วันเวลาปัจจุบัน 26 เม.ย. 2024, 16:23  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


กฎการใช้บอร์ด


รวมกระทู้จากบอร์ดเก่า http://www.dhammajak.net/board/viewforum.php?f=7



กลับไปยังกระทู้  [ 8 โพสต์ ]    Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 08 มิ.ย. 2010, 12:29 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 13 ก.พ. 2010, 16:34
โพสต์: 1050

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


อะไรคือ กิเลส
:b42: :b42: :b42:
....กิเลส คือ ความเศร้าหมองทางจิต (ที่มีผลถึงทางกายด้วย) เป็นกงล้อของวัฏฏะ เกิดมาจากความเห็นแก่ตัว ตามใจตัว ก่อให้เกิดการปรุงแต่งอารมณ์ต่างๆ ขึ้นมา รบกวนความปกติ,ความแจ่มใสของจิต
....ตามความเข้าใจของคนทั่วไปนั้น รู้สึกว่ากิเลสมีหลายร้อยหลายพันชนิด...แต่เพื่อความเข้าใจกิเลสตามความหมายในที่นี้..จะขอแบ่งเป็น ๓ ชนิด ตามมูลเหตุที่เกิดอาการ ซึ่งการแบ่งที่กล่าวนี้ แบ่งเพื่อการเข้าใจอาการและกิเลสที่เกิดขึ้น เพื่อการทำจิตให้ปลอดโปร่ง และเพื่อระงับกิเลสตามขั้นตอน หรือกำจัดอย่างสิ้นเชิง และสำหรับผู้เริ่มปฏิบัติสมาธิภาวนา, หรือแม้แต่การว่างเพื่อใช้ปัญญาทำการงานใดๆ ในทางโลก ก็หวังความสำเร็จได้ก่อนลงมือทำ
....คนทั่วไปรู้จักกิเลส ว่ามาจากอารมณ์ แต่แยกไม่ถูก และไม่รู้จักชนิดของอารมณ์ ไม่เข้าใจชัดเจนว่ากิเลสแตกต่างกันและต่อเนื่องกันอย่างไร? และไม่รู้ว่า เหตุใดจิตจึงเพาะเชื้อกิเลสไปตามลำดับ จนปรากฏผลให้เห็นเป็น "อาการ" เช่น คนบางคนมีอารมณ์ร้าย-ดีทุกชนิดได้เร็วมาก เกิดอารมณ์ง่ายทุกวินาที ไม่ว่าเหตุกระทบนั้นจะหนักหรือเบา ก็รุนแรง รักมากโกรธมากกับผู้อื่นได้ หรือในทางตรงกันข้าม เกิดอารมณ์หดหู่ ท้อแท้ มีอาการซึมเศร้าฉับพลัน จนถึงฆ่าตัวเองได้ ฉะนั้นเราควรรู้จักกิเลสเสียให้เพียงพอที่จะสามารถแยกอารมณ์และผลของมัน เพื่อริดรอนกิเลสลงตามลำดับ หรือกำจัดมันเสียโดยสิ้นเชิง


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 08 มิ.ย. 2010, 13:07 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 13 ก.พ. 2010, 16:34
โพสต์: 1050

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


[b]สำหรับการกำจัดกิเลส ทำได้โดย มีสติ มีศีล มีปัญญา หรือ มีสัมมาวิหาร(อยู่โดยชอบด้วยการเจริญอริยมรรค) ส่วนการผ่อนคลายก็ทำได้โดยการควบคุมอารมณ์ให้ร่มเย็นตามธรรมดา, รักษาอารมณ์ให้ปกติ ซึ่งหมายถึงการผ่อนคลายกิเลสโดยวิธีธรรมชาติ และแม้จะไม่ได้ใช้หลักธรรมะเข้าช่วยก็ยังเป็นการเมตตาต่อตนเองที่ควรต้องทำให้ได้อยู่เสมอๆ[/b]
:b42: :b48: :b42: :b48: :b42: :b48: :b42: :b48:

:b43: ชนิดของอารมณ์และผลของมัน
๑.อารมณ์รัก,อารมณ์อยากได้; จะเอา-จะเป็น รักตัวเห็นแก่ตัว กิเลสนี้มาจาก"โลภะ"
๒. อารมณ์โกรธ; ถ้าขี้ขลาดก็จะหนี จะทำลายตนเอง ถ้าเห็นแก่ตัวมาก มีตัวกู-ของกู ท่วมหัวท่วมหู
ก็จะหน้ามืดทำลายผู้อื่น กิเลสนี้มาจาก"โกธะ"
๓. อารมณ์โลเล, ไม่แน่, ไม่รู้; เดี๋ยวเอา เดี๋ยวไม่เอา เดี๋ยวขุ่นมัวเดี๋ยวกระตือรือล้น กิเลสนี้มาจากความหลง"โมหะ"
ความหลงนี้.,มีผลมากในการเพาะเชื้อ[b] นิวรณ์
และอนุสัย เกิดอาสวะ ล้นจากอนุสัยกลับมาเป็นกิเลสอีก โมหะเป็นกิเลสชนิดที่รวดเร็วที่จะวนกลับไปกลับมา ทำให้มีอาการหลงตน หลงผิด หลงทาง ไม่รู้จุดหมายของชีวิต ความหลงหรือโมหะนั้น เกิดจาก "อวิชชา"[/b]

:b48: :b48: :b48:


แก้ไขล่าสุดโดย ศรีสมบัติ เมื่อ 08 มิ.ย. 2010, 13:08, แก้ไขแล้ว 1 ครั้ง

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 08 มิ.ย. 2010, 13:16 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 29 พ.ค. 2007, 09:55
โพสต์: 1632


 ข้อมูลส่วนตัว


กิเลส คือ ความโลภ ความโกรธ ความหลง
ความโลภ ความโกรธ ความหลง ก่อให้เกิด ความเศร้าหมองในจิตใจ หรือ อย่างที่คุณกล่าวว่า ความเศร้าหมองทางจิต

ความโลภ ความโกรธ ความหลง สามารถแยกแยะรายละเอียด ได้มากมาย เช่น การไม่ได้สิ่งที่หวัง การพลัดพรากจากสิ่งที่รัก การได้อยู่ร่วม หรือไม่ได้อยู่ร่วม อย่างนี้เป็นต้น
ซึ่ง ความโลภ ความโกรธ ความหลง ก็ล้วนเกิดจาก

การครองเรือน ,ทาน คือ การให้
การกตัญญู รู้คุณในสรรพสิ่ง, การเจรจา ติดต่อสื่อสาร
การประกอบสรรพอาชีพ , การประพฤติฯ
การคิด หรือความคิด , การระลึกนึกถึง หรือ ความหวนนึกถึง

นี้คือหลักโมกษะธรรม แห่ง ศรีอาริยเมตไตรย ไม่มีผู้ใดหนีพ้น หลักโมกษะธรรมนี้


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 08 มิ.ย. 2010, 13:28 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 13 ก.พ. 2010, 16:34
โพสต์: 1050

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


:b43: กิเลส ๓ ระดับ...ที่เกาะกุมจิต และบงการชีวิตให้โง่เขลา ตกต่ำ :b43:

๑. กิเลสหยาบ มีอาการรุนแรง มีโทษแก่ตน และมีอันตรายแก่คนอื่น
โลภะหรือ ราคะ อาการ., อยากได้ ดึงเข้ามา และยึดครองไว้
โทสะหรือ โกธะ อาการ., อยากทำลาย ผลักออกไป หรือทำลายเสีย
โมหะ อาการ.,สงสัย ติดตาม วนอยู่รอบๆ ด้วยความโง่ ความไม่รู้
:b48: :b48: :b48: ความไม่มีโลภะ โทสะ โมหะ คืออยู่ด้วยศีล ด้วยสติ และด้วยการควบคุมสัญชาตญานได้
๒. กิเลสกลาง.,นิวรณ์ ๕ นิวรณ์แปลว่า เครืองปิดกั้นทางเจริญของจิต ปิดกั้นความดี ความสงบ นิพพาน., ลักษณะกิเลสที่เรียกว่านิวรณ์นี้มีอาการเนือยๆ แต่วนเวียนกลุ้มรุมจิตให้เสียความปกติ ทำให้จิตเศร้าหมองไม่แจ่มใส หมกมุ่น ขุ่นมัว กระสับกระส่าย รำคาญ เป็นอันตรายแก่ตนโดยเฉพาะ เพราะความเศร้าหมองมีหลายขั้นหลายระดับ ทำให้ชีวิตสูญเสียโอกาสทั้งทางโลกและทางธรรม โดยเฉพาะทางธรรมนั้น นิวรณ์ปิดกั้นหนทางนิพพาน
:b48: นิวรณ์ มี ๕ อาการ คือ... :b48:
๑. กามฉันทะ.....ครุ่นอยู่ด้วยความรู้สึกทางกาม,ความพอใจ
๒. พยาบาท......ครุ่นอยู่ด้วยความรู้สึกทางโทสะ หรือความหงุดหงิด
๓. ถีนมิทธะ......ครุ่นอยูด้วยความรู้สึกทางโมหะ หรือความหดหู่ของจิต
๔. อุทธัจจะกุกกุจะ...ครุ่นอยู่ด้วยความรู้สึกทางโมหะ หรือความฟุ้งซ่านทางจิต
๕. วิจิกิจฉา.......ครุ่นอยู่ด้วยความรู้สึกทางโมหะ หรือความลังเลสงสัยไม่แน่ใจ
....นิวรณ์ ๕ นี้ เป็นสิ่งคู่กับอนุสัย ไหลออกมาจากอนุสัย ที่สะสมอยู่ในสันดานโดยไม่ต้องเจตนา หรือไม่ต้องอาศัยสิ่งแวดล้อมภายนอก แต่สิ่งแวดล้อมก็เป็นปัจจัยให้เกิดนิวรณืได้ แต่ละชนิดๆไป, นิวรณืมีอยู่ในความรู้สึก นึกคิด ใต้จิตสำนึก หรือกึ่งจิตสำนึก

:b48: :b48:


แก้ไขล่าสุดโดย ศรีสมบัติ เมื่อ 08 มิ.ย. 2010, 13:33, แก้ไขแล้ว 2 ครั้ง.

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 09 มิ.ย. 2010, 12:28 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 13 ก.พ. 2010, 16:34
โพสต์: 1050

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


:b43: ความไม่มีนิวรณ์
คือ อย่าเป็นคนชอบนึกคิด, ไม่ประมาท, ให้มีธัมมปิติ และ ธัมมสมาธิควบคุม ตลอดจนถึงมีอัตถังคมะขั้นเด็ดขาด(นิโรธ) คือ อรหัตตมรรคในที่สุด


:b48: :b48: :b48:

๓. กิเลสละเอียด.,อนุสัย ๓ หรือ สังโยชน์ ๗,

อนุสัย คือ ความเคยชิน หรือกิเลสที่สะสมอยู่ในสันดานของจิต อยู่ลึกซับซ้อนกว่านิวรณ์ ต้องใช้กำลังของจิตที่นิ่งสงัดจริงๆ จึงจะพอมองเห็นได้ เป็นกิเลสที่นอนเนื่องอยู่ในสันดาน หรือเป็นความเคยชินที่จะกลับเกิดเป็นกิเลสขึ้นมาใหม่อีก., มี ๓ ชนิดคือ ราคานุสัย,ปฏิฆานุสัย,และ อวิชชานุสัย...
อนุสัยนี้เป็นสิ่งที่คู่กับนิวรณ์ มีอนุสัยก็มีนิวรณ์

:b43: :b43: :b43:
อนุสัย ๓...ราคานุสัย,ปฏิฆานุสัย,อวิชชานุสัย
สังโยชน์ ๗...กามราคะ,ปฏิฆะ,ทิฏฐิ,วิจิกิจฉา,มานะ,ภวราคะ,อวิชชา

๑. กามราคะ(ราคานุสัย)ความกำหนัด ความอยากได้ ติดใจในกาม คือ โลภะ
๒. ปฏิฆะ(ปฏิฆานุสัย) ความขัดใจ ความหงุดหงิดขัดเคือง คือ โทสะ
๓. ทิฏฐิ...ความเห็นผิด การถือความเห็น เอาความคิดเห็น เป็นความจริง
๔. วิจิกิจฉา..ความลังเล สงสัย
๕. มานะ...ความถือตัว
๖. ภวราคะ...ความกำหนัดในภพ ความอยากเป็น อยากยิ่งใหญ่ อยากยั่งยืน
๗. อวิชชา(อวิชชานุสัย)..ความไม่รู้จริง คือ โมหะ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 09 มิ.ย. 2010, 12:45 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 13 ก.พ. 2010, 16:34
โพสต์: 1050

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


:b48: :b48: :b48: ความไม่มีอนุสัย
คือ ป้องกันได้ด้วยการกำหนดสติ ตัดขาดสิ้นเชิงได้ด้วยปัญญา เป็นอยู่ด้วย สัมมาวิหาร(เจริญธรรมด้วยอริมรรคมีองค์ ๘ แต่ยังเป็น สาสวสัมมาทิฏฐิ คือยังมีอาสวะ., ยึดถือบุญ,ยึดมั่นตัวตน ยังเวียนว่ายตายเกิด)

:b48: :b48: :b48:
:b43: :b43: :b43: ลำดับขั้นตอนต่อเนื่องของกิเลส
๑. เมื่อมีปัจจัย จาก โลภะ โทสะ โมหะ ทำให้จิตเพาะอารมณ์ขึ้น เป็นการเกิดปรากฏอาการเฉพาะหน้าขึ้น เราเรียกอาการที่เกิดเฉพาะหน้านี้ว่า กิเลส(กิเลสหยาบ) และ นิวรณ์(กิเลสกลาง)
๒. แต่ถ้าเป็นกิเลสที่มาจากความเคยชินแห่งกิเลส และนิวรณ์ที่สะสมไว้ในสันดานนี้.,เรียกว่า อนุสัย (กล่าวแล้วว่า ผู้ปฏิบัติที่จะละกิเลสได้จนหมดอนุสัย., ก็ยังมีสาสวสัมมาทิฏฐิอยู่ ยังไม่ถึงนิพพาน)
๓. ขั้นตอนต่อจากอนุสัย., ถ้าจิตมีโอกาสหรือมีปัจจัย ก็ยังมีกิเลสชนิดที่ไหลออกมาจากคลังอนุสัย เรียกว่า"อาสวะ" และสำหรับผู้มี อนาสวสัมมาทิฏฐิคือ ปราศจาก อาสวะ เป็นพระอรหันต์ แล้ว หมายถึง ไม่ยึดบุญ ไม่มีตัวตนสำหรับเวียนว่ายตายเกิด หลุดพ้นแล้ว สภาพจิตที่ปราศจากกิเลสโดยสิ้นเชิงนี้จึงจะถึงซึ่งนิพพาน

....แต่ในที่สุด ผู้เริ่มศึกษาจะต้องสังเกตุว่า กิเลสทั้งปวงไม่ได้เริ่มเกิด-ดับ ไปตามที่ลำดับให้เห็นนี้เสมอไป อาจย้อนไปย้อนมา หรือเกิดติดต่อกันเป็นสายในเวลาเดียวกันก็ได้ (เช่น ความโกรธ มักมีเหตุเนื่องมาจากความโลภ เป็นต้น)


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 09 มิ.ย. 2010, 13:10 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 13 ก.พ. 2010, 16:34
โพสต์: 1050

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


...และถึงแม้ว่ากิเลสจะก่อกิเลสเนื่องกันขึ้นมา แต่วิธีกำจัดกิเลสก็ไม่ใช่กำจัดให้หมดทีเดียวได้ ทีละชนิด แต่ต้องกำจัดโดยวิธีลดกิเลสทุกชนิดลงไปด้วยกัน โดยการลงมือปฏิบัติตามคำสอนอย่างถูกต้องเป็นขั้นเป็นตอน เริ่มด้วยการเคร่งครัดในศีล เพื่อที่จะกำจัดความรุนแรงของกิเลสเฉพาะหน้าลงให้มาก
แล้วนิวรณ์ก็จะลดพร้อมกันลงไปด้วย ส่วนอนุสัยและอาสวะนั้นกำจัดได้ด้วยขั้นตอนของการเจริญสมาธิวิปัสสนาให้มากขึ้นๆ อนุสัยนั้นก็จะจางคลายตามลำดับและอาสวะก็จะเบาบางลง จนไม่เหลืออยู่อีกต่อไปในที่สุด. หมายความว่าการปฏิบัตินั้นถูกต้องตรงทางแล้ว สามารถขจัดกิเลสทั้งปวงให้หมดไปได้ด้วยกันแต่ไม่พร้อมกัน โดยจะหมดอาสวะเป็นประการสุดท้ายนั่นเอง

:b48: :b48: :b48:
...ที่ขยายความเรื่องกิเลสมาเหมือนกับว่ามากมายนี้ ก็ยังไม่เป็นอรรถะ สาระที่ครบถ้วน หรือเกือบครบถ้วนแต่อย่างใด แต่เพื่อให้ผู้อ่านได้เข้าใจพอสังเขปว่า
๑. คนทั่วไปรู้จัก โลภะ โทสะ โมหะ แต่ไม่เข้าใจดี
๒. คนทั่วไปรู้จัก นิวรณ์ ๕ กันบ้างเล็กน้อย และบางคนไม่รู้จักเลย ทั้งๆที่ นิวรณ์ ๕ นี้ทำลายเฉพาะตนของตนเป็นอย่างมาก บุคคลที่ปล่อยให้จิตสะสมนินิวรณ์อย่างท่วมท้น อาจจะเป็นคนประเภทที่คิดฆ่าตัวตายได้
๓. คนทั่วไปหยั่งไม่ถึง อนุสัย และ อาสวะ เพราะสภาวะจิตไม่สว่าง ไม่ขาว และไม่ละเอียดพอ

แต่บท..ขุมทรัพย์จากพระโอษฐ์นี้ แสดงถึงพุทธดำรัสที่พระพุทธองค์ตรัสขึ้นเพื่อใช้ขนาบกิเลสทั้งปวงของบรรพชิต ให้บรรพชิตหมั่นสอดส่องให้ถึงอนุสัย หยั่งให้เห็นโทษ และให้ละอนุสัย หรือสันดานที่นอนเนื่องอยู่ในจิตให้ได้ การหมั่นทำจิตของตนให้ขาวรอบ ให้หมดสิ้นจนถึงอาสวะ ตามลำดับนั้น..นั่นแหละ..คือ วัฏฏปฏิบัติที่บรรพชิตหรือผู้ใฝ่ศึกษาจะสามารถเรียนรู้พิษสงของ นิวรรณ์ และอนุสัย ได้จากคำขนาบ-ชี้ชวนนี้ อย่างลึกซึ้งต่อไป.
๔. ได้กล่าวไว้ตั้งแต่คำนำว่า"...จุดหมายการเขียน ธรรมโฆษณ์ ขุมทรัพย์ทางปัญญา นี้ มุ่งประเด็นหลักสำหรับผู้เริ่มศึกษา...หวังให้เกิดผู้เริ่มต้น ให้เพิ่มผู้เริ่มต้น และให้กำลังใจผู้เริ่มต้น" ดังนั้น แนวการค้นคว้า การเขียน จึงพยายามให้พอดีกับผู้เริ่มต้น เพื่อให้เข้าใจง่าย และไม่รู้สึกท้อถอยเสียก่อน โดยเฉพาะการปฏิบัติเพื่อละกิเลส


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 09 มิ.ย. 2010, 13:19 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 13 ก.พ. 2010, 16:34
โพสต์: 1050

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


...ดังได้เคยกล่าวแล้วในบทก่อน..ว่า การเห็นกิเลสตนเอง และการกำจัดกิเลสนี้เป็นเรื่องยากที่สุด แต่ที่ยากยิ่งกว่าคือ การกำจัดนิวรณ์ และการทำให้หมดอนุสัย จนถึงหมดอาสวะ ซึ่งความยากลำบากนี้ เปรียบได้ว่ายากยิ่งกว่าที่เคยกล่าวว่า "จูงช้างรอดรูเข็ม" ขึ้นไปอีก แต่เมื่อปรากฏผลอยู่ว่า มีผู้ปฏิบัติได้
สำเร็จได้เป็นหลักฐาน และโลกไม่เคยขาดพระอรหันต์ ไม่เคยขาด"ผู้เดินทาง(ธรรม)" ดังนั้น ความพยายามทำช้างให้เล็กลงจนรอดรูเข็มได้ ที่อุปมาเหมือนความพยายามที่จะกำจัดกิเลสให้น้อยลง เล็กลง ซึ่งแม้จะไม่หมดไปในวันนี้ ก็ยังศรัทธาที่จะพยายามต่อไป

:b48: :b42: :b48: :b42: :b48: :b48: :b42: :b48:

ที่มา...จาก ธรรมโฆษณ์ ขุมทรัพย์ทางปัญญา(ท่าน พุทธทาส)
ค้นคว้า เรียบเรียง โดย อ. อโณทัย อาตมา


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 8 โพสต์ ] 

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 62 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร