิของเรา จึงเคลื่อน เมื่อสมาธิเคลื่อนแล้ว แสงสว่างและการ

เห็นรูปจึงหายไปได้ เราจัก ทำ ให้ไม่เกิดวิจิกิจฉาขึ้นแก่เราได้อีก ฯ

[๔๕๓] ดูกรอนุรุทธ เรานั้นแลผู้ไม่ประมาท มีความเพียร ส่งตนไป ในธรรมอยู่ ย่อมรู้สึกแสงสว่างและการเห็นรูป แต่ไม่ช้าเท่าไร แสง

สว่างและการ เห็น รูปอันนั้นของเรา ย่อมหายไปได้ เราจึงมีความดำริดังนี้ว่า อะไรหนอแล เป็นเหตุ เป็นปัจจัยให้แสงสว่างและการเห็น

รูปของเราหายไปได้ ดูกรอนุรุทธ เรา นั้นได้มีความรู้ดังนี้ว่า อมนสิการแล เกิดขึ้นแล้วแก่เรา ก็อมนสิการเป็นเหตุ สมาธิของเรา

จึงเคลื่อน เมื่อสมาธิเคลื่อนแล้ว แสงสว่างและการเห็นรูปจึงหายไป ได้ เราจักทำให้ไม่เกิดวิจิกิจฉา และอมนสิการขึ้นแก่

เราได้อีก ฯ

[๔๕๔] ดูกรอนุรุทธ เรานั้นผู้ไม่ประมาท ฯลฯ ดูกรอนุรุทธ เรานั้น ด้มีความ รู้ดังนี้ว่า ถีนมิทธะแล เกิดขึ้นแล้วแก่เรา ก็ถีนมิทธะเป็น

เหตุ สมาธิ ของเราจึงเคลื่อน เมื่อสมาธิเคลื่อนแล้ว แสงสว่างและการเห็นรูปจึงหายไปได้ เราจัก ทำให้ไม่เกิดวิจิกิจฉาอมนสิ

การ และถีนมิทธะขึ้นแก่เราได้อีก ฯ

[๔๕๕] ดูกรอนุรุทธ เรานั้นผู้ไม่ประมาท ฯลฯ ดูกรอนุรุทธ เรานั้นได้ มีความรู้ ดังนี้ว่า ความหวาดเสียวแล เกิดขึ้นแล้วแก่เรา ก็

ความหวาดเสียวเป็นเหตุ สมาธิของเราจึงเคลื่อน เมื่อสมาธิเคลื่อนแล้ว แสงสว่างและการเห็นรูปจึงหายไป ได้ ดูกรอนุ รุทธ

เปรียบเหมือนบุรุษเดินทางไกล เกิดมีคนปองร้ายเขาขึ้นที่สอง ข้าง ทาง เขาจึงเกิดความหวาดเสียว เพราะถูกคนปองร้ายนั้นเป็นเหตุ

ฉันใด ดูกร อนุ รุทธ ฉันนั้นเหมือนกันแล ความหวาดเสียวแลเกิดขึ้นแล้วแก่เรา ก็ความ หวาด เสียวเป็นเหตุ สมาธิของเราจึงเคลื่อน

เมื่อสมาธิเคลื่อนแล้ว แสงสว่าง และ การเห็นรูปจึงหายไปได้ เราจักทำให้ไม่เกิดวิจิกิจฉา อมนสิการ ถีนมิทธะ และ ความหวาดเสียว

ขึ้นแก่เราได้อีก ฯ

[๔๕๖] ดูกรอนุรุทธ เรานั้นผู้ไม่ประมาท ฯลฯ ดูกรอนุรุทธ เรานั้นได้มี ความรู้ ดังนี้ว่า ความตื่นเต้นแล เกิดขึ้นแล้วแก่เรา ก็ความ

ตื่นเต้นเป็นเหตุ สมาธิ ของเราจึงเคลื่อน เมื่อสมาธิเคลื่อนแล้ว แสงสว่างและการเห็นรูปจึงหายไปได้ ดูกรอนุรุทธ เปรียบ

เหมือนบุรุษแสวงหาแหล่งขุมทรัพย์แห่งหนึ่ง พบแหล่งขุม- *ทรัพย์ เข้า ๕ แห่งในคราวเดียวกัน เขาจึงเกิดความตื่นเต้น เพราะพบ

แหล่ง ขุม ทรัพย์ ๕ แห่งนั้นเป็นเหตุ ฉันใด ดูกรอนุรุทธ ฉันนั้นเหมือนกันแล ความตื่น เต้น แล เกิดขึ้นแล้วแก่เรา ก็ความตื่นเต้นเป็น

เหตุ สมาธิของเราจึงเคลื่อน เมื่อ สมาธิเคลื่อนแล้ว แสงสว่างและการเห็นรูปจึงหายไปได้ เราจักทำให้ไม่เกิดวิจิกิจฉา อมนสิการ ถีน

มิทธะความหวาดเสียว และความตื่นเต้นขึ้นแก่เราได้อีก ฯ

[๔๕๗] ดูกรอนุรุทธ เรานั้นผู้ไม่ประมาท ฯลฯ ดูกรอนุรุทธ เรานั้นได้ มีความรู้ ดังนี้ว่า ความชั่วหยาบแล เกิดขึ้นแล้วแก่เรา ก็ความชั่ว

หยาบเป็นเหตุ สมาธิของเรา จึงเคลื่อน เมื่อสมาธิเคลื่อนแล้ว แสงสว่างและการเห็นรูปจึงหาย ไปได้ เราจักทำให้ไม่เกิดวิจิกิจฉา อม

นสิการ ถีนมิทธะ ความหวาดเสียว ความ ตื่นเต้น และความชั่วหยาบขึ้นแก่เราได้อีก ฯ

[๔๕๘] ดูกรอนุรุทธ เรานั้นผู้ไม่ประมาท ฯลฯ ดูกรอนุรุทธ เรานั้นได้มี ความรู้ ดังนี้ว่า ความเพียรที่ปรารภเกินไปแล เกิดขึ้นแล้วแก่เรา

ก็ความเพียร ที่ปรารภเกินไปเป็นเหตุ สมาธิของเราจึงเคลื่อน เมื่อสมาธิเคลื่อนแล้ว แสงสว่าง และการเห็นรูปจึงหายไปได้

ดูกรอนุ รุทธ เปรียบเหมือนบุรุษเอามือทั้ง ๒ จับนก คุ่มไว้แน่นนกคุ่มนั้นต้อง ถึงความตายในมือนั้นเอง ฉันใด ดูกรอนุรุทธ ฉันนั้น

เหมือนกันแล ความเพียรที่ปรารภเกินไปแล เกิดขึ้นแล้วแก่เรา ก็แลความเพียร ที่ปรารภ เกินไปเป็นเหตุ สมาธิของเราจึงเคลื่อน เมื่อ

สมาธิเคลื่อนแล้ว แสงสว่าง และ การเห็นรูปจึงหายไปได้ เราจักทำให้ไม่เกิดวิจิกิจฉา อมนสิการ ถีนมิทธะ ความ หวาดเสียว ความ

ตื่นเต้น ความชั่วหยาบ และความเพียรที่ปรารภเกินไป ขึ้น แก่เราได้อีก ฯ

[๔๕๙] ดูกรอนุรุทธ เรานั้นผู้ไม่ประมาท ฯลฯ ดูกรอนุรุทธ เรานั้นได้มี ความรู้ ดังนี้ว่า ความเพียรที่ย่อหย่อนเกินไปแล เกิดขึ้นแล้วแก่

เรา ก็ความ เพียรที่ย่อหย่อนเกินไปเป็นเหตุ สมาธิของเราจึงเคลื่อน เมื่อสมาธิเคลื่อนแล้ว แสงสว่างและการเห็นรูปจึง หาย

ไปได้ ดูกรอนุรุทธ เปรียบเหมือนบุรุษจับนกคุ่ม หลวมๆ นกคุ่มนั้นต้องบินไปจากมือเขาได้ ฉันใด ดูกรอนุรุทธ ฉันนั้นเหมือน กัน แล

ความเพียรที่ย่อหย่อนเกินไปแล เกิดขึ้นแล้วแก่เรา ก็ความเพียรที่ย่อหย่อน เกินไปเป็นเหตุ สมาธิของเราจึงเคลื่อน เมื่อสมาธิเคลื่อน

แล้ว แสงสว่างและ การเห็นรูปจึงหายไปได้ เราจักทำให้ไม่เกิดวิจิกิจฉา อมนสิการ ถีนมิทธะ ความ หวาดเสียว ความตื่นเต้น ความชั่ว

หยาบ ความเพียรที่ปรารภเกินไป และความ เพียรที่ย่อหย่อนเกินไปขึ้นแก่เราได้ อีก ฯ

[๔๖๐] ดูกรอนุรุทธ เรานั้นผู้ไม่ประมาท ฯลฯ ดูกรอนุรุทธ เรานั้นได้ มีความรู้ ดังนี้ว่า ตัณหาที่คอยกระซิบแล เกิดขึ้นแล้วแก่เรา ก็

ตัณหาที่คอย กระซิบ เป็นเหตุ สมาธิของเราจึงเคลื่อน เมื่อสมาธิเคลื่อนแล้ว แสงสว่างและ การ เห็นรูปจึงหายไปได้ เราจัก

ทำให้ไม่เกิดวิจิกิจฉา อมนสิการ ถีนมิทธะ ความ หวาดเสียว ความตื่นเต้น ความชั่วหยาบ ความเพียรที่ปรารภเกินไป ความเพียร ที่

ย่อหย่อนเกินไป และตัณหาที่คอยกระซิบขึ้นแก่เราได้อีก ฯ

[๔๖๑] ดูกรอนุรุทธ เรานั้นผู้ไม่ประมาท ฯลฯ ดูกรอนุรุทธ เรานั้นได้ มีความ รู้ ดังนี้ว่า ความสำคัญสภาวะว่าต่างกันแล เกิดขึ้นแล้วแก่

เรา ก็ความ สำคัญสภาวะว่าต่างกันเป็นเหตุ สมาธิของเราจึงเคลื่อน เมื่อสมาธิเคลื่อนแล้ว แสงสว่างและการเห็นรูปจึง หาย

ไปได้ เรานั้นจักทำให้ไม่เกิดวิจิกิจฉา อมนสิการ ถีนมิทธะ ความหวาดเสียว ความตื่นเต้น ความชั่วหยาบ ความเพียรที่ปรารภ เกินไป

ความเพียรที่ย่อหย่อนเกินไป ตัณหาที่คอยกระซิบ และความสำคัญสภาวะ ว่า ต่างกันขึ้นแก่เราได้อีก ฯ

[๔๖๒] ดูกรอนุรุทธ เรานั้นผู้ไม่ประมาท มีความเพียร ส่งตนไปใน ธรรมอยู่ ย่อมรู้สึกแสงสว่างและการเห็นรูป แต่ไม่ช้าเท่าไร แสงสว่าง

และการ เห็นรูปอันนั้นของเรา ย่อมหายไปได้ เราจึงมีความดำริดังนี้ว่า อะไรหนอแล เป็น เหตุ เป็นปัจจัยให้แสงสว่างและการเห็นรูป

ของเราหายไปได้ ดูกรอนุรุทธ เรา นั้น ได้มีความรู้ดังนี้ว่า ลักษณะที่เพ่งเล็ง รูปเกินไปแล เกิดขึ้นแล้วแก่เรา ก็ลักษณะ ที่เพ่งเล็ง

รูปเกินไปเป็นเหตุ สมาธิของเราจึงเคลื่อน เมื่อสมาธิเคลื่อนแล้ว แสงสว่างและการเห็นรูป จึงหายไปได้ เราจักทำให้ไม่เกิด

วิจิกิจฉา อมนสิการ ถีนมิทธะ ความหวาดเสียว ความตื่นเต้น ความชั่วหยาบ ความเพียรที่ปรารภเกิน ไป ความเพียรที่ย่อหย่อนเกินไป

ตัณหาที่คอยกระซิบ ความสำคัญสภาวะว่าต่าง กัน และลักษณะที่เพ่งเล็งรูปเกินไปขึ้นแก่เราได้อีก ฯ

[๔๖๓] ดูกรอนุรุทธ เรานั้นแลรู้ว่า วิจิกิจฉาเป็นเครื่องเกาะจิตให้เศร้าหมอง จึงละวิจิกิจฉาตัวเกาะจิตให้เศร้าหมองเสียได้ รู้ว่าอมนสิ

การเป็น เครื่องเกาะจิตให้เศร้าหมอง จึงละอมนสิการตัวเกาะจิตให้เศร้าหมองเสียได้ รู้ ว่าถีนมิทธะเป็นเครื่องเกาะจิตให้เศร้าหมอง จึง

ละถีนมิทธะตัวเกาะจิตให้เศร้าหมอง เสียได้ รู้ว่า ความหวาดเสียวเป็นเครื่องเกาะจิตให้เศร้าหมอง จึงละความหวาดเสียว ตัวเกาะจิตให้

เศร้าหมองเสียได้ รู้ว่า ความตื่นเต้นเป็นเครื่องเกาะจิตให้เศร้าหมอง จึงละความตื่นเต้นตัวเกาะจิตให้เศร้าหมองเสียได้ รู้ว่า ความชั่ว

หยาบเป็นเครื่องเกาะจิตให้เศร้าหมอง จึงละความชั่วหยาบตัวเกาะจิตให้เศร้าหมองเสียได้ รู้ว่า ความเพียรที่ปรารภเกินไปเป็นเครื่อง

เกาะจิตให้เศร้าหมอง จึงละความ เพียร ที่ปรารภเกินไปตัวเกาะจิตให้เศร้าหมองเสียได้รู้ว่า ความเพียรที่ย่อหย่อนเกินไปเป็นเครื่อง

เกาะจิตให้เศร้าหมอง จึงละความเพียรที่ย่อหย่อนเกินไปตัวเกาะจิตให้เศร้าหมองเสียได้ รู้ว่า ตัณหาที่คอยกระซิบเป็นเครื่องเกาะจิตให้

เศร้าหมอง จึงละตัณหาที่ คอยกระซิบตัวเกาะจิตให้เศร้าหมองเสียได้ รู้ว่า ความสำคัญสภาวะว่าต่างกันเป็นเครื่องเกาะจิตให้เศร้า

หมอง จึงละความสำคัญสภาวะว่าต่างกันตัวเกาะจิตให้เศร้าหมองเสียได้ รู้ว่า ลักษณะที่เพ่งเล็งรูปเกินไปเป็นเครื่องเกาะจิตให้เศร้า

หมอง จึงละลักษณะ ที่เพ่งเล็งรูปเกินไปตัวเกาะจิตให้เศร้าหมองเสียได้ ฯ

[๔๖๔] ดูกรอนุรุทธ เรานั้นผู้ไม่ประมาท มีความเพียร ส่งตนไปใน ธรรมอยู่ ย่อมรู้สึกแสงสว่างอย่างเดียวแล แต่ไม่เห็นรูป เห็นรูปอย่าง

เดียวแล แต่ ไม่รู้สึกแสงสว่าง ตลอดกลางคืนบ้าง ตลอดกลางวันบ้าง ตลอดทั้งกลางคืน และ กลางวันบ้าง เรานั้นจึงมีความดำริดังนี้

ว่า อะไรหนอแล เป็นเหตุ เป็น ปัจจัย ให้เรารู้สึกแสงสว่างอย่างเดียวแล แต่ไม่เห็นรูป เห็นรูปอย่างเดียวแล แต่ ไม่รู้สึกแสงสว่าง ตลอด

