ลานธรรมจักร
http://www.dhammajak.net/forums/

เชื่ออย่างไรผิดหลักกรรม
http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=7&t=31499
หน้า 1 จากทั้งหมด 1

เจ้าของ:  กรัชกาย [ 07 พ.ค. 2010, 22:15 ]
หัวข้อกระทู้:  เชื่ออย่างไรผิดหลักกรรม

เชื่ออย่างไร ผิดหลักกรรม ?

มีลัทธิมิจฉาทิฏฐิ เกี่ยวกับสุขทุกข์และความเป็นไปในชีวิตของมนุษย์อยู่ ๓ ลัทธิ ซึ่งต้องระวังไม่ให้เข้าใจสับสน

กับหลักกรรม คือ


๑. ปุพเพกตเหตุวาท การถือว่า สุขทุกข์ทั้งปวงเป็นเพราะกรรมเก่า (past-action

determinism)

เรียกสั้นๆ ว่า ปุพเพกตเหตุวาท


๒. อิสสรนิมมานเหตุวาท การถือว่าสุขทุกข์ทั้งปวงเป็นเพราะการบันดาลของเทพผู้เป็นใหญ่

(theistic determinism)

เรียกสั้นๆ ว่า อิศวรกรณวาท หรือ อิศวรนิรมิตวาท


๓. อเหตุอปัจจยวาท การถือว่า สุขทุกข์ทั้งปวง เป็นไปสุดแต่โชคชะตาลอยๆ ไม่มีเหตุ ไม่มีปัจจัย

(indeterminism หรือ accidentalism)

เรียกสั้นๆ ว่า อเหตุวาท

เจ้าของ:  กรัชกาย [ 07 พ.ค. 2010, 22:20 ]
หัวข้อกระทู้:  Re: เชื่ออย่างไรผิดหลักกรรม

(พิจารณาจากพุทธพจน์แต่ละข้อๆ)


ทั้งนี้ตามพุทธพจน์ว่า

“ภิกษุทั้งหลาย ลัทธิเดียรถีย์ ๓ ระบบเหล่านี้ ถูกบัณฑิตไต่ถาม ซักไซ้ไล่เลียงเข้า ย่อมอ้างการถือสืบๆกันมา

ยืนกรานอยู่ในหลักอกิริยา (การไม่กระทำ) คือ

๑. สมณพราหมณ์พวกหนึ่ง มีวาทะ มีทิฐิอย่างนี้ว่า สุขก็ดี ทุกข์ก็ดี มิใช่สุขมิใช่ทุกข์ก็ดี อย่างหนึ่งอย่างใด

ก็ตาม ที่คนเราได้เสวย ทั้งหมดนั้นล้วนเป็นเพราะกรรมที่กระทำไว้ในปางก่อน

(ปุพฺเพกตเหตุ)


๒. สมณพราหมณ์พวกหนึ่ง มีวาทะ มีทิฐิอย่างนี้ว่า สุขก็ดี ทุกข์ก็ดี มิใช่สุขมิใช่ทุกข์ก็ดี อย่างหนึ่งอย่างใด

ก็ตาม ที่คนเราได้เสวย ทั้งหมดนั้นล้วนเป็นเพราะการบันดาลของพระผู้เป็นเจ้า

(อิสฺสรนิมฺมานเหตุ)


๓. สมณพราหมณ์พวกหนึ่ง มีวาทะ มีทิฐิอย่างนี้ว่า สุขก็ดี ทุกข์ก็ดี มิใช่สุขมิใช่ทุกข์ก็ดี อย่างหนึ่งอย่างใด

ก็ตาม ที่คนเราได้เสวย ทั้งหมดนั้นล้วนหาเหตุหาปัจจัยมิได้

(อเหตุอปจฺจย)

เจ้าของ:  กรัชกาย [ 07 พ.ค. 2010, 22:24 ]
หัวข้อกระทู้:  Re: เชื่ออย่างไรผิดหลักกรรม

“ภิกษุทั้งหลาย บรรดาสมณพราหมณ์ ๓ พวกนั้น เราเข้าไปหา (พวกที่ ๑) แล้วถามว่า

“ทราบว่า ท่านทั้งหลายมีวาทะ มีทิฐิอย่างนี้...จริงหรือ ?”

ถ้าสมณพราหมณ์เหล่านั้น ถูกเราถามอย่างนี้แล้ว รับว่าจริง

เราก็กล่าวกะเขาว่า “ถ้าเช่นนั้น ท่านก็จักต้องเป็นผู้ทำปาณาติบาต เพราะกรรมที่ทำไว้ปางก่อนเป็นเหตุ

จะต้องเป็นผู้ทำอทินนาทาน เพราะกรรมที่ทำไว้ปางก่อนเป็นเหตุ

จะต้องเป็นผู้ประพฤติอพรหมจรรย์...

เป็นผู้กล่าวมุสาวาท...ฯลฯ

เป็นผู้มีมิจฉาทิฐิ เพราะกรรมที่ทำไว้ปางก่อนเป็นเหตุน่ะสิ”


“ภิกษุทั้งหลาย ก็เมื่อบุคคลมายึดเอากรรมที่ทำไว้ในปางก่อนเป็นสาระ ฉันทะก็ดี ความพยายามก็ดีว่า

“สิ่งนี้ควรทำ สิ่งนี้ไม่ควรทำ” ก็ย่อมไม่มี

เมื่อไม่กำหนดถือเอาสิ่งที่ควรทำ และ สิ่งไม่ที่ควรทำ โดยจริงจังมั่นคง ดังนี้ สมณพราหมณ์พวกนี้

ก็เท่ากับอยู่อย่างหลงสติ ไร้เครื่องรักษา จะมีสมณวาทะที่ชอบธรรมเฉพาะตนไม่ได้ นี้แล เป็นนิคหะ

อันชอบธรรมอย่างแรกของเราต่อสมณพราหมณ์ ผู้มีวาทะ มีทิฐิอย่างนี้”

เจ้าของ:  enlighted [ 07 พ.ค. 2010, 22:25 ]
หัวข้อกระทู้:  Re: เชื่ออย่างไรผิดหลักกรรม

๑. ปุพเพกตเหตุวาท การถือว่า สุขทุกข์ทั้งปวงเป็นเพราะกรรมเก่า (past-action

determinism)

เรียกสั้นๆ ว่า ปุพเพกตเหตุวาท


แล้ววาทะแบบนี้ ล่ะคร๊าบ

ในชาติปางก่อน เราได้เคยเกิดเป็นนักเลงชื่อว่าปุนาลิ ได้กล่าวตู่พระปัจเจกพุทธเจ้ามีนามว่า สุรภี ผู้ไม่ประทุษร้ายใคร ด้วยผลกรรมนั้นเราจึงได้เวียนว่ายตายเกิดอยู่ในนรกเป็นเวลานาน เสวยทุกขเวทนาหลายพันปี ด้วยผลกรรมที่เหลืออยู่นั้น ในภพสุดท้ายนี้ เราจึงได้รับการกล่าวตู่เพราะนางสุนทรีเป็นเหตุ

เจ้าของ:  กรัชกาย [ 07 พ.ค. 2010, 22:27 ]
หัวข้อกระทู้:  Re: เชื่ออย่างไรผิดหลักกรรม

(ต่อ)


“ภิกษุทั้งหลาย บรรดาสมณพราหมณ์เหล่านั้น เราเข้าไปหา (พวกที่ ๒ ) กล่าวกะเขาว่า

ท่านจักเป็นผู้ทำปาณาติบาต ก็เพราะการบันดาลของพระผู้เป็นเจ้าเป็นเหตุ

จักเป็นผู้ทำอทินนาทาน...

ประพฤติอพรหมจรรย์...

กล่าวมุสาวาท...ฯลฯ

เป็นผู้มีมิจฉาทิฐิ ก็เพราะการบันดาลของพระผู้เป็นเจ้าเป็นเหตุน่ะสิ”


“ภิกษุทั้งหลาย ก็เมื่อบุคคลมายึดเอาการบันดาลของพระผู้เป็นเจ้าเป็นสาระ ฉันทะก็ดี ความพยายาม

ก็ดีว่า “สิ่งนี้ควรทำ สิ่งนี้ไม่ควรทำ” ก็ย่อมไม่มี

เมื่อไม่กำหนดถือเอาสิ่งที่ควรทำ และ สิ่งไม่ที่ควรทำ โดยจริงจังมั่นคง ดังนี้ สมณพราหมณ์พวกนี้

ก็เท่ากับอยู่อย่างหลงสติ ไร้เครื่องรักษา จะมีสมณวาทะที่ชอบธรรมเฉพาะตนไม่ได้ นี้แล เป็นนิคหะ

อันชอบธรรมอย่างที่สองของเราต่อสมณพราหมณ์ ผู้มีวาทะ มีทิฐิอย่างนี้”

เจ้าของ:  กรัชกาย [ 07 พ.ค. 2010, 22:29 ]
หัวข้อกระทู้:  Re: เชื่ออย่างไรผิดหลักกรรม

(ต่อ)

“ภิกษุทั้งหลาย บรรดาสมณพราหมณ์เหล่านั้น เราเข้าไปหา (พวกที่ ๓ ) กล่าวกะเขาว่า

“ท่านก็จักเป็นผู้ทำปาณาติบาต โดยไม่มีเหตุ ไม่มีปัจจัย

จักเป็นผู้ทำอทินนาทาน....

ประพฤติอพรหมจรรย์....

กล่าวมุสาวาท...ฯลฯ

เป็นผู้มีมิจฉาทิฐิ โดยไม่มีเหตุไม่มีปัจจัยน่ะสิ”


“ภิกษุทั้งหลาย ก็เมื่อบุคคลมายึดเอาความไม่มีเหตุไม่มีเป็นสาระ ฉันทะก็ดี

ความพยายามก็ดีว่า “สิ่งนี้ควรทำ สิ่งนี้ไม่ควรทำ” ก็ย่อมไม่มี ฯลฯ”


(องฺ.ติก.20/501/222 ฯลฯ)

เจ้าของ:  กรัชกาย [ 07 พ.ค. 2010, 22:34 ]
หัวข้อกระทู้:  Re: เชื่ออย่างไรผิดหลักกรรม

โดยเฉพาะลัทธิที่ ๑ คือ ปุพเพกตวาทนั้น เป็นลัทธิของนิครนถ์ ดังพุทธพจน์ว่า

“ภิกษุทั้งหลาย สมณพราหมณ์พวกหนึ่งมีวาทะ มีทิฐิอย่างนี้ว่า “สุขก็ดี ทุกข์ก็ดี อย่างหนึ่งอย่างใด

ที่บุคคลได้เสวย ทั้งหมดนั้น เป็นเพราะกรรมที่ตัวทำไว้ในปางก่อน โดยนัยนี้ เพราะกรรมเก่าหมดสิ้นไป

ด้วยตบะ ไม่ทำกรรมใหม่ ก็จะไม่ถูกบังคับต่อไป

เพราะไม่ถูกบังคับต่อไป ก็สิ้นกรรม เพราะสิ้นกรรม ก็สิ้นทุกข์ เพราะสิ้นทุกข์ ก็สิ้นเวทนา

เพราะสิ้นเวทนา ก็จักเป็นอันสลัดทุกข์ให้หมดสิ้น ภิกษุทั้งหลาย พวกนิครนถ์มีวาทะอย่างนี้”

(ม.อุ.14/2/1)


นอกจากนี้ มีพุทธพจน์ตรัสย้ำความอันเดียวกัน ก็มีดังนี้


“ดูกรสิวกะ เวทนาบางอย่างเกิดขึ้น มีดีเป็นสมุฏฐานก็มี ฯลฯ เกิดจากความแปรปรวนแห่งอุตุก็มี...

เกิดจากการบริหารตนไม่สม่ำเสมอก็มี...เกิดจากถูกทำร้ายก็มี...เกิดจากผลกรรมก็มี ฯลฯ

สมณพราหมณ์เหล่าใด มีวาทะมีความเห็นอย่างนี้ว่า “บุคคลได้เสวยเวทนาอย่างใดอย่างหนึ่ง เป็นสุขก็ดี

ทุกข์ก็ดี ไม่สุขไม่ทุกข์ก็ดี เวทนานั่นเป็นเพราะกรรมที่ทำไว้ปางก่อน” ฯลฯ เรากล่าวว่า เป็นความผิด

ของสมณพราหมณ์เหล่านั้นเอง”

(สํ.สฬ.18/427/284)


พุทธพจน์เหล่านี้ ป้องกันความเห็นที่แล่นไปไกลเกินไป จนมองเห็นความหมายของกรรม

แต่ในแง่กรรมเก่า กลายเป็นคนนั่งนอนรอคอยผลกรรมเก่า สุดแต่จะบันดาลให้เป็นไป

ไม่คิดแก้ไขปรับปรุงตนเอง กลายเป็นความเห็นผิดอย่างร้ายแรง ตามนัยพุทธพจน์ที่กล่าวมาแล้ว

นอกจากนั้น จะเห็นได้ชัดด้วยว่าในพุทธพจน์นี้ พระพุทธเจ้าทรงถือความเพียรพยายาม

เป็นเกณฑ์ตัดสินคุณค่าทางจริยธรรมของหลักกรรมและคำสอนเหล่านี้ทั้งหมด

เจ้าของ:  enlighted [ 07 พ.ค. 2010, 22:34 ]
หัวข้อกระทู้:  Re: เชื่ออย่างไรผิดหลักกรรม

แล้ววาทะนี้ ล่ะคร๊าบ

เราเมื่อครั้นเกิดเป็นนักเลงหัวไม้ เป็นอันธพาล เพราะการกล่าวตู่พระนันทเถระ ผู้เป็นสาวกของพระพุทธเจ้า เราจึงเวียนว่ายตายเกิดอยู่ในนรกเป็นเวลานาน ถึง ๑๐๐,๐๐๐ ปี ครั้นได้เกิดเป็นมนุษย์ ก็ได้รับการกล่าวตู่มาก ด้วยผลกรรมที่เหลืออยู่นั้น นางจิญจมาณวิกาจึงมากล่าวตู่เรา ด้วยคำไม่จริงท่ามกลางหมู่ชน

เจ้าของ:  enlighted [ 07 พ.ค. 2010, 22:36 ]
หัวข้อกระทู้:  Re: เชื่ออย่างไรผิดหลักกรรม

วาทะนี้อีกคร๊าบ

เราเกิดเป็นพราหมณ์ ผู้มีสุตะ มีประชาชนสักการะบูชา ได้สอนมนตร์ให้มาณพประมาณ ๕๐๐ คน ในป่าใหญ่ ได้เห็นฤาษีผู้น่าเกรงกลัว ผู้ได้อภิญญา ๕ มีฤทธิ์มาก มายังสำนักของเรา เราจึงกล่าวตู่ฤาษี ผู้ไม่ประทุษร้ายใคร โดยบอกลูกศิษย์ว่า ฤาษีผู้นี้มักบริโภคกามคุณ เพียงเราบอกเท่านั้น พวกมาณพก็พลอยเชื่อ ตั้งแต่นั้นมา ครั้นไปเที่ยวหาอาหารในตระกูลทั้งหลาย พากันบอกประชาชนว่า ฤาษีตนนี้มักบริโภคกามคุณ ด้วยผลกรรมนั้น ภิกษุ ๕๐๐ รูปเหล่านี้ ได้รับการกล่าวตู่ เพราะนางสุนทรี เป็นเหตุ
มีเรื่องกล่าวไว้ว่า พวกมิจฉาทิฏฐิผู้ไม่เลื่อมใสในพระรัตนตรัย ได้ติดตามพระพุทธเจ้าผู้เสด็จเข้าไปภายในพระนครได้ด่าบริภาษด้วยอักโกสวัตถุ ๑๐ ว่า เจ้าเป็นโจร เป็นคนพาล เป็นคนหลง เป็นอูฐ เป็นโค เป็นฬา เป็นสัตว์นรก เป็นสัตว์ดิรัจฉาน ไม่มีหวังจะได้สุคติ ทุคติเท่านั้น ที่เจ้าควรหวัง

เจ้าของ:  กรัชกาย [ 07 พ.ค. 2010, 22:39 ]
หัวข้อกระทู้:  Re: เชื่ออย่างไรผิดหลักกรรม

ท่านป๊อดไลท์ อย่าเพิ่งเสือ...ดิขอรับ เรียกเข้าคอกก็ไม่เข้า มีอะไรไปพูดกันในคอกที่เตรียมไว้ให้โน่น

หรือไม่ยังงั้นก็ฟังดูก่อน

เจ้าของ:  กรัชกาย [ 07 พ.ค. 2010, 22:40 ]
หัวข้อกระทู้:  Re: เชื่ออย่างไรผิดหลักกรรม

พระพุทธพจน์เหล่านี้ มิได้ปฏิเสธกรรมเก่า เพราะกรรมเก่าก็ย่อมมีส่วนอยู่ในกระบวนการแห่งเหตุปัจจัย

และย่อมมีผลต่อปัจจุบัน สมกับชื่อที่ว่าเป็นเหตุปัจจัยด้วยเหมือนกัน แต่มันก็เป็นเรื่องของเหตุปัจจัย

อยู่นั่นเอง ไม่ใช่อำนาจนอกเหนือธรรมชาติอะไรที่จะไปยึดไปหมายมั่นฝากโชคชะตาไว้ให้

ผู้เข้าใจปฏิจจสมุปบาท รู้กระบวนการแห่งเหตุปัจจัยดีแล้ว ย่อมไม่มีปัญหาในเรื่องนี้ ฯลฯ ดังนั้น จึงควร

เข้าใจกรรมเก่าเพียงเท่าที่มันเป็นตามกระบวนการของมัน

ในทางจริยธรรม ผู้เข้าใจปฏิจจสมุปบาท ย่อมถือเอาประโยชน์จากกรรมเก่าได้ในแง่เป็นบทเรียน

เป็นความตระหนักแน่นเหตุผล เป็นความเข้าใจตนเอง และ สถานการณ์ เป็นความรู้พื้นฐานปัจจุบันของตน

เพื่อประกอบการวางแผนทำกรรมปัจจุบัน และ หาทางแก้ไขปรับปรุงต่อไป

เจ้าของ:  enlighted [ 07 พ.ค. 2010, 22:42 ]
หัวข้อกระทู้:  Re: เชื่ออย่างไรผิดหลักกรรม

แล้ววาทะนี้ล่ะคร๊าบ

ท่านป๊อดไลท์ อย่าเพิ่งเสือ...ดิขอรับ เรียกเข้าคอกก็ไม่เข้า มีอะไรไปพูดกันในคอกที่เตรียมไว้ให้โน่น

หรือไม่ยังงั้นก็ฟังดูก่อน

เจ้าของ:  กรัชกาย [ 07 พ.ค. 2010, 22:45 ]
หัวข้อกระทู้:  Re: เชื่ออย่างไรผิดหลักกรรม

enlighted เขียน:
แล้ววาทะนี้ล่ะคร๊าบ

ท่านป๊อดไลท์ อย่าเพิ่งเสือ...ดิขอรับ เรียกเข้าคอกก็ไม่เข้า มีอะไรไปพูดกันในคอกที่เตรียมไว้ให้โน่น

หรือไม่ยังงั้นก็ฟังดูก่อน



คือ เตือนว่า อย่าเพิ่งเสือก แทรกตอนนี้ มีอะไรก็ไว้ค่อยถามกันเมื่อเปิดโอกาสให้ถาม เข้าใจไหมขอรับ :b1:

เจ้าของ:  กรัชกาย [ 07 พ.ค. 2010, 22:47 ]
หัวข้อกระทู้:  Re: เชื่ออย่างไรผิดหลักกรรม

เกี่ยวกับเรื่องนี้มีความยาวมากๆ หากต้องการศึกษาทั้งหมดพึงอ่านจากลิงค์นี้เป็นต้นไป

viewtopic.php?f=4&t=19058&p=86360#p86360

หน้า 1 จากทั้งหมด 1 เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง
Powered by phpBB © 2000, 2002, 2005, 2007 phpBB Group
http://www.phpbb.com/