ลานธรรมจักร http://www.dhammajak.net/forums/ |
|
ลักษณะพุทธศาสนาที่ ๙ ของพุทธศาสนา คือ มองตามเหตุปัจจัย http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=7&t=40277 |
หน้า 1 จากทั้งหมด 1 |
เจ้าของ: | กรัชกาย [ 30 พ.ย. 2011, 09:13 ] |
หัวข้อกระทู้: | ลักษณะพุทธศาสนาที่ ๙ ของพุทธศาสนา คือ มองตามเหตุปัจจัย |
ลักษณะพุทธศาสนาที่ ๙ มองตามเหตุปัจจัย ลักษณะที่ ๙ พระพุทธศาสนามีลักษณะข้อต่อไปที่คล้ายๆ กับหลักอนัตตานั่นเอง คือการมีทัศนคติที่ มองเห็นสิ่งทั้งหลายตามความสัมพันธ์แห่งเหตุปัจจัย ได้พูดแล้วว่า หลักอนัตตานั้นโยงมาหาหลักความ เป็นไปตามเหตุปัจจัย สิ่งทั้งหลายไม่มีอยู่โดยลำพังตน แต่อิงอาศัยซึ่งกันและกัน เป็นไปตามเหตุปัจจัย หลักนี้เขาว่าคล้ายๆ กับหลักสัมพัทธภาพ (relativity) ในพระพุทธศาสนาหลักนี้ก็คือ อิทัปปัจจยตา หรือ ปฏิจจสมุปบาทนั่นเอง |
เจ้าของ: | กรัชกาย [ 30 พ.ย. 2011, 09:14 ] |
หัวข้อกระทู้: | Re: ลักษณะพุทธศาสนาที่ ๙ ของพุทธศาสนา คือ มองตามเหตุปัจจัย |
หลักความสัมพันธ์ หรือความเป็นไปตามเหตุปัจจัยนี้ เป็นหลักสำคัญของวิปัสสนาด้วย การปฏิบัติให้ ปัญญาเห็นแจ้งเกิดเป็นวิปัสสนานั้น จะทำให้มองเห็นความเป็นไปตามเหตุปัจจัยนี้ และหลัก ปฏิจจสมุปบาท หรืออิทัปปัจจยตานี้ ก็เป็นภูมิธรรมของวิปัสสนา ท่านเรียกว่า วิปัสสนาภูมิ ประการ หนึ่ง |
เจ้าของ: | กรัชกาย [ 30 พ.ย. 2011, 09:15 ] |
หัวข้อกระทู้: | Re: ลักษณะพุทธศาสนาที่ ๙ ของพุทธศาสนา คือ มองตามเหตุปัจจัย |
หลักธรรมทั้งหลายนั้นสัมพันธ์ซึ่งกันและกัน เช่น ขันธ์ ๕ เมื่อวิเคราะห์แยกแยะองค์ประกอบออกไป ก็ทำให้เห็นความเป็นไปตามเหตุปัจจัย และรู้ว่าขันธ์ ๕ นั้น ก็เป็นไปตามหลักอิทัปปัจจยตานี้เอง หลักความสัมพันธ์ที่เป็นไปตามเหตุปัจจัยนี้แหละ เป็นหลักที่แสดงลักษณะสำคัญอย่างหนึ่งของ พระพุทธศาสนา ถึงขั้นที่พระพุทธเจ้าเคยตรัสว่า การเห็นปฏิจจสมุปบาทนั้นแหละ คือการเห็น ธรรม ตามพระพุทธพจน์ที่ว่า ผู้ใดเห็นปฏิจจสมุปบาท ผู้นั้นเห็นธรรม ผู้ใดเห็นธรรม ผู้นั้นเห็น ปฏิจจสมุปบาท อย่างน้อยชาวพุทธก็ต้องมีทัศนคติที่มองสิ่งทั้งหลายตามเหตุปัจจัย |
เจ้าของ: | กรัชกาย [ 30 พ.ย. 2011, 09:17 ] |
หัวข้อกระทู้: | Re: ลักษณะพุทธศาสนาที่ ๙ ของพุทธศาสนา คือ มองตามเหตุปัจจัย |
แม้แต่เรื่องกรรม ก็สอนให้เรามีทัศนคติหรือท่าทีนี้ กรรมนั้นก็คือหลักของความเป็นไปตามเหตุปัจจัย ในแง่ที่เกี่ยวกับการกระทำของมนุษย์ การกระทำของมนุษย์ก็เป็นไปตามกฎเกณฑ์แห่งความเป็นเหตุ เป็นผลเหมือนกัน คือกระทำเหตุอย่างนี้ ก็ได้ผลอย่างนี้ แต่จำกัดเฉพาะในแง่การกระทำของมนุษย์ เราเรียกว่า หลักกรรมหรือกรรมนิยาม ถ้าเป็นหลักเหตุ ปัจจัยทั่วไป เราเรียกว่า ธรรมนิยาม พระพุทธเจ้าตรัสหลักเรื่องปฏิจจสมุปบาทนี้ก็ตาม เรื่องไตรลักษณ์ก็ตาม พระองค์เรียกว่าเป็น ธรรมนิยาม เป็นกฎเกณฑ์แห่งธรรม คือความเป็นไปตามธรรมดาแห่งเหตุปัจจัยนั้นเอง -จบบริบูรณ์ |
เจ้าของ: | ปลีกวิเวก [ 30 พ.ย. 2011, 12:38 ] |
หัวข้อกระทู้: | Re: ลักษณะพุทธศาสนาที่ ๙ ของพุทธศาสนา คือ มองตามเหตุปัจจัย |
![]() ![]() ![]() อ่านจบแล้วขอบคุณท่านกรัชกายเจ้าค่ะ ![]() |
หน้า 1 จากทั้งหมด 1 | เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง |
Powered by phpBB © 2000, 2002, 2005, 2007 phpBB Group http://www.phpbb.com/ |