กลางคืนบ้าง ตลอดกลางวันบ้าง ตลอดทั้งกลางคืน และ กลางวันบ้าง ดูกรอนุรุทธ เรานั้นได้มีความรู้ดังนี้ว่า สมัยใด เราไม่ใส่ใจ

นิมิตคือรูป ใส่ใจแต่นิมิตคือแสงสว่าง สมัยนั้น เราย่อมรู้สึกแสงสว่างอย่าง เดียวแล แต่ไม่เห็นรูป ส่วนสมัยใดเราไม่ใส่ใจ

นิมิตคือแสงสว่าง ใส่ใจแต่ นิมิต คือรูป สมัยนั้น เราย่อมเห็นรูปอย่างเดียวแล แต่ไม่รู้สึกแสงสว่าง ตลอด กลาง คืนบ้าง

ตลอดกลางวันบ้าง ตลอดทั้งกลางคืนและกลางวันบ้าง ฯ

[๔๖๕] ดูกรอนุรุทธ เรานั้นผู้ไม่ประมาท มีความเพียร ส่งตนไปใน ธรรมอยู่ ย่อมรู้สึกแสงสว่างเพียงนิดหน่อย เห็นรูปได้นิดหน่อย และ

รู้สึกแสง สว่าง อย่างหาประมาณมิได้ เห็นรูปอย่างหาประมาณมิได้ ตลอดกลางคืนบ้าง ตลอด กลางวันบ้าง ตลอดทั้งกลางคืนและ

กลางวันบ้าง เราจึงมีความดำริดังนี้ว่า อะไร หนอแล เป็นเหตุ เป็นปัจจัยให้เรารู้สึกแสงสว่างเพียงนิดหน่อย เห็นรูป ได้ นิดหน่อย และ

รู้สึกแสงสว่างอย่างหาประมาณมิได้ เห็นรูปอย่างหาประมาณ มิ ได้ ตลอดกลางคืนบ้าง ตลอดกลางวันบ้าง ตลอดทั้งกลางคืนและ

กลางวันบ้าง ดูกรอนุ รุทธ เรานั้นได้มีความรู้ดังนี้ว่า สมัย ใด เรามีสมาธินิดหน่อย สมัยนั้น เราก็มีจักษุนิดหน่อย ด้วยจักษุนิด

หน่อย เรานั้นจึงรู้สึกแสงสว่างเพียงนิดหน่อย เห็นรูปได้ นิดหน่อย ส่วนสมัยใด เรามีสมาธิหาประมาณมิได้ สมัยนั้น เราก็มี

จักษุหา ประมาณมิได้ ด้วยจักษุหาประมาณมิได้ เรานั้นจึงรู้สึกแสงสว่างหา ประมาณ มิได้ และเห็นรูปหาประมาณมิได้

ตลอดกลางคืนบ้าง ตลอดกลางวันบ้าง ตลอด ทั้งกลางคืนและกลางวันบ้าง ฯ

ดูกรอนุรุทธ เพราะเรารู้ว่าวิจิกิจฉาเป็นเครื่องเกาะจิตให้เศร้าหมองแล้ว เป็นอันละ วิจิกิจฉาตัวเกาะจิตให้เศร้าหมองได้ รู้ว่าอมนสิการ

เป็นเครื่องเกาะจิตให้ เศร้า หมองแล้ว เป็นอันละอมนสิการตัวเกาะจิตให้เศร้าหมองได้ รู้ว่าถีนมิทธะ เป็น เครื่องเกาะจิตให้เศร้าหมอง

แล้ว เป็นอันละถีนมิทธะตัวเกาะจิตให้เศร้าหมอง ได้ รู้ว่าความหวาดเสียวเป็นเครื่องเกาะจิตให้เศร้าหมองแล้ว เป็นอันละความ หวาด

เสียวตัวเกาะจิตให้เศร้าหมองได้ รู้ว่าความตื่นเต้นเป็นเครื่องเกาะจิตให้เศร้า หมองแล้ว เป็นอันละความตื่นเต้นตัวเกาะจิตให้เศร้า

หมองได้ รู้ว่าความชั่วหยาบ เป็น เครื่องเกาะจิตให้เศร้าหมองแล้ว เป็นอันละความชั่วหยาบตัวเกาะจิตให้เศร้า หมอง ได้ รู้ว่าความ

เพียรที่ปรารภเกินไปเป็นเครื่องเกาะจิตให้เศร้าหมองแล้ว เป็น อันละความเพียรที่ปรารภเกินไปตัวเกาะจิตให้เศร้าหมองได้ รู้ว่าความ

เพียรที่ย่อ- *หย่อนเกินไปเป็นเครื่องเกาะจิตให้เศร้าหมอง แล้ว เป็นอันละความเพียรที่ย่อหย่อน เกินไปตัวเกาะจิตให้เศร้าหมองได้ รู้ว่า

ตัณหาที่คอยกระซิบเป็นเครื่องเกาะจิตให้ เศร้าหมองแล้ว เป็นอันละตัณหาที่คอยกระซิบตัวเกาะจิตให้เศร้าหมองได้ รู้ว่าความ สำคัญ

สภาวะต่างกันเป็นเครื่องเกาะจิตให้เศร้าหมองแล้ว เป็นอันละความสำคัญ สภาวะ ว่าต่างกันตัวเกาะจิตให้เศร้าหมองได้ รู้ว่าลักษณะที่

เพ่งเล็งรูปเกินไปเป็น เครื่องเกาะจิตให้เศร้าหมองแล้ว เป็นอันละลักษณะที่เพ่งเล็งรูปเกินไปตัวเกาะจิต ให้เศร้าหมองได้ เรานั้นจึงได้มี

ความรู้ดังนี้ว่า เครื่องเกาะจิตให้เศร้าหมองนั้นๆ ของ เรา เราละได้แล้วแล ดังนั้น เราจึงเจริญสมาธิโดยส่วนสามได้ในบัดนี้ ฯ

[๔๖๖] ดูกรอนุรุทธ เรานั้นได้เจริญสมาธิมีวิตกมีวิจารบ้าง ได้เจริญ สมาธิไม่ มีวิตกมีแต่วิจารบ้าง ได้เจริญสมาธิไม่มีวิตกไม่มีวิจารบ้าง

ได้เจริญสมาธิ มี ปีติบ้าง ได้เจริญสมาธิไม่มีปีติบ้าง ได้เจริญสมาธิสหรคตด้วยสุขบ้าง ได้เจริญ สมาธิสหรคตด้วยอุเบกขาบ้าง ฯ

ดูกรอนุรุทธ เพราะสมาธิชนิดที่มีวิตกมีวิจารบ้าง ชนิดที่ไม่มีวิตกมี แต่วิจารบ้าง ชนิดที่ไม่มีวิตกไม่มีวิจารบ้าง ชนิดที่มีปีติบ้าง ชนิดที่

ไม่มีปีติบ้าง ชนิด ที่สหรคตด้วยสุขบ้าง ชนิดที่สหรคตด้วยอุเบกขาบ้าง เป็นอันเราเจริญแล้ว ฉะนั้นแล ความรู้ความเห็นจึงได้เกิด

ขึ้นแก่เราว่า วิมุตติของเราไม่กำเริบ ชาตินี้ เป็น ชาติที่สุด บัดนี้ความเกิดใหม่ย่อมไม่มี ฯ

พระผู้มีพระภาคได้ตรัสพระภาษิตนี้แล้ว ท่านพระอนุรุทธจึงชื่นชมยินดี พระภาษิตของพระผู้มีพระภาคแล ฯ จบ อุปักกิเลสสูตร ที่ ๘

ที่มา http://www.watpanonvivek.com/index.php? ... 0-03-15-43


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 1 โพสต์ ] 

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: Google [Bot] และ บุคคลทั่วไป 72 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร