วันเวลาปัจจุบัน 26 เม.ย. 2024, 22:52  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


กฎการใช้บอร์ด


รวมกระทู้จากบอร์ดเก่า http://www.dhammajak.net/board/viewforum.php?f=7



กลับไปยังกระทู้  [ 12 โพสต์ ]    Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 01 มี.ค. 2010, 17:54 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ทางสายกลาง

มรรคในฐานะมัชฌิมาปฏิปทา

“ภิกษุทั้งหลาย ที่สุดสองอย่างนี้บรรพชิตไม่ควรเสพ กล่าวคือ การหมกมุ่นด้วยกามสุขในกามทั้งหลาย

อันเป็นการชั้นต่ำ ชั้นตลาด ของบุถุชน มิใช่อริยะ ไม่ประกอบด้วยประโยชน์ อย่างหนึ่ง

และการประกอบความยากลำบากเดือดร้อนแก่ตน อันเป็นทุกข์ ไม่เป็นอริยะ ไม่ประกอบด้วยประโยชน์

อย่างหนึ่ง”

“ตถาคตได้ตรัสรู้แล้ว ซึ่งทางสายกลางที่ไม่ข้องแวะที่สุดสองอย่างนั้น อันเป็นทางที่สร้างจักษุ

(การเห็น) สร้างญาณ (การรู้) เป็นไปเพื่อความสงบ เพื่อความรู้ยิ่ง เพื่อความตรัสรู้ เพื่อนิพพาน”

“ก็ทางสายกลางนั้น...เป็นไฉน ?

ทางนั้น คือ มรรคอันเป็นอริยะ มีองค์ประกอบ ๘ ประการ ได้แก่ สัมมาทิฐิ สัมมาสังกัปปะ สัมมาวาจา

สัมมากัมมันตะ สัมมาอาชีวะ สัมมาวายามะ สัมมาสติ สัมมาสมาธิ”

(วินย.4/13/18 ; สํ.ม.19/1664/528)

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 01 มี.ค. 2010, 17:57 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


พุทธพจน์จากปฐมเทศนา หรือ ธัมมจักกัปปวัตตนสูตร แสดงความหมาย เนื้อหา และจุดหมายของ

มัชฌิมาปฏิปทาไว้โดยสรุปครบทั้งหมด

ความเป็นทางสายกลาง (the Middle path หรือ Middle Way) นั้น

เป็นเพราะไม่เข้าไปข้องแวะที่สุดสองอย่าง (แต่ไม่ใช่อยู่กลางระหว่างที่สุดทั้งสอง) คือ

๑. กามสุขัลลิกานุโยค การหมกมุ่นอยู่ด้วยกามสุข (the extreme of sensual

indulgence หรือ extreme hedonism)

๒.อัตตกิลมถานุโยค การประกอบความลำบากเดือดร้อนแก่ตนเอง (the extreme of self-

mortification หรือ extreme asceticism)

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 01 มี.ค. 2010, 18:05 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


บางครั้ง มีผู้นำเอาคำว่าทางสายกลางไปใช้อย่างกว้างขวาง หมายถึง การกระทำหรือความคิดที่อยู่กึ่งกลาง

ระหว่างการกระทำ หรือ ความคิดสองแบบสองแนว หรือ คนสองพวกสองฝ่าย คือ วัดเอาให้ได้ครึ่งทาง

ระหว่างสองแบบ หรือ สองฝ่ายนั้น

ความเป็นกลางหรือทางสายกลางอย่างนี้ ไม่มีหลักอะไรที่แน่นอน ต้องรอให้เขามีสองพวกสองฝ่ายก่อน

จึงจะเป็นกลางได้ และจุดหมาย หรือ เส้นกลางที่ไม่แน่ลงไปว่าแค่ไหนสุดแต่สองพวก หรือ สองฝ่ายเขา

จะยึดถือปฏิบัติกันแค่ใด ทางสายกลางนั้นก็ขยับเขยื้อนเลื่อนไปให้ได้ครึ่งทางระหว่างสองพวกสองฝ่ายนั้น

บางครั้งทางสายกลางแบบนี้ ก็มองดูคล้ายทางสายกลางที่เป็นมัชฌิมาปฏิปทา

แต่ก็พึงทราบว่าเป็นทางสายกลางเทียม ไม่ใช่ของแท้จริง

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


แก้ไขล่าสุดโดย กรัชกาย เมื่อ 01 มี.ค. 2010, 18:09, แก้ไขแล้ว 1 ครั้ง

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 01 มี.ค. 2010, 18:27 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ทางสายกลางที่แท้จริงมีหลักที่แน่นอน

ความแน่นอนของทางสายกลางนั้น อยู่ที่ความมีจุดหมายหรือเป้าหมายที่แน่ชัด

เมื่อมีเป้าหมายหรือจุดหมายที่แน่นอนแล้ว ทางที่นำไปสู่จุดหมายนั้น หรือการกระทำที่ตรงจุด

พอเหมาะพอดีที่จะให้ผลตามเป้าหมายนั้นแหละ คือ ทางสายกลาง

เปรียบเหมือนการยิงลูกศรหรือยิงปืนอย่างมีเป้าหมาย จำเป็นต้องมีจุดที่เป็นเป้า

การยิงถูก คือ การกระทำที่พอเหมาะพอดีให้ลูกปืน หรือ ลูกศรพุ่งไปสู่จุดที่เป็นเป้า

ความเป็นสายกลาง ย่อมอยู่ที่การยิงตรง พอดีสู่จุดที่เป็นเป้านั้น

การยิงที่เฉ คลาดพลาดออกไปข้างๆ ย่อมไม่ถูกต้องทั้งหมด

เมื่อเทียบกับการยิงที่ผิดเฉคลาดพลาดออกไปข้างๆ ทั้งหมดแล้ว จะเห็นว่าจุดหมายที่ถูกต้องมีจุดเดียวและเป็น

จุดกลาง เป็นจุดที่แน่นอน

ส่วนจุดที่ผิดพลาดมีมากมายและไม่แน่นอน ล้วนเขวออกไปเสียข้างๆ และ เส้นที่เข้าสู่จุดหมายนั้นก็เป็นเส้น

ทางกลางเช่นเดียวกัน

ทางที่ถูกต้อง มีจุดหมายมีหลักที่แน่นอนของมันเอง

มิใช่คอยรอกำหนดวัดเอาจากทางที่ผิดพลาด

ทางสายกลางที่เรียกว่า มัชฌิมาปฏิปทานี้ มีจุดหมายที่แน่นอน คือ ความดับทุกข์หรือภาวะหลุดพ้น

เป็นอิสระไร้ปัญหา


มรรคก็คือระบบความคิดและการกระทำ หรือ การดำเนินชีวิตที่ตรงจุดพอเหมาะพอดีให้ได้ผลสำเร็จ

เป้าหมาย คือ ความดับทุกข์ นี้จึงเป็นทางสายกลาง หรือ มัชฌิมาปฏิปทา

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


แก้ไขล่าสุดโดย กรัชกาย เมื่อ 01 มี.ค. 2010, 20:39, แก้ไขแล้ว 1 ครั้ง

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 01 มี.ค. 2010, 18:29 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว




6dq11.jpg
6dq11.jpg [ 102.06 KiB | เปิดดู 2881 ครั้ง ]
มีต่อ

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 01 มี.ค. 2010, 19:14 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


อนึ่ง โดยเหตุที่ทางสายกลางเป็นทางที่มีจุดหมายแน่ชัด หรือ ความเป็นทางสายกลางขึ้นอยู่กับความ

มีเป้าหมายที่แน่ชัด

ผู้ปฏิบัติจึงต้องรู้จุดหมายจึงจะเดินทางได้ คือ เมื่อจะเดินทางก็ต้องรู้ว่าตนจะไปไหน

ด้วยเหตุนี้ ทางสายกลางจึงเป็นทางแห่งปัญญา และจึงเริ่มต้นด้วยสัมมาทิฐิ คือ เริ่มด้วยความเข้าใจปัญหา

ของตน และ รู้จุดหมายที่จะเดินทางไป

โดยนัยนี้ ทางสายกลางจึงเป็นทางแห่งความรู้และความมีเหตุผล เป็นทางแห่งความรู้เข้าใจ ยอมรับและ

กล้าเผชิญหน้ากับความจริง

เมื่อมนุษย์ มีความรู้ความเข้าใจ และ กล้าเผชิญหน้ากับความจริงของโลกและชีวิตแล้ว

มนุษย์จึงจะสามารถจัดการกับชีวิตด้วยมือของตนเอง หรือ สามารถดำเนินชีวิตให้ถูกต้องดีงามกันได้เอง

โดยไม่ต้องคอยหวังพึ่งอำนาจศักดิ์สิทธิ์ฤทธานุภาพดลบันดาลจากภายนอก

และเมื่อมนุษย์มีความมั่นใจด้วยอาศัยปัญญาเช่นนี้แล้ว

มนุษย์ก็จะไม่ต้องไปหมกมุ่นวุ่นวายอยู่กับสิ่งที่ห่วงกังวลว่าจะมีอยู่นอกเหนือวิสัยของมนุษย์

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 01 มี.ค. 2010, 19:24 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


(ต่อ)

ท่าทีแห่งความมั่นใจเช่นนี้แหละ คือ ลักษณะอย่างหนึ่งของความเป็นทางสายกลาง

ผู้เดินทางสายกลาง เมื่อเข้าใจปัญหาและกำหนดรู้แนวแห่งจุดหมายแล้วก็จะมีความรู้ความเข้าใจตามมาอีก

ด้วยว่า ทางสายกลางสู่จุดหมายนั้น คือ ทางดำเนินชีวิตที่ไม่ตีราคาค่าตัวต่ำ ถึงกับยอมสยบจมลงในกระแส

โลก ปล่อยชีวิตให้เป็นทาสแห่งอามิสที่เป็นเหยื่อล่อของโลก เป็นอยู่ด้วยความหวังที่จะได้เสพรสอร่อย

ของโลกถ่ายเดียว โดยยอมให้สุขทุกข์ ความดีงาม และคุณค่าแห่งชีวิตของตนขึ้นต่อวัตถุ และความผันผวน

ปรวนแปรของเหตุปัจจัยต่างๆ ในภายนอกอย่างสิ้นเชิง ไม่ให้ชีวิตมีอิสรภาพ เป็นของตัวเอง มีคุณค่าในตัว

ของมันเอง โดยไม่ต้องขึ้นต่อโลกร่ำไปเสียบ้างเลย

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 01 มี.ค. 2010, 19:38 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ทางดำเนินชีวิตที่เป็นสายกลางนั้น นอกจากไม่เอียงสุดทางวัตถุ จนเป็นทาสของวัตถุ หรือ ขึ้นต่อวัตถุ

สิ้นเชิงแล้ว ก็ไม่เอียงสุดทางจิตด้วย คือ มิได้เห็นว่าทุกสิ่งทุกอย่างขึ้นต่อการบำเพ็ญเพียรและผลสำเร็จ

ทางจิตฝ่ายเดียว

จนปล่อยปละละเลยไม่เอาใจใส่สภาพทางวัตถุและร่างกาย กลายเป็นการประกอบความเพียรลำบาก

เดือดร้อนแก่ตนเอง

ทางดำเนินชีวิตนี้มีลักษณะไม่เบียดเบียนทั้งตนเองและผู้อื่น เป็นไปด้วยการรู้เข้าใจสภาพที่เป็นอยู่ตามที่เป็น

จริง ทั้งทางวัตถุและทางจิตใจ แล้วปฏิบัติด้วยความรู้เท่าทัน พอสมแก่เหตุปัจจัย และสอดคล้อง

พอเหมาะพอดี ที่จะให้ได้ผลตามจุดหมาย

มิใช่ทำพอสักว่า จะให้ได้เสพเสวยเวทนาอันอร่อยของอามิส หรือ สักว่าถือตามๆกันมา โดยสำคัญ

มั่นหมาย ว่าจะต้องเป็นอย่างนั้นอย่างนี้โดยงมงาย *

ทางสายกลาง มีลักษณะบางอย่างที่พึงทราบ ดังที่กล่าวมานี้

หากผู้ใดจะกล่าวอ้างถึงทางสายกลาง หรือ เดินสายกลาง อย่างหนึ่งอย่างใด ก็พึงถามท่านผู้นั้นว่า

เขาได้เข้าใจสภาพปัญหาที่มีอยู่ และ จุดหมายของทางสายกลางที่จะเดินนั้นแล้วหรือไม่

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


แก้ไขล่าสุดโดย กรัชกาย เมื่อ 01 มี.ค. 2010, 21:45, แก้ไขแล้ว 1 ครั้ง

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 01 มี.ค. 2010, 20:06 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ขยายความ คห.บนที่มี *


* พุทธพจน์ใน องฺ.ติก.20/596-7/380-1 และ ขุ.อุ.25/144/194 อาจช่วยขยายความหมาย

ที่สุดสองอย่างนี้ได้อีก

แห่งแรกทรงเรียกกามสุขัลลิกานุโยคว่า อาคาฬหปฏิปทา (ทางกร้าน หรือ ทางหยาบกร้าน)

ได้แก่ คนพวกที่เห็นว่ากามไม่มีโทษ แล้วดื่มด่ำหมกตัวอยู่ในกาม

ทรงเรียกอัตตกิลมถานุโยคว่า นิชฌามปฏิปทา (ทางเกรียม หรือ ทางแห้งเกรียม)

ได้แก่ วัตรปฏิบัติต่างๆ ของพวกอเจลก คือ ชีเปลือย (พึงถือว่า ทรงยกเป็นตัวอย่าง)

ส่วนมัชฌิมาปฏิปทา ทรงไขความว่า ได้แก่ ธรรมหมวดใดก็ได้ในโพธิปักขิยธรรม ๓๗ ประการ

(สติปัฏฐาน ๔ ปธาน ๔ อิทธิบาท ๔ อินทรีย์ ๕ พละ ๕ โพชฌงค์ ๗ มรรคมีองค์ ๘)

:b48: :b48: :b48: :b48: :b48: :b48: :b48: :b48: :b48: :b48: :b48: :b48: :b48: :b48:

แห่งที่สองมีความว่า “คนพวกที่ถือเอาการเล่าเรียนเป็นสาระ ถือเอาศีล วัตร การหาเลี้ยงชีพ การถือ

พรหมจรรย์ และการบำรุงบำเรอ (เทพเจ้า) เป็นสาระ นี้เป็นที่สุดข้างหนึ่ง

และคนพวกที่ถือวาทะว่า โทษในกามไม่มี นี้ก็เป็นที่สุดข้างหนึ่ง

ที่สุดสองอย่างนี้ เป็นเครื่องพอกพูนอวิชชา ตัณหา

อวิชชาตัณหา ก็พอกพูนทิฐิ

คนทั้งหลาย ไม่รู้จักที่สุดสองอย่างเหล่านี้ พวกหนึ่งติดล้าอยู่

พวกหนึ่งก็วิ่งเลยไป

ส่วนคน ผู้รู้จักที่สุดสองอย่างนั้นแล้ว เขาไม่ติดอยู่ในที่สุดทั้งสองนั้น และไม่ถือดี เพราะการที่ไม่ติดอยู่

นั้นด้วย

สำหรับคนเหล่านั้น วัฏฏะที่จะบัญญัติเขา ย่อมไม่มี”

:b43: :b43: :b43: :b43: :b43: :b43: :b43: :b43: :b43: :b43: :b43: :b43:

(อรรถกถา คือ อุทาน อ. 446 อธิบายคำว่า การหาเลี้ยงชีพว่าหมายถึงการเลี้ยงชีวิตแบบนักบำเพ็ญตบะ

และว่า อัตตกิลมถานุโยค ก็คือ สีลัพพตปรามาสนั่นเอง)

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 01 มี.ค. 2010, 21:50 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


(ต่อ)

หลักมัชฌิมาปฏิปทา ใช้ได้กับกิจการและกิจกรรมทุกอย่างของมนุษย์ที่เป็นประเภทวิธีการ ตามปกติ ระบบ

แบบแผน วิทยาการ สถาบัน หน้าที่การงานต่างๆ ตลอดจนการปฏิบัติกิจในชีวิตประจำวัน เช่น

การศึกษาเล่าเรียน เป็นต้น ย่อมมีความมุ่งหมายเพื่อแก้ปัญหา กำจัดทุกข์ ช่วยให้มนุษย์บรรลุความดีงาม

ที่สูงขึ้นไปอย่างใดอย่างหนึ่ง การปฏิบัติที่ถูกต้อง หรือ การปฏิบัติชอบ ต่อระบบ แบบแผน เป็นต้น

เหล่านั้น ก็คือ จะต้องกระทำด้วยความเข้าใจในจุดหมายของมัน ซึ่งนับว่าเป็นการกระทำด้วยปัญญา หรือ

โดยมีสัมมาทิฐิ จึงจะนับว่าเป็นการดำเนินตามแนวทางของมัชฌิมาปฏิปทา

แต่จะเห็นได้ว่า ในทางปฏิบัติ มีอยู่เสมอ ที่มนุษย์ปฏิบัติผิดพลาดคลาดเคลื่อน ไม่เป็นไปด้วยความรู้

ความเข้าใจตรงต่อจุดมุ่งหมายของระบบ วิธี และกิจการเหล่านั้น

การปฏิบัติผิดพลาดนี้ จะเป็นไปในทางเอียงสุดสองอย่างอย่างใดอย่างหนึ่ง กล่าวคือ

พวกหนึ่ง มุ่งใช้ระบบวิธีและกิจการเหล่านั้นเป็นเครื่องมือ หรือ ช่องทางสำหรับแสวงหาสิ่งบำรุงบำเรอ

ปรนเปรอตน เช่น ใช้ระบบการเมือง ใช้สถาบ้น เป็นชองทางแสดงหาลาภ ยศ อำนาจ ทำหน้าที่การงาน

ศึกษาเล่าเรียน โดยมุ่งเป็นหนทางให้ได้เงินทอง ตำแหน่งใหญ่โตเพื่อบำรุงบำเรอตนให้มีความสุขสำราญ

ได้เต็มที่

ไม่ทำเพื่อบรรลุจุดหมายของงาน หรือ วิทยาการนั้นๆ นับว่าเป็นการขาดสัมมาทิฐิ มีมิจฉาทิฐิแทนที่

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 01 มี.ค. 2010, 21:53 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ส่วนคนอีกพวกหนึ่ง ตั้งใจปฏิบัติกิจ ทำงาน ศึกษาเล่าเรียน เป็นต้น อย่างแข็งขันจริงจัง ระดมทุน

ระดมแรง อุทิศเวลาให้ ทำอย่างทุ่มเท แต่ไม่รู้ไม่เข้าใจความมุ่งหมายของสิ่งที่กระทำนั้นว่า เป็นไปเพือ

แก้ปัญหาอะไร เป็นต้น

ทำให้สิ้นเปลืองเวลา แรงงาน และทุน ทำตนเองให้ลำบาก เหน็ดเหนื่อยเปล่า เป็นการขาดสัมมาทิฐิ

อีกแบบหนึ่ง

:b39: :b39: :b39: :b39: :b39: :b39: :b39: :b39: :b39: :b39: :b39: :b39: :b39: :b39: :b39: :b39: :b39:

พวกแรก ตั้งความมุ่งหมายของตนเองขึ้นใหม่เพื่อสนองตัณหาของตน ไม่เป็นไปตามความมุ่งหมายที่แท้จริง

ของกิจกรรมหรือกิจการนั้นๆ

ส่วนพวกหลัง สักว่าทำโดยไม่รู้ไม่เข้าใจความมุ่งหมาย ไปสู่ทางสุดโต่งคนละสาย ไม่ดำเนินไปตาม

มัชฌิมาปฏิปทา มีแต่จะทำให้เกิดปัญหาเพิ่มพูนมากยิ่งขึ้น

ต่อเมื่อใด ดำเนินตามมัชฌิมาปฏิปทาซึ่งเป็นทางแห่งปัญญา ทำการด้วยความรู้ความเข้าใจตรงตามความ

มุ่งหมายของเรื่องนั้นๆ กิจนั้นๆ จึงจะแก้ปัญหากำจัดทุกข์ได้สำเร็จ

รวมความว่า ถ้าไม่เริ่มต้นด้วยสัมมาทิฐิ ก็ไม่เป็นมัชฌิมาปฏิปทา

ถ้าไม่ดำเนินตามมัชฌิมาปฏิปทา ก็แก้ปัญหาดับทุกข์ไม่สำเร็จ *

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 01 มี.ค. 2010, 21:57 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ขยายความ คห.บนที่มี *


* การเพียรพยายามไม่ตึงเกินไป ไม่หย่อนเกินไป หรือ ศึกษาเล่าเรียน ทำหน้าที่การงาน

อย่างไม่เกียจคร้าน แต่ไม่หักโหมเกินไป

บางคราวก็นิยมพูดกันว่า เป็นทางสายกลาง

คำพูดนี้ ในบางกรณีอาจเขาลักษณะทางสายกลางได้ในบางแง่ แต่ไม่ถูกเสียทีเดียว

แม้แต่ผู้ที่ดำเนินในทางที่ถูกต้อง เป็นทางสายกลางแล้ว แต่เพียรแรงไป หรืออ่อนไป จึงไม่สำเร็จผลก็มี

ในกรณีเช่นนี้ คำพูดที่ถูกต้อง ท่านใช้ว่า "วิริยสมตา" แปลว่า ความพอเหมาะ พอดี หรือ สม่ำเสมอ

แห่งความเพียร-

(ดู วินย.5/2/5 องฺ.ฉกฺก.22/326/419)

:b55: :b55: :b55: :b55: :b55: :b55: :b55: :b55: :b55: :b55: :b55: :b55: :b55: :b55:

บางคราว ถ้าชัดเจนว่าเดินถูกทาง มั่นใจและพร้อมทุกอย่างแล้ว ท่านให้ระดมความเพียรสุดกำลัง

ถึงจะตายก็ต้องยอม เช่น พระพุทธเจ้าตั้งพระทัยเด็ดเดี่ยวในราตรีที่ตรัสรู้ เป็นต้น

(องฺ.ทุก.20/251/64) ดังนั้น เรื่องนี้จึงไม่ควรสับสนกับทางสายกลาง

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 12 โพสต์ ] 

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 62 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร