ลานธรรมจักร
http://www.dhammajak.net/forums/

ความหมายของศัพท์ที่ใช้ทางศาสนา (2)
http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=7&t=31610
หน้า 1 จากทั้งหมด 2

เจ้าของ:  กรัชกาย [ 11 พ.ค. 2010, 20:06 ]
หัวข้อกระทู้:  ความหมายของศัพท์ที่ใช้ทางศาสนา (2)

รูปภาพ


เอาศัพท์ที่ใช้ในทางศาสนาที่เคยเห็นได้ยินบ่อยๆ แต่ยังเข้าใจความหมายของศัพท์นั้นๆไม่ชัดเจนมาลงต่อจากลิงค์นี้

viewtopic.php?f=2&t=23002

ซึ่งยาวเกินไป

เจ้าของ:  กรัชกาย [ 11 พ.ค. 2010, 20:09 ]
หัวข้อกระทู้:  Re: ความหมายของศัพท์ที่ใช้ทางศาสนา (2)

คำว่า พรหมจรรย์ พระอรรถกถาจารย์แสดงความหมายไว้ ๑๒ นัยสำคัญ เช่น

พระศาสนาทั้งสิ้น

การประพฤติปฏิบัติตามมรรคมีองค์แปด

พรหมวิหาร

ทาน

ความสันโดษด้วยภรรยาของตน

การงดเว้นจากเมถุนธรรม

ธรรมเทศนา เป็นต้น เรียกว่า พรหมจรรย์

เจ้าของ:  กรัชกาย [ 11 พ.ค. 2010, 20:13 ]
หัวข้อกระทู้:  Re: ความหมายของศัพท์ที่ใช้ทางศาสนา (2)

คำว่า สังขาร ก็มีผู้นำมาพูดกันบ่อยๆ ดูความหมายคำว่า สังขารสั้นๆดังนี้


สังขาร ในขันธ์ 5 หมายถึง สภาวะที่ปรุงแต่งจิต ให้ดี ให้ชั่ว ให้เป็นกลาง ได้แก่คุณสมบัติต่างๆ

ของจิต มีเจตนาเป็นตัวนำ ที่ปรุงแปรการตริตรึกนึกคิดในใจ และการแสดงออกทางกาย วาจา ให้เป็นไป

ต่างๆ เป็นตัวการของการทำกรรม เรียกง่ายๆว่า เครื่องปรุงของจิต เช่น ศรัทธา สติ หิริ

โอตตัปปะ เมตตา กรุณา ปัญญา โมหะ โลภะ โทสะ เป็นต้น ซึ่งทั้งหมดนั้นล้วนเป็นนามธรรม มีอยู่ใน

ใจทั้งสิ้น นอกเหนือจากเวทนา สัญญา และวิญญาณ


สังขาร ที่กล่าวถึงในไตรลักษณ์ หมายถึง สภาวะที่ปรุงแต่งคือสภาวะที่เกิดจากเหตุปัจจัยปรุงแต่งขึ้น

ทุกอย่าง ประดามี ไม่ว่าจะเป็นรูปธรรมหรือนามธรรมก็ตาม เป็นด้านร่างกายหรือจิตใจก็ตาม มีชีวิตหรือ

ไร้ชีวิตก็ตาม อยู่ในจิตใจหรือเป็นวัตถุภายนอกก็ตาม เรียกอีกอย่างหนึ่งว่า สังขตธรรม คือทุกสิ่งทุกอย่าง

เว้นนิพพาน


จะเห็นว่า สังขาร ในขันธ์ 5 มีความหมายแคบกว่า สังขาร ในไตรลักษณ์ หรือเป็นส่วนหนึ่งของสังขาร

ในไตรลักษณ์นั่นเอง


(เจตนา แปลว่า ความจำนง ความจงใจ ความตั้งใจ)

เจ้าของ:  กรัชกาย [ 11 พ.ค. 2010, 20:24 ]
หัวข้อกระทู้:  Re: ความหมายของศัพท์ที่ใช้ทางศาสนา (2)

ความหมายของศีลและวัตรสั้นๆ

ศีลกับวัตรแตกต่างกัน ตามนัยคัมภีร์มหานิทเทสว่า ศีล หมายถึงการสังวร ยับยั้ง ไม่ละเมิด

