วันเวลาปัจจุบัน 26 เม.ย. 2024, 20:24  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


กฎการใช้บอร์ด


รวมกระทู้จากบอร์ดเก่า http://www.dhammajak.net/board/viewforum.php?f=7



กลับไปยังกระทู้  [ 23 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1, 2  Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 13 มิ.ย. 2010, 19:15 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ส่วนสงฆ์เป็นชุมชนตัวอย่างของชีวิตที่พึ่งอาศัยวัตถุน้อยที่สุด ทั้งนี้เกี่ยวพันกับเงื่อนไขทางสังคม เพื่อฝึกฝน

ให้พระภิกษุสามารถมีชีวิตเช่นนั้นอย่างหนึ่ง เพื่อให้พระภิกษุอุทิศเวลาและแรงงานไปในด้านกิจเกี่ยวกับธรรม

ได้เต็มที่ไม่มัวห่วงกังวลกับการแสวงหาวัตถุอย่างหนึ่ง เพื่อทำตัวให้ชาวบ้านเลี้ยงง่ายในฐานะที่เป็นผู้อาศัย

การบำรุงของชาวบ้าน ไม่ประกอบอาชีพด้วยตนเองอย่างหนึ่ง และเพื่อดำรงภาวะความเป็นชุมชนอิสระ

ที่พ้นจากอำนาจครองงำแห่งระบบการทางสังคมได้มากที่สุด โดยที่การใช้แรงงานไม่เป็นไปเพื่อผลตอบแทน

ในทางอาชีวะอย่างหนึ่ง

พระภิกษุทุกรูปไม่ว่าจะเป็นพระอรหันต์หรือปุถุชนก็ดำรงชีวิตตามหลักการอาศัยวัตถุให้น้อย อยู่เพื่อธรรม

ให้มาก อย่างเดียวกัน ไม่ปรากฏว่าพระพุทธเจ้าทรงมุ่งหวังให้คฤหัสถ์เป็นอยู่อย่างพระ และก็ไม่ปรากฏว่า

จะทรงมุ่งหวังให้คนมาบวชเป็นพระกันไปทั้งหมด

สารัตถะของหลักการนี้น่าจะได้แก่การให้มีชุมชนอิสระซ้อนอยู่ในสังคมใหญ่เพื่อเป็นแรงดุลย์ทางธรรม

หล่อเลี้ยงธรรมแก่สังคม และเป็นแหล่งอำนายความหลุดพ้นจากปัจจัยครอบงำของสังคมในเวลานั้นๆ

แก่ผู้ต้องการและพร้อมที่จะพ้นออกไป ชุมชนนี้มีทั้งชุมชนรูปแบบและชุมชนนามธรรม ชุมชนอิสระโดยรูป

แบบได้แก่ภิกษุสงฆ์หรือที่บางทีเรียกว่าสมมติสงฆ์ อันแทรกซ้อนลอยตัวอยู่ท่ามกลางสังคมใหญ่ของคฤหัสถ์

ชุมชนอิสระโดยนามธรรม ได้แก่สาวกสงฆ์หรือที่บางทีเรียกว่าอริยสงฆ์ อันประกอบด้วยอริยชนทั้งคฤหัสถ์

และบรรพชิต ที่แทรกซ้อนและลอยตัวอยู่ท่ามกลางสังคมใหญ่ของมวลปุถุชน

สารัตถะนี้ เท่ากับบอกว่า สังคมอุดมคติมิใช่สังคมที่มนุษย์ทั้งหลายเป็นอย่างหนึ่งอย่างเดียวกัน

และสังคมเช่นนั้น เป็นไปไม่ได้

แต่สังคมอุดมคติเป็นสังคมที่มนุษย์ผู้มีพัฒนาการทางจิตปัญญาแม้จะแตกต่างกัน แต่ก็กำลังก้าวหน้าไป

สู่จุดหมายเดียวกัน และแม้จะแตกต่างกันแต่ก็อยู่อย่างกลมกลืนกัน กับทั้งเป็นสังคมที่มนุษย์มีทางเลือก

ออกไปอย่างดีงาม ในเมื่อไม่ต้องการอยู่ในสังคมใหญ่นั้น (แม้แต่ในยุคพระศรีอาริย์ว่าคนเหมือนกัน

ทุกอย่าง ก็ยังมีภิกษุสงฆ์เป็นชุมชนอิสระโดยรูปแบบเช่นเดียวกัน)

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 13 มิ.ย. 2010, 19:45 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ศีลสำหรับพระภิกษุสงฆ์นั้น พระอรรถกถาจารย์ประมวลเข้าและจัดเป็นประเภทได้ ๔ อย่าง เรียกว่า

ปาริสุทธิศีล (ศีลเครื่องให้บริสุทธิ์ หรือ ความประพฤติบริสุทธิ์ที่จัดเป็นศีล) ๔ ประการ คือ *


๑.ปาฏิโมกขสังวรศีล ศีลคือความสำรวมในพระปาฏิโมกข์ เว้นข้อห้าม ทำตามข้ออนุญาตประพฤติเคร่งครัด

ในสิกขาบททั้งหลาย ท่านว่า ศีลข้อนี้รักษาสำเร็จด้วยศรัทธา

๒.อินทรียสังวรศีล ศีลคือความสำรวมอินทรีย์ ระวังไม่ให้บาปอุกศลธรรมเช่นความชอบ ชัง ติดใจ หรือขัดใจ

ครอบงำเมื่อรับรู้อารมณ์ด้วยอินทรีย์ ทั้ง ๖ คือ เมื่อตาเห็นรูป หูฟังเสียง จมูกดมกลิ่น ลิ้นลิ้มรส กายถูกต้อง

สิ่งกระทบ และใจรู้คิดเรื่องราวต่างๆ ท่านว่า ศีลข้อนี้รักษาสำเร็จด้วยสติ

๓.อาชีวปาริสุทธิศีล ศีล คือ ความบริสุทธิ์แห่งอาชีวะ ได้แก่ เลี้ยงชีวิตโดยทางที่ชอบธรรมบริสุทธิ์

ไม่ประกอบการแสวงหาในทางที่ผิด เช่น ไม่พูดอวดอุตริมนุษยธรรมคือ ฌาน วิโมกข์ สมาธิ สมาบัติ

มรรค ผล นิพพาน ที่ไม่มีจริงในตน และไม่ออกปากขออาหารเพื่อตนเองบริโภคโดยมิได้เจ็บไข้ เป็นต้น

ไม่กระทำกุหนา คือการหลอกลวง เช่นปั้นแต่งท่าทางหน้าตาเคร่งครัดให้เขาเลื่อมใสถวายปัจจัยสี่ ไม่กระทำ

ลปนา คือ ประจบเขากิน ไม่กระทำนิมิตคือเลศนัยต่างๆ ให้เขาถวายปัจจัย ไม่กระทำนิปเปสิกตา คือขู่เข็ญ

กลั่นแกล้งเพื่อให้เขายอมถวายปัจจัย และไม่เอาลาภต่อลาภเช่นให้ของน้อยแก่เขาไป เขาจะได้ถวายมาก

ตอบมา เป็นต้น ท่านว่าศีลข้อนี้รักษาสำเร็จด้วยวิริยะ

๔. ปัจจัยสันนิสิตศีล ศีล ที่เกี่ยวกับปัจจัยสี่ ได้แก่ปัจจัยปัจจเวกขณ์ คือใช้สอยปัจจัยสี่ด้วยพิจารณาให้เป็น

ไปตามความหมายและประโยชน์หรือคุณค่าที่แท้จริงของสิ่งนั้นๆ ไม่บริโภคด้วยตัณหา เช่น ฉันอาหารเพื่อ

หล่อเลี้ยงร่างกายให้สุขภาพดี มีชีวิตผาสุกทำกิได้สบาย มิใช่เพื่อปรนเปรอหรือสนุกสนาน มัวเมา ท่านว่า

ศีลข้อนี้รักษาสำเร็จด้วยปัญญา

:b48: :b48: :b48: :b48: :b48: :b48: :b48: :b48: :b48: :b48: :b48: :b48: :b48:

*วิสุทธิ.1/19-58 ฯลฯ ...พึงสังเกตว่า อินทรียสังวรนั้น ในบาลี ท่านจัดเข้าในหมวดสมาธิ

เช่น ที.สี.9/321/255

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 14 มิ.ย. 2010, 18:29 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ย้อนกลับไปพูดถึงคฤหัสถ์ เห็นควรสรุปเรื่องนี้ด้วยการกล่าวถึงข้อปฏิบัติบางอย่างที่ควรเน้นเป็นพิเศษเกี่ยว

กับโภคทรัพย์ ดังนี้


ก.ในแง่บุคคล ควรดำเนินตามพุทธปฏิปทาที่นิยมยกย่องคนมั่งมีทรัพย์ เฉพาะแต่ผู้ที่ร่ำรวยขึ้นมาด้วย

ความขยันหมั่นเพียรโดยทางสุจริตชอบธรรม และใช้ทรัพย์นั้นทำสิ่งที่ดีงาม บำเพ็ญประโยชน์ คือ ยกย่อง

ความเป็นคนดีมีประโยชน์เหนือความมีทรัพย์ โดยเฉพาะจะต้องฝึกสอนอบรมอนุชนคนรุ่นใหม่ให้มีค่านิยม

ที่จะเห็นเป็นความดีงามความสามารถอันน่าภาคภูมิใจ ต่อเมื่อได้สร้างสมโภคทรัพย์นั้นด้วยความเพียร

โดยสุจริต และมีความตั้งใจมุ่งหมายที่จะใช้ทรัพย์นั้นทำสิ่งที่ดีงาม บำเพ็ญประโยชน์



การนิยมยกย่องคนเพียงเมื่อเห็นเขาเป็นคนมั่งมี โดยคิดว่า เขาเป็นคนมีบุญได้ทำกรรมดีไว้ในปางก่อน

(ชาติก่อน) ไม่มองดูการสร้างเหตุแห่งความมั่งมีของเขาในชาติปัจจุบัน นับว่าเป็นการปฏิบัติผิดจากแนวทาง

ของพระพุทธศาสนาทั้งสองด้าน คือ ทั้งเป็นการไม่ดำเนินตามแบบอย่างของพระพุทธเจ้าที่กล่าวข้างต้น

และทั้งเป็นการไม่ใช้ปัญญาสืบสาวเหตุปัจจัยให้ตลอดสาย โดยเฉพาะเหตุปัจจัยชาติปัจจุบัน เป็นส่วนที่

สัมพันธ์โดยตรงใกล้ชิดกว่า จึงต้องพิจารณาให้ความสำคัญมากกว่า

ส่วนกรรมปางก่อนจะช่วยได้ก็เพียงเป็นพื้นฐานเดิมที่สนับสนุน เช่น ร่างกาย ความถนัด เชาวน์ ไวไหวพริบ

และจริตนิสัยบางอย่างที่เกื้อกูลแก่การนั้น

หากจะมองกรรมปางก่อนเป็นเหตุสำคัญ ก็จะได้เฉพาะคนที่เกิดมาในครอบครัวที่มั่งมีอยู่แล้ว และแม้ในกรณีนี้

พระพุทธเจ้าก็หาได้ทรงยกเป็นข้อสำหรับที่จะยกย่องสรรเสริญไม่ เพราะหลักทั่วไปของพระพุทธศาสนา

ไม่ถือความประเสริฐเพียงเพราะชาติตระกูลอยู่แล้ว

จุดที่พระพุทธเจ้าทรงสรรเสริญสำหรับบุคคลเช่นนั้น คือ กรรมดีงามที่เป็นเหตุให้เขามาได้รับผลอันน่าปรารถนา

นี้ต่างหาก

ส่วนการที่เขาเกิดมาในความมั่งมีพรั่งพร้อมอยู่แล้วนั้น ก็เป็นอันว่าเขาได้รับผลดีของเขาอยู่แล้ว ไม่จำต้อง

ยกเอามาสรรเสริญอีก

ตามหลักพุทธศาสนาถือว่า นั่นเป็นทุนเดิมหรือพื้นฐานดี ซึ่งทำให้เขามีโอกาสดีหรือพร้อมดีกว่าผู้อื่น หรือจะ

เรียกว่าได้เปรียบคนอื่น ในการที่ก้าวต่อไปในชาตินี้ เป็นอันว่าผลของเรื่องเก่าได้เสร็จสิ้นไปแล้ว

ถึงจุดเริ่มต้นใหม่ จุดที่พระพุทธเจ้าจะทรงติเตียนหรือสรรเสริญสำหรับคนเช่นนี้ ก็อยู่ที่ว่าเขาจะปฏิบัติต่อทุน

เดิมหรือพื้นฐานดีที่เขามีอยู่แล้วนั้นอย่างไร

ส่วนสำหรับกรณีทั่วไป ก็เหมือนดังที่กล่าวแล้วข้างต้น คือ จะทรงยกย่องสรรเสริญหรือติเตียน ก็อยู่ที่ว่ากรรม

อันเป็นวิธีที่เขากระทำเพื่อให้เกิดทรัพย์นั้นสุจริตชอบธรรมหรือไม่ และเขาปฏิบัติต่อทรัพย์นั้นอย่างไร

พูดอีกนัยหนึ่งให้ตรงจุดว่า มิใช่ความมั่งมีหรือคนมั่งมีดอกที่พระพุทธเจ้าทรงติเตียนหรือสรรเสริญ

พระพุทธเจ้าทรงติเตียนหรือสรรเสริญที่การกระทำของคนมั่งมีต่างหาก

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 14 มิ.ย. 2010, 18:32 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ข.ในแง่สังคม ตามหลักพระพุทธศาสนา ทรัพย์เป็นอุปกรณ์หรือเป็นปัจจัยอุดหนุนชีวิต ไม่ใช่จุดหมาย

ของชีวิต
ทรัพย์จึงควรเป็นเครื่องช่วยให้มนุษย์มีความสะดวกมากขึ้นและพร้อมมากขึ้น ในการที่จะดำเนินชีวิต

ที่ดีงามและทำกิจที่ดีงามเพื่อเข้าถึงสิ่งที่ดีงามยิ่งขึ้นไป ทรัพย์เกิดขึ้นที่ไหน แก่บุคคลใด ก็ควรเกิดขึ้นเพื่อ

เกื้อกูลแก่มนุษย์ เป็นปัจจัยอุดหนุนให้มนุษย์ทั้งหลายสามารถดำเนินชีวิตที่ดีงาม พร้อมที่จะทำสิ่งที่ดีงาม

ได้มากยิ่งขึ้น

ตามหลักการนี้ เมื่อทรัพย์เกิดขึ้นแก่บุคคลผู้หนึ่ง สังคมก็พลอยยิ่งเจริญงอกงามอุดมสมบูรณ์ยิ่งขึ้น

ดังนั้น ทรัพย์เกิดขึ้นแก่คนดีคนหนึ่ง ก็เท่ากับเกิดขึ้นแก่สังคมด้วย บุคคลดีที่มั่งมีขึ้นนั้น เป็นเหมือนเนื้อนาดีที่

ข้าวงอกงามขึ้นเพื่อประโยชน์สุขของคนทั้งปวง คนมั่งมีตามหลักการนี้ พึงยินดีเอิบอิ่มใจที่ได้มีความสามารถทำ

หน้าที่เป็นตัวแทนเป็นเจ้าการหรือมีเกียรติเหมือนได้รับความไว้วางใจจากสังคม ในการจัดหาทรัพย์มาช่วยอุด

หนุนหล่อเลี้ยงเพื่อนมนุษย์ในสังคมของตนให้อยู่สุขสบายและมีโอกาสทำกิจที่ดีงาม (เทียบอนาถบิณฑิก

เศรษฐี)

แต่ในทางตรงข้าม ถ้าบุคคลผู้หนึ่งๆ ยิ่งร่ำรวยขึ้น สังคมยิ่งซูบโทรมลง เพื่อนมนุษย์ยิ่งมีทุกข์ทรมานมากขึ้น

ก็เป็นเครื่องแสดงว่ามีการปฏิบัติผิดต่อทรัพย์ ทรัพย์ไม่เป็นปัจจัยอุดหนุนตามวัตถุประสงค์ของมัน ไม่ช้าสังคม

ก็จะระส่ำระสาย ในที่สุด ถ้ามิใช่บุคคลมั่งมีดำรงอยู่ไม่ได้ ก็สังคมอยู่ไม่ได้ หรือทั้งสองอย่าง

สังคมอาจปลดเขาจากตำแหน่ง แล้ววางระบบวิธีจัดหาทรัพย์และตั้งเจ้าหน้าที่จัดสรรทรัพย์ใหม่

ซึ่งอาจเป็นผลดีขึ้นหรือเลวลงก็ได้

แต่จะอย่างไรก็ตาม คติก็มีอยู่ว่า ถ้ามนุษย์ปฏิบัติผิด ทรัพย์ที่มีขึ้นเพื่อประโยชน์ ย่อมกลับเป็นโทษ

ที่ทำลายทั้งความเป็นมนุษย์ ตัวมนุษย์และสังคมมนุษย์

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


แก้ไขล่าสุดโดย กรัชกาย เมื่อ 14 มิ.ย. 2010, 18:52, แก้ไขแล้ว 1 ครั้ง

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 14 มิ.ย. 2010, 18:36 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ค.ในแง่รัฐ พระพุทธศาสนามองเห็นความสำคัญของทรัพย์ในสังคมของชาวโลกว่า ความจนเป็นความทุกข์

ในโลก
-(องฺ.ฉกฺก.22/316/393) ความยากไร้ขาดแคลนเป็นสาเหตุสำคัญของอาชญากรรมและความชั่ว

ร้ายต่างๆในสังคม -(ที.ปา.11/39/70;45/77 ... เช่นเดียวกับความโลภ และสัมพันธ์กันกับ

ความโลภด้วย) และถือว่า เป็นหน้าที่ของรัฐ หรือ ผู้ปกครองบ้านเมือง ที่จะต้องคอยเอาใจใส่ดูแลจัดสรร

ปันทรัพย์ให้แก่เหล่าชนผู้ไร้ทรัพย์ ไม่ให้มีคนจนขัดสนในแผ่นดิน-(เช่น ที.ปา.11/35/65;

ที.สี.9/206/172...มุ่งช่วยพร้อมกับส่งเสริมความขยัน ไม่ให้จนเพราะความเกียจคร้าน)


ซึ่งทั้งนี้ ต้องอาศัยวิธีการต่างๆประกอบกัน และตามที่เหมาะกับสถานการณ์โดยเฉพาะ การจัดให้ราษฎร

ทุกคนมีทางทำมาหาเลี้ยงชีพโดยสุจริต การส่งเสริมอาชีพ การจัดสรรเกี่ยวกับทุนและอุปกรณ์

การควบคุมป้องกันไม่ให้มีอธรรมการ คือ การกระทำและวิธีการที่ไม่ชอบธรรม ไม่เป็นธรรม การเอารัดเอา

เปรียบกัน เป็นต้น

โดยนัยนี้ ย่อมจะถือเป็นหลักการได้ว่า การไม่มีคนยากจนเป็นเครื่องวัดความสำเร็จของรัฐได้ดีกว่าการ

มีคนร่ำรวย

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 14 มิ.ย. 2010, 18:43 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 1
สมาชิก ระดับ 1
ลงทะเบียนเมื่อ: 16 มี.ค. 2010, 10:17
โพสต์: 31

ชื่อเล่น: หนึ่ง
อายุ: 35

 ข้อมูลส่วนตัว www


ขอบคุณค่ะ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 14 มิ.ย. 2010, 18:50 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


มักจะมีคำถามว่า ระบบเศรษฐกิจ ระบบการเมือง แบบไหน ถูกต้องหรือไปกันได้กับพระพุทธศาสนา

เรื่องนี้อย่างน้อยในขั้นพื้นฐาน ไม่ใช่เรื่องที่พระพุทธศาสนาจะต้องตอบ หรือ หากไม่ถูกหาว่าตีโวหาร

ก็อาจต้องย้อนว่า ระบบไหนที่ปฏิบัติได้ตามหลักการของพระพุทธศาสนา ก็ระบบนั้นแหละ

ความจริงระบบต่างๆนั้น เป็นเรื่องในระดับวิธีการ และเรื่องของวิธีการนั้น ตามหลักพระพุทธศาสนาถือว่า

ย่อมเปลี่ยนแปลง หรือ ดัดแปลงไปได้ตามปัจจัยแวดล้อมทั้งในทางกาละและเทศะ

สิ่งที่จะต้องพูดก่อนก็ คือ หลักการและวัตถุประสงค์ สาระสำคัญของโภคทรัพย์ ก็ดังที่ได้กล่าวแล้วในข้อ ข.

คือ เป็นอุปกรณ์ หรือ เป็นปัจจัยอุดหนุนช่วยให้มนุษย์สามารถจัดสรรความเป็นอยู่ของพวกตน ให้สะดวกและ

เกื้อกูลแก่การที่จะอยู่ร่วมกันโดยสงบสุข และมีความพร้อมยิ่งขึ้นที่จะทำสิ่งดีงาม บรรลุความดีงามที่ยิ่งๆขึ้นไป

เมื่อทรัพย์เกิดขึ้นที่ไหน หรือแก่ใครก็ตาม ก็คือมีปัจจัยอุดหนุนเกิดขึ้นในสังคม มนุษย์ทั้งหลายสามารถมีชีวิต

ที่ดีและเจริญงอกงามยิ่งขึ้น

ระบบวิธีทางเศรษฐกิจ ทางการเมือง อันหนึ่งอันใดก็ตาม สามารถทำให้สำเร็จผลด้วยดี

ตามความหมายแห่งหลักการและวัตถุประสงค์นี้ ระบบวิธีนั้น ก็สอดคล้องกับพระพุทธศาสนา


ส่วนที่ว่า ระบบวิธีเป็นสิ่งที่เนื่องด้วยปัจจัยแวดล้อมแห่งกาละและเทศนั้น มองเห็นได้ง่าย เช่น

ในพุทธกาล เมื่อพระพุทธเจ้าทรงตั้งคณะสงฆ์ขึ้นเป็นชุมชนเฉพาะกิจ เฉพาะวัตถุประสงค์

ทรงจัดวางวินัยให้พระภิกษุไม่มีทรัพย์สินส่วนตัว นอกจากบริขาร ๘ แต่ให้ทรัพย์สินเป็นของสงฆ์คือส่วนรวม

หรือของกลางนั้น

ในเวลาเดียวกันสำหรับสังคมของชาวโลก ซึ่งขณะนั้นมีการปกครองในชมพูทวีป ๒ แบบ

ก็ทรงสอนหลักอปริหานิยธรรมสำหรับรัฐที่ปกครองแบบสามัคคีธรรม หรือ แบบสาธารณรัฐ และทรงสอนหลัก

จักรวรรดิวัตรสำหรับรัฐที่ปกครองแบบราชาธิปไตย


เรื่องนี้แสดงลักษณะอย่างหนึ่งของพุทธธรรมด้วย คือ พุทธธรรมไม่ใช่เป็นเพียงปรัชญาหรือเรื่องของนักคิด

แต่เป็นเรื่องของศาสดานักปฏิบัติ ซึ่งเข้าไปเกี่ยวข้องกับประชาชนผู้ดำรงชีวิตจริงท่ามกลางสภาพสังคม

และสถานการณ์ที่เป็นไปอยู่ในเวลานั้นๆ ต้องสอนสิ่งที่เขาใช้ได้

ปฏิบัติได้ให้เกิดประโยชน์สุขแก่เขาตั้งแต่ปัจจุบัน ดังที่เรียกว่า ทรงสอนความจริงที่เป็นประโยชน์

หากจะต้องรอจนกว่าหลังจากสถาปนาระบบที่ว่าดีที่สุด ซึ่งความจริงก็ยังเป็นเพียงระบบที่หวังว่าดีที่สุด

เสร็จแล้ว จึงค่อยใช้ระบบนั้นทำให้ประชาชนประสบประโยชน์สุข

อย่างนี้จะพ้นจากความเป็นการปฏิบัติเลื่อนลอยและพ้นจากความงมงายได้อย่างไร

ในเมื่อทั้งระบบสามัคคีธรรมก็มีอยู่

ทั้งระบบราชาธิปไตยก็มีอยู่

ในเวลานั้น ก็เป็นอันว่า ประชาชนที่อยู่ภายใต้ระบบราชาธิปไตย พระศาสดาก็ต้องช่วยให้เขาอยู่ดีมีสุข

ประชาชนที่อยู่ภายใต้ระบอบสามัคคีธรรม พระองค์ก็ต้องช่วยให้เขาอยู่ดีมีสุข



สำหรับระบอบแรก ทรงเน้นให้ผู้ปกครองมองเห็นยศศักดิ์อำนาจเป็นเครื่องมือสร้างประโยชน์สุขแก่ราษฎร

มิใช่เป็นเครื่องมือแสวงหาสิ่งปรนเปรอบำเรอสุขส่วนตน

สำหรับระบอบหลังทรงแนะนำหลักและวิธีการที่จะดำเนินกิจการให้เข้มแข็งมั่นคงได้ผลดี

ในระยะที่ระบอบราชาธิปไตยเจริญในทางดีงามอย่างสูงสุด

คติธรรมแนวพุทธนี้ก็ได้เป็นหลักการปกครองของพระเจ้าอโศกมหาราช ดังดำรัสของพระองค์ในศิลาจารึกว่า

“สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวปริยทรรศี ผู้เป็นที่รักแห่งทวยเทพ ไม่ทรงถือว่า ยศหรือเกียรติ จะเป็นสิ่งมีประโยชน์

มาก เว้นแต่จะทรงปรารถนายศ หรือ เกียรติเพื่อความมุ่งหมายนี้ว่า ทั้งในบัดนี้ และในเบื้องหน้า

ขอประชาชนทั้งหลายจงตั้งใจสดับฟังคำสอนธรรมของข้า ฯ และจงปฏิบัติตามหลักความประพฤติใน

ทางธรรม” *


เมื่อจับสาระที่เป็นหลักการและความมุ่งหมายของพระพุทธศาสนาในเรื่องนี้ได้แล้ว การที่จะวินิจฉัยว่า ระบบใด

ถูกต้องสอดคล้องกับหลักการและความมุ่งหมายนั้น ซึ่งเป็นเรื่องที่ต้องพิจารณารายละเอียดกันยืดยาว ก็ปล่อย

ให้เป็นเรื่องของผู้รู้เชียวชาญเกี่ยวกับระบบนั้นๆจะพึงถกเถียงกัน หรือ หากจะคิดวางระบบวิธีใหม่ที่ถูกต้องได้ผลดี

ยิ่งกว่าระบบต่างๆเท่าที่มีอยู่ขึ้นมาได้ ก็คงจะยิ่งเป็นการดี

:b42: :b42: :b42: :b42: :b42: :b42: :b42: :b42: :b42: :b42: :b42: :b42: :b42: :b42: :b42:

*ดู ธรรมโองการ จารึกศิลา ฉบับที่ ๑๐ ในจารึกอโศก (หนังสือ Asokan Edicts หรือ

Asokan lnscriptions ฉบับใดก็ได้)


(ลอกมาจากหนังสือพุทธธรรม)

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 14 มิ.ย. 2010, 19:26 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ดังกล่าวมาเชื่อมกับข้อคิดดังว่า


หลักการ หรือ คำสอนใดก็ตาม ที่เป็นเพียงการคิดค้นหาเหตุผลในเรื่องความจริง เพื่อสนองความต้องการ

ทางปัญญา โดยมิได้มุ่งหมายและมิได้แสดงแนวทางสำหรับประพฤติปฏิบัติในชีวิตจริง อันนั้น ให้ถือว่า

ไม่ใช่พระพุทธศาสนา โดยเฉพาะอย่างที่ถือว่า เป็นคำสอนเดิมแท้ของพระพุทธเจ้า

ฯลฯ

ลิงค์ "สิ่งที่ควรเข้าใจก่อนศึกษาพุทธศาสนา"

viewtopic.php?f=2&t=19015

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


แก้ไขล่าสุดโดย กรัชกาย เมื่อ 14 มิ.ย. 2010, 19:27, แก้ไขแล้ว 1 ครั้ง

แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 23 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1, 2

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 60 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร