วันเวลาปัจจุบัน 28 เม.ย. 2024, 02:26  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


กฎการใช้บอร์ด


รวมกระทู้จากบอร์ดเก่า http://www.dhammajak.net/board/viewforum.php?f=7



กลับไปยังกระทู้  [ 2 โพสต์ ]    Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 07 พ.ค. 2010, 15:54 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 03 ม.ค. 2010, 02:43
โพสต์: 4467

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ทุกสิ่งที่เห็นล้วนเป็นธรรมะ เรื่องโดย พระอาจารย์ชาญชัย อธิปญฺโญ

รูปภาพ

หลายคนไม่รู้ว่าธรรมะคืออะไร แต่เมื่อถามว่าปฏิบัติธรรมดีหรือไม่ ส่วนหนึ่งจะตอบว่า “ดี” ครั้นเมื่อชวนไปปฏิบัติธรรมส่วนใหญ่จะตอบว่า “ไม่มีเวลา”

หากเข้าใจว่าธรรมะคืออะไรแล้ว ทุกคนสามารถปฏิบัติธรรมได้ในวิถีชีวิตประจำวัน โดยถือเอางานที่เราทำอยู่เป็นการปฏิบัติธรรมไปด้วย

คราวหนึ่งผู้เขียนได้รับนิมนต์ให้ไปบรรยายธรรมที่จังหวัดแห่ง หนึ่ง ผู้นิมนต์ได้จัดให้พักที่บ้านสวนของเพื่อน เจ้าของบ้านไม่ค่อยจะได้มาพักที่นี่ เพราะเธอมีธุรกิจร้านอาหารอยู่ในเมือง คงปล่อยให้คนงานดูแลแทน

ระหว่างที่พักอยู่ เจ้าของบ้านจะมาถวายอาหารทุกวัน เธอบอกว่ามีความสนใจธรรมะ แต่ยังไม่มีเวลาไปปฏิบัติธรรมที่ไหน เพราะร้านอาหารของเธอขายดี จะทิ้งไปไม่ได้

เธอถามผู้เขียนว่า ลูกน้องของเธอไม่ค่อยจะถูกกัน บางคนก็ทำงานไม่ได้ดังใจ ทำให้เธอเครียด จะทำอย่างไรดี

ผู้เขียนถามเธอว่า อาหารที่ร้าน อะไรอร่อย ลูกค้าชอบสั่งกันเป็นพิเศษ

เธอตอบว่า มีหลายอย่าง เช่น แกงเขียวหวาน ต้มยำกุ้ง ปลาเก๋าราดพริก น้ำพริกลงเรือ เป็นต้น

ผู้เขียนตอบว่า การปรุงอาหารอร่อยที่ร้านของเธอ เป็นธรรมะให้ศึกษาเพื่อคลายเครียดอยู่แล้ว

เธอทำหน้างงๆ ไม่เข้าใจว่าการปรุงอาหารจะเป็นธรรมะสอนใจได้อย่างไร

ผู้เขียนจึงถามเธอว่า แกงเขียวหวานที่ว่าอร่อยนั้น จะต้องปรุงรสอย่างไร เธออธิบายว่า ต้องใส่กะทิเพื่อให้มีรสมัน ใส่น้ำตาลให้อมหวานด้วย แล้วยังใส่พริกเพื่อให้มีรสเผ็ด ใส่น้ำปลาเพื่อให้มีรสเค็ม เครื่องปรุงอื่นก็มีหอม ข่า ตะไคร้ กระชาย มีในโหระพาโรยหน้า เพื่อให้มีกลิ่นหอม ไก่ที่นำมาปรุงก็จะเอากระดูกออก ให้ลูกค้ารับประทานได้สะดวก

ผู้เขียนบอกเธอไปว่า แกงเขียวหวานสอนธรรมะอยู่แล้วนี่ เธอยิ่งงง ไม่เข้าใจอยู่ดี ผู้เขียนจึงอธิบายให้เธอฟังว่า

การปรุงอาหารให้อร่อยนั้นไม่ได้มีรสเดียว ต้องใช้ทั้งรสมัน รสหวาน รสเผ็ด รสเค็ม บางอย่างอาจจะมีรสเปรี้ยวเข้าไปด้วย แต่ละรสถ้ารับประทานเฉพาะรสเดียวจะไม่อร่อย ต้องเอามารวมกันในปริมาณที่เหมาะสมจึงจะอร่อย อาหารจะสุกได้ก็ต้องใช้ความร้อน เพื่อต้มเคี่ยวให้รสต่างๆ หลอมเข้าด้วยกัน ต้องใช้น้ำหรือน้ำมันเข้าช่วย นอกจากนี้ก็ยังมีพืชผักและเนื้อสัตว์ด้วย ไก่ก็ต้องสับต้องหั่นเป็นชิ้นๆ น้ำพริกก็ต้องโขลก ผักก็ต้องเด็ด ต้องล้าง ต้องเลือกเอาใบที่เสียทิ้ง

เธอตั้งใจฟัง แต่ก็ยังไม่เข้าใจว่า การปรุงอาหารเกี่ยวกับธรรมะอย่างไร

ผู้เขียนจึงเปรียบเทียบให้เธอฟังว่า ลูกน้องของเธอที่มีปัญหาไม่ค่อยจะถูกกัน เพราะนิสัยใจคอไม่เหมือนกัน บางคนเรียบร้อยอ่อนหวานเหมือนน้ำตาล บางคนอารมณ์ร้อนเหมือนไฟ บางคนใจเย็นเหมือนน้ำ บางคนพูดจากก้าวร้าวเผ็ดร้อนเหมือนพริก บางคนนิสัยเห็นแก่ตัวเค็มเหมือนน้ำปลา บางคนพูดจาสนุกสนาน ฟังแล้วมันเหมือนกะทิ

เธอจะไปหาคนที่มีนิสัยเหมือนกันหมดอย่างที่เธอชอบได้ที่ไหน ถึงหามาได้ เช่นมีแต่คนใจเย็นเป็นน้ำ หรือหวานเป็นน้ำตาลเหมือนกันทั้งร้าน งานการจะก้าวหน้าได้อย่างไร เพราะงานที่ร้านไม่ได้มีแต่งานต้อนรับลูกค้า ยังมีงานในครัว งานซื้อวัตถุดิบ งานการเงิน งานทำความสะอาด เป็นต้น งานแต่ละอย่างก็ต้องใช้คนและละบุคลิกให้เหมาะกับงาน

ถึงตอนนี้เธอเริ่มจะเข้าใจบ้างแล้ว ผู้เขียนจึงขมวดประเด็นให้เธอฟังว่า ในฐานะที่เป็นเจ้าของร้าน เป็นผู้รับชอบในการบริหาร ก่อนอื่นจะต้องเรียนรู้ลูกน้องแต่ละคนว่านิสัยใจคออย่างไร แล้วใช้คนให้ถูกกับความสามารถ ตลอดจนนิสัยใจคอของเขา คนที่มีรสเผ็ด ถ้าเผ็ดเกินไปก็กินไม่ได้ ต้องทอนความเผ็ดลงมาให้พอประมาณ รสอื่นๆ ก็เช่นเดียวกัน มากหรือน้อยเกินไปก็ไม่ดี ต้องควบคุมให้พอเหมาะรสชาติ จึงจะกลมกล่อม

ถ้าเธอรับความเป็นจริงในความแตกต่างของลูกน้องแต่ละคนได้ แล้วใช้บทบาทการเป็นเจ้าของร้านบริหารเขา เหมือนแม่ครัวที่ปรุงอาหารเลือกเครื่องปรุงให้เหมาะกับอาหารที่ทำ เธอก็จะสนุกกับการปรุง ไม่เห็นจะต้องเครียดเลย ของบางอย่างหรือคนบางคน ถึงคราวก็ต้องหั่นต้องสับ ต้องโขลก ต้องเด็ด ต้องล้าง ต้องทิ้ง ต้องแต่ง ต้องเติม ถือเสียว่าเราทำตามหน้าที่ เพื่อให้ได้รสชาติที่เหมาะสมถูกใจลูกค้า แต่ก็ต้องไม่ลืมว่าลูกค้าแต่ละคนชอบอาหารไม่เหมือนกัน บางคนชอบแกงเขียวหวาน บางคนชอบต้มยำกุ้ง เป็นต้น ต่างคนต่างมีรสนิยมต่างกัน

ถ้าเธอยังไม่มีเวลาเข้าอมรบปฏิบัติธรรม ก็เอาสิ่งที่เห็นที่ทำอยู่มาพิจารณาเป็นธรรมะ สอนใจให้คลายจากความเครียดหรือจากทุกข์ที่รุมเร้า ให้เข้าใจความเป็นจริงของชีวิต เพราะธรรมะก็คือความจริงของสิ่งทั้งหลาย ได้เห็นตัวเองอย่างแท้จริง ได้เรียนรู้หลักธรรมที่จะนำมาใช้ในการดำเนินชีวิต อันจะช่วยเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมในทางที่ดีขึ้น เพื่อความสุขความเจริญที่ยั่งยืนของชีวิตสืบไป

เจ้าของบ้านสวนดูมีสีหน้าที่แจ่มใสขึ้น เธอน้อมรับคำสอนด้วยความเบิกบาน

สิ่งทั้งหลายที่ผู้คนได้สัมผัสสัมพันธ์ จะคิดไปในทางโลกก็ได้ คิดทางธรรมก็ได้ การคิดทางโลกนั้นส่วนใหญ่คิดไปตามอำนาจของกิเลสตัณหา ด้วยการประเมินค่าของสิ่งนั้นๆ ไปตามความเคยชิน เช่น สวย ไม่สวย ดี ไม่ดี ถูกใจ ไม่ถูกใจ เป็นต้น อันจะนำไปสู่ความอยากเสพในรูปเสียง กลิ่น รส สัมผัส และอารมณ์ ที่ตนปรารถนา (กามตัณหา) ความอยากได้ มี เป็น ในสถานะที่ตนพึงพอใจ (ภวตัณหา) และความไม่พึงพอใจในสิ่งที่ตนสัมผัสสัมพันธ์อยู่ (วิภวตัณหา)

การคิดในทางธรรมจะคิดไปตามความเป็นจริงในธรรมชาติของสิ่งทั้ง หลายที่มีอยู่ และดำเนินไปตามเหตุปัจจัย กล่าวคือ รู้ว่าสิ่งทั้งหลายมีความเปลี่ยนแปลงไป ไม่คงที่ (อนิจจัง) มีความแตกต่าง ขัดแย้ง กดดันกัน คงทนอยู่ในสภาพเดิมไม่ได้ (ทุกขัง) และไม่สามารถที่จะบังคับให้ได้ดังใจหาย เพราะไม่ใช่ของใครจริง (อนัตตา)

การเห็นสิ่งทั้งหลายตามความเป็นจริงเช่นนี้ ก็เพื่อนำมาเตือนจิตให้คลายจากความยึดมั่นสำคัญผิดที่เราอยากจะบังคับสิ่ง ทั้งหลายให้ได้อย่างใจ ครั้นไม่ได้ดังปรารถนาก็เครียด ก็ทุกข์

อนึ่ง การพิจารณาสิ่งทั้งหลายทางธรรม เพื่อปล่อยวางความทุกข์ทางใจ แต่ไม่ละวางในหน้าที่ความรับผิดชอบที่มีอยู่ จะต้องทำให้ดี เต็มกำลังความสามารถเข้าทำนองที่ว่า

ทำงานไม่ท้อ ทำใจไม่ทุกข์

.....................................................
แบ่งปันกันกิน,รักษาศีล คือ กาย วาจา
เจริญสมาธิภาวนา, กาย- วาจา-ใจอ่อนน้อม
ยอมตนรับใช้, แบ่งให้ความดี
มีใจอนุโมทนา, ใฝ่หาฟังธรรม
นำแสดงออกไม่ได้เว้น, ทำความเห็นให้ถูกต้อง


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 07 พ.ค. 2010, 16:48 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 10
สมาชิก ระดับ 10
ลงทะเบียนเมื่อ: 08 เม.ย. 2010, 08:14
โพสต์: 829

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ธรรมบุตร เขียน:
ทุกสิ่งที่เห็นล้วนเป็นธรรมะ เรื่องโดย พระอาจารย์ชาญชัย อธิปญฺโญ

รูปภาพ

หลายคนไม่รู้ว่าธรรมะคืออะไร แต่เมื่อถามว่าปฏิบัติธรรมดีหรือไม่ ส่วนหนึ่งจะตอบว่า “ดี” ครั้นเมื่อชวนไปปฏิบัติธรรมส่วนใหญ่จะตอบว่า “ไม่มีเวลา”

หากเข้าใจว่าธรรมะคืออะไรแล้ว ทุกคนสามารถปฏิบัติธรรมได้ในวิถีชีวิตประจำวัน โดยถือเอางานที่เราทำอยู่เป็นการปฏิบัติธรรมไปด้วย

คราวหนึ่งผู้เขียนได้รับนิมนต์ให้ไปบรรยายธรรมที่จังหวัดแห่ง หนึ่ง ผู้นิมนต์ได้จัดให้พักที่บ้านสวนของเพื่อน เจ้าของบ้านไม่ค่อยจะได้มาพักที่นี่ เพราะเธอมีธุรกิจร้านอาหารอยู่ในเมือง คงปล่อยให้คนงานดูแลแทน

ระหว่างที่พักอยู่ เจ้าของบ้านจะมาถวายอาหารทุกวัน เธอบอกว่ามีความสนใจธรรมะ แต่ยังไม่มีเวลาไปปฏิบัติธรรมที่ไหน เพราะร้านอาหารของเธอขายดี จะทิ้งไปไม่ได้

เธอถามผู้เขียนว่า ลูกน้องของเธอไม่ค่อยจะถูกกัน บางคนก็ทำงานไม่ได้ดังใจ ทำให้เธอเครียด จะทำอย่างไรดี

ผู้เขียนถามเธอว่า อาหารที่ร้าน อะไรอร่อย ลูกค้าชอบสั่งกันเป็นพิเศษ

เธอตอบว่า มีหลายอย่าง เช่น แกงเขียวหวาน ต้มยำกุ้ง ปลาเก๋าราดพริก น้ำพริกลงเรือ เป็นต้น

ผู้เขียนตอบว่า การปรุงอาหารอร่อยที่ร้านของเธอ เป็นธรรมะให้ศึกษาเพื่อคลายเครียดอยู่แล้ว

เธอทำหน้างงๆ ไม่เข้าใจว่าการปรุงอาหารจะเป็นธรรมะสอนใจได้อย่างไร

ผู้เขียนจึงถามเธอว่า แกงเขียวหวานที่ว่าอร่อยนั้น จะต้องปรุงรสอย่างไร เธออธิบายว่า ต้องใส่กะทิเพื่อให้มีรสมัน ใส่น้ำตาลให้อมหวานด้วย แล้วยังใส่พริกเพื่อให้มีรสเผ็ด ใส่น้ำปลาเพื่อให้มีรสเค็ม เครื่องปรุงอื่นก็มีหอม ข่า ตะไคร้ กระชาย มีในโหระพาโรยหน้า เพื่อให้มีกลิ่นหอม ไก่ที่นำมาปรุงก็จะเอากระดูกออก ให้ลูกค้ารับประทานได้สะดวก

ผู้เขียนบอกเธอไปว่า แกงเขียวหวานสอนธรรมะอยู่แล้วนี่ เธอยิ่งงง ไม่เข้าใจอยู่ดี ผู้เขียนจึงอธิบายให้เธอฟังว่า

การปรุงอาหารให้อร่อยนั้นไม่ได้มีรสเดียว ต้องใช้ทั้งรสมัน รสหวาน รสเผ็ด รสเค็ม บางอย่างอาจจะมีรสเปรี้ยวเข้าไปด้วย แต่ละรสถ้ารับประทานเฉพาะรสเดียวจะไม่อร่อย ต้องเอามารวมกันในปริมาณที่เหมาะสมจึงจะอร่อย อาหารจะสุกได้ก็ต้องใช้ความร้อน เพื่อต้มเคี่ยวให้รสต่างๆ หลอมเข้าด้วยกัน ต้องใช้น้ำหรือน้ำมันเข้าช่วย นอกจากนี้ก็ยังมีพืชผักและเนื้อสัตว์ด้วย ไก่ก็ต้องสับต้องหั่นเป็นชิ้นๆ น้ำพริกก็ต้องโขลก ผักก็ต้องเด็ด ต้องล้าง ต้องเลือกเอาใบที่เสียทิ้ง

เธอตั้งใจฟัง แต่ก็ยังไม่เข้าใจว่า การปรุงอาหารเกี่ยวกับธรรมะอย่างไร

ผู้เขียนจึงเปรียบเทียบให้เธอฟังว่า ลูกน้องของเธอที่มีปัญหาไม่ค่อยจะถูกกัน เพราะนิสัยใจคอไม่เหมือนกัน บางคนเรียบร้อยอ่อนหวานเหมือนน้ำตาล บางคนอารมณ์ร้อนเหมือนไฟ บางคนใจเย็นเหมือนน้ำ บางคนพูดจากก้าวร้าวเผ็ดร้อนเหมือนพริก บางคนนิสัยเห็นแก่ตัวเค็มเหมือนน้ำปลา บางคนพูดจาสนุกสนาน ฟังแล้วมันเหมือนกะทิ

เธอจะไปหาคนที่มีนิสัยเหมือนกันหมดอย่างที่เธอชอบได้ที่ไหน ถึงหามาได้ เช่นมีแต่คนใจเย็นเป็นน้ำ หรือหวานเป็นน้ำตาลเหมือนกันทั้งร้าน งานการจะก้าวหน้าได้อย่างไร เพราะงานที่ร้านไม่ได้มีแต่งานต้อนรับลูกค้า ยังมีงานในครัว งานซื้อวัตถุดิบ งานการเงิน งานทำความสะอาด เป็นต้น งานแต่ละอย่างก็ต้องใช้คนและละบุคลิกให้เหมาะกับงาน

ถึงตอนนี้เธอเริ่มจะเข้าใจบ้างแล้ว ผู้เขียนจึงขมวดประเด็นให้เธอฟังว่า ในฐานะที่เป็นเจ้าของร้าน เป็นผู้รับชอบในการบริหาร ก่อนอื่นจะต้องเรียนรู้ลูกน้องแต่ละคนว่านิสัยใจคออย่างไร แล้วใช้คนให้ถูกกับความสามารถ ตลอดจนนิสัยใจคอของเขา คนที่มีรสเผ็ด ถ้าเผ็ดเกินไปก็กินไม่ได้ ต้องทอนความเผ็ดลงมาให้พอประมาณ รสอื่นๆ ก็เช่นเดียวกัน มากหรือน้อยเกินไปก็ไม่ดี ต้องควบคุมให้พอเหมาะรสชาติ จึงจะกลมกล่อม

ถ้าเธอรับความเป็นจริงในความแตกต่างของลูกน้องแต่ละคนได้ แล้วใช้บทบาทการเป็นเจ้าของร้านบริหารเขา เหมือนแม่ครัวที่ปรุงอาหารเลือกเครื่องปรุงให้เหมาะกับอาหารที่ทำ เธอก็จะสนุกกับการปรุง ไม่เห็นจะต้องเครียดเลย ของบางอย่างหรือคนบางคน ถึงคราวก็ต้องหั่นต้องสับ ต้องโขลก ต้องเด็ด ต้องล้าง ต้องทิ้ง ต้องแต่ง ต้องเติม ถือเสียว่าเราทำตามหน้าที่ เพื่อให้ได้รสชาติที่เหมาะสมถูกใจลูกค้า แต่ก็ต้องไม่ลืมว่าลูกค้าแต่ละคนชอบอาหารไม่เหมือนกัน บางคนชอบแกงเขียวหวาน บางคนชอบต้มยำกุ้ง เป็นต้น ต่างคนต่างมีรสนิยมต่างกัน

ถ้าเธอยังไม่มีเวลาเข้าอมรบปฏิบัติธรรม ก็เอาสิ่งที่เห็นที่ทำอยู่มาพิจารณาเป็นธรรมะ สอนใจให้คลายจากความเครียดหรือจากทุกข์ที่รุมเร้า ให้เข้าใจความเป็นจริงของชีวิต เพราะธรรมะก็คือความจริงของสิ่งทั้งหลาย ได้เห็นตัวเองอย่างแท้จริง ได้เรียนรู้หลักธรรมที่จะนำมาใช้ในการดำเนินชีวิต อันจะช่วยเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมในทางที่ดีขึ้น เพื่อความสุขความเจริญที่ยั่งยืนของชีวิตสืบไป

เจ้าของบ้านสวนดูมีสีหน้าที่แจ่มใสขึ้น เธอน้อมรับคำสอนด้วยความเบิกบาน

สิ่งทั้งหลายที่ผู้คนได้สัมผัสสัมพันธ์ จะคิดไปในทางโลกก็ได้ คิดทางธรรมก็ได้ การคิดทางโลกนั้นส่วนใหญ่คิดไปตามอำนาจของกิเลสตัณหา ด้วยการประเมินค่าของสิ่งนั้นๆ ไปตามความเคยชิน เช่น สวย ไม่สวย ดี ไม่ดี ถูกใจ ไม่ถูกใจ เป็นต้น อันจะนำไปสู่ความอยากเสพในรูปเสียง กลิ่น รส สัมผัส และอารมณ์ ที่ตนปรารถนา (กามตัณหา) ความอยากได้ มี เป็น ในสถานะที่ตนพึงพอใจ (ภวตัณหา) และความไม่พึงพอใจในสิ่งที่ตนสัมผัสสัมพันธ์อยู่ (วิภวตัณหา)

การคิดในทางธรรมจะคิดไปตามความเป็นจริงในธรรมชาติของสิ่งทั้ง หลายที่มีอยู่ และดำเนินไปตามเหตุปัจจัย กล่าวคือ รู้ว่าสิ่งทั้งหลายมีความเปลี่ยนแปลงไป ไม่คงที่ (อนิจจัง) มีความแตกต่าง ขัดแย้ง กดดันกัน คงทนอยู่ในสภาพเดิมไม่ได้ (ทุกขัง) และไม่สามารถที่จะบังคับให้ได้ดังใจหาย เพราะไม่ใช่ของใครจริง (อนัตตา)

การเห็นสิ่งทั้งหลายตามความเป็นจริงเช่นนี้ ก็เพื่อนำมาเตือนจิตให้คลายจากความยึดมั่นสำคัญผิดที่เราอยากจะบังคับสิ่ง ทั้งหลายให้ได้อย่างใจ ครั้นไม่ได้ดังปรารถนาก็เครียด ก็ทุกข์

อนึ่ง การพิจารณาสิ่งทั้งหลายทางธรรม เพื่อปล่อยวางความทุกข์ทางใจ แต่ไม่ละวางในหน้าที่ความรับผิดชอบที่มีอยู่ จะต้องทำให้ดี เต็มกำลังความสามารถเข้าทำนองที่ว่า

ทำงานไม่ท้อ ทำใจไม่ทุกข์


หลายคนไม่รู้ว่าธรรมะคืออะไร

ดูก่อนวักกลิ ผู้ใดแลเห็นธรรม. ผู้นั้นชื่อว่าเห็นตถาคต

ผู้ใดเห็นธรรมและตถาคต เป็นหนึ่งเดียว

ย่อมเลิกละการพิจารณาธรรม

อจินไตยในพุทธวิสัยของธรรม ธรรมวิสัยขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 2 โพสต์ ] 

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 132 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร