ลานธรรมจักร
http://www.dhammajak.net/forums/

เห็นไตรลักษณ์ถูกต้อง จะเห็นคุณค่าของชีวิตทั้งสองด้าน
http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=7&t=28720
หน้า 1 จากทั้งหมด 1

เจ้าของ:  กรัชกาย [ 17 ม.ค. 2010, 18:34 ]
หัวข้อกระทู้:  เห็นไตรลักษณ์ถูกต้อง จะเห็นคุณค่าของชีวิตทั้งสองด้าน

ต่อจาก


viewtopic.php?f=2&t=25519


:b48: :b48: :b48: :b48: :b48: :b48: :b48: :b48: :b48: :b48: :b48: :b48: :b48:

พุทธพจน์เกี่ยวกับไตรลักษณ์


ความรู้เท่าทันสภาวะของไตรลักษณ์

"ภิกษุทั้งหลาย รูป...เวทนา...สัญญา...สังขาร...วิญญาณ ไม่เที่ยง สิ่งใดไม่เที่ยง

สิ่งนั้นเป็นทุกข์ สิ่งใดเป็นทุกข์ สิ่งนั้น เป็นอนัตตา สิ่งใดเป็นอนัตตา สิ่งนั้น พึงเห็นด้วยสัมมาปัญญา

ตามที่มันเป็นว่า นั่นไม่ใช่ของเรา มิใช่เราเป็นนั่น นั่นไม่ใช่ตัวตนของเรา"

(สํ.ข.17/42/28)


"ภิกษุทั้งหลาย รูป...เวทนา...สัญญา...สังขาร...วิญญาณ ไม่เที่ยง...เป็นทุกข์ ...

เป็นอนัตตา

แม้สภาวะที่เป็นเหตุเป็นปัจจัยในรูป ฯลฯ วิญญาณเกิดขึ้น ก็ไม่เที่ยง...เป็นทุกข์ ...เป็นอนัตตา

รูป ฯลฯ วิญญาณ ซึ่งเกิดจากสภาวะที่ไม่เที่ยง...เป็นทุกข์ ...เป็นอนัตตา จักเป็นของเที่ยง...

เป็นสุข...เป็นอัตตา ได้จากที่ไหน"

(สํ.ข.17/45-47/29-30)

ท่านแปลรวบความ ในบาลีท่านแยกพูดทีละอย่าง

เจ้าของ:  กรัชกาย [ 17 ม.ค. 2010, 18:56 ]
หัวข้อกระทู้:  Re: เห็นไตรลักษณ์ถูกต้อง จะเห็นคุณค่าของชีวิตทั้งสองด้าน

"ท่านเอย อริยสาวก ผู้ได้เรียนสดับแล้ว ได้พบเห็นอริยชนทั้งหลาย ฉลาดในอริยธรรม ฝึกอบรมดีแล้ว

ในอริยธรรม ได้พบเห็นสัตบุรุษทั้งหลาย ฉลาดในสัปปุริสธรรม ฝึกอบรมดีแล้วในสัปปุริสธรรม

ย่อมไม่มองเห็น รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ เป็นอัตตา

ไม่มองเห็นอัตตามีรูป มีเวทนา มีสัญญา มีสังขาร มีวิญญาณ

ไม่มองเห็นมีรูป มีเวทนา มีสัญญา มีสังขาร มีวิญญาณ ในอัตตา

ไม่มองเห็นอัตตา ในรูป ในเวทนา ในสัญญา ในสังขาร ในวิญญาณ

อริยสาวกนั้น รู้ชัดรูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ ที่ไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นอนัตตา เป็นสิ่งปรุงแต่ง

เป็นฆาตกรตัวจริง ตามที่มันเป็นว่า ไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นอนัตตา เป็นสิ่งปรุงแต่ง เป็นฆาตกรตัวจริง

อริยสาวกนั้น ไม่ยึดติด ไม่ถือค้างไว้ ไม่มั่นหมายปักใจ รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณว่า

เป็นตัวของเรา

อุปาทานขันธ์ ๕ เหล่านี้ ที่อริยสาวกนั้น ไม่ยึดติด ไม่ถือมั่นแล้ว ย่อมเป็นไปเพื่อประโยชน์เกื้อกูล

เพื่อความสุขตลอดกาลนาน"

(สํ.ข.17/207/139) (แปลรวบความ เป็นภาษิตของพระสารีบุตร)

:b42: :b42: :b42: :b42: :b42: :b42: :b42: :b42: :b42: :b42: :b42: :b42: :b42: :b42: :b42: :b42: :b42: :b42:

ข้อความว่า ไม่เห็นรูปเป็นตน ไม่เห็นตนมีรูป ไม่เห็นรูปในตน ไม่เห็นตนในรูปนั้น

ถ้าจะใช้เป็นคำศัพท์สั้นๆ ก็ตรงกับคำในวิสุทธิมรรรคว่า
น อตฺตา ไม่เป็นตน
น อตูตโน ไม่ใช่ของตน
น อตฺตนิ ไม่ใช่ในตน
น อตฺตวตี ไม่ใช่มีตน

(ดู วิสุทธิ.3/194 )

วิสุทธิมรรรคแสดงวิธีพิจารณาให้เห็นความว่างจากตัวตนโดยใช้คำพิจารณามากมายหลายแง่ เช่น กำหนดพิจารณารูปว่า ไม่ใช่สัตว์ ไม่ใช่ชีวะ ไม่ใช่นระ ไม่ใช่มาณวะ ไม่ใช่สตรี ไม่ใช่บุรุษ ไม่ใช่อัตตา
ไม่ใช่อัตตนิยะ (เนื่องในตน) ไม่ใช่เรา ไม่ใช่ของเรา ไม่ใช่ของผู้อื่น ไม่ใช่ของใครๆ

(วิสุทธิ.3/293-6)

เจ้าของ:  กรัชกาย [ 17 ม.ค. 2010, 18:59 ]
หัวข้อกระทู้:  Re: เห็นไตรลักษณ์ถูกต้อง จะเห็นคุณค่าของชีวิตทั้งสองด้าน

"แนะท่านคหบดี อย่างไร จึงชื่อว่าป่วยทั้งกาย ป่วยทั้งใจ

ในข้อนี้ ปุถุชนผู้มิได้เรียนสดับ ไม่ได้พบเห็นอริยชนทั้งหลาย ไม่ฉลาดในอริยธรรม ไม่ได้ฝึกอบรม

ในอริยธรรม...ย่อมมองเห็น รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ เป็นตน (อัตตา)

มองเห็นตน มีรูป มีเวทนา มีสัญญา มีสังขาร มีวิญญาณ

มองเห็นรูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ ในตน

มองเห็นตนในรูป ในเวทนา ในสัญญา ในสังขาร ในวิญญาณ อยู่ด้วยความรู้สึกรุมเร้าว่า

รูปเป็นเรา รูปของเรา

เวทนาเป็นเรา เวทนาของเรา

สัญญาเป็นเรา สัญญาของเรา

สังขารเป็นเรา สังขารของเรา

วิญญาณเป็นเรา วิญญาณของเรา เมื่อเขาอยู่ด้วยความรู้สึกรุมเร้าว่า รูปเป็นเรา รูปของเรา ฯลฯ

วิญญาณเป็นเรา วิญญาณของเรา

รูป ฯลฯ วิญญาณ ย่อมแปรปรวนไป กลายเป็นอย่างอื่น เขาย่อมเกิดความโศกเศร้า ความคร่ำครวญ

ความทุกข์ โทมนัส และความคับแค้นผิดหวัง เพราะการที่รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ

แปรปรวนไป กลายเป็นอย่างอื่น"

สํ.ข.17/4-5/3-7 (ท่านแปลรวบความ ภาษิตของพระสารีบุตร)

เจ้าของ:  กรัชกาย [ 17 ม.ค. 2010, 19:01 ]
หัวข้อกระทู้:  Re: เห็นไตรลักษณ์ถูกต้อง จะเห็นคุณค่าของชีวิตทั้งสองด้าน

"ภิกษุทั้งหลาย อย่างไร จึงจะมีความไม่กระวนกระวาย ที่เกิดจากความไม่ถือมั่น ?

ในข้อนี้ อริยสาวกผู้ได้เรียนสดับแล้ว...ย่อมไม่มองเห็นรูปเป็นตน ไม่มองเห็นตนมีรูป ไม่มองเห็นตนในรูป

ไม่มองเห็นรูปในตน

ถึงรูปของเธอนั้น จะแปรปรวนไป กลายเป็นอย่างอื่น เธอก็ไม่มีวิญญาณที่หมุนคล้อยไปตามความแปรปรวน

ของรูป เพราะการที่รูปแปรปรวนไปกลายเป็นอย่างอื่นนั้นด้วย

ความกระวนกระวายและประดาความรู้สึกนึกคิด (ธรรมสมุปบาท) ที่เกิดจากการหมุนคล้อยไปตามความแปร

ปรวนของรูป ก็ครอบงำจิตของเธอไม่ได้

เพราะการที่จิตไม่ถูกครอบงำ เธอย่อมไม่มีความหวั่นหวาด ไม่มีความคับแค้นใจ ไม่มีความห่วงหาอาลัย

เพราะไม่ถือมั่น จึงไม่กระวนกระวาย"

(เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ ก็ทำนองเดียวกัน)

(สํ.ข.17/33/22)

เจ้าของ:  กรัชกาย [ 17 ม.ค. 2010, 19:02 ]
หัวข้อกระทู้:  Re: เห็นไตรลักษณ์ถูกต้อง จะเห็นคุณค่าของชีวิตทั้งสองด้าน

"ภิกษุทั้งหลาย เมื่อรู้แล้วซึ่งความเป็นอนิจจัง ความแปรปรวนไป จางคลายไป ดับไปของรูป มองเห็นอยู่

ด้วยสัมมาปัญญา ตามที่มันเป็นว่า รูปในกาลก่อนก็ดี รูปทั้งปวงในบัดนี้ก็ดี ล้วนไม่เที่ยง เป็นทุกข์

มีความแปรปรวนไปเป็นธรรมดา

ดังนั้น ก็ย่อมละความโศกเศร้า ความคร่ำครวญ ความทุกข์ โทมนัส และความคับแค้นผิดหวังได้

เพราะละความโศก ฯลฯ ได้ก็ไม่กระวนกระวาย

เมื่อไม่กระวนกระวาย ก็อยู่เป็นสุข

ภิกษุผู้อยู่เป็นสุข เราเรียกว่า ผู้นิพพานเฉพาะกรณีนั้นๆ (ตทังคนิพพุตะ)

(เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ ก็ทำนองเดียวกัน)

(สํ.ข.17/88/54)

เจ้าของ:  กรัชกาย [ 17 ม.ค. 2010, 19:05 ]
หัวข้อกระทู้:  Re: เห็นไตรลักษณ์ถูกต้อง จะเห็นคุณค่าของชีวิตทั้งสองด้าน

"ปุถุชน ผู้มิได้เรียนสดับนั้น ย่อมมนสิการโดยไม่แยบคาย (อโยนิโสมนสิการ) อย่างนี้ว่า ในอดีตกาล

อันยาวนาน เราได้มีแล้วหรือหนอ ...หรือว่าเรามิได้มี...เราได้เป็นอะไรหนอ...เราได้เป็นอย่างไร

หนอ...เราเป็นอะไรแล้วจึงได้เป็นอะไรหนอ

ในอนาคตกาลอันยาวนาน เราจักมีหรือหนอ ...หรือว่าเราจักไม่มี...เราจักเป็นอะไรหนอ...เราจักเป็น

อย่างไรหนอ...เราจักเป็นอะไรแล้วจึงจะเป็นอะไรหนอ

หรือปรารภกาลปัจจุบันในบัดนี้ มีความสงสัยขึ้นภายในว่า เรามีอยู่หรือ หรือว่าเราไม่มี เราเป็นอะไรหนอ

เราเป็นอย่างไรหนอ สัตว์นี้มาจากไหนหนอ สัตว์นั้นจักไป ณ ที่ใดหนอ ?


"เมื่อปุถุชนนั้น มนสิการโดยไม่แยบคายอย่างนี้ ทิฏฐิอย่างใดอย่างหนึ่งในทิฏฐิ ๖ อย่าง ย่อมเกิดขึ้น คือ

เขาย่อมเกิดทิฏฐิ (ยึดถือ) เอาเป็นจริงเป็นแท้ว่า เรามีอัตตา ...เราไม่มีอัตตา ...เรากำหนดรู้อัตตาด้วย

อัตตา ...เรากำหนดรู้สภาวะที่มิใช่อัตตาด้วยอัตตา ...เรากำหนดรู้อัตตาด้วยสภาวะที่มิใช่อัตตา

หรือมิฉะนั้น ก็จะมีทิฏฐิว่า อัตตาของเรานี้แหละที่เป็นตัวบงการ เป็นผู้เสวย ประสบวิบากแห่งกรรมที่ดีและชั่ว

ณ ที่นั้นๆ เป็นสภาวะที่เที่ยงแท้ ยั่งยืน คงอยู่ตลอดไป มีความไม่ผันแปรเป็นธรรมดา จ้กยังคงอยู่อย่างนั้น

เสมอตลอดไป

ภิกษุทั้งหลาย นี้เรียกทิฏฐิ รกชัฏแห่งทิฏฐิ กันดารแห่งทิฏฐิ เสี้ยนหนามทิฏฐิ ความดิ้นรนแห่งทิฏฐิ

ทิฏฐิเครื่องผูกมัดสัตว์

ปุถุชน ผู้มิได้เรียนสดับ ซึ่งถูกทิฏฐิเครื่องผูกมัดรัดตัวไว้ ย่อมไม่พ้นจาก ชาติ ชรา มรณะ โสกะ ปริเทวะ

ทุกข์ โทมนัส และอุปายาส เรากล่าวว่า ย่อมไม่พ้นจากทุกข์

เจ้าของ:  กรัชกาย [ 17 ม.ค. 2010, 19:07 ]
หัวข้อกระทู้:  Re: เห็นไตรลักษณ์ถูกต้อง จะเห็นคุณค่าของชีวิตทั้งสองด้าน

"ภิกษุทั้งหลาย ส่วนอริยสาวก ผู้ได้เรียนสดับแล้ว ฯลฯ ย่อมรู้ชัดธรรมที่ควรมนสิการ ย่อมรู้ชัดธรรม

ที่ไม่ควรมนสิการ

ย่อมไม่มนสิการธรรมที่ไม่ควรมนสิการ ย่อมมนสิการธรรมที่ควรมนสิการ


"ธรรมที่ไม่ควรมนสิการ ซึ่งอริยสาวกไม่มนสิการ เป็นไฉน ? กล่าวคือ เมื่ออริยสาวกมนสิการธรรมเหล่าใด

กามาสวะก็ดี ภวาสวะก็ดี อวิชชาสวะก็ดี ที่ยังไม่เกิด ก็เกิดขึ้น ที่เกิดขึ้นแล้ว ก็เจริญ เหล่านี้คือ

ธรรมที่ไม่ควรมนสิการ ซึ่งอริยสาวกไม่มนสิการ


"ธรรมที่ควรมนสิการ ซึ่งอริยสาวกมนสิการ เป็นไฉน ? กล่าวคือ เมื่ออริยสาวกมนสิการธรรมเหล่าใด

กามาสวะก็ดี ภวาสวะก็ดี อวิชชาสวะก็ดี ที่ยังไม่เกิด ก็ไม่เกิดขึ้น ที่เกิดขึ้นแล้ว ก็ถูกละเสียได้ เหล่านี้

คือ ธรรมที่ควรมนสิการ ซึ่งอริยสาวกย่อมมนสิการ

เพราะอริยสาวกนั้น ไม่มนสิการธรรมที่ไม่ควรมนสิการ และมนสิการธรรมที่ควรมนสิการ อาสวะทั้งหลาย

ที่ยังไม่เกิด ก็จะไม่เกิดขึ้น และที่เกิดขึ้นแล้ว ก็จะถูกละเสียได้


"อริยสาวกนั้น ย่อมมนสิการโดยแยบคาย (โยนิโสมนสิการ) ว่านี้ทุกข์...นี้เหตุให้เกิดทุกข์...นี้ความ

ดับทุกข์...นี้ปฏิปทาให้ถึงความดับทุกข์

เมื่ออริยสาวกนั้น มนสิการโดยแยบคายอย่างนี้ สังโยชน์ ๓ ย่อมถูกละเสียได้ กล่าวคือสักกายทิฏฐิ วิจิกิจฉา

สีลัพพตปรามาส"

(ม.มู.12/12/14)

เจ้าของ:  กรัชกาย [ 17 ม.ค. 2010, 19:12 ]
หัวข้อกระทู้:  Re: เห็นไตรลักษณ์ถูกต้อง จะเห็นคุณค่าของชีวิตทั้งสองด้าน

คุณค่าทางด้านจริยธรรมของไตรลักษณ์ (ด้านการทำจิตเป็นอิสระและ

ด้านการทำกิจโดยไม่ประมาท)

-อนิจจตาแห่งชีวิต และการเห็นคุณค่าของกาลเวลา



"พระอาทิตยพันธ์ (พระพุทธเจ้า) ได้ตรัสแสดงไว้ว่า รูปอุปมาเหมือนฟูมฟองแม่น้ำ เวทนาอุปมาเหมือน

ฟองน้ำฝน สัญญาอุปมาเหมือนพยับแดด สังขารอุปมาเหมือนต้นกล้วย วิญญาณอุปมาเหมือนมายากล

ภิกษุพินิจดู พิจารณาโดยแบบคาย ซึ่งเบญจขันธ์นั้น ด้วยประการใดๆ ก็มีแต่สภาวะที่ว่างเปล่า

พระผู้ทรงปัญญาดังผืนแผ่นดิน ทรงปรารภร่างกายนี้แล้วทรงแสดงการละธรรม ๓ อย่าง (โลภะ โทสะ โมหะ

หรือ ตัณหา มานะ ทิฏฐิ) ไว้

ท่านทั้งหลาย จงดูรูปที่เขาทิ้งแล้ว เมื่อใด อายุ ไออุ่น และวิญญาณละกายนี้

เมื่อนั้น ร่างกายก็ถูกทิ้งนอนไร้จิตใจ กลายเป็นอาหารของสัตว์อื่น นี้แหละการสืบต่อ(ชีวิต)ก็อย่างนี้

มันเป็นมายากลหลอกคนโง่ให้เพ้อ ได้บอกแล้วว่า เบญจขันธ์นี้ เป็นผู้ล่าสังหารอยู่ในตัว จะหาแก่นสาร

ในเบญจขันธ์นี้ย่อมไม่มี

ภิกษุ ระดมเพียรแล้ว พึงพิจารณาขันธ์ทั้งหลายอย่างนี้ โดยมีสติสัมปชัญญะ มีสติมั่นทั้งวันทั้งคืน

พึงละเครื่องผูกมัดเสียให้หมด พึงสร้างที่พึ่งให้แก่ตน เมื่อปรารภอัจจุตบท (นิพพาน) ก็พึงประพฤติเหมือน

ดังคนที่ศีรษะถูกไฟไหม้"

(สํ.ข.17/247/174)

เจ้าของ:  กรัชกาย [ 18 ม.ค. 2010, 18:29 ]
หัวข้อกระทู้:  Re: เห็นไตรลักษณ์ถูกต้อง จะเห็นคุณค่าของชีวิตทั้งสองด้าน

"ภิกษุทั้งหลาย อายุของมนุษย์ทั้งหลายนี้น้อย จะต้องไปสู่ภพหน้า พึงวินิจฉัยการด้วยความรู้คิด

พึงกระทำการดีงาม (กุศล) พึงครองชีวิตประเสริฐ (พรหมจรรย์) ผู้ที่เกิดมาแล้ว ที่จะไม่ตายเป็นไม่มี

ผู้ใดอยู่ได้นาน ผู้นั้นก็อยู่ได้แค่ร้อยปี จะเกินไปบ้างก็เพียงเล็กน้อย

"อายุของมนุษย์ทั้งหลายน้อย สัตบุรุษพึงดูหมิ่นอายุที่น้อยนั้น พึงประพฤติเหมือนดังถูกไฟไหม้ศีรษะ

การที่มัจจุราชจะไม่มาหานั้น เป็นอันไม่มี วันคืนย่อมล่วงไป ชีวิตก็หดสั้นเข้า อายุของมนุษย์ทั้งหลาย

ย่อมหมดสิ้นไป เหมือนดังน้ำในธารน้ำน้อย"

(ขุ.ม.29/51; 182/143 ฯลฯ)


"ชีวิตของสัตว์ทั้งหลายในโลกนี้ ไม่มีเครื่องหมาย ไม่มีใครรู้ ทั้งยาก ทั้งน้อย และระคนด้วยทุกข์

ความเพียรพยายามที่จะช่วยให้สัตว์ที่เกิดมาแล้ว ไม่ต้องตายได้นั้น ไม่มีเลย แม้อยู่ได้ถึงชรา ก็ต้องตาย

เพราะสัตว์ทั้งหลายมีธรรมดาอย่างนี้เอง

"โลกถูกความแก่และความตายบดขยี้อย่างนี้เอง ปราชญ์ทั้งหลายรู้เท่าทันกระบวนความเป็นไปของโลกแล้ว จึง

ไม่เศร้าโศก

"ผู้ใฝ่สุขแก่ตัว พึงระงับความคร่ำครวญรำพัน ความโหยหาและโทมนัสเสีย พึงถอนลูกศรที่เสียบตัวทิ้งไป

ผู้ที่ถอนลูกศรได้แล้ว เป็นอิสระ ก็จะประสบความสงบใจ จะผ่านพ้นความโศกเศร้าไปได้หมด กลายเป็นผู้ไร้

โศกเย็นใจ"

(ขุ.สุ.25/380/447)

หน้า 1 จากทั้งหมด 1 เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง
Powered by phpBB © 2000, 2002, 2005, 2007 phpBB Group
http://www.phpbb.com/