วัตร หรือ พรต หมายถึงการปฏิบัติ

บทบัญญัติในวินัยของภิกษุสงฆ์มีทั้งที่เป็นศีลและเป็นวัตร

ส่วนข้อปฏิบัติที่เรียกว่า ธุดงค์ทั้งหลายเป็นวัตรเท่านั้น ไม่เป็นศีล


ข้อปฏิบัติที่เป็นวัตร แต่ไม่เป็นศีล อย่างเช่นธุดงค์นั้น เป็นข้อปฏิบัติพิเศษ เพื่อความดีงามเคร่งครัด

ขัดเกลา ฝึกอบรมตนเองให้ยิ่งขึ้นกว่าปกติ แต่เป็นเรื่องของความสมัครใจ ความเหมาะสมกับอุปนิสัยและขึ้น

กับความพร้อม ใครจะถือปฏิบัติหรือไม่ก็ได้ ไม่มีความผิด ต่างจากศีลซึ่งสมาชิกทุกคนของหมู่พึงรักษา

เสมอเหมือนกัน ถ้าไม่รักษา ย่อมมีผลเสียหาย ทั้งส่วนตัวและส่วนรวม (ถ้าเป็นศีลแบบวินัย มีโทษตาม

บัญญัติอีกด้วย)

ตามปกติ ศีลเป็นหลักความประพฤติพื้นฐาน

วัตร เป็นข้อปฏิบัติเสริมให้เคร่งครัดยิ่งขึ้นเพื่อสนับสนุนการรักษาศีล โดยเฉพาะเพื่อตัดหรือลดโอกาสที่จะละเมิด

ศีลข้อใดข้อหนึ่ง

อย่างไรก็ดี วัตรบางอย่างแม้จะช่วยหนุนการรักษาศีลได้ผลจริง แต่ผิดหลักการของพระพุทธศาสนา

พระพุทธเจ้าทรงห้าม และ บางอย่างถือเป็นความผิดทางวินัยด้วย เช่น การถือวัตรไม่พูด ที่เรียกมูควัตร

ทรงตำหนิว่าเป็นอยู่อย่างปศุสัตว์

เจ้าของ:  กรัชกาย [ 11 พ.ค. 2010, 21:05 ]
หัวข้อกระทู้:  Re: ความหมายของศัพท์ที่ใช้ทางศาสนา (2)

ที่ถกเถียงกันหน้าดำหน้าแดงอีกศัพท์หนึ่ง คือ สติ ดูความหมายศัพท์สั้นๆ รวมทั้งหน้าที่ภาคฝึกอบรม

คำว่า สติ โดยทั่วไปแปลว่า ความระลึกได้

บางครั้งก็แปลว่าความจำ และมีตัวอย่างที่เด่น เช่น พระอานนท์ ได้รับยกย่องเป็นเอตทัคคะ

ในทางทรงจำพุทธพจน์ คำบาลีในกรณีนี้ท่านใช้คำว่า สติ ดังพุทธพจน์ว่า “อานนท์เป็นเลิศกว่า

ประดาสาวกของเราผู้มีสติ” -(องฺ.เอก.20/149/32)

เรื่องนี้ในทางธรรมไม่มีความสับสน ความจำไม่ใช่กิจของธรรมข้อเดียว แต่เป็นกิจของกระบวนธรรม

และในกระบวนธรรมแห่งความจำนี้ สัญญา และ สติ เป็นองค์ธรรมใหญ่ ทำหน้าที่เป็นหลัก


พิจารณาภาคฝึกอบรมสติ

สติ มีหน้าที่ดึงอารมณ์มาสู่จิต เหนี่ยวอารมณ์ไว้กับจิต คุมหรือกำกับจิตไว้กับอารมณ์ ตรึงไว้ไม่ยอม

ให้ลอยผ่านหรือคลาดกันไป จะเป็นการดึงมาซึ่งอารมณ์ที่ผ่านไปแล้ว หรือดึงไว้ซึ่งอารมณ์ที่จะผ่านไปก็ได้

สติจึงมีขอบเขตความหมายคลุมถึง การระลึก นึกถึง นึกไว้ นึกได้ ระลึกได้ ไม่เผลอ


สติด้านหนึ่งแปลกันว่า recall,recollection อีกด้านหนึ่ง mindfulness

เจ้าของ:  กรัชกาย [ 19 พ.ค. 2010, 18:44 ]
หัวข้อกระทู้:  Re: ความหมายของศัพท์ที่ใช้ทางศาสนา (2)

ความหมายของ สัญญา

สัญญา (Perception) แปลกันว่า ความจำได้ หรือหมายรู้ ความกำหนดได้ คือ กำหนดรู้อาการเครื่อง

หมายลักษณะต่างๆ อันเป็นเหตุให้จำอารมณ์*นั้นๆได้

(สัญญา จำได้ กำหนดได้ หมายรู้ กำหนดหมาย จำหมาย สำคัญหมาย)


* อารมณ์ หมายถึง สิ่งที่จิตรับรู้หรือสิ่งที่ถูกรับรู้ โดยอาศัยทวารทั้ง 6 ได้แก่ รูป เสียง กลิ่น รส

โผฏฐัพพะ และธรรมารมณ์ (ความนึกคิดต่างๆ)

เจ้าของ:  วรานนท์ [ 19 พ.ค. 2010, 18:47 ]
หัวข้อกระทู้:  Re: ความหมายของศัพท์ที่ใช้ทางศาสนา (2)

:b8: :b8: :b8:

อนุโมทนาสาธุด้วยครับท่านกรัชกาย

:b8: :b8: :b8:

ไฟล์แนป:
4-4.gif
4-4.gif [ 19.41 KiB | เปิดดู 5202 ครั้ง ]

เจ้าของ:  กรัชกาย [ 19 พ.ค. 2010, 19:14 ]
หัวข้อกระทู้:  Re: ความหมายของศัพท์ที่ใช้ทางศาสนา (2)

ขยายความหมายของสิ่งที่เรียกว่า สัญญา ให้กว้างขึ้นอีก


สัญญา เป็นความรู้จำพวกหนึ่ง หมายถึง การหมายรู้ หรือกำหนดรู้อาการของอารมณ์ เช่น ลักษณะ

ทรวดทรง สี สัณฐาน ฯลฯ ตลอดจนชื่อเรียก และสมมุติบัญญัติต่างๆ ว่า เขียว ขาว ดำ แดง ดัง เบา

ทุ้ม แหลม อ้วน ผอม โต๊ะ ฯลฯ

การหมายรู้ หรือ กำหนดรู้นี้ อาศัยการเทียบเคียงระหว่างประสบการณ์หรือความรู้เก่ากับประสบการณ์ หรือ

ความรู้ใหม่ ถ้าประสบการณ์ใหม่ตรงกับประสบการณ์เก่า เช่น พบเห็นคนหรือสิ่งของที่เคยรู้จักแล้ว

ได้ยินเสียงที่เคยได้ยินแล้ว ดังตัวอย่าง นาย ก.รู้จักนายเขียว ต่อมาอีกเดือนหนึ่ง นาย ก.เห็นนายเขียว

อีก และรู้ว่าคนที่เขาเห็นนั้นคือนายเขียว อย่างนี้เรียกว่า จำได้

ถ้าประสบการณ์ใหม่ไม่ตรงกับประสบการณ์เก่า เราย่อมนำเอาประสบการณ์หรือความรู้เก่าที่มีอยู่แล้วนั่นเอง

มาเทียบเคียงว่าเหมือนกันและไม่เหมือนกันในส่วนไหน อย่างไร แล้วหมายรู้สิ่งนั้นตามคำบอกเล่าหรือตาม

ที่คนกำหนดเอาว่าเป็นนั่น เป็นนี่ ไม่ใช่นั่น ไม่ใช่นี่ อย่างนี้เรียกว่า กำหนดหมายหรือหมายรู้

การหมายรู้เช่นนี้ ย่อมมีหลายขั้น หมายรู้ไปตามความตกลงอันเนื่องด้วยความรู้สามัญบ้าง เช่นว่า เขียว ขาว

เหลือง แดงเป็นต้น ตามนิยมของโลก ของสังคม ของวัฒนธรรม ประเพณี เป็นต้นบ้าง เช่น ว่าอย่างนี้

สุภาพ อย่างนั้นสวยงาม อย่างนั้นถูกธรรมเนียม อย่างนี้ผิดธรรมเนียม เป็นต้น


หมายรู้สองชั้น (แบบสัญลักษณ์) บ้าง เช่นว่า สีเขียวแดงหมายถึงมหาวิทยาลัยแห่งหนึ่ง เสียงระฆัง

สองครั้งหมายถึงการกินอาหาร

ตลอดจนตามการศึกษาในทางธรรม เช่น หมายรู้ในภาวะที่ไม่เที่ยง หมายรู้ในภาวะที่เป็นอนัตตา เป็นต้น

มีทั้งความหมายรู้สามัญและความหมายรู้ที่ละเอียดซับซ้อน (คือสัมพันธ์กับขันธ์อื่นมากขึ้น) มีทั้งหมายรู้เกี่ยว

กับรูปธรรมและหมายรู้เกี่ยวกับนามธรรม


พูดเพื่อให้เข้าใจง่ายๆ สัญญาก็คือกระบวนการเรียกเก็บ รวบรวม และสั่งสมข้อมูลของการเรียนรู้ และวัตถุดิบ

สำหรับความคิดนั่นเอง

สัญญาเกื้อกูลแก่การดำเนินชีวิตของมนุษย์อย่างมาก แต่ในเวลาเดียวกัน ก็มีโทษมิใช่น้อย เพราะมนุษย์จะยึด

ติดตามสัญญา ทำให้สัญญากลายเป็นเครื่องกีดกั้นกำบังตนเองและห่อหุ้มคลุมตัวสภาวะไว้ ทำให้ไม่สามารถ

เข้าถึงความจริงแท้ที่อยู่ลึกลงไป

เจ้าของ:  กรัชกาย [ 19 พ.ค. 2010, 19:19 ]
หัวข้อกระทู้:  Re: ความหมายของศัพท์ที่ใช้ทางศาสนา (2)

สัญญา แยกได้ 2 ระดับ คือ สัญญาอย่างสามัญ ซึ่งกำหนดหมายอาการของอารมณ์ที่เกิดขึ้นหรือเป็น

ไปอยู่ตามปกติธรรมดาของมัน อย่างหนึ่ง

และสัญญาสืบทอดหรือสัญญาอย่างซับซ้อน ที่บางคราวก็ใช้คำเรียกให้ต่างออกไป เฉพาะอย่างยิ่ง

ปปัญจสัญญา อันหมายถึงสัญญาเนื่องด้วยอารมณ์ที่คิดปรุงแต่งขึ้นให้ซับซ้อนพิสดารด้วยแรงผลักดันของตัณหา

มานะและทิฐิ ซึ่งเป็นสังขารชั้นนำในฝ่ายร้าย อีกอย่างหนึ่ง


การแยกเช่นนี้ จะช่วยให้มองเห็นความหมายของสัญญาที่กำลังแสดงบทบาทอยู่ พร้อมทั้งความสัมพันธ์ระหว่าง

สัญญา กับ ขันธ์อื่นภายในกระบวนธรรมได้ชัดเจนยิ่งขึ้น

เจ้าของ:  ลูกโป่ง [ 19 พ.ค. 2010, 19:40 ]
หัวข้อกระทู้:  Re: ความหมายของศัพท์ที่ใช้ทางศาสนา (2)

สาธุ สาธุ สาธุค่ะ...คุณกรัชกาย

:b48: ธรรมะสวัสดีค่ะ :b48:

เจ้าของ:  กรัชกาย [ 22 พ.ค. 2010, 20:14 ]
หัวข้อกระทู้:  Re: ความหมายของศัพท์ที่ใช้ทางศาสนา (2)

ภาวนา การเจริญ แปลตามตัวอักษรว่า การทำให้มีให้เป็นขึ้น คือทำให้เกิดขึ้นและเจริญเพิ่มพูนขึ้น

หมายถึงการฝึกอบรมตามข้อปฏิบัติของมรรค การลงมือปฏิบัติตามมรรควิธีที่จะกำจัดเหตุแห่งทุกข์

พูดง่ายๆว่า การกระทำตามวิธีการที่จะนำไปสู่จุดหมาย หรือการกำหนดวางรายละเอียดวิธีปฏิบัติแล้ว

ลงมือแก้ไขปัญหา

ไฟล์แนป:
post-343-1181794836.jpg
post-343-1181794836.jpg [ 51.07 KiB | เปิดดู 5143 ครั้ง ]

เจ้าของ:  วรานนท์ [ 23 พ.ค. 2010, 09:16 ]
หัวข้อกระทู้:  Re: ความหมายของศัพท์ที่ใช้ทางศาสนา (2)

:b8: :b8: :b8:

อนุโมทนาสาธุด้วยครับท่านกรัชกาย

:b8: :b8: :b8:

เจ้าของ:  กรัชกาย [ 25 พ.ค. 2010, 19:56 ]
หัวข้อกระทู้:  Re: ความหมายของศัพท์ที่ใช้ทางศาสนา (2)

โมหะ คือ ความหลง ความไม่รู้ เป็นไวพจน์ของคำว่า อวิชชา หมายถึงความไม่รู้ตามเป็นจริง

ไม่รู้ตามสภาวะ เป็นภาวะตรงข้ามกับปัญญา โดยเฉพาะปัญญาที่เรียกชื่อว่า วิชชา

พูดอย่างสามัญว่า โมหะหรืออวิชชา คือความไม่รู้นี้ เป็นภาวะพื้นเดิมของคนซึ่งจะต้องกำจัดให้หมดไป

ด้วยวิชชาคือความรู้ หรือด้วยการฝึกอบรมเจริญปัญญา

ปัญญา ที่เป็นความรู้ในสังขารขันธ์นั้น เป็นสิ่งที่จะต้องทำให้เกิดให้มีขึ้น ต้องฝึกปรือ ทำให้เจริญเพิ่ม

พูนขึ้นไปโดยลำดับ

เจ้าของ:  กรัชกาย [ 25 พ.ค. 2010, 20:11 ]
หัวข้อกระทู้:  Re: ความหมายของศัพท์ที่ใช้ทางศาสนา (2)

สั้นๆ เมื่อพูดถึงภาคปฏิบัติกรรมฐาน หรือ เจริญปัญญา ก็คือรู้ตามที่มันเป็น รู้สึกยังไงกำหนดรู้ (ทำปริญญา)

ยังงั้น แค่นี้โมหะก็ถูกกำจัดแล้วด้วยวิชชา :b1:

ชีวิตมีแค่รู้กับไม่รู้เท่านั้น ไม่รู้ก็เป็นโมหะ รู้ก็เป็นวิชชา หรือ เป็นปัญญา

ชีวิตมนุษย์ก็คือธรรมะใบไม้ในกำมือที่จะต้องรู้ :b20:

ไฟล์แนป:
200px-%E0%B8%9B%E0%B8%B2%E0%B8%87%E0%B8%97%E0%B8%B8%E0%B8%81%E0%B8%A3%E0%B8%81%E0%B8%B4%E0%B8%A3%E0%B8%B4%E0%B8%A2%E0%B8%B22.jpg
200px-%E0%B8%9B%E0%B8%B2%E0%B8%87%E0%B8%97%E0%B8%B8%E0%B8%81%E0%B8%A3%E0%B8%81%E0%B8%B4%E0%B8%A3%E0%B8%B4%E0%B8%A2%E0%B8%B22.jpg [ 12.45 KiB | เปิดดู 5094 ครั้ง ]

เจ้าของ:  กรัชกาย [ 25 พ.ค. 2010, 21:30 ]
หัวข้อกระทู้:  Re: ความหมายของศัพท์ที่ใช้ทางศาสนา (2)

เมื่อเข้าใจปัญญาด้านหนึ่งแล้ว ก็พึงเข้าใจความหมายปัญญาอีกด้านหนึ่ง เช่น


แม้จะเล่าเรียนศิลปวิทยาต่างๆมากมาย และใช้ศิลปวิทยาเหล่านั้นทำกิจประกอบการต่างๆได้มากมาย แต่ถ้ายัง

ไม่ช่วยให้เข้าใจสิ่งทั้งหลายตามเป็นจริง ไม่มองเห็นสังขารธรรมทั้งหลายหรือโลกและชีวิตตามสภาวะของมัน

แล้ว ความรู้หรือศิลปวิทยาเหล่านั้น ก็เป็นเพียงสุตะ คือสิ่งที่ถ่ายทอดกันไปเท่านั้น ยังไม่เป็นปัญญาแท้จริง

ไม่สามารถกำจัดโมหะหรืออวิชชาได้ และไม่อาจแก้ปัญหาพื้นฐานของชีวิตได้สำเร็จ

บางทีจะแก้แต่กลายเป็นก่อปัญหาขึ้นใหม่

หน้า 1 จากทั้งหมด 2 เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง
Powered by phpBB © 2000, 2002, 2005, 2007 phpBB Group
http://www.phpbb.com/