วันเวลาปัจจุบัน 28 เม.ย. 2024, 06:43  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


กฎการใช้บอร์ด


รวมกระทู้จากบอร์ดเก่า http://www.dhammajak.net/board/viewforum.php?f=7



กลับไปยังกระทู้  [ 1 โพสต์ ]    Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 14 ม.ค. 2010, 01:24 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 03 ม.ค. 2010, 02:43
โพสต์: 4467

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


การกำหนดรู้นิวรณ์

นิวรณ์ หมายถึง ธรรมอันกั้นจิตของบุคคลไว้ไม่ให้บรรลุความดีงาม นิวรณ์แต่ละประเภทที่เกิดขึ้นผู้ปฏิบัติจะต้องเข้าใจและกำหนดให้ถูกต้อง ถ้าไม่กำหนดรู้หรือแก้ไขให้ถูกต้องแล้วสิ่งนี้ก็จะสะสมอยู่ในใจจนยากแก่การแก้ไข ทำให้เราไม่ประสบความก้าวหน้าใน การปฏิบัติหรือการทำความดีในด้านอื่น ๆ อีกต่อไป วิธีกำหนดมี ดังนี้

วิธีกำหนดนิวรณ์ ๕ คือ

กามฉันท์นิวรณ์ เมื่อกามฉันท์นิวรณ์เกิดขึ้นจะทำให้ยินดีหรือพอใจกับกามคุณอารมณ์มีรูป เสียง กลิ่น รส การถูกต้องสัมผัส ขณะดีใจ กำหนดว่า ดีใจหนอ ๆ ๆ พอใจขึ้นมากำหนดว่า พอใจหนอ ๆ ๆ ขณะชอบใจ กำหนดว่า ชอบใจหนอ ๆ ๆ
พยาบาทนิวรณ์ เมื่อพยาบาทนิวรณ์เกิดขึ้นจะทำให้รู้สึกไม่ยินดีไม่พอใจ ขณะเสียใจกำหนดว่า เสียใจหนอ ๆ ๆ ไม่พอใจ กำหนดว่า ไม่พอใจหนอ ๆ ๆ เกลียดขึ้นมา กำหนดว่า เกลียดหนอ ๆ ๆ โกรธขึ้นมากำหนดว่า โกรธหนอ ๆ ๆ พยาบาทขึ้นมา กำหนดว่า พยาบาทหนอ ๆ ๆ
ถีนมิทธนิวรณ์ ความที่จิต หรือเจตสิกท้อถอยจากอารมณ์ กรรมฐานที่ผู้ปฏิบัติกำลังกำหนดอยู่ จนทำให้เกิดอาการง่วงเหงา ท้อถอย หดหู่ เกียจคร้าน ซึมเศร้า เป็นต้น ขณะง่วงกำหนดว่า ง่วงหนอ ๆ ๆ ท้อถอยหนอ ๆ ๆ หดหู่หนอ ๆ ๆ เกียจคร้านหนอ ๆ ๆ ซึมหนอ ๆ ๆ เศร้าหนอ ๆ ๆ กำหนอให้นักแน่น ถี่เร็ว ไม่หยุดยั้งต่อเนื่อง อุปมาเหมือนการหวดไม้เรียว หรือแล้ลงไปยังคนหรือสัตว์อย่างไม่หยุดยั้ง จนกระทั่งคนหรือสัตว์นั้นทนอยู่ไม่ได้ต้องดิ้นรนจากไป เมื่อผู้ปฏิบัติกำหนดความง่วงในลักษณะเช่นนี้แล้ว จะทำให้จิตและเจตสิกตื่นตัว จนสามารถขับไล่ความท้อถอย หดหู่ ซึมเศร้าให้เบาบางและหายไปได้ ในบางครั้งเราอาจแก้ไขคามง่วงด้วยการเดินจงกรมให้เร็วขึ้นหรือมากขึ้น โดยช่วงที่ง่วงซึม อาจจะเดินจงกรมให้มากกว่านั่งประมาณ ๑๕-๓๐ นาที ก็จะทำให้ดีขึ้นบ้าง แต่ไม่ใช่ว่าจะหายไปเลยทีเดียว ผู้ปฏิบัติจำต้องเพียรพยายามเฝ้าดูด้วยสติอย่างต่อเนื่อง อย่าเปิดโอกาสหรือสร้างเหตุปัจจัยอื่น ๆ จนเป็นสาเหตุทำให้เกิดความง่วง เช่น ทานอาหารที่ย่อยยาก หรือทานมากเกินไป เป็นต้น
อุทธัจจะกุกกุจจะนิวรณ์ ได้แก่ ความฟุ้งซ่านและรำคาญผู้ปฏิบัติส่วนใหญ่มักจะขลาดกลัวต่อความฟุ้งซ่านค่อนข้างมาก ความฟุ้งซ่านกับความคิดมีส่วนที่แตกต่างกันอยู่บ้าง ความคิดเมื่อเกิดขึ้นจะมีลักษณะที่เป็นคำ ประโยคหรือเรื่องราวสั้น ๆ ส่วนความฟุ้งซ่านนั้นเป็นเรื่องราวที่ไม่ปะติดปะต่อ โบราณท่านอุปมาอุปมัยเหมือนกับการต้มน้ำร้อน ความคิดเหมือนกับการต้มน้ำที่กำลังเริ่มจะเดือด จะมีฟองอากาศผุดขึ้นเล็ก ๆ น้อย ๆ ส่วนความฟุ้งซ่าน เมื่อแยกแยะได้ถูกต้องแล้วก็พุ่งเป้าสู่การกำหนดรู้อาการนั้น ๆ ทันที ขณะฟุ้งกำหนดว่า ฟุ้งหนอ ๆ ๆ หงุดหงิดหนอ ๆ ๆ รำคาญหนอ ๆ ๆ สับสนหนอ ๆ ๆ วิธีกำหนดควรจะกำหนดให้ถี่เร็วฉับไวต่อเนื่อง ไม่เปิดโอกาส ไม่ให้เกิดช่องว่า หรือกำหนดในลักษณะที่เน้นย้ำทิ้งจังหวะบ้าง เพื่อให้เกิดความรู้สึกที่มีการผ่อนคลาย จะทำให้ไม่เครียดมาก
วิจิกิจฉานิวรณ์ ได้แก่ ความลังเลสงสัย หรือวิตกกังวลขณะสงสัย กำหนดว่าสงสัยหนอ ๆ ๆ วิตกหนอ ๆ ๆ กังวลหนอ ๆ ๆ พยายามกำหนดให้ตรงกับความรู้สึกในขณะนั้นให้มาก จะทำให้การกำหนดนั้นตรงกับสภาวะที่เป็นอยู่ขณะนั้น จิตจะแนบแน่นและสติจะระลึกรู้อย่างเท่าทันอารมณ์ การกำหนดทุกครั้งอย่าคาดหวังอะไร พยายามให้จิตเกาะติดอยู่กับปัจจุบันขณะให้มากเท่าที่จะมากได้
การกำหนดด้วยวิธีการดังกล่าวนี้ นับเนื่องโดยอนุโลมตามการเจริญ ธัมมานุปัสสนาสติปัฏฐาน ซึ่งกล่าว โดยสรุปในแง่ของการปฏิบัติแล้วก็ได้แก่การกำหนดรู้ รูปนาม ตามความเป็นจริงนั่นเอง (กายฯ=รูป. เวทนาฯ,จิตฯ=นาม. ธรรมฯ=เป็นได้ทั้งรูปและนาม)

อานิสงส์ของการปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐาน

ประโยชน์ของการกำหนดรูป – นาม (ปรมัตถอารมณ์)

จิตตั้งมั่นเป็นสมาธิ (ขณิกสมาธิ)
เกิดสติสัมปชัญญะละอัตตาตัวตน
สั่งสมเหตุปัจจัย เพื่อเว้นไกลจากกิเลส
รู้ถ้วนทั่วอย่างวิเศษ ในปัจจุบันขณะ
ละความเกียจคร้าน สะสมญาณหยั่งรู้
กอบกู้อิสระภาพกำราบกิเลส
ประโยชน์ของการนั่ง กำหนดอิริยาบถ

จิตตั้งมั่น และเป็นสมาธิได้ง่าย
สภาวธรรมปรากฎค่อนข้างชัดเจน
อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา ชัดเจน
เป็นอิริยาบถที่เอื้อต่อการบรรลุ มรรคผล นิพพาน ได้มากกว่าอิริยาบถอื่น ๆ
เป็นอิริยาบถที่รวมความพร้อม เพื่อการบรรลุธรรมในขั้นต่าง ๆ กระทั่งสูงสุด

ประโยชน์ของการยืนกำหนดอิริยาบท
ทำให้การกำหนดเกิดความต่อเนื่องกัน
จิตเป็นสมาธิได้ค่อนข้างง่าย
ทุกขเวทนามีน้อย ใช้พื้นที่น้อยในการกำหนด
ทำลายบัญญัติของรูปยืน เป็นสภาพรู้อาการ
ทำให้เข้าใจสภาพของเหตุปัจจัย อันอิงอาศัยกันและกันเกิดขึ้น ตั้งอยู่ ดับไป
ประโยชน์ของการเดินจงกรม ๕ ประการ

อดทนต่อการเดินทางไกล
อดทนต่อการกระทำความเพียร
ช่วยย่อยอาหาร
ช่วยขับลมออกจากตน
สมาธิที่ได้แล้วตั้งอยู่ได้นาน
ประโยชน์ของการกำหนดอิริยาบถย่อย

ปิดช่องว่างการกำหนดในอิริยาบถอื่น ๆ
ทำให้การกำหนดมีความต่อเนื่องไม่ขาดสาย
วิริยะ สติ สมาธิ ปัญญา เกื้อกูลกันค่อนข้างมาก
ส่งเสริมให้อินทรีย์ ๕ เท่ากัน (สัทธา วิริยะ สติ สมาธิ และปัญญา)
มีความรอบคอบ ไม่หลงลืม ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงานในด้านอื่น ๆ ด้วย
ประโยชน์ของการนอนกำหนดอิริยาบถ

ช่วยให้หลับง่าย เพราะไม่กังวล
จิตเป็นสมาธิได้ง่าย
เป็นการพักผ่อน และเป็นการเชื่อมโยงอิริยาบถอื่นให้สม่ำเสมอ
ข้อที่ควรระวัง

ถีนะมิทธะ ความง่วงเหงา หาวนอน เชื่องซึม เกิดขึ้นได้ง่าย
ไม่ควรนอนมากเกินไปสำหรับผู้มุ่งปฏิบัติจริง ๆ อย่างมากไม่ควรเกิน ๖ ชั่วโมง
ความเกียจคร้านเกิดขึ้นได้ง่าย อย่าเห็นแก่นอนเกินไป
ผู้ปฏิบัติที่มุ่งคามสุขสงบในชีวิต ต้องการหลับพักผ่อนก็ไม่ต้องตั้งใจกำหนดมาก

อานิสงส์ของการปฏิบัติวิปัสสนาตามแนวสติปัฏฐาน ๔

ทำให้สุขภาพทางร่างกาย และจิตใจดีขึ้น
ทำให้จิตใจเบิกบาน เอิบอิ่ม แช่มชื่น
ความวิตกกังวล และความเครียดลดลงอย่างมาก
เป็นผู้มีสติรู้เท่าทัน มีความผิดพลาดน้อย
มีประสิทธิภาพในการทำหน้าที่ต่าง ๆ ดีขึ้น
ไม่ตกใจกลัง เพราะเจริญสติสัมปชัญญะอยู่เสมอ
มีความกล้าหาญ ในการกระทำคุณงานความดีอย่างสม่ำเสมอไม่ท้อถอยเบื่อหน่าย
ความยึดมั่นถือมั่นลดลง เพราะเข้าใจในสภาพที่แท้จริงของชีวิต (ขันธ์ ๕)
สามารถทำลายความโลภ (อภิชฌา) ความโกรธ (โทมนัส) ให้ลดลงหรือหมดไปได้
ชื่อว่าเป็นการเตรียมความพร้อมและได้สะสมเหตุปัจจัยเพื่อการู้แจ้งอริยสัจจ์ ๔ อันจะนำไปสู่การบรรลุ มรรค ผล นิพพาน ซึ่งเป็นที่สิ้นไปแห่งกิเลส (ความยึดมั่นถือมั่นด้วยโมหะ) และกองทุกข์ทั้งมวลได้ในปัจจุบันชาตินี้ หรือถ้าผู้ปฏิบัติกระทำอย่างต่อเนื่องจะไม่เกิน ๗ ปีเป็นอย่างช้าควรจะได้บรรลุ อริยมรรค อริยผล อย่างใดอย่างหนึ่งแน่นอน ดังพระพุทธพจน์ที่ปรากฏอยู่ในท้ายสติปัฎฐานสูตรคัมภีร์มัชณิมนิกาย มูลปัณณาสก์

.....................................................
แบ่งปันกันกิน,รักษาศีล คือ กาย วาจา
เจริญสมาธิภาวนา, กาย- วาจา-ใจอ่อนน้อม
ยอมตนรับใช้, แบ่งให้ความดี
มีใจอนุโมทนา, ใฝ่หาฟังธรรม
นำแสดงออกไม่ได้เว้น, ทำความเห็นให้ถูกต้อง


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 1 โพสต์ ] 

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 154 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร